เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม เลขทะเบียน ๘๖๙ สภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า

อุดมการณ์สถานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตย

เรา...มั่นใจว่า
ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา
ประเทศไทย เป็นของเราทุกคน
เรา ต้องร่วมกันสร้างชาติไทย ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์  พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วันเสาร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ระบบเผด็จการขุนนางพระกับ "ภาวะไร้ความรับผิดชอบ"

บางท่านเห็นคำว่า "ระบบเผด็จการขุนนางพระอาจไม่พอใจว่าผมใช้คำ "แรงไป แต่ที่จริงเป็นคำที่ระบุถึง "ข้อเท็จจริงตรงๆ คือ องค์กรปกครองสงฆ์ปัจจุบันที่เรียกว่า "มหาเถรสมาคม" (มส.) นั้นเป็นองค์กรที่สถาปนาขึ้นโดยกฎหมายเผด็จการยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ คือ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ 2505 ที่ตราขึ้นเพื่อยกเลิกพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับประชาธิปไตย2484 ดังนั้น โครงสร้างองค์กรปกครองสงฆ์จึงไม่สอดรับกับระบบการแบ่งแยกอำนาจ การตรวจสอบ และวัฒนธรรมประชาธิปไตย

ยิ่งกว่านั้น บันไดไต่เต้าขึ้นมามีอำนาจปกครองคณะสงฆ์คือ "ระบบอาวุโสทางสมณศักดิ์" พึงเข้าใจว่าการสถาปนาฐานันดรศักดิ์ทางฝ่ายฆราวาสวิสัยนั้นสิ้นสุดลงเมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 แต่การสถาปนาฐานันดรศักดิ์ของพระสงฆ์ยังคงมีต่อมา ฉะนั้น องค์กรปกครองสงฆ์ที่สถาปนาขึ้นจาก "กฎหมายเผด็จการ + ระบบฐานันดรศักดิ์" จึงเท่ากับ "ระบบเผด็จการขุนนางพระ"

ปัญหาระดับพื้นฐานสำคัญมากที่สุดของระบบที่ว่านี้คือ

ประการแรก ขัดแย้งอย่างถึงรากกับระบบการปกครองสงฆ์สมัยพุทธกาล เพราะระบบสังคมสงฆ์ยุคพุทธกาลเป็น "ระบบรองรับการสลายชนชั้น" ไม่มีฐานดรศักดิ์ แม้พุทธะเองก็สละฐานันดรศักดิ์แล้ว ไม่มีการใช้คำราชาศัพท์ยกย่องสถานะของพุทธะให้สูงส่งเป็นพิเศษ พุทธะคือศาสดาหรือครูที่ให้เสรีภาพแก่ชาวพุทธทั้งพระและฆราวาสวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบท่านได้ คณะสงฆ์ก็มีความเสมอภาคภายใต้ธรรมวินัย ไม่ว่าจะมาจากชนชั้นกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร หรือคนนอกวรรณะกาลกิณีอย่างจัณฑาล เมื่อบวชเป็นพระก็มีสถานะเสมอภาคกัน เคารพกันตามลำดับการบวชก่อน-หลัง และแม้จะอาวุโสต่างกันแต่ก็มีเสรีภาพวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบกันและกันตามหลักธรรมวินัยภายใต้มาตรฐานเดียวกัน

วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประกาศนิติราษฎร์ ฉบับที่ ๓๕

โดย วรเจตน์ ภาคีรัตน์

วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งและที่มาของคณะตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญ

หลังจากที่คณะนิติราษฎร์ได้แถลงข้อเสนอให้ยกเลิกบทบัญญัติว่าด้วยศาลรัฐธรรมนูญในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันและให้จัดตั้งคณะตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญขึ้นทำหน้าที่แทนนั้น ได้มีข้อวิพากษ์วิจารณ์บางประเด็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของการจัดตั้งคณะตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญและที่มาของคณะตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญ โดยที่ข้อวิจารณ์จำนวนหนึ่งได้พาดพิงถึงความเห็นในอดีตของผู้เขียนเกี่ยวกับการสรรหาบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ จึงสมควรที่จะอธิบายเพื่อความเข้าใจให้ถูกต้อง ดังนี้

วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ศาลสูงสหรัฐอเมริกา

โดย ดร.วีรพงษ์ รามางกูร

ตำราเรียนทางรัฐศาสตร์ เมื่อพูดถึงการปกครองของสหรัฐในประเด็นที่ว่า ความเท่าเทียมกันของสถาบันผู้ใช้อำนาจอธิปไตยแทนประชาชน อันได้แก่ ประธานาธิบดี รัฐสภาและศาลสูง สำหรับประธานาธิบดีและรัฐสภา อันประกอบด้วยวุฒิสภาทำหน้าที่แทนมลรัฐ จึงมีสมาชิก 2 คนเท่า ๆ กัน ไม่ว่ามลรัฐเล็กหรือใหญ่ กับสภาผู้แทนราษฎรที่มีจำนวนเป็นสัดส่วนกับประชากร สำหรับสองสถาบันนี้ไม่มีใครสูงกว่าใคร ประธานาธิบดีและรัฐสภาก็มาจากการลงมติของประชาชน

แต่ศาลสูงซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการตัดสินว่าการกระทำใดชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ จนตำรารัฐศาสตร์รุ่นเก่า ๆ ยกย่องให้ความเป็นสูงสุดในการปกครองระบอบประธานาธิบดี คือศาลสูง หรือ "The 

suprermacy of the US supreme court" ตรงกันข้ามกับระบบรัฐสภาคือความเป็นสูงสุดอยู่ที่รัฐสภาหรือ "The Supremacy of Parliament" เพราะศาลสูงเคยตัดสินให้การกระทำของประธานาธิบดี หรือกฎหมายที่ออกโดยรัฐสภาหรือศาลมลรัฐ ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ หรือ unconstitutional

วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ต้องยอมรับคำวินิจฉัยที่ไม่เป็นธรรมด้วยหรือ

จาตุรนต์ ฉายแสง
10 กรกฎาคม 2555
   แต่ถ้าปล่อยให้มีการแสดงความเห็นในทางยอมรับหรือเห็นด้วยกับคำวินิจฉัยแต่เพียงทางเดียว จะเกิดความยุติธรรมจริงหรือ  
   บางทีเราก็ลืมกันไปว่าคำว่ายุติธรรมนั้นคือ ยุติด้วยการตัดสินที่เป็นธรรม หากตัดสินด้วยความไม่เป็นธรรมแล้วความขัดแย้งนอกจากจะไม่ยุติ ยังอาจจะยิ่งสับสนวุ่นวายยิ่งขึ้นอีกด้วย”
มีเสียงเรียกร้องจากฝ่ายที่ต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า เมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยกรณีที่มีผู้ร้องตามมาตรา 68 ในวันศุกร์ที่ 13กรกฎาคมนี้แล้วทุกฝ่ายควรจะยอมรับคำวินิจฉัยนั้น บางคนก็ไปไกลถึงขั้นที่เสนอว่า ไม่ว่าศาลจะวินิจฉัยออกมาอย่างไรทุกฝ่ายก็ต้องยอมรับ มิฉะนั้นสังคมก็จะวุ่นวาย
   ผมขอตั้งคำถามว่าจำเป็นด้วยหรือที่ทุกฝ่ายทุกคนจะต้องยอมรับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ และจริงหรือที่ว่าหากไม่ยอมรับแล้วสังคมจะวุ่นวาย
คำว่า ควรยอมรับหรือ ต้องยอมรับ ถ้ามาจากคู่ความหรือผู้มีส่วนได้เสียก็มักมาจากฝ่ายที่เชื่อว่าคำวินิจฉัยจะตรงกับความเห็นของตนหรือเป็นประโยชน์ต่อฝ่ายตน    ต้องการให้เรื่องที่ขัดแย้งกันอยู่นั้นยุติลงตามคำวินิจฉัย
   ผู้ที่กำลังเรียกร้องอย่างแข็งขันให้ทุกฝ่ายยอมรับคำวินิจฉัยครั้งนี้ ก็ดูจะได้แก่คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และคุณชวน หลีกภัย
   แต่ถ้าปล่อยให้มีการแสดงความเห็นในทางยอมรับหรือเห็นด้วยกับคำวินิจฉัยแต่เพียงทางเดียว จะเกิดความยุติธรรมจริงหรือ  

วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555

24 มิถุนา เคยเป็นและเลิกเป็นวันชาติได้อย่างไร?

โดย สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เวลาที่ได้ยินคนในแวดวงรัฐบาล(หรือที่เคยอยู่ในแวดวงรัฐบาลอย่างณรงค์ กิตติขจร) ออกมาคัดค้านการตั้งชื่อวันที่ 14 ตุลาคมว่า "วันประชาธิปไตย" โดยยกเหตุผลทำนองว่า เป็นเการขัดกับความจริงที่ว่าประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยมาตั้งแต่ 24 มิถุนายน 2475 นั้น ไม่ทราบว่าจะร้องไห้หรือหัวเราะดี
ก็ถ้าบรรดา ฯพณฯ เห็นความสำคัญของ 24 มิถุนายน ขนาดที่กลัวว่า 14 ตุลาคม จะมาแย่งความสำคัญไป ทำไมไม่ทำให้ 24 มิถุนายน เป็นวันสำคัญขึ้นมาเสียก่อนเล่า? ความจริงคือ ทุกวันนี้ วันที่ 24 มิถุนายน ไม่ได้เป็นวันอะไรทั้งสิ้นในปฏิทินของทางราชการ และบรรดา ฯพณฯ ที่ยกเอา 24 มิถุนายน ขึ้นมาคัดค้าน 14 ตุลาคม ก็ไม่มีแม้แต่คนเดียวที่มีทีท่าว่าจะเสนอให้เปลี่ยน 24 มิถุนายน เป็นวันสำคัญขึ้นมา