เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม เลขทะเบียน ๘๖๙ สภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า

อุดมการณ์สถานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตย

เรา...มั่นใจว่า
ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา
ประเทศไทย เป็นของเราทุกคน
เรา ต้องร่วมกันสร้างชาติไทย ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์  พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วันพุธที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กองทัพกับการเมืองไทย ๑ : นิธิ เอียวศรีวงศ์

โดย : นิธิ เอียวศรีวงศ์

เวลานี้มีการอภิปรายถกเถียงในเว็บไซต์ต่างประเทศแห่งหนึ่ง ซึ่งสนใจศึกษาประเทศไทยโดยเฉพาะว่า กองทัพไทยเป็นปัจจัยสำคัญสุดทางการเมืองใช่หรือไม่ หรือกองทัพเป็นเพียงเครื่องมือของอำนาจนอกระบบในการแทรกแซงจัดการทางการ เมืองเท่านั้น

คิดอีกทีข้อถกเถียงนี้ก็ประหลาดนะครับ กองทัพในประเทศอุษาคเนย์ทุกประเทศล้วนมีบทบาทสำคัญทางการเมืองอย่างยิ่งทั้ง นั้น จนกลายเป็นหัวข้อศึกษาที่นักวิชาการเฝ้าศึกษาวิเคราะห์มานาน และมักจะวิเคราะห์กันเหมือนว่ากองทัพเป็นตัวละครอิสระ โดยไม่ได้เชื่อมโยงกับอำนาจอื่นๆ ที่มีอยู่ในสังคมเลย

ครั้นมาถึง ตอนนี้ การเมืองไทยมักถูกวิเคราะห์ในแนวว่ามีอำนาจนอกระบบ, มือที่มองไม่เห็น, หรือเครือข่ายทางเศรษฐกิจที่ชักใยอยู่เบื้องหลัง เป็นปัจจัยชี้ขาด จนกระทั่งบางทีก็ลืมกองทัพไปเลย

วันอังคารที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553

อนิจจาปุถุชนทุรนรั้น

น่าจะเกิน 20 ปี นะ เคยอ่านกลอนนี้ โดนใจ..ใช่เลย จำไม่ได้ว่าท่านผู้ใดเป็นผู้เขียน (ไพร่แดง)พยายามฟื้นความจำ
เอามาปะติดปะต่อ ขออนุญาต นำมาเพื่อเป็นประโยชน์กับผู้คน ที่กำลังมองหาสัจธรรมของชีวิต

ผ่านลมร้อนลมหนาวหลายคราวครั้ง
ชีวิตแห่งหวังยังโหยหา
เคลือบรอยยิ้มกลบทางรางน้ำตา
ปกปิดความปวดปร่าไว้มิดชิด

ทุกด้านที่พบเห็นเป็นเช่นนี้
วันหนึ่งร้ายวันหนึ่งดีมีถูกผิด
ในความงดงามมีหนามพิษ
ในความสวยมีจริต มีเล่ห์กล

ในอารมณ์ยินดีมีแอบแฝง
ในความแจ้งมีมุมอับอาจสับสน
ทว่าใครลุ่มหลงหลงไม่คงทน
ก็ตกตนสมเพชเวทนา

วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2553

วิกิลีกส์กับการเลิกเชื่อ : คุยกับ ดร.เกษียร เตชะพีระ

คำถามสำคัญ ของผู้คนแทบทุกวัฒนธรรมจำนวนวนไม่น้อย ต่างแสวงหา “ความจริง” ไม่ว่าจะด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ โหราศาสตร์ ไสยศาสตร์ ฯลฯ ยังไม่นับรวมวิธีวิทยาอื่นๆ ที่แต่ละสำนักคิด ต่างยึดถือ หรือกระทั่งวิธีคิดเองเออเอง ตามจินตนาการเท่าที่ประสบการณ์ในชีวิตแต่ละคนจะเอื้ออำนวยต่อการวาดภาพถึง สิ่งไกลๆ ที่ไม่สามารถมองเห็น

ไม่ว่าวิธีการแสวงหาความจริงของแต่ละคน จะใช้วิธีอะไร หยิบจับเครื่องมือชิ้นไหน แต่ปัญหาอาจไม่ได้อยู่ที่ “ความจริง” ชุดนั้น มากเท่ากับ ความพร้อม ในการยอมรับความจริงของผู้ที่กำลังรับรู้...

เดิมทีความเข้าใจความจริงแต่ละชุด ถูกจำกัดอยู่แต่เฉพาะกลุ่ม และอาจเป็นสิ่งต้องห้ามของสาธารณะ ต้องรอเวลาจนกว่าจะผ่านช่วงชีวิตในแต่ละรุ่น เพื่อคลายความ “ต้องห้าม” ของข่าวสารชุดนั้น

ขณะที่วันนี้ ความเคลื่อนไหววิธีใหม่ๆของข้อมูลข่าวสารเกิดขึ้น เมื่อมนุษย์สื่อสารถึงกันผ่านอินเตอร์เนต ข้ามพรมแดนของรัฐชาติและเป็นไปได้ยากในการควบคุม

วันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สังคมไร้กฎกติกา ใช้อารมณ์ความรู้สึกชี้นำ

ดร.นันทวัฒน์ วิพากษ์"สังคมไร้กฎกติกา ใช้อารมณ์ความรู้สึกชี้นำ เอาคนไม่รู้จริงทำงาน"

ศ.ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิเคราะห์การเมืองปี 2554 ในแง่มุมของนักกฎหมายมหาชน หลังจากอ่านบทสัมภาษณ์พิเศษนี้แล้ว อาจเข้าใจการเมืองไทยปีหน้าได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

วิเคราะห์การเมืองและรัฐธรรมนูญปีหน้า 2554 อย่างไร
การเลือกตั้งปีหน้าจะมีหลายองค์ประกอบ องค์ประกอบแรกที่เราดูกันอยู่หน้าจะเกี่ยวกับการแก้รัฐธรรมนูญ การแก้รัฐธรรมนูญในทางปฎิบัติ รัฐบาลไม่ได้อยากแก้ การแก้รัฐธรรมนูญดูเหมือนเป็นการซื้อเวลาในบางช่วง เพราะว่าคณะกรรมการชุดที่รัฐบาลตั้งขึ้นมาดูประเด็นต่างๆ ที่รัฐบาลเลือกไว้ 2 ประเด็น และ 2 ประเด็นที่รัฐบาลเลือกไม่ได้เป็นประเด็นใหม่ เป็นประเด็นที่คณะกรรมการของวุฒิสภาเขาทำกันมาแล้ว เพราะฉะนั้นก็เหมือนว่าการตั้ง 2 คณะกรรมการนี้ขึ้นมาก็เพื่อใช้ระยะเวลาอีกระยะเวลาหนึ่งยืนยันของเก่าที่ทำ กันมาแล้ว อาจจะมีเปลี่ยนบ้างเล็กน้อย

วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ทฤษฏีใหม่..การเมืองใหม่..Back..to..Basics

เมื่อครั้งที่ IBM ได้ผลิต Personal Computer (PC)
ในปี 1981 นั้น เป็นจุดเริ่มต้น ของการเปลี่ยนแปลง ครั้งใหญ่
ในโลกของเรา เป็นที่มาของเก็บรวบรวมข้อมูล (Database)
การวิจัยและพัฒนา (Research & Development)
และท้ายที่สุด คือ การสร้างระบบที่ควบคุมได้ (Control System)

แต่ในครั้งนั้น ผู้ประดิษฐ์คิดค้น และออกแบบ
Basic Input Output System (BIOS) ซึ่งเป็นจุดที่ Computer
เริ่มต้นทำงานเมื่อเปิดเครื่อง เพื่อสร้างระบบพื้นฐาน ให้กับโครงสร้าง
และการขับเคลื่อน ได้เปิดช่องว่างไว้ สำหรับการแก้ปัญหา ในภายหลัง
เผื่อว่า BIOS มีความผิดพลาด ก็จะทำการแก้ไขได้ง่าย

แต่กลับกลายเป็นว่า เป็นการเปิดทาง ให้กับผู้ที่คิดในทางลบ (Negative Thinking) ใช้ในการสร้าง Virus ขึ้นมา

วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2553

งานวิจัยชุมชน “จุดระเบิด” เคลื่อนประเทศ

ดร.สีลาภรณ์ บัวสาย” รอง ผอ.สกว.

“อยู่บนหอคอยงาช้าง-งานวิจัยขึ้นหิ้ง” เป็นคำแสลงใจนักวิชาการ โต๊ะข่าวเพื่อชุมชนสัมภาษณ์ “ดร.ลีลาภรณ์ บัวสาย” รอง ผอ.สกว. ในฐานะองค์กรศูนย์รวมงานวิจัยชุมชนของประเทศ และผู้มีทัศนะว่าองค์ความรู้จุดระเบิดจากภายใน-สร้างปฏิกิริยาลูกโซ่ให้ “ชุมชนแข็งแรงจัดการตนเองได้” ไม่ใช่ม็อบหรือเงิน

ช่วยให้คำนิยามที่บอกภาพองค์กร สกว.สั้นๆด้วยค่ะ

อุดมคติ ของ สกว.คือ“เข็มที่เล็งคือสร้างการเปลี่ยนแปลง” คือเราเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงที่ดีต้องใช้ความรู้ ถึงจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีหางเสือ มีเหตุมีผล ไม่ใช่พวกมากลากไป

ความเป็นมาของอาจารย์ กับงานวิจัยชุมชนเป็นอย่างไรค่ะ?

วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553

“เพื่อนร่วมอุดมการณ์”

เก็บมาฝาก จากกำแพง

๑.ทำ(เล่น)การเมือง เหตุไฉน ถึงไร้เพื่อน
เปรยเปรียบเหมือน เพื่อนคือหมา สัตว์หน้าขน
หลงทางผิด คิดข้า ปัญญาชน
ตนเตือนตน เองได้ ไม่เสียที

๒.ฤาสับสน ชั่วดี ไม่ประจักษ์
เพื่อนที่รัก วอนว่า อย่าหน่ายหนี
เดินทางดี เพื่อนใด ไม่ใยดี
ควรไม่ควร ทำที เหินห่างกัน

๓.ใยรักชาติ ไม่รักเพื่อน ช่างเถื่อนหนัก
ผิดเหตุนัก ผลพา พาลน่าขัน
หลงทางเพื่อน เตือนได้ ไม่เตือนกัน
ใช่หรือเพื่อน เพื่อนนั้น พรรค์อย่างไร

๔.จึงวันนี้ ตรึกตรอง เราต้องคิด
มองมุมผิด เธอฉัน นั้นเหลวไหล
ลองมองเพื่อน ด้วยจิต มิตรจริงใจ
อคติ ต่ำใต้...... พึงใคร่ครวญ...

ความท้าทายภาคเกษตร ระวังต่างชาติฮุบประโยชน์

สกว.เปิดเวทีถกความท้าทายภาคเกษตร นักวิชาการเตือนระวังต่างชาติฮุบประโยชน์











นักเศรษฐศาสตร์ชี้ภาคเกษตรไทยได้เปรียบด้านความหลากหลายชีวภาพ ส่งอาหารไทยดังไปทั่วโลก แต่ห่วงผลประโยชน์ตกกับบริษัทต่างชาติ เตือนระวังผลกระทบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อเกษตรกร ชุมชน มองผลประโยชน์การพัฒนาต้องกระจายทั่วถึง แนะเร่งผลักสวัสดิการชาวนา

ที่มา : ศูนย์ข่าวสถาบันอิศรา ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๓

วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553

บทวิเคราะห์ คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ

คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ ๑๕/๒๕๕๓
กรณียกคำร้องขอให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์
โดย คณะนิติราษฎร์

ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญได้อ่านคำวินิจฉัยที่ ๑๕/๒๕๕๓ เรื่องนายทะเบียนพรรคการเมืองขอให้ศาลมีคำสั่งยุบพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ และต่อมาได้มีการเผยแพร่คำวินิจฉัยกลางและความเห็นส่วนตนของตุลาการศาลรัฐ ธรรมนูญที่เป็นองค์คณะเมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓ คณาจารย์คณะนิติราษฎร์ นิติศาสตร์เพื่อราษฎร (www.enlightened-jurists.com) ได้ศึกษาคำวินิจฉัยดังกล่าวแล้ว เห็นว่าเพื่อประโยชน์ในทางวิชาการและประโยชน์สำหรับการตรวจสอบกระบวนการทำ งานตลอดจนการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ สมควรจะได้แสดงทัศนะทางกฎหมายในเรื่องดังกล่าว ดังนี้

๑. คดีนี้นายทะเบียนพรรคการเมือง (นายอภิชาต สุขัคคานนท์) ผู้ร้อง ได้ยื่นคำร้องลงวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๓ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคประชาธิปัตย์ ผู้ถูกร้อง เนื่องจากปรากฏว่าพรรคประชาธิปัตย์กระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐ ธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฯ มูลของคดีสืบเนื่องจากคณะกรรมการการเลือกตั้งได้รับแจ้งจากกรมสอบสวนคดี พิเศษว่าได้รับคำร้องทุกข์กล่าวโทษซึ่งเมื่อได้พิจารณาคำร้องทุกข์กล่าวโทษ ประกอบกับพยานหลักฐานที่ปรากฏแล้วพบว่าพรรคประชาธิปัตย์มีส่วนเกี่ยวข้อง ๒ ข้อกล่าวหา คือ

วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เวียดนามผงาด : การพัฒนาที่มีทิศทาง

โดย : กมล กมลตระกูล

ประเทศเวียดนามมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพที่สูง มาก โดยระหว่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจ 5 ปี ระหว่างปี 2001-2005 ตัวเลขจีดีพีเติบโตเฉลี่ย 7.51 ทุกปี ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งเป็นบทพิสูจน์ว่าระบอบเศรษฐกิจแบบรัฐสวัสดิการมิได้เป็นอุปสรรคต่อการ พัฒนาเศรษฐกิจ หรือทำให้ประเทศล้าหลังแต่อย่างใด

* สัดส่วนของภาคการผลิตด้านการเกษตร ป่าไม้ และประมง คิดเป็นร้อยละ 20.9 ของจีดีพี
* สัดส่วนภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้างคิดเป็นร้อยละ 41 ของจีดีพี
* สัดส่วนของภาคบริการคิดเป็นร้อยละ 38.1 ของจีดีพี
* มูลค่าของผลผลิตทั้งหมดได้นำส่งออกคิดเป็นร้อยละ 50 ของจีดีพี

ในขณะเดียวกัน สัดส่วนของคนจนได้ลดลงจากร้อยละ 17.5 เมื่อเริ่มต้นแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับนี้เมื่อปี 2001 เหลือเพียงร้อยละ 7 โดยที่ รัฐบาลได้สร้างงานเพิ่มขึ้น 7.5 ล้านตำแหน่ง และรายได้เฉลี่ยต่อคนเพิ่มขึ้นจาก 5.7 ล้านด่อง เป็น 10 ล้านด่อง ในด้านการรักษาพยาบาลก็มีการขยายโรงพยาบาลและเครือข่ายศูนย์อนามัยลงไปยัง ระดับรากหญ้าทุกระดับ

วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ความยุติธรรมที่เป็นอิสระ

สราวุธ เบญจกุล
รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม
ที่มา : มติชน

เมื่อไม่นานมานี้ข่าวการถอนตัวจากการพิจารณาคดีของผู้พิพากษาใน คดีที่อยู่ในความสนใจของประชาชนคดีหนึ่ง ได้สะท้อนให้เห็นถึงการอำนวยความยุติธรรมที่เป็นอิสระเพื่อรักษาความเชื่อ ถือศรัทธาของประชาชนที่มีต่อศาล

การอำนวยความยุติธรรมจะสัมฤทธิ์ผลได้เมื่อศาลและผู้พิพากษามีความเป็น อิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี ปราศจากอิทธิพลอันไม่ชอบไม่ว่าจะเป็นอิทธิพลจากภายนอกหรือจากการก้าวก่ายของ บุคคลในวงการศาลหรือจากบุคคลอื่นใดก็ตาม ผู้พิพากษาจึงต้องถือเรื่องนี้เป็นหลักสำคัญในการปฏิบัติหน้าที่ราชการของ ศาลยุติธรรม
ความเป็นอิสระนั้นเป็นสิ่งสำคัญ เห็นได้จากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 197 ได้บัญญัติเรื่องความเป็นอิสระของศาลและผู้พิพากษาว่า

“การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเป็นอำนาจของศาล ซึ่งต้องดำเนินการให้เป็นไปโดยยุติธรรม ตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมาย และในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ผู้พิพากษาและตุลาการมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีให้เป็นไปโดยถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม ตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย........”

วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ศัพท์ใหม่ "ประชาวิวัฒน์"

ประชาวิวัฒน์นั้นคือ การขยายผลของอภิมหาประชานิยมภายใต้ รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่ว่าจะเป็นราคาหมู ไก่ ไข่ ไปจนถึงการกระชับพื้นที่หาบเร่ ช่วยเหลือมอเตอร์ไซค์ ล้วนแล้วแต่อยู่ภายใต้กรอบของประชานิยมยี่ห้ออภิสิทธิ์ ที่เรียกว่าประชาวิวัฒน์ทั้งสิ้น

คุณกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีคลัง บอกว่า รัฐบาลเตรียมจะออกโครงการปฏิบัติการประชาวิวัฒน์ "คิดนอกกฎ บริหารนอกกรอบ" เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้แก่ประชาชน

17 ธันวาคม นี้ นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะรับฟังข้อสรุปของทีมนักวิชาการและหน่วยงานกว่า 30 แห่ง ก่อนจะประกาศใช้วันที่ 8 หรือ 9 มกราคม 2554

คุณกรณ์บอกว่า โครงการนี้จะช่วยเหลือคนที่อยู่นอกระบบกว่า 10 ล้านคน เช่น กลุ่มคนขับรถแท็กซี่ รถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง หาบเร่ แผงลอย ให้มีสิทธิ์ประกันสังคมเข้าถึงแหล่งทุนลดค่าครองชีพ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร เรื่องส่วย หรือหัวคิวรายเดือนให้แก่เจ้าหน้าที่รัฐ และนั่นยังไม่รวมถึงมาตรการลดค่าครองชีพที่จะเน้นไปที่โครงสร้างราคาอาหาร เช่น ไข่ไก่ ไก่ สุกร รวมไปถึงพลังงาน ทั้งแก๊สแอลพีจี และค่าไฟฟ้า

ครั้งแรกที่ศาลไทย ใช้แนวคิด Legal pluralism

ถ้ายอมรับความแตกต่าง ย่อมเห็นคนอื่นเป็นมนุษย์

มื่อไม่นานมานี้ ในงานเสวนาถกเรื่องพหุวัฒนธรรม ประจำเดือนธันวาคม 2553 โดย ศูนย์มานุษยวิทยาสิริธร หัวข้อเรื่อง “Legal pluralism” ศ.ดร. อานันท์ กาญจนพันธุ์ กล่าวบรรยายว่า Legal pluralism แปลตรงตัวว่า “พหุนิยมทางกฎหมาย” ความหมายของมันกว้างจนยากจะหาคำอธิบายที่ถูกต้องชัดเจนได้ แต่หากจะให้อธิบายง่ายๆแล้ว พหุนิยมทางกฎหมาย คือ การใช้กฏหมายตั้งแต่สองฉบับ ในพื้นที่เดียวกัน โดยมีเงื่อนไข ในการใช้กฏหมายแต่ละฉบับ ในที่นี้ กฏหมาย มิเพียงหมายถึง กฏหมายที่รัฐเป็นผู้บัญญัติ แต่ยังหมายถึง ประเพณี วัฒนธรรมของสังคม ซึ่งเปรียบเสมือนกฏหมาย แม้แต่ข้อปฏิบัติในศาสนาก็ไม่ต่างกัน

ตัวอย่าง เช่น ในแคนาดา มีเผ่าอินเดียนแดงอาศัยอยู่ในเขตป่าสงวน สามารถตกปลา ตัดไม้ ทำมาหากิน ในเขตป่าสงวนได้อย่างไม่มีความผิด แต่หากเป็นคนแคนาดาซึ่งเป็นผู้มาทีหลังจะโดนจับทันที บอกเช่นนี้ ทุกคนอาจคิดว่าไม่ยุติธรรม

แต่ลองคิดดูดีๆ ชนเผ่าอินเดียนแดงทำมาหากินในดินแดนนี้ตั้งแต่แรก หากเราแย่งที่อยู่ ที่ทำมาหากินของเขา พวกเขาจะหาอะไรเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง และถึงแม้จะมีการจัดเขตแดนพิเศษให้พวกเขา แต่สักวันหนึ่งที่ดินแถบนั้น ต้องแห้งแล้ง เสื่อมสภาพ เช่นนั้น ที่นั้นก็ไม่ต่างจาก “กรงขัง” ดีๆ นี่เอง และเมื่อเป็นเช่นนั้น ผลที่ตามมาย่อมเกิดเป็นความขัดแย้ง

วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การสื่อสารมวลชนไทย อยู่ในทฤษฎีแบบไหนก้น ?

ทฤษฎีสื่อสารมวลชน

ในวงวิชาการสื่อสารมวลชน มีทฤษฎีเกี่ยวข้องมากมายด้วยกัน ส่วนมากยังไม่วิวัฒนาการเป็นทฤษฎีสมบูรณ์ตามความหมายทฤษฎีที่แท้จริง ยังคงเป็นสมมติฐานเท่านั้น ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างแนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีสื่อสารมวลชนมา 4 ตัวอย่างด้วยกัน ที่เทียบกับการสื่อสารในจีน ได้อย่างใกล้เคียงกันพอสมควร

แนวความคิดแรกเน้นศึกษา "ประสิทธิผล" (Effect) ของสื่อสารมวลชนในสังคม แนวความคิดนี้เริ่มมีมานานแล้วจนกลายเป็นประเพณีการวิจัยสื่อสารมวลชนในปัจจุบัน ทุกครั้งที่พูดถึงสื่อสารมวลชนเรามักจะนึกถึง "ประสิทธิผล" ของมันมากกว่าองค์ประกอบอย่างอื่นเท่าที่ผ่านมานั้น ได้มีวิวัฒนาการเกี่ยวกับการศึกษาประสิทธิผลสื่อมวลชน (Effect Approach) แตกต่างกันไป แยกได้เป็นสามขั้นตอนสำคัญ คือในระยะแรก นักวิชาการเชื่อ ว่าสื่อมวลชนมีอิทธิพลอย่างมาก จึงเรียกแนวความคิดนี้ว่า Hypodermic needle theory (ทฤษฎีเข็มฉีดยา)

แจ็คกับยักษ์ และ กล่องแพนโดร่า ในรัฐธรรมนูญไทยฯ

“จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สู่ระบอบประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ 2475-2490 ”
โดย ณัฐพล ใจจริง
ที่มา : นิติราษฎร์

“อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย”

สวัสดีพลเมือง นิสิตนักศึกษา ผู้แสวงหาความรู้และมีความตื่นตัวในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยทุกท่าน การอภิปรายในวันนี้ของพวกเรา คือ การยืนยันและเชิดชูระบอบประชาธิปไตยที่ถือกำเนิดมาตั้งแต่ 2475

วันนี้เป็นโอกาสที่ดีและเหมาะสมด้วยทั้งกาละและเทศะ กล่าว คือ เราได้มาประชุมกันขึ้น ในวันที่ 10 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันที่เรามีรัฐธรรมนูญฉบับถาวร และในสถานที่ คือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่เป็นผลผลิตโดยตรงจากการปฏิวัติ 2475

วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553

รัฐ - ประชาชน บริบทของความขัดแย้ง

ธนชาติ แสงประดับ ธรรมโชติ
นักวิชาการเศรษฐศาสตร์การเมือง
Thanajaithai@hotmail.com
ที่มา : ประชาไท

นับแต่สมัยที่ราชวงศ์โรมานอฟแห่งรัสเซียสิ้นสุดลงในช่วงสงครามโลกครั้ง ที่หนึ่ง และต่อเนื่องถึงการสิ้นสุดของจักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งจีน ภัยของคอมมิวนิสต์ได้ถูกสร้างภาพให้เป็นมารร้ายในสังคมโลก ความขัดแย้งด้านอุดมการณ์ยุคสงครามเย็นได้แบ่งโลกออกเป็นสองขั้ว ระหว่างทุนนิยมเสรีที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นแกนนำ และขั้วสังคมนิยมที่มีสหภาพโซเวียตเป็นแกนนำ ได้สร้างภาพให้เกิดฝ่ายเทพกับมาร ภาพของมารร้ายคอมมิวนิสต์ดูจะเป็นสัญลักษณ์ที่คอยหลอกหลอนไปทั่วโลก รวมทั้งรัฐนาวาสยามประเทศจวบจนมาเป็นประเทศไทย แม้แต่การต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมในสังคมยังถูกยัดเยียดและเหมารวมว่าเป็น การกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ จึงต้องปราบปรามกันอย่างรุนแรงโดยไม่ได้พิจารณาแยกแยะอย่างถี่ถ้วน

ในปี 1989 กำแพงเบอร์ลินซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของสงครามเย็นได้ถูกพังทลายลงอันเป็นการสิ้น สุดของสงครามเย็น การล่มสลายของกลุ่มประเทศสังคมนิยมยุโรปตะวันออกหลายประเทศ รวมทั้งสหภาพโซเวียต และประเทศในกลุ่มอินโดจีน นำไปสู่การเปลี่ยนถ่ายจากเศรษฐกิจที่วางแผนจากส่วนกลางอันเรียกว่า ระบอบ “สังคมนิยม” เข้าสู่เศรษฐกิจ “ทุนนิยมเสรี” แม้กระทั่งประเทศจีนก็เข้าสู่ระบบตลาดทุนนิยมเสรีแบบจีน ทำให้ความหวาดวิตกเกี่ยวกับมารร้ายที่คอยมาคุกคามความมั่นคงอันเนื่องมาจาก ลัทธิคอมมิวนิสต์หมดไป ปัญหาความขัดแย้งเรื่องอุดมการณ์ลดความสำคัญลง และแล้วความตึงเครียดและขัดแย้งในสังคมไทยได้เคลื่อนตัวออกจากประเด็นของ อุดมการณ์พัฒนามาสู่การแข่งขันทางเศรษฐกิจ สู่ปัญหาใหม่ภายใต้บริบทของการเร่งรัดพัฒนา

วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553

"สถาบันฯ - รัฐธรรมนูญ - ประชาธิปไตย"

สรุปย่อ โดย มติชน

เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม เวลา 13.00-16.00 น. คณะนิติราษฎร์ (นิติศาสตร์เพื่อราษฎร) ได้จัดงานเสวนาหัวข้อ "สถาบันกษัตริย์ - รัฐธรรมนูญ - ประชาธิปไตย" ณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยมีนายณัฐพล ใจจริง อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, นายสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมเป็นวิทยากร

นายณัฐพล ได้เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ 6 ฉบับของไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2475-2495 เข้ากับนิทานแจ๊คผู้ฆ่ายักษ์ โดยในช่วงปี 2475 นั้น ได้เกิดบรรยากาศการสร้างระบอบประชาธิปไตย และ สร้างเสรีภาพให้เกิดขึ้นในการปกครอง เปรียบเสมือนการที่ "ยักษ์" ถูกจับใส่กล่อง แต่พอหลังปี 2490 เป็นต้นมา "ยักษ์" ก็แหกกล่องออกมา แล้วจับเอา "แจ๊ค" ยัดใส่ลงไปในกล่องแทน

ขณะที่นายสุธาชัย กล่าวถึงประเด็นระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ โดยอธิบายได้ว่าระบอบดังกล่าวดีกว่าระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งรวมศูนย์อำนาจอยู่ที่ผู้เป็นใหญ่เพียงคนเดียว นักวิชาการสาขาประวัติศาสตร์ผู้นี้ระบุว่าควรมีการ รณรงค์หรือผลักดันให้เห็นว่าระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญถือเป็นสิ่งที่ถูก ต้อง เพราะจะทำให้สถาบันฯ อยู่ได้ยั่งยืน และหากเราเชื่อว่าระบอบดังกล่าวเป็นสิ่งที่ดี ก็ควรเชื่อว่าระบอบมีความดีอยู่ที่ตัวระบบ ไม่เหมือนระบอบประธานาธิบดีที่ความดีอาจขึ้นอยู่กับตัวบุคคล

วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ความจริงคืออาวุธ

รุ้งตัดแวง : ข่าวสด

เมื่อมีข่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะเดินทางเข้า 'สหรัฐอเมริกา' 16 ธันวา คมนี้

เราก็เห็นการทำงานกระฉับกระเฉงเกินเงินเดือนในการสกัดกั้นพ.ต.ท.ทักษิณของบิ๊กๆ กระทรวงการต่างประเทศอีกครั้ง

เป็น ที่พอทราบๆกันในแวดวงข่าวสารระดับสากลว่า พ.ต.ท.ทักษิณนั้นทั้ง 'เคยใช้' และ 'กำลังใช้' บริษัทล็อบบี้ยิสต์ยักษ์ใหญ่ระดับโลก 'เดินเกม' ให้

เช่น 'BGR Group' รับผิดชอบดูแลงานล็อบบี้นักการเมืองในสภาสหรัฐ และประชาสัมพันธ์สถานะความเป็นนักประชา ธิปไตยของพ.ต.ท.ทักษิณ

รวมถึง 'Kobre & Kim' ซึ่งจ้างเอาไว้ดำเนินการล็อบบี้ระดับนโยบาย

และที่ดูเหมือนจะแรงจัดกว่าใครเพื่อน ก็คือ 'Amsterdam & Peroff' หรือสำนักงานกฎหมายนายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม

ปากกาอยู่ที่มัน

นายสถิตย์ ไพเราะ
ที่มา : นิติราษฎร์

นักศึกษาหลายท่านมาถามผมเสมอ ๆ ว่า เหตุใดศาลจึงมีคำวินิจฉัยอย่างนั้นอย่างนี้ เป็นการวินิจฉัยสองมาตรฐานหรือไม่มีมาตรฐาน ข้อนี้ตอบแบบกำปั้นทุบดิน ก็ต้องตอบว่าเรื่องของความเห็นเป็นเรื่องยากที่จะชี้ลงไปได้ว่าใครถูกใคร ผิด ยิ่งคนธรรมไม่เสมอกันแล้วไม่มีทางจะเห็นตรงกันได้

เรื่องการวิพากษ์วิจารณ์คำพิพากษาของศาลนั้นไม่ใช่เพิ่งมีในขณะนี้ มีมาแต่โบราณกาลแล้วในหนังสือมูลบทบรรพกิจ ซึ่งเป็นตำราเรียนในสมัยก่อนเขียนวิจารณ์ศาลไว้ว่า

"คดีที่มีคู่ (ความ) คือไก่หมูเจ้าสุภา
เอาไก่เอาหมูมา (ให้) เจ้าสุภาก็ว่าดี
ที่แพ้แก้ (ให้) ชนะไม่ถือพระประเวณี
ขี้ฉ้อก็ได้ดีไล่ด่าตีมีอาญา"
และวิจารณ์พระภิกษุไว้ว่า
"ภิกษุสมณะหรือก็ละพระสธรรม
คาถาว่าลำนำไปเร่รำทำเฉโก"

วันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เศรษฐศาสตร์การเมืองของการเก็บภาษี

โดย ผาสุก พงษ์ไพจิตร

ทำไมบางประเทศสามารถที่จะเก็บภาษีทางตรง คือภาษีรายได้และภาษีทรัพย์สิน ได้มากกว่าบางประเทศ แม้ว่าระดับขั้นการพัฒนา และโครงสร้างทางเศรษฐกิจอาจไม่ต่างกันมากนัก?

การตอบคำถามนี้โดยศึกษาจากประสบการณ์จริงของประเทศเหล่านั้น อาจจะให้บทเรียนว่าจะเลียนแบบระบบแรงจูงใจหรือวิธีการทำให้เก็บภาษีทางตรงได้มากขึ้นได้อย่างไร เพื่อที่รัฐบาลจะสามารถมีรายได้เอาไปใช้จ่ายในการสร้างสินค้าสาธารณะที่จำเป็น ในการสร้างระบบสวัสดิการถ้วนหน้าเพื่อสนองความต้องการของพลเมือง และเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับรัฐบาลเอง

มี 2 กรณีสำคัญที่จะนำมาเล่าให้ฟังโดยสังเขป คือกรณีของแอฟริกาใต้ บราซิล และเกาหลีใต้

กรณีของแอฟริกาใต้ (South Africa) นั้น มีสถิติการจัดเก็บภาษีที่น่าทึ่งคือ ในบรรดาประเทศที่มีสถานะเป็นประเทศรายได้ระดับกลาง (middle income countries) ซึ่งไทยก็อยู่ในกลุ่มนี้นั้น แอฟริกาใต้สามารถจัดเก็บภาษีได้สูงถึงคิดเป็นร้อยละ 25 ของ GDP ขณะที่ค่าเฉลี่ยสำหรับประเทศรายได้ปานกลางทั้งหมดเท่ากับร้อยละ 15 ของ GDP

สิทธิ เสรีภาพ ประชาธิปไตย และธรรมาภิบาล

โดย ทศพนธ์ นรทัศน์
ไทยเอ็นจีโอ
1. บทนำ
สิทธิ เสรีภาพ ประชาธิปไตย และธรรมาภิบาล เป็นหลักที่เกื้อกูลซึ่งกันและกันในการปกครองประเทศให้มีความเจริญรุ่งเรือง ยิ่งมีการส่งเสริม คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนมากเท่าใด ก็จะทำให้ประเทศมีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นเท่านั้น การสร้างธรรมาภิบาลก็เป็นกลไกสำคัญในการสนับสนุนให้ภาคประชาชนเข้ามามีบทบาท มีส่วนร่วมในการปกครองและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐอย่างเป็นรูปธรรมและสัมฤทธิ ผล ก่อเกิดดุลยภาพและประสิทธิภาพตามวิถีการปกครองระบอบประชาธิปไตย หากธรรมาภิบาล หรือการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเกิดขึ้นในทุกภาคส่วนแล้ว ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายของประเทศนั้นๆ และ/หรือกฎหมายระหว่างประเทศอย่างแท้จริง ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของพลเมืองดีขึ้น การพัฒนาประเทศในทุกมิติก็เป็นไปโดยง่าย เพราะพลเมืองมีคุณภาพ

2. สิทธิ เสรีภาพ ประชาธิปไตย และธรรมาภิบาล
Dr. Faustina Pererira, Advocate of the Supreme Court of Bangladesh and Director of the Human Rights and Legal Services (HRLS), BRAC ได้แสดงปาฐกถาในเรื่องนี้ไว้อย่างน่าสนใจว่าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ รัฐธรรมนูญของแต่ละประเทศได้มีบทบัญญัติเพื่อรับรองสิทธิ เสรีภาพ ประชาธิปไตย และธรรมาภิบาล เสมือนหนึ่งเส้นเลือดหลักที่คอยหล่อเลี้ยงให้การปกครองรัฐ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ หรือกล่าวให้เข้าโดยง่ายก็คือ ยิ่งรัฐมีสิ่งเหล่านี้มากเท่าไหร่ ก็จะเป็นรัฐที่มีสุขภาพดี (Healthy State) มากเท่านั้น

วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

"ธิดา ถาวรเศรษฐ์" แม่ทัพหญิง นปช.คนใหม่

เปี่ยมด้วยอุดมการณ์แรงกล้า เผยฉากชีวิตรักกับ"หมอเหวง"ในป่า
"บางคนพูดเพื่อให้ดูดี บางคนพูดเพื่อให้ตัวเองเป็นคนสำคัญมีฐานะนำ" แต่ไม่ใช่ "ธิดา ถาวรเศรษฐ์" รักษาการประธานแนวร่วมกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. ภรรยา นพ.เหวง โตจิราการ แกนนำ นปช. ที่ถูกขังอยู่ในเรือนจำในข้อหาก่อการร้าย ซึ่งเป็นผู้ถูกเลือกโดยมีมติจากแกนนำในคุกส่งสัญญาณให้เธอเป็นผู้นำทัพ ทำให้เธอต้องออกมารับหน้าที่แม่ทัพใหญ่คุมมวลชนคนเสื้อแดงในยามที่ขาดหัว พร้อมกับเน้นย้ำว่า

"เราจะพูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์กับ ประเทศชาติและประชาชน ถ้าเราพูดอะไรแล้วมันให้โทษกับประชาชน หรือไปเข้าทางคนที่เป็นอุปสรรคขัดขวางประชาชนจะไม่พูด ไม่ต้องการพูดเพื่อสำแดงโวหาร ว่า เราเป็นคนเก่งหรือก้าวหน้า คำพูดของเราจึงต้องนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นประโยชน์เท่านั้น" คำกล่าวของ ธิดา ประธาน นปช.คนใหม่ กับทิศทางใหม่พูดเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สมกับเป็นแกนนำไม่ใช่โฆษก ซึ่งมีเรื่องราวชีวิตที่น่าสนใจมากเริ่มจากการเป็น อาจารย์สอนวิทยาศาสตร์การแพทย์ หลังจากเรียนจบปริญญาโททางด้าน Microbiology หรือ จุลชีววิทยา สอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่พร้อมกับทำวิจัยไปด้วย และมาสอนที่มหาวิทยาลัยมหิดล สอนคณะเภสัชเพราะปริญญาตรีอาจารย์จบ"เภสัช"

สัมภาษณ์พิเศษ “พันศักดิ์ วิญญรัตน์”

Siam Intelligence Unit และรายการ Practical Utopia สัมภาษณ์พิเศษ “พันศักดิ์ วิญญรัตน์” อดีตประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี 2 สมัย คือ รัฐบาล พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ และ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร

พ่อของเขาเคยเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ของธนาคารกรุงเทพ พันศักดิ์จบการศึกษาด้านกฎหมายจากอังกฤษ เคยทำงานอยู่ในสหรัฐนับสิบปี หลังกลับมาเมืองไทยใหม่ๆ พันศักดิ์เคยเริ่มทำหนังสือพิมพ์ “จตุรัสรายสัปดาห์” และภายหลังเป็นบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ Asia Times (ปัจจุบันปิดตัวไปแล้ว) นอกจากนี้ยังเป็นผู้ก่อตั้งศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) องค์การมหาชนที่ดูแลด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์และการสร้างมูลค่าเพิ่มในสินค้าไทย

ถอดความจากวิดีโอสัมภาษณ์

เปิดจม.คณะกรรมการเฮลซิงกิ เชิญ ทักษิณ ไปสหรัฐ

นายเบนจามิน แอล. คาแดง คณะกรรมการเฮลซิงกิ ได้ทำจดหมายถึงพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา โดยได้ส่งผ่านไปยังสำนักงานทนายความของนายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ในกรุงวอชิงตัน ดีซี มีใจความว่า

ในฐานะประธานคณะกรรมการความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป (คณะกรรมการเฮลซิงกิ) ข้าพเจ้าขอส่งจดหมายเชิญมายังท่านเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน และสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ ไทย ภายใต้ หัวข้อ “ประเทศไทย : ประชาธิปไตย , การบริหารประเทศ และสิทธิมนุษยชน” ในวันที่ 16 ธันวาคม เวลา 15.00 น. ณ สถานที่ซึ่งจะมีการยืนยันในอนาคต

ในฐานะที่เป็นพันธมิตรด้านความร่วมมือขององค์การเพื่อความมั่นคงและความ ร่วมมือในยุโรปนั้น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสลายการชุมนุมของกลุ่มผู้ประท้วงในกรุงเทพฯ เป็นที่สนใจของคณะกรรมการเฮลซิงกิ และเมื่อไม่นานมานี้ กลุ่ม นปช.ได้ยื่นฟ้องนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ โดยกล่าวหาว่านายอภิสิทธิ์กระทำผิดต่อสิทธิมนุษยชนระหว่างการสลายการชุมนุม ซึ่งหากท่านสามารถให้มุมมองต่อสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย เสรีภาพของสื่อมวลชน และเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน ความพยายามของรัฐบาลไทยในการแก้ปัญหาเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดทางตอนใต้ ของประเทศ และแนวทางที่สหรัฐอเมริกา รวมทั้งประชาคมนานาชาติ รวมทั้งคณะกรรมการเฮลซิงกิ จะมีส่วนช่วยยกระดับสิทธิมนุษยชน และสร้างความเชื่อมั่นว่าจะมีการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์และยุติธรรม

คณะกรรมการเรียกร้องให้ท่านนำเสนอข้อมูลโดยปากเปล่า เป็นเวลาประมาณ 7-10 นาที ซึ่งท่านอาจร้องขอให้เพิ่มเวลาการให้การ หรือแถลงการณ์เป็นลายลักษณ์อักษร หรือนำเสนอวัตถุพยานเพื่อนำมาบันทึกเป็นหลักฐานอย่างเป็นทางการ และคณะกรรมการจะรู้สึกขอบคุณอย่างมาก หากได้รับถ้อยแถลงของท่านในรูปแบบ อิเล็กทรอนิกส์ภายในวันอังคารที่ 14 ธันวาคม เพื่อที่จะส่งมอบให้แก่กรรมการและเปิดเผยต่อสาธารณะ ณ สถานที่ให้การ

ต้นฉบับภาษาอังกฤษ

วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เปลี่ยนแปลงประเทศไทย

โดย นพ.ประเวศ วะสี
ที่มา : คมชัดลึก

ทุกคนรู้ว่าประเทศไทยต้องเปลี่ยนแปลง แต่ที่ไม่ชัดเจนคือเปลี่ยนอะไรและอย่างไร ที่จริงประเทศไทยพยายามดิ้นรนหาจุดลงตัวใหม่ มาตั้งแต่ครั้งที่ ร.๕ แต่ยังหาไม่พบ

มหาวิกกฤตการณ์สยามนี้ไม่มีใครสามารถแก้ได้ง่ายๆ และคงแก้ไม่ได้ในภพภูมิเดิม เราจะไม่รู้ตัวว่าเราอยู่ในภพภูมิอะไร แล้วก็พยายามแก้ปัญหาอยู่ในภพภูมิเดิมๆ ซึ่งก็ไม่มีทางออกจากวิกฤต จึงควรทำความเข้าใจเรื่องภพภูมิแห่งการพัฒนา ในพระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนก ทรงกล่าวถึง “โมหภูมิ” ว่าคนทั้งหลายตั้งแต่อุปราชจนถึงคนเลี้ยงม้าล้วนตกอยู่ในโมหภูมิเป็นผลให้เกิด “เมืองอวิชชา” ซึ่งเต็มไปด้วยความชั่วช้านานาชนิด

๑. ภพภูมิแห่งการพัฒนา ลูกไก่ที่อยู่ในไข่เมื่อโตเต็มที่แล้วต้องสามารถจิกเปลือกไข่ออกมาสู่ภพภูมินอกเปลือกไข่จึงจะเติบโตต่อไปได้ ถ้ามันยังอยู่ในภพภูมิที่ล้อมรอบด้วยเปลือกไข่มันจะตายเพราะภพภูมินั้นแคบจะบีบรัดให้ตาย หรือเหมือนเด็กในครรภ์มารดาเมื่อโตเต็มที่แล้วต้องคลอดออกมาสู่ภพภูมินอกครรภ์มารดา ถ้ายังอยู่ในภพภูมิเดิมคือ มดลูกของแม่จะตายทั้งแม่และลูก
สังคมไทยเติบโตและซับซ้อนอย่างยิ่ง ภพภูมิเดิมแคบและบีบคั้น เมื่อบีบคั้นก็เกิดการทะเล้นทะลัก ด้วยอาการต่างๆ รวมทั้งความรุนแรง จึงควรทำความเข้าใจว่าเราอยู่ในภพภูมิอะไร

การบริหารจัดการท้องถิ่นกับการสร้างความเป็นพลเมือง

ประสบการณ์จากประเทศเยอรมนี

แนวคิดการกระจายอำนาจในการปกครองให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ท้องถิ่นได้มีอิสระในการบริหารจัดการตนเองและเพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการบริหารกิจการสาธารณะของท้องถิ่นเองนั้น ถือเป็นรากฐานสำคัญของการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย


ซึ่งจากประสบการณ์ของการกระจายอำนาจไปสู่การปกครองในระดับท้องถิ่นของประเทศเยอรมนี[1] พบว่า ประเทศเยอรมนีได้นำแนวคิดของการบริหารจัดการท้องถิ่น (Local Governance) มาใช้อันมีนัยยะสำคัญถึง “การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนในรูปแบบใหม่ โดยเน้นให้รัฐมีบทบาทในการสร้างความเป็นพลเมืองให้แก่ประชาชน ซึ่งหมายถึง ผู้ที่มีความรับผิดชอบในกิจการสาธารณะของเมือง/ชุมชน” ทั้งนี้ โดยได้มีการนำแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management: NPM) มาใช้ในการออกแบบองค์กรและรูปแบบการทำงานของหน่วยงานรัฐในระดับท้องถิ่นให้เหมาะสมกับการส่งเสริมให้ภาคประชาชน และภาคธุรกิจเอกชนได้มีส่วนร่วมในกิจการสาธารณะของท้องถิ่นได้มากขึ้น อันสอดคล้องกับเป้าหมายของหลักการกระจายอำนาจทางการเมือง (Political Decentralization) ที่ต้องการสร้างให้เกิดความเป็นพลเมืองในระดับท้องถิ่น ซึ่งเป็นผู้ที่มีความตื่นตัว ไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกันและกัน และร่วมรับผิดชอบในการกิจการสาธารณะ รวมทั้งมี commitment ในทางการเมือง

วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553

"พรรคเพื่อไทย" กับ "ประชาธิปไตยไทย"

โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
ที่มา : มติชน 6-12-2010

ในขณะที่จำนวนมากของคนเสื้อแดงได้ก้าวพ้นทักษิณไปแล้ว แต่พรรคเพื่อไทยยังก้าวไม่พ้น และที่น่าเศร้าไปกว่านั้นก็คือ ทักษิณที่ พท.ก้าวไม่พ้นนั้นคือตัวบุคคล ไม่ใช่สัญลักษณ์การมีส่วนร่วมทางการเมืองของคนเล็กๆ ไม่ใช่นโยบายที่ตอบสนองต่อความจำเป็นของคนเล็กๆ (คือการเสริมสร้างความมั่นคงในชีวิต) และไม่ใช่แม้แต่ "ประชาธิปไตย" อย่างที่ พท.ชอบกล่าวอ้าง

จุดยืนทางการเมืองที่เด่นชัดของ พท.คือการเอาทักษิณกลับมา มีนโยบายที่ได้แถลงแก่ประชาชนอย่างชัดเจนว่า จะมีขั้นตอนอย่างไร จนในที่สุดทักษิณก็สามารถกลับสู่ประเทศไทยโดยไม่มีคำพิพากษาติดตัว

แต่ จะกลับมาทำอะไร (ทางการเมือง) พท.ไม่มีคำตอบชัดเจน จะให้เข้าใจโดยนัยยะว่าเพื่อกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีก (หรือเป็นต่อไปเหมือนไม่เกิดรัฐประหารใน พ.ศ.2549) ก็ไม่สู้จะชัดเจนนัก หรือให้กลับเข้ามาเพราะเป็นความเป็นธรรมที่จะให้กลับมา พท.ก็ไม่ได้เน้นเรื่องของความไม่เป็นธรรมเป็นหลัก อย่างน้อยก็เน้นประเด็นนี้ไม่เท่ากับที่เสื้อแดงเน้น พท.วางเงื่อนไขไว้อย่างเดียว คือหาก พท.สามารถได้ที่นั่งในสภาเกินกึ่งหนึ่งในการเลือกตั้งครั้งหน้า

แต่อย่างน้อยนักการเมืองที่เจนเวทีในพรรคก็คงรู้อยู่แล้วว่าเป็นไปไม่ได้มากไปกว่ากโลบายหาเสียง

วันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2553

"วันหวนคิดถึงพ่อของฉัน"

ความเรียงสมัครเล่น
โดย.คงฝัน (รากหญ้าพัฒนา)

พ่อฉันเป็นคนจีนโดยกำเนิด พ่อฉันชอบไหว้พระ ทำบุญเลี้ยงพระที่บ้านบ่อยสมัยฉันเป็นเด็ก พ่อชอบไปทำบุญสร้างวัดที่ต่างจังหวัด ตามสถานะภาพ เพราะพ่อต้องเลี้ยงดูแม่ฉันและพี่น้องรวม ๗ ชีวิต และคนงานอีก ๑๐ คน ฐานะจึงไม่ได้ร่ำรวย ฉันทึ่งในตัวพ่อของฉันมาก พ่อเป็นคนจีนที่ชอบวัฒนะธรรมไทย อาหารไทย พ่อเป็นคนขยัน,อดทน,มัธยัตถ์ รู้จักใช้สิ่งของ หากแพงแต่ใช้ประโยชน์ดี พ่อเลือกใช้

พ่อฉันชอบช่วยเหลือคน ชอบถ่ายทอดความรู้ที่ดีที่มีและอาชีพให้ โดยไม่เคยหวง พ่อเคยถามภาษาจีนฉันว่า "อยากให้เขากิน..หรือกินของเขา" ฉันจึงตอบพ่อว่า " อยากให้เขากิน" พ่อบอกว่าถูกต้องแล้ว เราให้เขากิน หมายถึงเรารู้จักทำกินและมีเหลือช่วยคน แต่ถ้าเราคอยกินของเขา หมายถึงเราไม่มีอันจะกิน เราไม่รู้จักแม้กระทั่งช่วยเหลือตัวเอง ภายภาคหน้าจะลำบากหากคิดเช่นนี้

พ่อฉันมีความรู้ตำรายาจีน ,ตำราหมอดูทำนายชะตาชีวิต,งานโรงพิมพ์,ตัดเสื้อผ้า,ค้าขาย,การเมืองและประวัติศาสตร์ หลายประเทศ เพราะพ่อเป็นนักอ่าน พ่อจึงมีความรู้ ความสามารถก็เยอะ ต่อเติม,สร้าง,ออกแบบ ช่างคิด พ่อไม่เคยหวงความรู้ พ่อบอกว่าการที่เราให้ความรู้หรือช่วยเหลือคนนอกจากได้บุญแล้ว วันข้างหน้าหากเราลำบากหรือต้องการความช่วยเหลือ คนที่เราเคยช่วยเหลือเขาๆอาจจะช่วยเหลือเราได้บ้าง

"จันทร์ กั้วพิจิตร" หญิงเก่งผู้นำชุมชนต้นแบบ

แม้ ในอดีตจะเคยผ่านประสบการณ์ถูกไล่รื้อที่อยู่อาศัยภายในชุมชนแออัด ทว่า จันทร์ กั้วพิจิตร ประธานชุมชนคลองลำนุ่น ย่านคันนายาว ก็ร่วมต่อสู้กับพี่น้องเพื่อนบ้านชาวชุมชนคลองลำนุ่น กระทั่งวันนี้ได้มีการบริหารจัดการชุมชนจนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี ลบภาพชุมชนแออัดได้อย่างสิ้นเชิง


ประธานชุมชนวัย 55 ปี ย้อนอดีตเมื่อครั้งที่เธอและเพื่อนบ้านร่วมต่อสู้เรื่องที่อยู่อาศัยจากภาครัฐ จนสำเร็จเมื่อหลายปีก่อน แม้กว่าจะได้มาต้องเผชิญกับความยากลำบาก แต่ก็คุ้มค่ากับผลลัพธ์ที่ได้มา จากคนที่ไม่เคยมีบ้าน
วันนี้เธอบอกถึงตายก็ตายตาหลับ เพราะมีที่อยู่ให้ลูกหลาน

รัฐที่ความยุติธรรมล้มเหลว

โดย สุรพศ ทวีศักดิ์
ที่มา : ประชาไท

คนจนนำแผ่นซีดีเก่าสิบ-ยี่สิบแผ่นมาวางขายหาเงินซื้อข้าวสารกรอกหม้อ ถูกจับและเรียกปรับเป็นแสน ทำให้ดูเหมือนว่ารัฐไทยช่างเอาจริงเอาจังกับการบังคับใช้กฎหมายเหลือเกิน

คนจนนำแผ่นซีดีเก่าสิบ-ยี่สิบแผ่นมาวางขายหาเงินซื้อข้าวสารกรอกหม้อ ถูกจับและเรียกปรับเป็นแสน ทำให้ดูเหมือนว่ารัฐไทยช่างเอาจริงเอาจังกับการบังคับใช้กฎหมายเหลือเกิน และเมื่อปรากฏภาพข่าวนายตำรวจขวัญใจประชาชนควักเงินส่วนตัวจ่ายค่าปรับแทนคน จน เราต่างตื้นตันใจว่าสังคมนี้ช่างมีตำรวจที่เปี่ยมเมตตาธรรมต่อประชาชนผู้ยาก ไร้หาเช้ากินค่ำเหลือเกิน แต่เป็นภาพที่ขัดแย้งกับภาพตำรวจตามด่านตรวจบางแห่ง ที่ก้มลงหยิบเศษเงินข้างๆ เท้าของคนขับรถบรรทุก

ภาพที่ขัดแย้งกันสองภาพดังกล่าว ภาพแรกเป็นภาพจงใจถ่ายทำ แต่ภาพหลังเป็นภาพแอบถ่าย หรือภาพแรกเป็นภาพจงใจนำเสนอเพื่อต้องการบอกสังคมว่า ตำรวจไทยเอาจริงเอาจังและเที่ยงตรงกับการบังคับใช้กฎหมาย และตำรวจไทยก็มีเมตตาธรรมต่อประชาชนผู้ยากไร้ ส่วนภาพหลังเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ได้จงใจนำเสนอ แต่เป็นข้อเท็จจริงของวิถีชีวิตประชาชนที่หาเช้ากินค่ำถูกรีดไถจนชาชิน

คำถามคาใจในคำวินิจฉัยไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์

โดย "นิติเกิน" (จากเว็บไซต์ "นิติราษฎร์" 3 ธันวาคม 2553)

ด้วยความเคารพอย่างสูงต่อท่านตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทุกท่าน คำวินิจฉัยอย่างไม่เป็นทางการที่ท่านได้อ่านไปในคดียุบไม่พรรคประชาธิปัตย์นั้น ทำให้ผู้น้อยเกิดความสงสัยหลายประการ อยากให้ท่านช่วยอธิบายให้กระจ่างชัดด้วย

1. วิธีการอ่านคำวินิจฉัยที่ถูกต้องควรเป็นเช่นไร
เคยเข้าใจมาตลอดว่า ศาลไทยและต่างประเทศมีวิธีปฏิบัติเหมือนกันคือ เขียนคำพิพากษาให้เสร็จ ตรวจทานแล้วจึงให้ตุลาการทุกท่านที่เป็นองค์คณะลงนามกำกับไว้ ท่านใดมีความเห็นแย้ง หรือมีเหตุผลเป็นอย่างอื่นก็จะแนบเข้าไปกับตัวคำพิพากษา จากนั้น จึงนำมาอ่านต่อหน้าคู่ความ

หากเทียบกับกรณีศาลรัฐธรรมนูญ อย่างน้อยที่สุด คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญก็น่าจะต้องแล้วเสร็จพร้อมอ่านต่อหน้าผู้ร้อง ผู้ถูกร้อง ส่วนความเห็นในการวินิจฉัยส่วนตน แม้ไม่มีสภาพบังคับในทางกฎหมาย แต่ก็น่าจะเปิดเผยไปพร้อมกันด้วย

แต่คดีนี้ ปรากฎว่า คำวินิจฉัยของศาลยังไม่เสร็จ เปิดดูเว็ป ก็มีแต่คำวินิจฉัยอย่างไม่เป็นทางการ
จริง ๆ แล้ว ที่ถูกต้องควรเป็นอย่างไรครับ

วันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2553

มองชนชั้นในสังคมไทยปัจจุบัน

ผ่านมโนทัศน์ของ คาร์ล มาร์กซ์ และ แมกซ์ เวเบอร์
ศิวนันท์ คีรีเพ็ชร์
สาขาภูมิภาคศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

มโนทัศน์ชนชั้นของคาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) ผ่านมาพร้อมกับกับประวัติศาสตร์การแบ่งมนุษย์เป็นชนชั้นในทุกสภาพสังคม เพื่อต้องการแสวงหาผลประโยชน์ให้ชนชั้นด้วยตัวเองเป็นหลัก เช่น ในสภาพของลัทธินายทุน ซึ่งมีระหว่างชนชั้นผู้กดขี่และผู้ถูกกดขี่ รวมถึงผู้ซื้อและผู้ขายแรงงาน โดยมีลักษณะร่วมกันทางหน้าที่เท่านั้น เพื่อแสดงอำนาจที่อยู่เหนือกว่าในนัยยะของชนชั้นทางสังคม

แต่อีกประเด็นซึ่งขัดกับการแสดงอำนาจที่เหนือกว่าของผู้กดขี่ นั่นคือ การที่บุคคลอยู่ในสภาพเฉพาะที่ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งแต่ละบุคคลไม่รู้จักกัน แต่สามารถแสดงพลังร่วมกันต่อต้านผู้ว่าจ้างได้อย่างมีพลังอำนาจ โดยพวกเขาเริ่มคิดในโชคชะตาร่วมกัน เริ่มก่อตัวเป็นชนชั้นที่สามัคคีและมีผลประโยชน์ร่วมกัน

ส่วนมโนทัศน์ชนชั้นของเวเบอร์ อธิบายลักษณะทางชนชั้นซึ่งแบ่งกลุ่มตามสถานภาพที่ขึ้นกับแบบแผนการบริโภคของบุคคลมากกว่าขึ้นอยู่กับตำแหน่งในตลาดหรือกระบวนการผลิต โดยสถานภาพนั้นต่างจากชนชั้น มีลักษณะที่เป็นการรวมกลุ่มแบบชุมชน มีแนวคิดกับวิถีชีวิตที่เหมาะสม และต้องการได้รับการชื่นชม ยกย่องจากสังคมอื่น รวมถึงการกีดกันจากสังคมที่ไม่อยู่แวดวงเดียวกัน จากความห่างเหินทางสังคมก่อให้เกิดลักษณะที่แบ่งแยกระหว่าง "พวกเขา" กับ "พวกเรา"

"แม่น้ำโขง" จากอาณานิคมาภิวัตน์สู่โลกาภิวัตน์

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
อารัมภบท
เมื่อฤดูหนาวปี ๒๕๔๔ ผมไปล่องแม่น้ำโขงจากตอนใต้ของจีนระยะทาง ๒๐๐ กิโลเมตร ผ่านแดนพม่าทางด้านขวา ผ่านแดนลาวด้านซ้าย จาก "สี่เหลี่ยม (ที่ไม่ค่อยจะมี) เศรษฐกิจ" ที่ดีและก็ไม่ค่อยจะรักษาธรรมชาติและสภาพแวดล้อมนัก ลงมาจะถึง "สามเหลี่ยมทองคำ" ที่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

เราเริ่มต้นจากการบินจากกรุงเทพฯ ไปเมืองคุนหมิง เที่ยวแล้วก็นอนที่นั่นคืนหนึ่ง วันรุ่งขึ้นบินไปเมืองเชียงรุ่ง (หมายถึงรุ่งเช้า ไม่ใช่เชียงรุ้ง หรือรุ้งกินน้ำ) ในแคว้นสิบสองปันนาของชนชาติไตหรือไท (ที่ไม่มี ย. ยักษ์) สัมผัสกับ "ไต/ไทลื้อ" ในดินแดนที่กำลังกลายเป็น "จีนฮั่น" ไปจนเกือบหมด

จากเมืองเชียงรุ่งเราตื่นตีสาม ขึ้นรถทัวร์ตีสี่ แล้วนั่งรถไต่เขามาเรื่อย ๆ มาถึงสุดชายแดนจีน หมอกลงหนาทึบแทบไม่เห็นทาง (และก็ดีที่ไม่เห็นเหวลึกเบื้องล่าง) เราลงเรือเหล็กท้องแบนของจีนที่แม่น้ำโขงประมาณเจ็ดโมงเช้า แล้วก็ล่องลิ่วลงมาตามเกาะแก่งทั้งหลายเป็นเวลาถึง ๑๑ ชั่วโมง ถึงเชียงแสนก็ค่ำแล้วประมาณสองทุ่ม นี่เป็นการเดินทางซึ่งผมคิดว่าประทับใจและสุดยอดที่สุดครั้งหนึ่งในชีวิต

วันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การพัฒนาระบอบประชาธิปไตยไทย ในสายตา "ดร.โกร่ง"

4 ปัจจัยบวก 4 ปัจจัยฉุด การพัฒนาระบอบประชาธิปไตยไทย
ในสายตา "ดร.โกร่ง" วีรพงษ์ รามางกูร ,ที่มา : มติชน

อย่าคิดว่าเรามีแต่ปัจจัยลบ ทั้งที่เรามีปัจจัยบวกที่ดีกว่าประเทศอื่นอยู่มาก"
เมื่อวันที่ 1 ธันวาคมโรงแรมสยามซิตี้ นายวีรพงษ์ รามางกูร อดีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “นักการเมืองรุ่นใหม่-กับแนวทางพัฒนาประชาธิปไตยในอนาคต” ซึ่งจัดขึ้นโดยสถาบันศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย ซึ่งมีนายจาตุรนต์ ฉายแสง เป็นประธาน และมูลนิธิคอนราด อเดนาวร์

นายวีรพงษ์ หรือ ดร.โกร่ง กล่าวถึงความสำคัญในส่วนของการเมืองที่เป็นปัจจัยในการพัฒนาประเทศไปสู่ระบบประชาธิปไตย ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลก ทั้งในด้านการผลิต การโทรคมนาคม และสื่อสารมวลชน ที่ได้ทำลายกำแพงของระบอบประชาธิปไตยแบบปิด และทำให้สังคมที่พยายามฝืนกระแสโลกาภิวัฒน์จะประสบกับปัญหาต่างๆ ทั้งในเรื่องการชะงักงันทางเศรษฐกิจ และการต่อต้านจากสังคมโลก จึงไม่แปลกที่จะรู้สึกว่าทั่วโลกมีความตระหนักถึงความสำคัญของระบอบประชาธิปไตย

วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

พรรคประชาธิปัตย์ในมุมมองของ "ดร.โกร่ง"

คนเดินตรอก
วีรพงษ์ รามางกูร

ประชาธิปัตย์ต้องการปฏิรูปการเลือกตั้งทั่วไปหลังจากมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี 2550 เป็นเครื่องชี้อย่างดีว่าพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นพรรคที่เก่าแก่ที่สุดของบ้านเรา ต้องการการปฏิรูป อย่างรุนแรงและขนานใหญ่ มิฉะนั้นประเทศไทยจะกลายเป็นประเทศที่มี ระบอบการปกครองโดยพรรคใหญ่ พรรคเดียว ซึ่งไม่เหมาะกับบ้านเราและ เราก็ไม่ต้องการอย่างนั้น

พรรคประชาธิปัตย์ก็เหมือนกับพรรคการเมืองอื่นที่ต้องถือว่าเป็นของประชาชน มิใช่พรรคของกรรมการบริหารพรรค หรือสมาชิกพรรคเท่านั้น เพราะได้รับเงินจากภาษีอากรที่เก็บจากประชาชนทั่วประเทศไปทำกิจกรรมของพรรค พรรคต้องฟังความคิดเห็นของประชาชน ผู้เสียภาษีด้วย ถ้าการวิพากษ์วิจารณ์มีเหตุผล ควรฟังว่าเขาวิพากษ์วิจารณ์อะไร อย่ามัวแต่ค้นหาว่าทำไมเขาจึงวิพากษ์วิจารณ์

เรื่องแรก พรรคต้องเปลี่ยนทัศนคติ เสียใหม่ การเอาแต่คิดโค่นล้มคู่ต่อสู้ ทุกวิถีทางนั้นต้องเปลี่ยนใหม่ แม้ว่าตอนที่ก่อตั้งพรรคเมื่อปี 2489 พรรคประสบความสำเร็จในการโค่นล้มพรรคแนวรัฐธรรมนูญและพรรคสหชีพ โดยการ ร่วมมือกับทหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับจอมพลผิน ชุณหะวัณ และจอมพลป.พิบูลสงคราม ลงเลือกตั้งโดยการ ช่วยเหลือของทหารในเดือนมกราคม 2491 เป็นรัฐบาลอยู่ได้ 4เดือน ก็ถูกทหารหักหลังจี้ให้ลาออก หลังจากนั้นก็ไม่ได้อะไร จนเกิดกรณี 14 ตุลาคม 2516 เพราะทหารแตกคอกันเองไม่ใช่ฝีมือของพรรค

วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

หอไอเฟล: ประภาคารเหล็กผงาดค้ำเหนือศักดินา

โดย เพ็ญ ภัคตะ
ปีนป่ายใต้แสงสุรีย์สาดข
ณะที่อากาศธาตุสงัดสงบ
ช่อผกาช่วงชั้นที่หลั่นทบ
สยายกลีบยามพลบจุมพิตนภา

จากเปลวไฟในกมลคนนับล้าน
จุดโคมประภาคารแสวงหา
เคี่ยวความฝันสัญลักษณ์นครา
ประกาศแก่ดินฟ้าจบจักรพาล

ศาลใคร? คอลัมน์ เมืองไทยหรือเมืองใคร? โดย กาหลิบ

ใครแปลกใจในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในกรณียุบพรรคประชาธิปัตย์
แสดงว่ายังมีความลุ่มหลงกับระบอบโบราณของไทยว่าจะให้ความยุติธรรมและความเป็นธรรมในสังคมนี้ได้

การไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์โดยอาศัยประเด็นปลีกย่อยที่เป็นเทคนิคกฎหมาย
และเป็นตัวช่วยอย่างสำคัญต่อการก่อตัวขึ้นของระบอบประชาชน
หากยุบพรรคประชาธิปัตย์เสียอีก จะมีผู้ใหญ่ที่อ้างตัวเป็นแดงบางคนเข้ามาเชียร์ทันทีว่า
เห็นไหม ระบอบปัจจุบันยังใช้การได้ เราจะไปเคลื่อนไหวถึงขั้นระบอบและโครงสร้างกันไปทำไม

บุญเหลือเกินที่ความโง่บางชนิดถูกย่อยสลายได้ด้วยความจริงแบบเร่งด่วนทันใจ
ต้องขอบคุณศาลรัฐธรรมนูญในแง่นี้เป็นอย่างยิ่ง

ใครติดตามวิธีพิจารณาวินิจฉัยกรณีร้องเรียนให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์มาตลอด จะเห็นได้พร้อมกันว่า
ระบอบเผด็จการโบราณเขามีความชำนาญและความรอบคอบในการสร้างเครื่องมือแห่งอำนาจเป็นอันมาก

จีนเติบโตอย่างยิ่งใหญ่...เมื่อเริ่มใจถ่อม

โดย : มนตรี ศรไพศาล
หนังสือพิมพ์มติชน

ชาวโลกได้เห็นงานเปิดและปิด กีฬาเอเชียนเกมส์อย่างยิ่งใหญ่ ต่อเนื่องจากงานกีฬาโอลิมปิคอลังการ และงานเวิรลด์เอ็กซโปตระการตา ทำให้เห็นความยิ่งใหญ่ของจีนในทุกวันนี้อย่างแท้จริง

จีนเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ จีนเป็นผู้นำในด้านการผลิต การส่งออก การนำเข้า
จีนมีทุนสำรองสกุลเงินต่างประเทศสูงสุด ในประวัติศาสตร์โลก กว่า 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ
จีนกำลังมีคนรวยมากที่สุด กำลังมีรถหรูเช่น รถเบนซ์มากที่สุดในโลก

แม้จีนยังมีคนจนมาก รายได้เฉลี่ยประมาณ 6,800 เหรียญต่อคนต่อปี ไทยมีรายได้เฉลี่ย 8,000 เหรียญต่คนต่อปี เขากลับเริ่มมีคนร่ำรวยมากที่สุด มีรถหรูหรามากที่สุด

ทั้งนี้ไม่ใช่เพราะว่าเขายังใช้หลักการเศรษฐกิจรวมศูนย์ (Centralized Economy) แบบคอมมิวนิสต์อีกต่อไป แต่เป็นเพราะเขาเริ่มใช้หลักการเศรษฐกิจเสรี (Market Economy)

วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วันหนึ่ง เราจะฝ่าข้ามไป : วิสา คัญทัพ

แปลจากเพลง We shall overcome ของ Pete Seeger


เราจะฝ่าข้ามไปไม่ท้อแท้
เราฝ่าข้ามพ้นแน่ สักวันหนึ่ง
เชื่อมั่นโดยรู้สึกอันลึกซึ้ง
เราจักข้ามไปถึงโดยทั่วกัน

เดินกุมมือกันมั่นไม่หวั่นไหว
เรากุมมือกันไปไม่ไหวหวั่น
ลึกลงในหัวใจไม่กี่วัน
เราจะฝ่าข้ามมันอย่างแน่นอน

เราจะพบคืนวันสันติภาพ
ภาพสันติฉายฉาบรังสีสะท้อน
หัวใจเชื่อมั่นว่าภราดร
สันติภาพสถาพรจะเป็นจริง

เราไม่กลัวอะไรและไม่หนี
ไม่กลัวแล้ววันนี้ในทุกสิ่ง
ทั้งเชื่อมั่นสุดใจไม่ทอดทิ้ง
เดินและวิ่งรุดหน้าฝ่าข้ามไป

หมดทั้งโลกกว้างใหญ่อันไพศาล
โจนทะยานสง่างามข้ามไปได้
ต้องมีสักวันหนึ่งถึงเส้นชัย
เราจะฝ่าข้ามไปได้แน่นอน

วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สถาปนาสถาบันประชาชน : ไม้หนึ่ง ก.กุนที

ไม้หนึ่ง ก.กุนที , ที่มา : ประชาไท
1
เราไม่ปกป้องการอภิวัฒน์
สายลมปฏิปักษ์จึงพัดหวน
การรื้อสร้างไม่อาจทำอย่างนุ่มนวล
ทุกชิ้นส่วน ต้องกล้านับ 1 ใหม่

เราไม่ปกป้องการอภิวัฒน์
ทรรศนะทางชนชั้นไม่ขยาย
'475 พริบตาเป็นอาชาไนย
แล้วก็กลับเป็นงัวควาย เหมือนๆ เดิม

เราไม่ปกป้องการอภิวัฒน์
สิทธิ์หน้าที่แจ่มชัดไม่ทันเริ่ม
ลงหมุดแล้วไม่ตอกต่อเสาเติม
เอาเครื่องเรือนไปปลูกเสริมสร้างเวียงวัง

วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

อภิสิทธิ์

‘อภิสิทธิ์’ ลั่นค้าน ‘พ.ร.บ.ความมั่นคง’ (เหตุเกิดเมื่อ 2 ปีที่แล้ว)
ทัศนะของ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” (เมื่อ 2 ปีที่แล้ว) คัดค้านการผ่านร่าง พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร โดยเห็นว่าหากนิยาม “ภัยคุกคามความมั่นคง” อย่างไม่แยกแยะ อาจมีการใช้กฎหมายในทางที่ผิด และย้ำว่าการชุมนุมทางการเมืองเป็นสิทธิที่ทุกคนพึงมีตราบเท่าที่ไม่ใช้ความ รุนแรง การควบคุมต้องต่างจากการก่อการร้าย และย้ำว่าหากกฎหมายผ่าน สนช. ต้องแก้ไข
“ปัจจุบัน การกระทำที่ถูกมองว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงมีความหลากหลายมาก แต่กฎหมายทุกฉบับจะพยายามนิยามให้ครอบคลุมกว้างๆโดยไม่จำแนกแยกแยะ และมักจะใช้เครื่องมือตามกฎหมายโดยไม่มีการแยกแยะเช่นเดียวกัน หากเป็นเช่นนี้ต่อไป ก็จะเกิดความเสี่ยงที่ “ภัยคุกคาม” บางชนิดจะป้องกันปราบปรามไม่ได้ ขณะที่อาจมีการใช้อำนาจตามกฎหมายในทางที่ผิด”

“ขณะ ที่ปัญหาการชุมนุมทางการเมืองนั้น เป็นสิทธิที่ทุกคนพึงมีตราบเท่าที่ไม่มีการจงใจที่จะละเมิดกฎหมายในลักษณะ ของการใช้ความรุนแรง หรือก่อให้เกิดความวุ่นวาย การควบคุมสถานการณ์ในลักษณะนี้ ต้องการการปฏิบัติแตกต่างจากการก่อการร้ายอย่างชัดเจน”

วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แนวคิดทฤษฎีว่าด้วย "สิทธิ"

1. สิทธิ (Right)
ความคิดเรื่องสิทธิหรือมโนทัศน์เรื่องสิทธิเป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยในสังคมปัจจุบัน ดังเห็นได้ว่า “สิทธิ” เป็นคำที่เราอ้างถึงอยู่เสมอเพื่อแสดงถึงความชอบธรรมในสิ่งที่เราทำ เช่น เรามีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง นอกจากนี้เรามักอ้างถึง “สิทธิ” เพื่อแสดงถึงความชอบธรรมในสิ่งที่เราเห็นว่าควรได้รับจากผู้อื่นและสังคม เช่น เรามีสิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยในการดำรงชีวิต ทั้งนี้เมื่อเราอ้างถึง “สิทธิ” มีนัยว่าเราเรียกร้องให้ผู้อื่นต้องเคารพและปฏิบัติตาม อย่างไรก็ตาม แม้มโนทัศน์เรื่องสิทธิเป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยในสังคมปัจจุบัน แต่ก็เป็นที่น่าสงสัยว่าเราเข้าใจมโนทัศน์นี้ดีหรือไม่ เช่น เรารู้หรือไม่ว่าแนวคิดเรื่องสิทธิเกิดขึ้นเมื่อไร, “สิทธิ” หมายถึงอะไร, อะไรเป็นลักษณะสำคัญของสิทธิ, อะไรเป็นเหตุผลที่ทำให้เราอ้างได้ว่าเรามีสิทธิต่างๆ และการที่สังคมให้ความสำคัญลำดับแรกกับสิทธินั้นเหมาะสมหรือไม่

2. การเกิดขึ้นของมโนทัศน์เรื่องสิทธิ
คำว่า “สิทธิ” แปลมาจากคำว่า “right” ในภาษาอังกฤษที่นอกจากแปลว่า “สิทธิ” แล้วยังมีอีกความหมายหนึ่งคือ “สิ่งที่ถูกต้อง” ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นความหมายดั้งเดิมของ “right” ดังเห็นจากการที่ “right” นั้นมีรากศัพท์มาจากคำว่า “ius” หรือ “jus” ในกฎหมายโรมัน ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายเชิงยืนยันว่าสิ่งบางสิ่งหรือการกระทำบางอย่างถูกต้องหรือยุติธรรม ความหมายนี้บ่งถึงความถูกต้องแบบวัตถุวิสัย (objective right) ของการกระทำโดยอิงจากหลักศีลธรรมหรือกฎหมาย

นายกฯ ทักษิณคุยกับประชาชน : ๒๗ ธค.๒๕๔๖

คำกล่าวของพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในรายการ “นายกฯ ทักษิณคุยกับประชาชน”
ทางคลื่นเอฟ.เอ็ม. 92.5 สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เวลา 08.00 น. วันเสาร์ที่ 27 ธันวาคม 2546

สวัสดีครับพี่น้องประชาชนที่เคารพรักครับ
เหลืออีก 5 วันจะเป็นปี 2547 แล้ว ปีนี้วันที่ 2 ความจริงไม่ใช่วันหยุด วันที่ 31 ธันวาคมเป็นวันหยุด คณะรัฐมนตรีจึงสลับวันกันเพื่อที่จะให้พี่น้องได้มีโอกาสไปเยี่ยมเยียนญาติพี่น้อง วันที่ 31 ธันวาคมส่วนใหญ่ยังนับถอยหลังข้ามปีใหม่กันอยู่ที่กรุงเทพฯ เพราะฉะนั้น วันที่ 1 มกราคมก็ไปสวัสดีปีใหม่ไปเยี่ยมเยียนญาติผู้ใหญ่ ซึ่งตามประเพณีพวกที่นับถือศาสนาคริสต์ใช้ฤดูกาลช่วงคริสต์มาสเป็นวันหยุดหลายวันเพื่อจะได้ไปเยี่ยมญาติพี่น้องพ่อแม่ เพื่อนฝูงและได้พักผ่อนไปด้วยในตัวครับ

ขอให้ระมัดระวังในการเดินทางไปต่างจังหวัด
สำหรับพี่น้องคนไทยที่จะเดินทางไปพักผ่อนและไปต่างจังหวัดในช่วงวันหยุด 4 วัน ติดต่อกันคือ วันที่ 1- 4 มกราคม 2547 ขอให้พึงใช้ความระมัดระวัง เพราะอุบัติเหตุปี ๆ หนึ่งในช่วงวันหยุดยาวเกิดขึ้นมาก บางครั้งบาดเจ็บทีหนึ่ง 20,000 กว่าคน เสียชีวิต 400-500 คนมากไป อยากจะขอให้พี่น้องคนไทยทุกคนได้ใช้ความระมัดระวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ทำหน้าที่ขับรถสาธารณะนั้นถือว่าท่านต้องดูชีวิตคนหลายคนขอให้พึงระมัดระวัง

วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

National Power ยังหลงเหลืออยู่แค่ไหน?

ความหมายของ National Power ก็คือพลังอำนาจของชาติ ถือเป็นเรื่องสำคัญที่เอามาใช้ในทางยุทธศาสตร์ ผู้ริเริ่มเอามาใช้เป็นคนแรกในปลายศตวรรษที่ 15 ได้แก่ นิโคโล มาเคียเวลลี่ ซึ่งเป็นทั้งนักการทหารและนักปรัชญาชาวอิตาลี...พลังอำนาจของชาติในช่วงที่มาเคียเวลลี่นำเสนอ เขาได้จัดเป็นองค์ประกอบ 3 ประการคือ การเมือง สังคม และการทหาร กระทั่งต่อมามีการเพิ่มเติมโดยคาร์ล วอน เคลาสวีทซ์ ผู้เป็นซุนหวู่แห่งตะวันตก โดยเพิ่มพลังอำนาจของชาติในทางด้านเศรษฐกิจเข้ามาเป็นองค์ประกอบต่อการทำสงครามอีกปัจจัย

เรื่องพลังอำนาจของชาติ แม้จะเริ่มต้นมาจากหลักการดังกล่าว แต่ได้มีการพัฒนาและศึกษาเพิ่มเติมในฐานะเครื่องมือสำคัญที่จะผลักดันยุทธศาสตร์ชาติให้ดำเนินไปถึงการบรรลุวัตถุประสงค์และการรักษาผลประโยชน์ของชาติบ้านเมือง ประเด็นนี้จึงเป็นเรื่องที่ต้องยกขึ้นมาถกเถียงอย่างจริงจัง โดยเฉพาะภายใต้สถานการณ์ของประเทศไทยปัจจุบัน ตลอดเวลาของความขัดแย้งเราคงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าพลังอำนาจของชาติได้กร่อนสลายลงไปถึงจุดวิกฤตที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง โดยบรรดาผู้ปกครองและผู้อยู่ในอำนาจทั้งหลายยังไม่ได้ตระหนัก หรืออาจจะไม่มีสำนึกในเรื่องนี้ด้วยซ้ำไป?

วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วิกฤตการณ์แห่งอำนาจอธิปไตยของปวงชน

ปี 2549: วิกฤตการณ์แห่ง “อำนาจอธิปไตยของปวงชน” และการพังทลายของ “นิติรัฐ”
การวิเคราะห์สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปี 2549 ในแง่มุมที่ยังไม่มีเอกสารใดนำเสนอต่อสาธารณะมาก่อน เพื่อวิเคราะห์ถึงเหตุแห่งวิกฤติอันนำไปสู่การทำรัฐประหาร19กันยา ผลกระทบทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจที่เกิดจากการรัฐประหารและประเมินสถานการณ์ทางด้านการเมืองที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตภายใต้เงาปืนของเผด็จการทหาร เรียกสถานการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางปี 2548 -กย. 2549 ว่า “วิกฤตการณ์แห่งอำนาจอธิปไตยของปวงชน” เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด มีเป้าหมายอยู่ที่การเปลี่ยนผู้ยึดครองอำนาจรัฐหรืออำนาจอธิปไตยด้วยกระบวนการสองด้าน กล่าวคือ

ด้านหนึ่ง ประนาม โจมตี ทำลายความชอบธรรมของฝ่ายการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง กระทั่งมุ่งหมายปลิดชีวิตของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชิณวัตร มุ่งเอาชนะคะคานโดยไม่เลือกวิธีการ

ส่วนอีกด้านหนึ่งพวกเขาใช้ประโยชน์จากความจงรักภักดีของประชาชนไทยที่มีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นเครื่องมือเพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่ฝ่ายตน ภายใต้ Motto ที่ฟังดูแปลกๆ เช่น “ทวงคืนประเทศไทย” “ทำลายระบอบทักษิณ” “ถวายคืนพระราชอำนาจ” “สู้เพื่อในหลวง” “นายกพระราชทาน ผ่านมาตรา 7” เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อเป้าหมาย “ทักษิณ..ออกไป” ซึ่งจะทำให้ “กลุ่มอำนาจอื่น” เข้าควบคุม “อำนาจอธิปไตย” ได้ง่ายขึ้น

..."ความยุติธรรมในนิทาน...ไพร่แขนขาว"...

ความยุติธรรมในนิทาน โดย ไพร่แขนขาว

บ่นความเรื่องนี้ “ไพร่แขนขาว” ได้เขียนเล่นเมื่อประมาณสิบปีก่อน ให้เพื่อนฝูงดูในวงจำกัด เมื่อเห็นว่ากลุ่มนิติราษฎร์จัดทำเว็บไซต์ เลยขออนุญาตนำมาลงลดความร้อน และเพื่อความสนุกเพลิดเพลินของตัวเองเป็นสำคัญ
“ไพร่แขนขาว” เคยอ่านนิทานที่น่าสนใจเรื่องหนึ่ง เข้าใจว่าเป็นนิทานอินเดีย ซึ่งศาสตราจารย์ ร.ต.ท. แสง มนวิทูร หรือท่านมหาแสง ได้เล่าไว้ใน “อนุสรณ์มหาจุฬาฯ” พ.ศ. 2505 นิทานเรื่องนี้ให้ข้อคิดเกี่ยวกับความยุติธรรมในการแบ่งของ 8 ชิ้นให้แก่คน 2 คน ตามสัดส่วนที่แต่ละคนพึงจะได้รับ เรื่องมีอยู่ว่า.........

มีกระทาชาย 2 คน เดินทางไปทางเดียวกัน ทั้งสองรู้จักกันในระหว่างเดินทาง ก็ถือเป็นเพื่อนเดินทางไปด้วยกัน ครั้นเดินไปไกล ทั้งสองรู้สึกเหนื่อยจึงนั่งพักที่ใต้ร่มไม้ริมสระแห่งหนึ่งแล้วเปิดห่ออาหารของตนออก

กระทาชายคนหนึ่งมีโรตี 5 แผ่น อีกคนหนึ่งมี 3 แผ่น ทั้งสองเริ่มจะกิน ขณะนั้นมีเศรษฐีคนหนึ่งขี่ม้าเข้ามาใกล้ กระทาชายทั้งสองนั้นจึงทักขึ้นแล้วเชิญให้รับประทานอาหารด้วยกัน เศรษฐีกล่าวขอบใจและบอกว่าตนก็หิวอยู่เหมือนกัน แต่เกรงว่าอาหารของคนทั้งสองนั้นจะไม่พอกิน

กระทาชายเดินทางพูดว่า “หามิได้ นาย! อาหารของเรามีพอ เชิญท่านรับประทานกันเราเถิด”
เศรษฐีลงจากหลังม้า เข้าร่วมวงรับประทานอาหารกับกระทาชายทั้งสองนั้น

การลดความเหลื่อมลํ้าและสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ

บทความที่จะนำเสนอ ในการสัมมนาวิชาการ โดย TDRI ในวันที่ ๒๙-๓๐ พฤศจกายน ๒๕๕๓

๑.การลดความเหลื่อมล้ำ
๑.๑ การสร้างระบบสวัสดิการพื้นฐาน: ค่าใช้จ่ายระบบสวัสดิการสังคมที่คนไทยต้องการ
คนทั่วไปมักจะคิดว่าการมีสวัสดิการสังคมเป็นบริการสาธารณะที่มีราคาแพง คนไทยอาจจะแบกรับไม่ได้ ข้อกังวลดังกล่าวสามารถพิสูจน์ได้จากการประมาณการค่าใช้จ่ายของสวัสดิการสังคมที่คนไทยต้องการ บทความนี้ นำเสนอผลการสำรวจและการทำประชามติความต้องการสวัสดิการสังคมของคนไทย เพื่อมาประมาณการว่า สวัสดิการที่คนไทยต้องการนั้นจะต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายให้แก่ภาครัฐมากน้อยเพียงใด

ปัจจัยที่สำคัญของการให้สวัสดิการสังคมแก่คนไทยนั้น คือ การวางระบบสวัสดิการสังคมที่มีความเป็นธรรมให้แก่ประชาชนทุกกลุ่มอย่างทัดเทียมกัน ในบทความนี้ กล่าวถึงแนวคิดการวางระบบสวัสดิการสังคมโดยยึดหลักความเสมอภาคและความยั่งยืน และมีข้อเสนอสำหรับการมีระบบสวัสดิการสังคมสำหรับคนไทย

๑.๒ การสร้างระบบสวัสดิการพื้นฐาน: การจัดหาและจัดสรรทรัพยากรทางการเงินเพื่อรองรับระบบสวัสดิการ
ทุกระบบสวัสดิการล้วนมีค่าใช้จ่าย ดังนั้นความสามารถของประเทศในการให้สวัสดิการพื้นฐานกับประชาชนจึงมีความสัมพันธ์กับความสามารถในการหารายได้ของ ระบบเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่งเกี่ยวโยงไปถึงการสร้างอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่เพียงพอ แต่ต้องไม่เป็นการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ไปทำลายสวัสดิการ เช่น สร้างผลเสียต่อสุขภาพ เป็นต้น นอกจากนั้นการแบ่งสรรความรับผิดชอบด้านค่าใช้จ่ายตามกลุ่มรายได้ก็สามารถมีส่วนช่วยสร้างสวัสดิการพื้นฐานได้เร็วขึ้น และถือ เป็นกระบวนการเพิ่มความเท่าเทียมกันของการกระจายรายได้ด้วย

วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ทฤษฎีการพัฒนาการเมือง

แนวความคิดทางการเมืองที่ใช้อ้างกันมากเพื่อการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางการเมืองในประเทศด้อยพัฒนา คือ แนวความคิดเรื่องการพัฒนาการเมือง (Political Development) หรือนักวิชาการบางท่านก็ใช้คำว่า การทำให้ทันสมัยทางการเมือง (Political Modernization) บางท่านก็ใช้ปนเปกันทั้งสองคำ มูลเหตุสำคัญที่ได้มีการใช้ศัพท์ดังกล่าววิเคราะห์และอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองนั้น ก็เนื่องจากว่าหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศต่าง ๆ ซึ่งเคยเป็นประเทศในอาณานิคมของมหาอำนาจตะวันตกได้รับเอกราช ประเทศเกิดใหม่เหล่านี้ก็ประสบปัญหาทางการเมืองต่าง ๆ มากมาย เกิดจากการรบราฆ่าฟันเพื่อแย่งอำนาจกันระหว่างเผ่าพันธุ์หรือกลุ่มการเมืองต่าง ๆ การล้มลุกคลุกคลานของระบบรัฐสภาในระบบประชาธิปไตย พร้อมกับการเข้ายึดอำนาจของทหารในรูปของการปฏิวัติรัฐประหาร

ปรากฏการณ์ทางการเมืองดังกล่าวนั้น ย่อมมีการวิเคราะห์หาสาเหตุและนักวิชาการแขนงต่าง ๆ ก็ใช้วิชาที่ตนถนัดเป็นตัวแปรสำคัญในการเสาะหาสาเหตุ นักเศรษฐศาสตร์ก็มองการไร้เสถียรภาพต่าง ๆ ในประเทศเหล่านี้ด้วยการเน้นที่ตัวแปรทางเศรษฐกิจว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเกิดจากการด้อยพัฒนาทางเศรษฐกิจ ปัญหาความยากจนและการขาดเทคโนโลยีในการผลิต ทำให้สังคมประสบปัญหาต่าง ๆ ยากที่จะเกิดเสถียรภาพทางการเมืองขึ้นได้ ความเชื่อดังกล่าวนี้ยังครอบคลุมไปถึงสาเหตุของสงครามโลกครั้งที่สองด้วยว่าเกิดจากปัญหาหลัก คือ ปัญหาเศรษฐกิจ

วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

จดหมายเปิดผนึก : โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม

เรียน เพื่อน นปช.ที่เคารพรักทุกท่าน

บางท่านอาจจะสงสัยว่าเหตุใด ในสัปดาห์นี้ สมาชิกประชาธิปัตย์ถึงได้ออกมาโจมตีข้อความในสมุดปกขาว สี่เดือนหลังจากที่สมุกปกขาวกว่า 50,000 สำเนาถูกเผยแพร่ ดูราวกับว่า ดร.บุรณัชย์ สมุทรักษ์และสมาชิกพรรคคนอื่นออกมากล่าวหาว่าสมุดปกขาวมีข้อความที่ละเมิดกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพทุกวัน ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาที่ไม่มีมูลและจนตรอก

เหตุใดพรรคประชาธิปัตย์ถึงเลือกที่จะโมโหโทโสกับข้อความในสมุดปกขาวที่ถูกเผยแพร่เมื่อสี่เดือนในเวลานี้? สัปดาห์ที่แล้ว สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ได้เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการบริหารของสหพันธรัฐพรรคการเมืองเสรีนิยมที่ประเทศแอฟริกาใต้ ซึ่งในการประชุมดังกล่าว มีการพิจารณาถึงเรื่องการระงับสมาชิกภาพชั่วคราวหรือขับไล่พรรคประชาธิปัตย์ออกจากสหพันธรัฐ สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์เดินทางไปยังแอฟริกาใต้พร้อมด้วยกระเป๋าเดินทางที่เต็มไปด้วยคำอธิบายที่ซ้ำซาก เข้าข้างตนเอง และไม่มีมูลความจริง ซึ่งเป็นข้อมูลเดียวที่พรรคใช้อธิบายให้คนในประเทศไทยฟังเมื่อ 6เดือนที่ผ่านมา โดยปกติแล้ว มาตรฐานทางด้านสิทธิมนุษยชนของสมาชิกสหพันธรัฐพรรคการเมืองเสรีนิยมนั้นไม่ใช่มาตรฐานสิทธิมนุษยชน “แบบไทยๆ” ดังนั้นจึงมีความเป็นได้ว่า พรรคประชาธิปัตย์อาจจะไม่ได้รับการต้อนรับขับสู้อย่างที่ได้คาดหวังเอาไว้ในแอฟริกาใต้ และการตอบโต้เรื่องสมุดปกขาวหลังจากเลยมาสี่เดือนแล้ว อาจเป็นเพราะพรรคประชาธิปัตย์ถูกสมาชิกสหพันธรัฐพรรคการเมืองเสรีนิยมประณามเรื่องการทำลายระบอบประชาธิปัตย์ในประเทศไทยลงอย่างไม่เหลือชิ้นดี

วัฒนธรรมประชาชนนิยม

"ความรู้แจ้งเห็นจริงเป็นสิ่งไม่ตาย"
โดย อริสมันต์ พงศ์เรืองรอง

ก่อนอื่นต้องแสดงความยินดีกับ ออง ซาน ซู จี ที่ได้รับการปล่อยตัวจากรัฐบาลพม่า ถึงแม้ว่าจะช้าแต่ก็ไม่สาย ถือว่าเป็นนิมิตรหมายที่ดีสำหรับประชาธิปไตยในภูมิภาคนี้ คงจะมีโอกาสได้มาถึงบ้านเรา หวังว่าจะเป็นอย่างนั้น ขอเรียกร้องสุดท้ายขอคนเสื้อแดงผู้อาภัพ มีเพียงขอให้ปล่อยตัวนักโทษการเมืองแกนนำคนสำคัญทุกคนรวมทั้งประชาชนที่ถูกคุมขัง และขอให้ยุติการไล่ล่าแกนนำทุกคน เพราะคนเหล่านั้นเป็นผู้บริสุทธิ์ รัฐบาลไม่มีสิทธิ์ที่จะปฏิบัติกับประชาชนผู้รักความยุติธรรม รักประชาธิปไตยอย่างนี้ได้ ให้ตรองดูว่าข้อเรียกร้องที่ผ่านมามีอะไรบ้างที่รัฐบาลยอมให้กับคนเสื้อแดง เราไม่เคยได้อะไรเลยนอกจากเสียกับเสีย จากวันนั้นถึงวันนี้

๑. การเรียกร้องต่อต้านการรัฐประหารเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ โดย กลุ่มนายทหารรวมตัวกันเรียกว่า คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ การต่อต้านทำกันอย่างออกหน้าออกตายังไม่มีคำสั่งปราบปรามประชาชนแม้แต่คนเดียว นอกจากการจับกุมแกนนำที่ไปหน้าบ้านอำมาตย์เปรมเท่านั้น เราแพ้ครั้งที่หนึ่ง

วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ปัญหาการเมืองไทย

การเมืองเป็นเรื่องเกี่ยวกับรูปของรัฐและการจัดระเบียบความสัมพันธ์ภายในรัฐระหว่างผู้ปกครองและผู้ถูกปกครอง โดยเมื่อสังคมมนุษย์ยังมีความจำเป็นที่จะต้องมีรัฐบาล คนเราจึงต้องแบ่งออกเป็นสองพวกใหญ่ๆ คือ ผู้ที่ทำหน้าที่บังคับกับผู้ถูกบังคับเสมอ

กลุ่มปัญหาที่เกิดทางการเมือง

กลุ่มแรก การเมืองเป็นเรื่องของอำนาจ โดยเป็นการต่อสู่กันเพื่อใหได้มาซึ่งอำนาจและอิทธิพลในการบริหารกิจการบ้านเมือง

กลุ่มที่สอง การเมืองเป็นเรื่องของการจัดสรรทรัพยากรของรัฐหรือสิ่งที่มีคุณค่าทางสังคม

กลุ่มที่สาม การเมืองเป็นเรื่องของความขัดแย้ง ทั้งนี้เนื่องจากทรัพยากรของชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด ขณะที่ผู้คนซึ่งต้องการใช้ทรัพยากรนั้นมีอยู่มากและความต้องการใช้ไม่มีขีดจำกัด การเมืองจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการที่คนในสังคมไม่อาจตกลงกันได้หรือเกิดความขัดแย้งขึ้น

วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กบฏ - ปฏิวัติ - รัฐประหาร ในสังคมการเมืองไทย

ในสังคมการเมืองไทยสมัยใหม่ของไทย ผ่านความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงระบบ โครงสร้าง การเข้าถึงอำนาจ หลายครั้ง หลายรูปแบบ ที่มีสำเร็จและล้มเหลวคละเคล้ากันไป สำหรับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างฉับพลัน โดยวิธีนอกระบบกฎเกณฑ์ทางการเมืองที่สังคมในช่วงเวลานั้นๆ ไม่ยอมรับ เกี่ยวพันโดยตรงกับผลลัพธ์ของปฏิบัติการ ถ้าสำเร็จ คณะผู้ก่อการก็สามารถบัญญัติคำหรือภาษาสวยงามลงไปอ้างอิงการกระทำของกลุ่มตนเองได้ ไม่ว่าจะเป็น คณะปฏิวัติ คณะปฏิรูป เป็นต้น แต่หากล้มเหลวมีเพียงโทษสถานเดียวคือการเป็นศัตรูของสังคมในฐานะ “กบฏ”

กบฏ ร.ศ. 130

กบฏ ร.ศ. 130 เกิดขึ้นก่อนการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 นานถึง 24 ปี โดยเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อปี พ.ศ. 2455 (ร.ศ. 130) เมื่อนายทหารและปัญญาชนกลุ่มหนึ่ง วางแผนปฏิบัติการโดยหมายให้พระมหากษัตริย์ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญให้ และเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตย แต่แผนการแตกเสียก่อน จึงมีการจับกุมผู้คิดก่อการหลายคนไว้ได้ 91 คน คณะตุลาการศาลทหารมีการพิจารณาตัดสินลงโทษให้จำคุกและประหารชีวิต โดยให้ประหารชีวิตหัวหน้าผู้ก่อการจำนวน 3 คน คือ ร.อ.เหล็ง ศรีจันทร์ ร.ท.จรูญ ณ บางช้าง และ ร.ต.เจือ ศิลาอาสน์ ลงโทษจำคุกตลอดชีวิต 20 คน จำคุกยี่สิบปี 32 คน จำคุกสิบห้าปี 6 คน จำคุกสิบสองปี 30 คน

วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

รัฐประหารกำมะลอ

โดย เพ็ญ ภัคตะ ,ที่มา : ประชาไท
เราถูกหลอกชัดชัดรัฐประหาร
อ้างว่าไม่ต้องการ “แดงพาลเหลือง”
ค.ม.ช.ใส่ไคล้ให้ขุ่นเคือง
เขากุเรื่องเคลื่อนกำลังรถถังมา

น่าฉงนคนไฉนให้รอยยิ้ม
เสียบบุปผาพักตร์พริ้มบนธงผ้า
ขอถ่ายรูปคู่ทหารเป็นขวัญตา
โอ!สิบเก้ากันยามายาการ

แถมขอบคุณบิ๊กบังกุมบังเหียน
ท่านช่วยเปลี่ยนฝันร้ายกลายเป็นหวาน
ระงับเลือดหลั่งนองสองฝั่งธาร
เป็นบุญคุณคุ้มกบาลอยู่นานปี

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประชาชนกับบทบาททางการเมือง

อริสโตเติล กล่าวว่า การเมือง คือ ความผูกพันระหว่างประชาชนกับรัฐ จากคำกล่าวนี้ทำให้เกิดการยอมรับกันโดยทั่วไปว่า ประชาชนกับการเมืองจะแยกกันไม่ออก จะมีความผูกพันและจะมีบทบาทต่อกันตลอดไป การที่ประชาชนเข้ามาเกี่ยวข้องสัมพันธ์และแสดงบทบาทอย่างใดอย่างหนึ่ง ถือว่าเป็นการแสดงบทบาททางการเมืองของประชาชนหรือเป็นการเข้าร่วมทางการเมือง (Political participation) นั่นเอง

ซึ่งแมคคอสกี้ (Meclosky) ได้อธิบายความหมายของการเข้าร่วมทางการเมืองไว้ว่า " การที่บุคคลมีความสำนึกในทางการเมืองการปกครองได้เข้าร่วมทางการเมืองเป็นกิจกรรมต่าง ๆ ที่กระทำโดยความสมัครใจซึ่งสมาชิกทั้งที่อยู่ในสังคมได้มีส่วนร่วมกันในอันที่จะเลือกผู้นำของตน และกำหนดนโยบายของรัฐ การกระทำนั้นอาจจะทำโดยตรงหรืออ้อมก็ได้" สำหรับบุคคลที่ได้ชื่อว่า เป็นผู้เข้าร่วมทางการเมืองนั้น จะเกี่ยวข้องหรือเข้าร่วมกับกิจกรรมต่าง ๆ ทางการเมือง

เหล่านี้ (อาจจะอย่างเดียวหรือหลายอย่างพร้อม ๆ กันก็ได้) คือ การใช้สิทธิในการเลือกตั้ง การแสวงหาความรู้ทางการเมือง การอภิปรายหรือการพูดคุยเกี่ยวกับการเมือง การเข้าร่วมในการชุมนุมทางการเมือง การแสดงมติมหาชนอื่น ๆ การเป็นสมาชิกพรรคการเมือง การก่อตั้งพรรคการเมือง การลงรับสมัครเลือกตั้ง เป็นต้น แต่การที่ประชาชนจะมีส่วนร่วมทางการเมืองมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ลัทธิการเมืองเอื้ออำนายให้ ประชาชนมีความสำนึกทางการเมืองวิถีทางทางการเมือง เป็นต้น

วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

อนิจจาปุถุชนทุรนรั้น

น่าจะเกิน 20 ปี นะ เคยอ่านกลอนนี้ โดนใจ.ใช่เลย จำไม่ได้ว่าท่านผู้ใดเป็นผู้เขียน พยายามฟื้นความจำเอามาปะติด ปะต่อ ขออนุญาต นำมาเพื่อเป็นประโยชน์กับผู้คนที่กำลังมองหาสัจธรรมของชีวิต

ผ่านลมร้อนลมหนาวหลายคราวครั้ง.....ชีวิตแห่งหวังยังโหยหา
เคลือบรอยยิ้มกลบทางรางน้ำตา...........ปกปิดความปวดปร่าไว้มิดชิด
ทุกด้านที่พบเห็นเป็นเช่นนี้..............วันหนึ่งร้ายวันหนึ่งดีมีถูกผิด
ในความงดงามมีหนามพิษ..............ในความสวยมีจริต มีเล่ห์กล
ในอารมณ์ยินดีมีแอบแฝง..............ในความแจ้งมีมุมอับอาจสับสน
ทว่าใครลุ่มหลงหลงไม่คงทน............ก็ตกตนสมเพชเวทนา
ล้วนสวมตัวหัวโขนแสดงบท............เป็นไปตามกำหนดแห่งตันหา
มีความใคร่ความอยากมากมารยา..........อนิจจาปุถุชนทุรนรั้น
ธรรมเนียมปีใหม่ให้อวยพร..........ต่างก็ป้อนความหวานหว่านความฝัน
ส่งความสุขสดใสให้แก่กัน..............ซึ่งแท้จริงนั้นคืออะไร ?
บ้างเพราะรักเพราะศรัทธาจากใจจริง........บ้างกลอกกลิ้งเสแสร้งตามวิสัย
ใครเล่าจะมองเห็นเป็นเช่นใด............นอกจากตนรู้ใจของตนดี
ไม่มีพรใดๆ ให้ใครอื่น.................ความสดชื่นไม่ได้เกิดจากพรที่
หยิบยื่นส่งให้กันในวันนี้ ...............เพียงเพื่อทอดไมตรีชั่วครั้งคราว
แต่อยากบอกเพื่อนรักให้พักผ่อน..........ดับความเร่าความร้อนทุกย่างก้าว
ชำระใจหมดจดจากขื่นคาว.............ระงับความแตกร้าวทุกลีลา
แล้วส่งความจริงใจให้แก่กัน.............มิใช่มุ่งฟาดฟันด้วยริษยา
ทั้งผู้น้อยผู้ใหญ่ให้ราคา...............เพราะต่างมีคุณค่าเสมอคน
อาจแตกต่างทางฐานะทางหน้าที่.........แต่ถ้าไร้อวดดีมีเหตุผล
สังคมย่อมมิยับมิอับจน................แหละย่อมผ่านมืดมน อนธการ

วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ระบบประชาธิปไตย (Democracy System)

คำว่าประชาธิปไตย มาจากภาษาอังกฤษว่า Democracy ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษากรีก 2 คำ คือคำว่า Demos แปลว่าประชาชน และ Kratein แปลว่าปกครอง เมื่อรวมกันจึงแปลว่า การปกครองโดยประชาชน

การปกครองแบบประชาธิปไตย วิวัฒนาการมาจากการปกครองแบบประชาธิปไตยในนครรัฐเอเธนส์ของประเทศกรีกโบราณ ซึ่งเป็นประชาธิปไตยโดยตรง คือ ประชาชนทั้งหมดของนครรัฐเป็นผู้ใช้อำนาจในการปกครองโดยตรง ต่อมาเมื่อการปกครองแบบนี้ได้สลายไปจากเอเธนส์ ก็ได้มาเจริญเติบโตในอังกฤษ ซึ่งต่อมาประเทศอังกฤษก็ได้ชื่อว่าเป็นแม่บทของการปกครองแบบประชาธิปไตย

ระบบการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้น คือ การปกครองที่ให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนมากที่สุด นั้นหมายถึงการปกครองที่อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน แต่ในทางปฏิบัติประชาชนจะใช้วิธีการปกครองโดยเลือกตัวแทนเข้าไปบริหารประเทศแทนตนในสภา เพราะประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย

วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

คิดเห็น.......เป็นความ

ลองสังเกตุตัวเองดูซิว่า.......ทุกเช้าเวลาที่เดินไปไหนต่อไหนมีใครพูดทักทายเราบ้างหรือยัง "ช่วงนี้ผอมลงนะ"
"เช้านี้ทานข้าวกับอะไร" "ช่วงนี้ผอมลงหรือเปล่า"

หรือช่วงบ่ายมีคนเดินมาทัก "เที่ยงนี้จะไปทานข้าวที่ไหน " "กาแฟสักแก้วเป็นไง"

ช่วงหัวค่ำ "จะกลับบ้านแล้วเหรอ กลับด้วยกันไหม"

ลองนับดูสิว่า ในแต่ละวันมีคนเข้ามาทักทายเรากี่คน / กี่ครั้ง

เป็นคำทักทายถามสารทุกข์สุกดิบตามแบบฉบับชาวฝรั่ง

สวัสดีครับ /ค่ะ วันนี้สบายดีไหม ? นี่เป็นคำทักทายตามแบบฉบับวัฒนธรรมไทย
พูดกันมาแต่อ้อนแต่ออก ประโยคนี้ใครพูดไม่เป็นก็คงจะแปลกพิลึก

ความเป็นธรรมทางสังคม กับความเป็นธรรมทางกฎหมาย

การเมืองภาคประชาชน ความเป็นธรรมทางสังคม กับ ความเป็นธรรมทางกฎหมาย

" ตราบใดที่ความเป็นธรรมยังไม่เกิด ตราบนั้นความขัดแย้งก็ยังไม่ยุติ กระบวนการยุติธรรมจึงต้องพิจารณากันเสียใหม่ว่าคือ กระบวนการสร้างความเป็นธรรมเพื่อนำไปยุติปัญหาข้อพิพาทต่างๆ มิใช้ข้อพิพาทหรือความขัดแย้งต่างๆจะต้องยุติเพราะศาลยุติธรรมที่มีเพียงสามศาล เหมือนที่ใครๆและกระบวนการยุติธรรมชอบอ้างเท่านั้น "

" ที่ไหนมีการกดขี่ ที่นั้นย่อมมีการต่อสู้ ที่ไหนไม่มีความรู้ ที่นั้นต้องได้รับการศึกษา ที่ไหนยังไม่มีการพัฒนา ที่นั้นต้องมีการเรียกร้อง ที่ไหนไม่มีความถูกต้อง ที่นั้นต้องเรียกร้องความเป็นธรรม"

อุดมการณ์ของสังคมที่เกี่ยวข้องกับ"ความเป็นธรรม"มีหลายหลากกระแสความคิด และภายใต้อุดมการณ์ดังกล่าวทำให้เกิด"เครื่องมือทางสังคม"ในรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อจะนำสังคมไปสู่อุดมการณ์นั้นๆ ซึ่งก็ผลัดกันมีอิทธิพล และมีบทบาทเหนือสังคมในแต่ละห้วงเวลาของพัฒนาการของสังคมที่แตกต่างในแต่ละยุคสมัยไม่เหมือนกัน เกณฑ์หรือมาตราฐานความเป็นธรรมที่เกิดขึ้นภายใต้เครื่องมือต่างๆที่มีอยู่ในสังคม จะทำอย่างไรที่จะให้ไปในทางเดียวกัน ในเวลานี้ มาตราฐานความเป็นธรรมตามกฎหมาย นอกจากจะไปไม่ได้กับมาตรฐานอื่นที่สังคมยึดถือแล้ว ในหลายๆกรณีกลับขัดแย้ง และในหลายๆกรณีก็ทำให้ผิดไปจากที่สังคมคาดหวัง

วันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กลอนไว้อาลัย "ท่านนายกฯ สมัครฯ" โดย จักรภพ เพ็ญแข

กลอนไว้อาลัย "ท่านนายกฯ สมัครฯ" โดย จักรภพ เพ็ญแข
« เมื่อ: 12 พฤศจิกายน เวลา 08:51:50 PM »
________________________________________
เรียบเรียงโดย Nangfa

“สมัคร สุนทรเวช”
โดย จักรภพ เพ็ญแข

ณ แผ่นดินถิ่นนี้มีผู้ใหญ่
ผู้เกรียงไกรใจถึงประหนึ่งสิงห์
ตอบสังคมสมศักดิ์รักความจริง
ไม่แอบอิงมายาเป็นอาภรณ์

มากศัตรูมากมิตรชีวิตชัด
รักษาชีพด้วยสัตย์เป็นอนุสรณ์
ผ่านถนนจนคุ้มทั้งลุ่มดอน
ครบวงจรอย่างผู้ใหญ่หัวใจจริง

“สมัคร สุนทรเวช” ท่านจากลับ
ย่อมมิใช่มืดดับทุกสรรพสิ่ง
ทุกร่องรอยตัวตนของคนจริง
ทุกครั้งนิ่งเงียบสงบพบปัญญา

กรณีศึกษา "การเมืองภาคประชาชน" ตอน ๒

วิถีทางการเมืองไทยในระยะนี้และระยะต่อๆ ไปในอนาคต” (ชาวไทย, 5 มิถุนายน 2517) นอกจากนี้ในสภานิติบัญญัติแห่งชาติยังมีความพยายามจัดตั้งกลุ่มเสรีธรรม และอ้างว่า ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เป็นแกนนำโดยเชิญข้าราชการผู้มีชื่อเสียงจากกระทรวง ทบวงกรมต่างๆ รวมทั้งนิสิตนักศึกษาเข้าร่วมประชุมเพื่อจัดตั้งกลุ่มเสรีธรรมซึ่งจะมี ดร.ป๋วยเป็นประธาน (โพธิ์ แซมลำเจียก, 2517, น.278) แต่ ดร.ป๋วยปฏิเสธข่าวการรับตำแหน่งทางการเมืองมาโดยตลอด

กลุ่มนอกสภานิติบัญญัติที่มีความสำคัญอีกกลุ่มคือ กลุ่มประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (ปช.ปช.) แกนนำสำคัญคือนายธีรยุทธ บุญมี นายชัยวัฒน์ สุรวิชัย กลุ่ม ปช.ปช.ถือว่า เป็นกลุ่มที่ใกล้ชิดและสามารถ “เข้าถึงตัว” นายกรัฐมนตรีสัญญา ธรรมศักดิ์ได้ ทั้งยังสามารถส่งผ่านความเห็นที่มีต่อการบริหารงานของรัฐบาล รวมไปถึงการเปลี่ยนตัว รัฐมนตรีบางคนในชุดรัฐบาลสัญญา 2 (ประชาชาติ, 1:28, 30 พฤษภาคม 2517)

การเมืองภาคประชาชนจะเข้มแข็งได้อย่างไร ?

การเมืองภาคประชาชนจะเข้มแข็งได้ก็ต่อเมื่อต่อสู้หรือกระทำภารกิจที่ท้าทาย ข้อเสนอแนะภารกิจที่ท้าทายต่อการเคลื่อนไหวของการเมืองภาคประชาชน ๘ ประการดังต่อไปนี้

๑.ขจัดคอร์รัปชั่น
คอร์รัปชั่นจะกัดกินสังคมไทยไปอีกนาน เหมือนมะเร็งร้ายที่นำความตายมาให้สังคมไทย อาจไม่ฟื้นตัวอีกนานหลังทักษิณไปแล้ว ที่ฟิลิปปินส์ มาร์กอสจากไปแล้ว ๒๐ ปี ก็ยังไม่ฟื้น ฉะนั้น การเมืองภาคพลเมืองจะต้องรณรงค์ขจัดคอร์รัปชั่นอย่างเป็นระบบ

คนเก่งๆ ในการสืบสวนสอบสวนคอร์รัปชั่นควรจะมารวมตัวกันเป็น ปปช.ภาคประชาชน การสืบสวนสอบสวนโดยนักวิจัยและสื่อมวลชนจะต้องเข้มแข็ง ต้องมีทุนสนับสนุนกระบวนการขจัดคอร์รัปชั่น

๒.ปฏิรูปการเมืองเพื่อขจัดธนกิจการเมือง และสรรค์สร้างประชาธิปไตยที่แท้จริง

สังคมไทยได้บทเรียนอย่างเจ็บปวดว่าเมื่อทุนขนาดใหญ่เข้ามายึดอำนาจทางการเมือง ทำให้สังคมไทยเสียดุลอำนาจอย่างใหญ่หลวงและนำไปสู่ความไม่ถูกต้องต่างๆ รวมทั้งสร้างความแตกแยกที่คนไทยเกือบจะฆ่ากันเอง ฉะนั้นต้องหาทางขจัดธนกิจการเมืองให้ได้ และสรรค์สร้างประชาธิปไตยที่แท้ให้เกิดขึ้นให้จงได้ ต้องคำนึงถึงว่าประชาธิปไตยไม่ได้มีแต่การเลือกตั้งเท่านั้น และการเมืองไม่ได้มีแต่การเมืองของนักการเมืองเท่านั้น แต่มีการเมืองของพลเมืองด้วย

การเมืองภาคประชาชนคืออะไร ?

การเมืองของพลเมือง(Citizen Politics) หรือการเมืองภาคประชาชน คืออะไร

การเมืองของพลเมือง หมายถึง การเมืองที่ประชาชนในทุกส่วนภาคสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับท้องถิ่น ระดับชาติ ระดับนานาชาติ

เป็นการเมืองที่ประชาชนสามารถเข้าไปมีบทบาทและเข้าใจถึงสิทธิในการแสดงออกซึ่งความต้องการของตนเพื่อนำไปสู่การผลักดันให้รัฐออกกฎหมายหรือกำหนดนโยบายต่างๆที่สอดคล้องกับความต้องการของตนได้
การเมืองภาคประชาชน จึงถือเอาขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองในรูปแบบต่างที่ปรากฏในสังคมรัฐ เช่น การชุมนุม เดินขบวน เรียกร้อง เจรจาต่อรอง การพยายามเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจร่วมกับรัฐในเรื่องต่างๆ ฯลฯเป็นต้น
การเมืองแบบนี้ ประชาชนจะเป็นตัวแทนของตนเอง เป็นผู้กำหนดความต้องการของตนเองออกมาเป็นประเด็นในสังคมเพื่อนำไปสู่การเคลื่อนไหวต่อไป

กรณีศึกษา "การเมืองภาคประชาชน" ตอน ๑

กรณีศึกษา การเมืองภาคประชาชน
จากการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2517*

รัฐธรรมนูญของประชาชนกับความเป็นประชาธิปไตยในการร่างรัฐธรรมนูญและ
รัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย

ตามแนวคิดรัฐธรรมนูญนิยม (constitutionalism) เชื่อว่าการมีรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์ อักษร จะเป็นหลักการสำคัญและเป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ปกครองประเทศ แนวคิดรัฐธรรมนูญนิยม ได้พัฒนามาเป็นลำดับและมีการสร้างสถาบันการเมืองที่เป็นอิสระ หรือกึ่งอิสระตามกฎหมาย ประกอบรัฐธรรมนูญในอันที่จะเป็นกลไกกำกับ, ตรวจสอบการทำงานตลอดจนแบบแผนการ ใช้อำนาจของนักการเมืองและผู้บริหารระดับสูง แต่ถึงแม้ว่าจะมีรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษรก็ ไม่ใช่หลักประกันต่อสิ่งที่เรียกว่าความเป็นประชาธิปไตย หากยังจำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ประกอบตัวบทของรัฐธรรมนูญเพื่อสร้างสิ่งที่เรียกว่าความเป็นประชาธิปไตย (อมร จันทรสมบูรณ์, มปป. และโกสินทร์ วงศ์สุรวัฒน์, 2516)

วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ระบบลูกขุนไม่สามารถใช้ได้ในประเทศไทย?

ชื่อบทความเดิม: ศาลยุติธรรม: ยุติอย่างเป็นธรรม หรือ ยุติความเป็นธรรม
ตอนที่ 4 ระบบลูกขุนไม่สามารถนำมาใช้ในประเทศไทย?
ประเวศ ประภานุกูล

ระบบลูกขุนคืออะไร
ระบบกฎหมายที่ใช้ในโลกนี้ทั้งหมดแบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ คอมมอนลอว์ หรือกฎหมายจารีตประเพณี หรือกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร กับ กฎหมายลายลักษณ์อักษร

ประเทศที่ใช้กฎหมายจารีตที่สำคัญคือ อังกฤษ อเมริกา ปัจจุบันนี้ได้ยินว่า ญี่ปุ่น ซึ่งใช้กฎหมายลายลักษณ์อักษรเช่นเดียวกับบ้านเราก็ใช้ระบบลูกขุนด้วยแล้ว

แนวคิดทฤษฎีการพัฒนาทางการเมือง

การพัฒนามีการเกี่ยวพันกันทุกด้าน การพัฒนาเหมือนกันอย่างมากกับความเจริญทันสมัย (Modernization) และการพัฒนาเกิดขึ้นในกรอบทางประวัติศาสตร์ ซึ่งอิทธิพลจากข้างนอกสังคมมีต่อกระบวนการเปลี่ยนแปลงของสังคมเช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงในแง่ต่าง ๆ ในสังคม กล่าวคือ ทางเศรษฐกิจการเมืองและสภาพสังคมอย่างผูกพันซึ่งกันและกัน

จะเห็นได้ว่า คำจำกัดความดังกล่าวมานั้นส่วนใหญ่เป็นการมองการพัฒนาการเมือง โดยจะเน้นในแง่ที่นักวิชาการแต่ละสำนักคิดว่า เป็นตัวแปรสำคัญและบางคำจำกัดความจำเป็นจะต้องกล่าวถึงแนวความคิดดังกล่าว เช่น คำจำกัดความข้อ 1 แทบจะไม่ได้ให้คำจำกัดความเลย บอกเพียงว่าการพัฒนาการเมืองคือรากฐานของการพัฒนาเศรษฐกิจหรือบางจำกัดความก็มีอคติแฝงไว้อย่างเห็นได้ชัด เช่น คำจำกัดความข้อ 7 ที่ว่า การพัฒนาการเมืองคือการสร้างประชาธิปไตย

วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

"ช้างป่า"..... กรมทางประจำป่า

"ช้าง"จัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่อาศัยอยู่บนบก
งวงยาว ๆ ของช้างนั้นใช้ทำหน้าที่เป็นจมูก และมือจับอาหาร และใช้ในการต่อสู้

หนังของช้างนั้นหนา มีขนแข็ง ๆ ขึ้นแซมห่างๆ กัน
ช้างตัวผู้ ที่มีงายาว เราเรียกว่า "ช้างพลาย"

ช้างตัวผู้ ที่มีงาสั้น ไม่ยื่นเลยจากปากออกมา เรียกว่า "ช้างสีดอ"

ช้างตัวเมีย ที่ไม่มีงาเลยนั้น เรียกว่า "ช้างพัง"

ปรกติแล้ว ช้างตัวผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าช้างตัวเมีย ช้างป่าจะอาศัยอยู่รวมกันเป็นโขลงตั้งแต่ 5 ถึง 20 เชือกโดยในโขลงจะมีช้างตัวผู้ทำหน้าที่ผสมพันธุ์เพียงตัวเดียวก็นับว่ารับภาระที่หนักไม่เบาที่เดียว
ช้างตัวอื่น ๆ ก็จะเป็นตัวเมีย และลูกช้าง

ปรีดี พนมยงค์ กับขบวนการเสรีไทย

ปรีดี พนมยงค์กับขบวนการเสรีไทยที่สะท้อนแนวคิดทางการเมืองไทย

ขบวนการเสรีไทยเป็นขบวนการที่นำโดยท่าน ปรีดี พนมยงค์ ผู้นำขบวนการ หลังจากที่ญี่ปุ่นบุกไทย วันที่ 8 ธันวาคม 2484 ซึ่ง จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกฯของประเทศไทยขณะนั้นได้สั่งให้ยุติการต่อต้านญี่ปุ่นและได้ทำสัญญาเป็นพันธมิตรร่วมรบกับญี่ปุ่นซึ่งในที่สุดญี่ปุ่นนั้นเป็นฝ่ายที่แพ้สงครามซึ่งมีผลให้ประเทศไทยนั้นแพ้สงครามด้วย แต่ประเทศไทยไม่ต้องยอมจำนนต่อใด ซึ่งไม่ได้เป็นผลมาจากกลอุบายทางกฎหมายหรือทางการทูตแต่อย่างใดแต่เป็นเพราะวุฒิความสามารถ และคุณสมบัติอันเป็นอัจฉริยะของท่าน ปรีดี พนมยงค์ที่สามารถหล่อหลอมน้ำใจผู้รักชาติทุกหมู่ทุกกลุ่ม ทุกเหล่าไม่ว่านอกประเทศ ในประเทศรวมตัวกันขึ้นจนกระทั่งเป็นขบวนการเสรีไทย จนเป็นที่ยอมรับของคนไทยและเป็นที่ยอมรับในต่างประเทศอย่างเป็นอเนกฉันท์ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้มี "วันสันติภาพ"และประกาศสันติภาพ ในวันที่ 16 สิงหาคม 2488 ซึ่งเสรีไทยได้ได้กำหนดภารกิจการปฏิบัติไว้ 2 ประการ คือ ประการแรกต่อสู้กับญี่ปุ่นผู้รุกราน 2 ปฏิบัติการเพื่อให้ฝ่ายสัมพันธมิตรรับรองว่าเจตนารมณ์แท้จริงของราษฎรไทยไม่ใช่ ศัตรูกัน และเพิ่มขึ้นอีกคือปฏิบัติการเพื่อรับรองว่าประเทศไทยจะไม่เป็นผู้แพ้สงครามและผ่อนหนักให้เป็นเบา

วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

พิมพ์เขียว หยุดน้ำท่วม กทม.-ภาคกลาง

องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) เสนอ 3 ทางเลือกแก้ปัญหาน้ำท่วม กทม. ได้แก่ 1.สร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น จ.แพร่ 2.สร้างแก้มลิงบริเวณท้องทุ่งภาคกลางตอนบน และ 3.โครงการคลองผันน้ำเจ้าพระยา บางไทร-อ่าวไทย


กรมชลประทานได้รับการสนับสนุนจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) ศึกษาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร (กทม.) ผลการศึกษาของไจก้าสรุปชัดว่า กทม.เป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงภัยสูงกับปัญหาน้ำท่วม เพราะปัจจุบันมีเพียงแม่น้ำเจ้าพระยาเส้นทางเดียวที่จะระบายน้ำจากทางเหนือไหลลงสู่ทะเลและจะต้องผ่านกทม. ซึ่งเป็นที่ลุ่มประกอบกับแม่น้ำเจ้าพระยาในเขต กทม.สามารถรองรับน้ำได้ไม่เกิน 3,000 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ต่อวินาที หากมากกว่านี้มีโอกาสถูกน้ำท่วมสูงมาก

เปิด ๓ ผลงานสร้างสรรค์ท้องถิ่นจากงานวิจัยแห่งชาติ

เวทีนำเสนอผลงานวิจัยแห่งชาติปี ๒๕๕๓ มีไอเดียสร้างสรรค์นวัตกรรมพัฒนาประเทศมากมาย รวมทั้งผลงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น โต๊ะข่าวเพื่อชุมชนพาไปพบกับงานวิจัยความมั่นคงทางอาหารและเศรษฐกิจบนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โมเดลและการณรงค์สร้างทัศนคติใหม่ให้กลายเป็นวัฒนธรรมงดเหล้า รวมทั้งรูปธรรมแจ๋วๆ ระบบนาประหยัดน้ำและปุ๋ย








ข่าวประกอบเสียง โดย สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย

ยุทธศาสตร์ความดีและวิธีเลือกผู้นำตำบลหนองสาหร่าย

ยุทธศาสตร์ความดีและวิธีเลือกผู้นำของคนตำบลหนองสาหร่าย : ค่านิยมผิดๆ เป็นบ่อเกิดของปัญหาตั้งแต่ระดับชุมชน สังคม ประเทศชาติ และเป็นเรื่องน่าห่วง โดยเฉพาะกับเยาวชนที่กำลังเดินตามรอยผู้ใหญ่ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ จึงจัดเวทีระดมสมอง “การเสริมสร้างค่านิยมที่พึงประสงค์ : ทางออกวิกฤติสังคมไทย” ไปดูการปฏิรูปค่านิยมผิดๆจนประสบความสำเร็จในการพัฒนาท้องถิ่นของคนตำบลหนองสาหร่าย กาญจนบุรี








ข่าวประกอบเสียง โดย สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย

กำเนิดอุดมการณ์เพื่อสังคมของปรีดี พนมยงค์

เค้าโครงเศรษฐกิจ กับ แนวคิดประชาธิปไตยของท่านปรีดี พนมยงค์

หากพิจารณาบริบทความคิดความเชื่อในสังคมไทย ซึ่งนับถือศาสนาพุทธก็จะเห็นความเชื่อมต่อกันได้ไม่อยากเช่นกัน ในเรื่องของความเมตตากรุณาระหว่างของเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ความคิดในการอนุเคราะห์กันนั้นเป็นเพียงความคิดตะวันตกฝ่ายเดียว หากประเด็นหน้าสนใจอยู่ที่ว่า การปฏิวัติทางสังคมและการเมืองในยุคสมัยใหม่ในตะวันตกได้ประสานและนำเอาความคิดทางจริยธรรมและศาสนาเข้ามาประกอบเป็นส่วนหนึ่งของความคิดทางการเมืองและสังคม รวมทั้งทางกฎหมายด้วยอย่างมีพลังและความเป็นจริง

หากมองในแนวคิดหรืออุดมการณ์ของปรีดี พนมยงค์ตั้งแต่เกิดจนวาระสุดท้ายมีอยู่มากมาย แต่ลักษณะเด่นของความคิดทางการเมืองในช่วงแรกของปรีดี พนมยงค์ได้แก่ การค้นพบบุคคลหรือปัจเจกชนในสังคม อันนำไปสู่การเสนอมโนทัศน์ใหม่ทางการเมืองต่อมา ด้วยการให้สำคัญกับราษฎรในฐานะที่เป็นมนุษย์ เทียบเคียงเสมือนกับชนชั้นสูงในเรื่องกฎหมายแห่งสิทธิและเสรีภาพในระบบประชาธิปไตย

วันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แนวคิดการเมืองไทยของท่านปรีดี พนมยงค์

พื้นฐานความคิดของ ปรีดี พนมยงค์บนบริบทสังคมไทย

ความคิดทางการเมืองนั้นมีความสำคัญมากที่จะใช้ในการศึกษาและอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองได้อย่างถูกหลักวิธีการ ซึ่งวิธีการศึกษาความคิดทางการเมืองมีอยู่ 2 วิธีการ คือ

1 วิธีการศึกษาประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมือง
2 วิธีศึกษาสำนักปรัชญาทางการเมือง

วิธีการศึกษาประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมือง( History of political) เป็นการศึกษาความคิดการเมืองที่ให้ความสำคัญกับ " context" หรือ "บริบท"ซึ่งวิธีการนี้มีความเชื่อพื้นฐานว่าความคิดทางการเมืองที่เชื่อว่าความคิดทางการเมืองเกิดขึ้นลอยๆไม่ได้ แต่จะเกิดขึ้นจากบริบทสิ่งแวดล้อมที่เรานำมาศึกษาเป็นแนวทางที่ศึกษาความคิดของนักคิดโดยมีความเชื่อหรือปรัชญาขั้นพื้นฐานบางอย่างในสังคม

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ปลดแอกสังคมเหลื่อมล้ำด้วย “ประชาธิปไตยชุมชน”

การเมืองในระบบหรือประชาธิปไตยระดับชาติ อาจเป็นเรื่องไกลตัวนามธรรมสำหรับชาวบ้าน แต่การปลดหนี้ 20 ล้านที่บ้านสามขา, สภาผู้นำตำบลนาผือ, โรงเรียนสิทธิชุมชนคูหาใต้ และ การทวงคืนป่าพรุแม่รำพึงของชาวบางสะพาน และอีกหลายต้นแบบที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ กำลังบอกว่า “ประชาธิปไตยชุมชน” คือเรื่องจริงที่สัมผัสได้

หนี้ 20 ล้าน แก้ได้ที่ "บ้านสามขา" ด้วยประชาคมและแผนชุมชน
ชาวบ้านสามขา ต.หัวเสือ อ.แม่ทะ จ.ลำปาง 656 คน ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร ทำนาทำไร่ เลี้ยงสัตว์ แกะสลัก หาของป่า บางส่วนรับราชการ ค้าขาย รับจ้างทั่วไป ปัญหาร่วมคือพื้นที่ชุมชนกว่า 12,000 ไร่เป็นต้นน้ำ แต่กลับประสบปัญหาภัยแล้งจนทำเกษตรไม่ได้ กระทั่งปี 2546 ชาวบ้านไปดูงานอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าต้นน้ำแล้วกลับมาทำฝายชะลอความชุ่มชื้นจนแก้ภัยแล้งได้ และยังนำไปสู่การตั้งกติกาห้ามตัดต้นไม้ในพื้นที่ที่กำหนดเพื่ออนุรักษ์ป่าต้นน้ำ

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

อุปสรรคของประชาธิปไตย

ภูมิปัญญาของเทวดาผู้ทรงคุณธรรม คือ อุปสรรคของประชาธิปไตย
นักปรัชญาชายขอบ
ที่มา : ประชาไท

อาจารย์ท่านหนึ่งที่ไปสอนในหลักสูตรนานาชาติเล่าว่า เด็กอเมริกันที่มาเรียนในเมืองไทย มีเรื่องที่ต้องให้คิดถึงบ้านอยู่เรื่องหนึ่ง คือคิดถึงบรรยากาศของ “การสนทนาเชิงลึก” ซึ่งเขาบอกว่าในเมืองไทยเขาไม่เคยได้สัมผัสบรรยากาศที่ว่านี้เลย

ผมฟังแล้วก็เห็นด้วย อย่าว่าแต่เด็กอเมริกันจะเหงาเลย อาจารย์ไทยที่คิดอะไรเชิงลึก หรือคิดเรื่องซีเรียสหน่อยก็เหงา เพราะหาเพื่อนคุยด้วยได้ยาก ผมเห็นอาจารย์มหาวิทยาลัยเขาคุยกันสนุกปากเรื่องฟีล์ม-แอนนี่ คลิปฉาวของดารา แต่ไม่เห็นคุยเรื่องคลิปฉาวของศาลรัฐธรรมนูญ แถมในห้องทำงานของบางภาควิชายังห้ามคุยเรื่องการเมืองเสียอีก

วันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

พุทธทำนาย 16 ประการ

พุทธทำนายในที่นี้ จะกล่าวถึงเรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงทำนายพระสุบิน (ความฝัน) ของพระเจ้าปเสนทิโกศล จำนวน 16 ข้อ ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงทำนายว่า เหตุการณ์เหล่านั้นจะเกิดขึ้น ในยุคสมัยที่ศาสนาได้เสื่อมลง ซึ่งหลายอย่างได้เกิดขึ้นแล้วในปัจจุบัน เนื้อความดังกล่าวปรากฏใน อรรถกถาพระไตรปิฎก มหาสุบินชาดก เอกนิบาตชาดก ขุททกนิกาย มีเนื้อความดังต่อไปนี้

วันหนึ่งพระเจ้าปเสนทิโกศลมหาราช เสด็จเข้าสู่นิทรารมย์ในราตรีกาล ในปัจฉิมยามทอดพระเนตรเห็น พระสุบินนิมิตรอันใหญ่หลวง 16 ประการ ทรงตระหนกพระทัยตื่นพระบรรทม ทรงพระดำริว่า เพราะเราเห็นสุบินนิมิตรเหล่านี้ จักมีอะไรแก่เราบ้างหนอ เป็นผู้อันความสะดุ้งต่อมรณภัย คุกคามแล้ว ทรงประทับเหนือพระแท่นที่ไสยาสน์นั้นแล จนล่วงราตรีกาล

วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กษัตริย์ตามทัศนะของพุทธศาสนา

โดย สุรพศ ทวีศักดิ์
ที่มา : ประชาไท

1. พุทธศาสนามอง “กษัตริย์” ในมิติของชนชั้นทางสังคมอย่างไร?

เท่าที่ผมอ่านพบในพระไตรปิฎก (ที่ไม่พบไม่รู้) ความคิดของพุทธศาสนาเกี่ยวกับกษัตริย์ที่ชัดเจนเลย ปรากฏในอัคคัญสูตร (พระไตรปิฎกเล่มที่ 11) เนื้อหาสำคัญเป็นเรื่องที่พระพุทธองค์โต้แย้งความคิดแบบ “เทวสิทธิ์” ของพราหมณ์ที่สอนว่า พระพรหมสร้างโลก สร้างมนุษย์ แล้วก็แบ่งสถานะของมนุษย์ออกเป็น 4 ชนชั้น คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร

กษัตริย์เป็นชนชั้นปกครอง พราหมณ์เป็นชนชั้นปัญญาชน ผู้นำทางศาสนา แพศย์คือสามัญชนทั่วไป ศูทรคือพวกทาส กรรมกร สถานะทางชนชั้นดังกล่าวนี้นอกจากถูกกำหนดตายตัวโดยชาติกำเนิด (คือต้องได้มาโดยการเกิดเท่านั้น) แล้ว ยังมีความหมายที่สำคัญคือเป็นสถานะทางชนชั้นที่กำหนดความสูง-ต่ำทางศีลธรรมของมนุษย์ด้วย ซึ่งหมายความว่า คนมีความเป็นคนไม่เท่ากันเพราะมีชาติกำเนิดที่ต่างกัน

ปาฐกถานำ ในการสัมมนา "80 ปี จิตร ภูมิศักดิ์"

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ปาฐกถานำ ในการสัมมนา "80 ปี จิตร ภูมิศักดิ์"
จัดโดย ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับมูลนิธิจิตร ภูมิศักดิ์และกองทุนจิตร ภูมิศักดิ์
เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2553 ณ ห้อง 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
ที่มา : ประชาไท

80 ปี “จิตร ภูมิศักดิ์”
พ.ศ.2473-2553 ค.ศ.1930-2010

ท่านสุภาพบุรุษ สุภาพสตรี และสุภาพชน

ในฐานะประธานมูลนิธิจิตร ภูมิศักดิ์ และกองทุนจิตร ภูมิศักดิ์ ในฐานะของ “ผู้คนใฝ่ฝันอยากเรียน” ขอกล่าวสวัสดี และด้วยความเชื่อมั่นว่าคนที่ “เขาตายในชายป่า เลือดแดงทาดินอิสาน” นั้น มีจิตใจที่กว้างขวางใหญ่โตครอบคลุมไปทั่วทุกสัดส่วนของ “สยามประเทศไทย” แล้ว ก็ยังก้าวข้ามพรมแดนไปไกลพอที่จะกล่าวทักทาย “ผู้คนร่วมภูมิภาคอุษาคเนย์” ด้วยภาษาอื่นว่า “สบายดี-จุมเรียบซัว-ซินจ่าว-มิงกลาบา-และสลามัตเซียง” ฯลฯ

แผนปรองดอง ที่ยังไม่ตกผลึกความคิด

มุมมอง คกก.ปรองดองของนายจาตุรนต์
นายจาตุรนต์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ชี้แผนปรองดองของรัฐฯ ไม่ใช่แผนปรองดองอย่างแท้จริง และอาจทำให้ประเทศประสบกับวิกฤตมากกว่าเดิม

นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรี เห็นว่าแผนปรองดองของรัฐบาลที่มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาหลายคณะ ไม่ใช่แผนปรองดองอย่างแท้จริง นอกจากจะไม่ช่วยแก้ปัญหาแล้ว ยังทำให้ประเทศประสบกับวิกฤตมากกว่าเดิม ถือว่าแผนปรองดองไม่มีอยู่จริง เป็นการซ้ำเติมปัญหา และยังแสดงให้เห็นถึงความเป็นสองมาตรฐานของรัฐบาล โดยเฉพาะเรื่องของการเยียวยา ที่ช่วยเหลือแต่ในภาคธุรกิจ แต่กับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตมากถึง 88 คนรัฐบาลกลับละเลย ในขณะเดียวกันยังมีการกวาดล้างที่ทำให้พยานเกิดความหวาดกลัว และไม่กล้าออกมาเป็นพยานว่ารัฐบาลสั่งฆ่าประชาชน ดังนั้นสิ่งที่รัฐบาลชุดนี้ดำเนินการอยู่จึงเป็นสิ่งที่ร้ายแรงกว่าสมัย รัฐบาลเผด็จการด้วยซ้ำ

วันอาทิตย์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2553

"ชะนี......ผู้ปลูกป่า....."

สัตว์ป่าเลี้ยงลูกด้วยนมที่คุ้นหน้าคุ้นตามนุษย์มากชนิดหนึ่งนั้นก็คือ "ชะนี" เพราะชะนี
ถูกจับออกมาจากป่า  และพยายามทำให้เป็นสัตว์เลี้ยงมานานแล้ว


ชะนี นั้นเป็นสัตว์สังคม คืออาศัยอยู่เป็นครอบรัว มีพ่อ แม่ และลูก แต่ละครอบครัวจะมี
อณาเขตเป็นของตนเอง จะเป็นเขตหวงห้ามไม่ให้มีการบุกรุกจากครอบครัวอื่นโดยเด็ดขาด

ถ้ามีการบุกรุกอาณาเขต พ่อชะนีจะทำหน้าที่ป้องกัน โดยส่งเสียงร้องขู่ ลูกเมียก็คอยส่ง
กำลังใจอยู่ใกล้ ๆ โดยส่วนใหญ่แล้วจะไม่ถึงขั้นต้องลงไม้ลงมือกันหรอก เพียงส่งเสียงร้องโต้ตอบกัน
สักพักพอต่างฝ่ายต่างเหนื่อย ก็เลิกลากันไป

เผด็จการ กับ ประชาธิปไตย จะปรองดองกันได้อย่างไร?

แผนปรองดอง 5 ข้อ ของเพื่อไทย

นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย พร้อมด้วย นายคณวัฒน์ วศินสังวร รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย น.ส.สุณีย์ เหลืองวิจิตร เลขาธิการพรรคเพื่อไทย และนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ร่วมกันแถลงข่าวหลังการประชุมกรรมการบริหารพรรค โดยพรรคตอบรับข้อเสนอแผนปรองดอง 5 ข้อของนายปลอดประสพ สุรัสวดี รองหัวหน้าพรรค ทั้งนี้ วาระสำคัญของการประชุมวันนี้คือการสร้างความปรองดองแห่งชาติ โดยพรรคยืนยันจุดยืนของพรรคมาโดยตลอด คือ ประชาธิปไตย ความยุติธรรม ความเท่าเทียม อีกทั้งพรรคเห็นว่าความแตกแยกของบ้านเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันแก้ไข กรรมการบริหารพรรคจึงมีมติดังนี้

คนหาตัวตนให้พบ ว่าเราเป็นเราที่แท้จริง

ในตัวเรามีคนอยู่ "สามคน "
ณ วัดบ้านไร่แห่งหนึ่ง หลวงตาเพิ่งกลับจากการบิณฑบาตเห็นลูกศิษย์วัดนั่งร้องไห้สะอึกสะอื้น จึงเข้าไป ถามไถ่ว่าเป็นอะไร ลูกศิษย์ตอบกลับมาว่า "ผมถูกใส่ร้าย ผมไม่ได้ขโมยเงินในหอพระ แต่ผมเข้าไปปัดกวาดเช็ดถูบ่อย ๆ ทุกคนก็หาว่าผมเป็นขโมย ไม่มีใครเชื่อผมเลย ฮือ ฮือ"

หลวงตานั่งลงข้าง ๆ พยักหน้าเข้าใจแล้วสอนลูกศิษย์ว่า
"เจ้ารู้ไหม ในตัวเรามีคนอยู่สามคน คนแรกคือ คนที่เราอยากจะเป็น คนที่สองคือ คนที่คนอื่นคิดว่าเราเป็น คนที่สามคือ ตัวเราที่เป็นเราจริง ๆ "

ลูกศิษย์หยุดร้องไห้ นิ่งฟังหลวงตา
คนเราล้วนมีความฝัน ความทะยานอยาก ตามประสาปุถุชนทั่วไป ไม่ใช่สิ่งเลวร้าย บางครั้งความฝันก็เป็นสิ่งสวยงาม เป็นพลังที่ทำให้เราก้าวเดิน เช่น บางคนอยากเป็นนักร้อง เป็นนักมวย เป็นดารา ถ้าถึงจุดหมายเราก็จะรู้สึกว่าโลกนี้ช่างสว่าง ไสวสวยงาม ดังนั้นเราควรมีความฝันไว้ประดับตน เพื่อเป็นเครื่องหล่อเลี้ยง หัวใจ"

วันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2553

แผนปรองดอง ที่สมองคิดแต่ปองร้าย

เมื่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เสนอแผนปรองดองแห่งชาติ ต่อแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)
เพื่อหวังจะนำความขัดแย้งทางการเมืองบนท้องถนนกลับไปอยู่ในสภา และแผนปรองดองก็ได้มีการนำมาขับเคลื่อน จนกลายเป็นกระแสความคิด และการเคลื่อนไหวของคนในสังคมจำนวนมาก ซึ่งความสับสนที่เกิดขึ้นก็เนื่องมาจากคำว่าปรองดองนั่นเองว่ามีความหมายอย่างไร

อย่างไรก็ตาม แม้แต่ตัวนายกรัฐมนตรีเอง บางครั้งก็ใช้คำว่าปรองดองในความหมายที่คลุมเครือ บางกรณีก็มีความหมายให้คนไทยรู้รักสามัคคี และร่วมมือกันเพื่อพาให้ชาติพ้นวิกฤติ บางกรณีก็หมายถึงการปฏิรูปการเมือง ซึ่งไม่เพียงแต่นายกรัฐมนตรีเท่านั้นที่กล่าวอย่างสับสน คนทั่วไปก็ยังมีความสับสนด้วยว่าหมายความว่าอย่างไรกันแน่ และถึงที่สุดแล้วแผนปรองดองของรัฐบาลจะหมายถึงอะไรกันแน่

อันที่จริง ความสับสนเกิดขึ้นอาจเนื่องมาจากมุมมองของแต่ละคนต่อการเมืองเป็นอย่างไร ซึ่งข้อถกเถียงระหว่างการปรองดองทางการเมืองกับการปฏิรูปการเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ก็เนื่องมาจากมุมมองต่อการเมืองต่างกัน ฝ่ายแรกที่เน้นเรื่องการปรองดอง เห็นว่าการเมืองเป็นเรื่องของคนชาติเดียวกันและต้องอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ดังนั้นจึงทำทุกวิถีทางเพื่อให้เกิดการปรองดองของคนในชาติโดยอ้างว่าเหมือนที่เป็นมาในอดีต

วันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2553

"ถังที่แตกร้าว"

ชายจีนคนหนึ่งแบกถังน้ำ 2 ใบ ไว้บนบ่าเพื่อไปตักน้ำที่ริมธาร ถังน้ำใบหนึ่งมีรอยแตก ในขณะที่อีกใบหนึ่งไร้รอยตำหนิ และสามารถบรรจุน้ำกลับมาได้เต็มถัง แต่ด้วยระยะทางอันยาวใกลจากลำธารกลับสู่บ้าน จึงทำให้น้ำที่อยู่ในถังใบที่มีรอยแตกเหลืออยู่เพียงครึ่งเดียว

เหตุการณ์ทั้งหมดนี้ดำเนินมาเป็นเวลา 2 ปีเต็ม ที่คนตักน้ำสามารถตักน้ำกลับบ้านได้ 1 ถัง
ครึ่ง ซึ่งแน่นอนว่าถังน้ำใบที่ไม่มีตำหนิจะรู้สึกภาคภูมิใจในผลงานเป็นอย่างยิ่ง

ในขณะเดียวกันถังน้ำที่มีรอยแตก ก็รู้สึกอับอายต่อความบกพร่องของตัวเองมันรู้สึกโศรก
เศร้ากับการที่มันสามารถทำหน้าที่ได้เพียงครึ่งเดียว ของจุดประสงค์ที่มันถูกสร้างขึ้นมา

หลังจากเวลา 2 ปี ที่ถังน้ำที่มีรอยแตก มองว่าเป็นความล้มเหลวอันขมขื่น วันหนึ่งที่ข้าง
ลำธารมันได้พูดกับคนตักน้ำว่า "ข้าฯรู้สึกอับอายตัวเอง เป็นเพราะรอยแตกด้านข้างของตัวข้าฯ ทำให้
น้ำที่อยู่ข้างในไหลออกมาตลอดเส้นทางที่กลับไปยังบ้านของท่าน"

ประชาธิปไตยแปลงร่าง ในสายตานักรัฐศาสตร์

นักรัฐศาสตร์ชี้ประชาธิปไตยไทยแปลงร่างเป็นทั้งเผด็จการพันธ์ใหม่และเป็นประชาธิปไตยอำนาจนิยม
โดย...ประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์
สมาคนนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสถาบันอิสรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย จัดราชดำเนินเสวนา เรื่อง "แนวโน้มสถานะประชาธิปไตยไทยท่ามกลางความขัดแย้ง"

นายฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ อาจารย์ประคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ประชาธิปไตยขณะนี้มีความเป็นเผด็จการพันธ์ใหม่มากขึ้นมีการใช้อำนาจมากขึ้น ซึ่งดูได้ แม้ว่าขณะนี้ไม่ใช่เป็นทหารเต็มคณะเช่นในอดีตแต่เป็นทหารพลเรือนคือเป็นความร่วมมือระหว่างทหารกับพลเรือนในการใช้อำนาจ ศอฉ.กลายเป็นอำนาจนิยมไปแล้ว และเห็นว่า พฤติกรรมของ ศอฉ. คล้ายกับคณะปฏิวัติ จะเรียกใครมาสอบสวน จะแช่แข็งบัญชีของใครก็ได้ จะกักขังใครก็ได้ อำนาจของ ศอฉ. น่าเป็นห่วง เพราะไม่มีใครตรวจสอบ ใช้เงินมือเติบ ตอนนี้ใช้งบประมาณเท่าไรแล้วก็ไม่ทราบ ทั้งนี้อยากฝากถามว่าใช้งบประมาณไปเท่าไร

นายฐิตินันท์ กล่าวว่า ขณะนี้การทำงานของกองทัพและรัฐบาลเกื้อกูลกันมาก เช่น การซื้ออาวุธ การแต่งตั้งโยกย้าย และเรื่องการบริหารงานในภาคใต้ กองทัพถือเป็นเอกเทศ รัฐบาลจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลและกองทัพถือว่าสนับสนุนกัน และเชื่อว่าหากเปลี่ยน ผบ.ทบ. จะยิ่งมีความแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น และเชื่อว่ากองทัพจะไม่ยอมถอยกลับง่ายๆ ออกไปจากการเมืองไทยง่ายๆจากความขัดแย้งทางการเมืองไทยในครั้งนี้ และเชื่อว่ากลไกของ ศอฉ.จะยังคงอยู่ต่อเนื่องลากยาวเลื้อยไปถึงปลายปีหรือต้นปีหน้า โดยอ้างเหตุผลความจำเป็น

วันพุธที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ถ้าฉันเป็นนายกรัฐมนตรี ในประเทศที่กำลังมีอุทกภัย

ถ้าฉันเป็นนายกรัฐมนตรี ในประเทศที่กำลังมีภัยพิบัติน้ำท่วมครั้งใหญ่ในรอบ 50 ปี
คัดลอกจากเรียงความของนักเรียน ป.4 คนหนึ่ง
ซึ่งเขียนส่งอาจารย์เป็นการบ้านวิชาสังคมศึกษา

กินพื้นที่กว่า 30 จังหวัดหรือเกือบครึ่งประเทศ
ผู้คนเดือดร้อนหลายล้านคน
เป็นเวลายาวนานเกือบหนึ่งสัปดาห์เต็ม

ฉันจะ.............
ฉันจะสั่งทำถุงยังชีพ ให้ข้างถุงเขียนว่า “มาจากภาษีประชาชน” ไม่ต้องให้ใครได้ “เอาหน้า” เพราะประชาชนเป็นคนทำงานเสียภาษีให้รัฐทุกปีอยู่แล้ว

ฉันจะจัดตั้ง “ศูนย์กลางแก้วิกฤติ” อย่างด่วนที่สุด ไม่รอให้เนิ่นช้ากว่า 7 วัน ไม่ปล่อยให้ “รัฐบาล” ซึ่งกินภาษีประชาชน ทำงานเชื่องช้ากว่าประชาชนด้วยกันเอง

ฉันจะเอา “ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน” หรือที่รู้จักกันในชื่อ “ศอฉ.” นั่นแหละมาปัดฝุ่นแล้วลุยงานเลย เพราะฉันเชื่อว่า “น้ำท่วม” ก็เป็นเรื่อง “ฉุกเฉิน” ของชาติเช่นกัน ไม่ใช่เฉพาะภารกิจปราบม็อบเสื้อแดงเท่านั้นที่ฉุกเฉิน

วิกฤตการณ์แห่งอำนาจอธิปไตย

สาเหตุแห่งวิกฤติ
1. โลกาภิวัฒน์มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงกรอบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การได้เปรียบ-เสียเปรียบของข้อตกลงทางการค้า การเคลื่อนย้ายทุน คน สินค้า ข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยี เป็นไปอย่างเสรี รวดเร็วและสลับซับซ้อน กดดันให้คนทั่วทั้งโลกต้องปรับตัวอย่างขนานใหญ่ ทั้งกรอบในการรับรู้ การวิเคราะห์ การทำความเข้าใจโลก และการประเมิณคุณค่าใหม่ๆ สถานการณ์โดยรวมก่อให้เกิดเส้นแบ่งใหม่ระหว่างฝ่ายที่ปรับตัวได้กับฝ่ายที่ไม่สามารถปรับตัวได้ (กลุ่มอนุรักษ์ใหม่ ) ประเด็นหลักของการปรับตัวคือ ยอมรับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจหรือไม่ อยู่ในฝ่ายที่ได้เปรียบ-เสียเปรียบต่อการแปรรูปหรือไม่อย่างไร ยอมรับการตกลงการค้าเสรีโดยหลักการหรือไม่ อยู่ในฝ่ายที่ได้เปรียบ-เสียเปรียบต่อข้อตกลงทางการค้ารายสินค้าหรือไม่อย่างไร กลุ่มคนที่ปรับตัวไม่ได้และเสียประโยชน์จากผลกระทบของโลกาภิวัฒน์ มีแนวโน้มที่จะเข้าร่วมกระทั่งเป็นตัวตั้งตัวตีต่อการต่อต้านรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เพราะท่านเน้นยุทธศาสตร์ อยู่ร่วมกับโลกาภิวัฒน์และใช้ประโยชน์จากโลกาภิวัฒน์เป็นสำคัญ

2. กลุ่มทุนที่ไร้ความสามารถปรับตัวหลังวิกฤติ ทั้งกลุ่มที่เป็น NPL (เช่นผู้จัดการ TPI) กลุ่มที่ไม่มีความสามารถทำกำไรและ/หรือ ขยายกิจการอย่างมีข้อจำกัด ล้วนมีความคาดหวังพึ่งพารัฐและต้องการใช้สิทธิพิเศษฟื้นฟูกิจการของตน เมื่อพึ่งพาและใช้สิทธ์พิเศษไม่ได้ก็หันไปอยู่ตรงข้ามกับรัฐบาล

3. กลุ่มการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์บางกลุ่ม ไม่สามารถต่อรองผลประโยชน์จากรัฐได้ตามต้องการก็หันไปอยู่ฝ่ายตรงกันข้ามกับรัฐบาลและพรรคไทยรักไทยที่ตนเคยสังกัดหรือให้การสนับสนุน(เช่นกลุ่มวังน้ำเย็น และกลุ่มทุนพรรคชาติไทย)

วันอังคารที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เปิดใจทักษิณ ถึงพัฒนาการของระบอบประชาธิปไตยไทย

เปิดใจทักษิณ คำต่อคำ ถึง 4 ปี หลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549

จาก 19 กันยายน 2549 ถึง 19 กันยายน 2553 รวมระยะเวลาเกือบ 4 ปี ที่ทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ต้องใช้เวลาส่วนใหญ่รอนแรมอยู่ในต่างประเทศอันเป็นผลพวงมาจากการปฏิวัติ เรามาฟังคำต่อคำของอดีตนายกรัฐมนตรี ต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกันดีกว่า...

พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เปิดใจให้สัมภาษณ์พิเศษกับไทยรัฐออนไลน์ ตอบคำถามถึงพัฒนาการของระบอบประชาธิปไตยไทย หลังการปฏิวัติ 19 กันยายนที่ผ่านมาเกือบ4 ปีว่า

"การเมืองไทย ยังคงวนเวียนอยู่กับระบบเผด็จการที่ฝังรากลึก จนยากเกินหยั่งถึงโดยตนเองเคยพูดไปหลายครั้งแล้วว่า เมื่อเผด็จการมายุ่งเกี่ยวกับระบบประชาธิปไตย แล้วโอกาสที่จะถอนตัวออกไปเป็นไปได้ยาก เพราะฉะนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่ 4 ปี มาแล้วระบบเผด็จการ จึงยังคงอยู่คู่กับระบบประชาธิปไตยไทย ซ้ำร้ายนักการเมืองไทยบางจำพวก ยังดูถูกประชาชนด้วยการขายตัวให้กับเผด็จการ เพียงเพื่อให้ตัวเองอยู่รอด และอยู่ในอำนาจต่อไป รวมทั้งยังมีการทุจริตคอรัปชั่นอย่างมโหฬาร จนแทบจะกลายวัฒนธรรมของสังคมไทยในปัจจุบันไปแล้ว และที่มักจะดูถูกประชาชนว่าซื้อได้นั้น ในปัจจุบันก็เห็นกันแล้วว่านักการเมืองบางคนซื้อได้ง่ายเสียยิ่งกว่าอีก"

ส่วนจะมีโอกาสที่ประเทศไทย จะสามารถกลับมาเป็นเหมือนเดิมได้หรือไม่ จากสภาวการณ์ในปัจจุบัน

วันจันทร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ประชาชนกับบทบาททางการเมือง

อริสโตเติล กล่าวว่า การเมือง คือ ความผูกพันระหว่างประชาชนกับรัฐ จากคำกล่าวนี้ทำให้เกิดการยอมรับกันโดยทั่วไปว่า ประชาชนกับการเมืองจะแยกกันไม่ออก จะมีความผูกพันและจะมีบทบาทต่อกันตลอดไป การที่ประชาชนเข้ามาเกี่ยวข้องสัมพันธ์และแสดงบทบาทอย่างใดอย่างหนึ่ง ถือว่าเป็นการแสดงบทบาททางการเมืองของประชาชนหรือเป็นการเข้าร่วมทางการเมือง (Political participation) นั่นเอง “ซึ่งแมคคอสกี้ (Meclosky) ได้อธิบายความหมายของการเข้าร่วมทางการเมืองไว้ว่า การที่บุคคลมีความสำนึกในทางการเมืองการปกครองได้เข้าร่วมทางการเมืองเป็นกิจกรรมต่าง ๆ ที่กระทำโดยความสมัครใจซึ่งสมาชิกทั้งที่อยู่ในสังคมได้มีส่วนร่วมกันในอันที่จะเลือกผู้นำของตน และกำหนดนโยบายของรัฐ

การกระทำนั้นอาจจะทำโดยตรงหรืออ้อมก็ได้” สำหรับบุคคลที่ได้ชื่อว่า เป็นผู้เข้าร่วมทางการเมืองนั้น จะเกี่ยวข้องหรือเข้าร่วมกับกิจกรรมต่าง ๆ ทางการเมือง เหล่านี้ (อาจจะอย่างเดียวหรือหลายอย่างพร้อม ๆ กันก็ได้) คือ การใช้สิทธิในการเลือกตั้ง การแสวงหาความรู้ทางการเมือง การอภิปรายหรือการพูดคุยเกี่ยวกับการเมือง การเข้าร่วมในการชุมนุมทางการเมือง การแสดงมติมหาชนอื่น ๆ การเป็นสมาชิกพรรคการเมือง การก่อตั้งพรรคการเมือง การลงรับสมัครเลือกตั้ง เป็นต้น แต่การที่ประชาชนจะมีส่วนร่วมทางการเมืองมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ลัทธิการเมืองเอื้ออำนายให้ ประชาชนมีความสำนึกทางการเมือง วิถีทางทางการเมือง เป็นต้น

วันอาทิตย์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ประชาธิปไตยแบบไทยๆ

ประชาธิปไตย – ประชาธิปไตยแบบไทยๆ เป็นฉันท์ใด โดย ทอทหาร

ณ วันนี้เราคงปฎิเสธไม่ได้ว่าการปกครองในระบอบประชาธิปไตย (Democracy) เป็นระบอบการปกครองที่มีความสอดคล้องกับสภาพการณ์ของโลกที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ถึงแม้จะมีนักวิชาการหลายท่านยังไม่ได้เห็นดีเห็นงามไปกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย หรือแม้แต่นักการเมือง/ผู้นำประเทศชื่อดังก็ยังไม่ได้มองว่า ระบอบประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ยกตัวอย่างเช่น อริสโตเติลที่มองว่าประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองที่ไม่ดี หรือ โธมัส ฮอบส์ ที่มองว่าระบบกษัตริย์เป็นระบอบการปกครองที่ดีที่สุด หรือแม้แต่ นรม.สหราชอาณาจักรในสมัยสงครามโลกครั้งที่สองอย่าง

เซอร์วินสตัน เชอร์ชิล (Sir Winston Churchill) ได้กล่าวว่า "Democracy is the worst form of government except for all those others that have been tried." หรือถอดใจความเป็นภาษาไทยได้ว่า "ประชาธิปไตยเป็นรูปแบบการปกครองที่เลวที่สุดหากเรายกเว้นไม่ไปกล่าวถึงบรรดารูปแบบการปกครองอื่นทั้งหลายทั้งปวงที่เคยถูกทดลองใช้บ้างเป็นเป็นครั้งคราว" หรือที่เรานิยมใช้กันว่า “ประชาธิปไตยไม่ใช่ระบบการปกครองที่ดีที่สุด แต่เลวน้อยที่สุด” เป็นต้น การทำความเข้าใจในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยจึงกลายมาเป็นสิ่งที่เราทุกคนในสังคมไทยจำเป็นต้องเรียนรู้

รัฐาธิปัตย์ และ โลกทรรศน์หลังการปฏิวัติ ๒๔๗๕

ความสืบเนื่องและความแตกหักของโลกทรรศน์หลังการปฏิวัติ ๒๔๗๕

เมื่อเกิดการปฏิวัติ ๒๔๗๕ แล้ว สำนักจารีตประเพณีพยายามสร้างคำอธิบายที่ให้ความต่อเนื่องกับจารีตในอดีต แต่สำนักรัฐธรรมนูญนิยมที่ปรากฏชัดขึ้นหลังการปฏิวัติได้ปฏิเสธคำอธิบายแบบจารีตประเพณีและสร้างคำอธิบายที่แตกหักกับสำนักจารีตประเพณี โดยทั้งสองฝ่ายได้ขับเคี่ยวกันในการให้คำอธิบายความจำเป็นของการปฏิวัติ, ที่มาแห่งอำนาจอธิปไตยและอำนาจของพระมหากษัตริย์ในระบอบการปกครองใหม่ ดังนี้ นักกฎหมายสำนักจารีตประเพณีนี้ส่วนใหญ่เป็นนักกฎหมายที่สำเร็จเนติบัณฑิตหรือบัณฑิตทางกฎหมายจากอังกฤษที่เน้นการใช้กฎหมายจารีตประเพณีโดยได้อ้างอิงหลักการรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีแบบอังกฤษ คือ หลักการแบ่งอำนาจเป็นความเข้าใจและร่วมมือกันเป็นอย่างดีระหว่างผู้ใช้อำนาจอธิปไตย โดยไม่มีการตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรแต่จะยึดถือธรรมเนียมที่เคยปฏิบัติต่อๆ กันมา เน้นขนบประเพณีและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ของอังกฤษ และพยายามอ้างอิงอำนาจพระมหากษัตริย์ไทยเข้ากับพระมหากษัตริย์อังกฤษ นอกจากที่เรียนจากอังกฤษแล้วยังมีนักกฎหมายส่วนหนึ่งในสำนักนี้ที่สำเร็จจากโรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม

โลกทรรศน์และวิธีการอธิบายสถาบันทางการเมืองนักกฎหมายสำนักจารีตประเพณีที่มักเน้นอธิบาย “จารีต” อำนาจทางการเมืองไทยให้อิงเข้ากับจารีตอำนาจของอังกฤษ หรือการยอมรับแต่เพียงผลลัพธ์ แต่กลับปฏิเสธสาเหตุ หรือประสบการณ์ของประวัติศาสตร์การเมืองแบบอังกฤษที่เกิดขึ้น โดยดึงหลักการเพียงบางส่วนเข้ามาและผสมผสานกับความเชื่อเดิมเพื่อวางแบบแผนในการร่างรัฐธรรมนูญและการให้คำอธิบายมาตราต่างๆ ที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ในรัฐธรรมนูญของไทยในเวลาต่อมา ปัญญาชนนักกฎหมายสำนักจารีตประเพณีนี้ซึ่งส่วนใหญ่เป็นข้าราชการที่มีตำแหน่งสูงในตำแหน่งตุลาการของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มีความใกล้ชิดกับเจ้านายและพระมหากษัตริย์ เช่น พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (๘) พระยาศรีวิสารวาจา (๙) พระยาเทพวิทุรพหุลศรุตาบดี (๑๐) พระยาปรีดานฤเบศร์ (๑๑) พระยามานวราชเสวี (๑๒) หลวงจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ (๑๓) และหม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ (๑๔) ซึ่งสำเร็จการศึกษาด้านประวัติศาสตร์ เป็นต้น

ล้มให้เป็น ลุกให้ได้...หากใจยังสู้

'ล้มให้เป็น ลุกให้ได้' หนังสือที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อ่าน เขียนโดยนายเอกชัย วรรณแก้ว ผู้พิการแต่กำเนิด

วันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ประชาธิปไตยทางตรงคืออะไร?

ประชาธิปไตยทางตรงคืออะไร? ชาวบ้านพบอุปสรรคอะไรบ้างในการเสนอข้อบัญญ­ัติท้องถิ่น ตามแนวทางของกฎหมายการเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งข­องผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าชื่อร้องขอต่อประธานสภาท้องถิ่­นเพื่อดำเนินการให้สภาท้องถิ่นพิจารณาออกข­้อบัญญัติได้? ในการเสนอถอดถอนผู้บริหารท้องถิ่น และทางออกควรเป็นอย่างไร ชาวบ้านพบอุปสรรคอะไร?





ผู้เข้าร่วมรายการ
1.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรทัย ก๊กผล ผู้อำนวยการ วิทยาลัยพัฒนาการปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า
2.คุณประยงค์ ดอกลำใย รองผู้อำนวยการมูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ
3.คุณหอมหวล บุญเรือง ประธานโครงการอนุรักษ์ขุนน้ำดอยแม่ออกฮู อ.เวียงชัย จ.เชียงราย
4.คุณพรเทพ ประดับพลอย นายกเทศมนตรีตำบลบางม่วง จ.นนทบุรี

ผู้ดำเนินรายการ
คุณสุนี ไชยรส

บทบาทของการเมืองภาคประชาชน

การเมืองภาคประชาชน ในงานวิจัยของเสกสรรค์ โดย เกษียร เตชะพีระ

ผมสบโอกาสได้รับเชิญให้ช่วยอ่านและวิจารณ์ร่างรายงานการวิจัยเรื่อง "บทบาทของการเมืองภาคประชาชน ในการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยไทย" ของอาจารย์ ดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ในงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ครบรอบ 55 ปี เมื่อวันจันทร์ที่ 14 มิถุนายนที่ผ่านมา อ่านแล้วก็ตื่นเต้นและประทับใจ อยากเอามาเล่าต่อสู่ท่านผู้อ่าน งานวิจัยชิ้นนี้ได้การสนับสนุนจากทุนปรีดี พนมยงค์ มูลนิธิ 50 ปีธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2545 อาจารย์เสกสรรค์อ่านค้นคว้าเก็บรวบรวมข้อมูลไป ตามสัมภาษณ์ปัญญาชนสาธารณะผู้นำกลุ่มประชาชน และผู้นำองค์กรพัฒนาเอกชน 37 คน จากเหนือจรดใต้ไป พร้อมกับสอนหนังสือและตรวจข้อสอบของนักศึกษาเป็นร้อยๆ ที่คณะรัฐศาสตร์รวม 7 วิชาไปด้วย กินเวลาปีกว่าจึงเขียนเสร็จ

แต่หากนับช่วงเวลาที่อาจารย์เสกสรรค์เฝ้าครุ่นคิดใคร่ครวญถึงปัญหามูลฐานต่างๆ เกี่ยวกับรัฐ สังคมและการเมืองไทยจนก่อรูปเป็นแนวความเข้าใจและองค์ความรู้ในงานชิ้นนี้ก็คงจะกว่า 15 ปีตั้งแต่ค้นคว้าและเขียนวิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตเรื่อง "TheTransformation of the Thai State and Economic Change(1855-1945) ("การเปลี่ยนรูปของรัฐไทยกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2498-2488) เสร็จ ณ มหาวิทยาลัยคอร์แนล เมื่อปี พ.ศ. 2532 และผลิตงานทางปัญญาและวิชาการแนวเดียวกันแบบเกาะติดสืบเนื่องมา ในฐานะข้อเขียนชิ้นหนึ่ง งานเรื่อง "บทบาทของการเมืองภาคประชาชนในการพัฒนาระบอบประชาธิปไตย" จัดเป็นความเรียงขนาดยาว(เนื้อหา 4 บท 158 หน้า) ที่นำเสนอข้อถกเถียงโต้แย้งอย่างแน่นเนื่อง ผ่านการบ่มเพาะความคิดมานานจนสุกงอม และเพียบพร้อมด้วยข้อคิดความเข้าใจอันหยั่งลึก

วันศุกร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เรื่องกล้วยๆ ที่รัฐบาลนี้ทำไม่ได้

วิถีชีวิตประชาธิปไตย

ลักษณะของวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตย อาจจำแนกได้ดังนี้
1. เคารพเหตุผลมากกว่าบุคคล โดยไม่ศรัทธาบุคคลใดถึงขั้นปูชนียะบุคคล (แต่ก็ต้องกตัญญูต่อญาติผู้ใหญ่และผู้มีพระคุณ) จะต้องไม่เคร่งครัดเรื่องระบบอาวุโส (แต่ต้องให้ความเคารพผู้อาวุโส) ประชาธิปไตยจะดำเนินไปด้วยดีก็ต่อเมื่อมีการรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่าย เพื่อค้นหาเหตุผลและความถูกต้องที่แท้จริง เพราะเหตุผลเท่านั้นที่จะจรรโลงให้ประชาธิปไตยดำเนินไปได้ และประชาธิปไตยเชื่อว่ามนุษย์เป็นสัตว์ที่มีเหตุผลรู้จักประนีประนอม ต้องรู้จักยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่ยึดมั่นหรือดึงดันแต่ความคิดเห็นของตนเองโดยไม่ยอมผ่อนปรนแก้ไข และต้องยอมเปลี่ยนแปลงแก้ไขความคิดเห็นของตนเองเมื่อผู้อื่นมีความคิดเห็นที่ดีกว่า

2. ปรัชญาประชาธิปไตยโดยพื้นฐานไม่ปรารถนาให้มีการใช้กำลังและการล้มล้างด้วยวิธีการรุนแรงเพราะถ้ามีการใช้กำลังและความรุนแรงแล้ว ก็แสดงให้เห็นว่ามนุษย์ไม่มีหรือไม่ใช่เหตุผล ซึ่งก็ขัดกับหลักความเชื่อข้อมูลฐานของประชาธิปไตยที่ถือว่ามนุษย์มีเหตุผล

3. มีระเบียบวินัย คือ ต้องปฏิบัติตามกฎหมายของบ้านเมืองอย่างสม่ำเสมอ และช่วยทำให้กฎหมายของบ้านเมืองมีความศักดิ์สิทธิ์โดยไม่ยอมให้ผู้ใดมาละเมิดตามอำเภอใจ แต่ถ้ามีความรู้สึกว่ากฎหมายที่ใช้อยู่ไม่เป็นธรรม ก็ต้องหาทางเรียกร้องให้มีการแก้ไขกฎหมายนั้น มิใช่ฝ่าผืนหรือไม่ยอมรับการใช้เสรีภาพเกินขอบเขตจนละเมิดหรือก้าวก่ายในสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น ย่อมทำให้เกิดความไม่สงบขึ้นในสังคม เพราะสังคมที่ไม่มีการจำกัดในเรื่องสิทธิเสรีภาพเลยนั้นหาใช่สังคมประชาธิปไตยไม่แต่เป็นสังคมอนาธิปไตยที่เปรียบเสมือนไม่มีรัฐบาล ไม่มีกฎหมาย ไร้ระเบียบวินัยทางสังคมโดยสิ้นเชิง

วันพฤหัสบดีที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2553

กล้วยน้ำว้า

กล้วยน้ำว้า จัดเป็นไม้วงศ์ MUSACEAE สกุล Musa จึงนับว่าเป็นที่รู้จักมากที่สุดในหมู่ผู้ยากไร้ จนมีคำพังเพยว่า "ถูกยังกะกล้วยน้ำว้า"

ที่ว่าถูกนั้นก็เห็นจะไม่ผิดหรอกถ้าเป็นประเทศสยามสมัยเมื่อหลายสิบปีก่อนแต่ปัจจุบันไอ้ที่ว่าถูกยังกะกล้วยน้ำว้าอันเป็นที่พึ่งของคนยากเมื่อครั้งก่อน ๆ นั้น หามีไม่แล้ว

สมัยที่นมกระป๋อง แป้งกระป๋องยังไม่มีจะชงให้ลูกกิน ก็ไอ้ลูกเหลือง ๆ อวบ ๆ นี่แล้วที่เอามาขูดใช้เนื้อของมันนั่นแล้วบดกับข้าวสุกให้ลูกกิน จนกระทั่งมันรอดเป็นเนื้อเป็นตัวเติบใหญ่จนมีโอกาสได้ชื่นชมกับ "ประชาธิปไตย" ที่ไทยแต่เก่าก่อนบ่เคยรู้จัก

แล้วไอ้ที่มากับประชาธิปไตยนี่แล้วในยุคนี้ก็คือ ราคาอันสูงส่งของมันจนไม่มีใครบังอาจเอาไปเปรียบเป็นคำพังเพยได้อีกแล้วเพราะมันได้เลื่อนฐานันดรขึ้นจนกระทั่งบัดนี้ขึ้นหน้าขึ้นตาเทียมกับของกินเล่นกินจริง ของคนไทยทุกชั้นไปแล้ว เช่น กล้วยฉาบ กล้วยตากอบน้ำผึ้ง เป็นต้น

การเมืองของพลเมืองหรือการเมืองภาคประชาชน

การเมืองของพลเมือง(Citizen Politics) หรือการเมืองภาคประชาชน คืออะไร

การเมืองของพลเมือง หมายถึง การเมืองที่ประชาชนในทุกส่วนภาคสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับท้องถิ่น ระดับชาติ ระดับนานาชาติ

เป็นการเมืองที่ประชาชนสามารถเข้าไปมีบทบาทและเข้าใจถึงสิทธิในการแสดงออกซึ่งความต้องการของตนเพื่อนำไปสู่การผลักดันให้รัฐออกกฎหมายหรือกำหนดนโยบายต่างๆที่สอดคล้องกับความต้องการของตนได้

การเมืองภาคประชาชน จึงถือเอาขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองในรูปแบบต่างที่ปรากฏในสังคมรัฐ เช่น การชุมนุม เดินขบวน เรียกร้อง เจรจาต่อรอง การพยายามเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจร่วมกับรัฐในเรื่องต่างๆ ฯลฯเป็นต้น
การเมืองแบบนี้ ประชาชนจะเป็นตัวแทนของตนเอง เป็นผู้กำหนดความต้องการของตนเองออกมาเป็นประเด็นในสังคมเพื่อนำไปสู่การเคลื่อนไหวต่อไป

ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับรัฐ จะเปลี่ยนจากการเป็นผู้อยู่ใต้อุปถัมภ์พึ่งพา แบมือขอในฐานะเป็นผู้ถูกกระทำ(Passive) มาเป็นผู้กระทำ (active) เป็นฝ่ายรุกรัฐให้กระทำตาม ดังนั้น รัฐจึงไม่ใช่ศูนย์อำนาจแต่ประชาชนคือศูนย์อำนาจเป็นผู้กำหนดความต้องการของตน ไม่ใช่รัฐ

วันพุธที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ระบบเศรษฐกิจที่รับใช้ทุกคนอย่างเสมอหน้า

วิสัยทัศน์ใหม่...มุมมองของผู้หญิง IMOW
ดรุณี : แปล

วิกฤตการเงินโลกได้เปิดโอกาสสำหรับผู้หญิงไหม? IMOW (International Museum of Women) นำเสนอจินตนาการและประสบการณ์อันหลากหลายของผู้หญิง เพื่อตอบคำถามว่า วิกฤตได้บ่มเพาะโอกาสหรือไม่?

ขลิบสีเงินบนขอบเมฆ ในระหว่างพายุกระหน่ำของวิกฤตการเงินทั่วโลก คือ มันได้ช่วยเปิดโปงจุดบกพร่องในระบบเศรษฐกิจของเรา และได้ช่วยเปิดโอกาสบ้างสำหรับการเปลี่ยนแปลง ในสถานที่ต่างๆ เช่น บังคลาเทศ บาร์บาโดส โบลิเวีย กัมปาลา และมานิลา วาระเศรษฐกิจใหม่ๆ กำลังงอกเงยและเริ่มแข็งแรงขึ้น--วาระที่จะแก้ไขปัญหาที่ผู้หญิงทั่วโลกกำลังเผชิญหน้าอยู่ และส่งเสริมให้พวกเธอได้มีส่วนร่วมและใช้ความสามารถของพวกเธอ IMOW หวังว่า ผู้อ่านและผู้ฟัง จะสามารถถอดรหัส เรียนรู้จากบทความที่เต็มไปด้วยวิสัยทัศน์และภูมิปัญญา ตั้งคำถามคำใหญ่ และช่วยพวกเราจินตนาการอนาคตที่สว่างสดใสและมีความเสมอภาคกว่าปัจจุบัน

An Economy That Works for Everyone
Masum Momaya, Curator