เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม เลขทะเบียน ๘๖๙ สภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า

อุดมการณ์สถานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตย

เรา...มั่นใจว่า
ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา
ประเทศไทย เป็นของเราทุกคน
เรา ต้องร่วมกันสร้างชาติไทย ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์  พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

สรุป 3 ประเด็นสำคัญ "อัมสเตอร์ดัม" ฟ้อง "อภิสิทธิ์"

บันทึกในเฟซบุ๊กส่วนตัว ของ ปิยบุตร แสงกนกกุล
อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

จากการอ่านรายงานของโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ที่ใช้ประกอบการเสนอคำร้องไปยังศาลอาญาระหว่างประเทศในวันนี้ ผมขอสรุปประเด็นสำคัญและความเห็นของผมในเบื้องต้น ดังนี้ ในความเห็นของผม รายงานของอัมสเตอร์ดัมทั้งหมด อาจแบ่งได้ 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ

ส่วนแรก ความเป็นมาของการเกิดขึ้นของเสื้อแดง
ตั้งแต่รัฐประหาร 19 กันยา "ตลก"ภิวัตน์ รัฐธรรมนูญ 2550 เป็นคุณต่อพวกเอสตาบลิชเมนท์ การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน การคุกคามเสรีภาพ และการสลายชุมนุม

ส่วนที่สอง การสังหารหมู่เมษายน พฤษภาคม 53 เข้าองค์ประกอบความผิดอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ
ส่วนนี้เป็นเรื่องข้อเท็จจริงที่ปรับให้เข้ากับฐานความผิดอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ส่วนนี้ เขารวบรวมพยานหลักฐานไว้ได้ดีมาก มีพยานผู้เชี่ยวชาญชื่อ Joe Ray Witty เป็นอดีตทหารอเมริกัน ผู้เชี่ยวชาญเรื่องอาวุธและสไนเปอร์ มีพยานผู้เห็นเหตุการณ์อีกหลายคน (ดูพยานทั้งหมดที่ภาคผนวก)

ส่วนที่สาม เรื่องนี้อยู่ในเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศได้อย่างไร
ส่วนนี้เป็นเรื่องเขตอำนาจศาล อย่างที่ทราบกันดีว่าประเทศไทยได้ลงนามใน Rome Statute แต่ไทยไม่ได้ให้สัตยาบัน (ราทิฟาย) Rome Statute นี้

ไม่ต้องถึง "ปฏิวัติจริง"

โดย สุชาติ ศรีสุวรรณ
เหมือนจะเป็นเรื่องแปลกที่เรื่องราว "ทหารเตรียมปฏิวัติ" ออกมาเต็มพื้นที่หน้าข่าว
แต่มันจะแปลกกันได้อย่างไร เพราะทุกฝ่ายชักแถวกันออกมาพูดถึง "รัฐประหาร" กันอย่างพร้อมเพรียง ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล ฝ่ายค้าน ม็อบเสื้อแดง ม็อบเสื้อเหลือง

ขอยืนยันว่า "ข่าวรัฐประหาร" นั้นมีปล่อยออกมาจริง และเข้นข้นขึ้นเรื่อยๆ โทรศัพท์หลายสายจากคนวงในเช็คข่าวกันให้วุ่น แม้ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน "มือปฏิวัติ" คนล่าสุด จะแสดงบทของผู้เชี่ยวชาญว่า "เงื่อนไขยังไม่สุกงอมพอที่จะรัฐประหาร" แต่เรื่องนี้ไม่ใช่กองไฟที่ไม่มีควันเสียทีเดียว

เพราะ "ข่าวปฏิวัติ" อาจจะเป็นประโยชน์ทางด้านอื่น
หลังที่ "พรรคร่วม" ถลำลึกไปแล้วว่าต้องการ ส.ส.สูตร 400+100 แต่ "ประชาธิปัตย์" ยืนกรานจะเอา "375+125" ใครก็ถอยไม่ได้ หากไม่มีเหตุผลเพียงพอ เพราะจะกลายเป็นพรรคเหลาะแหละไปทันทีในความรู้สึกของคนที่ติดตามสถานการณ์

เปลี่ยนผ่านประเทศไทย

โดย ธีระ สุธีวรางกูร
นิติราษฏร์ ฉบับ 13

หากไม่หลอกตัวเองจนเกินไป จะพบว่าสังคมไทยไม่มีอะไรเหมือนเดิมอีกต่อไปแล้ว ปฏิกิริยาอันหลากหลายที่สะท้อนผ่านความรู้สึกนึกคิดและการแสดงออกของบรรดา ผู้คน แสดงนัยยะให้เห็นชัดเจนว่าประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่ยุคเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญ

จากความขัดแย้งทางการเมืองในสังคมไทยเมื่อห้าปีก่อน หากผู้เกี่ยวข้องต่อการนี้ได้เข้าใจกันบ้างว่ากับบางเรื่องราว ไม่ว่าจะมีเหตุผลอย่างไร ก็ไม่สมควรกระทำแล้ว การรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ก็คงไม่เกิด และเมื่อการยึดอำนาจจากรัฐบาลพรรคไทยรักไทยไม่ได้มีผลเป็นการล้มล้างรัฐบาล อย่างเดียว แต่ทว่ายังเป็นการทำลายอำนาจการตัดสินใจของประชาชนผู้สนับสนุนรัฐบาลด้วย จากการกระทำด้วยวิธีการที่มิชอบดังนี้ จึงถือเป็นการเปิดม่านให้กับการมาเยือนของวิกฤติการเมืองไทยดังที่เห็นใน ปัจจุบัน ...

ความจริงแล้ว ปัญหาทางการเมืองอาจจะไม่ขยายตัว หากคู่กรณีฝ่ายหนึ่งมีความยับยั้งชั่งใจต่อการใช้อำนาจของตนอยู่บ้าง แต่หลังจากการรัฐประหารสำเร็จลุล่วง เมื่อปฏิบัติการทำลายล้างทางการเมืองต่อคู่กรณีฝ่ายตรงกันข้ามยังคงดำเนินไป อย่างต่อเนื่อง กล่าวคือ พรรคไทยรักไทยได้ถูกยุบไปโดยคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ หัวหน้าพรรคพลังประชาชนซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถูกศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่งผู้นำรัฐบาล และพรรคพลังประชาชนถูกยุบตามไปโดยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ

หมอเลี๊ยบ อ่านเกมเลือกตั้ง

วางผัง พท.วัดใจ "มาร์ค" เมื่อ "ทักษิณ" ยังเป็นแฟ็กเตอร์การเมือง เมื่อตารางการเมืองชัดเจน เมื่อเกมการเมืองนับถอยหลังเข้าสู่โหมดเลือกตั้ง ทั้งนักการเมือง-นักเลือกตั้งเข้าประจำที่จุดสตาร์ตในลู่-เลนสนามแข่งทั้งตัวจริง-ตัวแทน และแฟ็กเตอร์ ทุกตัว-เดินเครื่องเต็มสูบ

"นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี" อดีตผู้จัดการรัฐบาล-นักจัดการเลือกตั้ง แชมป์ 2 สมัยตั้งแต่ไทยรักไทยถึงพลังประชาชน วาดเค้าโครง-แคมเปญเลือกตั้ง วิเคราะห์เกมการเมืองก่อนวันพิพากษา-กากบาทจะมาถึง

นโยบายจะเป็นตัวชี้วัดผลแพ้-ชนะการเลือกตั้งได้อีกต่อไปหรือไม่
ความคิดของผู้รับผิดชอบในการเลือกตั้งอาจจะมีความรู้สึกว่านโยบายเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่ง แต่อาจจะไม่ใช่ส่วนสำคัญ ซึ่งก็อาจจะเป็นอย่างนั้น เพราะการเลือกตั้งขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นอย่างมากมาย หรืออาจจะเกิดจากการมองไม่ออก ว่ามีนโยบายอะไรที่สามารถชูขึ้นมาให้คำตอบกับ สังคมไทยได้

พรรคประชาธิปัตย์ประกาศแคมเปญต่อเนื่องนับถอยหลังสู่การเลือกตั้ง
แน่นอนว่าการรณรงค์หาเสียงจะเข้มข้นขึ้น เพื่อเข้าสู่โหมดเลือกตั้งและชนะการเลือกตั้งได้ ฉะนั้นก็ถึงจุดที่ต้องพูดถึงนโยบายพอสมควร แต่ปัญหาอยู่ตรงที่กระบวนการนำเสนอนโยบายยังไม่สามารถทะลวงจุดกับกรอบแนวคิดเดิม ประเทศเปลี่ยนไปมาก โลกก็เปลี่ยนไปมาก เรายังติดอยู่กับเรื่องแค่สวัสดิการสังคม โดยที่ไม่มองบริบทอื่น ทำให้เราไม่สามารถที่จะพัฒนาประเทศไปถึงจุดที่เรามีขีดความสามารถในการแข่งขันได้

วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

ประชาชนสร้างพรรค พรรคสร้างชาติ

โดย อริน
๘ กันยายน ๒๕๕๓

ถึงเวลาแล้วที่การเมืองแบบ 2 ขั้วอำนาจแย่งกันบริหารงบประมาณจะต้องยุติลง ประชาชนต้องสร้างการเมืองจากระดับถนน-ตรอก-ซอก-ซอย หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ภาค และระดับชาติ ที่ผู้ทนหน่วยพรรคขึ้นไปเลือกตัวแทนพรรคเข้าไปทำหน้าที่ "ฝ่ายนิติบัญญัติ"; ในขณะที่ผู้แทนหน่วยพรรค เลือกตัวแทนไปชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี; ทั้ง 2 ประการ จะทำให้อำนาจอธิปไตย 2 อำนาจ คือ ฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ แยกจากกันและสามารถตรวจสอบและคานอำนาจกันได้; ในเวลาเดียวกัน อำนาจตุลาการก็ผ่านการเสนอโดยฝ่ายบริหารและตรวจสอบรับรองโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ทำให้อำนาจตุลาการ "ยึดโยง" กับประชาชนเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทย

สร้าง หน่วยพรรคพื้นฐานจากอุดมการณ์ที่ชัดเจนก่อน แล้วตั้งสาขาพรรคประจำตำบล ระดับอำเภออำเภอ สู่ระดับจังหวัด และระดับชาติ; พรรคการเมืองเช่นนี้จะเข้มแข็ง ไม่อาจทำลายได้

เรา "ต้อง" มีระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์เสียก่อน จึงจะมีรัฐธรรมนูญของประชาชนได้ จะมีประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ได้ ก็ต้องสร้าง "สำนึกประชาธิปไตย" ในหมู่ประชาชน ไม่ต้องมากครับ แค่ 51% ของจำนวนผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งครับ และที่สำคัญ "ต้อง" ทำลาย "ลัทธิรัฐธรรมนูญนิยม" และ "การเลือกตั้ง" ใต้กติกา "เผด็จอำนาจ" ลงไปให้ได้ ไม่อย่างนั้น "วงจรอุบาทว์" ทางการเมือง ตั้งแต่การรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 ก็จะไม่หมดไปจากสังคมไทย ที่สำคัญ "ยุติ" งานชุมนุม "ตบมือ/ร้องเพลง/จัดคอนเสิร์ตกินโต๊ะจีน" ได้แล้ว ใช้เวลาและทรัพยากรที่มีทั้งหมด "จัดตั้งแนวทางการเมือง" และ "การให้การศึกษาทางประชาธิปไตย" ที่ลงลึกกว่าที่เป็นอยู่ และแพร่ขยายให้กว้างไกลตามสภาวการณ์ที่ประชาชนตื่นตัวกันในขอบเขตทั่วประเทศอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน

วันเสาร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2554

เจาะรหัสดีเอ็นเอ "เสื้อแดง" 54

สัมภาษณ์พิเศษ "อภิชาติ สถิตนิรามัย"
โดย อริน เจียจันทร์พงษ์, พงศ์พิพัฒน์ บัญชานนท์
ที่มา : มติชนรายวัน 28 มกราคม 2554

เพียง "คำถาม" ง่ายๆ แค่ว่า "คนเสื้อแดงเป็นลิ่วล้อทักษิณ และถูกจ้างให้มาชุมนุม" อย่างที่คนเขาพูดๆ กันจริงหรือไม่?

ได้นำทีมวิจัยของอาจารย์ "อภิชาติ สถิตนิรามัย" แห่งคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) บุกเข้าไปใน "พื้นที่สีแดง" หลายจังหวัด อาทิ จ.อุบลราชธานี นครปฐม เชียงใหม่ ฯลฯ ในการวิจัยเฟสแรก ช่วงต้นปี 2553

โดยพบ "คำตอบ" ที่สร้างความฮือฮาในแวดวงนักวิชาการ ที่ว่า "เสื้อแดงไม่ใช่คนจน แม้ส่วนใหญ่จะมีอาชีพรับจ้างและเป็นเกษตรกร แต่มีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 17,000 บาท เหตุที่คนเสื้อแดงออกมาชุมนุม เนื่องจากความคับค้องใจ เรื่องความไม่เท่าเทียมทางการเมือง"

ล่าสุด "อภิชาติและคณะ" กลับไปเหยียบถิ่นเสื้อแดงถึง "รัง" ที่ จ.เชียงใหม่และลำพูน ต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา เพื่อทำการวิจัยเฟสที่สอง

วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554

ความเห็นต่อข้อเรียกร้องของกลุ่มพันธมิตรฯ

จาตุรนต์ ฉายแสง

ผมได้เคยให้ความเห็นไว้ว่า การเคลื่อนไหวของกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า “กลุ่มคนไทยหัวใจรักชาติ” และกลุ่มพันธมิตรในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชาเป็นเรื่องที่ไม่ อาจมองข้ามละเลยได้ มาถึงเวลานี้ก็ชัดเจนแล้วว่าการเคลื่อนไหวนี้กำลังกลายเป็นปัญหาใหญ่ทั้งต่อ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและต่อสถานะและเสถียรภาพของรัฐบาลไทยเองอย่างที่ หลายฝ่ายอาจคาดไม่ถึงมาก่อน

ล่าสุดกลุ่มพันธมิตร นำโดยพลตรีจำลอง ศรีเมืองได้เสนอข้อเรียกร้อง 3 ข้อให้รัฐบาลดำเนินการภายใน 2 วัน มิฉะนั้นก็จะดำเนินการขั้นต่อไป พร้อมทั้งได้ประกาศด้วยว่า ไม่ชนะไม่เลิก (อีกแล้ว) ข้อเรียกร้องทั้ง 3 ข้อดั่งที่ทราบกันทั่วไปอยู่แล้วนั้น เป็นข้อเสนอที่รัฐบาลไทย ไม่ว่าใครมาเป็นรัฐบาลก็ไม่ควรทำตาม เพราะเป็นข้อเรียกร้องที่มีแต่จะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเสียหายมาก ยิ่งขึ้น และอาจจะเสียหายมากถึงกับกลายเป็นการกระทบกระทั่งหรือการรบกันระหว่างทหาร ของทั้งสองประเทศ

วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554

“สัจจะสะสมทรัพย์” ตั้งแต่เกิดจนตายที่จันทบุรี

แม้ไม่ได้ถูกยกเป็นหนึ่งในผลงานเด่นช่วงปีใหม่ แต่ “สวัสดิการชุมชน” ก็เป็นวาระที่ถูกพูดถึงมากเรื่องหนึ่งในรอบปี ด้วยเป็นฐานที่มั่นคงตามสโลแกนไทยเข้มแข็งที่เริ่มจากชุมชนฐานราก ไปพบกับต้นแบบความสำเร็จแห่งหนึ่งของประเทศที่ริ่เริ่มโดยชุมชน “กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์จันทบุรี”

สวัสดิการชุมชน รากฐานสวัสดิการสังคม
เช้าตรู่ที่วัดโพธิ์ทอง ต.แสลง อ.เมือง จ.จันทบุรี คึกคักไปด้วยชาวบ้าน ตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) หน่วยราชการส่วนกลางและส่วนพื้นที่ ที่ตบเท้าเข้าร่วมงาน “สมัชชาสวัสดิการชุมชน ฅนตะวันออก : ปฎิรูปสังคมจากฐานราก” ส่วนหนึ่งเพราะประสาชาวบ้านก็อยากเห็น อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ตัวจริงแบบชิดติดขอบเวทีในวาระมอบเงินสมทบกองทุนสวัสดิการชุมชนกว่า 10 ล้านบาทให้ 84 องค์กรชุมชน

มากกว่า นั้นคือ ชาวบ้านจำนวนไม่น้อยต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการบอกเล่าเรื่องราวความก้าวหน้า ของกองทุนสวัสดิการชุมชนที่ตัวเองขับเคลื่อน บุญศรี จันทร์ชัย ผู้แทนเครือข่ายสวัสดิการชุมชนคนกรุงเทพฯปริมณฑลและภาคตะวันออก ให้ภาพรวมกองทุนสวัสดิการชุมชนภาคตะวันออกว่าขณะนี้มีกองทุนกว่า 500 ตำบล ได้รับอนุมัติงบประมาณสมทบแล้ว 193 กองทุน สมาชิกรวม 1.25 แสนราย งบสนับสนุนจากรัฐกว่า 32.16 ล้านบาท เกิดกองทุนใหม่อีก 73 กองทุน ทั้งนี้ในส่วนของความคืบหน้าระดับประเทศ ปัจจุบันมีกองทุนที่จัดตั้งแล้ว 3,443 ตำบล สมาชิก 1.4 ล้านคน มีเงินสะสมของสมาชิกจำนวน 790.72 ล้านบาท รัฐบาลจ่ายเงินสมทบแล้ว 2,048 กองทุน เป็นเงิน 310.09 ล้านบาท

ปฐมบทความขัดแย้งไทย-กัมพูชา : ชาญวิทย์ เกษตรศิริ

บทสัมภาษณ์ :'ชาญวิทย์ เกษตรศิริ'
ปฐมบทความขัดแย้งไทย-กัมพูชา ในแบบเรียนภูมิศาสตร์ชั้นมัธยม

แม้กระแส "ชาตินิยม" ที่ เครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ-สำนักสันติอโศก ซับเซ็ตของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่โหมประโคมมาตั้งแต่ช่วงปีใหม่ อาศัยกรณี 7 คนไทยโดนจับ จะดูเหมือน "จุดไม่ติด" ก็ตาม

แต่ก็อาจเป็นอาการหัวเทียนบอดชั่วครั้งชั่วคราว เพราะต้องไม่ลืมว่า "ไพ่" ขวาจัด-ชาตินิยม เคยถูกใช้เพื่อล้มรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช-สมชาย วงศ์สวัสดิ์ จนสำเร็จมาแล้ว เมื่อ 2 ปีก่อน

และหากย้อนไปไกลกว่านั้น รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ก็เคยปลุกกระแส "ชาตินิยม" ขึ้นเรียกร้องดินแดนคืนจากมหาอำนาจในเวลานั้น อย่างประเทศ "ฝรั่งเศส"

คล้ายกับว่า แนวคิด "ชาตินิยม" จะฝังแน่นอยู่ในดีเอ็นเอคนไทยจำนวนหนึ่ง รอให้คนมาสุมไฟ ในจังหวะ-โอกาส-สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ก็พร้อมจะลุกไหม้ขึ้นทันที แน่นอน คำถามก็คือ..เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น

"ชาญวิทย์ เกษตรศิริ" นักประวัติศาสตร์ชั้นนำของเมืองไทย จะมาอธิบายกำเนิด "ลัทธิชาตินิยม" ในเมืองไทย ผ่านข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ นับแต่การถือเกิดขึ้นของเขตแดน-แผนที่ ไปจนถึง "ตำราเรียน" ภูมิศาสตร์ที่เชื่อว่า คนไทยส่วนใหญ่จะต้องผ่านตามาแล้ว สมัยเรียนชั้นมัธยม

วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

ไทย-กัมพูชา กับปัญหาการต่อสู้ของขบวนการประชาธิปไตย

วิสา คัญทัพ : 25 มกราคม 2554
ที่มา : ประชาไท

ชื่อบันทึกฉบับเต็ม "ว่าด้วยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างไทย-กัมพูชา กับปัญหาการต่อสู้ของขบวนการประชาธิปไตย - หยุดเอาความขัดแย้งทางชนชาติ มากลบเกลื่อนความขัดแย้งทางชนชั้น"

เมื่อใดก็ตามที่ปัญหาความขัดแย้งทางชนชั้นดำเนินไปอย่างดุเดือดแหลมคมและ รุนแรงองค์ประกอบและแนวร่วมต่างๆของ “คนชั้นสูง” บวก “คนชั้นกลางส่วนบน” ซึ่งรวมกันเป็นชนชั้นปกครองก็จะดำเนินการสร้างเรื่องปลุกระดมความคลั่งชาติ เพื่อให้เกิดความขัดแย้งทางชนชาติ

ขอย้ำว่า ความขัดแย้งทางชนชั้นถึงที่สุดแล้วคือเรื่องผลประโยชน์ อำนาจบารมี ความไร้ซึ่งความเสมอภาค ภราดรภาพ และความเป็นธรรม ส่วนความขัดแย้งทางชนชาติเป็นผลสืบเนื่องมาจากชนชั้นสูงที่ต้องการสร้าง อิทธิพลและครอบครองผลประโยชน์ จึงสร้างรัฐชาติขึ้นมา แล้วทำสงครามรบราแย่งชิงดินแดนสร้างแคว้นสร้างอาณาจักร ทั้งๆ ที่ประชาชนธรรมดาสามัญมิได้ดำรงเผ่าพันธุ์ไว้เพื่อขัดแย้งและต่อสู้ หากดำรงเผ่าพันธุ์ไว้ด้วยความรักความสัมพันธ์อันดีน้ำใจไมตรี และภราดรภาพ ชายแดนของทุกประเทศในโลกที่ความขัดแย้งทางชนชั้นอยู่ในระดับต่ำถึงต่ำที่สุด มักจะเป็นชายแดนที่สันติสงบ ประชาชนไปมาหาสู่สัมพันธ์กัน สืบผสมเผ่าพันธุ์กัน เป็นพี่เป็นน้องเป็นญาติกัน ทำมาค้าขาย ไปมาหาสู่ ข้ามแดน make love not war อยู่ร่วมกันโดยปกติสุข

ประชาธิปไตยไม่ใช่เหลืองหรือแดง

วิบูลย์ แช่มชื่น
ที่มา : ประชาไท

ต่อบทความเรื่อง “มายาคติ – ประชาชนยังไม่พร้อม” ของนักปรัชญาชายขอบ ในประชาไท ขอร่วมแสดงความเห็น เพื่อช่วยชี้ประเด็น และเพื่อให้เห็นทางสว่างร่วมกัน ตามที่ผู้เขียนอ้างถึง ขออภัยที่ไม่ค่อยเห็นด้วยกับความเห็นของอาจารย์วรเจตน์เรื่อง ร.๗ ไม่ว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับของพระยากัลยาณไมตรี จะยกร่างอย่างไร การที่พระองค์ท่านลงพระนามเห็นชอบในพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองสยามฉบับ ชั่วคราว ก็ถือว่าพระองค์ท่านเห็นด้วยในหลัก Democracy แล้ว ส่วนคณะราษฎรนั้น ถือว่าพลาดไปจริงๆ ที่ไม่ได้สร้างระบอบประชาธิปไตยขึ้น หลังยึดอำนาจ แต่ได้สร้างระบอบรัฐธรรมนูญ (Constitutionalism) ขึ้นมาแทน (รธน.ฉบับ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕) เป็นต้นแบบการปกครองไทยจนปัจจุบัน เป็นอุปสรรคของประชาธิปไตยมาตลอด

ส่วนความเห็นของทั้งอาจารย์ยิ้ม คุณสุริยะใส และนักปรัชญาชายขอบ นั้นมีประเด็นหลักวิชาที่เห็นว่ายังขาด และอยากแก้ไขและเติมเต็ม ให้สาธารณะได้เข้าใจเป็นหลักเสียก่อน ก่อนจะวิเคราะห์ปัญหาเรื่องสีเสื้อ ซึ่งเห็นว่าทั้งเหลืองและแดง ก็ยังเข้าใจผิดเรื่องประชาธิปไตยพอๆ กัน ทำให้เป็นปัญหามาจนคนบริสุทธิ์ตายกันหลายร้อยคนแล้ว

และแล้วความจริงกรณี 7 คนไทยก็ปรากฏ

ชำนาญ จันทร์เรือง
กรุงเทพธุรกิจ วันพุธที่ 26 มกราคม 2554

จากกรณีที่คนไทย 7 คนถูกทหารกัมพูชาจับตัวจนในที่สุด ศาลกัมพูชาพิพากษาจำคุก 5 คนไทยคนละ 9 เดือนและปรับเป็นเงินจำนวน 1 ล้านเรียล โดยโทษจำคุกให้รอลงอาญาไว้ก่อนซึ่งก็มีความหมายว่ากระทำความผิดจริงแต่ยัง ไม่ต้องถูกติดคุกนั่นเอง เหตุการณ์ต่างๆที่สับสนในตอนแรกเริ่มกระจ่างขึ้นตามลำดับ แต่ก็ยังเป็นที่สงสัยว่า“ใครได้อะไร เมื่อไหร่ และอย่างไร” ซึ่งใช้เป็นคำอธิบายว่า “การเมืองคืออะไร” (Politics is,who gets "What", "When", and "How") ของฮาโรลด์ ลาสเวลล์ (Harold D. Lasswell) ปรมาจารย์ทางรัฐศาสตร์ชาวอเมริกันที่โด่งดัง

ที่ผมยกนิยามศัพท์ของคำว่า “การเมืองคืออะไร” มากล่าวถึงกรณี 7 คนไทย ก็เนื่องเพราะว่ากรณีนี้เป็นกรณีการเมืองโดยแท้ ถึงแม้ว่าจะมีกรณีการบังคับใช้กฎหมายของศาลกัมพูชามาเกี่ยวข้องด้วยก็ตาม แต่ก็เป็นกรณีที่ฝ่ายการเมืองของกัมพูชาที่ใช้ศาลเป็นเครื่องมือในการดำเนิน การทางการเมืองกับไทยเช่นกัน

จุดเริ่มต้นของกรณีนี้เกิดขึ้นจากมีการพยายามที่จะใช้การปลุกกระแสชาติ นิยมในกรณีพิพาทเรื่องเขตแดนของกลุ่มการเมืองบางกลุ่มและรัฐบาลเองเพื่อ สร้างคะแนนนิยมของกลุ่มการเมืองและกลบปัญหาความไม่เอาไหนของรัฐบาลเอง แต่่การณ์กลับไม่เป็นไปดังที่คาดหวัง เนื่องจากมีเข้าร่วมการชุมนุมจำนวนไม่มากนักและมิหนำซ้ำยังถูกต่อต้านจากคน ในพื้นที่ จึงได้มีการตัดสินใจยกระดับการจุดชนวนด้วยการเดินข้ามแดนเข้าไปให้ทหาร กัมพูชาจับกุมตัว โดยหวังที่จะปลุกกระแสความรักชาติขึ้นมา

วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

เมื่อชาติเล็กกว่า‘อำนาจ-ผลประโยชน์

ยุทธวิธีกำหนด ‘เหตุ’ ให้เกิด ‘ผล’

ฟันธงตรงเป้า เข้าประเด็น การเมืองในปี พ.ศ. 2554 จะมีคลื่นรบกวน ไม่ราบเรียบอย่างที่ใครหลายคนคิดหรือฝันอยากให้เป็น ที่เป็นเช่นนี้เพราะมีปัจจัยเรื่อง “เวลา” มาบีบบังคับให้ “ใคร” บางคน และคน “บางกลุ่ม” ต้องตัดสินใจทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อรักษาอำนาจเอาไว้กับตัวเองและกลุ่มของ ตัวเอง

แต่จะลงมือทำอะไร เมื่อไร ต้องรอ “เวลา” ที่เหมาะสม
และระหว่างรอเวลาก็สร้างเรื่องปูทางเอาไว้เพื่อความชอบธรรมในยาม “ลงมือ”

นี่ไม่ใช่จิตนาการ แต่เป็นการประเมิน ประมวลจากข่าวที่เกิดขึ้นรายวัน ทั้งข่าวที่ “เปิดเผย” และข่าวที่ “ปิดลับ” หรือแม้แต่ข่าวที่จงใจ “ปล่อย” ออกมาเพื่อโยนก้อนหินถามทาง

หากพลิกดูปฏิทินทางการเมืองตามระบบ ตามระบอบ แน่ว่าภายในสิ้นปีนี้จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เพราะรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะหมดวาระการทำงานลงในวันที่ 22 ธันวาคม

"ปฏิรูปกองทัพ - ทหารต้องจงรักภักดีต่อประชาชน"

แถลงการณ์ โดย
สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.)
วันที่ 25 ม.ค. 2554

นับตั้งแต่คำปฏิญาณต่อธงชัย เฉลิมพล ในอันที่จะรักษาไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ถูกทำลายลงด้วยการรัฐประหารวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 คุณค่าและความศักดิ์สิทธิ์ของคำปฏิญาณจากเหล่าทหารในกองทัพไทย ก็ไม่อาจนับเป็นสิ่งที่น่าเชื่อถือได้อีกต่อไป หลักการคุณค่าเสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ, รัฐธรรมนูญที่ผ่านการลงมติของปวงชน, และระบอบประชาธิปไตยที่อนุญาตให้มีกษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ อาจเป็นสิ่งที่ทหารในกองทัพไม่อาจเข้าใจได้โดยแท้จริง การให้คำปฏิญาณจึงล้วนแต่เป็นเรื่องเชิงพิธีการ ที่ปราศจากความหวงแหนที่จะพิทักษ์ไว้ซึ่งความจงรักภักดีต่อประชาชนทั้งหลาย ผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยโดยแท้จริงในประเทศนี้ ทั้งยังเป็นหนึ่งในสดมภ์หลักทั้ง 4 ของกองทัพไทย ตามคำขวัญที่กล่าวว่า “เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และประชาชน”

หรือแท้จริงแล้ว คำว่า “ประชาชน” และตัวตนของ “ประชาชน” จะไม่เคยมีพื้นที่อยู่จริง ในความทรงจำของเหล่าทหาร สิ่งที่พวกเขารู้จักอาจเป็นเพียงอริราชศัตรูที่ต้องทำลายล้างให้หมดสิ้น การเรียกร้องประชาธิปไตยของประชาชนเป็นสิ่งแปลกปลอมของระบอบจารีตนิยมอำนาจนิยมที่มีเครือข่ายล้าหลังของอำมาตยาธิปไตยครอบงำอยู่ กองทัพเป็นเพียงเครื่องมือรักษาเสถียรภาพของผู้นำจารีตนิยมอำนาจนิยม ที่ไม่รู้จักคำว่าประชาธิปไตย และใช้มันเป็นเพียงเครื่องมือพ่วงท้าย หรือต่อไว้ข้างหน้า ปกปิดความเป็นเผด็จการแอบแฝงของตนเอาไว้

เครื่องบินที่สร้างโดยคนไทย...บินได้จริง

นักธุรกิจบ้านจัดสรรใจรักการบิน สร้างเครื่องบินเล็ก 2 ที่นั่งสำเร็จ ต้นทุนแค่ลำละ 1 แสนบาท ชี้เป็นลำแรกของโลกที่ใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ แต่ถูกห้ามบิน วอนรัฐสนับสนุนกรมการขนส่งทางอากาศ ชี้ต้องตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยก่อนนำมาใช้


เป็นเรื่องน่ายินดี เมื่อนักธุรกิจเจ้าของบ้านจัดสรรใน จ.ชลบุรี ร่วมกับคณะกรรมการสมาคมกีฬาสิ่งประดิษฐ์จำลองบังคับวิทยุ ผู้คลั่งไคล้ในกีฬาการบิน ซึ่งเป็นคนไทยแท้ๆ สามารถสร้างเครื่องบิน "อุลตร้าไลท์" หรือเครื่องบินเล็ก 2 ที่นั่ง น้ำหนักไม่เกิน 550 กิโลกรัม ได้เป็นผลสำเร็จ

ลดเหลื่อมล้ำ สร้างยุติธรรม : บูรณะหรือรื้อล้างแล้วสร้างใหม่สังคมไทย?

เสวนาวิชาการ “ลดเหลื่อมล้ำ สร้างยุติธรรม : บูรณะหรือรื้อล้างแล้วสร้างใหม่สังคมไทย ?” กองทุน 60 ปี อคิน รพีพัฒน์ เพื่อสังคม, สำนักงานสุขภาวะและพัฒนาสังคม และมูลนิธิชุมชนไท
ในงานแสดงมุทิตาจิต “78 ปี อคิน รพีพัฒน์….ตามหาความยุติธรรม” ณ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ กรุงเทพฯ

ม.ร.ว.อคิน รพีพัฒน์ กรรมการปฏิรูป ในฐานะประธานอนุกรรมการปฏิรูป ระบบการจัดการที่ดิน ฐานทรัพยากร สิ่งแวดล้อมและน้ำ ในคณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) กล่าวว่า ตลอดชีวิตที่ผ่านมายังไม่มี โอกาสได้พบกับความยุติธรรมที่แท้จริง ซึ่งความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นนั้นมีปัญหาสะสมเรื่อยมาตั้งแต่สมัยรัชกาล ที่ 5 ทั้งในรูปแบบที่ดีขึ้น และถดถอยลง แต่ปัจจุบันเรียกได้ว่า อยู่ในระดับเลวลงจนต่ำกว่าที่เคยจะเป็น เนื่องจากมีความเหลื่อมล้ำในสังคมสูง คนจนได้รับความทุกข์จากความไม่เป็นธรรมมากขึ้น สาเหตุสำคัญเกิดจากการครอบงำของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม บริโภคนิยม ดังกรณีเรื่องที่ดินทำให้คนกลุ่มเล็กเพียง 10% ถือครองที่ดินกว่า 90% ของทั้งประเทศ

“ความเป็นจริงประชาธิปไตยไม่ใช่ของเลว ไม่ใช่ของที่น่ารังเกียจ แต่เมื่อมีการแอบแฝงรูปแบบการเอารัดเอาเปรียบ การหวังผลประโยชน์ส่วนตนตามแนวคิดทุนนิยมเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงทำให้เราเกลียดประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นในประเทศของเรา”

วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2554

รายงานความจริงหลังลูกกรง ตอนที่ 3

หลังยกเลิกการประกาศใช้พรก.ฉุกเฉิน ยังมีนักโทษพรก.ฉุกเฉินจองจำในคุกอยู่

แม้ว่า รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะประกาศยกเลิกการใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯในกรุงเทพฯและปริมณฑล เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ ให้กับประชาชน ในปี 2554 ตามที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯผู้ซึ่งไม่มีวาจาสัตย์ ได้ลั่นวาจาไว้ แต่การยกเลิกการประกาศใช้พรก.ฉุกเฉินเป็นเรื่องเดียว ตลอดระยะเวลาเกือบ 2ปี ที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ที่นายอภิสิทธิ์ ได้กระทำตามที่ตนเองพูดแล้วก็ตาม แต่เมื่อสำรวจสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นหลังการประกาศยกเลิกการใช้พรก.ฉุกเฉิน กลุ่มสมัชชาสังคมก้าวหน้าและ ศูนย์ข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบเหตุสลายการชุมนุมเม.ย.- พ.ค.2553 (ศปช.) พบว่า ในความเป็นจริง ยังคงมีชาวเสื้อแดงที่ติดคุกเพราะการประกาศใช้พรก.ฉุกเฉินของรัฐบาลอยู่อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งขณะนี้ใช้ชีวิตอยู่ในเรือนจำคลองเปรม แดน 8 ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่า รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่ได้มีความจริงใจในการยกเลิกการใช้พรก.ฉุกเฉิน อย่างแท้จริง นักโทษเสื้อแดงที่ติดคุกอยู่ข้างใน เขามีความเห็นว่า หากรัฐบาลจริงใจต่อประชาชนแล้ว หลังยกเลิก การประกาศใช้พรก.ฉุกเฉิน รัฐบาลจะต้องปล่อยนักโทษในข้อหาฝ่าฝืนพรก.ฉุกเฉินทันที หรือรัฐบาลจะต้องไม่ดำเนินคดีต่อประชาชน ในข้อหา กระทำการฝ่าฝืนพรก.ฉุกเฉิน

มายาคติที่ (ยัง) สวมทับคนเสื้อแดง

นักปรัชญาชายขอบ

นักปรัชญาชายขอบ เสนอให้คนเสื้อแดงสลัดพ้นมายาคติสำหรับการต่อสู้ และเสนอ "วาระที่เป็นรูปธรรม" ในการป้องกันไม่ให้อำนาจนอกระบบมายุ่งเกี่ยวกับการเมือง

ความชอบธรรมในการต่อสู้ทางการเมืองของมวลชนคือ การสามารถอธิบายได้ว่าเป็นการต่อสู้เพื่อเสรีภาพ ความเสมอภาค ความยุติธรรม และ/หรือประชาธิปไตย แน่นอนว่าถ้าใช้เกณฑ์นี้ตัดสิน การต่อสู้ของพันธมิตรย่อมหมดความชอบธรรมไปแล้วตั้งแต่เรียกร้องพระราชอำนาจ และรัฐประหาร

ในทำนองเดียวกัน พรรคการเมืองที่ก้าวขึ้นมามีอำนาจรัฐด้วยอาศัย “เส้นสนกลใน” ของฝ่ายจัดการอำนาจที่ประกอบด้วยอำมาตย์ พันธมิตร และกองทัพย่อมเป็นรัฐบาลที่ไร้ความชอบธรรมตั้งแต่แรกเช่นกัน

แต่สังคมนี้ยังช่วยกันสร้าง “มายาคติความชอบธรรม” ให้กับรัฐบาลเช่นนี้ แม้เมื่อหลังสลายการชุมนุมที่มีคนบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก โดยเฉพาะคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ “ปัญญาชนแถวหน้า” ยังเข้าร่วมชูธง “มายาคติความชอบธรรม” แก่รัฐบาลที่เสวยอำนาจบนความตายของประชาชนอย่างหน้าตาเฉย

วันพุธที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2554

จดหมายเปิดผนึกถึงคนเสื้อแดง

โดย ประวิตร โรจนพฤกษ์
แปลและเรียบเรียง โดย ทวีพร คุ้มเมธา
จาก An open letter to the red shirts

ถึงชาวเสื้อแดงทั้งหลาย

ผมได้ติดตามการชุมนุมครั้งล่าสุดของพวกคุณ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมเยอะขึ้นเป็นหลายหมื่นคน เพื่อต่อสู้กับเหล่าอำมาตย์ จึงขอถือโอกาสแสดงความเห็นและแนะนำสักเล็กน้อย

อย่างแรก กรุณาอย่าลืมว่า ถึงแม้พวกคุณจะถูกกดขี่และเชื่อว่ากำลังต่อสู้เพื่อสังคมที่เป็นประชาธิปไตย มากกว่าที่เป็นอยู่ นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า ทุกการกระทำของพวกคุณจะมีความชอบธรรม ถูกต้องและเป็นประชาธิปไตยไปโดยปริยาย

ตัวอย่างเช่น กรณีการที่คนเสื้อแดงกลุ่มหนึ่ง อ้างนาม นปช. ในการรณรงค์ให้มีการจัดการกับ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายอานันท์ ปันยารชุน และพลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา ด้วยข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หลังจากที่มีรายงานจากวิกิลีคส์ว่า ทั้งสามได้พูดถึงสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารฯ ในเชิงวิพากษ์วิจารณ์กับทูตสหรัฐฯ

สังคมไทยในระยะเปลี่ยนผ่านกับบทบาทของพรรคการเมือง

โดย ธนชาติ แสงประดับ ธรรมโชติ
ที่มา : ประชาไท

นับจากการเปลี่ยนแปลง 24 มิถุนายน 2475 เป็น ต้นมาได้สะท้อนให้เห็นประวัติศาสตร์สังคมไทย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโครงสร้างทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ โดยเฉพาะสถาบันพรรคการเมืองซึ่งเป็นที่มาของอำนาจรัฐและการจัดสรรผลประโยชน์ให้กับประชาชน ตลอดจนเปลี่ยนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ทำให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นระบบพรรคการเมืองมากขึ้นตามลำดับนั่นหมายถึง ประชาชนเริ่มมีจิตสำนึกในจิตวิญญาณของความเป็นประชาธิปไตยโดยธรรมชาติ จึงเริ่มรวมกลุ่มทางการเมืองและจัดตั้งพรรคการเมืองตามมาเพื่อเป้าหมายในการ เข้าไปกำหนดนโยบาย

พรรคการเมืองจึงเป็นการรวมกันของกลุ่มบุคคลในสังคมโดยสมัครใจมีอิสระที่จะสร้าง เจตนารมณ์ทางการเมืองของตนอย่างต่อเนื่องและชัดเจน ในการทำกิจกรรมทางการเมือง เพื่อต้องการส่งตัวแทนเข้าทำหน้าที่ในสภา อันจะได้มาซึ่งอำนาจรัฐในการกำหนดนโยบายสาธารณะ โดยผ่านกระบวนการสรรสร้างแนวความคิดทางการเมืองเพื่อให้สาธารณชนยอมรับและ สนับสนุนตามทิศทางของกลุ่ม

ความเป็นองค์กรที่มีลักษณะต่อเนื่องนี่เองที่ทำให้พรรคการเมืองมีความต่างออกไป จากการรวมตัวกันแบบหลวมๆ ในลักษณะของกลุ่มเคลื่อนไหวเฉพาะกิจเพื่อเรียกร้องบางเรื่องราว ดังนั้นกฎหมายว่าด้วยพรรคการเมืองจึงสร้างเงื่อนไขหรือหลักประกันเพื่อให้เกิดความเคร่งครัดในการสร้างวัตถุประสงค์ทางการเมืองให้เป็นจริง เช่น จะมีกฎเกณฑ์เรื่องลักษณะการจัดตั้งหรือเรื่องจำนวนสมาชิกที่มีพอสมควรหรือ บทบาทหน้าที่ เพื่อให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างแท้จริง

วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

....."แด่แม่...ด้วยดวงใจ"

หากชีวิตของเราเปรียบดั่งต้นไม้
แม่ก็คือรากแก้วอันมั่นคง
คอยส่งกำลังบำรุง
ให้ลำต้นเติบใหญ่แผ่กิ่งก้านสาขา
ผลิบานดอกใบออกผล
ให้เป็นต้นไม้ที่สมบูรณ์
บนโลกกว้าง.....หนทางยาวใกล ทุกก้าวที่มุ่งไปล้วนแล้วแต่มีที่มา

เราคงจะไม่ลืมว่า ก้าวที่เข้มแข็งมุ่งมั่นในวันนี้นั้น....คือก้าวที่เคยเตาะแตะ
ล้มลุกคลุกคลานมานับครั้งไม่ถ้วน

และยิ่งกว่านั้น...เราคงจะไม่ลืมว่า...มีสองมือของใครคนหนึ่ง คอยจับจูง
ให้เราหัดก้าวเดิน เสียงปรบมือที่คอยให้กำลังใจ ถ้อยคำปลอบโยนในยาม
ที่เราร้องไห้ ผู้ที่ทำให้เรามั่นใจได้ทุกครั้ง ด้วยวงแขนอบอุ่นที่โอบกอดเรา
อย่างทะนุถนอมเสมอ เราก้าวผ่านช่วงเวลาเหล่านั้นมาเนิ่นนาน แต่ไม่เคย
ไกลเกินกว่าสายใยแห่งความรัก และความผูกพันจะเอื้อมถึง

ทางตันและทางออกของชนชั้นนำไทย ๒

โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
ที่มา : มติชน

เมื่อสังคมเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะเมื่อเกิดคนกลุ่มใหม่จำนวนมากที่ต้องการเข้ามาแบ่งพื้นที่ทางการเมืองบ้าง ชนชั้นนำสามารถปรับตัวให้ทันการณ์ได้หรือไม่?

โอกาสเช่น นั้นเกิดขึ้นได้เหมือนกัน แต่ไม่ง่ายนัก และมักจะมีเงื่อนไขอื่นๆ ที่กดดันชนชั้นนำร่วมไปด้วย ดังกรณีอังกฤษหลังการปฏิวัตินองเลือดของครอมแวลล์ ชนชั้นนำสามารถประนีประนอมกันเองได้ เพื่อปราบปรามฝ่ายปฏิวัติ ในขณะเดียวกันก็จำกัดอำนาจของสถาบันกษัตริย์ลง โดยเชิญเจ้านายต่างประเทศขึ้นครองบัลลังก์ แล้วสร้างอำนาจที่แข็งแกร่งของสภาขึ้น

แต่เพราะชนชั้นนำอังกฤษมีรากฐานของผลประโยชน์ที่ขัดแย้งกัน ชนชั้นนำจึงไม่ได้ประสานกันจนเป็นกลุ่มก้อนเนื้อเดียวกันนัก การแข่งขันของชนชั้นนำในสภาจึงเป็นผลให้ขยายสิทธิประชาธิปไตยออกไปกว้างขึ้น เรื่อยๆ เพื่อดึงเสียงสนับสนุนจากประชาชนระดับล่าง ซึ่งกำลังต้องการพื้นที่ทางการเมืองของตนเองพอดี

แม้จะขัดแย้งกัน แต่ชนชั้นนำอังกฤษก็ยังมีฉันทามติร่วมกันอยู่อย่างน้อยสามประการคือ

วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554

เป้าหมายการเคลื่อนไหว

ใบตองแห้ง
15 ม.ค.54

รุ่นน้องผมที่ไม่ใช่เสื้อแดงแต่เอาใจช่วยการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย (มิกล้าเรียกว่าสองไม่เอา อิอิ) บ่นทันทีที่เจอหน้ากันวันจันทร์ว่า “เสียของ” เพราะมวลชนเสื้อแดงมาชุมนุมกันล้นหลามถึง 3 หมื่นกว่าคน แต่กลับลงเอยด้วยการโฟนอินของทักษิณ

โอเค ผมเข้าใจดีว่ามวลชนเสื้อแดงไม่ได้เจตนาจะมาฟังทักษิณโฟนอิน มีทักษิณหรือไม่มีเขาก็มา ในทางตรงข้าม น่าจะเป็นทักษิณต่างหากที่กลัวตกกระแส จนต้องต่อสายมาโฟนอิน

แต่เรื่องนี้ต้องตำหนิแกนนำ ที่ไม่มีความชัดเจนในแง่เป้าหมายของการเคลื่อนไหว การนำยังไม่เป็นเอกภาพ และยังไร้ทิศทางเช่นเคย แบบใครใคร่พูดพูด ไม่คิดว่าจะได้อานิสงส์ส่งผลดีผลเสียอย่างไร

ที่พูดเช่นนี้ไม่ได้ปฏิเสธทักษิณ ต้องห้ามยุ่งห้ามเกี่ยว เราไม่อาจปฏิเสธว่าทักษิณเป็นส่วนหนึ่งของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย แต่ต่างฝ่ายต่างต้องจัดบทบาทที่เหมาะสม ทักษิณควรอยู่ในบทบาทผู้สนับสนุน หรือเดินสายรณรงค์ต่างประเทศ ปล่อยให้เสื้อแดงเคลื่อนไหวอย่างเป็นตัวของตัวเอง ภายใต้เป้าหมายร่วมกัน ถ้ามัวแต่เลอะเทอะปนเปื้อนกันไปมาก็มีแต่ผลลบ

วันเสาร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2554

ขยายความ "ดินแดน-ชาตินิยม" : ชาญวิทย์ เกษตรศิริ

ไม่น่าเชื่อว่า "เส้น" บนแผนที่เพียงเส้นเดียว จะให้ชีวิตคนไทย 7 คน ต้องตกอยู่ในฐานะ "ตัวประกัน" จะทำให้คนเคยรักออกมาเดินขบวนขับไล่กัน และยังทำให้ "กัมพูชา" มีอำนาจต่อรองเหนือ "ไทย" บนเวทีระหว่างประเทศ

"ชาญวิทย์ เกษตรศิริ" อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักประวัติศาสตร์อุษาคเนย์แถวหน้าของเมืองไทย เห็นปรากฏการณ์ "อคติ" เรื่องเชื้อชาติ-ดินแดน ต่อ "ความไม่รู้" ในเรื่องพรมแดน-แผนที่ และต่อ "ความพยายาม" ในการปลุกกระแสชาตินิยมขึ้นมา

จึง ขอโอกาสอธิบายข้อมูล-ข้อเท็จจริง ถึงกรณีพิพาทดังกล่าว ในเชิงประวัติศาสตร์ โดยหวังเพียงว่าหากคนไทยได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและเข้าใจเพื่อนบ้านที่มี พรมแดนติดกันกว่า 800 กิโลเมตรมากขึ้น

มีข้อสังเกตอะไรต่อกรณีคนไทย 7 คนถูกจับบ้างครับ

เกม นี้คงยาว เรื่องคงซับซ้อน พูดง่ายๆ คล้ายกับ 7 คนไปให้กัมพูชาจับเป็นตัวประกัน อำนาจต่อรองของรัฐบาลพนมเปญจึงสูงมาก มีไพ่อยู่ในมือ แต่ก็น่าสนใจว่า ตอนนี้ไพ่ชาตินิยมไทย-เสียดินแดน มีคนเล่นอยู่พวกเดียว นายกรัฐมนตรีก็ไม่เล่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศก็ไม่เล่น ทหารก็ไม่เล่น ดังนั้น ถ้าดูไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ก็จะเห็นได้ว่ากระแสมันไม่ขึ้น จึงต้องไปดูว่าการชุมนุมใหญ่วันที่ 25 มกราคมนี้ กระแสจะขึ้นหรือไม่ เพราะเป็นไพ่ใบเดียวที่เหลืออยู่

วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554

ข้อถกเถียงที่สร้างสรรค์ ในขบวนการเสื้อแดง

โดย ใจ อึ๊งภากรณ์
ที่มา : ประชาไท

จุดเด่นของเราชาวเสื้อแดงคือ ขบวนการของเราเป็นขบวนการที่มีความหลากหลายทางความคิด เรื่องนี้เป็นเรื่องที่พวกเราทราบดี และเราไม่ควรปฏิเสธ เรามีเสื้อแดงแบบ “นปช.แดงทั้งแผ่นดิน” ซึ่งอาจมีทัศนะต่างกันภายในกลุ่ม เช่นอาจเป็นคนที่ชอบแนวทางของ อ.ธิดา หรือชอบแนวทางของคุณจตุพร ... มีเสื้อแดงรักทักษิณ มีเสื้อแดงไม่เอาทักษิณ มีเสื้อแดงวันอาทิตย์สีแดง มีเสื้อแดงรักเจ้า มีเสื้อแดงไม่เอาเจ้า มีเสื้อแดงสาย อ.สุรชัยที่เรียกตนเองว่า “สยามแดง” และพูดเอามันเพื่อสร้างภาพ มีเสื้อแดงสาย อ.เสริฐ-อ.ชูพงษ์-นปช.ยูเอสเอ ที่สร้างความสับสนและช่วยทหารโดยการเน้นด่าเจ้าเรื่องเดียว มีเสื้อแดง 24 มิถุนายน และมีเสื้อแดงสังคมนิยมอย่างผม ฯลฯ นอกจากนี้ในแต่ละพื้นที่มีกลุ่มเสื้อแดงของแต่ละชุมชนด้วย ซึ่งอาจมีมุมมองตามสายการเมืองหลากหลายที่พูดถึงไปแล้ว

เราต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและเพื่อคัดค้านเผด็จการอำมาตย์มาถึงจุดนี้ และเรื่องประชาธิปไตยกับการคัดค้านอำมาตย์เป็นจุดร่วมที่เชื่อมพวกเราไว้ เป็นหนึ่งเป็น “เสื้อแดง” และเราก็ควรพยายามรักษาความสามัคคีท่ามกลางการต่อสู้เสมอ แต่บัดนี้เราต้องพูดความจริงด้วย ต้องยอมรับข้อแตกต่างทางแนวคิดที่มีจริง และเปิดใจพร้อมที่จะถกเถียงเกี่ยวกับแนวทางและสายความคิดดังกล่าวอย่างเปิดเผย เพราะมันไม่ใช่สิ่งเลวร้ายเลย มันเป็นลักษณะแท้และธรรมดาของ “ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม” โดยเฉพาะขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมที่เรียกร้องประชาธิปไตยและสิทธิเสรีภาพ

วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

เราจะตั้งต้นเป็นประชาธิปไตยที่ไหน : หยุด แสงอุทัย

ในฐานที่ข้าพเจ้าได้เคยสอนวิชารัฐธรรมนูญที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ต่อจากคุณไพโรจน์ ชัยนาม มาเป็นเวลาช้านาน เพิ่งจะได้เลิกสอนวิชานี้ที่คณะนิติศาสตร์เมื่อสองปีนี้เอง แต่ก็ได้สอนวิชานี้ที่คณะรัฐศาสตร์ต่อจากนั้น ทั้งได้เคยสอนวิชารัฐธรรมนูญและเลือกตั้งพิศดารปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์มาจนถึงในเวลาปัจจุบัน ข้าพเจ้าได้ตั้งจุดประสงค์ของการสอนวิชากฎหมายของข้าพเจ้าสองประการ คือ
  1. ให้นักศึกษามีความรู้ในวิชารัฐธรรมนูญทั่วไป และ
  2. ซึ่งเป็นจุดประสงค์ที่สำคัญที่สุดสำหรับข้าพเจ้า คือให้นักศึกษาเป็นนักประชาธิปไตยที่แท้จริง
สำหรับจุดประสงค์ข้อ ๑ ที่ว่าให้นักศึกษามีความรู้ในวิชารัฐธรรมนูญทั่วไปนั้นก็เพราะประเทศไทยได้ มีการปฏิวัติและรัฐประหารบ่อยครั้ง และทุกครั้งได้มีการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ ถ้านักศึกษาศึกษาแต่รัฐธรรมนูญฉบับที่ใช้อยู่ในขณะนั้น เวลาที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญก็ดี หรือประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่ในภายหลังก็ดี นักศึกษาก็จะไม่สามารถเข้าใจรัฐธรรมนูญที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือที่มีการ ประกาศใช้ใหม่ได้ แต่ถ้านักศึกษาได้ศึกษาวิชารัฐธรรมนูญทั่วไป ซึ่งเป็นวิชาว่าด้วยหลักเกณฑ์ทั่วไปของรัฐธรรมนูญแล้ว นักศึกษาก็จะมีวิชานี้เป็นเครื่องมือทำความเข้าใจรัฐธรรมนูญได้ทุกฉบับ ไม่ว่าจะเป็นฉบับที่ยกเลิกแล้วหรือเป็นฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังสามารถใช้วิชารัฐธรรมนูญทั่วไปนี้ทำความเข้าใจรัฐธรรมนูญต่าง ประเทศได้ด้วย เพราะวิชารัฐธรรมนูญทั่วไปนั้น เป็นวิชาที่ว่าด้วยหลักเกณฑ์ทั่วไปของรัฐธรรมนูญ วิชานี้จะศึกษาว่ารัฐธรรมนูญคืออะไร ? แบ่งแยกออกไปได้กี่ประเภท ? รัฐธรรมนูญเกิดขึ้นได้อย่างไร ? ดับสูญไปได้อย่างไร ? ตลอดจนอะไรบ้างที่เป็นสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญ ? ในวิชารัฐธรรมนูญทั่วไปจะได้มีการสอนถึงการแบ่งแยกอำนาจและการถ่วงอำนาจ อันจะทำให้อำนาจต่าง ๆ สมดุลกันหรือที่เรียกว่าการคานกันและสมดุลกัน (Check and balance)

วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554

“บริหารแบบไม่บริหาร!... สู้แม้วไม่ได้เลย!!”

วาทตะวัน สุพรรณเภษัช
8 มกราคม 2554

สนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมารประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้พูดในรายการ “เมืองไทยรายสัปดาห์” ออกอากาศทางเอเอสทีวี วันศุกร์ที่ 31 ธันวาคม 2553 ในโอกาสส่งท้ายปีเก่า มีความน่าสนใจตรงที่ สนธิเปรียบเทียบความสามารถในการบริหารประเทศ ระหว่างนายกฯทักษิณ ชินวัตร กับนายมาร์ค มุกควาย ว่า

หากตัดข้อสงสัยสองเรื่องออกไป คือ
1. ข้อสงสัยในเรื่อง ความไม่สุจริตในการบริหารประเทศ
2. ข้อสงสัยในเรื่อง ความจงรักภักดี

นายมาร์ค มุกควาย นั้น จะเทียบกับนายกรัฐมนตรีไทย ที่ชื่อ ‘ทักษิณ ชินวัตร’ ไม่ได้เลย ไม่ว่าจะเป็นการบริหารราชการงานแผ่นดิน หรือความสามารถในด้านอื่น ที่แสดงถึงศักยภาพความเป็นผู้นำประเทศ...

ผู้เขียนเองคิดไม่ถึงว่า คำพูดอย่างนี้ จะหลุดออกจากปากของหัวโจกฝ่ายปรปักษ์ทักษิณ ที่ชื่อ สนธิ ลิ้มทองกุล!

วันอังคารที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554

ทางตันและทางออกของชนชั้นนำไทย ๑

โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
ที่มา : มติชน

ผมเดาไม่ออกหรอกว่า ขบวนการเสื้อแดงจะเคลื่อนไหวอย่างไรในปีนี้ แต่ที่ผมแน่ใจก็คือ เขามีหนทางของเขาอย่างแน่นอน และถ้าดูจากความคึกคัก (ทั้งกิจกรรมและจำนวนผู้เข้าร่วม) ของการเคลื่อนไหว หลังจากการล้อมปราบอย่างป่าเถื่อนในเดือนพฤษภาคม 2553 แล้ว ผมก็แน่ใจด้วยว่าขบวนการเสื้อแดงในปีใหม่นี้ จะไม่อ่อนกำลังลง มีแต่จะเข้มแข็งขึ้น

ส่วนจะผูกพันกับพรรคเพื่อไทยแค่ไหนนั้นเดาไม่ ถูก แต่ผมออกจะสงสัยว่า จะผูกพันกันน้อยลงมากกว่ายิ่งเหนียวแน่นขึ้น อย่างน้อยก็เพราะขบวนการเสื้อแดงไม่ต้องอาศัยเครือข่ายของนักการเมือง ในการระดมกำลังเคลื่อนไหว จะเห็นความเป็นอิสระของเสื้อแดงได้ชัด หากย้อนกลับไปคิดถึงการเคลื่อนไหวในระยะแรกๆ ของ นปช.

ตรงกันข้ามกับ เสื้อแดง ผมคิดว่าการเมืองของกลุ่มชนชั้นนำกลับหมดทางพลิกแพลง มองไม่เห็นว่าเขาจะเคลื่อนไหวต่อไปอย่างไรมากไปกว่าที่ได้ทำมาแล้วตลอดช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา และการณ์ก็ได้พิสูจน์แล้วว่า ไม่สามารถนำ "สถานะเดิม" ทางการเมืองกลับมาได้ จนถึงนาทีนี้ ผมยังมองไม่เห็นว่าพวกเขามียุทธวิธีอะไรใหม่ๆ มากไปกว่าเดิม ฉะนั้นในปีใหม่นี้เขาก็คงทำอย่างที่ได้ทำมาแล้ว และล้มเหลวที่จะดึงประเทศไทยกลับไปสู่ "ความมั่นคง" ประเภทที่พวกเขาต้องการได้

วันจันทร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554

ปรับปรุงทัศนคติและพฤติกรรมให้ดีขึ้น

ปีใหม่นี้ เป็นวาระโอกาสอันเหมาะสมที่เราจะตั้งปณิธานว่า เราจะสำรวจดูทัศนคติ และพฤติกรรมในปีที่ผ่านมาของเรา และปรับเปลี่ยนสิ่งที่ไม่ดีไม่เหมาะให้ดีขึ้น การตั้งใจกระทำดังที่ว่านี้จะก่อเกิดคุณประโยชน์ต่อทุกคน ทุกฝ่าย รวมทั้งตัวของคุณเอง

มีเรื่องเล่าชวนหัวชวนคิดอยู่เรื่องหนึ่งดังนี้...

เมื่อคุณ “ฟั่น” กลับมาบ้านหลังจากเลิกงาน “จิน” บุตรชายผู้ฉลาดเป็นกรด ซึ่งจำเป็นต้องอธิบายให้คุณพ่อฟังถึงเรื่องคะแนนสอบของตน ก็ตรงรี่เข้าไปหาคุณพ่อ พลางกล่าวว่า...

“ปาป๊าครับ!...ปาป๊าจำได้ไหมครับว่า ปาป๊าจะให้เงินรางวัลแก่ผม 2,000 บาท หากว่าผมสอบผ่านทุกวิชา?”

คุณฟั่นผู้เป็นบิดา คิดสักครู่หนึ่งแล้วก็พยักหน้าเป็นการยืนยันข้อตกลงดังกล่าว เมื่อเห็นดังนั้น “จิน” ผู้เป็นบุตรชาย ก็ยิ้มเริงร่าอ้าปากกว้างพูดกับบิดาด้วยเสียงดังฟังชัดว่า “ถ้าอย่างนั้น ผมมีข่าวดีพิเศษมาบอก ปาป๊าครับ...คือว่า...ผมช่วยประหยัดเงิน 2,000 บาท ให้ปาป๊าแล้วนะครับ!”

พลังอำนาจของชาติ

การก่อตั้ง ดำรงอยู่ และพัฒนาต่อไปของแต่ละประเทศขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญที่เรียกว่าพลังอำนาจของชาติ ความสามารถในการบริหาร จัดการของรัฐบาลของแต่ละประเทศ ที่มีต่อปัจจัยพลังอำนาจของชาติ ที่แต่ละประเทศนั้นๆมีอยู่ ก็จะส่งผลโดยตรง ต่อภาพรวมของแต่ละประเทศ ในความเป็นจริงแล้ว ความเข้มแข็งของแต่ละพลังอำนาจขึ้นอยู่กับบุคลากรที่รับผิดชอบในสาขา/งานที่เกี่ยวข้องกับแต่ละพลังอำนาจ อันได้แก่

- บุคลากรและการดำเนินงานในด้านการเมือง
-บุคลากรและการดำเนินงานในด้านเศรษฐกิจ
- บุคลากรและการดำเนินงานในด้านการทหาร
- บุคลากรและการดำเนินงานในด้านสังคมจิตวิทยา
-บุคลากรและการดำเนินงานด้านเทคโนโลยี่

การสร้างหรือการก่อกำเนิดของบุคคลากร ในแต่ละสาขาพลังอำนาจนั้นมีที่มา วิธีการที่แตกต่างกันไป
พอจะวิเคราะห์ วิจารณ์ได้ดังนี้

วันอาทิตย์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2554

ข้อเสนอ 6 ข้อเพื่อประชาธิปไตยสมบูรณ์ : อริน

รุ่งโรจน์ 'อริน' วรรณศูทร

มีคำถามที่ยังคงถูกถามในท่ามกลางการชุมนุมใหญ่น้อยของฝ่ายประชาธิปไตย และในเวทีเสวนา-สัมมนาย่อยเกือบจะทั่วทุกหัวระแหงในเวลานี้ รวมทั้งตามห้องสนทนาในเว็บไซต์-หัวข้อพูดคุยวิพากษ์วิจารณ์ตามเว็บบอร์ด-ใน จดหมายกลุ่ม และอื่นๆ จัดเป็นคำถามยอดนิยมข้ามปี นั่นคือ "เสื้อแดงจะชนะไหม? และชนะอย่างไร?" พอๆกับคำขวัญในการชุมนุมหรือธงนำสำหรับการชุมนุมใหญ่ ที่ว่า "ไม่ชนะ ไม่เลิก"

อันที่จริงคำถามที่น่าจะให้ความสำคัญมากกว่า 2 คำถามข้างต้น น่าจะเป็นคำถามที่ว่า "อย่างไรจึงเรียกว่าชนะ" เสียมากกว่า

เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2552 ในระหว่างช่วงรณรงค์ "แนวทางฎีกา" (ซึ่งผมเคยเสนอความเห็นไว้ใน ความคิดเห็นส่วนตัวกรณีขอนิรโทษกรรม ในเว็บบอร์ดนิวสกายไทยแลนด์ เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2552 หลังการประกาศ ณ เวที นปช. แดงทั้งแผ่นดิน ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2552) ผมเสนอความเห็นไว้ในบทความ "ผลักดัน 5 ล้าน 4 แสน เจตจำนงเสรี ไปสู่การสร้างชาติไทยใหม่"

วันศุกร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2554

ปีแห่งการจัดโครงสร้างอำนาจของสถาบันหลักของชาติ

บทสัมภาษณ์ ดร.เกษียร เตชะพีระ โดย ประชาชาติธุรกิจ

ปี 2553 เป็นปีแห่งความขัดแย้ง อย่างถึงราก นักวิชาการ ทหาร ตำรวจ ตุลาการ นักกฎหมาย ต้องนอนก่ายหน้าผาก-พลิกตำราเก่าแก่รับมือ

ดร.เกษียร เตชะพีระ ในฐานะคอลัมนิสต์-นักรัฐศาสตร์ ฟันธงว่า ปี 2554 จะเป็นปีแห่งการจัดโครงสร้างอำนาจของสถาบันหลักของชาติใหม่ พร้อม ๆ กับการกระชับพื้นที่ให้มวลชนสีแดง-สีเหลือง ค้นหาเหตุผลมาต่อสู้กัน แทนการใช้กำลัง ความรุนแรง

หากสีใดยังใช้มวลชนเป็น "เบี้ย" ถือว่าเป็นการกระทำที่ "ทุเรศ" และต้องส่งเสริมให้เกิดการ "ทะเลาะกันโดยสันติ"

บรรทัดจากนี้ไป เป็นคำทำนาย ข้อวิเคราะห์ บทวิพากษ์ และวิจารณ์ทุกโครงสร้างอำนาจ

สิ่งที่น่าจับตาที่สุดของการเมืองปี 2554 มีอะไรบ้าง
มันทับซ้อนกัน 2 เรื่อง อันแรก เป็นปัญหาเรื้อรังมาตั้งแต่ช่วงรัฐประหาร 2549 ก็คือจะจัดระเบียบการเมืองยังไงให้ลงตัว เพราะว่ามันมีกลุ่มอำนาจ ซึ่งเขาดำรงอยู่จริงในทางสังคม ในทางเศรษฐกิจ ซึ่งก่อนหน้านี้ มีกระบวนการที่กลั่นกรองทางการเมือง แต่กระบวนการที่กลั่นกรองนั้น ใน 3-4 ปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ชัดว่า มันก่อปัญหามากกว่าด้วยซ้ำ แปลว่าคุณจะจัดระเบียบการเมืองยังไง ที่จะดึงเอากลุ่มพลังที่ถูกกันออกไป ให้เข้ามามีที่ทางในระเบียบการเมือง และสู้กันในวงการเกมกฎกติกาทางการเมืองได้

วันพุธที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2554

คำประกาศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและพลเมือง 1789

สำนวนแปลของ ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล

โดยที่พิจารณาเห็นว่า ความเขลาเบาปัญญา ความหลงลืมหรือความละเลยเพิกเฉยต่อสิทธิประการต่าง ๆ ของมนุษย์นั้น เป็นสาเหตุแต่เพียงประการเดียวของความหายนะที่เกิดมีขึ้นแก่ส่วนรวมและของ ความฉ้อฉลที่เกิดมีขึ้นในรัฐบาลชุดต่าง ๆ บรรดาผู้แทนปวงชนชาวฝรั่งเศสซึ่งรวมตัวกันเป็นสภาแห่งชาติ จึงเห็นพ้องต้องกันในอันที่จะออกประกาศอย่างเป็นทางการซึ่งปฏิญญาว่าด้วย สิทธิทั้งหลายตามธรรมชาติอันมิอาจถ่ายโอนแก่กันได้และเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ของมนุษย์ เพื่อว่าเมื่อปฏิญญาฉบับนี้ได้ปรากฏแก่สมาชิกทั้งมวลอันประกอบกันขึ้นเป็น สังคมจงทุกคนแล้ว จะกระตุ้นให้สมาชิกเหล่านั้นได้ตระหนักอยู่เสมอถึงบรรดาสิทธิและหน้าที่ของ พวกเขา เพื่อว่าเมื่อพิจารณาถึงการกระทำ แห่งอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจปกครองบริหาร ไม่ว่าจะในคราใดก็ตาม ประกอบกันเข้ากับวัตถุประสงค์แห่งสถาบันทางการเมืองทุกสถาบัน (อำนาจนิติบัญญัติและอำนาจปกครองบริหารที่ว่านั้น) จักพึงได้รับการเคารพยิ่งขึ้น เพื่อว่าข้อเรียกร้องทั้งปวงของพลเมือง - ซึ่งนับแต่บัดนี้ไป จักตั้งอยู่บนหลักการต่าง ๆ อันชัดเจนและเป็นหลักการที่มิอาจปฏิเสธได้อีกต่อไป - จักมุ่งไปสู่การธำรงไว้ซึ่งรัฐธรรมนูญและประโยชน์สุขร่วมกันของทุกคน

ด้วยเหตุผลที่ว่ามานี้ ต่อเบื้องหน้าและภายใต้การคุ้มครองแห่งองค์พระผู้เป็นเจ้าสูงสุด สภาแห่งชาติจึงรับรองและประกาศซึ่งสิทธิทั้งหลายแห่งมนุษยชนและพลเมืองไว้ ดังต่อไปนี้

กองทัพกับการเมืองไทย ๒ : นิธิ เอียวศรีวงศ์

โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
นอกจากกองทัพแล้ว ใครเป็น "หุ้นส่วน" ในการเมืองไทยในปัจจุบันบ้าง?

ผมคิดว่ามีดังต่อไปนี้คือ อำนาจนอกระบบ, ทุน อันประกอบด้วยทุนธนาคาร, ทุนอุตสาหกรรม และทุนธุรกิจ บางส่วนของกลุ่มนี้อาจต้องรวมถึงนโยบายของมหาอำนาจตะวันตกด้วย เพราะถึงอย่างไรก็เชื่อมโยงกัน, ข้าราชการพลเรือนหรือเทคโนแครต (แต่นักเศรษฐศาสตร์บางท่านก็บอกว่าราชการไทยไม่เหลือเทคโนแครตอีกแล้ว) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการบริหารรัฐ จึงอาจต่อรองทางการเมืองได้สูง เพราะสามารถทำให้ผู้ได้อำนาจรัฐกลายเป็นง่อยไปได้ง่ายๆ, เทคโนแครตที่อยู่นอกระบบราชการก็มีบทบาทอยู่ไม่น้อย ไม่ว่าจะอยู่ในตลาดหุ้น, มหาวิทยาลัย, หรือบริษัทเอกชน

คนเหล่านี้มีช่องทางในการ "ส่งเสียง" ของตน ทั้งที่เป็นคำพูดและการกระทำได้มาก ผมจึงขอรวมปัญญาชนไว้ในกลุ่มนี้ด้วย, คนชั้นกลาง ส่วนใหญ่คือพวกที่เป็นคนงานคอปกขาว พวกนี้เริ่มมีบทบาทอย่างเห็นได้ชัดมาตั้งแต่ 14 ตุลา และกลุ่มสุดท้ายคือสื่อ จะนับกลุ่มนี้ว่าอยู่ในกลุ่มทุนธุรกิจก็ได้ เพื่อสื่อในทุกวันนี้ล้วนเป็นการประกอบธุรกิจล้วนๆ ไปแล้ว แต่ผมนึกถึงคนทำงานสื่อ ซึ่งที่จริงก็คือคนงานเสื้อขาวประเภทหนึ่ง แต่เป็นพวกที่มีโอกาส "ส่งเสียง" มากกว่าคนงานเสื้อขาวธรรมดามาก และเสียงที่ส่งออกมาก็อาจไม่ตรงกับนายทุนเจ้าของสื่อเสมอไป, และแน่นอนมีกองทัพอยู่ด้วย

ความมั่นคงของมนุษย์ ในปัจจุบันและอนาคต

รายงานการพัฒนาคนฉบับใหม่มุ่งเน้นปัญหาที่เมืองไทยกำลังเผชิญอยู่และความท้าทายของอนาคต

วันที่ 10 พฤษภาคม 2553, กรุงเทพฯ – สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นดีพี) และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้เผยแพร่รายงานการพัฒนาคนของประเทศไทยปี 2552 ในวันนี้ รายงาน “ความมั่นคงของมนุษย์ ในปัจจุบันและอนาคต” สะท้อนให้เห็นถึงสถานการณ์ความมั่นคงของมนุษย์ในประเทศไทยจากหลากหลายมุมมอง บทวิเคราะห์ของรายงานฉบับนี้ครอบคลุมในหลายประเด็นได้แก่ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงทางการเมือง ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม ความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงของปัจเจกบุคคลและความมั่นคงทางสุขภาพ

จากการที่ความมั่นคงของมนุษย์เป็นเนื้อหาหลักของรายงานฉบับนี้ ยูเอ็นดีพีสามารถประเมินประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคนได้มากมาย รายงานฉบับนี้ยังมุ่งเน้นไปยังประเด็นความเสี่ยงและภัยคุกคามที่มีอยู่ เช่น การเสื่อมสภาพของทรัพยากรธรรมชาติของประเทศและแรงงานที่ไม่ได้รับความคุ้มครองโดยระบบประกันสังคม รายงานฉบับนี้ยังระบุถึงความเสี่ยงและภัยคุกคามใหม่ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยสรุปแล้ว รายงานฉบับนี้ครอบคลุมหัวข้อและวาระสำคัญมากมาย รวมถึงปัญหาเดิมๆ ที่มีอยู่มาหลายปีแต่ถูกเพิกเฉยเนื่องจากความคุ้นเคย และยังกล่าวถึงประเด็นใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่เกิดขึ้นกับสภาพเศรษฐกิจของประเทศ สภาวะทางสังคมและ สถานะของประเทศไทยในโลก

วันอังคารที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2554

ข้อคิดดี ๆ จากน้าเน๊ก เกตุเสพย์สวัสดิ์

คนเราอายุเฉลี่ย 60 ปี 1 ปี เท่ากับ 365 วัน แสดงว่าแต่ละคนมีเวลาบนพื้นโลก 21,900 วัน
คิดปลีกย่อยไปกว่านั้นก็ 525,600 นาที ลองนับเป็นสัปดาห์ อืม......... ไม่เลว 3,120 สัปดาห์

อุแม่เจ้า......... แสดงว่า เรามีโอกาสเที่ยวในคืนวันเสาร์สามพันกว่าครั้งเท่านั้นเอง คิดแบบนี้แล้วไม่กล้าดูนาฬิกา แทบเบือนหน้าหนีจากปฏิทิน เพราะมันไม่ต่างอะไรกับการนับถอยหลังเพื่อรอวันลาโลก...
เปล่าเลยผมไม่ได้กลัวตาย และขอโทษที่หากเรื่องอาจไม่ค่อยขำ แต่ตลอดเวลาที่ใช้เวลาอยู่บนโลกนี้มันน้อยมากหากคำนวนในเชิงตัวเลข

*ยังมีหนังสืออีกหลายเล่มที่ยังไม่ได้อ่าน
*เพลงอีกหลายเพลงยังไม่ได้ฟัง
*หนังอีกหลายเรื่องที่ยังไม่ได้ดู

โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาวิธีการแก้ไขความเหลื่อมล้ำทางสังคม

คมชัดลึก : 3 ม.ค. 2554

นางทยา ทีปสุวรรณ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ (กทม.) เปิดเผยความคืบหน้า โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาวิธีการแก้ไขความเหลื่อมล้ำทางสังคมในกรุงเทพฯ (Development of Strategic Plan for Social Reconciliation in Bangkok Metropolitan)

ซึ่ง กทม.ร่วมกับศูนย์บริการวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ทำการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการของชุมชน ตามกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อแก้ไขความเหลื่อมล้ำทางสังคม หลังเหตุการณ์ความไม่สงบในกรุงเทพฯ

หลังจากที่ได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัย 12 แห่งที่จะร่วมวิจัย อาทิ ม.รามคำแหง ม.ธุรกิจบัณฑิต ม.ธรรมศาสตร์ เป็นต้น ดำเนินการจับคู่กับมหาวิทยาลัยเพิ่มอีก 12 แห่ง รวมเป็น 24 แห่ง งบประมาณรวม 72 ล้านบาท เพื่อเตรียมทำกระบวนการกลุ่ม และทำแบบฟอร์มคำถามที่จะใช้สำรวจทำวิจัยกับชุมชนใน 6 กลุ่มโซนทั่วกรุงเทพฯ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันนั้น ขณะนี้ สถาบันพัฒนาประชากรชุมชนหรือพีดีเอ ของนายมีชัย วีระไวทยะ ได้อบรมนักวิจัยจากทุกมหาวิทยาลัยแล้ว โดยทุกมหาวิทายาลัยได้ลงพื้นที่เพื่อทำวิจัยรวม 96 ชุมชนประมาณกลางเดือน ม.ค.54

วันจันทร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2554

"อัมพร ด้วงปาน" ราษฎรบำนาญ

"อัมพร ด้วงปาน" ที่เป็นเพียงอดีตภารโรง อดีตกำนัน แต่เป็นวิทยากรบรรยายให้นายกประเทศไทย ไม่ว่านายชวน หรือแม้แต่พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ

ลุง อัมพร เล่าว่า การทำงานที่คลองเปียะนั้นเริ่มต้นขึ้นเมื่อ ปี 2523 ตอนนั้นในหมู่บ้านมีอยู่เพียง 10 หมู่ ประชากรเพียง 3000 คน ได้จัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ขึ่นมาเนื่องจากไม่เชื่อมั่นในกลไกการทำงานของรัฐ ที่ได้ตั้ง ธกส.ขึ้น ลุงอัมพร มองว่าเงินของธนาคารนั้นอย่างไรเสียก็ยังเป็นของคนนอก ไม่ใช่เงินทุนของตัวเอง ทำอย่างไรก็ไม่ยั่งยืน

ลุงอัมพร จึงเริ่มต้นตั้งกลุ่มขึ้นมามาสมาชิกรุ่นแรกเพียง 51 คน มีการออมกันทุกวันที่ 1 ของเดือน ค่อยๆสร้างความเชื่อมั่น ปรับปรุงกติกา มีการให้เงินเพื่อหมุนเวียนกันยืม ใช้แนวคิด สร้่างทำนบกันเงินไม่ให้ไหลออกนอกพื้นที่

"เริ่มต้่นด้วยการรู้รักสามัคคี หากพลังความสามัคคีไม่มี การพัฒนาไม่เกิด" ลุงอัมพรว่า

รัฐบาลกับการสนับสนุนการพัฒนาเพื่อชุมชนพึ่งตนเอง

คำกล่าวปาฐกถา ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม 2546 เวลา 13.55 น.

นมัสการพระคุณเจ้า

ผมมาเห็นบรรยากาศแล้วตั้งแต่เดินเข้ามา ดีใจสุขใจ ผมคิดว่าวันนี้ชุมชนคนไทยโดยเฉพาะคนไทยรากหญ้าเริ่มมีความหวังขึ้น ผมไม่ได้เข้าข้างตัวเอง เพราะว่าจากที่กว่าจะมาเป็นพรรคไทยรักไทย กว่าจะมาเป็นรัฐบาลวันนี้ ผมได้ทำงานร่วมกับชุมชนมาก ลุงอัมพร ฯ กับผมรู้จักกันดี ส่วนหนึ่งของเรื่องกองทุนหมู่บ้านก็มาจากความมั่นใจที่ได้ไปเห็นการทำแล้วสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นของพระมหาสุบิน มณีโต ที่ตราด และของลุงอัมพร ด้วงปาน เลยทำให้เกิดความมั่นใจในการที่จะใช้นโยบายที่มอบความไว้วางใจไปที่ประชาชน รัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลที่ไว้ใจประชาชนมากที่สุด และเชื่อมั่นว่าประชาชนช่วยตัวเองได้ แต่เราต้องมีหน้าที่เอาอุปสรรคออกจากประชาชน และเอาโอกาสไปให้ประชาชน ให้สามารถยืนบนลำแข้งของตัวเองได้ นั่นเป็นความเชื่อของผมและคณะของผมที่คิดกันมา นายกรัฐมนตรีก็เป็นประชาชน รัฐมนตรีก็เป็นประชาชน ชาวบ้านก็เป็นประชาชน เพราะฉะนั้นเราเป็นหุ้นส่วนที่จะช่วยทำให้ประเทศไทยเราเป็นประเทศที่น่าอยู่ ให้คนไทยทุกคนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เพียงแต่ว่าผมได้รับมอบหมายโดยกติกาบอกว่าผมเป็นตัวแทนประชาชนทั้งหมด ไปจัดการบริหารให้คนไทยทั้งหมดได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขมีสันติ แต่บังเอิญว่าวันที่ผมเข้ามารับ ผมก็รับช่วงจากรัฐบาลก่อน ๆ ซึ่งยุคสมัย ความจำเป็นในการใช้กฎหมายก็ต่างกันไปตามยุคสมัย แต่บางครั้งยุคสมัยเปลี่ยนไป กฎหมายไม่ได้เปลี่ยนไป และกฎหมายที่ไม่ได้เปลี่ยน ไปเป็นอุปสรรคต่อชีวิตคน อุปสรรคต่อการทำมาหากินของคนอย่างที่แม่สะอิ้ง ฯ พูดเมื่อสักครู่

การปฏิวัติชุมชน : ปรีชา ทองเสงี่ยม

โดย ปรีชา ทองเสงี่ยม
เกษตรกรดีเด่น อ.เขาฉกรรจ์ จ.สระแก้ว

คำว่า “ปฏิวัติ” ความหมายคือการเปลี่ยนแปลงและการเปลี่ยนแปลงที่จะนำเสนอต่อไปนี้คือการเปลี่ยนแปลงทางความคิดและการที่ผู้เขียนเลือกใช้คำว่า “ปฏิวัติ” ก็เพราะว่าต้องการจุดประกายให้คนหันมาสนใจในเรื่องที่จะกล่าวถึงต่อไป เพราะที่ผ่านมาจะเห็นแต่คำว่า “พัฒนา” และประกอบกับการพัฒนาชนบทที่ผ่านมาได้ผลน้อยมาก จนดูราวกับว่าเป็นการซื้อเวลา ปัญหาต่างๆจึงรุมเร้าและบีบรัดคนชนบทเป็นอย่างมาก จนในที่สุดส่งผลทำให้คุณภาพชีวิตตกต่ำลง เช่นเรื่องหนี้สิน เรื่องปัญหาปากท้อง และเรื่องการศึกษาของบุตรหลาน เป็นต้น

คนชนบทแทบจะไม่มีอำนาจต่อรองใดๆในสังคมและถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างมาก และคนในสังคมชั้นสูงยังมองคนในชนบทว่าเป็นคนไม่เอาไหนยากจนและชอบซื้อสิทธิขายเสียง เป็นต้น ปัญหาต่างๆจึงวนเวียนและซ้ำซากมาช้านาน

บัดนี้ถึงเวลาแล้วที่คนชนบทจะลุกขึ้นมาร่วมมือกันเพื่อแก้ปัญหาของตัวเอง การปฏิวัติชุมชน คือ การเปลี่ยนแปลงทางความคิด ในที่นี้คือคิดที่จะพึ่งตนเอง คิดที่จะยืนด้วยขาของตัวเอง ภายใต้องค์ความรู้และวิธีการทั้งหมดที่จะนำเสนอต่อไปนี้และผมได้พิสูจแล้วว่าภายใต้ขอบข่ายการปฏิวัติชุมชน จะสามารถแก้ปัญหาในชนบทได้เกือบทุกปัญหา นั่นหมายถึงจะมีผลในการแก้ปัญหาระดับชาติด้วยเช่นเดียวกัน

โจทย์ที่น่ากลัวที่สุด ในทัศนะ ดร.สุรชาติ บำรุงสุข

ต้องยอมรับว่าปี 2553 ที่ผ่านมา "กองทัพ" ภายใต้การนำของ "พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา" ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) มีบทบาทสำคัญยิ่ง ในการช่วยรัฐบาล "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" สยบการชุมนุมของคนเสื้อแดง กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)

ดังนั้น ในปี 2554 ภารกิจหลักของ "กองทัพ" ภายใต้การนำของ "พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" ผบ.ทบ.คนใหม่ คือ การสานต่อนโยบายที่ไม่น่าแตกต่างจากยุคของ "พล.อ.อนุพงษ์" แต่ภายใต้บุคลิกและท่าทีการให้สัมภาษณ์ของ ผบ.ทบ.คนใหม่ โดยเฉพาะสโลแกนเด็ด "ประเทศมี 2 กลุ่ม คนดีและคนไม่ดี" จึงทำให้ฝ่ายหลายมองว่า "พล.อ.ประยุทธ์" ดูค่อนข้างแข็งกร้าว ดังนั้น "กองทัพ" ในปี 2554 ถูกจับตามองเป็นพิเศษ เพราะอย่าลืมว่าปี 2554 เป็นปีแห่งการเลือกตั้ง

บทบาทของกองทัพย่อมมีความสำคัญต่อผลแพ้ชนะและการจัดตั้งรัฐบาลภายหลังการเลือกตั้ง
"มติชน" มองเห็นบทบาทของกองทัพ และมีโอกาสนั่งสนทนากับ "สุรชาติ บำรุงสุข" อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านกองทัพกับการเมือง ถือเป็นการสะท้อนบทบาทของกองทัพในปี 2554 เพื่อสร้างความเข้าใจในบริบทของกองทัพและการเมืองมากยิ่งขึ้น

@ มองบทบาทกองทัพกับการเมืองไทยในปี 2554 อย่างไร
แนวโน้มสถานการณ์การเมืองปี 2554 ล้วนเป็นดัชนีที่ไม่ส่งสัญญาณเชิงบวก ที่ผ่านมาเราเห็นสัญญาณเชิงลบ ซึ่งทหารคงไม่ถอยตัวออกจากการเมืองในระยะสั้น คำถาม ถ้าทหารไม่ถอนตัวออกจากการเมืองในระยะสั้น บทบาทของทหารจะสูงมากกว่าปี 2553 หรือไม่ ถ้าสูงมากขึ้นสังคมโดยรวมรับได้หรือไม่ แม้จะมีการเลือกตั้งแต่อำนาจที่แท้จริงยังถูกตัดสินอยู่ในกรม กอง ของทหาร จะนำพาสังคมการเมืองไทยไปอย่างไร

วันอาทิตย์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2554

การสร้างพลเมืองกับการพัฒนาประชาธิปไตยไทย

บทสัมภาษณ์ความเห็นทางวิชาการ ของ รองศาสตราจารย์ ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง "การสร้างพลเมืองกับการพัฒนาประชาธิปไตยไทย" โดยเป็น"กองบรรณาธิการจุลนิติ"เป็นผู้สัมภาษณ์ ในช่วงปลายปี 2553

ดร. วรเจตน์ : คำว่า “ประชาธิปไตย” หมายถึงการปกครองโดยประชาชนเป็นใหญ่ เป็นรูปแบบหนึ่งของระบอบการปกครอง (Regime of Government) เราคงทราบว่าในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาตินั้น ได้ผ่านรูปแบบการปกครองมาแล้วหลายรูปแบบด้วยกัน โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานั้นประเด็นที่นับว่าเป็นคำถามที่สำคัญที่สุด คือ “อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยควรเป็นของใครหรือควรอยู่ที่ ใคร” ซึ่งในที่สุดแล้วพัฒนาการของแนวความคิดทางด้านการเมืองโดยเฉพาะในยุคสมัย ใหม่เป็นต้นมา ได้ให้การยอมรับและถือว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ “ควรเป็นของประชาชน”

ดังนั้น เมื่อกล่าวถึงการปกครองระบอบประชาธิปไตยแล้ว หลักการพื้นฐานหรือหัวใจที่มีความจำเป็นต้องพิจารณาและคำนึงถึงคือ อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศนั้นเป็นของใคร ฉะนั้น ถ้าหากว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นของพระเจ้าหรือผู้แทนของพระเจ้า บนพื้นพิภพ หรือเป็นของพระมหากษัตริย์ หรือเป็นของนักวิชาการหรือนักปราชญ์แล้ว การปกครองในรูปแบบนั้นไม่ถือว่าเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตย เพราะการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศต้องเป็น ของประชาชน