เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม เลขทะเบียน ๘๖๙ สภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า

อุดมการณ์สถานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตย

เรา...มั่นใจว่า
ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา
ประเทศไทย เป็นของเราทุกคน
เรา ต้องร่วมกันสร้างชาติไทย ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์  พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

โค้งสุดท้ายสู่การเลือกตั้ง

ใจ อึ๊งภากรณ์

ในช่วงโค้งสุดท้ายสู่การเลือกตั้ง คนเสื้อแดงทุกคนคงจะมีคำถามในใจ เช่น “อำมาตย์มันจะโกงด้วย กกต. ศาล หรือ การทำอะไรแปลกๆกับบัตรเลือกตั้งหรือไม่?” “มันจะทำรัฐประหารล้มการเลือกตั้งไหม?” “เพื่อไทยจะได้คะแนนพอที่จะตั้งรัฐบาลได้หรือไม่?” หรือ “ถ้าตั้งรัฐบาลได้ อำมาตย์จะสร้างอุปสรรค์อะไรกับการบริหารงานของเพื่อไทย?”

เราไม่สามารถตอบได้แน่ชัด แต่เราจะต้องไม่แปลกใจกับเหตุการณ์ในอนาคต “ไม่แปลกใจ” หมายความว่าเราต้องคิดล่วงหน้าว่าถ้าอำมาตย์ทำอะไร เราจะรับมืออย่างไร และจงเข้าใจว่าเราต้องรับมือเอง ไม่มีใครคนอื่นที่จะทำให้

นอกจากการคิดเรื่องการรับมือ เราต้องไม่ไหลตามกระแสข่าวลือที่มีมากมายในสังคมที่ปกปิดข่าวอย่างไทย ก่อนจะเชื่ออะไรต้องตรวจสอบว่าแหล่งข่าวไว้ใจได้หรือไม่ มาจากใคร ฯลฯ

อย่าประเมินฝ่ายตรงข้ามต่ำไป ซึ่งหมายความว่า พอเห็นโพลเพื่อไทยมาแรง ก็นั่งพัก คิดว่าถ้าไม่ไปเลือกตั้งจะไม่มีผลมากมาย ทำอย่างนี้ไม่ได้ เราต้องเข้าใจว่าแม้อำมาตย์ไม่โกงตอนนี้ มันขยันสร้างปัญหามานาน ตั้งแต่รัฐประหาร ๑๙ กันยา ชัยชนะของพรรคเพื่อไทยไม่ใช่เรื่องอัตโนมัติ เราพักผ่อนไม่ได้

ที่สำคัญคือ ต้องเลี้ยงดูเครือข่ายเสื้อแดง เพราะหลังเลือกตั้งภาระของคนเสื้อแดงจะเพื่มหลายเท่า ยิ่งต้องขยันมากขึ้นในการปกป้องกระบวนการประชาธิปไตย และรัฐบาลเพื่อไทย

วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การกระทำผิดเกี่ยวกับการเลือกตั้ง

ความผิดเกี่ยวกับการหาเสียงเลือกตั้ง ส.ส.
1. การให้ หรือสัญญาว่าจะให้ เงิน หรือทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด หรือการเลี้ยง หรือรับจะจัดเลี้ยง หรือหลอกลวง หรือใช้อิทธิพลคุกคาม หรือใส่ร้าย เพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเลือกตั้ง หรือไม่ลงคะแนนเลือกตั้งเป็นความผิดมีโทษจำคุก 1 -10 ปี และปรับ 20,000 – 200,000 บาทและถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี
2. การจัดยานพาหนะนำผู้มีสิทธิเลือกตั้งไปหรือกลับจากที่เลือกตั้ง เพื่อการเลือกตั้ง โดยไม่ต้องเสียค่าโดยสาร
เป็นความผิดมีโทษจำคุก 1 - 5 ปี หรือปรับ 20,000 - 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี
3. การให้คนที่ไม่มีสัญชาติไทยช่วยเหลือในการหาเสียง
เป็นความผิดมีโทษจำคุก 1 - 10 ปี และปรับ 20,000 - 200,000 บาท
4. การหาเสียงให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งตั้งแต่เวลา 18.00 นาฬิกา ของวันก่อนวันเลือกตั้งหนึ่งวันจนสิ้นสุดวันเลือกตั้ง
เป็นความผิด มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
5. ห้ามปิดประกาศ หรือติดแผ่นป้ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งนอกเหนือจากที่ทางราชการกำหนด รวมทั้งติดในสถานที่ของเอกชน และห้ามหาเสียงโดยการติดแผ่นป้ายแนะนำตัวผู้สมัครเกินขนาดและมีจำนวนไม่เป็นไปตามที่ คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด หรือการหาเสียงตามสถานีวิทยุหรือสถานีโทรทัศน์นอกเหนือจาก ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนดไว้
เป็นความผิด มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
6. การเรียก หรือรับทรัพย์สินในการลงสมัครหรือไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง หรือพรรคการเมือง
เป็นความผิดมีโทษจำคุก 1 - 10 ปี หรือปรับ 20,000 - 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี
7. เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมายกระทำการใด ๆ เพื่อเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมือง
เป็นความผิดมีโทษจำคุก 1 - 10 ปี และถูกปรับ 20,000 - 200,000 บาท และถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี

วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

พวกที่ใช้กรอบอภิสิทธิ์ชนเท่านั้น ที่มองว่าประเด็นหลักในการเลือกตั้งคือทักษิณ

ใจ อึ๊งภากรณ์

ในบทความล่าสุดของหนังสือพิมพ์ New York Times มีการอ้างคำพูดของนักวิชาการที่ศึกษาประเทศไทยชื่อ Chris Baker เขาพูดว่า “การเลือกตั้งครั้งนี้เกี่ยวกับทักษิณและการที่ทักษิณถูกกระทำในรอบห้าปีที่ผ่านมาเท่านั้น”

ความคิดแบนี้ เรามักพบในแวดวงพวกนักวิชาการและปัญญาชนที่ใช้กรอบคิดที่ให้ความสำคัญกับคนชั้นสูง และมองข้ามความสามารถของประชาชนส่วนใหญ่

พวกนี้ให้ความชอบธรรมกับรัฐประหาร ๑๙ กันยา เพราะเขาอ้างว่าคนจนโดนซื้อและนำมาเป็นผู้ถูกอุปถัมภ์โดยไทยรักไทยและทักษิณ ดังนั้นการที่คนจำนวนมากลงคะแนนให้ไทยรักไทย “ไม่ใช่ประชาธิปไตย”

ตอนนี้พวกที่ใช้กรอบคิดอภิสิทธิ์ชนกำลังเสนอว่าทักษิณจูงจมูกพวกเราชาวเสื้อแดงเหมือนวัวควาย เพื่อที่เขาจะได้ฟอกตัวและกลับมามีอิทธิพลอีก

ทำไมชาวสังคมนิยมต้องเรียกร้องให้ประชาชนเลือกพรรคเพื่อไทย

ใจ อึ๊งภากรณ์

ธรรมดาแล้วนักสังคมนิยมจะไม่ไปลงคะแนนเสียง หรือเรียกร้องให้ประชาชนไปลงคะแนนเสียงให้พรรคการเมืองที่เป็นพรรคนายทุน โดยเฉพาะเวลาพรรคนั้นไม่มีนโยบายรัฐสวัสดิการหรือนโยบายสังคมนิยมอะไรทั้งสิ้น แต่การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในต้นเดือนกรกฏาคม ๒๕๔๔ นี้ เป็นการเลือกตั้งพิเศษ

ชาวสังคมนิยมจะต้องไปลงคะแนนเสียงให้พรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นพรรคนายทุน เพราะเป้าหมายในการเลือกตั้งครั้งนี้ของฝ่ายอำมาตย์ คือการฟอกตัวและพยายามพิสูจน์ความชอบธรรมในการทำรัฐประหาร ๑๙ กันยา ในการล้มรัฐบาลพรรคพลังประชาชน ในการตั้งรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ในค่ายทหาร และในการเข่นฆ่าประชาชนเสื้อแดงที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตยเมื่อปีที่แล้ว เรายอมไม่ได้

ลองนึกภาพ ถ้าพรรคประชาธิปัตย์ได้เสียงข้างมาก (ซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้) หรือถ้าพรรคประชาธิปัตย์สามารถทำแนวร่วมกับพรรคงูเห่าเล็กๆ เพื่อได้เสียงมากกว่าพรรคเพื่อไทย คนอย่างอภิสิทธิ์จะพองตัวเหมือนคางคกโอ้อวดความชอบธรรม จะมีคนของมันออกมาพูดว่า “เห็นไหม? พรรคไทยรักไทยหรือพรรคของทักษิณโกงการเลือกตั้งมานานในอดีต คราวนี้เราเห็นเสียงแท้ของประชาชน และเราเข้าใจแล้วว่าทำไมต้องมีรัฐประหารและการปราบพวกของทักษิณ” เรายอมให้เขาพูดแบบนี้ไม่ได้

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การรณรงค์

จากกระบวนการสร้างชาติ สู่วิถีทางแห่งการตลาด ถึงการเมือง


การรณรงค์ (Campaign) เป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญทางการสื่อสารทั้งด้านการรับรู้ (Awareness) หรือการกระตุ้นให้เกิดความสนใจ (Interest) สร้างความต้องการ (Desire) และการตัดสินใจเข้าร่วมหรือกระทำ (Action) นักวิชาการได้ให้ความหมายเกี่ยวกับการรณรงค์ไว้มากมายทั้งในด้านสื่อสารการตลาดไปจนถึงด้านรัฐศาสตร์ ซึ่งอาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า การรณรงค์เป็นวิธีการระดมความรู้ ความเข้าใจเชิงกลยุทธ์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือหลายเรื่องเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายร่วมมือตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

สหรัฐอเมริกาเป็นตัวอย่างสำคัญที่ใช้การรณรงค์เพื่อการสร้างชาติ ทั้งรัฐบาลและองค์กรอิสระต่างก็ใช้กระบวนการสื่อสารดำเนินการรณรงค์ไปยังกลุ่มชนผ่านช่องทางสื่อมวลชน เพื่อสร้างความมั่นใจ ทัศนคติ และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของประชาชนตั้งแต่ยุคบุกเบิกจนถึงยุคแห่งการพัฒนา มหาอำนาจในซีกโลกตะวันออกก็ไม่น้อยหน้า นโยบายสร้างชาติของจีน (พ.ศ. ๒๔๙๒ - ๒๕๐๒) มีการรณรงค์ให้ประชาชนมีส่วนร่วม (Attention Attraction) ปรับเปลี่ยน ปลูกฝัง และสร้างทัศนคติ (Ideological Preparation) กระตุ้นให้มีกิจกรรมร่วมกันระหว่างประชาชนกับรัฐที่แสดงออกถึงความเป็นชาติ และประเมินผลการรณรงค์ (Review of Campaign) ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ

วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

จดหมายจาก "ปิยบุตร แสงกนกกุล" ถึง "แก้วสรร อติโพธิ"

นิติราษฎร์ฉบับที่ 24 วิพากษ์กฎหมายหรือกฎหมู่ ?


“J’apprenais du moins que je n’étais du côté des coupables, des accusés, que dans la mesure exacte où leur faute ne me causait aucun dommage. Leur culpabilité me rendait éloquent parce que je n’en étais pas la victime. Quand j’étais menacé, je ne devenais pas seulement un juge à mon tour, mais plus encore : un maître irascible qui voulait, hors de toute loi, assommer le délinquant et le mettre à genoux.”

“... การที่โดดเข้าไปช่วยเหลือจำเลยนั้นก็เพราะอาชญากรรมของเขาไม่เป็นภัยต่อสวัสดิการของผม ผมแก้คดีของเขาด้วยอรรถาธิบายอันไพเราะจับใจ เพราะผมไม่ได้เป็นผู้รับเคราะห์จากการกระทำของเขา ทว่าเมื่อใดก็ตามที่เขาอาจเป็นอันตรายต่อผม เมื่อนั้นผมจะจัดการพิพากษาเขาทันที ยิ่งกว่านั้นก็พร้อมจะกลายเป็นคนคลั่งอำนาจ กฎหมายว่าอะไร กูไม่ฟัง จำจะต้องลงโทษมันให้ได้”

Albert Camus, La Chute, Gallimard, 1956, p.66.
สำนวนแปลโดย ตุลจันทร์ ใน อัลแบร์ กามู, มนุษย์สองหน้า, สำนักพิมพ์สามัญชน, ๒๕๔๓, หน้า ๖๘.

- ๑ -
“กฎหมาย”
วัฒนธรรมการเมืองไทยในทุกวันนี้ มักอ้าง “กฎหมาย” กันเป็นสรณะ หากต้องการเสริมสร้างความชอบธรรมให้แก่การกระทำของตน ก็ต้องอ้างกฎหมาย เช่นกัน หากต้องการทำลายความชอบธรรมของการกระทำของศัตรู ก็ต้องอ้างว่าการกระทำนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย การเถลิงอำนาจของ “กฎหมาย” เป็นส่วนหนึ่งของชัยชนะอุดมการณ์ประชาธิปไตย-เสรีนิยม-นิติรัฐ เมื่อประเทศไทยอยู่ในสังคมโลก จึงไม่อาจตกขบวน “นิติรัฐ-ประชาธิปไตย” ได้ 1

วิวาทะระลอกล่าสุดกรณี มาตรา 112

ระหว่าง "รมว.นิพิฏฐ์" แห่งกระทรวงวัฒนธรรม กับ "วาด รวี - ปราบดา หยุ่น"

เว็บไซต์กระทรวงวัฒนธรรมได้เผยแพร่บทความ คำให้การของ "นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ" ถึง "วาด รวี" และ "ปราบดา หยุ่น" ที่ รมว.วัฒนธรรมได้เขียนตอบโต้ จดหมายเปิดผนึกถึง นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม โดย "วาด รวี" และ "ปราบดา หยุ่น" สองนักเขียนดังผู้ออกมาเป็นแกนนำเคลื่อนไหวให้มีการแก้ไขปรับปรุงประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งมีเนื้อหาดังนี้

เรียน คุณวาด รวี และ คุณปราบดา หยุ่น

ผมอ่านจดหมายเปิดผนึกของคุณทั้งสองที่มีถึงผมแล้ว ตอนแรกตั้งใจจะไม่ตอบ เพราะไม่มีเวลา แต่คิดไปคิดมาถ้าไม่ตอบคุณทั้งสองอาจจะเข้าใจผิดว่า ผมยอมรับหรือจำนนต่อเหตุผลของคุณ ซึ่งอาจทำให้ผมได้รับความเสียหายได้

"ข้อหา" ที่คุณทั้งสองตั้งให้ผมนั้นดูเหมือนรุนแรงเกินไป และขัดต่อเหตุผลและข้อเท็จจริงหลายประการ แต่ผมให้อภัย เพราะคิดว่าคุณทั้งสองกำลัง "จินตนาการ" ตามวิสัยของความเป็นนักเขียนของคุณ แต่บังเอิญจินตนาการของคุณล้ำเข้ามาในเขตแดนของผม และทำลายความสงบสุขในเขตแดนของผม โดยไม่เป็นธรรมโดยเฉพาะข้อหาที่คุณ กล่าวว่า การให้สัมภาษณ์ของผม "ไม่เป็นผลดีต่อการใช้เหตุผลและสติปัญญาของสังคม และอาจส่งผลให้วัฒนธรรมทางปัญญาของสังคมไทยเสื่อมเสียได้" และข้อหาที่ว่าผม "กระทำโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์" ผมขอแก้ข้อกล่าวหาของคุณทั้งสอง ดังนี้

อาจารย์ตุ้ม : พรรคเพื่อไทย กับกลุ่มโหวตโน

แล้วคุณคิดยังไง ?

ช่วงนี้ข่าวเลือกตั้งฮิตติดจอเหมือนละครทีวีที่มีเรยาเป็นตัวเด่น และที่สำคัญมีบางอย่างที่คล้ายเรยาอยู่ด้วย คงไม่ต้องขยายความ

เห็นการหาเสียงกันแล้ว ถ้าทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องรู้จักกับ 3 ท่านนี้ก็เชื่อว่าหลังเลือกตั้งคงไม่เกิดความวุ่นวาย เพราะ 3 ท่านที่ว่านี้ทุกคนก็คุ้นเคยท่านดีแต่อาจจะห่างๆ ท่านไปบ้าง คือ ท่านคุณธรรม ท่านเกียรติศักดิ์ และท่านสุภาพ
บุรุษ ส่วนที่ว่า ไม่มีมิตรแท้ กับศัตรูถาวร ในหมู่นักการเมือง ก็เป็นข้อแก้ตัวไปวาระ แต่ถ้าให้ดีอย่าใช้จะดีกว่า ถ้าจะใช้ขอให้เป็น 3 ท่านที่กล่าวถึงเพราะ บ้านเมืองไม่ใช่ของเล่นหรือสมบัติผลัดกันชม และถือเป็นการเหยียดหยามพี่น้องประชาชนหรือแม้ตัวท่านเองด้วย

ถ้ายังจำกันได้ ก่อนและหลัง 10 มีนา ไม่กี่วันข่าวลือว่าไม่มีเลือกตั้ง ทหารจะปฏิวัติ หนาหูจนถึงขั้นมีคนเห็นทหารใหญ่เคลื่อนไหวกันที่โน่นที่นี่ทั่วไปหมด แล้วไง ปฏิวัติไหม?

วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การปกครองประเทศอังกฤษ :

ระบบรัฐสภา
รัฐธรรมนูญอังกฤษเป็นรัฐธรรมนูญที่ไม่มีลายลักษณ์อักษร แต่กระจัดกระจายอยู่ในรูปแบบต่างๆ กันในรูปของพระราชบัญญัติต่างๆ บ้าง เช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ปี ค.ศ.1689 พระราชบัญญัติสืบสันตติวงศ์ ปี 1701 เป็นต้น หรือในรูปของข้อตกลงและขนบธรรมเนียม เช่น การจัดตั้งคณะรัฐมนตรีไม่มีกฎหมายฉบับไหนบ่งบอกให้มีการจัดตั้ง แต่คณะรัฐมนตรีวิวัฒนาการจากภาคปฏิบัติจนกลายเป็นขนบธรรมเนียมที่ยอมรับกกันมาเกือบ 300 ปีแล้ว

รัฐธรรมนูญของอังกฤษ จึงเป็นเรื่องราวของวิวัฒนาการของประวัติศาสตร์การเมือง เกิดขึ้นหรือเป็นผลลัพธ์ของกระบวนการร่วมมือ และการขัดแย้งระหว่างพระมหากษัตริย์และขุนนาง และกว่าจะเข้ารูปเข้ารอยดังเช่นปัจจุบันก็ต้องผ่านสงครามปฏิวัติถึง 2 ครั้งใหญ่ในศตวรรษที่ 17 และยังจะต้องมีการปฏิรูปกันขนานใหญ่ในศตวรรษที่ 19 และ 20 ถึงจะประกฎในรูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตยดังที่ปรากฏ การต่อสู้ดิ้นรนระหว่างขุนนางอังกฤษและมหากษัตริย์ในอดีต เป็นการต่อสู้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่มชนชั้นของตนเองและตามแนวความคิดเชื่อถือตามลัทธิศาสนา แต่ผลของการต่อสู้เรื่องนี้ชักนำให้เกิดระบบการปกครองที่กลายเป็นพื้นฐานของระบบการปกครองประชาธิปไตยในสมัยต่อมา

วันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2554

รัฐสวัสดิการกับความจริงในประเทศไทย

วิกฤติการเมืองไทยตั้งแต่รัฐประหาร ๑๙ กันยายังไม่มีแนวโน้มจะสิ้นสุด ความเจ็บปวดและความอดทนของเพื่อนเสื้อแดงล้านๆ คนทั่วประเทศหมายความว่าเราต้องเดินหน้าในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยแท้ ไม่ใช่แค่ย้อนกลับไปสู่สภาพสังคมก่อนการทำรัฐประหาร ส่วนสำคัญของประชาธิปไตยแท้คือเรื่องความเป็นธรรมทางสังคม เพราะถ้าพลเมืองไทยทุกคนไม่มีความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจ ก็ยากที่จะมีสิทธิเสรีภาพทางประชาธิปไตย และไม่มีทางที่จะมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ด้วยเหตุนี้เราจึงเสนอว่าคนเสื้อแดงต้องเรียกร้องรัฐสวัสดิการ (ถ้วนหน้า-ครบวงจร-จากภาษีก้าวหน้า) คู่ขนานไปกับข้อเรียกร้องเรื่องประชาธิปไตย

1. รัฐสวัสดิการ (Welfare State) คืออะไร?
ในยุคปัจจุบัน ไม่มีประเทศไหนที่ไม่มีสวัสดิการสำหรับคนจนในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง แต่ส่วนใหญ่แล้วระบบสวัสดิการที่พบในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย มีลักษณะที่ไม่ครอบคลุม แยกส่วน และไม่เพียงพอที่จะแก้ไขปัญหาความยากจนได้

รัฐสวัสดิการ (Welfare State) เป็นระบบสวัสดิการรูปแบบที่พัฒนาไปถึงระดับสูงสุดสำหรับระบบทุนนิยม และถูกสร้างขึ้นภายใต้แนวคิดสังคมนิยมประชาธิปไตย (Social Democrat) รัฐสวัสดิการมีลักษณะพิเศษคือ

วันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2554

24 มิถุนา เคยเป็นและเลิกเป็นวันชาติได้อย่างไร?

24 มิถุนา เคยเป็นและเลิกเป็นวันชาติได้อย่างไร?

โดย สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เวลาที่ได้ยินคนในแวดวงรัฐบาล(หรือที่เคยอยู่ในแวดวงรัฐบาลอย่างณรงค์ กิตติขจร) ออกมาคัดค้านการตั้งชื่อวันที่ 14 ตุลาคมว่า "วันประชาธิปไตย" โดยยกเหตุผลทำนองว่า เป็นเการขัดกับความจริงที่ว่าประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยมาตั้งแต่ 24 มิถุนายน 2475 นั้น ไม่ทราบว่าจะร้องไห้หรือหัวเราะดี

ก็ถ้าบรรดา ฯพณฯ เห็นความสำคัญของ 24 มิถุนายน ขนาดที่กลัวว่า 14 ตุลาคม จะมาแย่งความสำคัญไป ทำไมไม่ทำให้ 24 มิถุนายน เป็นวันสำคัญขึ้นมาเสียก่อนเล่า?

ความจริงคือ ทุกวันนี้ วันที่ 24 มิถุนายน ไม่ได้เป็นวันอะไรทั้งสิ้นในปฏิทินของทางราชการ และบรรดา ฯพณฯ ที่ยกเอา 24 มิถุนายน ขึ้นมาคัดค้าน 14 ตุลาคม ก็ไม่มีแม้แต่คนเดียวที่มีทีท่าว่าจะเสนอให้เปลี่ยน 24 มิถุนายน เป็นวันสำคัญขึ้นมา

วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ในระบบประชาธิปไตยอังกฤษ พรรคไหนมีสิทธิ์ตั้งรัฐบาล?

โดย ใจ อึ๊งภากรณ์

เนื่องจากฝ่ายประชาธิปัตย์ และทหารอำมาตย์พยายามหาทุกทางที่จะตั้งรัฐบาล ไม่ว่าจะได้เสียงข้างมากของประชาชนหรือไม่ ผมขอเล่าถึงกติกาการตั้งรัฐบาลหลังการเลือกตั้งของอังกฤษ

ในประเทศอังกฤษมี "ทำเนียม" กติกาประชาธิปไตย เพราะอังกฤษไม่มีรัฐธรรมนูญ ใช้กฏหมายบวกกับทำเนียมในการกำหนดกติกา ข้อดีตรงนี้คือมันเปลี่ยนตามกระแสประชาชนง่ายขึ้น ไม่จารึกเป็นหิน และขบวนการเคลื่อนไหวของประชาชนมีอิทธิพลได้บ้าง

1. ในกรณีที่พรรคไหนได้ที่นั่งเกินครึ่งหนึ่งของสภา พรรคนั้นตั้งรัฐบาลได้ทันที ไม่มีข้อถกเถียงเลย บางครั้งถ้าเสียงเกินครึ่งแค่หนึ่งหรือสองที่นั่ง อาจทำข้อตกลงกับพรรคเล็กๆเพื่อกันอุบัติเหตุ เช่น ส.ส. ตาย หรือ ส.ส. เดินทางมาลงคะแนนในสภาไม่ได้

2. ในกรณีที่ไม่มีพรรคไหนได้เกินครึ่งของสภา อย่างที่เกิดขึ้นในการเลือกตั้งปีที่แล้ว ที่รัฐบาลพรรคแรงงานอังกฤษยุบสภาแล้วเสียที่นั่งไปมาก ตามทำเนียมเก่า... พรรครัฐบาลเก่ามีสิทธิ์ที่จะพยายามสร้างแนวร่วมกับพรรคอื่นก่อนเพื่อนได้ แต่ในยุคนี้ประชาชนจำนวนมากมองว่าวิธีนี้ไม่มีความชอบธรรม เพราะถ้าพรรคของอดีตรัฐบาลแพ้การเลือกตั้ง จนมีเสียงน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของสภา ต้องถือว่าประชาชนหันหลังไม่เอารัฐบาล ประชาชนส่วนใหญ่มองว่ารัฐบาลควรมีน้ำใจประชาธิปไตยและลาออก เมื่อปีที่แล้ว พรรคแรงงานพยายามลองสร้างแนวร่วมกับพรรคเสรีนิยม แต่พรรคเสรีนิยมไม่เอา Gordon Brown เลยลาออก แต่ถ้าเขาตั้งรัฐบาลได้ คนส่วนใหญ่ก็จะมองว่าขาดความชอบธรรม และจะต่อต้านรัฐบาลมากขึ้น

รัฐบาลพรรคเดี่ยว กับ ประชาธิปไตย

ภายหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ หนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ฉบับหนึ่งพาดหัวข่าว พรรคไทยรักไทยยึดประเทศ นัยเพื่อจะรายงานข่าวว่า พรรคไทยรักไทยได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้งอย่างท้วมท้น ส่งผลให้สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้เอง โดยไม่ต้องอาศัยพรรคการเมืองอื่นมาร่วมจัดตั้งรัฐบาล การเมืองไทยที่พัฒนาก้าวกระโดดเช่นนี้ ดูน่าจะมีส่วนช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับการเมืองไทย ตามแนวคิดทฤษฎีการเมืองที่เห็นว่า รัฐบาลที่มาจากพรรคการเมืองพรรคเดียว ย่อมสามารถบริหารจัดการกิจการต่าง ๆ ของบ้านเมืองไปได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ เพราะไม่ต้องคอยต่อรองผลประโยชน์กัน ในระหว่างพรรคการเมืองหลายพรรค เหมือนรัฐบาลที่มาจากพรรคการเมืองหลายพรรค

ประเด็นที่น่าสนใจ คือว่า รัฐบาลพรรคเดียว จะทำให้การเมืองเข้มแข็ง รวมทั้งเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนโดยส่วนรวม ดังที่ควรเป็นหรือไม่ ข้อที่น่าพิจารณาเบื้องต้น คือว่า ภายใต้บริบทการเมืองแบบไทย ๆ พรรคการเมืองมักเป็นที่รวมตัวของบุคคลและกลุ่มคนที่มีแนวคิดมุ่งที่ผลประโยชน์ส่วนตัว และพวกพ้องเป็นหลัก เป็นไปตามแนวคิดการเมืองเพื่อผลประโยชน์ สมาชิกพรรคการเมืองที่สามารถรวมกลุ่มกันเป็นกลุ่ม ย่อยๆในพรรค และมีอำนาจเงินทองและอิทธิพลมากกว่า ย่อมจะต่อรองเพื่อให้ได้มาซึ่ง ผลประโยชน์ และอำนาจอิทธิพล ต่างไปจากสมาชิกที่เป็นปัจเจกหรือที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มที่เล็กกว่า

"กองทัพไทย" ในสถานการณ์เลือกตั้ง 3 กรกฎาคม

บทวิเคราะห์บทบาททางการเมืองของกองทัพไทย : โดย ราเชล ฮาร์วีย์
ราเชล ฮาร์วีย์ ผู้สื่อข่าวบีบีซีประจำประเทศไทย ได้เขียนสกู๊ปเรื่อง "Thai military′s political past looms over elections" (บทบาททางการเมืองในอดีตของกองทัพไทย ปรากฏอยู่อย่างลางๆ เหนือการเลือกตั้ง) โดยมีเนื้อหาดังนี้

ประเทศไทยกำลังจะมีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 3 กรกฎาคม แต่จากประวัติศาสตร์การเมืองร่วมสมัย ทำให้น่าสงสัยว่า ผลการเลือกตั้งจะถูกกำหนดโดยเจตจำนงของประชาชนเพียงฝ่ายเดียวจริงหรือไม่?

เมื่อ 5 ปีก่อน รถถังของกองทัพได้ออกมาวิ่งบนท้องถนนในกรุงเทพมหานคร เพื่อทำการรัฐประหาร

เมื่อปีก่อน ทหารได้เคลื่อนพลเข้ามาบนท้องถนนในกรุงเทพฯ อีกครั้ง แต่คราวนี้ พวกเขาปฏิบัติตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพื่อทำการระงับปราบปรามความรุนแรงที่กำลังก่อตัวสูงขึ้น และกลุ่มผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาลที่เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมากมาย

วันเสาร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สิทธิเลือกตั้ง เงินซื้อเสียง ใครโง่ ?

อภิชาต สถิตนิรามัย


กล่าวอ้างได้ว่า ความแตกต่างระหว่างการรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 กับการรัฐประหารทุกครั้งก่อนหน้านี้ คือการที่ "ชาวบ้าน" ออกมาปกป้องสิทธิการเลือกตั้ง บทความนี้จะอธิบายว่า ทำไม "ชนชั้นกลางระดับล่าง" หรือ "ชาวบ้าน" จึงให้ความสำคัญกับสิทธิการเลือกตั้ง

หากเราถือว่าผู้มีรายได้ต่อคนต่อเดือนมากกว่า 5,000 บาทขึ้นไปในปี 2552 (เส้นความยากจนด้านรายได้เท่ากับ 1,443 บาทต่อคนต่อเดือนในปี 2550) เป็นชนชั้นกลางแล้ว พบว่ามี 2 กลุ่มอาชีพ คือ เกษตรกร และแรงงานไร้ฝีมือ (ประมาณ 32% ของครัวเรือนทั้งหมด ซึ่งลดลงจาก 55% ในปี 2529) เท่านั้นที่ไม่ใช่ชนชั้นกลาง โดยเกษตรกรมีรายได้เฉลี่ยต่อคน 3,214 บาท ในขณะที่อาชีพการค้าและบริการ (20%) ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นชนชั้นกลางระดับล่างสุดมีรายได้ 5,828 บาท (พอ ๆ กับรายได้ของคนงานภาคการผลิตในอุตสาหกรรม) หรือสูงกว่าเกษตรกรเกือบสองเท่า แต่ยังต่ำกว่ารายได้เฉลี่ยต่อคน (6,239 บาท) กลุ่มการค้าและบริการนี้เพิ่มจาก 10% เศษในปี 2529 เป็น 20% ในปี 2552 ที่น่าสนใจคือกลุ่มอาชีพนี้มีแนวโน้มกระจายตัวออกจากเขตเมืองไปสู่เขตชนบท และกระจายตัวออกจาก กทม.ไปทุกภูมิภาค

วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ปลดล็อคความไม่สงบหลังเลือกตั้ง

โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี

1.ความไม่สงบหลังเลือกตั้ง คนเป็นอันมากไม่เชื่อว่าจะมีความสงบหลังเลือกตั้ง เพราะปัจจัยให้เกิดความไม่สงบยังดำรงอยู่เหมือนเดิม เหมือนถูกล็อคอยู่ด้วย เหตุปัจจัยให้เป็นเช่นนั้น กล่าวคือ
(1) ถ้าพรรคเพื่อไทยได้เสียงอันดับหนึ่ง แต่ไม่ใช่เสียงข้างมาก แล้วพรรคประชาธิปัตย์ร่วมกับพรรคอื่นจัดตั้งรัฐบาล พท. และมวลชนคนเสื้อแดงก็จะกล่าวหาว่ากองทัพและมือที่มองไม่เห็นเข้ามาจัดการไม่ให้ พท. เป็นรัฐบาลอย่างนี้ไม่เป็นไปตามครรลองประชาธิปไตย ต้องเคลื่อนไหวนอกสภาเพื่อต่อต้านรัฐบาลที่นำโดยประชาธิปัตย์
(2) ถ้า พท. ได้เสียงข้างมากแล้วจัดตั้งรัฐบาล และต้องการนำทักษิณกลับมา พวกที่เกลียดกลัวทักษิณ พวกที่เกลียดกลัวการล้มเจ้า ก็จะรวมตัวกันต่อต้านรัฐบาล

2.การแก้ไขตามเหตุปัจจัย ควรปลดล็อคเหตุปัจจัยที่จะทำให้เกิดความไม่สงบดังกล่าวข้างต้น ดังต่อไปนี้
(1) ถ้า พท. ได้เสียงมาเป็นอันดับ 1 ควรให้เวลา พท. พยายามจัดตั้งรัฐบาลอย่างเต็มที่ อย่าใช้อำนาจนอกระบบใดๆ ไปขู่เข็ญพรรคการเมืองให้ทำตามที่ตัวต้องการ ให้กระบวนการจัดตั้งรัฐบาลมีความโปร่งใสที่คนไว้วางใจเชื่อถือได้มากที่สุด
(2) ถ้า พท. จัดตั้งรัฐบาล จะนำทักษิณกลับหรือไม่ทักษิณก็สามารถบงการรัฐบาล พท. อยู่ดี คุณทักษิณควรจะถือโอกาสแก้ตัว คุณเคยมีอำนาจสูงสุดมาแล้ว ไม่ว่าคุณจะคิดว่าทำดีเพียงใด แต่การที่มีคนเกลียดและกลัวจำนวนมากไม่เป็นผลดีต่อประเทศชาติ ถ้าคุณทักษิณปรับตัว ว่าอะไรที่ทำให้คนเกลียดและกลัวก็อย่าไปทำ พิจารณาอย่างรอบคอบถึงวิถีประเทศไทยต่อไปในอนาคต การเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานในตัวเองของคุณทักษิณ จะเป็นประโยชน์มหาศาลต่อประเทศไทยและต่อโลก และเป็นการปลดล็อคความไม่สงบอย่างสำคัญ