เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม เลขทะเบียน ๘๖๙ สภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า

อุดมการณ์สถานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตย

เรา...มั่นใจว่า
ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา
ประเทศไทย เป็นของเราทุกคน
เรา ต้องร่วมกันสร้างชาติไทย ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์  พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สิทธิได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวคือ สิทธิมนุษยชน

ศราวุฒิ ประทุมราช

"พิเคราะห์แล้วเห็นว่า ตามพฤติการณ์แห่งคดีและลักษณะการกระทำนำมาซึ่งความเสื่อมเสีย สู่สถาบันกษัติริย์อันเป็นที่เทิดทูนและเคารพสักการะ ประกอบกับพนักงานสอบสวนได้คัดค้าน จึงเชื่อว่าหากอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ผู้ต้องหาจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรให้ปล่อยตัวชั่วคราว (กรณีนายโจ กอร์ดอน (Joe Gordon) หรือชื่อไทย เลอพงษ์ วิไชยคำมาตย์ ผู้ต้องหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพสัญชาติไทย-อเมริกัน)

นี่คือตัวอย่างหนึ่งของเหตุผล โดยทั่วไปที่ศาลมักจะไม่ให้ประกันตัวผู้ต้องหา หรือจำเลยในคดีอาญา โดยเฉพาะในคดีที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของรัฐหรือคดีที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ทั้งนี้เป็นไปตามบทบัญญัติของประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108 ประกอบ มาตรา 108/1 ที่มีสาระสำคัญสรุปได้ว่า ในการวินิจฉัยคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราว ต้องพิจารณาประเด็นเหล่านี้ ประกอบด้วย ได้แก่

(1) ความหนักเบาแห่งข้อหา
(2) พยานหลักฐานที่ปรากฏแล้วมีเพียงใด
(3) พฤติการณ์ต่างๆ แห่งคดีเป็นอย่างไร
(4) เชื่อถือผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกันได้เพียงใด
(5) ผู้ต้องหาหรือจำเลยน่าจะหลบหนีหรือไม่
(6) ภัยอันตรายหรือความเสียหาย ที่จะเกิดจากการปล่อยชั่วคราวมีเพียงใดหรือไม่
(7) ในกรณีที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องขังตามหมายศาล ถ้ามีคำคัดค้านของพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ โจทก์ หรือผู้เสียหาย แล้วแต่กรณี ศาลพึงรับประกอบการวินิจฉัยได้

วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

3 สัปดาห์หลังการเลือกตั้ง ทำไมอภิสิทธิ์มือเปื้อนเลือดยังเป็นนายก?

ใจ อึ๊งภากรณ์

สามสัปดาห์หลังการเลือกตั้ง แต่ไม่มีรัฐบาลใหม่ที่มาจากเสียงประชาชน และอภิสิทธิ์มือเปื้อนเลือดยังเป็นนายก ปรากฏการณ์นี้ตรงข้ามกับหลักการประชาธิปไตยพื้นฐาน

กกต. ซึ่งถูกแต่งตั้งโดยอำมาตย์และประกอบไปด้วยคนที่ไม่เห็นด้วยกับประชาธิปไตย “เสือก” ในเรื่องของผลการเลือกตั้ง และพวก “ข้าราชการ”รับใช้อำมาตย์เหล่านี้ คิดว่าตัวเองมีความสำคัญมากกว่าประชาชนไทยหลายล้านคนที่ลงคะแนนเสียง มันขัดกับหลักการว่าอำนาจอธิปไตยต้องอยู่กับบวงชนพลเมืองไทยโดยสิ้นเชิง และมันเป็นการสืบทอดความคิดดูหมิ่นพลเมืองว่า “ไม่มีวุฒิภาวะ” ที่จะเลือกรัฐบาลหรือ สส. เอง โดยไม่มี “ผู้รู้ชนชั้นกลาง” มาคอยกรอง นี่คืออคติที่นำไปสู่รัฐประหาร ๑๙ กันยาแต่แรก และวิกฤตการเมืองเรื้อรังของไทย

ในระบบการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตย ควรเปิดสภาทันทีและตั้งรัฐบาล กกต. ไม่ควรมีสิทธิ์อะไรที่จะรับรอง สส. เลย แต่ถ้าพบภายหลังว่า สส. คนไหนโกงการเลือกตั้งจริงๆ ก็ควรจะปลดออกหลังการตั้งรัฐบาลและการเปิดสภา แล้วนำบุคคลเหล่านั้นมาขึ้นศาล แต่กฏหมายและรัฐธรรมนูญไทยไม่ได้ใช้แนวคิดประชาธิปไตย เน้นความสำคัญของชนชั้นนำมากกว่า นี่คือเรื่องที่ต้องรีบเปลี่ยน

วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ปฏิวัติระบบครอบครัว ปลูกฝังอบรมวินัยครั้งใหญ่

พระราชญาณกวี ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดพระรามเก้ากาญจนาภิเษก

วันที่ 21 กรกรกฎาคม ในงานสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 5 ปี 2554 ที่จัดโดย 20 เครือข่ายสมัชชาคุณธรรม ประกอบด้วยหน่วยงานองค์กรอิสระภาคเอกชน เครือข่ายด้านคุณธรรมจริยธรรม ภาคประชาชนและหน่วยงานภาครัฐ มีการจัดกิจกรรมเวทีย่อย เทศนาธรรม หัวข้อ “สร้างชาติโปร่งใส สร้างไทยซื่อตรง” โดย พระราชญาณกวี ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดพระรามเก้ากาญจนาภิเษก และพระมหาสมปอง ตาลปุตโต วัดสร้อยทอง

พระมหาสมปอง กล่าวถึงการสร้างชาติโปร่งใส หรือต้านคอรัปชั่น จะสำเร็จได้ ประเทศต้องมีความสามัคคี และช่วยกันทำความดี แบบที่ไม่ต้องเกรงใจใคร ขณะที่ผู้หลักผู้ใหญ่ ก็ควรดำเนินตามแนวทาง 4 ประการ ได้แก่ 1.นิยมกระจายอำนาจ 2.ผู้นำควรนั่งอยู่ในใจคน 3.เพื่อนร่วมงานควรจะเป็นกัลยาณมิตรต่อกัน และ 4.พ่อแก้วแม่แก้วลูกขวัญ คือ พ่อแม่ต้องเป็นที่พึ่ง อย่าให้งานสำคัญกว่าครอบครัว

พระมหาสมปอง กล่าวถึงธรรมะ 3 หลักใหญ่ ได้แก่ การ “ครองตน ครองคน และครองงาน” สำหรับการครองตน ทำได้การซื่อสัตย์ ที่ต้องเริ่มตั้งแต่ระดับครอบครัว หลังจากนั้นขยับไปในระดับองค์กร นักการเมืองที่กำลังจะเข้าไปก็ต้องซื่อสัตย์ด้วย,การข่มใจต่อกิเลส ไม่ยั่วยุให้ทุจริตคอรัปชั่น อย่าไปเชื่อในกิเลส,.ขันติ ความอดทน ที่แม้จะเหนื่อย ทรมานในการทำ แต่ผลของการทำจะหอมหวานชื่นใจ และมีระเบียบวินัย ในทุกระดับ

ตายฟรีเพื่อการ "เกี้ยเซี้ย" ของชนชั้นนำ (?)

โดย สุรพศ ทวีศักดิ์

(ที่มา หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 21 กรกฎาคม 2554)
คงเป็นเรื่องที่น่าผิดหวังอย่างยิ่ง หากการเลือกตั้งมีความหมายเพียงแค่เป็น "ทางผ่าน" ไปสู่การ "เกี้ยเซี้ย" ของกลุ่มอำนาจจารีตกับกลุ่มอำนาจทางการเมืองภายใต้ "วาทกรรมปรองดอง" ที่ไม่มีคำตอบเรื่อง "ความยุติธรรม" แก่ 91 ศพ คนบาดเจ็บ พิการ และไม่มีคำตอบต่อ "การเปลี่ยนผ่าน" สังคมสู่ความเป็นประชาธิปไตย

เพราะผลการเลือกตั้งชี้ชัดว่า ประชาชนส่วนใหญ่ปฏิเสธรัฐประหารและต้องการประชาธิปไตย ซึ่งประชาธิปไตยไม่ได้หมายความว่าประชาชนเลือกรัฐบาลมาแล้วรัฐบาลจะทำอะไร จะขยับซ้าย ขวา ก็ต้องคอยเงี่ยหูฟังตลอดเวลาว่า "เสียงส่วนน้อย" จะเอาอย่างไร

"เสียงส่วนน้อย" ที่ว่านี้คือ อำนาจพิเศษ กองทัพ นักวิชาการ ราษฎรอาวุโส สื่อที่เสียงดังกว่า เพราะมีอำนาจ มีช่องทางการส่งเสียงมากกว่า และเสียงที่พวกเขาส่งออกมาภายใต้ "วาทกรรมปรองดอง" ก็คือ ข้อเรียกร้องให้ลืมเรื่องเก่า ให้ทำสิ่งที่ดีๆ ใหม่ๆ ให้ทักษิณเสียสละตัวเอง ไม่ต้องกลับประเทศไทย ไม่ต้องพูดถึงการนิรโทษกรรม แม้กระทั่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติก็ส่งเสียงออกมาว่า การสลายการชุมนุมด้วย "กระสุนจริง" ที่มีคนตาย 91 ศพ บาดเจ็บร่วมสองพันก็ไม่ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน เป็นต้น

วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

แนวโน้ม 7 ประการหลังการเลือกตั้ง 3 กรกฎาคม 2554

ประจักษ์ ก้องกีรติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

(20 ก.ค.54) ศูนย์ติดตามประชาธิปไตยไทย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนาโต๊ะกลม "วิเคราะห์ผลเลือกตั้ง และแนวโน้มรัฐบาลใหม่" ดำเนินรายการโดย สิริพรรณ นกสวน สวัสดี อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ

ประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่า จากผลการเลือกตั้งที่ผ่านมา สะท้อนความต่อเนื่องของเทรนด์บางประการของระบบการเมืองและการเลือกตั้งไทย ตั้งแต่หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2540 เป็นต้นมา โดยมีแนวโน้ม 7 ประการ ได้แก่ 1) มุ่งสู่ระบบสองพรรคการเมืองใหญ่อย่างชัดเจน แม้จะมีการเปลี่ยนไปใช้รัฐธรรมนูญ 2550 เพื่อทำลายระบบสองพรรคการเมืองใหญ่และความเข้มแข็งพรรคการเมือง

2) แม้ว่าจะมี 2 พรรคการเมืองใหญ่ แต่การแข่งขันระหว่าง 2 พรรคไม่สูสี ตั้งแต่ก่อนใช้รัฐธรรมนูญ 40 พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) แพ้การเลือกตั้ง 6 ครั้งต่อเนื่อง ขณะที่การเลือกตั้งที่ผ่านมาทั้งสองครั้ง ปชป.ไม่เคยได้ที่นั่งเกิน 165 ขณะที่จุดที่เลวร้ายที่สุดของพรรคเพื่อไทย (พท.) ยังมี 233 ที่นั่ง ซึ่งมากกว่าจุดที่ ปชป.ทำได้สูงสุด ดังนั้น ช่องว่างของ 2 พรรคใหญ่ มีถึง 80 ที่นั่งเป็นอย่างต่ำ โดยเทรนด์นี้เกิดตั้งแต่ 2544

ชาตินิยม พลโลก

Horachio Nea

สัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลีย หรือสนธิสัญญาโอสนาบรึคและมึนสเตอร์ (เยอรมัน: Westfälischer Friede, อังกฤษ: Peace of Westphalia หรือ Treaties of Osnabrück and Münster) เป็นสนธิสัญญาที่ลงนามกันเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1648 ที่เมืองโอสนาบรึค และต่อมาในวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1648 ที่เมืองมึนสเตอร์

สัญญาสันติภาพที่เขียนเป็นภาษาฝรั่งเศส เป็นการยุติสงครามสามสิบปีในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และสงครามแปดสิบปีระหว่างสเปน สาธารณรัฐดัตช์ และรัฐทั้งเจ็ด ผู้เข้าร่วมในการสร้างสัญญาสันติภาพ ได้แก่ สมเด็จพระจักรพรรดิเฟอร์ดินานด์ที่ 3 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ฮับส์บวร์ก) ราชอาณาจักรสเปน ฝรั่งเศส สวีเดน สาธารณรัฐดัตช์ และพันธมิตรของแต่ละฝ่าย

สัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลีย เป็นผลของการประชุมทางการทูตสมัยใหม่ และถือเป็นการเริ่มวิถีการปฏิบัติสมัยใหม่ (New Order) ของยุโรปกลางในบริบทของรัฐเอกราช กฎที่ปฏิบัติของสัญญาสันติภาพ กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายรัฐธรรมนูญของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ สนธิสัญญาพิเรนีสที่ลงนามกันในปี ค.ศ.1659 ในการยุติสงครามฝรั่งเศส-สเปน ปี ค.ศ. 1635 ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาสันติภาพ (วิกิพีเดีย) นับแต่นั้น โลกก็เข้าสู่สังคมระหว่างประเทศสมัยใหม่ การพัฒนาการในการเมืองระหว่างประเทศผ่านการทดสอบมามากทั้งในเรื่องความร่วมมือประสานประโยชน์ และความขัดแย้ง

วันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ปฐมเทศนากับ “วิถีจริยธรรมแบบพุทธ”

สุรพศ ทวีศักดิ์

วันนี้เป็นวันอาสาฬหบูชา แทนที่จะถามกันว่าชาวพุทธนิยมทำบุญ สวดมนต์มากขึ้นหรือน้อยลง ควรฟื้นฟูการสวดมนต์หน้าเสาธงหรือไม่ เราควรจะทบทวนหน่อยไหมว่าเทศนาครั้งแรกที่พระพุทธเจ้าแสดงในวันนี้นั้น เป็นการวางระบบ “วิถีจริยธรรมแบบพุทธ” อย่างไร

เป็นที่เข้าใจกันว่า พระพุทธเจ้าวิพากษ์วิถีจริยธรรม 2 แนวทางว่า เป็น “ทางสุดโต่ง” ไปคนละด้าน กล่าวคือ

1) สุดโต่งในทางตอบสนองความต้องการ ทางวัตถุ ทางเนื้อหนังร่างกายโดยถือว่า เมื่อตอบสนองความต้องดังกล่าวอย่างเต็มที่จะทำให้บรรลุนิพพาน แต่พระพุทธองค์วิจารณ์วิถีชีวิตเช่นนี้ว่า เป็น “กามสุขัลลิกานุโยค” หรือเป็นการหมกมุ่นปรนเปรอความต้องการของอัตตามากไป ไม่อาจทำให้พ้นทุกข์ได้

2) สุดโต่งในทางเผด็จการกับชีวิตของตนเองมากไป ด้วยการคิดว่าเนื้อหนังร่างกายเป็นบ่อเกิดของกิเลสตัณหา ดังนั้น ต้องทรมานให้ร่างกายได้รับความลำบากจนถึงที่สุดจึงจะทำให้พ้นทุกข์ได้ แต่พระพุทธเจ้าวิจารณ์ว่า แนวทางดังกล่าวเป็น “อัตตกิลมถานุโยค” คือ การทำตัวเองให้ทุกข์ทรมานเปล่า ไม่ใช่ทางพ้นทุกข์

วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การเมืองการปกครองของไทยจะไปทางไหน ?

การเมืองการปกครองเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นและสำคัญต่อมนุษย์ เพราะเป็นเรื่องที่มนุษย์ทุกคนจะต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์ คือ ถ้าไม่อยู่ในฐานะผู้ปกครองก็จะอยู่ในฐานะผู้ถูกปกครอง เมื่อเป็นเช่นนี้จึงมีความจำเป็นที่มนุษย์จะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับการเมืองการปกครองตามอัตภาพของตน ทั้งนี้เพื่อให้สามารถปรับตัวอยู่ได้และมีประโยชน์ต่อสังคมและการเรียนรู้ทางการเมืองก็มิใช่ว่าจะเรียนได้เฉพาะที่จัดไว้เป็นหลักสูตรในสถาบันการศึกษาเท่านั้น แต่ยังสามารถเรียนรู้ได้จากสิ่งแวดล้อมรอบตัวอีกหลายทาง เช่น จากตำรา สื่อสารมวลชน วารสารประชาสัมพันธ์ ครอบครัว โรงเรียน กลุ่มเพื่อนและที่ทำงานเป็นต้น

ความหมายการเมืองการปกครอง
การเมืองการปกครองหรือรัฐศาสตร์หรือศาสตร์แห่งรัฐ ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า Political Science เป็นคำศัพท์ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาการเมืองการปกครองโดยเฉพาะ นักปราชญ์ทางรัฐศาสตร์ทั้งหลายอาจจะแยกวิชาการนี้ออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ

ประการหนึ่งมีลักษณะเป็นศาสตร์ (Science) คือเป็นความรู้ทางวิชาการด้านการเมืองการปกครอง ประการที่สองมีลักษณะเป็นศิลป์ (Arts) วิชารัฐศาสตร์จึงกลายเป็นวิชาที่ประยุกต์เอาลักษณะที่เป็นศาสตร์และศิลป์เข้าด้วยกัน แล้วนำเอาวิชาการนี้มาใช้ปกครองประเทศ และในขณะเดียวกันวิชาการเมืองการปกครองนี้อาจจะถูกบุคคลบางกลุ่มมองภาพในทางที่ไม่ดี คือ อาจจะมองไปว่าการเมืองการปกครองเป็นเรื่องสกปรก โหดร้ายทารุณ เข่นฆ่า มุ่งหาผลประโยชน์ส่วนตัว เป็นเรื่องของคนมีเงิน มีการศึกษาและคนที่ใฝ่หาความเป็นใหญ่ แต่สภาพที่เป็นจริงแล้วการเมืองการปกครองเป็นเรื่องของคนทุกคนในสังคมจะต้องเรียนรู้ทำความเข้าใจ ไม่เป็นเรื่องที่น่ากลัวหรือเลวร้ายอย่างที่ว่า ถ้ามีความเข้าใจที่ดีและนำมาใช้ให้ถูกต้องตามกระบวนการ เพราะวิชาการเมืองการปกครองนั้น เป็นศาสตร์และเป็นศิลป์ที่ผู้ปกครองประเทศจะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนในประเทศ เพื่อให้เกิดความมั่นคงปลอดภัยรวมทั้งความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง ดังนั้นเพื่อที่ให้ผู้ศึกษาได้รู้ความหมายอันลึกซึ้งของรัฐศาสตร์ จึงขอนำเอาคำนิยามของนักปราชญ์ทางรัฐศาสตร์ทั้งหลายมากล่าวดังต่อไปนี้

วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

" ทาง 3 แพร่งที่ "ยิ่งลักษณ์" ต้องเจอ หนักกว่าทักษิณ

ปาฐกถา "เกษียร เตชะพีระ"


"รัฐบาลโคลนนิ่งทักษิณคงต้องรอมชอมกับชนชั้นนำเก่า
และเอาใจมวลชน เสื้อแดงไปพร้อมกัน
แต่หากต้องเลือกทางใดทางหนึ่ง
รัฐบาลโคลนนิ่งทักษิณน่าจะโน้มไปทางรอมชอมกับชนชั้นนำเก่า"

วันที่ 8 กรกฎาคม รศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวปาฐกถาพิเศษ "บ้านเมืองเรื่องของเรา" วิพากษ์สังคมและการเมืองไทย พร้อมวิพากษ์แนวนโยบายของรัฐบาลใหม่ ในงานสัมมนา “ขับเคลื่อนประเทศไทย ภายใต้บริบท เศรษฐกิจ สังคม ยุครัฐบาลใหม่” ณ ห้องบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์

รศ.ดร.เกษียร กล่าวว่า ในระยะ 4-5 ปีที่ผ่านมา สังคมการเมืองไทยกำลังอยู่ในกระบวนการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ ซึ่งมีทิศทางหลัก 3 ประการ ได้แก่ 1.การเปลี่ยนย้ายอำนาจในหมู่ชนชั้นนำ จากชนชั้นนำตามประเพณีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ไปสู่ชนชั้นนำทางธุรกิจการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง (Power shift among the elites:From the unelected traditional elite  the elected political business elite) แสดงออกเป็นรูปธรรมผ่านความขัดแย้งระหว่างชนชั้นนำในระบบราชการและกลุ่มทุน เก่า ที่เป็นพันธมิตร ซึ่งมักเรียกกันว่า “อำมาตย์” กับกลุ่มทุนใหม่ที่เข้าสู่วงการเมืองโดยตรงขนานใหญ่ หลังวิกฤติต้มยำกุ้งผ่านพรรคไทยรักไทย (-พลังประชาชน และเพื่อไทย) ซึ่งมักเรียกว่า “ทุนสามานย์”

วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ความสำคัญผิดในสาระสำคัญของคำพิพากษาคดีที่ดินรัชดา

สมลักษณ์ จัดกระบวนพล

"ดังนั้นจึงต้องเข้าใจให้ดีว่า การกระทำความผิดของจำเลยที่ ๑ (เฉพาะคดีนี้)
ไม่ใช่เป็นการทุจริตหรือคอร์รัปชันแต่ประการใด"
สิ่งที่สังคมต้องทำความเข้าใจก็คือสาระสำคัญของคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหมายเลขคดีที่ อม.๑/๒๕๕๐ ระหว่างอัยการสูงสุด โจทก์ กับพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ที่ ๑ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ที่ ๒ จำเลย หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า”คดีที่ดินรัชดา” เนื่องจากผู้เขียนเคยดำรงตำแหน่งอยู่ในสถาบันตุลาการมาเป็นเวลาถึง ๓๖ ปี อดรู้สึกสะเทือนใจไม่ได้เมื่อมีสังคมกล่าวขวัญเป็นเชิงตำหนิ หรือวิจารณ์ ผลแห่งคำพิพากษาคดีนี้โดยมิได้ศึกษาและทำความเข้าใจสาระสำคัญในคำพิพากษาคดีนี้ให้ถ่องแท้เสียก่อน

กลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาก็มักจะพูดว่า “สามีลงชื่ออนุญาตให้ภรรยาไปทำนิติกรรมตามที่กฎหมายบัญญัติ กลับมีความผิดถึงติดคุก ๒ ปี ส่วนกลุ่มคนที่ต้องการนำผลคำพิพากษาไปใช้ให้เป็นประโยชน์กับฝ่ายตนและทับถมฝ่ายตรงข้ามก็พูดว่า “เพราะจำเลยทุจริตคอร์รัปชันศาลจึงพิพากษาจำคุก ๒ ปี แล้วหนีไปอยู่ต่างประเทศ” ขอทำความเข้าใจต่อสังคมให้เป็นทีประจักษ์เป็นลำดับดังนี้

(๑)กฎหมายที่โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองคือ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔,มาตรา ๑๐๐ และมาตรา ๑๒๒ หรือที่เรียกกันติดปากว่า “กฎหมาย ป.ป.ช.” ในกฎหมายดังกล่าว มาตรา ๑๐๐ บัญญัติว่า

วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

จดหมายเปิดผนึก จากนักโทษการเมือง

ถึง คอป. เพื่อสิทธิมนุษยชนและการปรองดอง

เรือนจำพิเศษกรุงเทพ
33 งามวงศ์วาน ลาดยาว
จตุจักร กรุงเทพ 10900

วันที่ 10 กรกฎาคม 2554

เรื่อง ขอเสนอเพื่อสิทธิมนุษยชน และการปรองดอง

เรียน คณะกรรมการอิสระตรวจสอบ และค้นหาความจริงเพื่อแนวทางการปรองดองแห่งชาติ (คอป.)

ขอแสดงความยินดีกับการทำงานครบรอบ 1 ปีของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบ และค้นหาความจริงเพื่อแนวทางการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) จนเป็นที่ยอมรับในการทำหน้าที่อย่างเป็นอิสระ ตรงไปตรงมา โปร่งใส หลากหลายนักวิชาการและผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อแก้ไขปัญหาความรุนแรง สร้างความปรองดองในสังคม ในฐานที่กระผม นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ได้รับผลกระทบโดยตรงจากความขัดแย้งทางการเมือง และความรุนแรงในสังคม ต้องถูกกล่าวหา และถูกจองจำให้สูญเสียอิสรภาพ ได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัส ทั้งทางร่างกาย และจิตใจ อันเกิดจากการมีส่วนร่วมต่อต้านการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 จึงเรียนนำเสนอแนวความคิดเพื่อการปรองดองดังต่อไปนี้

วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

รู้ประวัติศาสตร์.. เข้าใจปัจจุบัน แบ่งปัน "อำนาจ-อนาคต"

ศ.ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ : คอลัมน์ ออกแบบประเทศไทย มติชน

ในวันที่ผลการเลือกตั้ง 3 กรกฎาคม พรรคเพื่อไทยชนะอันดับ 1 ทำให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีที่ถูกทำรัฐประหารเมื่อปี 2549 เตรียมก้าวสู่เก้าอี้นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย

เป็นชัยชนะที่มีมาพร้อมกับ "ความกังวล" เพราะมีภาพ พ.ต.ท.ทักษิณ ฉายทาบอยู่เบื้องหลัง ซึ่งมองว่า "สวนทาง" กับอำนาจนอกระบบที่เป็น "เงาทะมึน" อยู่เบื้องหลังการเมืองไทยในช่วงที่ผ่านมา ...ย่อมทำให้ขาดความมั่นใจว่าการเมืองไทยข้างหน้าจะเป็นอย่างไร??

ในสายตานักประวัติศาสตร์อย่าง "ศ.ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ" กรรมการบริหารวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ และอดีตคณบดีคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งได้ชื่อว่า "ครูประวัติศาสตร์" ระดับนำคนหนึ่งของเมืองไทย บอกว่า "หลังการเลือกตั้งครั้งนี้ จะเป็นเส้นแบ่งการเมืองยุคใหม่ของสังคมการเมืองไทย"

"เราต้องเข้าใจประวัติศาสตร์ จึงจะมีความหวังกับอนาคต การไม่มีมิติประวัติศาสตร์ ทำให้ผู้ที่จะทำอะไร ไม่ว่าจะเป็นภาคการเมือง ประชาชน รัฐ ราชการ เอกชน เลยเดาไม่ได้ว่าจะเป็นอย่างไรในอนาคต"

วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เปิดบันทึกอนุกรรมการสิทธิฯถึง “อมรา พงศาพิชญ์”

แนะให้พิจารณาร่างรายงานกสม.ให้รอบคอบก่อนเผยแพร่

บันทึกข้อความจากหนึ่งในอนุกรรมการสิทธิฯ ถึงประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติชี้ข้อบกพร่องของร่างรายงานกรรมการสิทธิกรณีการชุมนุม นปช.ปี 2553 ติงการสอบการละเมิดสิทธิต้องเริ่มที่การกระทำของรัฐกระทบต่อสิทธิมนุษยชนหรือไม่ “ไม่ใช่วิเคราะห์ว่า การกระทำของผู้ชุมนุมเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่?”

แม้สื่อมวลชนบางฉบับนำเอารายงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนในกรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓ มาเปิดเผยอย่างไม่เป็นทางการไปแล้ว แต่ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่า การแถลงข่าวรายงานฉบับดังกล่าวถูกยกเลิกไป เนื่องจากได้รับคำท้วงติงอย่างรุนแรงจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนด้วยกันเอง พร้อมด้วยบันทึกความเห็นต่อรายงานดังกล่าวโดยละเอียด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านความไม่รอบด้านของข้อมูล ทั้งได้เสนอให้ “พิจารณาร่างรายงานนี้อย่างรอบคอบเสียก่อนการเผยแพร่ต่อไป”

เมื่อวันที่ 5 ก.ค. 54 รศ.กิตติศักดิ์ ปรกติ อนุกรรมการ ใน คณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้ทำบันทึกเรียน ศ.ดร.อมรา พงศาพิชญ์ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน โดยแสดงความความเห็นต่อ “ร่างรายงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนในกรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓”

ประชาธิปไตยของ “เสียงส่วนน้อย”

นักปรัชญาชายขอบ

เริ่มจะเป็นไปตามที่คาดกันแล้วครับ พรรคการเมืองที่ได้เสียงส่วนใหญ่มาจากประชาชนกำลัง “ถูกบล็อก” ด้วย “เสียงส่วนน้อย” นั่นคือจากนี้ไปคุณจะคิด จะทำ จะขยับซ้าย ขวา คุณต้องเงี่ยหูฟังว่า อภิสิทธิชน อำมาตย์ กองทัพ นักวิชาการ ปัญญาชน สื่อ ที่มี “ต้นทุนทางสังคม” มากกว่า เสียงดังกว่า มีช่องทางการ “ส่งเสียง” มากกว่า พวกเขาจะเสนอให้ทำอะไรและอย่างไร

การเมืองกำลังเดินเข้าสู่เกมการชิงพื้นที่ “ส่งเสียง” เพื่อสร้าง “สงครามวาทกรรม” รอบใหม่ โดยลืมไปว่าการเลือกตั้ง 3 ก.ค. เป็นการเลือกตั้งที่ประชาชนออกมาใช้สิทธิ์มากที่สุด เป็นการเลือกตั้งในกระแสประวัติศาสตร์การปฏิเสธรัฐประหารและการเรียกร้อง “การเปลี่ยนผ่านสังคมสู่ความเป็นประชาธิปไตย”

และเสียงส่วนใหญ่ที่เลือกพรรคเพื่อไทยก็สะท้อนความต้องการของประชาชนที่ปฏิเสธรัฐประหาร และต้องการสร้างการเปลี่ยนผ่านสังคมสู่ความเป็นประชาธิปไตยอย่างชัดเจน ซึ่งความต้องการดังกล่าวย่อมผนึกรวมความต้องการความยุติธรรมแก่ 91 ศพ คนบาดเจ็บพิการ และการปฏิรูปกองทัพ ปฏิรูปกติกาเกี่ยวกับสถานะ อำนาจ บทบาทขององคมนตรี และสถาบันพระมหากษัตริย์ให้สอดคล้องกับหลักเสรีภาพ หลักความเสมอภาค เพื่อปิดประตูรัฐประหารอย่างถาวร

หากความต้องการดังกล่าวของเสียงส่วนใหญ่ไม่ได้รับการตอบสนอง การเลือกเลือกก็จะมีความหมายแค่การเปลี่ยนรัฐบาลจาก “ประชาธิปัตย์” มาเป็น “เพื่อไทย” เพียงเพื่อให้มาทำนโยบายแก้ปัญหาเศรษฐกิจไปเท่านั้น ส่วนปัญหาการเปลี่ยนผ่านสังคมให้เป็นประชาธิปไตยภายใต้เงื่อนไขการให้ความยุติธรรมแก่ประชาชนที่บาดเจ็บล้มตาย เงื่อนไขการปฏิรูปกองทัพ ปฏิรูปสถาบัน ต้องขึ้นอยู่กับ “เสียงส่วนน้อย” ว่าจะยินยอมหรือไม่ ถ้าเป็นเช่นนี้ก็บอกได้เลยว่า “ประชาชนตายฟรี” เหมือนกับที่ตายฟรีมาหลายครั้งแล้ว

พรรคประชาธิปัตย์ต้องทบทวนตัวเองอย่างจริงจัง

นักปรัชญาชายขอบ

ทำไมความเป็นพรรคการเมืองเก่าแก่ที่สุด มีความเป็นสถาบันทางการเมืองมากที่สุด มีสมาชิกพรรคที่ดูดีมีคุณภาพที่สุด (อย่างน้อยในสายตาคนกรุงเทพฯ คนภาคใต้ที่ว่ากันว่ามีความตื่นตัวทางการเมืองสูงกว่าภาคอื่น) จึงไม่ได้ช่วยให้ประชาธิปัตย์เอาชนะคุณทักษิณและพรรคเพื่อไทยได้ ทั้งที่พรรคเพื่อไทยเป็นพรรคการเมืองน้องใหม่ คุณทักษิณเองก็เป็นนักการเมืองหน้าใหม่เมื่อเทียบกับคุณอภิสิทธิ์ และขนาดคุณทักษิณกลับเข้าประเทศไม่ได้ แค่ส่งคุณยิ่งลักษณ์ที่ไม่เคยเป็นนักการเมืองมาก่อนเลยลงต่อสู้ก็ทำให้คุณอภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์แพ้อย่างหมดรูป

ผมคิดว่าหากประชาธิปัตย์ไม่ยอมทบทวนตัวเองอย่างตรงไปตรงมา และอย่างจริงจังในประเด็นหลักๆ (อย่างน้อย) ต่อไปนี้ ประชาธิปัตย์ก็จะกลายเป็นพรรคการเมืองฝ่ายค้านตลอดไป

1.ตามไม่ทันการแข่งขันเชิงนโยบายและความเป็นนักบริหารแบบมืออาชีพ จะเห็นว่าการแข่งขันเชิงนโยบายและนักบริหารมืออาชีพ คือยุทธศาสตร์หลักในการหาเสียงของคุณทักษิณตั้งแต่เขาลงเลือกตั้งได้เป็นรัฐบาลสมัยแรก ทำให้นโยบายและความเป็นนักบริหารของพรรคประชาธิปัตย์ตกเป็นรองในทันที แม้ต่อมาจะพยายามแข่งนโยบาย วิสัยทัศน์ สร้างภาพลักษณ์นักการเมืองรุ่นใหม่อย่างคุณอภิสิทธิ์ แต่ก็ยังตามไม่ทันคุณทักษิณ โดยเฉพาะในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ยิ่งสะท้อนให้เห็นความอ่อนด้อยทางนโยบาย ภาวะผู้นำ และความเป็นนักบริหารมืออาชีพอย่างชัดเจน

วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ประชาชนปฏิเสธเผด็จการมือเปื้อนเลือดอย่างชัดเจน

ใจ อึ๊งภากรณ์

การเลือกตั้งครั้งนี้พิสูจน์อย่างเถียงไม่ได้เลย ว่าประชาชนไทยส่วนใหญ่ มีวุฒิภาวะและอุดมการณ์ประชาธิปไตย เพียงพอที่จะปฏิเสธเผด็จการมือเปื้อนเลือดของอำมาตย์ และสิ่งที่น่ามหัศจรรย์คือมันเป็นชัยชนะของพรรคเพื่อไทยภายใต้สถานการณ์ที่ยากลำบาก เพราะฝ่ายอำมาตย์ปิดกั้นสื่อ และกลั่นแกล้งสร้างอุปสรรค์ให้กับเพื่อไทยและคนเสื้อแดงมาตลอด

แต่คำถามสำคัญหลังการเลือกตั้งคือ รัฐบาลพรรคเพื่อไทยจะมีวุฒิภาวะและอุดมการณ์ประชาธิปไตยที่เท่าเทียมกับประชาชนผู้เลือกหรือไม่ และจะเดินหน้าพัฒนาสิทธิเสรีภาพกับประชาธิปไตย หรือจะประนีประนอมแบบสกปรกกับฝ่ายเผด็จการ

ผลการเลือกตั้งครั้งนี้ พิสูจน์ว่ารัฐบาลประชาธิปัตย์ ที่ก่อตั้งในค่ายทหาร หลังการยุบพรรคพลังประชาชน ไม่เคยได้รับการสนับสนุนจากประชาชนส่วนใหญ่เลย และประชาชนส่วนใหญ่สนับสนุนขบวนการเสื้อแดงมาตลอด มันพิสูจน์อีกว่าพวกชนชั้นกลาง สื่อมวลชน เอ็นจีโอเหลือง และพวกพันธมิตรฯ โกหกเวลาพยายามแสวงหาความชอบธรรมกับการทำรัฐประหาร ๑๙ กันยา ภายใต้อคติหลอกลวงว่า “มีการโกงการเลือกตั้งในอดีตโดยไทยรักไทย” หรือ “ประชาชนส่วนใหญ่เข้าไม่ถึงข้อมูลและไม่เข้าใจประชาธิปไตย” สรุปแล้ว พวกที่สนับสนุนรัฐประหาร ๑๙ กันยา สนับสนุนพันธมิตรฯ สนับสนุนการปราบปรามคนเสื้อแดง หรือสนับสนุนการฉีกทิ้งรัฐธรรมนูญปี ๒๕๔๐ ล้วนแต่เป็นคนส่วนน้อย ที่โกหกบิดเบือนความจริงเกี่ยวกับสังคมไทย เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของคนชั้นสูง ซึ่งตรงข้ามโดยสิ้นเชิงกับผลประโยชน์ของประชาชนคนจน

วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ทำความรู้จัก...'บัตรเลือกตั้ง'และการทำเครื่องหมาย'กากบาท'

บัตรเลือกตั้งมี 2 ใบ 2 สี (สีชมพู-สีเขียว)



บัตรเลือกตั้งที่จะใช้ในการเลือกตั้ง ครั้งนี้ มี 2 แบบ แบบแรก จะเป็นบัตรเลือกตั้งส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งใช้ “สีชมพู” ซึ่งใช้สำหรับการลงคะแนนตัวผู้สมัคร โดยสามารถกาบัตรได้เพียงหมายเลขเดียว แบบที่ 2 เป็นบัตรเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ “สีเขียว” ซึ่งใช้สำหรับลงคะแนนเลือกตั้งให้กับพรรคการเมือง บัตรเลือกตั้งและต้นขั้วบัตรเลือกตั้งจะเย็บเป็นเล่ม ๆ ละ 25 ใบ มีรอยปรุเพื่อให้ฉีกบัตรเลือกตั้งออกจากต้นขั้วบัตรเลือกตั้งได้ ซึ่งจะมีปกหน้าและปกหลัง สำหรับต้นขั้วของบัตรเลือกตั้งส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งจะมีข้อความ “เล่มที่ ...เลขที่...ลำดับที่...” อยู่ด้านบนของต้นขั้วบัตรเลือกตั้งและมีที่ลงลายมือชื่อกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง(กปน.)ผู้ที่จ่ายบัตรเลือกตั้งและมีที่สำหรับให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงลายมือชื่อ หรือพิมพ์ลายนิ้วมือ เพื่อเป็นหลักฐานการรับบัตรเลือกตั้ง และขอให้สังเกตว่าบัตรเลือกตั้งแบบเขตนั้นเมื่อพับแล้วด้านหน้าจะมีแถบสีอยู่บริเวณขอบขวาถัดไปทางซ้ายมีตราครุฑและถัดลงไปมีข้อความว่า “บัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง” ส่วนบัตรของบัญชีรายชื่อ ช่องแรกมีเบอร์ของพรรค สัญลักษณ์ (โลโก้) ของพรรคการเมือง อยู่ด้วย

คนเสื้อแดง “Agent of Change ?”: บทสำรวจบางประการ

ภาคิไนย์ ชมสินทรัพย์มั่น นิสิตปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


บทนำ

การต่อสู้ทางการเมืองของคนเสื้อแดงที่ผ่านมาตั้งแต่ก่อนหน้า 19 กันยา 49 เล็กน้อยจนถึงปัจจุบัน ได้สั่งสมประสบการณ์ทางการเมืองมาโดยตลอด หากว่าสังเกตดีๆก็จะพบสิ่งที่น่าสนใจหลายประการในกลุ่มคนเหล่านี้ อาทิเช่น คนเสื้อแดงส่วนใหญ่เริ่มต้นการต่อสู้ทางการเมืองแบบ “ไม่มีอะไรในหัว” มาก่อนเลยแต่กลับสู้ยิบตาลองผิดลองถูกตลอด หรือว่าแนวร่วมคนเสื้อแดง “ผู้คร่ำหวอด” ในการต่อสู้ทางการเมืองมาตั้งแต่ภายหลังการพังทลายของระบอบเผด็จการทหาร 14 ตุลาฯมาร่วมแจมแต่กลับไม่มีอิทธิพลต่อคนเสื้อแดงในแนวกว้างมากนัก หรือว่าผู้นำคนเสื้อแดงในรูปแบบกลุ่มนายทุนโลกาภิวัฒน์และพรรคการเมืองในระบบที่เต็มไปด้วยการหนุนหลังของชนชั้นนำมากมายตั้งแต่ข้าราชการจนไปถึงหัวคะแนนในระดับชุมชนซึ่งแม้ว่าจะถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างไรก็ยังคงมีอิทธิพลอยู่มาก เป็นต้น...

ปรากฎการณ์การต่อสู้ทางการเมืองของคนเสื้อแดงนับว่าเป็นเรื่องค่อนข้างใหม่สำหรับประวัติศาสตร์การต่อสู้ทางการเมืองของไทย ทำไมผมจึงกล่าวว่าการต่อสู้ของคนเสื้อแดงเป็นเรื่องค่อนข้างใหม่ หากพิจารณาการต่อสู้ทางการเมืองในอดีตเราจะเห็นตัวละครในการเมืองไทยเพียงไม่กี่ตัวละครเท่านั้นที่ “กึ่งผูกขาด” ในการต่อสู้ ก่อนและหลัง 2475 การต่อสู้ทางการเมืองจำกัดอยู่เพียงแค่ภายในหมู่ชนชั้นนำจนกระทั่งก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ เมื่อนักศึกษา พรรคประชาธิปัตย์ นายทหารฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลจอมพลถนอม และเครือข่ายอนุรักษ์นิยม ได้ร่วมเป็นพันธมิตรระหว่างกันเพียงชั่วคราวเพื่อโค่นล้มระบอบสฤษดิ์ลงไป หลังจากนั้นไม่นานก็เกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ การต่อสู้ทางการเมืองจึงกลับมาวนเวียนอยู่ภายในชนชั้นนำอีกครั้งเช่นสมัยก่อนแต่ทว่าหากมีพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยและกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองน้อยใหญ่เข้ามามีพื้นที่ในการต่อสู้บ้าง...