เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม เลขทะเบียน ๘๖๙ สภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า

อุดมการณ์สถานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตย

เรา...มั่นใจว่า
ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา
ประเทศไทย เป็นของเราทุกคน
เรา ต้องร่วมกันสร้างชาติไทย ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์  พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2554

นวัตกรรมการสื่อสารผ่านบล็อก

ทุก วันนี้กระแส “นวัตกรรม” (Innovation) นับเป็นกระแสหนึ่งที่กำลังมาแรง นวัตกรรมคือการคิดค้นสิ่งใหม่ๆเพื่อตอบสนองความต้องการที่ไม่มีสิ้นสุดของคน มีการพูดถึงนวัตกรรมกันในทุกวงการ โดยเฉพาะสินค้าและการบริการ จำเป็นต้องมีนวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ทั้งในเรื่องประโยชน์ใช้สอย และในเรื่องความพึงพอใจล้วนๆ ยก ตัวอย่าง บรรดาครีมบำรุงผิวทั้งชายหญิง ต่างก็มีการวิจัยนวัตกรรมใหม่ๆเพิ่มประสิทธิภาพของการบำรุงผิวให้ได้ผลมาก ยิ่งขึ้น แต่ละยี่ห้อก็โฆษณาประชาสัมพันธ์ชนิดที่เรียกว่าคู่แข่งรั้งท้ายมองไม่เห็น ฝุ่น มันฝรั่งบางยี่ห้อก็มีนวัตกรรมสร้างความตื่นเต้นเร้าใจแก่ผู้บริโภค ด้วยการใส่สีเพื่อทำให้ลิ้นเปลี่ยนสีขณะที่เอร็ดอร่อยกับรสชาติของมันฝรั่ง เครื่องใช้ไม้สอยภายในบ้านก็มีนวัตกรรมไม่แพ้สินค้าอย่างอื่น อาทิ ผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน ก็มีสารเพิ่มประสิทธิภาพในการซอกซอนชะล้างคราบสกปรก ดังที่ปรากฏในโฆษณาทางโทรทัศน์จนเกินจะจินตนาการได้

นวัตกรรมสร้างความสะดวกสบายให้แก่มนุษย์ อย่างเช่น ชาวนาปัจจุบันได้ใช้นวัตกรรมเครื่องจักรช่วยทำนาแบบครบวงจร เริ่มตั้งแต่ไถนาไปจนถึงการเก็บเกี่ยว เครื่องจักรทำให้ทุกกระบวนการ ควายจึงตกงานแล้วถูกต้อนเข้าโรงฆ่าสัตว์แทนลงทุ่งไถนา ชาวนาปลูกข้าวได้ปีละ3-4 ครั้ง ได้ผลผลิตมากขึ้น เหลือเพียงอย่างเดียวคือไม่มีนวัตกรรมใดๆที่ทำให้ชาวนาขายข้าวได้ราคาที่ เหมาะสมโดยไม่ถูกเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลาง คงรออีกนานหรืออาจจะไม่มีนวัตกรรมนี้เลยก็ได้ ในเมื่ออะไรๆก็มีนวัตกรรม สื่อก็มีนวัตกรรมบ้าง สื่อทุกประเภท องค์กรต่างมีนวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการในการบริโภคข่าวสารของผู้คน

วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554

สื่อ-เป็นกลาง-เลือกข้าง-ความรุนแรง

โดย บุญเลิศ ช้างใหญ
มีคนทำสื่อสิ่งพิมพ์และโทรทัศน์จำพวกหนึ่งประกาศตัวตนว่าเป็นสื่อที่ "เลือกข้าง" โดยจะเลือกอยู่ข้างความถูกต้อง และขอทำหน้าที่เป็น "ตะเกียง" ไม่เอาแล้วกับการเป็น "กระจก" ที่คอยสะท้อนภาพ เพราะสังคมไทยทุกวันนี้มันมืดมิดสิ้นดี

ขณะเดียวกันก็วิพากษ์ (ความจริงควรใช้คำว่าโจมตี) สื่อที่ประกาศว่าจะทำหน้าที่อย่าง "เป็นกลาง" ว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง พร้อมกับเปรียบเทียบว่าระหว่างพระกับโจรจะไม่มีคำว่าเป็นกลาง แต่ต้องเลือกเอาการอยู่ข้างพระ

และระหว่างข้าวกับขี้ ถ้าเป็นกลางก็กินข้าวกับขี้ผสมกันอย่างนั้นหรือ ที่ถูกต้องเลือกกินข้าว

ฟังดูผิวเผินก็น่าจะเข้าท่าเข้าที มีเหตุผล แต่หากพิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนบนหลักการของการเป็นสื่อในสังคมในประชาธิปไตย ที่ถือเอาการมีเสรีภาพในการเสนอข่าวสารและการแสดงความคิดเห็นเป็นหัวข้อสำคัญที่จะต้องควบคู่ไปกับความรับผิดชอบทั้งต่อกฎหมายและจริยธรรมแห่งวิชาชีพแล้ว คำว่า "เป็นกลาง" กับ "เลือกข้าง" จำเป็นจะต้องทำความเข้าใจในหมู่คนทำสื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การละทิ้งบทบาทของการเป็น "กระจก" กระทำได้หรือ หาไม่แล้วการวิวาทะอาจไม่ได้เกิดผลในทางสร้างสรรค์ต่อวงการสื่อและความเข้าใจผิดก็จะขยายไปยังผู้รับสื่อ จนสุดท้ายวิชาชีพสื่อก็จะลดทอนความศรัทธาในหมู่ประชาชนเฉกเช่นเดียวกับนักการเมืองไทยที่กำลังประสบภาวะ "วิกฤตศรัทธา" อยู่ในเวลานี้

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

19 กันยานี้ ทำไม สนธิ บุญยรัตกลิน และประยุทธ์ จันทร์โอชา จึงลอยนวล?

ใจ อึ๊งภากรณ์

วันครบรอบห้าปีรัฐประหาร ๑๙ กันยา ควรเป็นวันที่มีการนำนาย สนธิ บุญยรัตกลิน มาขึ้นศาลในข้อหากบฏต่อประชาชนและล้มล้างรัฐธรรมนูญ และควรเป็นวันที่มีการนำนาย ประยุทธ์ จันทร์โอชา ขึ้นศาลในฐานะเข่นฆ่าประชาชนมือเปล่า แต่ประเทศไทยขาดความเสมอภาค ความเป็นธรรม และเสรีภาพ และขาดรัฐบาลที่เคารพประชาชนเสื้อแดง สิ่งเหล่านี้จึงไม่เกิด

ลัทธิหรือปรัชญา “ความเสมอภาค” เป็นอาวุธทางความคิดที่สำคัญที่สุดในการทำลายลัทธิอภิสิทธิ์ชนของอำมาตย์ ที่เป็นฐานรับรองความย่ำแย่ของสังคมเรามานาน

อำมาตย์ทำรัฐประหารเพราะมองว่าพลเมืองส่วนใหญ่ “ต่ำและโง่เกินไป” “ไม่ควรมีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกรัฐบาล” อำมาตย์เกลียดชังการที่รัฐบาลไทยรักไทยในอดีตนำภาษีประชาชนมาบริการประชาชน เช่นในระบบสาธารณะสุข เพราะอำมาตย์อยากเอาเงินภาษีพลเมืองมาใส่กระเป๋าของตนเอง มาเชิดชูตนเอง หรือซื้อเครื่องบินราคาเป็นล้านให้ตัวเองนั่ง อำมาตย์เกลียดระบบรัฐสวัสดิการและประมุขของเขาได้เคยพูดไว้เป็นหลักฐานด้วย เขาชอบให้คนจนพอเพียงกับความจน ไม่อยากให้มีการกระจายรายได้ ดังนั้นเราต้องรณรงค์ให้มีรัฐสวัสดิการและการกระจายรายได้ ภายใต้แนวคิด “ความเสมอภาค”

เมื่อสื่อเลือกข้าง

โพสต์ทูเดย์ประกาศเลือกข้าง “ประชาธิปัตย์” ไม่เอา “เพื่อไทย”

วันจันทร์ที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๔ เวลา ๐๙:๔๗ น.

หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ในเครือบางกอกโพสต์ ประจำวันที่ 23 พฤษภาคม 2554 คอลัมน์ของอสนีบาต หน้า A4 ได้ประกาศจุดยืนอย่างชัดเจนว่าตัดสินใจเลือกว่าที่ผู้แทนพรรคการเมืองที่ต้องการให้ประเทศชาติเดินหน้า ไม่เอาด้วยกับมายาภาพตะแล้ดแต๊ดแต๋

อสนีบาตได้เขียนบทความข่าวซุบซิบหน้า A4 ของไทยโพสต์ให้ความหมายที่ชัดเจนว่าการเลือกพรรคประชาธิปัตย์จะทำให้การเมืองเดินหน้าได้ การเลือกพรรคเพื่อไทยจะทำให้มีการนิรโทษกรรมนักโทษตั้งแต่ถูกรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ซึ่งเป็นสำเนียงของมนุษย์โคลนนิ่ง นับเป็นการแสดงท่าทีอย่างเปิดเผยและกล้าหาญของสื่อมวลชนที่เลือกข้างพรรคประชาธิปัตย์ และปฏิเสธพรรคเพื่อไทย ในยามหน้าสิ่วหน้าขวานที่กำลังจะมีการเลือกตั้ง หลังจากที่พรรคการเมืองใหญ่ 2 พรรคได้ส่งคนเข้าไปซื้อหุ้นใหญ่ในสื่อมวลชนค่ายยักษ์ 2 ค่ายเบ็ดเสร็จเด็ดขาดไปแล้ว
นายไพศาล พืชมงคล อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ กล่าวว่าตนได้เตือนคนไทยให้ได้รู้โดยทั่วกันมาก่อนหน้านี้แล้ว ว่าอำนาจการเมืองและทุนสามานย์ได้ทำให้การเมืองกับสื่อต้องผูกโยงเข้าด้วยกัน พึ่งพาอาศัยและทำมาหากินด้วยกัน ทำให้เกิดสภาพสื่อขายตัว สื่อขายชาติ เช่นเดียวกับนักวิชาการขายตัวและนักวิชาการขายชาติ ซึ่งเร่งฝีก้าวหายนะและกลียุคให้กับชาติบ้านเมือง ดังนั้นในบ้านเมืองของเรายามนี้เรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนจึงไม่มีใครสนใจ โพนทะนาว่ากล่าวกันด้วยเรื่องที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ของคนชั่วช้าสารเลวทั้งสิ้น กระแสสื่อจำนวนมากในวันนี้ยกย่องเชิดชูสนับสนุนคนชั่วช้าสารเลว เหยียดหยามประณามคนดี เข้าทำนองกระเบื้องเฟื่องฟูลอย น้ำเต้าอันลอยจะถอยจม ซึ่งเป็นสัญญาณการสิ้นชาติ

วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

การเมืองไทย สิทธิเสรีภาพ สังคม และสื่อมวลชน ตอนที่ 3

รศ.พิศิษฐ์  ชวาลาวัช

ช่วงระยะ พ.ศ.๒๕๓๗-๒๕๔๐ เกิดกระแสเรียกร้องเสรีภาพสร้างแรงกดดันแก่รับบาลประกอบกับ การเมืองของคนไทยสวนทางกับการเมืองของโลกเสรีในระบอบเสรีนิยม จึงเกิดยุคการเมืองการปกครอง ประชาธิปไตยใหม่โครงสร้างทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม และยอมรับว่าอำนาจ อธิปไตยใหม่ หลักประกันว่าด้วย “สิทธิเสรีภาพ”ของพลเมืองจึงได้นำบัญญัติไว้ในรับธรรมนูญฉบับใหม่ ด้วยเหตุผลที่ว่า

รัฐบาลย่อมมีอำนาจในการปกครองอย่างจำกัด และยินยอมที่จะอยู่ภายใต้กฎหมายที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญไม่ว่าจะเต็มใจหรือไม่ ทั้งนี้เพราะอำนาจสูงสุดที่แท้จริงยังเป็นของประชาชนอยู่ เพียงแต่ว่าประชาชนได้มอบให้รัฐบาลใช้อำนาจดังกล่าว แต่อำนาจที่ได้รับมอบไม่ใช่เป็นของรัฐบาล หากรัฐบาลไม่ทำตามสัญญาที่ให้ไว้และไม่อาจตอบสนองผลประโยชน์ของประชาชนได้ ถือว่าเป็นการละเมิดข้อตกลงที่ให้ไว้ ประชาชนย่อมมีอำนาจถอดถอนหรือขับไล่รัฐบาลได้”

เห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่เป็นการยืนยันถึงความคิดของจอห์น ล๊อค ( John locke) ในเรื่อง “ทฤษฏีอำนาจอธิปไตย” ทฤษฏีนี้มีความเชื่อว่าอำนาจสูงสุดที่แท้จริงอยู่ที่เจตจำนงของประชาชนในรัฐ แต่ประชาชนทุกคนจะทำหน้าที่ไม่ได้จำเป็นต้องมีตัวแทน แต่ประชาชนยังคงสงวนอำนาจสิทธิขาดไว้ไม่ยอมโอนอำนาจให้แก่กันได้

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

การเมืองไทย สิทธิเสรีภาพ สังคม และสื่อมวลชน ตอนที่ 2

รศ.พิศิษฐ์ ชวาลาวัช

เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของประชาชนชาวไทยยังคงเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพ
รัฐบาลหรือผู้ใดจะใช้อำนาจหรือกระทำการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนไม่อาจกระทำได้และมีหลักประกันทางกฎหมายหลายประการ(จะไม่ขอกล่าวในที่นี้) ส่วน สาระสำคัญด้วยสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ยังคงให้หลักประกันในเรื่องสิทธิและเสรีภาพ และได้มีการเพิ่มมาตรการป้องกันการละเมิดสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนมากขึ้นกว่าเดิม มีประเด็นสำคัญ ดังนี้

๑.ให้หลักประกันและคุ้มครองเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ รัฐบาลจะออก
กฎหมายกำจัดเสรีภาพไม่อาจกระทำได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติเฉพาะเท่านั้น
ดังที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ว่าบุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณาและการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น (มาตรา ๔๕ วรรคแรก )

การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติ
กฎหมาย เฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ เกียรติยศ ชื่อเสียง
สิทธิในครอบครัวหรือความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือ
ศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันหรือระงับความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพ
ของประชาชน(มาตรา ๔๕ วรรคสอง)

วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

การเมืองไทย สิทธิเสรีภาพ สังคม และสื่อมวลชน ตอนที่ 1

รศ.พิศิษฐ์ ชวาลาวัช

ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชไปสู้การเมืองการปกครองใน
ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตั้งแต่พ.ศ.๒๔๗๕ เป็นต้นมา และได้มีการประกาศให้รัฐธรรมนูญเป็นครั้งแรกเรียกว่า “พระราชบัญญติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว”หลังจากนั้นเกิดการแย่งอำนาจมีการรัฐประหารจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งสำคัญอีกหลายครั้งมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่และยกเลิกรวมแล้ว๑๗ ฉบับ รัฐธรรมนูญฉบับล่าสุดได้แก่ รัฐธรรมนูญ ฉบับที่๑๘ และประกาศใช้เมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐ แทนรัฐธรรมนูญฉบับที่๑๗ เรียกว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดขึ้นหลังจากการรัฐประหาร(รัฐธรรมนูญฉบับที่ ๑๖ ถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกได้วางรากฐานสำคัญในเรื่อง สิทธิ เสรีภาพ และการมีส่วนทางการเมือง)

การทำรัฐประหาร และ การแย่งอำนาจทางการเมือง อำนาจทางการเมืองไม่ยอมคืนสิทธิเสรีภาพ
ให้ประชาชนอย่างแท้จริง รัฐธรรมนูญแทบจะไม่มีหลักประกันในเรื่องนี้ การวางรากฐานปลูกฝังความคิดในเรื่องอุดมการณ์เสรีประชาธิปไตยแทบไม่มีการกล่าวถึงเหมือน สื่อมวลชนภาครัฐถูกควบคุมโดยรัฐบาลทุกสมัย รัฐบาลขาดความมั่นคงในการบริหาร ประเทศไทยขาดการนำ”หลักประชาธิปไตย” มาใช้กับประชาชนแตกต่างไปจากรัฐเสรีประชาธิปไตยในภาคพื้นยุโรปและอเมริกา มีการวางพื้นฐานมั่นคงในเรื่อง หลักประชาธิปไตย และหลักนิติรัฐ ความคิดเรื่องอำนาจอธิปไตยเป็นชองประชาชนเกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ ๑๖ และ ๑๗ สังคมเชื่อนักทฤษฎีการเมืองในเรื่องนี้ การต่อสู้กับชนชั้นปกครองเกิดขึ้น เป็นการต่อสู้ระหว่างอำนาจเก่าคือชนชั้นปกครองซึ่งทีความเชื่อในเรื่อง “ทฤษฎีอำนาจนิยม กับ ประชาชนผู้มีความเชื่อและ ศรัทธาใน “ทฤษฎีเสรีนิยม” ที่สุด อิทธิพลทางความคิดตาม “ทฤษฎีเสรีนิยม” ได้รับชัยชนะและได้รับการยอมรับจากนานาประเทศเกือบค่อนโลก มองย้อนสู่ประวัติสตร์แห่งการต่อสู้ทางการเมืองของประชาชนตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๖ บ่งบอกให้เข้าใจว่า การได้รับอำนาจของชนชั้นปกครองไม่กี่คนอาจล่มสลายในที่สุดดังเช่น ความเชื่อตามทฤษฎีอำนาจนิยมเป็นความเชื่อที่สุดโต่งในเรื่องอำนาจรับจนถูกปฏิเสธจากประชาชนและสิ้นสุดในต้นศตวรรษที่ ๑๗ ความเชื่อในเรื่องอำนาจอธิปไตยเป็นของคนในประเทศจึงกลายเป็นรากฐานทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย และเป็นเหตุให้เกิดเปลี่ยนทางประวัติสาสตร์การเมืองเกือบทั่วโลก ส่งผลให้กลุ่มประเทศเหล่านั้นมีการพัฒนารากฐานสำคัญในเรื่องหลักนิติรัฐและหลักประชาธิปไตยตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๗ เป็นต้นมา ทั้งสองหลักต่างมีความเกี่ยวข้องกันสัมพันธ์เกื้อหนุนต่อโครงสร้างทางการเมืองในระบบประชาธิปไตย เศรษฐกิจ สังคม และ วัฒนธรรมนับเป็นร้อยๆปี

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

สื่อในภาวะวิกฤต

สื่อในฐานะ gate-keeper ท่ามกลางสงครามข่าวสาร โดย กาแฟดำ

แน่นอนว่าสื่อในภาวะวิกฤติต้องโดนตั้งคำถาม เรื่องบทบาทหน้าที่ และความเป็นมืออาชีพอย่างเข้มข้น

ซึ่งก็ถูกต้องแล้วที่สังคมจะต้องคาดหวังว่าคนข่าว และคนกรองข่าวจะต้องทำหน้าที่ของ "ผู้เฝ้าประตู" หรือ "gate-keeper" และผู้ตรวจสอบเป็นหูเป็นตาของประชาชนอย่างตรงไปตรงมา

ยิ่งความขัดแย้งในสังคมสูง ยิ่งต่างฝ่ายต่างมีวาระของตน สื่อก็ยิ่งจะโดนกดดันให้ต้องวางตัว ให้เป็นที่พึ่งพาของคนส่วนใหญ่ได้ ไม่หวั่นไหว ไม่ครั่นคร้าม และไม่ตกเข้าหลุมพรางของฝ่ายใด

แน่นอนว่าการทำหน้าที่ให้ได้มาตรฐานที่สังคมตั้งเอาไว้นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็จะต้องทำอย่างสุดความสามารถ พิงหลังประชาชน และตั้งเป้าหมายหลักที่การทำเพื่อให้ความจริงประจักษ์ ไม่ว่าฝ่ายที่ขัดแย้งกันจะพอใจกับการทำหน้าที่เช่นนั้นหรือไม่ก็ตาม

จึงแปลว่าคนข่าว และวิเคราะห์ข่าวจะต้องทำหน้าที่อย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ ตอบคำถามที่ผู้คนสงสัย และไม่มีเบื้องหน้าเบื้องหลังอันเกิดจากการมีผลประโยชน์ส่วนตน

เพราะสื่อตรวจสอบฝ่ายต่างๆ ที่ขัดแย้ง สังคมก็ตรวจสอบว่าสื่อทำหน้าที่ของตนอย่างสัตย์ซื่อหรือไม่

หลายวงสนทนาที่ผมไปร่วมวิสาสะด้วย ในช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมา ตั้งคำถามเกี่ยวกับบทบาทของ "สื่อมวลชน" ในภาวะบ้านเมืองวิกฤติเช่นนี้

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

แกนนำเสื้อแดงไม่ยอมพูดความจริงทั้งหมดกับมวลชน

ใจ อึ๊งภากรณ์

ในงาน "คอนเสิร์ตต้อนรับวันอิสรภาพ ลมหายใจที่ไม่แพ้" ของเสื้อแดงเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2554 ที่ชั้น 6 ห้างสรรพสินค้าอิมพีเรียล ลาดพร้าว แกนนำหลายคนได้แสดงจุดยืนเกี่ยวกับรัฐบาลใหม่ ซึ่งเราจะต้องนำมาวิเคราะห์
(ดูคลิปวิดีโอได้ที่ http://thaienews.blogspot.com/ )

บก.ลายจุด สมบัติ บุญงามอนงค์ เสนอว่า “เสื้อแดงเป็นกองหลัง เพื่อไทยเป็นกองหน้า” บอกว่าเสื้อแดงกับเพื่อไทยต้องเกาะกันสนิท และเชื่อว่าคนของเราที่คุมอำนาจอยู่ ท้ายสุดสมบัติมีความหวังว่านายกยิ่งลักษณ์จะนำคนที่สั่งฆ่าประชาชนมาขึ้นศาลประชาชน

ณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ บอกว่าจะเดินหน้าหาทางประกันคนเสื้อแดงทั่วประเทศ 40 คนที่ยังถูกขังอยู่ ณัฐวุฒิเสนออีกว่าต้องปรับวิธีทำงานของคนเสื้อแดง เน้นการขยายมวลชน บอกให้คนเสื้อแดงใจเย็นไปก่อน รอให้แกนนำนปช.กำหนดแนวทาง และมองว่าเราต้องปกป้อง “รัฐบาลของประชาชน”

จตุพร พรหมพันธ์ บอกว่าคนเสื้อแดงต้องปกป้องรัฐบาลเพื่อไทยจากรัฐประหาร อย่างที่เคยเกิดกับรัฐบาลไทยรักไทยและพลังประชาชน จตุพรบอกด้วยว่าฆาตกรที่สั่งฆ่าประชาชนยังมีตำแหน่งและลอยนวล เราไม่ควรลืม

วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

สื่ออิทธิพล อิทธิพลสื่อ

ตอน ๑. การครอบงำทางอุดมการณ์

คำถามว่าสื่อมวลชนมีอิทธิพลต่อทัศนคติ ค่านิยม หรือแม้กระทั่งการตัดสินใจเลือกทางการเมืองของประชาชนจริงหรือไม่? อย่างไร ?
เมื่อไปค้นดูในตำรา(Heywood,2002 )ก็พบว่ามีมุมมองในการอธิบายคำถามนี้ผ่านตัวแบบ 4 ตัวแบบ ดังต่อไปนี้

1. ตัวแบบการครอบงำทางอุดมการณ์(The Dominant-Ideology Model)
ตัวแบบนี้เห็นว่าสื่อมวลชนมีผลประโยชน์ในทางเศรษฐกิจและสังคมในลักษณะเดียวกับชนชั้นนำ และมีบทบาทส่งเสริมให้ประชาชนยอมจำนนต่อสภาพทางการเมือง นักคิดที่มองสื่อมวลชนตามตัวแบบนี้ ได้แก่ อันโตนีโอ กรัมชี(Antonio Gramsci)

นักคิดเหล่านี้เห็นว่าสื่อมวลชนทำหน้าที่เผยแพร่ความคิดของชนชั้นนำและดำเนินงานเพื่อผลประโยชน์ของนายทุนผู้เป็นเจ้าของธุรกิจสื่อซึ่งเป็นคนจำนวนน้อย แต่มีอิทธิพลอย่างใหญ่หลวงโดยอาศัยการเผยแพร่ความคิด ภาพลักษณ์ และค่านิยมเพื่อมุ่งหมายให้เกิดการครอบงำทางอุดมการณ์

ตัวแบบการครอบงำทางอุดมการณ์นี้ได้มีการพัฒนาจนมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า ตัวแบบการโฆษณาชวนเชื่อ(Propaganda Model) โดยข่าวจะถูกบิดเบือนให้ผิดเพี้ยนไปจากความจริง ทั้งนี้เพื่อมุ่งหวังรักษาโครงสร้างทางธุรกิจของสื่อมวลชน ตัวแบบนี้จึงมองว่าสื่อมวลชนเป็นเพียงองค์กรทางธุรกิจที่คำนึงถึงแต่ผลประโยชน์ของสื่อเองหรือของผู้ให้การสนับสนุนสื่อเหล่านั้น

วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2554

ทฤษฎีการสื่อสารคืออะไร

ทฤษฎีการสื่อสาร คือ การอธิบายการสื่อสารในด้านความหมาย กระบวนการ องค์ประกอบ วิธีการ บทบาทหน้าที่ ผล อิทธิพล การใช้ การควบคุม แนวคิดของศาสตร์ต่าง ๆ แนวโน้มอนาคต และปรากฏการณ์เกี่ยวกับการสื่อสาร แต่การอธิบายต้องมีการอ้างอิงอย่างมีเหตุผลที่ได้จากหลักฐาน เอกสาร หรือปากคำของมนุษย์
เราแปลคำนี้มาจากภาษาอังกฤษที่ว่า communication theory ซึ่งมีความหมายครอบคลุมกว้างขวาง รวมไปถึง theory of communication (ทฤษฎีของการสื่อสาร) theories in communication (ทฤษฎีในการสื่อสาร) theories for communication (ทฤษฎีเพื่อการสื่อสาร) และ theories about communication (ทฤษฎีเกี่ยวกับการสื่อสาร)

1. ทฤษฎีเพื่อการสื่อสาร เกิดขึ้นมานานก่อนที่จะมีการศึกษาในสาขาวิชานิเทศศาสตร์ เริ่มด้วยปรัชญาพุทธและปรัชญากรีก ที่ว่าด้วยการคิดและการพูด หลักวิธีการเผยแพร่ศรัทธาของศาสนาคริสต์ ทฤษฎีเศรษฐกิจการเมืองต่าง ๆ ว่าด้วยเสรีภาพของการแสดงออกตั้งแต่ก่อนการปฏิวัติฝรั่งเศส ทฤษฎีทางการแพทย์และสรีรวิทยาที่ว่าด้วยประสาทกับการรับสารและสมรรถภาพในการส่งสารของมนุษย์ ทฤษฎีจิตวิเคราะห์และจิตบำบัดของฟรอยด์ รวมไปถึงหลักและทฤษฎีต่าง ๆ ว่าด้วยภาษา สังคม และวัฒนธรรม ล้วนแล้วแต่เป็นทฤษฎีของสาขาต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่เป็นทฤษฎีแนวปฏิบัติ เพื่อการสื่อสารภายในบุคคล ระหว่างบุคคล การสื่อสารในกลุ่มหรือการสื่อสารในสังคมใหญ่ แม้แต่ภายในสาขานิเทศศาสตร์ ก่อนที่จะมีการสถาปนาเป็นสาขาการศึกษาในยุโรปและอเมริกาตอนต้นศตวรรษที่ 20 ความรู้ที่ได้มาจากการปฏิบัติงานวิชาชีพวารสารศาสตร์ ก็ยังมีบทบาทเป็นทฤษฎีหลักเพื่อการปฏิบัติเรื่อยมา จนกระทั่งกลายเป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรีที่สหรัฐอเมริกาขยายไปเจริญเติบโตที่เอเชียตะวันออก เอเชียใต้ อังกฤษ และออสเตรเลีย ในช่วง 20 ปี ก่อนศตวรรษที่ 21

วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2554

สื่อเลือกข้าง’ ทำให้สื่อไม่ใช่ ‘สื่อสารมวลชน’

โดย สุรพศ ทวีศักดิ์

ในยุคที่สังคมเห็นว่า การปฏิรูปการเมืองจะสำเร็จได้ยากหากไม่ทำควบคู่กันไปกับการปฏิรูปสื่อ ทำไมเราจึงตั้งคำถามน้อยเกินไปต่อตรรกะของ “สื่อเลือกข้าง” เพราะหากเราเชื่อในอุดมการณ์ที่ว่า “ความเป็นกลาง” ในการเสนอข้อเท็จจริงและความคิดเห็นรอบด้านควรเป็น “จุดยืน” ที่ทำให้สื่อมีความหมายเป็น “สื่อสารมวลชน” ไม่ใช่สื่อของใครหรือของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ เราย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะตั้งคำถามต่อตรรกะของสื่อเลือกข้าง

ยิ่งถ้าเรายังเห็นกันว่า การปฏิรูปสื่อจำเป็นต่อการเปิดเวทีการแลกเปลี่ยนรู้ของสังคมให้กว้างขึ้น หลากหลายขึ้น จำเป็นต่อการส่งเสริมเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การสร้างวัฒนธรรมวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบด้วยข้อเท็จจริงและเหตุผล หรือส่งเสริมวิถีชีวิต วิถีสังคมที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น เรายิ่งจำเป็นต้องตั้งคำถามต่อตรรกะของสื่อเลือกข้างอย่างเอาจริงเอาจัง

ตรรกะของสื่อเลือกข้างที่ตอกย้ำมาตลอดสองสามปีนี้ คือ
1.ไม่มีความเป็นกลางระหว่างถูกกับผิด ดีกับชั่ว ขาวกับดำ จึงเลือกความเป็นกลางไม่ได้ ต้องเลือกอยู่ข้างความถูกต้องหรือความดีเท่านั้น
2.สื่อ หรือใคร/ฝ่ายใดที่ไม่เลือกอยู่ข้างเรา (สื่อเลือกข้าง) แสดงว่าอยู่ตรงข้ามความถูกต้อง