เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม เลขทะเบียน ๘๖๙ สภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า

อุดมการณ์สถานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตย

เรา...มั่นใจว่า
ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา
ประเทศไทย เป็นของเราทุกคน
เรา ต้องร่วมกันสร้างชาติไทย ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์  พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

สื่อมวลชน (Mass Media)

สื่อมวลชนเป็นแหล่งความรู้ ความคิดที่นำไปสู่พฤติกรรมของมนุษย์ในด้านต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม เพราะมนุษย์จะมีความคิดได้นั้น มีสาเหตุหลายประการ เช่น จากการได้อ่าน ได้ฟัง ได้เห็น สัมผัส จากสื่อมวลชน และความคิดเห็นของคนอื่น เป็นต้น แต่ในปัจจุบันนี้บทบาทของสื่อมวลชนได้กระตุ้นให้คนมีแนวความคิดมีพฤติกรรมต่าง ๆ ได้มาก อันได้แก่ หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์และภาพยนตร์

สื่อมวลชน คือ สถาบันที่แสดงความคิด ความเคลื่อนไหวในรูปร่าง ข่าวสาร ปรากฏการณ์ของประชาชนต่อรัฐบาลและของรัฐต่อประชาชน ตลอดถึงเป็นแหล่งสื่อสารระหว่างประชาชนต่อประชาชนด้วยกัน สื่อมวลชนจึงมีความสำคัญต่อระบบการเมืองการปกครองโดยเฉพาะอย่างยิ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันถือว่าเสียงประชาชนหรือปรากฏการณ์ของประชาชนคือเสียงสวรรค์หรือสวรรค์บันดาล ฉะนั้นสื่อมวลชนในประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยจึงเปรียบเสมือน “หน้าต่างประชาชน” โดยทำหน้าที่เป็นหู เป็นตา เป็นขา เป็นแขนของประชาชนในทุกกรณี ประชาชนสามารถแสดงความรู้สึกนึกคิดหรือเข้าถึงรัฐบาลโดยผ่านสื่อมวลชน ในทำนองเดียวกัน รัฐบาลก็สามารถแจ้งข่าวสารและเข้าถึงประชาชนได้โดยอาศัยสื่อมวลชนแต่ละแขนงได้เป็นอย่างดี สื่อมวลชนที่มีความสำนึกต่อวิชาชีพและมีความรับผิดชอบสูงนั้นมีความสำคัญมากที่จะช่วยจรรโลงความเป็นประชาธิปไตยในสังคม ในประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยรัฐบาลจักออกกฎระเบียบรับรองการมีและการประกอบอาชีพสื่อมวลชนได้อย่างกว้างขวาง ยอมให้สื่อมวลชนเป็นสถาบันที่แสดงบทบาทต่อบ้านเมืองได้อย่างเต็มที่ภายใต้ขอบเขตระเบียบที่ให้ไว้

วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

พุทธทำนายอนาคต ประเทศที่นับถือพุทธศาสนา

พระพุทธทำนายเหตุการณ์ของโลก

ประการที่ ๒. ที่ยืนยันว่าประเทศไทยจักไม่ตกเป็นทาสของใครๆ นั้นคือ พระพุทธทำนายเหตุการณ์ของโลก พระพุทธทำนายนี้ก็มีปรากฏในสมุดข่อยของพระพุทธโฆษาจารย์เช่นเดียวกัน ซึ่งมีข้อความปรากฏโดยสังเขปดังนี้

“อานันทะ..ดูก่อน อานนท์ โลกต่อไปจะเต็มไปด้วยความเร่าร้อน ก่อนกึ่งพุทธกาล ๑๕ ปี (ประมาณ พ.ศ.๒๔๘๕) จะมีฝนเหล็กตกจากอากาศ จะมีไฟลุกจากอากาศ เหล็กกล้าจะผุดจากน้ำมาทำลายมนุษย์ มนุษย์และสมณะชีพราหมณ์จะตายกันมาก

แต่ว่า..อานนท์ ความเร่าร้อนก่อนกึ่งพุทธกาลนั้น ยังมีความเร่าร้อนน้อยกว่า ความเร่าร้อนหลังกึ่งพุทธกาล

หลังกึ่งพุทธกาลจะมีความร้ายแรงยิ่งไปกว่านั้น ยักษ์หินที่ถูกสาปจะลุกขึ้นมาอาละวาดสมณะชีพราหมณ์จะล้มตาย ยักษ์นอกพระพุทธศาสนาทั้งหลายจะฆ่าฟันกันและกัน จะตายกันไปคนละครึ่ง จึงจะหยุดยั้งเลิกรบกัน

วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

อันว่าสื่อมวลชน

อันว่าสื่อ มวลชน ที่ดีนั้น
ควรสร้างสรร ปัญญา คู่สมอง
ให้ข่าวสาร ถูกต้อง ตามครรลอง
ไม่ถือครอง อัตตา แต่ฝ่ายเดียว

นำเสนอ ข้อมูล ไม่คลาดเคลื่อน
อย่าแชเชือน ความจริง ไม่แลเหลียว
สื่อเป็นสื่อ หน้าที่ มีสิ่งเดียว
คือยึดเหนี่ยว อุดมการณ์ ด้วยวิชชา

นำเสนอข่าว สารให้ ถูกต้อง
อย่ามัวหมอง เพราะมีนาย คอยให้ท่า
อย่าเชลียร์ เขียนข่าว ด้วยมารยา
อวิชา พาตกต่ำ ระยำจริง

วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

อีกยุทธศาสตร์หนึ่งของชาติ ขอย้ำเตือน ดร.โกร่งอย่าลืม

ดร โกร่ง vs ประชาธิปัตย์
คนเดินตรอก
วีรพงษ์ รามางกูร

ประชาธิปัตย์ต้องการปฏิรูปการเลือกตั้งทั่วไปหลังจากมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี 2550 เป็นเครื่องชี้อย่างดีว่าพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นพรรคที่เก่าแก่ที่สุดของบ้านเรา ต้องการการปฏิรูป อย่างรุนแรงและขนานใหญ่ มิฉะนั้นประเทศไทยจะกลายเป็นประเทศที่มี ระบอบการปกครองโดยพรรคใหญ่ พรรคเดียว ซึ่งไม่เหมาะกับบ้านเราและ เราก็ไม่ต้องการอย่างนั้นพรรคประชาธิปัตย์ก็เหมือนกับพรรคการเมืองอื่นที่ต้องถือว่าเป็นของประชาชน มิใช่พรรคของกรรมการบริหารพรรค หรือสมาชิกพรรคเท่านั้น เพราะได้รับเงินจากภาษีอากรที่เก็บจากประชาชนทั่วประเทศไปทำกิจกรรมของพรรค พรรคต้องฟังความคิดเห็นของประชาชน ผู้เสียภาษีด้วย ถ้าการวิพากษ์วิจารณ์มีเหตุผล ควรฟังว่าเขาวิพากษ์วิจารณ์อะไร อย่ามัวแต่ค้นหาว่าทำไมเขาจึงวิพากษ์วิจารณ์

เรื่องแรก พรรคต้องเปลี่ยนทัศนคติ เสียใหม่ว่า การเอาแต่คิดโค่นล้มคู่ต่อสู้ ทุกวิถีทางนั้นต้องเปลี่ยนใหม่ แม้ว่าตอนที่ก่อตั้งพรรคเมื่อปี 2489 พรรคประสบ ความสำเร็จในการโค่นล้มพรรคแนวรัฐธรรมนูญและพรรคสหชีพ โดยการ ร่วมมือกับทหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับจอมพลผิน ชุณหะวัณ และจอมพลป.พิบูลสงคราม ลงเลือกตั้งโดยการ ช่วยเหลือของทหารในเดือนมกราคม 2491 เป็นรัฐบาลอยู่ได้ 4เดือน ก็ถูกทหารหักหลังจี้ให้ลาออก หลังจากนั้นก็ไม่ได้อะไร จนเกิดกรณี 14 ตุลาคม 2516 เพราะทหารแตกคอกันเองไม่ใช่ฝีมือของพรรค ทรรศนะที่ถูกต้องก็คือ ต้องสร้างผลงานในทางสร้างสรรค์ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และการต่างประเทศ ในด้านการต่างประเทศ ประเทศเราใหญ่พอที่ผู้นำของเราสามารถจะเป็นผู้นำของภูมิภาคอย่าง ดร.โมฮัมเหม็ด มหาเธร์ ได้น่าเห็นใจผู้นำพรรคประชาธิปัตย์ ส่วนมากเป็นทนายความ เป็นครู เป็นข้าราชการที่เกษียณอายุแล้ว มีนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จน้อย หัวหน้าพรรคแม้ว่าจะมีอายุพอสมควรแล้ว มีการศึกษาจากสถาบันชั้นนำของโลก แต่ไม่เคยทำงานรับผิดชอบจริงๆ ข้อสำคัญอยู่ไปๆ ถูกพรรคล้างสมองลืมหลักการทางปรัชญากฎหมาย รัฐศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ เสียสิ้น ค้านทุกเรื่องที่ฝ่ายตรงกันข้ามทำ หรือฝ่ายตรงกันข้ามคิดผลจึงออกมาในสายตาประชาชนว่าที่คิดที่พูดนั้น ตนเอง ก็ไม่ได้เชื่ออย่างนั้นเลย แต่พูดไปตามมติพรรคซึ่งล้าสมัยแล้ว

วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ทฤษฏีโกลาหล โอกาสในการเปลี่ยนแปลงเป็น นิวไทยแลนด์

ทฤษฎี โกลาหล Seven Life Lessons of Chaos
Seven Life Lessons of Chaos : Spiritual wisdom from the science of change

ผู้แต่ง จอห์น บริกกส์ และ เอฟ เดวิด พีต
ตีพิมพ์ครั้งแรก ปี พ.ศ. ๒๕๔๒
ประเภท วิทยาศาสตร์ จิตวิญญาณ
พิมพ์โดย สำนักพิมพ์ฮาร์เปอร์ เพเรนเนียล
แนะนำโดย ชลนภา อนุกูล

ในทางวิทยาศาสตร์นั้น เชื่อว่าสรรพสิ่งล้วนมีกำเนิดมาจากการระเบิดครั้งใหญ่ ที่เรียกว่า “บิ๊กแบง” ไม่กี่วินาทีหลังการระเบิดนั้น มีอนุภาคจำนวนมหาศาลบังเกิดขึ้น ต่างอยู่อย่างกระจัดกระจายเต็มไปหมด ก่อนจะก่อรูปรวมตัว กลายเป็นอนุภาคขนาดใหญ่ขึ้น ซับซ้อนขึ้น กลายเป็นดวงดาว โลก สิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ รวมทั้งมนุษย์ ความเป็นระเบียบที่ปรากฏขึ้นในความรับรู้ของเราในปัจจุบัน ล้วนเป็นผลของภาวะแห่งความปั่นป่วนยุ่งเหยิงนี้

ปรากฏการณ์ธรรมชาติหลายต่อหลายอย่าง ดังเช่น ฟ้าผ่า เฮอริเคน แม่น้ำ ชายฝั่งทะเล ดูแล้วเหมือนเป็นสิ่งที่ปราศจากโครงสร้างแน่นอน และดูเหมือนปราศจากกฏเกณฑ์ แต่หากใช้เวลาในการสังเกตดูสักระยะหนึ่งก็อาจพบได้ว่า สิ่งเหล่านี้มีโครงสร้างที่ซ้ำๆ กัน เรียกได้ว่ามีระเบียบบางอย่างซ่อนอยู่ในการเกิดขึ้นของปรากฏการณ์เหล่านั้น

วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

คู่มือมนุษย์ พิชิตความเบื่อ

เปิด...คู่มือมนุษย์ พิชิตความเบื่อ กับวลีท่านพุทธทาส : ของกู - ของสู

เคยหรือไม่? เมื่อตื่นขึ้นมาตอนเช้า แล้วรู้สึกเบื่อหน่าย ไม่รู้ว่าจะมีชีวิตอยู่เพื่ออะไร วันๆ นอกจากกิน, นอน, ทำงาน, เที่ยวเตร่, อ่านหนังสือ, ดูหนัง, ฟังเพลง, คุยกับเพื่อนกับแฟน ฯลฯ ซ้ำไปซ้ำมาแล้ว ชีวิตมีอะไรเป็นแก่นสารบ้าง สมมุติว่าเรามีเงินมากมาย จนไม่ต้องดิ้นรนหาเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง มีเกียรติยศชื่อเสียงเป็นที่เคารพนับถือ มีตำแหน่งหน้าที่การงานดี มีครอบครัวที่ดี เรียกว่ามีครบไปหมดซะทุกสิ่งที่ควรมีแล้ว

คนๆ นั้นยังจะมีความสุขโดยไม่มีทุกข์หรือไม่ ถ้ายังมีทุกข์อยู่อีก เช่นนั้น คนเราจะต้องมีแค่ไหนจึงจะเพียงพอ แค่ไหนจึงจะทำให้มีความสุข โดยไม่เกิดความทุกข์กาย ทุกข์ใจขึ้นอีก ไม่ทุกข์เรื่องนั้น ก็ต้องมาทุกข์เรื่องนี้ หรือมนุษย์เราไม่มีทางหลุดพ้นจากความทุกข์ไปได้ ชีวิตเช่นนี้ เราเคยตั้งคำถามกับตัวเองหรือไม่ว่าจะไปสิ้นสุดเช่นไร และอย่างไร เชื่อว่าหลายๆ คนคงเคยคิด คิดแล้วเคยหาคำตอบได้หรือเปล่า หรือเพียงคิด แล้วก็ผ่านเลยไป เพราะมีอะไรต้องทำ ต้องคิดอีกมากมาย และที่สุดแล้ว ชีวิตก็ยังวนเวียนซ้ำๆ ซากๆ อยู่กับวงจรเดิมๆ เราจะปล่อยให้เป็นเช่นนี้ล่ะหรือ?