เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม เลขทะเบียน ๘๖๙ สภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า

อุดมการณ์สถานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตย

เรา...มั่นใจว่า
ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา
ประเทศไทย เป็นของเราทุกคน
เรา ต้องร่วมกันสร้างชาติไทย ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์  พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

“อิสรภาพในการใช้สติปัญญา”

สำหรับท่านพุทธทาสภิกขุ ท่าทีพื้นฐานประการสำคัญที่สุดในการพิจารณาประเด็นธรรมะกับการเมือง คือสิ่งที่ท่านเรียกว่า “อิสรภาพในการใช้สติปัญญา”
การที่เราไม่มีอิสรภาพหรือเสรีภาพในการใช้สติปัญญานั้น เกิดขึ้นเพราะ “เราถูกกระทำให้เป็นทาสทางสติปัญญา อย่างไม่มีอิสรภาพ หรือไม่มีเสรีภาพ” และโดยพื้นฐานแล้ว อิสรภาพทางสติปัญญานี้ “มีความสำคัญทั้งทางฝ่ายโลกและฝ่ายศาสนา”
ในฝ่ายศาสนา ท่านพุทธทาสหมายถึง การที่พุทธบริษัทไม่สามารถหรือไม่กล้าพอที่จะใช้วิจารณญาณของตน เมื่อพบว่าสิ่งที่ตนเข้าใจ ปฏิบัติ หรือได้รับผลนั้น ขัดกับแนวทางที่ยอมรับกันอย่างงมงาย ส่วนในทางโลกนั้น คือการตกอยู่ในสภาพ “เป็นทาสทางสติปัญญา อย่างไม่มีอิสรภาพ” เพราะเห็นว่าเขาว่ามาอย่างนั้น หรือนิยมกันมาอย่างนั้น ท่านพุทธทาสยืนยันเรื่องนี้อย่างชัดเจนว่า
“ถ้าท่านไม่มีอิสรภาพ เสรีภาพในการคิดนึก นอกไปจากที่เคยเรียนมาอย่างปรัมปรา ท่านก็ไม่อาจเข้าใจความจริงแท้ใดๆ ได้ ถึงที่สุด”

วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

กรอบเนื้อหาของรัฐธรรมนูญฉบับนิติราษฎร์


กรอบเนื้อหาโดยสังเขปของรัฐธรรมนูญตามความคิดของคณะนิติราษฎร์ มีดังต่อไปนี้
รัฐธรรมนูญและเอกสารทางการเมืองที่ใช้เป็นพื้นฐานของการจัดทำรัฐธรรมนูญ
  • พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 และอาจนำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 254๐ ในส่วนของการประกันสิทธิและเสรีภาพ ตลอดจนโครงสร้างสถาบันการเมืองและองค์กรทางรัฐธรรมนูญเท่าที่สอดคล้องกับพัฒนาการในยุคร่วมสมัย
  • ประกาศคณะราษฎร
  • ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declarati0n 0f Human Rights) ลงวันที่ 1๐ ธันวาคม 1948 ของสหประชาชาติ

วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

หนี้สาธารณะ

โดย วีรพงษ์ รามางกูร
หมู่ นี้มีข่าวเรื่องหนี้สาธารณะ หลายคนที่เคยเกี่ยวข้องกับการสร้างหนี้สาธารณะดูจะเดือดร้อน กระโจนเข้ามาร่วมวงถกเถียงกันเป็นที่สนุกสนาน ซึ่งก็นับว่าเป็นผลดีต่อประชาชน ต่อสภาผู้แทนราษฎร ต่อวุฒิสภา และผู้คนที่สนใจจะได้ไม่ลืม

ปกติ หนี้สาธารณะถ้าพูดแบบภาษาชาวบ้าน ก็คือข้อผูกพันที่รัฐบาลมีต่อผู้อื่นที่จะต้องชำระหนี้ทั้งในปัจจุบันและ อนาคต ข้อผูกพันที่ว่ามีคำจำกัดความหลายแบบหลายอย่าง บางประเทศก็ให้หมายความรวมไปถึงข้อผูกพันที่รัฐบาลมีกับข้าราชการ พนักงานของรัฐ ที่จะต้องจ่ายค่าสวัสดิการ บำเหน็จบำนาญ ฯลฯ ด้วย