เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม เลขทะเบียน ๘๖๙ สภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า

อุดมการณ์สถานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตย

เรา...มั่นใจว่า
ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา
ประเทศไทย เป็นของเราทุกคน
เรา ต้องร่วมกันสร้างชาติไทย ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์  พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เปิดใจเมียหมอเหวง แง้มคุกแกนนำเสื้อแดง

   รับบทหนักคอยประสานแกนนำนปช.ในเรือนจำเพื่อต่อสู้คดีก่อการร้าย
รวมถึงปัญหาจุกจิกสารพัด ทั้ง อาหารการกิน กำลังใจ ระหว่างเยี่ยม



   “ธิดา ถาวรเศรษฐ์” ไม่ใช่แค่ศรีภริยารุ่นเดอะจากภาพที่เห็นเดินตามนพ.เหวง โตจิราการ ต้อยๆ แต่บทบาทลึกของเธอเป็นทั้งแกนนำนปช. เป็นองค์ความรู้ขององค์กรเสื้อแดง เป็น “ครูใหญ่โรงเรียน นปช.” และเป็นคนเดือนตุลา ที่เจ้าตัวยอมรับตรงๆ เคยเป็นคอมมิวนิสต์มาก่อน

วันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2553

"ความเชื่อ" กับ "ความจริง"

ไพร่แดง

คนร้อยทั้งร้อยมักทำอะไรตามความเชื่อของตัวเอง โลกที่ขับเคลื่อนจากอดีตจนถึงปัจจุบันและกำลังเคลื่อนสู่อนาคตอยู่อย่างไม่ขาดสาย ไม่ว่าผลจะเกิดขึ้นอย่างไร พลังของความเชื่อเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการผลักดันปรากฏการณ์ ต่างๆ

"สำคัญอยู่ที่ว่า ความเชื่อนั้นเป็นเรื่องเดียวกันกับความจริงหรือไม่"

มนุษยชาติได้สร้างวัฒนธรรมมากมายจากความเชื่อ ขณะเดียวกันมนุษย์ก็ได้ทำลายและสูญเสียโอกาสมากมายจากความเชื่อเช่นกัน เมื่อหลายปีก่อนประเทศนี้กระดี๊กระด๊าที่จะได้เป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ เรียกกันติดปากอยู่หลายปี ว่าตัวเองกำลังจะเป็น NIC (Newly Industrialized Countries)) ที่สุดก็ถูกน็อค เพราะมันได้ทำลายโครงสร้างทางสังคมเดิมของประเทศนี้อย่างถาวรไปแล้ว ทรัพยากรถูกนำมาใช้อย่างฟุ่มเฟือยไร้ทิศทาง และไร้การควบคุม ส่งผลและมีอิทธิพลต่อค่านิยม รสนิยมทางสังคมและความเชื่อใหม่อีกมากมาย

คนมีความเชื่อที่ห่างไกลเหตุผลและความจริงมากขึ้น เช่น การแสวงหาการยอมรับจากคนในสังคมด้วยการโอ้อวดความร่ำรวย ที่ไม่สนใจคุณธรรม การแข่งขันแย่งชิง การสวมหน้ากากเข้าหากันเป็นเรื่องที่ยอมรับกันมากขึ้น ทำให้เกิดความสับสนในหมู่คนเพราะ บางครั้งความเชื่อกับความจริงอาจไม่ใช่สิ่งเดียวกัน

เสรีชนคนรากหญ้า...หนึ่งเดียวใน คปร.

สมปอง เวียงจันทร์ อดีตแม่ค้าขายปลาบ้านวังสะแบงใต้ ตำบลหนองแสงใหญ่
อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ที่ล้มละลายเพราะโครงการรัฐอย่าง“เขื่อนปากมูล”


จากคนเรียนจบ ป. 4 ทำงานด้านการต่อสู้เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกการสร้างเขื่อนปากมูล ป้าสมปองเป็นบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากการกระทำของรัฐโดยตรง และมีความคิดว่า“สังคมไม่เคยเท่าเทียม การใช้กฎหมายและเลือกปฏิบัติรวมถึงความเหลื่อมล้ำมีอยู่จริง มีอยู่ทั่วไปและขยายวงกว้าง ขณะที่คนรากหญ้ารู้จักคิด ต่อสู้ และรู้สิทธิมากขึ้น เพราะกติกาของสมัชชาบอกเสมอว่าใครยิ่งมีแต้มต่อมากมักเอาชนะได้ง่าย”

เปิดโฉมหน้าชนชั้นใหม่ในวิกฤตการเมือง

เหตุการณ์รัฐประหาร 2549เป็นตัวเร่งให้ชนชั้นกลางเก่าและชนชั้นใหม่
เกิดการเผชิญหน้า จากงานวิจัยของคณะนักวิจัยจุฬาฯ และธรรมศาสตร์


ผลวิจัยเบื้องต้น ของงานวิจัยเรื่อง การเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจและสังคมของชนชั้นใหม่โดยคณะนักวิจัยจากจุฬาฯ และธรรมศาสตร์ นำโดย ดร.อภิชาติ สถิตนิรามัย จากคณะเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ , ดร.ยุกติ มุกดาวิจิตร จากคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ธรรมศาสตร์ และคณะ

"เขาพระวิหาร" ปลุกกระแสรักชาติ ?.คลั่งชาติ ?

กรณีปราสาทพระวิหารกำลังปลุกกระแสชาตินิยม
แต่ก็ทำคนไทยแตกออกเป็น 2 ขั้วความคิด จนอาจนำไปสู่ความคลั่งชาติได้


ข้อพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชา กรณีการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกสร้างรอยร้าวให้กับทั้ง 2 ประเทศ คนไทยแตกออกเป็น 2 ขั้วความคิด กลุ่มหนึ่งยืนยันว่าเขาพระวิหารเป็นของไทย แต่ตัวปราสาทเป็นของกัมพูชา และให้ถอนตัวออกจากยูเนสโก อีกกลุ่มมองว่าการจะขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ไทยควรเสนอขึ้นร่วมกับกัมพูชาและหาประโยชน์ร่วมกัน มากกว่าจะมาทะเลาะกันในเรื่องเขตแดนเพียงอย่างเดียว

เขาพระวิหาร.มรดกไทย?.มรดกกัมพูชา?.มรดกโลก!

ไทยควรมองไปข้างหน้า เพื่อผลักดันให้“เขาพระวิหาร”เป็นมรดกโลก
ข้ามเขตแดนและสร้างประโยชน์จากสิ่งที่มี ที่สำคัญต้องจริงใจต่อเพื่อนบ้าน


จากกรณีที่กัมพูชาได้เสนอให้ "ปราสาทเขาพระวิหาร " เป็นมรดกโลก โดยเป็นการเสนอของกัมพูชาแต่เพียงฝ่ายเดียว ทั้งที่พื้นที่บริเวณปราสาทเขาพระวิหารอยู่ชิดติดเขตแดนไทยและจะมีผลกระทบต่อประเทศไทย ทำให้ไทยคัดค้านในที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก จึงมีการเลื่อนการเสนอเรื่องนี้ออกไป เพื่อให้ไทยและกัมพูชาหาข้อยุติร่วมกันต่อกรณีนี้

วันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2553

จับตาภาคประชาชน

กิตติชัย งามชัยพิศิษฐ์
จากสถาบันต้นกล้า
นักพัฒนารุ่นกลางเก่ากลางใหม่

พูดถึงปัญหาของ"ภาคประชาชน"ที่ช่างดูเหมือนเลื่อนลอยและกระจุกกระจุยจนจับต้องไม่ได้ แต่ในขณะเดียวกันกลับกดทับประชาชนที่เห็นต่างให้เป็นอื่น


คลิปวีดีโอสั้นๆ จากกลุ่ม"Thai Social Movement Watch (TSMW)" หรือ "กลุ่มจับตาขบวนการประชาสังคมไทย" ซึ่งประกอบด้วยอดีตและปัจจุบันของนักพัฒนากลุ่มเล็กจำนวนหนึ่งซึ่งตั้งคำถามถึงการดำรงอยู่ของวาทกรรม "ภาคประชาชน" ที่ซ้ำเติมต่อชีวิตของคนเสื้อแดงกว่า 90 ชีวิต ที่สูญสลายอย่างไร้ค่าในสายตาของผู้ที่สะดีดสะดุ้งต่อการถล่มทลายของโรงภาพยนต์สยามและห้างสรรพสินค้า Central World

กันยา ปันกิติ
ความเห็นชาวบ้านต่อ‘ขบวนการภาคประชาชน’และ‘NGO’
กลุ่มจับตาขบวนการประชาสังคมไทย
Thai Social Movement Watch (TSMW)

"เอ็นจีโอควรปรับตัวในเรื่องของการครอบงำ... การครอบงำภาคประชาชน...” กันยา ปันกิติ ชาวบ้านผู้เคลื่อนไหวเพื่อการปฏิรูปที่ดินให้คนจนมีสิทธิทำอยู่ ทำกิน สมาชิกเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย


ความเห็นของ กันยา ปันกิติ ชาวบ้านเครือข่ายชุมชนรักเทือกเขาบรรทัด สมาชิกเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย อ.รัษดา จ.ตรัง ต่อ “ขบวนการภาคประชาชน” และ “NGO” ใน ซีรี่ส์สั้นๆ “NGO เป็นไงในขบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาชน” กิจกรรมตีปี๊บ “เวทีทบทวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในประเทศไทย” โดย Thai Social Movement Watch: TSMW หรือในชื่อภาษาไทยว่า “กลุ่มจับตาขบวนการประชาสังคมไทย”

เมื่อภาคประชาชน คือ คนส่วนใหญ่ของประเทศ คือภาคประชาชน คนยากคนจน และเอ็นจีโอ ถือเป็น ส่วนหนึ่งของภาคประชาชน ที่ช่วยในการเชื่อมประสานกับภาคส่วนต่างๆ และถึงวันนี้ภาคประชาชนก็ยังต้องการเอ็นจีโออยู่

“เอ็นจีโอควรปรับตัวในเรื่องของการครอบงำ... การครอบงำภาคประชาชน... อยากให้มีส่วนหนุน ส่วนเสริม ไม่ใช่มาครอบงำพี่น้องชาวบ้าน..” นี่คือมุมมองของกันยา และสำหรับเธอเอ็นจีโอควรเป็นผู้ประคับประคอง เพื่อให้เขาได้ยืนด้วยตนเอง

กันยา ปันกิติ เธอคือชาวบ้านผู้ประสบปัญหาการประกาศเขตป่าทับที่ดินทำกิน ในพื้นที่ จ.ตรัง และได้เข้าร่วมเคลื่อนไหวต่อสู้กับเครือข่ายองค์กรชุมชนรักเทือกเขาบรรทัด ในเครือข่ายปฏิรูปที่ดินฯ ก้าวสู่การเป็นตัวแทนเจรจากับภาครัฐ ขณะนี้เธอคือหนึ่งในคณะกรรมการอำนวยการแก้ไขปัญหาของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกันระหว่างเครือข่ายปฏิรูปที่ดินฯ กับรัฐบาล ในวันที่กระแสการปฏิรูปเป็นที่แพร่หลายในสังคม

(สัมภาษณ์เมื่อ 3 ส.ค.53 ที่สำนักงานกลุ่มปฏิบัติการท้องถิ่นสากล)
........................................................................................................................
หมายเหตุ: กลุ่มจับตาขบวนการประชาสังคมไทย (Thai Social Movement Watch) เป็นการรวมตัวกันของนักกิจกรรมทางสังคม นักพัฒนา อดีตนักพัฒนา นักศึกษา และนักวิชาการ ซึ่งมีความเกี่ยวข้อง สนใจ และห่วงใยในสภาวการณ์ของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมไทยภายใต้สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบัน

ที่มา : ประชาไท