เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม เลขทะเบียน ๘๖๙ สภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า

อุดมการณ์สถานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตย

เรา...มั่นใจว่า
ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา
ประเทศไทย เป็นของเราทุกคน
เรา ต้องร่วมกันสร้างชาติไทย ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์  พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การเมือง ประชาสังคม ทุนทางสังคม

ในเรื่องความหมายของการเมือง และการให้ความหมายของการเมืองอย่างสอดคล้องกับความหมายของธรรมะ ท่านพุทธทาสกล่าวสรุปไว้อย่างชัดเจนว่า

“ขอ ให้นึกถึงความหมายของ ธรรมะ ใน 4 ความหมาย : ธรรมะคือปรากฏการณ์ทั้งปวง, ธรรมะคีอกฎของธรรมชาติ, ธรรมะคือหน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ, ธรรมะคือผลที่จะได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่นั้นๆ, นี่มันเกี่ยวกับโลกนี้อยู่อย่างแยกกันไม่ออก.

“บ้านเมือง ทั้งหลาย นี่คือปรากฏการณ์ของธรรมชาติ ; เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดปัญหาขึ้นมา ; แม้เป็น ปัญหาทางการเมือง, มัน เป็นไปตามกฎของธรรมชาติ. มนุษย์มี หน้าที่ ที่จะต้องสะสางมัน : เรื่องการเมือง เรื่องปฏิบัติทางการเมือง นี้ก็ เพื่อจะสะสางปัญหาของมนุษย์ให้หมดไป, คือขจัดความทุกข์ ความยาก ลำบาก ให้มันหมดไป แล้วในที่สุดก็ ได้รับความสงบสุข ซึ่งก็ เป็นธรรมะอีกความหมายหนึ่ง.

“ฉะนั้นทุกคนมันหลีกไปจากกฎเกณฑ์อันนี้ไม่ได้ ; เราจะหลีกไปจากการกระทำ ที่กำลังกระทำอยู่เพื่อสิ่งนี้ก็ไม่ได้. ขอให้ มองดูในแง่ลึก ถึงขนาดนี้เป็นอย่างน้อย ก็จะรู้ว่า สิ่งที่เรียกว่า การเมือง นั้น มัน มีอยู่แก่คนทุกคน ; กระทั่งว่าคนทุกคน มีส่วนแห่งการเป็นนักการเมืองไม่มากก็น้อย. นี้เป็นสิ่งที่ต้องทบทวน ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว.”
(เครื่องหมายวรรคตอน และการเน้นตัวเอนตัวหนา ในข้อความข้างต้นนี้ ผมคงไว้ตามต้นฉบับของท่านพุทธทาสอย่างเคร่งครัด)
และจากแนวการพิจารณาดังกล่าวนี้ ท่านพุทธทาสจึงให้คำจำกัดความ “การเมือง” ว่า หมายถึง “ระบบการจัดหรือการกระทำ เพื่อคนจำนวนมากจะอยู่กันโดยปราศจากปัญหา โดยไม่ต้องใช้อาชญา” คำว่า “อาชญา” ในที่นี้ หมายถึง การใช้ความรุนแรง ดังนั้น วลีที่ว่า “โดยไม่ต้องใช้อาชญา” ผมเข้าใจว่า ย่อมหมายถึงสิ่งที่นักรัฐศาสตร์และนักกิจกรรมทางการเมืองจำนวนมาก เรียกว่า “การไม่ใช้ความรุนแรง” หรือ “สันติวิธี” หรือ “non-violence” นั่นเอง

วันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การเมืองกับธรรมของท่านพุทธทาสภิกขุ

ความหมายของการเมือง

ที่กล่าวมาแล้ว คือประเด็นใหญ่ประเด็นแรก อันได้แก่ ท่าทีพื้นฐานเกี่ยวกับการเมือง
ประเด็นใหญ่ถัดมาของ “ธรรมะกับการเมือง” คือ ความหมายและความเป็นมาของการเมือง
ในเรื่องความหมายของการเมือง ท่านพุทธทาสภิกขุเริ่มต้นโดยชี้ให้เห็นถึงสถานะและความหมายของการเมือง ในโครงสร้างความหมายโดยรวมของ “ธรรม”

ผู้ที่คุ้นเคยกับงานเขียนงานบรรยายของท่านพุทธทาส คงทราบดีว่า ท่านพุทธทาส มักชี้ให้เห็นถึงความหมายของธรรมะ ในสี่ลักษณะด้วยกัน

ความหมายที่ 1 คือ สภาวธรรม อันหมายถึง “สิ่งที่กำลังมีอยู่ เป็นอยู่ ตามธรรมชาติ ที่ปรากฏอยู่แก่เรานี้” ทั้งในทางรูปธรรมและนามธรรม ทั้งในสภาวะที่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง และปราศจากเหตุปัจจัยปรุงแต่ง
ทั้งหมดของสภาวธรรมนี้ ย่อมมีอยู่ ดำรงอยู่ เนื่องด้วยพื้นฐานของสภาวธรรมทั้งปวง อันได้แก่ หลักปฏิจจสมุปบาท ซึ่งสรุปใจความสั้นๆ ตามคำกล่าวของท่านพุทธทาสได้ว่าคือ “การอาศัยกันแล้วเกิดขึ้นครบถ้วน” หรือ “อาการที่มันปรุงแต่งกันระหว่างเหตุกับผล”

ประเด็นสำคัญในความหมายที่หนึ่งนี้อยู่ที่ว่า การเมืองย่อมเป็นปรากฏการณ์ในสภาวธรรมทั้งหมดนี้ด้วยเช่นกัน มิได้มีการแยกขาดว่า สภาวธรรมทั้งหลายที่ปรากฏแก่มนุษย์เป็นเรื่องหนึ่ง และการเมืองซึ่งเกี่ยวพันกับการกระทำของมนุษย์นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ดังที่ท่านกล่าวสรุปว่า “การเมืองรวมอยู่ในคำว่า ธรรมชาติ” นั่นเอง

วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2554

“อิสรภาพในการใช้สติปัญญา”

“อิสรภาพในการใช้สติปัญญา”
โดยท่านพุทธทาสภิกขุ

สำหรับท่านพุทธทาสภิกขุ ท่าทีพื้นฐานประการสำคัญที่สุดในการพิจารณาประเด็นธรรมะกับการเมือง คือสิ่งที่ท่านเรียกว่า “อิสรภาพในการใช้สติปัญญา”

การที่เราไม่มีอิสรภาพหรือเสรีภาพในการใช้สติปัญญานั้น เกิดขึ้นเพราะ “เราถูกกระทำให้เป็นทาสทางสติปัญญา อย่างไม่มีอิสรภาพ หรือไม่มีเสรีภาพ” และโดยพื้นฐานแล้ว อิสรภาพทางสติปัญญานี้ “มีความสำคัญทั้งทางฝ่ายโลกและฝ่ายศาสนา”
ในฝ่ายศาสนา ท่านพุทธทาสหมายถึง การที่พุทธบริษัทไม่สามารถหรือไม่กล้าพอที่จะใช้วิจารณญาณของตน เมื่อพบว่าสิ่งที่ตนเข้าใจ ปฏิบัติ หรือได้รับผลนั้น ขัดกับแนวทางที่ยอมรับกันอย่างงมงาย ส่วนในทางโลกนั้น คือการตกอยู่ในสภาพ “เป็นทาสทางสติปัญญา อย่างไม่มีอิสรภาพ” เพราะเห็นว่าเขาว่ามาอย่างนั้น หรือนิยมกันมาอย่างนั้น ท่านพุทธทาสยืนยันเรื่องนี้อย่างชัดเจนว่า

“ถ้าท่านไม่มีอิสรภาพ เสรีภาพในการคิดนึก นอกไปจากที่เคยเรียนมาอย่างปรัมปรา ท่านก็ไม่อาจเข้าใจความจริงแท้ใดๆ ได้ ถึงที่สุด”

วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2554

หลักความเชื่อในพระพุทธศาสนา "มงตลตื่นข่าว"

โดย พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)

พระพุทธศาสนาสอนให้คนเชื่อโดยใช้เหตุผล ใช้ปัญญา เราศึกษา ธรรมะหมวดใดก็ตาม ถ้ามีศรัทธาขึ้นต้น ต้องมีปัญญาประกบท้าย ศรัทธา-ศีล-สมาธิ-ปัญญา ต้องอยู่ด้วยกัน เพราะมีศรัทธาขาดปัญญา จึงงมงาย เชื่อ ง่ายใครเขาก็จะจูงจมูกไปได้ตามปรารถนา เสียผู้เสียคน ถูกหลอก ถูกต้มยุบ ยับไปหมด ใครเขาพูดอะไรก็เชื่อทั้งนั้นพอถามว่า "ใครว่า?" ก็ตอบว่า "เขาว่า" พอถามว่า "เขาไหน?" เขาหลวง" "หลวงไหน"-หลวงพรหม" "พรหมไหน?-พรหมศร" "ศรไหน?-ศรยิง" "ยิงไหน?-ยิงนก" "นกไหน?-นกเขา" "เขาไหน-เขาหลวง" นั่นมันก็ไม่ได้เรื่องแล้ว

เขาบอกว่า "มีวัว ๕ เขา" เชื่อ เขาบอกว่า "มีต้นกล้วยที่ออกปลีมา กลางต้น" ก็เชื่อ แล้วไม่ใช่เชื่อเฉยๆ ไปไหว้ด้วย ไปขอหวยขอเบอร์ เอาทองไปปิด ถ้าต้นไม้มันพูดได้ มันคงพูดว่า "พวกแกมาไหว้ข้าทำไมกัน ข้ามันเป็นต้นกล้วย ข้าไม่เก่งเท่ามนุษย์ทั้งหลาย แต่มนุษย์มันโง่จริง มาไหว้ ข้าได้" กล้วยมันก็ด่าให้เท่านั่นเอง แต่ว่ามันด่าไม่ได้ เราก็เลยไปไหว้มัน เที่ยวไหว้นั้น ไหว้นี่ ตามความเชื่อที่ไม่เป็นสาระ ไม่มีเหตุผล พระพุทธเจ้า ไม่สรรเสริญความเชื่อแบบนั้น
บัณฑิตไม่เชื่ออะไรง่ายๆ

ครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าแสดงธรรมให้พระสารีบุตรฟัง พระสารีบุตร นี่เป็น "มือขวา" ของพระพุทธเจ้าในการเผยแผ่ธรรมะ พระโมคคัลลานะ เป็น "มือซ้าย" พอพระพุทธเจ้าเทศน์จบลง ก็ทรงตรัสถามว่า "สารีบุตร... เธอเชื่อไหม ที่ตถาคตกล่าว" "ยังไม่เชื่อพระเจ้าข้า" พระสารีบุตรตอบ พระพุทธเจ้าจึงทรงตรัสว่า "ชอบแล้ว เป็นบัณฑิตผู้มีปัญญาต้องไม่เชื่ออะ ไรง่ายๆ" เพียงรับรู้ไว้ก่อนแล้วเอาไปพิจารณาค้นคว้าให้เห็นเหตุเห็น ผลด้วยตนเอง จึงจะเชื่อ ได้ยินได้ฟังอะไรต้องพิจารณา โดยรอบคอบ จน ประจักษ์ชัดแก่ใจแล้วจึงปลงใจเชื่อลงไป นี่คือ หลักความเชื่อในพระพุทธ ศาสนา
ฤกษ์หิว-ฤกษ์ตาย

วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ประกาศนิติราษฎร์

เสรีภาพสื่อ = การคุ้มครองสื่อจากรัฐ + การคุ้มครองประชาชนจากสื่อ
สาวตรี สุขศรี

เกริ่นนำ
ดูเหมือนฝุ่นที่ถูกตีกวนจนฟุ้งกระจายจากข้อเสนอของคณะนิติราษฏร์ตั้งแต่วันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๔ จางหายไปแล้วในสื่อกระแสหลัก (ยังมีบางสำนักเท่านั้นที่เล่นต่อไม่ปล่อย เช่น ไทยโพสต์) แต่ถ้าดูให้ดี ๆ จะพบว่าแท้จริงแล้วเรื่องนี้ยังไม่จบ เพียงแต่ถูกย้ายฐานเข้าไปตลบอบอวลอยู่ในเคเบิ้ลทีวี วิทยุชุมชน อินเทอร์เน็ต และเครือข่ายออนไลน์อย่างเฟสบุ๊กหรือทวิตเตอร์ อย่างไรก็ดี แม้จะเป็นฝุ่นจากเรื่องเดียวกัน แต่เนื้อหาของฝุ่นในสื่อทั้งสองประเภทดูค่อนข้างแตกต่าง ลักษณะการวิพากษ์วิจารณ์ การให้เหตุผล การมีส่วนร่วมของผู้รับสื่อ ราวกับอยู่กันคนละโลก ปรากฏการณ์นิติราษฏร์ครั้งนี้สะท้อนอะไรบ้างเกี่ยวกับสื่อมวลชนไทย

ปรากฎการณ์นิติราษฎร์
คืนวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๔ คณะนิติราษฏร์ ตัดสินใจตั้งโต๊ะแถลงข้อเสนอทางวิชาการ ๔ ข้อ ในวันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๔ ณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในโอกาสที่อีกหนึ่งวันจะครบรอบ ๑ ปีก่อตั้งคณะนิติราษฏร์ ซึ่งเป็นวันเดียวกับวันรัฐประหารยึดอำนาจจากมือประชาชนเมื่อ ๕ ปีก่อน วัตถุประสงค์เพียงเพื่อสรุปสิ่งที่นิติราษฏร์ทำมาแล้วในรอบปี กับเสนอประเด็นใหม่เพื่อให้เกิดการถกเถียงทางวิชาการ และให้สังคมได้นำไปขบคิดต่อ แต่พลันที่นิติราษฏร์แถลงข้อเสนอออกไป ปฏิกิริยาต่อข้อเสนอดังกล่าวทั้งในสื่อกระแสหลักและสื่อทางเลือกคึกคัก ดุเดือด นอกเหนือความคาดหมายของสมาชิกในกลุ่ม อย่างไรก็ตาม สัปดาห์แรกภายหลังแถลงข้อเสนอ ประเด็นเดียวที่ถูกหยิบจับขึ้นวิพากษ์อย่างร้อนแรงตามหน้าหนังสือพิมพ์ ก็คือ ข้อ ๑ เสนอให้ลบล้างผลพวงของรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙

ประเด็นที่ ๑
การลบล้างผลพวงของรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙

วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554

คนเดือนตุลา 2516

แตกหัก
-------------------------------------------
ในระหว่างที่มีการต่อสู้กันนั้น นักศึกษาและประชาชนได้ผนึกกำลังกัน และเผากรมประชาสัมพันธ์ ด้วยความโกรธแค้น ที่ได้ออกข่าวให้ร้ายป้ายสีตลอดเวลา แต่สารวัตรทหารเรือ ในความควบคุมของ น.อ.หม่อมหลวง เพ็ญศักดิ์ กฤดากร สามารถพูดขอร้องนักเรียนนักศึกษาไว้ได้ ส่วนสถานที่ราชการที่วอดวายในเพลิง คืก สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล สำนักงาน กตป. กองบัญชาการตำรวจนครบาล และโรงพักนางเลิ้ง นอกจากนั้นยังมีรถยนต์อีกหลายคันทั้งรถยนต์ส่วนตัวและรถเมล์ ถูกเผาและทำลายด้วย

แม้ว่าจอมพลถนอม จะลาออกจากการบริหารปะเทศไปแล้ว เมื่อตอนเย็นวันที่ 14 ตุลาคม แต่ในตอนดึกตั้งแต่หลังเที่ยงคืนเป็นต้นไป จนถึงเช้าวันรุ่งขึ้น จอมพลถนอม กิตติขจร ยังคงสั่งการให้ทหารตำรวจใช้มาตรการรุนแรง ปราบปราม นักเรียน นักศึกษาและประชาชน โดยอ้างอำนาจในฐานะผู้บัญชาการทหารสูงสุด และยังได้ระบุว่าผู้ที่ต่อต้าน ทหารตำรวจ เป็นผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์

วันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ความเป็นกลางคือ “ความชอบธรรม” หรือจะเป็นแค่วาทกรรมแห่งยุคสมัย

เมื่อมีสถานการณ์ขัดแย้งเกิดขึ้น ก็จะเกิดคู่กรณีสองฝ่าย ซึ่งต่างฝ่ายก็เรียกร้องหาความเป็นธรรมให้แก่ฝ่ายตน ประชาชนที่อยู่ข้างฝ่ายปริมาณ ก็จะอ้างเอามวลชนและปริมาณมาสร้างความชอบธรรม (พวกมากลากไป) ส่วนประชาชนที่อยู่ข้างฝ่ายคุณภาพ ก็จะอ้างเอาคุณภาพ ฐานะ ชนชั้น (นักวิชาการ นักธุรกิจ นักปราชญ์) มาสร้างความชอบธรรม นี่คือประเด็นความขัดแย้งที่หาจุดประนีประนอมกันได้ยาก

สถานการณ์ขัดแย้งต่างๆ มีสาเหตุมาจากการเบียดเบียนกันเองของคนในสังคมนั้น และเกิดจาก โครงสร้างของเศรษฐกิจ สังคม การเมือง มีสภาพบิดเบี้ยว ไม่สมประกอบ เกิดการทุจริตคอรัปชั่น การค้นหาต้นเหตุของปัญหาดังกล่าว จะต้องกระทำอย่างรอบคอบ มองให้รอบถ้วน เซาะให้ถึงรากเหง้าของปัญหา ด้วยการนำข้อมูลทั้งเชิงปริมาณ (Quantity fact) และเชิงคุณภาพ (Quality fact) มาร่วมพิเคราะห์พิจารณาด้วย อย่ามองเพียงแง่มุมเดียว หรือเพียงด้านเดียว มิฉะนั้นถ้าตัดสินลงไป ก็จะเกิดความไม่ธรรม หรือขาดความเป็นกลางทันที นอกจากจะแก้ไขปัญหาไม่ได้แล้ว เท่ากับจุดไฟให้ข้อขัดแย้งมันรุนแรงขึ้น

วันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2554

สรุปเหตุการณ์ตั้งแต่วันที่ ๕ ตุลาคม – ๑๕ ตุลาคม ๒๕๑๖ วันมหาวิปโยค บทเรียนจากอดีต

วันที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๖
ธีรยุทธ บุญมี อดีตเลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย บัณฑิตวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะผู้ประสานงานกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ พร้อมด้วยสมาชิกประมาณ 10 คน เปิดแถลงข่าวที่บริเวณสนามหญ้าท้องสนามหลวง ด้านอนุสาวรีย์ทหารอาสา โดยมีวัตถุประสงค์ คือ
๑. เรียกร้องให้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญโดยเร็ว
๒.จัดหลักสูตรสอนอบรมรัฐธรรมนูญสำหรับประชาชน
๓. กระตุ้นประชาชนให้สำนึกและหวงแหนในสิทธิเสรีภาพ
ธีรยุทธ บุญมี นำรายชื่อผู้ลงนามเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ๑๐๐ คนแรก ประกอบด้วยบุคคลต่าง ๆ มาเปิดเผย เช่น พล.ต.ต สง่ากิตติขจร นายเลียง ไชยกาล นายพิชัย รัตตกุล นายไขแสง สุกใส นายประพันธ์ศักดิ์ กมลเพชร รวมทั้งอาจารย์มหาวิทยาลัย เช่น ดร.เขียน ธีรวิทย์ ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน ดร.ปราโมทย์ นาครทรรพ ดร.ชัยอนันต์ สมุทรทวณิช อาจารย์ทวี หมื่นนิกร เป็นต้น รวมทั้งจดหมายเรียกร้องจากนักเรียนไทยในนิวยอร์ค

ทันทีที่ข่าวนี้ออกมา พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร รองเลขาธิการคณะกรรมการติดตามผลการปฏิบัติราชการ บุตรชายของจอมพลถนอม กิตติขจร และบุตรเขยของจอมพลประภาส จารุเสถียร ได้ให้สัมภาษณ์ว่า มีอาจารย์ในมหาวิทยาลัยบางคน กำลังดำเนินการให้นิสิตนักศึกษาเดินขบวน และหากมีการเดินขบวนแล้วไม่ผิดกฎหมายอีกก็จะนำทหารมาเดินขบวนบ้าง เพราะทหารก็ไม่อยากจะไปรบเหมือนกัน