เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม เลขทะเบียน ๘๖๙ สภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า

อุดมการณ์สถานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตย

เรา...มั่นใจว่า
ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา
ประเทศไทย เป็นของเราทุกคน
เรา ต้องร่วมกันสร้างชาติไทย ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์  พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วันอาทิตย์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2555

กฎหมายคืออะไร ? อะไร คืออำนาจสูงสุดในประเทศไทย

การที่เราจะอ่านหนังสือกฎหมาย หรือ จะเรียนกฎหมาย ถ้าหากเราไม่รู้ว่า สิ่งที่เรา จะอ่าน จะเรียน คืออะไร เสียก่อน ก็เป็นการยากที่จะทำความเข้าใจในสิ่งนั้น.
วิธีแก้ความทุกข์ เรื่องไม่รู้ว่ากฎหมายคืออะไร ?
ทำได้โดยเราต้องค้นคว้าหาความหมาย ให้ทราบเสียก่อนว่า กฎหมายคืออะไร?
คำว่า "กฎหมาย" เป็นคำศัพท์ ภาษาไทย ที่สำคัญคำหนึ่ง ซึ่งทางราชการ บัญญัติขึ้น และได้ให้คำนิยามความหมายไว้. ดังนั้น คู่มือ ที่เราจะใช้ค้นคว้าที่ดีที่สุด คือ หนังสือพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕.
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ให้คำนิยามความหมายของคำว่ากฎหมายไว้
กฎหมาย
๐ บทบัญญัติซึ่งผู้มีอำนาจสูงสุดในประเทศ ได้ตราขึ้นไว้ เพื่อใช้ในการบริหารบ้านเมือง และบังคับบุคคลในความสัมพันธ์ระหว่างกัน ผู้ใดฝ่าฝืนต้องได้รับโทษ หรือต้องถูกบังคับให้ปฏิบัติตาม (ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๑)
จากคำนิยามความหมายดังกล่าว คำว่า กฎหมาย สามารถแยกองค์ประกอบ ออกได้เป็น ๔ ข้อคือ

วันอาทิตย์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2555

ความหมายของการเมือง อุดมคติอย่างหนึ่ง เพื่อความสันติของมวลมนุษย์

ที่กล่าวมาแล้ว คือประเด็นใหญ่ประเด็นแรก อันได้แก่ ท่าทีพื้นฐานเกี่ยวกับการเมือง
ประเด็นใหญ่ถัดมาของ “ธรรมะกับการเมือง” คือ ความหมายและความเป็นมาของการเมือง
ในเรื่องความหมายของการเมือง ท่านพุทธทาสภิกขุเริ่มต้นโดยชี้ให้เห็นถึงสถานะและความหมายของการเมือง ในโครงสร้างความหมายโดยรวมของ “ธรรม”
ผู้ที่คุ้นเคยกับงานเขียนงานบรรยายของท่านพุทธทาส คงทราบดีว่า ท่านพุทธทาส มักชี้ให้เห็นถึงความหมายของธรรมะ ในสี่ลักษณะด้วยกัน
ความหมายที่ 1 คือ สภาวธรรม อันหมายถึง “สิ่งที่กำลังมีอยู่ เป็นอยู่ ตามธรรมชาติ ที่ปรากฏอยู่แก่เรานี้” ทั้งในทางรูปธรรมและนามธรรม ทั้งในสภาวะที่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง และปราศจากเหตุปัจจัยปรุงแต่ง
ทั้งหมดของสภาวธรรมนี้ ย่อมมีอยู่ ดำรงอยู่ เนื่องด้วยพื้นฐานของสภาวธรรมทั้งปวง อันได้แก่ หลักปฏิจจสมุปบาท ซึ่งสรุปใจความสั้นๆ ตามคำกล่าวของท่านพุทธทาสได้ว่าคือ “การอาศัยกันแล้วเกิดขึ้นครบถ้วน” หรือ “อาการที่มันปรุงแต่งกันระหว่างเหตุกับผล”

วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2555

โอวาทปาติโมกข์ โครงสร้างคำสอนในพุทธศาสนา ที่มาของวันมาฆะบูชา

โอวาทปาติโมกข์ คือ โอวาทที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสให้กับผู้ที่ยังไม่หมดกิเลสฟัง เพื่อจะได้ปรับปรุงตัวเองให้ดี จะได้หมดกิเลสเป็นพระอรหันต์

พระเดชพระคุณพระภาวนาวิริยคุณ ( หลวงพ่อทัตตชีโว) ได้เรียบเรียงจากพระธรรมเทศนา เรื่องโอวาทปาติโมกข์ และเทศน์ให้แก่ญาติโยม เมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 เดือนกันยายน พ.ศ. 2551 ดังนี้

วันนี้ หลวงพ่อตั้งใจที่จะมาเทศน์เรื่องโอวาทปาฏิโมกข์ให้กับพวกเรา ซึ่งโอวาทนี้ เป็นเรื่องใหญ่ ว่าด้วยหลักการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนา ให้กับกัลยาณมิตรรุ่นแรกของโลก ก่อนที่จะออกไปประกาศธรรม เมื่อวันมาฆบูชาครั้งแรกนั่นเอง

โอวาทปาฏิโมกข์นี้ เป็นโอวาทที่แปลก คือโอวาทต่างๆ นั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสให้กับผู้ที่ยังไม่หมดกิเลสฟัง เพื่อจะได้ปรับปรุงตัวเองให้ดี จะได้หมดกิเลสเป็นพระอรหันต์ แต่โอวาทปาฏิโมกข์นี้ เป็นบทเทศน์ที่พระองค์ ตรัสให้กับพระอรหันต์ผู้หมดกิเลสแล้วจำนวน 1,250 รูปฟัง ซึ่งต้องวางหลักการต่างๆ ให้เรียบร้อย เพื่อพระอรหันต์ทั้ง 1,250 รูปนั้น จะได้ไปทำหน้าที่ เป็นกัลยาณมิตร ปลุกสัตวโลกให้พลิกฟื้นตื่นจากกิเลส และประกาศพระศาสนาอย่าง เป็นระเบียบแบบแผน เป็นปึกแผ่นเหมือนๆ กัน

วันเสาร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2555

“ธรรมะกับการเมือง” ของ พุทธทาสภิกขุ

โดย วีระ สมบูรณ์

(เรียบเรียงจากปาฐกถาเรื่อง “การเมืองต้องเป็นเรื่องศีลธรรม” ในรายการ พุทธทาส ๑๐๐ ปี: ร้อยใจ ฟื้นไทย ให้คืนธรรม สวนโมกข์เสวนา ครั้งที่ ๑๐ วันเสาร์ที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๔๙ ณ ห้องประชุม ๓๐๕ อาคารหอประชุม มหาวิทยาลัยศิลปากร (วังท่าพระ) จัดโดย เครือข่ายธรรมโฆษณ์ ร่วมกับสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ตีพิมพ์ครั้งแรกใน มติชนสุดสัปดาห์ ระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๔๙ ถึง กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐)

“ทุกคนเป็นนักการเมืองโดยความรู้สึก”
“ธรรมะกับการเมือง” เป็นคำบรรยายที่ท่านพุทธทาสภิกขุ แสดงที่สวนโมกขพลาราม ณ บริเวณ ลานหินโค้ง เชิงเขาพุทธทอง โดยเป็นการบรรยายประจำทุกวันเสาร์ ในช่วงที่ท่านกำหนดให้เป็นการบรรยาย ภาคอาสาฬหบูชา ระหว่างวันที่ 3 กรกฎาคม 2519 ถึงวันที่ 25 กันยายน 2519 รวม 11 ครั้ง
ต่อมา ธรรมทานมูลนิธิ จึงตีพิมพ์คำบรรยายนี้ออกมาเป็นหนังสือเป็นครั้งแรก เมื่อปี 2522 เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือชุดธรรมโฆษณ์ของพุทธทาสภิกขุ อันดับที่ 18 จ.