เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม เลขทะเบียน ๘๖๙ สภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า

อุดมการณ์สถานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตย

เรา...มั่นใจว่า
ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา
ประเทศไทย เป็นของเราทุกคน
เรา ต้องร่วมกันสร้างชาติไทย ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์  พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ต้องยอมรับคำวินิจฉัยที่ไม่เป็นธรรมด้วยหรือ

จาตุรนต์ ฉายแสง
10 กรกฎาคม 2555
   แต่ถ้าปล่อยให้มีการแสดงความเห็นในทางยอมรับหรือเห็นด้วยกับคำวินิจฉัยแต่เพียงทางเดียว จะเกิดความยุติธรรมจริงหรือ  
   บางทีเราก็ลืมกันไปว่าคำว่ายุติธรรมนั้นคือ ยุติด้วยการตัดสินที่เป็นธรรม หากตัดสินด้วยความไม่เป็นธรรมแล้วความขัดแย้งนอกจากจะไม่ยุติ ยังอาจจะยิ่งสับสนวุ่นวายยิ่งขึ้นอีกด้วย”
มีเสียงเรียกร้องจากฝ่ายที่ต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า เมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยกรณีที่มีผู้ร้องตามมาตรา 68 ในวันศุกร์ที่ 13กรกฎาคมนี้แล้วทุกฝ่ายควรจะยอมรับคำวินิจฉัยนั้น บางคนก็ไปไกลถึงขั้นที่เสนอว่า ไม่ว่าศาลจะวินิจฉัยออกมาอย่างไรทุกฝ่ายก็ต้องยอมรับ มิฉะนั้นสังคมก็จะวุ่นวาย
   ผมขอตั้งคำถามว่าจำเป็นด้วยหรือที่ทุกฝ่ายทุกคนจะต้องยอมรับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ และจริงหรือที่ว่าหากไม่ยอมรับแล้วสังคมจะวุ่นวาย
คำว่า ควรยอมรับหรือ ต้องยอมรับ ถ้ามาจากคู่ความหรือผู้มีส่วนได้เสียก็มักมาจากฝ่ายที่เชื่อว่าคำวินิจฉัยจะตรงกับความเห็นของตนหรือเป็นประโยชน์ต่อฝ่ายตน    ต้องการให้เรื่องที่ขัดแย้งกันอยู่นั้นยุติลงตามคำวินิจฉัย
   ผู้ที่กำลังเรียกร้องอย่างแข็งขันให้ทุกฝ่ายยอมรับคำวินิจฉัยครั้งนี้ ก็ดูจะได้แก่คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และคุณชวน หลีกภัย
   แต่ถ้าปล่อยให้มีการแสดงความเห็นในทางยอมรับหรือเห็นด้วยกับคำวินิจฉัยแต่เพียงทางเดียว จะเกิดความยุติธรรมจริงหรือ  
   บางทีเราก็ลืมกันไปว่าคำว่ายุติธรรมนั้นคือ ยุติด้วยการตัดสินที่เป็นธรรม หากตัดสินด้วยความไม่เป็นธรรมแล้วความขัดแย้งนอกจากจะไม่ยุติ ยังอาจจะยิ่งสับสนวุ่นวายยิ่งขึ้นอีกด้วย
เพราะฉะนั้นถ้าจะให้เกิดความยุติธรรมขึ้นจริงๆ เมื่อมีคำวินิจฉัยออกมา ควรเปิดโอกาสให้คนแสดงความเห็นได้ทั้งทางที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยนั้น  
   กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินในวันที่ 13 นี้  เมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยออกมาอย่างไร ย่อมผูกพันองค์กรต่างๆ องค์กรที่เกี่ยวข้องก็ย่อมต้องปฏิบัติตาม เช่น ถ้าศาลฯสั่งให้รัฐสภายุติการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา291 ที่กำลังทำกันอยู่ รัฐสภาก็ไม่สามารถลงมติในวาระที่ 3 ต่อไปได้ การแก้รัฐธรรมนูญก็ต้องยุติลง แล้วหากใครอยากจะแก้อีกก็คงต้องไปเริ่มต้นกันใหม่
   แต่ ปฏิบัติตามกับ ยอมรับไม่จำเป็นต้องไปทางเดียวกันเสมอไป และ ปฏิบัติตาม กับ เห็นด้วยก็ไม่จำเป็นต้องไปทางเดียวกัน องค์กรที่เกี่ยวข้องหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ แต่ไม่จำเป็นต้องยอมรับหรือเห็นด้วยกับคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ

   คำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ย่อมมีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ผู้ที่เห็นด้วยย่อมมีสิทธิที่จะแสดงความเห็นด้วยหรือชื่นชมกับคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ  ขณะเดียวกันผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับคำตัดสินของศาลก็มีสิทธิที่จะแสดงความไม่เห็นด้วยหรือแม้กระทั่งแสดงการไม่ยอมรับคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ
   ดังนั้นใครที่ไม่เห็นด้วยหรือไม่ยอมรับคำตัดสินของศาล  ย่อมมีสิทธิแสดงความเห็นของตนได้โดยไม่จำเป็นต้องทำตามความเห็นของคุณอภิสิทธิ์หรือคุณชวนที่ออกมาพูดเพื่อสกัดกั้นการแสดงความคิดเห็นของฝ่ายที่จะไม่เห็นด้วยกับคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ ใครๆก็รู้ว่าหากไม่มีใครโต้แย้งคำวินิจฉัย คุณอภิสิทธิ์กับคุณชวนก็ย่อมจะได้ประโยชน์จากคำวินิจฉัยนั้นไปเต็มๆอยู่แล้ว
   พิจารณาจากความเป็นจริงที่เกิดขึ้น เป็นไปได้ยากมากที่คำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญในครั้งนี้จะเป็นที่ยอมรับของประชาชนส่วนใหญ่ได้ หากจะยึดหลักการตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้เอง หลักการประชาธิปไตยและหลักนิติธรรมหรือแม้แต่หลักความเป็นธรรมหรือสามัญสำนึกปกติทั่วไป จะพบว่ามีเหตุผลหลายประการที่ไม่พึงยอมรับกับคำวินิจฉัยที่กำลังจะเกิดขึ้นดังนี้
1 .ศาลรัฐธรรมนูญได้รับคำร้องไปทั้งที่ไม่มีอำนาจ
2.  ศาลฯกำลังใช้รัฐธรรมนูญมาตรา 68 ไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ของมาตรานี้ที่มีไว้ป้องกันการปฏิวัติรัฐประหารล้มล้างการปกครองฯ  แต่ศาลฯกลับกำลังนำมาใช้เพื่อขัดขวางการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเอง
3. ศาลฯได้สั่งให้รัฐสภาชะลอการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้งๆที่ศาลฯไม่มีอำนาจ
4. ศาลกำลังเข้าไปตรวจสอบร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งๆที่ไม่มีอำนาจตามรัฐธรรมนูญ เป็นการก้าวก่ายแทรกแซงการทำหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ ทำให้ศาลฯมีอำนาจเหนือกว่าฝ่ายนิติบัญญัติในการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ขัดหลักการแบ่งแยกอำนาจ
5. ตั้งแต่ศาลฯรับคำร้องจนกระทั่งวินิจฉัยแล้วเสร็จ มีผลในทางปฏิบัติเท่ากับว่าศาลฯได้แก้รัฐธรรมนูญไปแล้วหลายบทหลายมาตราตามอำเภอใจและ
6. ตุลาการหลายคนมีส่วนได้เสียไม่พึงทำหน้าที่พิจารณาคดีและตุลาการบางคนโดยเฉพาะประธานศาลรัฐธรรมนูญเองได้แสดงความเห็นเอนเอียงไปในทางผู้ร้องในลักษณะชี้นำสาธารณชนและตุลาการด้วยกัน จึงไม่ชอบธรรมที่จะทำหน้าที่พิจารณาคดีนี้ต่อไป

   จากเหตุผลทั้ง 6 ข้อดังกล่าว จะเห็นได้ว่าโอกาสที่ศาลฯจะตัดสินให้เป็นที่ยอมรับว่าถูกต้องชอบธรรมได้ มีอยู่เพียงทางเดียวคือการวินิจฉัยว่ายกคำร้องเนื่องจากศาลฯไม่มีอำนาจพิจารณาคำร้องนี้เท่านั้น
นอกจากนั้นไม่เห็นความเป็นไปได้ที่ศาลฯจะวินิจฉัยให้เป็นที่ยอมรับว่าถูกต้องชอบธรรมได้เลย  แม้ว่าจะยกคำร้อง  แต่ในการวินิจฉัยนั้นหากศาลฯยืนยันอำนาจในการรับคำร้องก็ดี อำนาจในการตรวจสอบร่างรัฐธรรมนูญก็ดี คำวินิจฉัยนั้นก็ไม่ถูกต้องชอบธรรมและจะสร้างความเสียหายต่อประเทศชาติอย่างมากต่อไป ไม่ต้องพูดถึงการวินิจฉัยที่ร้ายแรงกว่านั้นว่าจะไม่ยุติธรรมอย่างไร  และสร้างความเสียหายสักเพียงใด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา