เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม เลขทะเบียน ๘๖๙ สภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า

อุดมการณ์สถานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตย

เรา...มั่นใจว่า
ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา
ประเทศไทย เป็นของเราทุกคน
เรา ต้องร่วมกันสร้างชาติไทย ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์  พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วันอังคารที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2553

พรมแดนความรู้ของการปฏิวัติสยาม 2475

การเสวนา"พรมแดนการเมือง พรมแดนความรู้ของการปฏิวัติสยาม พ.ศ.2475
วันที่ 24 มิถุนายน 2553 ในวาระการเปิดตัวหนังสือ "การปฏิวัติสยาม พ.ศ.2475"
ซึ่งแต่งโดย ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์

จัดงานเสวนา โดย
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ร่วมกับ สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน

โดยมีผู้เข้าร่วมอภิปรายอันได้แก่ อาจารย์ปิยบุตร แสงกนกกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาจารย์ ชาตรี ประกิตนนทการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ดร.ณัฐพล ใจจริง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และนายศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการอิสระ ด้านรัฐศาสตร์ เข้าร่วมการสัมมนา ดำเนินรายการโดย อาจารย์ประจักษ์  ก้องกีรติ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


อ.ปิยบุตร แสงกนกกุล : ดร.ณัฐพล  ใจจริง : อ.ประจักษ์  ก้องกีรติ

โดย อ.ปิยบุตร แสงกนกกุล กล่าวว่า วันที่ 24 มิถุนายน หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองก็มีการประกาศของคณะราษฎร โดยมีหลักหกประการและธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว 27 มิถุนายน 2475 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตยฉบับแรกของไทย โดยมีเอกลักษณ์สำคัญคือ มีการดึงอำนาจอธิปไตยซึ่งเดิมเป็นของกษัตริย์ให้เป็นของประชาชน และกษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ ไม่มีพระราชอำนาจในการบริหารบ้านเมือง การกระทำของกษัตริย์ในทางการเมืองต้องมีผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการเสมอ

แต่สาระสำคัญบางส่วนได้ถูกแก้ไขในรัฐธรรมนูญฉบับถาวรสมัย 10 ธันวาคม 2475 เพราะเป็นผลผลิตในการต่อรองระหว่างคณะราษฎรกับสถาบันกษัตริย์ คณะราษฎรให้ความสำคัญกับรัฐธรรมนูญในฐานะเป็นกติกาพื้นฐานของการเมืองการปกครอง โดยพยายามทำให้เป็นอีกสถาบันหนึ่งต่อจากชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ โดยมีการให้สิทธิการเลือกตั้งแก่บุคคลทั่วไป

วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ประชาธิปไตยไทย ท่ามกลางความขัดแย้ง

เสวนา "แนวโน้มสถานะประชาธิปไตยไทย ท่ามกลางความขัดแย้ง"
27 มิถุนายน 2553 โดยสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์
อดีตคณะบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

มรดกทางการเมืองจาก 2475 ถึงปฎิวัติใหญ่ 2540
ผมในฐานะที่เป็นนักเรียนรัฐศาสตร์ และนักเรียนประวัติศาสตร์ ต้องเริ่มต้นว่า ประชาธิปไตยไทยและประชาธิปไตยของทุกประเทศ มีความมหัศจรรย์ แม้มีรูปแบบความเป็นมาจากแหล่งใด แต่เมื่อไปเติบโตในสังคมใดสังคมหนึ่ง จะมีเนื้อหาที่คลุกเคล้าไปกับสังคมนั้นเสมอ ฉะนั้น สิ่งที่ต้องประเมิน มีอยู่ 2 มิติ คือ มิติทางประวัติศาสตร์ กับ มิติทางสังคม

ดร.นครินทร์  เมฆไตรรัตน์

มิติทางประวัติศาสตร์นั้น ประชาธิปไตยไทยในหลายสิบปีทีผ่านมา ไม่ได้อยู่นิ่งกับที่ แต่มีวิวัฒนาการและจุดพลิกผันอยู่หลายจุด แต่ละจุดมีมรดกตกทอด มาจนถึงปัจจุบัน ในช่วง 25 ปีแรกของประชาธิปไตยไทย มีลักษณะกึ่งประชาธิปไตย โดยคณะราษฎร มีบทบาทนำ หลายคนบอกว่าเป็นเผด็จการ แต่ผมว่า ไม่ใช่ เพราะมีการเลือกตั้ง ตั้งแต่ยุคแรกแล้ว

ความจริงในช่วง 25 ปีแรก เรามีนักการเมืองผู้ยิ่งใหญ่สายอีสานหลายคน ไม่ว่าจะเป็น เตียง ศิริขันธ์ ทองอินทร์ ภูริพัฒน์ ที่มาจากการเลือกตั้ง แล้ว คนกรุงเทพก็ไม่ควรลืม ไถง สุวรรณทัต จะบอกว่ายุคนี้เป็นเผด็จการ คงไม่ใช่ เพราะมีการเลือกตั้ง เป็นประชาธิปไตยที่กึ่งผสมผสานระหว่างพลังของสังคมกับพลังของคณะราษฎร ผมเรียกว่า กึ่งประชาธิปไตย ที่คณะราษฎรมีบทบาทนำ ความจริงมีมรดกที่ตกทอดมาถึงปัจจุบันหลายเรื่อง

วันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ความหมาย“ชาติไทย”และ“ความเป็นไทย”(๒)

การสืบทอดและการปรับเปลี่ยนความหมาย “ชาติไทย” และ “ความเป็นไทย”
แนวคิดเกี่ยวกับ"ชาติไทย"และ"ความเป็นไทย" ของ หลวงวิจิตรวาทการ
รศ.สายชล สัตยานุรักษ์ : ผู้วิจัย
ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
(ต่อจากตอนที่ ๑)
ความหวาดหวั่นในเรื่องการเข้ามามีบทบาททางการเมืองของลูกจีนยังเห็นได้จากคำกล่าวของหลวงวิจิตรวาทการในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ.2481 ความว่า

นายเอ๊กโป้ย (เอก วีสกุล) เคยขอให้ข้าพเจ้าเสนอให้คณะรัฐมนตรีให้มีการปกครองคนจีนอย่างเดิม คือมีกรมท่าซ้าย ...และทราบมาว่าเตรียมจะสละเงินในการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรคราวหน้า เพื่อให้พวกจีนเข้ามาในสภาได้อีกด้วย (*)
(*) อ้างใน สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล, “ประวัติศาสตร์วันชาติไทย จาก 24 มิถุนา ถึง 5 ธันวา” ฟ้าเดียวกัน 2, 2 (เมษายน-มิถุนายน 2547): 98

จอมพล ป.พิบูลสงคราม

ดังนั้น หากพิจารณาบริบททางการเมืองภายในก็จะเห็นได้ชัดเจน ถึงความจำเป็นที่หลวงวิจิตรวาทการและจอมพล ป. จะต้องเน้นความคิดเชื้อชาตินิยมต่อต้านจีน ดังนั้น หลวงวิจิตรวาทการจึงแสดงปาฐกถาเกี่ยวกับ “สยามกับไทย” ในวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ.2482 ชี้ให้เห็นว่าจะเกิดปัญหาหลายประการหากยังคงใช้ “สยาม” เป็นชื่อประเทศ ปัญหาสำคัญที่หลวงวิจิตรวาทการเน้นในปาฐกถานี้ ก็คือปัญหาเกี่ยวกับ “ลูกจีน” ซึ่งจะมีสิทธิเลือกตั้ง (*)
(*) อ้างใน สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล, “ประเทศไทยอายุครบ 65: ข้อมูลใหม่เกี่ยวกับการเปลี่ยนชื่อประเทศปี 2482” ศิลปวัฒนธรรม 25, 8 (มิถุนายน 2547): 84.

ใน สุนทรพจน์เนื่องใน “วันชาติ” ครั้งแรกของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482 ก็กล่าวถึงการที่คนไทย “ถูกเลือดของชนชาติอื่นเข้ามาผสม” ซึ่ง “ทำให้เลือดไทยจางลงทุกขณะ...ชนชาติไทยกำลังจะถูกกลืนด้วยการผสมพันธุ์” (*) เห็นได้ชัดว่าต้องการให้คนไทยเกิดความหวั่นเกรงภัยที่มาจากการถูกพวก “เลือดผสม” หรือพวก “ลูกจีน” กลืนชาติ การสร้างความรู้สึกต่อต้านจีนเช่นนี้จะส่งผลให้คนไทยเกลียดชังพวก “เลือดผสม” หรือพวก “ลูกจีน” และไม่เลือกคนเหล่านี้เข้ามาเป็นผู้แทนราษฎร และปิดโอกาสที่ “ลูกจีน” เหล่านี้จะก้าวขึ้นมามีอำนาจทางการเมือง หรือเป็นคู่แข่งสำคัญทางการเมืองของผู้นำทางทหาร
(*) อ้างใน สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล, “ประวัติศาสตร์วันชาติไทย จาก 24 มิถุนา ถึง 5 ธันวา” ฟ้าเดียวกัน 2, 2 (เมษายน-มิถุนายน 2547): 99.

ความหมาย“ชาติไทย”และ“ความเป็นไทย”(๑)

การสืบทอดและการปรับเปลี่ยนความหมาย “ชาติไทย” และ “ความเป็นไทย”
แนวคิดเกี่ยวกับ"ชาติไทย"และ"ความเป็นไทย" ของ หลวงวิจิตรวาทการ
รศ.สายชล สัตยานุรักษ์ : ผู้วิจัย
ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ความนำ
ภายหลังการปฏิวัติ พ.ศ.2475 การนิยาม “ชาติไทย” และ “ความเป็นไทย” โดยปัญญาชนในระบบอบใหม่ มิได้เปลี่ยนแปลงมากถึงระดับที่รื้อถอน หรือเบียดขับความหมายเดิม ตรงกันข้าม แม้จะมีการเสนอความคิดใหม่บางประการขึ้นมาเพื่อตอบสนองบริบททางการเมืองที่เปลี่ยนไป แต่ความคิดใหม่เหล่านั้น ก็มิได้ขัดแย้งกับความคิดเดิม และนับตั้งแต่ทศวรรษ 2490 เป็นต้นมา กลับมีความพยายามในการรื้อฟื้นความหมายเดิมของ “ชาติไทย” และ “ความเป็นไทย” ที่ทำให้วิธีคิดเกี่ยวกับ “สังคมและวัฒนธรรมไทย” ของคนไทยไม่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนระบอบการปกครองมากนัก จนกล่าวได้ว่า มีความสืบเนื่องของวิธีคิดเกี่ยวกับ “สังคมและวัฒนธรรมไทย” ในช่วงก่อนและหลังการปฏิวัติ พ.ศ.2475 เป็นอย่างมาก

หลวงวิจิตรวาทการ

ปัญญาชนภาครัฐที่มีบทบาทสำคัญในการนิยามความหมายของ “ชาติไทย” และ “ความเป็นไทย” ในช่วงสองทศวรรษแรกภายหลังการปฏิวัติ พ.ศ.2475 ได้แก่หลวงวิจิตรวาทการ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ และพระยาอนุมานราชธน

หลวงวิจิตรวาทการ – การเสียกรุงและการกอบกู้เอกราช
หลวงวิจิตรวาทการ เสนอความคิดชาตินิยมมาตั้งแต่ต้นทศวรรษ 2470 หลังจากหนังสือเรื่อง “หลักไทย” ของขุนวิจิตรมาตราได้รับการตีพิมพ์เพียง 2 ปี หลวงวิจิตรวาทการก็ได้แต่งหนังสือชุด ”ประวัติศาสตร์สากล” ตีพิมพ์ระหว่าง พ.ศ.2472-2474 ในหนังสือชุดนี้ หลวงวิจิตรวาทการทำให้ประวัติศาสตร์ “ชาติไทย” กลายเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์สากล และได้เขียนประวัติศาสตร์ “ชาติไทย” แตกต่างจากสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพและขุนวิจิตรมาตราอยู่ไม่น้อย เพราะถึงแม้ว่าบางส่วนจะเป็นเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ตามลำดับรัชกาลของพระราชวงศ์ของพระมหากษัตริย์ แต่ก็มีบางส่วนที่เป็นการอภิปรายปัญหาประวัติศาสตร์กฎหมายไทย การปกครองของไทย “ฐานะของพลเมือง” และ “สิทธิของคน” ตลอดจน “วีรกรรมของชาวบ้านบางระจัน” ก่อนหน้าการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง (*) โดยเน้นถึงความรักชาติและการเสียสละชีวิตเพื่อชาติของชาวบ้านบางระจันอย่างเต็มที่

วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2553

วาทกรรมอำพราง “ปฏิรูปประเทศไทย”

จดหมายเปิดผนึกคัดค้านวาทกรรมอำพราง “ปฏิรูปประเทศไทย” : “ภาคประชาชน”

วันที่ 24 มิถุนายน 2553

เรื่อง คัดค้านวาทกรรมอำพราง ต่อต้านกระบวนการปฏิรูปประเทศไทยอำมหิต

เรียน พี่น้องในขบวนนักพัฒนา ขบวนการประชาสังคม ขบวนการภาคประชาชน ที่เคารพรักยิ่ง

     ตามที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้เดินหน้าแผน “ปรองดอง” โดยกำหนดให้การปฏิรูปประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งของแผน ซึ่งล่าสุดนายอานันท์ ปันยารชุน และนายแพทย์ประเวศ วะสี ได้ตอบรับเป็นประธานคณะกรรมการกำกับการปฏิรูปและประธานคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปตามลำดับ โดยประธานทั้งสองจะทาบทามบุคคลต่างๆ เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการฯ และจะจัดเวทีเพื่อระดมข้อเสนอแนะจากชุมชนท้องถิ่นและองค์กรต่างๆ ต่อไปนั้น (ดูรายละเอียด ศูนย์ข้อมูลข่าวสารปฏิรูปประเทศไทย)

      พวกเราในฐานะผู้ที่เป็นส่วนหนึ่งของขบวนการภาคสังคม ทั้งเจ้าหน้าที่หรืออดีตเจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชน นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา นักวิชาการ และนักกิจกรรมทางสังคม ที่ติดตาม ศึกษา และร่วมงานกับขบวนการภาคสังคมมาอย่างต่อเนื่อง มีความรู้สึกกังวลและห่วงใยต่อการกำหนดท่าทีของขบวนการต่อการปฏิรูปประเทศไทยในครั้งนี้เป็นอย่างมาก จึงใคร่ขอนำเสนอความเห็นของพวกเราไปยังเพื่อนพี่น้องในขบวนการในประเด็นต่างๆ ดังนี้

วันพฤหัสบดีที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เพลง ๒๔ มิถุนา วันชาติไทย

ที่เลือนลางสำหรับคนไทย
ผู้แต่ง : ครูมนตรี (บุญธรรม) ตราโมท


24 มิถุนา ยนมหาศรีสวัสดิ์
ปฐมฤกษ์ของรัฐ ธรรมนูญของไทย
เริ่มระบอบอารยะประชาธิปไตย
ทั่วราษฎรไทย ได้สิทธิเสรี
 สำราญ สำเริง รื่นเริง เต็มที่
เพราะชาติเรามีเอกราชสมบูรณ์
ไทยจะคงเป็นไทย ด้วยร่วมใจเทิดไทย ชโย

ชาติประเทศเหมือนชีวา ราษฎร์ประชาเหมือนร่างกาย
ถ้าแม้ว่าชีวิตมลายร่างกายก็เป็นปฏิกูล
พวกเราต้องร่วมรักพิทักษ์ไทยไพบูลย์
อีกรัฐธรรมนูญคู่ประเทศไทย
เสียกายเสียชนม์ยอมทนเสียได้
เสียชาติประเทศไทยอย่ายอมให้เสียเลย
ไทยจะคงเป็นไทย ด้วยร่วมใจเทิดไทย ชโย...

วันพุธที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2553

๑๐๐ ปีขุนพลภูพาน เตียง ศิริขันธ์

วีรบุรุษไร้อนุสาวรีย์
"เตียง ศิริขันธ์" ผู้อุทิศชีวิตให้ชาติและประชาชน
ร่วมกอบกู้เอกราช หนุนเพื่อนบ้านต่อต้านจักรวรรดิ
แต่คนส่วนใหญ่ไม่รู้และลืมวีรกรรมกล้าหาญของท่าน
โดย : ประสิทธิ์ ไชยชมพู
กรุงเทพธุรกิจ

     ขบวนการเสรีไทย คือ อะไร? เตียง ศิริขันธ์ เป็นใคร สำคัญอย่างไร? เสรีไทย คือ ขบวนการต่อต้านสงครามรุกราน และกอบกู้เอกราชในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒


ไฟสงคราม ลามลุกโชน
     ก่อนรุ่งสาง ๗ ธันวาคม ๒๔๘๔ อ่าวเพิร์ล เกาะฮาวาย ที่ตั้งฐานทัพสหรัฐอเมริกาในภูมิภาคแปซิฟิก ถูกกองบินญี่ปุ่นทิ้งระเบิดแบบสายฟ้าแลบ ย่อยยับเป็นอัมพาต จากนั้นอเมริกาจึงกระโจนสู่สงครามอย่างเต็มตัว

วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553

นิติรัฐกับการแก้ปัญหาทางการเมือง

นักวิชาการเสนอให้รัฐบาลใช้อำนาจนิติรัฐอย่างเหมาะสม
และปราศจากการใช้อำนาจแบบสองมาตราฐาน แนะฝ่ายตุลาการทำงานเพื่อประชาชน

วันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การใช้สื่อเพื่อสร้างความชอบธรรมของรัฐบาล

รศ.ดร.อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์
นักวิชาการอิสระด้านสื่อสารมวลชน
ในการเสวนา"โศกนาฏกรรมจากราชดำเนินสู่ราชประสงค์"

วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2553

โศกนาฏกรรมจากราชดำเนินสู่ราชประสงค์

"ปฏิบัติการโฆษณาชวนเชื่อของ ศอฉ"
โดย ดร.จักรกริช สังขมณี
คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


"คันหาความหมายจากการบาดเจ็บล้มตาย"
โดย รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล
ศูนย์สิทธิมนุษยชน มหิดล

วันพฤหัสบดีที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เพลงชาติสยามในอดีต

สมัย พ.ศ. ๒๔๗๕

ร่วมรำลึกวันชาติ ๒๔ มิถุนายน
ด้วยเพลงชาติไทยฉบับดั้งเดิม

     เพลงชาติไทย(สยาม)ในอดีต ประพันธ์ทำนองโดยพระเจนดุริยางค์ ใช้เป็นเพลงชาติไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2475 (ในลักษณะไม่เป็นทางการ) โดยช่วงแรกใช้คำร้องที่ประพันธ์โดย ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) ต่อมาปลายปี พ.ศ. 2476 รัฐบาลได้จัดการประกวดเนื้อร้องเพลงชาติ และประกาศรับรองเนื้อร้องที่แก้ไขเพิ่มเติมใหม่โดยขุนวิจิตรมาตรา และเนื้อร้องที่แต่งโดยนายฉันท์ ขำวิไล ซึ่งเป็นฉบับที่ชนะการประกวด เป็นเนื้อร้องเพลงชาติฉบับทางราชการ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2477

คำร้อง : ขุนวิจิตรมาตรา (บทที่ 1 และบทที่ 2)
ทำนอง : พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร)
แต่งเมื่อ พ.ศ. 2475
แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2477


คำร้อง : นายฉันท์ ขำวิไล (บทที่ 3 และบทที่ 4)
ทำนอง : พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร)
แต่งเมื่อ พ.ศ. 2477
ประกาศใช้เพิ่มเติมจากเนื้อร้องเดิมในปีเดียวกัน

"เมื่อเราเกิดมาเป็นชนชาติสยามหรือชาติไทย ด้วยบารมีของชาติ เราจึงมีชีวิต และใช้สัญชาติที่ทำให้เราอยู่ในโลกใบนี้ได้อย่างมีศักดิ์ศรี ได้รับโอกาสกระทำการใดๆ ได้หลายอย่างเท่าเทียมกับมนุษย์ชาติอื่นๆ ขอก้มกราบและระลึกถึงบรรพบุรุษชนชาติของเรา ที่ให้เรา มีที่อยู่ ที่กิน จนทุกวันนี้

ด้วยบารมีของชาติ เราจึงมีประเทศ เราจะพยายามในทุกทางเพื่อให้ชาวสยามหรือคนไทย รักชาติอย่างมีสติ ไม่รักเพื่อการสร้างภาพ ไม่รักเพื่อหวังผลประโยชน์ส่วนตนหรือญาติมิตร ไม่รักอย่างไม่มีเหตุผล เราไม่ต้องร้องเพลงชาติอย่างพร่ำเพรื่อ หรือเคารพชาติตามความนิยม แต่จะรัก เคารพ เทอดทูนชาติ และระทึกใจทุกครั้งที่จะเคารพต่อสัญญลักษณ์ของชาติในโอกาสสำคัญ ดุจชาติคือสิ่งศักดิ์สิทธิ์"

วันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2553

นักข่าวเล่าให้ฟัง:จากราชดำเนินถึงราชประสงค์

ศูนย์ติดตามประชาธิปไตยไทย
(Thailand Democracy Watch)
คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

     เมื่อวันที่ 10 มิ.ย. เวลา 13.00 น. ที่ห้องประชุม 12 อาคารเกษม อุทยานิน คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์ติดตามประชาธิปไตยไทย (Thailand Democracy Watch : TDW) ได้จัดการเสวนาวิชาการในหัวข้อ “นักข่าวเล่าให้ฟัง : จากราชดำเนินถึงราชประสงค์” โดยมีผู้สื่อข่าวที่อยู่ในเหตุการณ์การสลายการชุมนุมคนเสื้อแดง หรือ นปช. ในวันที่ 10 เม.ย.2553 และ 13-19 เม.ย.2553 มาร่วมอภิปรายและบอกเล่าเหตุการณ์

     ผู้ร่วมเสวนา ประกอบไปด้วยผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์และ โทรทัศน์ ฐปนีย์ เอียดศรีชัย จากไทยทีวีสีช่อง 3, สุรศักดิ์ กล้าหาญ จากบางกอกโพสต์, ตวงศักดิ์ สินชื่นธุวล จากมติชน, ทวีชัย เจาวัฒนา บรรณาธิการภาพจากเนชั่น, เสถียร วิริยะพรรณพงศา จากเนชั่น และสถาพร คงพิพัฒวัฒนา จากทีวีไทย โดยมี ผศ.เวียงรัฐ เนติโพธิ์ จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินการอภิปราย ในการเสวนานี้มีผู้สื่อข่าวและ ประชาชนที่สนใจเข้าร่วมรับฟังเป็นจำนวนมาก โดยคลิปมี ๒ ช่วง
ช่วงที่ ๑ เป็นช่วง "นักข่าวเล่าให้ฟัง" มี ๘ คลิป
ช่วงที่ ๒ เป็นช่วง "แลกเปลี่ยนความคิดเห็น" มี ๘ คลิป
ดูคลิปท้งหมดกรุณา Click อ่านเพิ่มเติม

บทเรียนเลือด...พฤษภา ๕๓

อ.ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์
สรุปความเป็น “ที่สุด” ของเหตุการณ์เลือดพฤษภา ๒๕๕๓

     มุมมอง อ.ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการอิสระด้านรัฐศาสตร์ สรุปความเป็น “ที่สุด” ของเหตุการณ์เลือดพฤษภา ๒๕๕๓ เช่น มีผู้เสียชีวิตมากที่สุด รัฐบาลใช้กำลังปราบปรามมากที่สุด และผู้ชุมนุมตอบโต้รัฐรุนแรงที่สุด


     บทเรียนจาก เหตุการณ์นองเลือดทางการเมืองครั้งล่าสุด ทำให้นักวิชาการอิสระท่านนี้เสนอให้รัฐบาลทบทวนการใช้พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน และขอรัฐบาลปรับทัศนคติต่อคนเสื้อแดง ไม่มองว่าเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคง พร้อมกับเสนอให้กลุ่มคนเสื้อแดงยืนหยัดในแนวทางการต่อสู้เรียกร้องตามวิถีทางประชาธิปไตย

Content by VoiceTV
7 มิถุนายน 2553 เวลา 14:40 น.

รัฐไทย...บนหนทางสู่อำนาจนิยม

ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์
นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์

     มุมมองจากนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์ วิพากษ์แผนปรองดอง
แห่งชาติของรัฐบาล แผนปรองดองแห่งชาติทั้ง 5 ประเด็น ว่ายากที่จะเดินหน้าในทางปฏิบัติ พร้อมบทวิเคราะห์เหตุใดแผนปรองดองจึงล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง


     ดร.พวงทอง มองปรากฎการณ์การเมืองไทยว่า รัฐไทยกำลังเดินไปสู่ความเป็นอำนาจนิยมมากขึ้น เห็นได้จากการยอมรับการรัฐประหาร และการปิดกั้นสื่อสารมวลชน ปัจจัยหนึ่งที่นำการเมืองไทยไปสู่อำนาจนิยม คือ การมุ่งที่จะบรรลุเป้าหมายโดยไม่สนใจวิธีการ จนเกิดการทำลายโครงสร้างพื้นฐานของหลักการประชาธิปไตย

Content by VoiceTV
20 พฤษภาคม 2553 เวลา 14:32 น.

วันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2553

จุดจบความเป็นธรรม...จุดจบของอำมาตย์

ไพร่แดง

     เมื่อหลายสิบปีก่อน มีผู้ออกมากล่าวว่าประเทศไทยยังไม่เหมาะที่จะเป็นประชาธิปไตย เพราะคนไทยส่วนใหญ่ยังการศึกษาน้อย หรือยังโง่อยู่...ถึงวันนี้ เวลาก็ได้พิสูจน์ความจริงออกมาให้เห็นแล้วว่า การศึกษาที่ได้มาจากโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย ไม่สามารถรับประกันได้ว่า จบการศึกษา รับใบปริญญาแล้ว จะเข้าใจเรื่องประชาธิปไตยดี


     จิตสำนึกต่างหาก ที่เป็นของจริง จะเห็นได้จากมวลชนคนเสื้อแดง ออกมาทวงถามในเรื่องที่เขาเห็นว่าไม่เป็นประชาธิปไตย เพราะเขาเห็นว่าเขาเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย เพราะพวกเขาเห็นว่ารัฏฐาธิปัตยที่ได้มาโดยคนส่วนใหญ่เป็นของพวกเขา พวกเขาได้เลือกแล้ว ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น จะดีหรือเลว พวกเขายินดีรับผิดชอบ ในการเลือกตั้งครั้งต่อไป ไม่ใช่อำมาตย์มาคิดแทน ไม่ใช่ทหารที่เป็นสมุนรับใช้มาคิดแทน

วันพฤหัสบดีที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การปฏิวัติของไพร่(ฟ้าข้าแผ่นดิน) (๒)

ดร. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ* : เขียน
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์*


     ผมเริ่มนั่งลงเขียนบทความเรื่อง "การปฏิวัติของไพร่" ตอนที่ 2 ต่อ ในบ่ายของวันที่ 5พฤษภาคม อันเป็นวันฉัตรมงคล และเป็นวันหยุดทางราชการ ทำให้มีเวลามานั่งเขียนบทความต่อได้สะดวก ก่อนจะเข้าสู่เรื่องขอแวะดูประวัติความเป็นมาของวันฉัตรมงคลนิดหน่อยก่อน (การเข้าใจปัจจุบันจะทำได้ดียิ่งขึ้น หากมีความรู้ความเข้าใจในอดีตทั้งของตนและของคนอื่นบ้าง)


วันฉัตรมงคลเป็นสิ่งประดิษฐ์ขึ้นใหม่
     ถ้าถามว่าวันฉัตรมงคลเป็นประเพณีมาแต่สมัยใด ผมเดาว่าคนส่วนใหญ่ผู้มีการศึกษาคงตอบว่าต้องเป็นประเพณีเก่าแก่คู่อาณาจักรไทย และสถาบันพระมหากษัตริย์ เพราะวันฉัตรมงคลหมายถึงวันฉลองครบรอบปีการบรมราชาภิเษกพระเจ้าแผ่นดิน ถ้าอย่างนั้นก็น่าจะเริ่มต้นตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเรื่อยมาถึงกรุงศรีอยุธยา แล้วจึงถึงกรุงรัตนโกสินทร์มาปฏิบัติกันอยู่ในรัชกาลปัจจุบัน

วันพุธที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การปฏิวัติของไพร่(ฟ้าข้าแผ่นดิน) (๑)

ดร. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ* : เขียน
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์*


     เมื่อปีที่แล้วผมได้เขียนบทความหลายตอนว่าด้วย "การกบฏของมวลชน" (The Revolt of the Masses) ซึ่งตีพิมพ์ในวิภาษา ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๑๘ ถึง ๒๐ (พค.-กย. ๒๕๕๒) มูลเหตุที่ผมให้ความสนใจในประเด็นดังกล่าว ผมได้แถลงไว้ดังนี้ …

"ปรากฏการณ์ในสามปีมานี้ ได้สร้างการเคลื่อนไหวใหม่ทางการเมืองขึ้นในสังคมไทย นั่นคือการก่อรูปและพัฒนาอย่างไม่เคยมีมาก่อนของขบวนการมวลชน อันประกอบด้วยผู้คนพลเมืองจำนวนมหาศาล มวลชนเหล่านั้นไม่ได้เคลี่อนไหวอย่างปกติธรรมดา หากแต่เข้าร่วมการต่อสู้ในรูปแบบและวิธีการต่างๆ ถึงขั้นที่ใช้วิธีการเผชิญหน้ากับอำนาจรัฐและรัฐบาลโดยตรง อย่างไม่หวั่นเกรง ไม่ประนีประนอม พร้อมจะใช้การบีบคั้นหลากหลายกลยุทธ์ บางครั้งถึงขั้นที่พร้อมจะนำไปสู่การใช้ความรุนแรง บ้างยึดที่ทำการของรัฐบาล สถานีโทรทัศน์ฯ ยึดถนนและปิดเส้นทางการจราจร ปฏิบัติการทั้งหลายล้วนปริ่มขอบเขตและความชอบธรรมทางกฎหมาย ทั้งนี้เป็นผลมาจากการที่ฝ่ายปกครองและยุติธรรม ยอมรับตัวอักษรและการตีความในรัฐธรรมนูญอย่างกว้างเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์รัฐธรรมนูญสยามไทยจากปี ๒๔๗๕ มา เหนือสิ่งอื่นใด ขบวนการมวลชนที่ประท้วงและเดินขบวนขนานใหญ่นั้น ได้ประกาศจุดหมายของการต่อสู้ต่อต้านของพวกตนว่า คือการโค่นล้มหรือทำให้รัฐบาลที่ปกครองอยู่นั้นล้มพังทลายหรือสลายไป นั่นคือเป้าหมายอันสูงสุดของการต่อสู้ทางการเมือง คือการช่วงชิงอำนาจรัฐมาเป็นของพวกตน"

วันอังคารที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553

จิตวิญญาณสาวนักสู้แห่งราชประสงค์

     ผู้สื่อข่าว (หนังสือพิมพ์ข่าวสด) ได้เดินทางไปพบผู้หญิงเสื้อแดงคนสุดท้ายที่นั่งถือธงอยู่คนเดียวหน้าเวทีปราศรัย สี่แยกราชประสงค์ ระหว่างกำลังทหารบุกเข้ามากระชับพื้นที่ เมื่อช่วงบ่ายของวันที่ 19 พ.ค. โดยหญิงคนดังกล่าวทราบข่าวจากประชาชนว่ายังมีชีวิตอยู่ที่บ้านย่านฝั่งธนบุรี คือ นาง ผุสดี งามขำ อดีตพยาบาล อายุ 54 ปี


     นางผุสดี เปิดเผยนาทีระทึกช่วงทหารบุกมาถึงตัวว่า อดีตตนเคยเป็นแฟนคลับของรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ของ นายสนธิ ลิ้มทองกุล แต่เริ่มเห็นว่าสิ่งที่ทั้งนายสนธิ และรัฐบาลทำนั้นไม่ถูกจึงหันเหมาต่อสู้ร่วมกับคนเสื้อแดง เป้าหมายเพียงเพื่ออยากให้รัฐบาลยุบสภาเลือกตั้งใหม่เท่านั้น วันที่ 13 มี.ค. ตนก็เริ่มเข้าร่วมชุมนุมที่ผ่านฟ้าฯ จนย้ายมาที่ราชประสงค์ต้องใช้ชีวิตอย่างยากลำบากตลอด 2 เดือน เพราะต้องนอนอยู่กลางถนนทั้งที่ไม่เคยคิดเลยว่า แค่เรียกร้องให้ยุบสภาจะต้องมีคนมาล้มตายมากขนาดนี้