วันที่ 24 มิถุนายน 2553 ในวาระการเปิดตัวหนังสือ "การปฏิวัติสยาม พ.ศ.2475"
ซึ่งแต่งโดย ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์
จัดงานเสวนา โดย
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ร่วมกับ สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน
โดยมีผู้เข้าร่วมอภิปรายอันได้แก่ อาจารย์ปิยบุตร แสงกนกกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาจารย์ ชาตรี ประกิตนนทการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ดร.ณัฐพล ใจจริง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และนายศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการอิสระ ด้านรัฐศาสตร์ เข้าร่วมการสัมมนา ดำเนินรายการโดย อาจารย์ประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อ.ปิยบุตร แสงกนกกุล : ดร.ณัฐพล ใจจริง : อ.ประจักษ์ ก้องกีรติ
แต่สาระสำคัญบางส่วนได้ถูกแก้ไขในรัฐธรรมนูญฉบับถาวรสมัย 10 ธันวาคม 2475 เพราะเป็นผลผลิตในการต่อรองระหว่างคณะราษฎรกับสถาบันกษัตริย์ คณะราษฎรให้ความสำคัญกับรัฐธรรมนูญในฐานะเป็นกติกาพื้นฐานของการเมืองการปกครอง โดยพยายามทำให้เป็นอีกสถาบันหนึ่งต่อจากชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ โดยมีการให้สิทธิการเลือกตั้งแก่บุคคลทั่วไป
ในการบริหารราชการแผ่นดิน คณะราษฎรได้ผลักดันระเบียบบริหารราชการแผ่นดินแบบใหม่ โดยแบ่งเป็นส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น แต่เรากลับพบว่า มีโครงการของคณะราษฎรที่เกี่ยวกับองค์กรตุลาการน้อยมาก อาทิ การเรียกร้องเอกราชทางการศาลได้อย่างสมบูรณ์, การกำหนดให้ศาลเป็นไปเป็นรูปแบบเดิมที่มีอยู่, ความพยายามในการจัดตั้งศาลปกครอง, การสร้างคณะกรรมการรัฐธรรมนูญ และการสร้างกลไกทางศาล เพื่อป้องกันและปราบปรามการโต้การปฏิวัติ แต่ก็มิได้มีการเข้าไปถึงอุดมการณ์ของศาลแต่อย่างใด เนื่องจากเห็นว่าศาลยุติธรรมไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเมืองแต่อย่างใด อาจเนื่องมาจากความไม่พร้อมของบุคลากร และไม่สามารถคาดคิดถึงอำนาจของศาลว่ามีมากเพียงใด คณะราษฎรมีภารกิจหลายด้านไม่สามารถจัดการได้หมดในเวลาอันจำกัด, คณะราษฎรคำนึงว่าศาลไม่มีความเกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครอง แต่ถึงกระนั้นการละเลย ไม่เปลี่ยนแปลงศาล ให้ดำเนินการให้สอดคล้องกับอุดมการณ์ปัจจุบันของคณะราษฎรก็กลายเป็นจุดอ่อนที่ส่งผลมาถึงปัจจุบัน เพราะเมื่อระบอบเก่าที่ดำรงมาเป็นเวลานาน มีการฝังอุดมการณ์ระบอบเก่าเข้าไปในกลไกของรัฐทั้งหลาย การเปลี่ยนแปลงการปกครองในระบอบใหม่ นอกจากจะฝังอุดมการณ์ในแบบใหม่ให้กับประชาชนแล้ว ยังจำเป็นต้องรื้ออุดมการณ์แบบเก่าที่ฝังอยู่ในกลไกของรัฐเดิมให้หมดสิ้นและปลูกฝังอุดมการณ์แบบใหม่เข้าแทนที่
ในปัจจุบัน กฎหมายกลายเป็นปัจจัยสำคัญของทุกสังคมทางการเมือง ทางความคิดทางนิติรัฐที่เบ่งบานไปทั่วโลก ทุกรัฐปรารถนาที่จะมีความอุดมสมบูรณ์ ความผาสุก ความมั่นคงปลอดภัย ความเจริญทางเศรษฐกิจ การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มนุษย์จึงสร้างกลไกทางสังคมบางอย่างมาเพื่อทำให้ทุกคนอยู่ร่วมกันได้อกลไกบางอย่างที่ทำให้รัฐมีความชอบธรรมในการใช้อำนาจและเป็นตัวจำกัดการใช้อำนาจนั้นด้วย จึงทำให้มีการสร้างกฎหมายขึ้นเมื่อความเป็นหลักการอันปฏิเสธมิได้ของนิติรัฐ ทำให้กฏหมายกลายเป็นศูนย์กลางของสังคม หากจะมีการปฏิวัติหรือการเปลี่ยนแปลงการปกครองแบบฉับพลัน ก็หนีไม่พ้นที่ต้องไปเกี่ยวพันกับกฏหมายทั้งในแง่รื้อกฏหมายเก่าและการสร้างระเบียบกฏหมายใหม่ เพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่ระบอบใหม่ อย่างไรก็ตามการสร้างระเบียบกฏหมายใหม่ เราต้องไม่เพียงสร้างแต่กฏหมายที่เป็นตัวบทเท่านั้น แต่ต้องสร้างอุดมการณ์กฏหมายใหม่ ซึ่งเป็นอุดมการณ์ที่สอดคล้องกับอุดมการณ์ในระบอบใหม่ ด้วยการปลูกฝังอุดมการณ์กฏหมายแบบระบอบใหม่เข้าไปยังผู้ปฏิบัติการทางกฏหมายทั้งหลาย จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ระบอบใหม่มีความยั่งยืนต่อไป
อ.ชาตรี ประกิตนนทการ ได้กล่าวถึงผลกระทบของเหตุการณ์ 2475 ต่อสถาปัตยกรรมไทย ซึ่งยังมีอุดมการณ์ต่อที่สืบทอดเป็นคู่ขัดแย้งต่อแนวคิดอนุรักษ์นิยมกับเสรีนิยม ซึ่งส่งผลต่อปัจจุบันอย่างเห็นได้ชัดแม้ว่าเราจะสามารถเห็นหรือสัมผัสหรือรับรู้ผลผลิตทางวัฒนธรรมในยุคนี้ได้ แต่เราจะรับรู้มันในตัวตนและความหมายใหม่ที่ไม่เหมือนเดิมเกิดการ "กลายพันธุ์" กล่าวคือ ไม่หลงเหลือสิ่งที่เป็นสาระสำคัญของกระบวนทัศน์แรก ซึ่งมีลักษณะการเข้าข้างฝ่ายคณะราษฎรแต่ปฏิเสธกลุ่มเจ้า จะถูกลดทอนมิติที่โจมตีฝ่ายเจ้าลง และพื้นที่และตัวตนของฝ่ายคณะราษฎรก็จะไม่ปรากฏให้เห็นเลย มีการสร้างคำอธิบายใหม่เพื่อที่จะสามารถอยู่ใต้ร่มเงาของกระบวนทัศน์ที่สองได้ ตัวอย่างที่สำคัญอาทิเช่น
-สมัยคณะราษฎรได้นำนาย "คอร์ราโด เฟโรชี" ช่างชาวอิตาเลียนที่รู้จักกันในชื่อ "ศิลป พีระศรี"มาเป็นกลไกสำคัญในการผลักดันการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างและบทบาทหน้าที่ของกรมศิลปากรหลังปี 2475 เป็นกรณีที่แสดงให้เห็นถึงการพยายามที่จะผลักดันความรู้และประวัติศาสตร์บางอย่างมากจนเกินไป จนเกิดการมุ่งไปสู่ทิศทางอื่นโดยไม่คำนึงถึงพื้นฐานและข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์
-ด้านสถาปัตยกรรมในยุคสมัยนั้นอาจเรียกได้ว่า"สถาปัตยกรรมของคณะราษฎร" ซึ่งสร้างอยู่ในช่วง 15 ปีที่คณะราษฎรมีอำนาจ และมีรูปแบบเฉพาะไม่เหมือนยุดก่อนหน้าปึ 2475 และ ภายหลังปี 2490 โดยมีลักษณะเฉพาะที่เรียกว่า "การปฏิเสธอดีต" หรือในทางสถาปัตยกรรมจะมีการต่อต้านระบบที่วางอยู่ในสถาปัตยกรรมไทยมานานที่เรียกว่า "ฐานานุศักดิ์ทางสถาปัตยกรรม" คือการมีชนชั้นในทางสถาปัยกรรม นี่อาจเป็นยุคเดียวที่สถาปัตยกรรมโยงเป็นสากลที่ไม่ยุ่งกับบริบททางสังคมไทยเลย เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงผลพวงของการต่อสู้ทางอุดมการณ์ที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน และทำให้พื้นที่และความรู้ในแง่มุมทางศิลปวัฒนธรรมมีลักษณะอาการที่เรียกว่า "การอธิบายบางอย่างมากจนเกินไป ในขณะที่ก็ไม่อธิบายบางอย่างมากจนเกินไป" เช่นกัน
-การอนุรักษ์พื้นที่ทางวัฒนธรรม โดยไม่มีการสนใจหลักเกณฑ์พื้นฐานในการอนุรักษ์พื้นที่ทางวัฒนธรรมตามหลักการที่แท้จริง โดยเฉพาะสถาปัตยกรรมที่อยู่ในยุคคณะราษฎร ที่อยู่ในพื้นที่เขตเกาะรัตนโกสินทร์ ไม่มีอาคารสถานที่ใดได้รับการพิจารณาให้ขึ้นทะเบียนเป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์เลย ไม่ว่าจะเป็นอาคารที่อยู่ตลอดแนวถนนราชดำเนินหรืออนุสาวรีย์ประชาธิปไตยก็ตาม หรือแม้กระทั่งแต่การเปิดพื้นที่สาธารณะให้กับประชาชนก็พบว่าล้วนเกิดจากการ"ขจัดทิ้ง"มรดกอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับชนชั้นเจ้านายหรือศิลปะของชนชั้นสูงที่แวดล้อม สถาบันเช่นการทำลาย "โรงภาพยนตร์เฉลิมไทย" เพื่อสร้าง "พลับพลามหาเจษฎาบดินทร์" และเพื่อเปิดให้เห็น "โลหปราสาท" บริเวณวัดราชนัดดาราม เป็นต้น ซึ่งถือเป็น "การดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดของพลังอนุรักษ์นิยม" โดยแท้จริง
ความรู้ทางประวัติศาสตร์ศิลปวัฒนธรรมล้วนเป็นผลผลิตของความขัดแย้งที่ยังตกค้างอยู่ของการปฏิวัติเมื่อปี 2475 ซึ่งเป็นความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ยังเกี่ยวข้องกับบทบาทสถานะ ความสัมพันธ์ของสถาบันกษัตริย์ในสังคมไทย
ดร.ณัฐพล ใจจริง กล่าวว่า หากการปฏิวัติและการเมืองมวลชนเป็นผลผลิตของความเป็นสมัยใหม่ที่ก่อให้เกิดความก้าวหน้า มุ่งตรงไปสู่ความเสมอภาคของสรรพสิ่งในสังคม ลดทอนความสูงต่ำ สิ่งเหล่านี้สร้างความไม่พอใจให้กับเหล่าอภิชนในระบอบเก่า ความคิดและกระบวนการการต่อต้านการปฏิวัติหรือการต่อต้านความเป็นสมัยใหม่ ก็ถือกำเนิดขึ้น ดังนั้นหากการปฏิวัติปี 2475 ก็คือการพยายามสถาปนาการเมืองมวลชนตามแนวทางประชาธิปไตยการต่อต้านการปฏิวัติก็คือการพยายามสถาปนา "อภิชนาธิปไตย" ขึ้นมาในประเทศไทย ซึ่งก็เป็นการต่อต้านความเป็นการเมืองสมัยใหม่เราอาจเรียก "อภิชนาธิปไตย" นี่ว่า "เทวดาธิปไตย" ก็ย่อมได้
ความเป็นมาของการต่อต้านการปฏิวัติ แบ่งการศึกษาได้เป็นสามกลุ่ม กลุ่มแรกเป็นการศึกษาเรื่องภาวะก่อนการปฏิวัติ เพื่อที่จะได้ทราบว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดการปฏิวัติ โดยจะศึกษาด้านแนวคิดทางสังคม ลักษณะการเคลื่อนไหวทางสังคม ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง กลุ่มที่สองคือการศึกษาการปฏิวัติและเหตุการณ์การปฏิวัติ กลุ่มที่สามคือการศึกษาผลกระทบของการปฏิวัติและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น โดยแบ่งออกได้เป็นสามกลุ่ม
-กลุ่มชนชั้นสูง ซึ่งเห็นว่าการปฏิวัตินั้นจะนำมาแต่สิ่งที่เลวร้าย ซึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือนวนิยายเรื่อง "สี่แผ่นดิน" ของ "มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช" ซึ่งตีความว่า หลังปฏิวัตินั้นมีแต่ความเลวร้าย มีแต่ความยุ่งเหยิง และนำไปสู่การสวรรคตของพระมหากษัตริย์ ทำให้บ้านเมืองตกต่ำ
-กลุ่มนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานที่เชื่อในเรื่อง "อำมาตยาธิปไตย" โดยเชื่อว่าทหารทำให้เกิดปัญหาทางการเมือง และเชื่อว่าคณะราษฎรก็คือทหารทั้งสิ้น
-กลุ่มมาร์คซิสม์ ซึ่งนำโดย นายอุดม ศรีสุวรรณ เพราะเห็นว่าการปฏิวัติ 2475ไม่นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้าง
ส่วนผลกระทบด้านวัฒนธรรมนั้นมีกลุ่มเช่น กลุ่มชนชั้นสูงที่เห็นว่าการปฏิวัติทำให้บ้านเมืองเสื่อมโทรมเกิดการกดขี่ ห้ามกินหมากบังคับเรื่องการแต่งกาย
สิ่งที่หายไปจากการศึกษาจากที่กล่าวมาก็อย่างเช่น ผลกระทบที่เกิดขึ้นหลังการปฏิวัติในด้านเศรษฐกิจและสังคม และการศึกษาด้านกลับของการปฏิวัติ หรือที่เรียกว่าการต่อต้านการปฏิวัติ และผลกระทบที่เกิดขึ้นตามมาซึ่งทำให้การปฏิวัติไม่สามารถมุ่งทะยานไปข้างหน้าได้ และมีอุปสรรคขัดขวาง โดยที่ผ่านมาเราพยายามที่จะศึกษาความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลง มากกว่าความพยายามที่จะต่อต้าน ยังไม่มีการศึกษาด้านการต่อต้านการปฏิวัติอย่างเพียงพอ เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจที่ว่า ทำไมเราจึงเคลื่อนที่ไปข้างหน้าไม่ได้ อะไรที่ทำให้เจตนารมณ์ของการสร้างการเมืองมวลชนไม่สามารถดำรงอยู่ได้
ดังนั้นปัญหาของการรักษาการปฏิวัติของปี 2475 ที่จะเคลื่อนตัวไปสู่ความเป็นการเมืองมวลชน ไม่ได้เกิดขึ้นจากความขัดแย้งภายในคณะราษฎรหรือความไม่พร้อมของประชาชนแต่เพียงอย่างเดียว แต่เกิดขึ้นจากการต่อต้านของกลุ่มชนชั้นสูงอีกด้วย ดังนั้นการศึกษาด้านการต่อต้านการปฏิวัติควบคู่ไปกับการปฏิวัติเพื่อที่จะทำให้การปฏิวัติในปี 2475 มีความหมายและมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้การศึกษากำเนิดแนวคิดหรือกระบวนการและผลกระทบของการต่อต้านการปฏิวัติในมิติต่างๆเพื่อสร้างความเข้าใจที่แท้จริงว่าอะไรคือความหมายอันแท้จริงของ "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข"
ปัญหาที่สำคัญอย่างยิ่งของนักรัฐศาสตร์ที่สนใจเรื่องการเมืองวิเคราะห์ปัญหาต่างๆผิดไปก็คือการมองว่าทหารนั้นเป็นปํญหาอย่างยิ่งต่อประชาธิปไตย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการถูกครอบงำทางความคิดด้าน "อำมาตยาธิปไตย" ทำให้การเกิดการมองปัญหาไม่ครบถ้วนโดยเพ่งเล็งมาทางทหารแต่เพียงฝ่ายเดียวทำให้กลุ่มอื่นๆที่ก่อให้เกิดปัญหาในการก้าวไปข้างหน้าเช่นกลุ่มอนุรักษ์นิยมไม่ได้ถูกควบรวมไปด้วยดังนั้นจึงเป็นความผิดพลาดอย่างยิ่งที่จะวิเคราะห์ปัญหาการเมืองไทยโดยไม่ได้ศึกษาความเคลื่อนไหวและการดำรงอยู่ของการปฏิวัติดังนั้นความหมายของคำว่า“อำมาตยาธิปไตย”หลังปี 2549 หรือแม้กระทั่งการนิยามความหมายของคำนี้ในการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ก็อาจเป็นสิ่งที่ถูกและมีความก้าวหน้ามากกว่าความรู้ทางวิชาการก็เป็นได้
อ.ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ กล่าวว่าหนังสือ"ปฏิวัติสยาม พ.ศ.2475" ของ อ.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์นั้น ก่อให้เกิดข้อสังเกตต่างๆเช่น
1.การทำให้เกิดข้อสงสัยที่ว่า สิ่งที่นักรัฐศาสตร์เรียกว่า"เจตจำนงทางการเมือง" ก่อนปี 2475 นั้น เกิดขึ้นได้อย่างไร
2.ทำให้เห็นภาพว่า เจตจำนงทางการเมืองของคนแต่ละกลุ่มกลายเป็นมวลรวมทางการเมืองที่มีพลังมหาศาล ต่อภาพทางการเมืองได้อย่างไร
3.ให้ความสำคัญกับการฉายภาพของการเกิดขึ้น ของกลุ่มคนรุ่นใหม่ๆในบริบทของสังคม ซึ่งเปลี่ยนจากสังคมสมัยเก่าเป็นสังคมสมัยใหม่ และพยายามที่จะดูว่าการเกิดขึ้นของประชาชนกลุ่มใหม่ๆนี้ มีความหมายทางการเมืองอย่างไรและทำให้เห็นว่าพลังของกลุ่มสถานภาพใหม่ๆที่เกิดขึ้นในเวลานั้นเป็นอย่างไร
นอกจากนั้นยังทำให้ผู้อ่านมองเห็นถึงการก่อรูปของเจตจำนงทางการเมืองในช่วงก่อนปี2475 ที่ทำผ่านพื้นที่ทางสาธารณะบางอย่างอย่างเป็นไปและค่อนข้างอิสระ โดยผ่านกลไกต่างๆอาทิ
-ผ่านตลาดโดยใช้หนังสือพิมพ์เป็นสื่อ
-ผ่านการจัดตั้งตนเองและมีการพูดถึงกลุ่มสมาคมอื่นๆอย่างกว้างขวาง
-ผ่านกลไกของรัฐบางส่วน
โดยเห็นว่ากองทัพและข้าราชการระดับกลาง เป็นตัวกลางที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง โดยสภาวะทางการเมืองและสังคมสมัยใหม่ ทำให้การจัดตั้งเจตจำนงทางการเมืองเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ ตัวกลางที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไม่ได้เชื่อมโยงกันด้วยอุดมการณ์ทางประชาธิปไตยของตะวันตกอย่างเป็นระบบ เนื่องจากไม่มีกลไกสำหรับผลิตอุดมการณ์กระแสรองในสังคมดำรงอยู่เลยในช่วงก่อนปี 2475 ไม่มีสถาบันการศึกษา กลุ่มปัญญาชน หรือสิ่งพิมพ์ที่ทำการเผยแพร่ความติดนี้ต่อมวลชนอย่างกว้างขวาง
ตัวแทนของการเปลี่ยนแปลงนั้นมีหลายกลุ่มมิได้มีเพียงแค่กลุ่มคณะราษฎรแต่อย่างใดโดยกลุ่มเหล่านี้สามารถเชื่อมโยงกันได้เพราะ
1.ความล้มเหลวของรัฐบาลสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ในฐานะที่เป็นรัฐบาลของสยามประเทศ เช่น ประเด็นเรื่องเงินค่านา ค่าราชูปการ เป็นต้น
2.ความไม่สามารถปรับตัวของระบอบการเมือง ในการปล่อยให้คนกลุ่มใหม่ๆเข้าไปมีส่วนร่วมในระบอบ
3.การแสดงให้เห็นภาพว่า ระบบคุณค่าดั้งเดิมเกี่ยวกับคติด้านชาติกำเนิด ยศฐาบรรดาศักดิ์ โดยระบบคุณค่าชุดใหม่ที่ก่อตัวขึ้น แต่ยังไม่ถึงขั้นที่เป็นอุดมการณ์ที่มีความตายตัว โดยผ่านบทความ วรรณกรรม หรือฎีกา ซึ่งเป็นการนำเสนอโลกทัศน์แบบใหม่เรื่องความเท่าเทียมว่ามิได้ขึ้นอยู่กับชาติกำเนิด
นอกจากนั้นงานของ อ.นครินทร์ ทำให้เราได้เห็นภาพว่าจินตนาการของคนในสังคมมีความสำคัญเพียงใด มิใช่เพราะว่ามันสะท้อนให้เห็นข้อเท็จจริงทางสังคม แต่เพราะมันสะท้อนให้เราเห็นว่าคนแต่ละกลุ่มนั้น ได้ใช้ถ้อยคำหรือความหมายเพื่อการต่อสู้และต่อรองเพื่อให้ได้มาเพื่อสถานภาพทางสังคมของตนเองได้อย่างไร เป้าหมายของการศึกษาอาจใช่แค่เรื่องของการเสาะหาข้อเท็จจริงแต่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นการดึงประเด็นเหล่านั้นเข้าสู่การพิจารณาพลวัฒน์ทางการเมืองและสังคมในระดับที่กว้างขวางออกไป
แต่สิ่งที่เราไม่ได้มองก็คือ การก่อตัวผ่านภาษา วัฒนธรรม จะเป็นไปได้หรือไม่ และถ้าหากใช้วิธีนี้เราจะสามารถมองเห็นสภาพทางชนชั้นของสังคมไทย ว่าเหมือนหรือแตกต่างกับสิ่งที่มีการศึกษาเรื่องปี 2475 อย่างไร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา