เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม เลขทะเบียน ๘๖๙ สภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า

อุดมการณ์สถานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตย

เรา...มั่นใจว่า
ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา
ประเทศไทย เป็นของเราทุกคน
เรา ต้องร่วมกันสร้างชาติไทย ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์  พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วันอาทิตย์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2553

"ชะนี......ผู้ปลูกป่า....."

สัตว์ป่าเลี้ยงลูกด้วยนมที่คุ้นหน้าคุ้นตามนุษย์มากชนิดหนึ่งนั้นก็คือ "ชะนี" เพราะชะนี
ถูกจับออกมาจากป่า  และพยายามทำให้เป็นสัตว์เลี้ยงมานานแล้ว


ชะนี นั้นเป็นสัตว์สังคม คืออาศัยอยู่เป็นครอบรัว มีพ่อ แม่ และลูก แต่ละครอบครัวจะมี
อณาเขตเป็นของตนเอง จะเป็นเขตหวงห้ามไม่ให้มีการบุกรุกจากครอบครัวอื่นโดยเด็ดขาด

ถ้ามีการบุกรุกอาณาเขต พ่อชะนีจะทำหน้าที่ป้องกัน โดยส่งเสียงร้องขู่ ลูกเมียก็คอยส่ง
กำลังใจอยู่ใกล้ ๆ โดยส่วนใหญ่แล้วจะไม่ถึงขั้นต้องลงไม้ลงมือกันหรอก เพียงส่งเสียงร้องโต้ตอบกัน
สักพักพอต่างฝ่ายต่างเหนื่อย ก็เลิกลากันไป

เผด็จการ กับ ประชาธิปไตย จะปรองดองกันได้อย่างไร?

แผนปรองดอง 5 ข้อ ของเพื่อไทย

นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย พร้อมด้วย นายคณวัฒน์ วศินสังวร รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย น.ส.สุณีย์ เหลืองวิจิตร เลขาธิการพรรคเพื่อไทย และนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ร่วมกันแถลงข่าวหลังการประชุมกรรมการบริหารพรรค โดยพรรคตอบรับข้อเสนอแผนปรองดอง 5 ข้อของนายปลอดประสพ สุรัสวดี รองหัวหน้าพรรค ทั้งนี้ วาระสำคัญของการประชุมวันนี้คือการสร้างความปรองดองแห่งชาติ โดยพรรคยืนยันจุดยืนของพรรคมาโดยตลอด คือ ประชาธิปไตย ความยุติธรรม ความเท่าเทียม อีกทั้งพรรคเห็นว่าความแตกแยกของบ้านเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันแก้ไข กรรมการบริหารพรรคจึงมีมติดังนี้

คนหาตัวตนให้พบ ว่าเราเป็นเราที่แท้จริง

ในตัวเรามีคนอยู่ "สามคน "
ณ วัดบ้านไร่แห่งหนึ่ง หลวงตาเพิ่งกลับจากการบิณฑบาตเห็นลูกศิษย์วัดนั่งร้องไห้สะอึกสะอื้น จึงเข้าไป ถามไถ่ว่าเป็นอะไร ลูกศิษย์ตอบกลับมาว่า "ผมถูกใส่ร้าย ผมไม่ได้ขโมยเงินในหอพระ แต่ผมเข้าไปปัดกวาดเช็ดถูบ่อย ๆ ทุกคนก็หาว่าผมเป็นขโมย ไม่มีใครเชื่อผมเลย ฮือ ฮือ"

หลวงตานั่งลงข้าง ๆ พยักหน้าเข้าใจแล้วสอนลูกศิษย์ว่า
"เจ้ารู้ไหม ในตัวเรามีคนอยู่สามคน คนแรกคือ คนที่เราอยากจะเป็น คนที่สองคือ คนที่คนอื่นคิดว่าเราเป็น คนที่สามคือ ตัวเราที่เป็นเราจริง ๆ "

ลูกศิษย์หยุดร้องไห้ นิ่งฟังหลวงตา
คนเราล้วนมีความฝัน ความทะยานอยาก ตามประสาปุถุชนทั่วไป ไม่ใช่สิ่งเลวร้าย บางครั้งความฝันก็เป็นสิ่งสวยงาม เป็นพลังที่ทำให้เราก้าวเดิน เช่น บางคนอยากเป็นนักร้อง เป็นนักมวย เป็นดารา ถ้าถึงจุดหมายเราก็จะรู้สึกว่าโลกนี้ช่างสว่าง ไสวสวยงาม ดังนั้นเราควรมีความฝันไว้ประดับตน เพื่อเป็นเครื่องหล่อเลี้ยง หัวใจ"

วันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2553

แผนปรองดอง ที่สมองคิดแต่ปองร้าย

เมื่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เสนอแผนปรองดองแห่งชาติ ต่อแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)
เพื่อหวังจะนำความขัดแย้งทางการเมืองบนท้องถนนกลับไปอยู่ในสภา และแผนปรองดองก็ได้มีการนำมาขับเคลื่อน จนกลายเป็นกระแสความคิด และการเคลื่อนไหวของคนในสังคมจำนวนมาก ซึ่งความสับสนที่เกิดขึ้นก็เนื่องมาจากคำว่าปรองดองนั่นเองว่ามีความหมายอย่างไร

อย่างไรก็ตาม แม้แต่ตัวนายกรัฐมนตรีเอง บางครั้งก็ใช้คำว่าปรองดองในความหมายที่คลุมเครือ บางกรณีก็มีความหมายให้คนไทยรู้รักสามัคคี และร่วมมือกันเพื่อพาให้ชาติพ้นวิกฤติ บางกรณีก็หมายถึงการปฏิรูปการเมือง ซึ่งไม่เพียงแต่นายกรัฐมนตรีเท่านั้นที่กล่าวอย่างสับสน คนทั่วไปก็ยังมีความสับสนด้วยว่าหมายความว่าอย่างไรกันแน่ และถึงที่สุดแล้วแผนปรองดองของรัฐบาลจะหมายถึงอะไรกันแน่

อันที่จริง ความสับสนเกิดขึ้นอาจเนื่องมาจากมุมมองของแต่ละคนต่อการเมืองเป็นอย่างไร ซึ่งข้อถกเถียงระหว่างการปรองดองทางการเมืองกับการปฏิรูปการเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ก็เนื่องมาจากมุมมองต่อการเมืองต่างกัน ฝ่ายแรกที่เน้นเรื่องการปรองดอง เห็นว่าการเมืองเป็นเรื่องของคนชาติเดียวกันและต้องอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ดังนั้นจึงทำทุกวิถีทางเพื่อให้เกิดการปรองดองของคนในชาติโดยอ้างว่าเหมือนที่เป็นมาในอดีต

วันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2553

"ถังที่แตกร้าว"

ชายจีนคนหนึ่งแบกถังน้ำ 2 ใบ ไว้บนบ่าเพื่อไปตักน้ำที่ริมธาร ถังน้ำใบหนึ่งมีรอยแตก ในขณะที่อีกใบหนึ่งไร้รอยตำหนิ และสามารถบรรจุน้ำกลับมาได้เต็มถัง แต่ด้วยระยะทางอันยาวใกลจากลำธารกลับสู่บ้าน จึงทำให้น้ำที่อยู่ในถังใบที่มีรอยแตกเหลืออยู่เพียงครึ่งเดียว

เหตุการณ์ทั้งหมดนี้ดำเนินมาเป็นเวลา 2 ปีเต็ม ที่คนตักน้ำสามารถตักน้ำกลับบ้านได้ 1 ถัง
ครึ่ง ซึ่งแน่นอนว่าถังน้ำใบที่ไม่มีตำหนิจะรู้สึกภาคภูมิใจในผลงานเป็นอย่างยิ่ง

ในขณะเดียวกันถังน้ำที่มีรอยแตก ก็รู้สึกอับอายต่อความบกพร่องของตัวเองมันรู้สึกโศรก
เศร้ากับการที่มันสามารถทำหน้าที่ได้เพียงครึ่งเดียว ของจุดประสงค์ที่มันถูกสร้างขึ้นมา

หลังจากเวลา 2 ปี ที่ถังน้ำที่มีรอยแตก มองว่าเป็นความล้มเหลวอันขมขื่น วันหนึ่งที่ข้าง
ลำธารมันได้พูดกับคนตักน้ำว่า "ข้าฯรู้สึกอับอายตัวเอง เป็นเพราะรอยแตกด้านข้างของตัวข้าฯ ทำให้
น้ำที่อยู่ข้างในไหลออกมาตลอดเส้นทางที่กลับไปยังบ้านของท่าน"

ประชาธิปไตยแปลงร่าง ในสายตานักรัฐศาสตร์

นักรัฐศาสตร์ชี้ประชาธิปไตยไทยแปลงร่างเป็นทั้งเผด็จการพันธ์ใหม่และเป็นประชาธิปไตยอำนาจนิยม
โดย...ประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์
สมาคนนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสถาบันอิสรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย จัดราชดำเนินเสวนา เรื่อง "แนวโน้มสถานะประชาธิปไตยไทยท่ามกลางความขัดแย้ง"

นายฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ อาจารย์ประคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ประชาธิปไตยขณะนี้มีความเป็นเผด็จการพันธ์ใหม่มากขึ้นมีการใช้อำนาจมากขึ้น ซึ่งดูได้ แม้ว่าขณะนี้ไม่ใช่เป็นทหารเต็มคณะเช่นในอดีตแต่เป็นทหารพลเรือนคือเป็นความร่วมมือระหว่างทหารกับพลเรือนในการใช้อำนาจ ศอฉ.กลายเป็นอำนาจนิยมไปแล้ว และเห็นว่า พฤติกรรมของ ศอฉ. คล้ายกับคณะปฏิวัติ จะเรียกใครมาสอบสวน จะแช่แข็งบัญชีของใครก็ได้ จะกักขังใครก็ได้ อำนาจของ ศอฉ. น่าเป็นห่วง เพราะไม่มีใครตรวจสอบ ใช้เงินมือเติบ ตอนนี้ใช้งบประมาณเท่าไรแล้วก็ไม่ทราบ ทั้งนี้อยากฝากถามว่าใช้งบประมาณไปเท่าไร

นายฐิตินันท์ กล่าวว่า ขณะนี้การทำงานของกองทัพและรัฐบาลเกื้อกูลกันมาก เช่น การซื้ออาวุธ การแต่งตั้งโยกย้าย และเรื่องการบริหารงานในภาคใต้ กองทัพถือเป็นเอกเทศ รัฐบาลจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลและกองทัพถือว่าสนับสนุนกัน และเชื่อว่าหากเปลี่ยน ผบ.ทบ. จะยิ่งมีความแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น และเชื่อว่ากองทัพจะไม่ยอมถอยกลับง่ายๆ ออกไปจากการเมืองไทยง่ายๆจากความขัดแย้งทางการเมืองไทยในครั้งนี้ และเชื่อว่ากลไกของ ศอฉ.จะยังคงอยู่ต่อเนื่องลากยาวเลื้อยไปถึงปลายปีหรือต้นปีหน้า โดยอ้างเหตุผลความจำเป็น

วันพุธที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ถ้าฉันเป็นนายกรัฐมนตรี ในประเทศที่กำลังมีอุทกภัย

ถ้าฉันเป็นนายกรัฐมนตรี ในประเทศที่กำลังมีภัยพิบัติน้ำท่วมครั้งใหญ่ในรอบ 50 ปี
คัดลอกจากเรียงความของนักเรียน ป.4 คนหนึ่ง
ซึ่งเขียนส่งอาจารย์เป็นการบ้านวิชาสังคมศึกษา

กินพื้นที่กว่า 30 จังหวัดหรือเกือบครึ่งประเทศ
ผู้คนเดือดร้อนหลายล้านคน
เป็นเวลายาวนานเกือบหนึ่งสัปดาห์เต็ม

ฉันจะ.............
ฉันจะสั่งทำถุงยังชีพ ให้ข้างถุงเขียนว่า “มาจากภาษีประชาชน” ไม่ต้องให้ใครได้ “เอาหน้า” เพราะประชาชนเป็นคนทำงานเสียภาษีให้รัฐทุกปีอยู่แล้ว

ฉันจะจัดตั้ง “ศูนย์กลางแก้วิกฤติ” อย่างด่วนที่สุด ไม่รอให้เนิ่นช้ากว่า 7 วัน ไม่ปล่อยให้ “รัฐบาล” ซึ่งกินภาษีประชาชน ทำงานเชื่องช้ากว่าประชาชนด้วยกันเอง

ฉันจะเอา “ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน” หรือที่รู้จักกันในชื่อ “ศอฉ.” นั่นแหละมาปัดฝุ่นแล้วลุยงานเลย เพราะฉันเชื่อว่า “น้ำท่วม” ก็เป็นเรื่อง “ฉุกเฉิน” ของชาติเช่นกัน ไม่ใช่เฉพาะภารกิจปราบม็อบเสื้อแดงเท่านั้นที่ฉุกเฉิน

วิกฤตการณ์แห่งอำนาจอธิปไตย

สาเหตุแห่งวิกฤติ
1. โลกาภิวัฒน์มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงกรอบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การได้เปรียบ-เสียเปรียบของข้อตกลงทางการค้า การเคลื่อนย้ายทุน คน สินค้า ข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยี เป็นไปอย่างเสรี รวดเร็วและสลับซับซ้อน กดดันให้คนทั่วทั้งโลกต้องปรับตัวอย่างขนานใหญ่ ทั้งกรอบในการรับรู้ การวิเคราะห์ การทำความเข้าใจโลก และการประเมิณคุณค่าใหม่ๆ สถานการณ์โดยรวมก่อให้เกิดเส้นแบ่งใหม่ระหว่างฝ่ายที่ปรับตัวได้กับฝ่ายที่ไม่สามารถปรับตัวได้ (กลุ่มอนุรักษ์ใหม่ ) ประเด็นหลักของการปรับตัวคือ ยอมรับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจหรือไม่ อยู่ในฝ่ายที่ได้เปรียบ-เสียเปรียบต่อการแปรรูปหรือไม่อย่างไร ยอมรับการตกลงการค้าเสรีโดยหลักการหรือไม่ อยู่ในฝ่ายที่ได้เปรียบ-เสียเปรียบต่อข้อตกลงทางการค้ารายสินค้าหรือไม่อย่างไร กลุ่มคนที่ปรับตัวไม่ได้และเสียประโยชน์จากผลกระทบของโลกาภิวัฒน์ มีแนวโน้มที่จะเข้าร่วมกระทั่งเป็นตัวตั้งตัวตีต่อการต่อต้านรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เพราะท่านเน้นยุทธศาสตร์ อยู่ร่วมกับโลกาภิวัฒน์และใช้ประโยชน์จากโลกาภิวัฒน์เป็นสำคัญ

2. กลุ่มทุนที่ไร้ความสามารถปรับตัวหลังวิกฤติ ทั้งกลุ่มที่เป็น NPL (เช่นผู้จัดการ TPI) กลุ่มที่ไม่มีความสามารถทำกำไรและ/หรือ ขยายกิจการอย่างมีข้อจำกัด ล้วนมีความคาดหวังพึ่งพารัฐและต้องการใช้สิทธิพิเศษฟื้นฟูกิจการของตน เมื่อพึ่งพาและใช้สิทธ์พิเศษไม่ได้ก็หันไปอยู่ตรงข้ามกับรัฐบาล

3. กลุ่มการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์บางกลุ่ม ไม่สามารถต่อรองผลประโยชน์จากรัฐได้ตามต้องการก็หันไปอยู่ฝ่ายตรงกันข้ามกับรัฐบาลและพรรคไทยรักไทยที่ตนเคยสังกัดหรือให้การสนับสนุน(เช่นกลุ่มวังน้ำเย็น และกลุ่มทุนพรรคชาติไทย)

วันอังคารที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เปิดใจทักษิณ ถึงพัฒนาการของระบอบประชาธิปไตยไทย

เปิดใจทักษิณ คำต่อคำ ถึง 4 ปี หลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549

จาก 19 กันยายน 2549 ถึง 19 กันยายน 2553 รวมระยะเวลาเกือบ 4 ปี ที่ทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ต้องใช้เวลาส่วนใหญ่รอนแรมอยู่ในต่างประเทศอันเป็นผลพวงมาจากการปฏิวัติ เรามาฟังคำต่อคำของอดีตนายกรัฐมนตรี ต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกันดีกว่า...

พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เปิดใจให้สัมภาษณ์พิเศษกับไทยรัฐออนไลน์ ตอบคำถามถึงพัฒนาการของระบอบประชาธิปไตยไทย หลังการปฏิวัติ 19 กันยายนที่ผ่านมาเกือบ4 ปีว่า

"การเมืองไทย ยังคงวนเวียนอยู่กับระบบเผด็จการที่ฝังรากลึก จนยากเกินหยั่งถึงโดยตนเองเคยพูดไปหลายครั้งแล้วว่า เมื่อเผด็จการมายุ่งเกี่ยวกับระบบประชาธิปไตย แล้วโอกาสที่จะถอนตัวออกไปเป็นไปได้ยาก เพราะฉะนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่ 4 ปี มาแล้วระบบเผด็จการ จึงยังคงอยู่คู่กับระบบประชาธิปไตยไทย ซ้ำร้ายนักการเมืองไทยบางจำพวก ยังดูถูกประชาชนด้วยการขายตัวให้กับเผด็จการ เพียงเพื่อให้ตัวเองอยู่รอด และอยู่ในอำนาจต่อไป รวมทั้งยังมีการทุจริตคอรัปชั่นอย่างมโหฬาร จนแทบจะกลายวัฒนธรรมของสังคมไทยในปัจจุบันไปแล้ว และที่มักจะดูถูกประชาชนว่าซื้อได้นั้น ในปัจจุบันก็เห็นกันแล้วว่านักการเมืองบางคนซื้อได้ง่ายเสียยิ่งกว่าอีก"

ส่วนจะมีโอกาสที่ประเทศไทย จะสามารถกลับมาเป็นเหมือนเดิมได้หรือไม่ จากสภาวการณ์ในปัจจุบัน

วันจันทร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ประชาชนกับบทบาททางการเมือง

อริสโตเติล กล่าวว่า การเมือง คือ ความผูกพันระหว่างประชาชนกับรัฐ จากคำกล่าวนี้ทำให้เกิดการยอมรับกันโดยทั่วไปว่า ประชาชนกับการเมืองจะแยกกันไม่ออก จะมีความผูกพันและจะมีบทบาทต่อกันตลอดไป การที่ประชาชนเข้ามาเกี่ยวข้องสัมพันธ์และแสดงบทบาทอย่างใดอย่างหนึ่ง ถือว่าเป็นการแสดงบทบาททางการเมืองของประชาชนหรือเป็นการเข้าร่วมทางการเมือง (Political participation) นั่นเอง “ซึ่งแมคคอสกี้ (Meclosky) ได้อธิบายความหมายของการเข้าร่วมทางการเมืองไว้ว่า การที่บุคคลมีความสำนึกในทางการเมืองการปกครองได้เข้าร่วมทางการเมืองเป็นกิจกรรมต่าง ๆ ที่กระทำโดยความสมัครใจซึ่งสมาชิกทั้งที่อยู่ในสังคมได้มีส่วนร่วมกันในอันที่จะเลือกผู้นำของตน และกำหนดนโยบายของรัฐ

การกระทำนั้นอาจจะทำโดยตรงหรืออ้อมก็ได้” สำหรับบุคคลที่ได้ชื่อว่า เป็นผู้เข้าร่วมทางการเมืองนั้น จะเกี่ยวข้องหรือเข้าร่วมกับกิจกรรมต่าง ๆ ทางการเมือง เหล่านี้ (อาจจะอย่างเดียวหรือหลายอย่างพร้อม ๆ กันก็ได้) คือ การใช้สิทธิในการเลือกตั้ง การแสวงหาความรู้ทางการเมือง การอภิปรายหรือการพูดคุยเกี่ยวกับการเมือง การเข้าร่วมในการชุมนุมทางการเมือง การแสดงมติมหาชนอื่น ๆ การเป็นสมาชิกพรรคการเมือง การก่อตั้งพรรคการเมือง การลงรับสมัครเลือกตั้ง เป็นต้น แต่การที่ประชาชนจะมีส่วนร่วมทางการเมืองมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ลัทธิการเมืองเอื้ออำนายให้ ประชาชนมีความสำนึกทางการเมือง วิถีทางทางการเมือง เป็นต้น

วันอาทิตย์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ประชาธิปไตยแบบไทยๆ

ประชาธิปไตย – ประชาธิปไตยแบบไทยๆ เป็นฉันท์ใด โดย ทอทหาร

ณ วันนี้เราคงปฎิเสธไม่ได้ว่าการปกครองในระบอบประชาธิปไตย (Democracy) เป็นระบอบการปกครองที่มีความสอดคล้องกับสภาพการณ์ของโลกที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ถึงแม้จะมีนักวิชาการหลายท่านยังไม่ได้เห็นดีเห็นงามไปกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย หรือแม้แต่นักการเมือง/ผู้นำประเทศชื่อดังก็ยังไม่ได้มองว่า ระบอบประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ยกตัวอย่างเช่น อริสโตเติลที่มองว่าประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองที่ไม่ดี หรือ โธมัส ฮอบส์ ที่มองว่าระบบกษัตริย์เป็นระบอบการปกครองที่ดีที่สุด หรือแม้แต่ นรม.สหราชอาณาจักรในสมัยสงครามโลกครั้งที่สองอย่าง

เซอร์วินสตัน เชอร์ชิล (Sir Winston Churchill) ได้กล่าวว่า "Democracy is the worst form of government except for all those others that have been tried." หรือถอดใจความเป็นภาษาไทยได้ว่า "ประชาธิปไตยเป็นรูปแบบการปกครองที่เลวที่สุดหากเรายกเว้นไม่ไปกล่าวถึงบรรดารูปแบบการปกครองอื่นทั้งหลายทั้งปวงที่เคยถูกทดลองใช้บ้างเป็นเป็นครั้งคราว" หรือที่เรานิยมใช้กันว่า “ประชาธิปไตยไม่ใช่ระบบการปกครองที่ดีที่สุด แต่เลวน้อยที่สุด” เป็นต้น การทำความเข้าใจในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยจึงกลายมาเป็นสิ่งที่เราทุกคนในสังคมไทยจำเป็นต้องเรียนรู้

รัฐาธิปัตย์ และ โลกทรรศน์หลังการปฏิวัติ ๒๔๗๕

ความสืบเนื่องและความแตกหักของโลกทรรศน์หลังการปฏิวัติ ๒๔๗๕

เมื่อเกิดการปฏิวัติ ๒๔๗๕ แล้ว สำนักจารีตประเพณีพยายามสร้างคำอธิบายที่ให้ความต่อเนื่องกับจารีตในอดีต แต่สำนักรัฐธรรมนูญนิยมที่ปรากฏชัดขึ้นหลังการปฏิวัติได้ปฏิเสธคำอธิบายแบบจารีตประเพณีและสร้างคำอธิบายที่แตกหักกับสำนักจารีตประเพณี โดยทั้งสองฝ่ายได้ขับเคี่ยวกันในการให้คำอธิบายความจำเป็นของการปฏิวัติ, ที่มาแห่งอำนาจอธิปไตยและอำนาจของพระมหากษัตริย์ในระบอบการปกครองใหม่ ดังนี้ นักกฎหมายสำนักจารีตประเพณีนี้ส่วนใหญ่เป็นนักกฎหมายที่สำเร็จเนติบัณฑิตหรือบัณฑิตทางกฎหมายจากอังกฤษที่เน้นการใช้กฎหมายจารีตประเพณีโดยได้อ้างอิงหลักการรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีแบบอังกฤษ คือ หลักการแบ่งอำนาจเป็นความเข้าใจและร่วมมือกันเป็นอย่างดีระหว่างผู้ใช้อำนาจอธิปไตย โดยไม่มีการตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรแต่จะยึดถือธรรมเนียมที่เคยปฏิบัติต่อๆ กันมา เน้นขนบประเพณีและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ของอังกฤษ และพยายามอ้างอิงอำนาจพระมหากษัตริย์ไทยเข้ากับพระมหากษัตริย์อังกฤษ นอกจากที่เรียนจากอังกฤษแล้วยังมีนักกฎหมายส่วนหนึ่งในสำนักนี้ที่สำเร็จจากโรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม

โลกทรรศน์และวิธีการอธิบายสถาบันทางการเมืองนักกฎหมายสำนักจารีตประเพณีที่มักเน้นอธิบาย “จารีต” อำนาจทางการเมืองไทยให้อิงเข้ากับจารีตอำนาจของอังกฤษ หรือการยอมรับแต่เพียงผลลัพธ์ แต่กลับปฏิเสธสาเหตุ หรือประสบการณ์ของประวัติศาสตร์การเมืองแบบอังกฤษที่เกิดขึ้น โดยดึงหลักการเพียงบางส่วนเข้ามาและผสมผสานกับความเชื่อเดิมเพื่อวางแบบแผนในการร่างรัฐธรรมนูญและการให้คำอธิบายมาตราต่างๆ ที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ในรัฐธรรมนูญของไทยในเวลาต่อมา ปัญญาชนนักกฎหมายสำนักจารีตประเพณีนี้ซึ่งส่วนใหญ่เป็นข้าราชการที่มีตำแหน่งสูงในตำแหน่งตุลาการของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มีความใกล้ชิดกับเจ้านายและพระมหากษัตริย์ เช่น พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (๘) พระยาศรีวิสารวาจา (๙) พระยาเทพวิทุรพหุลศรุตาบดี (๑๐) พระยาปรีดานฤเบศร์ (๑๑) พระยามานวราชเสวี (๑๒) หลวงจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ (๑๓) และหม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ (๑๔) ซึ่งสำเร็จการศึกษาด้านประวัติศาสตร์ เป็นต้น

ล้มให้เป็น ลุกให้ได้...หากใจยังสู้

'ล้มให้เป็น ลุกให้ได้' หนังสือที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อ่าน เขียนโดยนายเอกชัย วรรณแก้ว ผู้พิการแต่กำเนิด

วันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ประชาธิปไตยทางตรงคืออะไร?

ประชาธิปไตยทางตรงคืออะไร? ชาวบ้านพบอุปสรรคอะไรบ้างในการเสนอข้อบัญญ­ัติท้องถิ่น ตามแนวทางของกฎหมายการเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งข­องผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าชื่อร้องขอต่อประธานสภาท้องถิ่­นเพื่อดำเนินการให้สภาท้องถิ่นพิจารณาออกข­้อบัญญัติได้? ในการเสนอถอดถอนผู้บริหารท้องถิ่น และทางออกควรเป็นอย่างไร ชาวบ้านพบอุปสรรคอะไร?





ผู้เข้าร่วมรายการ
1.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรทัย ก๊กผล ผู้อำนวยการ วิทยาลัยพัฒนาการปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า
2.คุณประยงค์ ดอกลำใย รองผู้อำนวยการมูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ
3.คุณหอมหวล บุญเรือง ประธานโครงการอนุรักษ์ขุนน้ำดอยแม่ออกฮู อ.เวียงชัย จ.เชียงราย
4.คุณพรเทพ ประดับพลอย นายกเทศมนตรีตำบลบางม่วง จ.นนทบุรี

ผู้ดำเนินรายการ
คุณสุนี ไชยรส

บทบาทของการเมืองภาคประชาชน

การเมืองภาคประชาชน ในงานวิจัยของเสกสรรค์ โดย เกษียร เตชะพีระ

ผมสบโอกาสได้รับเชิญให้ช่วยอ่านและวิจารณ์ร่างรายงานการวิจัยเรื่อง "บทบาทของการเมืองภาคประชาชน ในการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยไทย" ของอาจารย์ ดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ในงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ครบรอบ 55 ปี เมื่อวันจันทร์ที่ 14 มิถุนายนที่ผ่านมา อ่านแล้วก็ตื่นเต้นและประทับใจ อยากเอามาเล่าต่อสู่ท่านผู้อ่าน งานวิจัยชิ้นนี้ได้การสนับสนุนจากทุนปรีดี พนมยงค์ มูลนิธิ 50 ปีธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2545 อาจารย์เสกสรรค์อ่านค้นคว้าเก็บรวบรวมข้อมูลไป ตามสัมภาษณ์ปัญญาชนสาธารณะผู้นำกลุ่มประชาชน และผู้นำองค์กรพัฒนาเอกชน 37 คน จากเหนือจรดใต้ไป พร้อมกับสอนหนังสือและตรวจข้อสอบของนักศึกษาเป็นร้อยๆ ที่คณะรัฐศาสตร์รวม 7 วิชาไปด้วย กินเวลาปีกว่าจึงเขียนเสร็จ

แต่หากนับช่วงเวลาที่อาจารย์เสกสรรค์เฝ้าครุ่นคิดใคร่ครวญถึงปัญหามูลฐานต่างๆ เกี่ยวกับรัฐ สังคมและการเมืองไทยจนก่อรูปเป็นแนวความเข้าใจและองค์ความรู้ในงานชิ้นนี้ก็คงจะกว่า 15 ปีตั้งแต่ค้นคว้าและเขียนวิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตเรื่อง "TheTransformation of the Thai State and Economic Change(1855-1945) ("การเปลี่ยนรูปของรัฐไทยกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2498-2488) เสร็จ ณ มหาวิทยาลัยคอร์แนล เมื่อปี พ.ศ. 2532 และผลิตงานทางปัญญาและวิชาการแนวเดียวกันแบบเกาะติดสืบเนื่องมา ในฐานะข้อเขียนชิ้นหนึ่ง งานเรื่อง "บทบาทของการเมืองภาคประชาชนในการพัฒนาระบอบประชาธิปไตย" จัดเป็นความเรียงขนาดยาว(เนื้อหา 4 บท 158 หน้า) ที่นำเสนอข้อถกเถียงโต้แย้งอย่างแน่นเนื่อง ผ่านการบ่มเพาะความคิดมานานจนสุกงอม และเพียบพร้อมด้วยข้อคิดความเข้าใจอันหยั่งลึก

วันศุกร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เรื่องกล้วยๆ ที่รัฐบาลนี้ทำไม่ได้

วิถีชีวิตประชาธิปไตย

ลักษณะของวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตย อาจจำแนกได้ดังนี้
1. เคารพเหตุผลมากกว่าบุคคล โดยไม่ศรัทธาบุคคลใดถึงขั้นปูชนียะบุคคล (แต่ก็ต้องกตัญญูต่อญาติผู้ใหญ่และผู้มีพระคุณ) จะต้องไม่เคร่งครัดเรื่องระบบอาวุโส (แต่ต้องให้ความเคารพผู้อาวุโส) ประชาธิปไตยจะดำเนินไปด้วยดีก็ต่อเมื่อมีการรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่าย เพื่อค้นหาเหตุผลและความถูกต้องที่แท้จริง เพราะเหตุผลเท่านั้นที่จะจรรโลงให้ประชาธิปไตยดำเนินไปได้ และประชาธิปไตยเชื่อว่ามนุษย์เป็นสัตว์ที่มีเหตุผลรู้จักประนีประนอม ต้องรู้จักยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่ยึดมั่นหรือดึงดันแต่ความคิดเห็นของตนเองโดยไม่ยอมผ่อนปรนแก้ไข และต้องยอมเปลี่ยนแปลงแก้ไขความคิดเห็นของตนเองเมื่อผู้อื่นมีความคิดเห็นที่ดีกว่า

2. ปรัชญาประชาธิปไตยโดยพื้นฐานไม่ปรารถนาให้มีการใช้กำลังและการล้มล้างด้วยวิธีการรุนแรงเพราะถ้ามีการใช้กำลังและความรุนแรงแล้ว ก็แสดงให้เห็นว่ามนุษย์ไม่มีหรือไม่ใช่เหตุผล ซึ่งก็ขัดกับหลักความเชื่อข้อมูลฐานของประชาธิปไตยที่ถือว่ามนุษย์มีเหตุผล

3. มีระเบียบวินัย คือ ต้องปฏิบัติตามกฎหมายของบ้านเมืองอย่างสม่ำเสมอ และช่วยทำให้กฎหมายของบ้านเมืองมีความศักดิ์สิทธิ์โดยไม่ยอมให้ผู้ใดมาละเมิดตามอำเภอใจ แต่ถ้ามีความรู้สึกว่ากฎหมายที่ใช้อยู่ไม่เป็นธรรม ก็ต้องหาทางเรียกร้องให้มีการแก้ไขกฎหมายนั้น มิใช่ฝ่าผืนหรือไม่ยอมรับการใช้เสรีภาพเกินขอบเขตจนละเมิดหรือก้าวก่ายในสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น ย่อมทำให้เกิดความไม่สงบขึ้นในสังคม เพราะสังคมที่ไม่มีการจำกัดในเรื่องสิทธิเสรีภาพเลยนั้นหาใช่สังคมประชาธิปไตยไม่แต่เป็นสังคมอนาธิปไตยที่เปรียบเสมือนไม่มีรัฐบาล ไม่มีกฎหมาย ไร้ระเบียบวินัยทางสังคมโดยสิ้นเชิง

วันพฤหัสบดีที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2553

กล้วยน้ำว้า

กล้วยน้ำว้า จัดเป็นไม้วงศ์ MUSACEAE สกุล Musa จึงนับว่าเป็นที่รู้จักมากที่สุดในหมู่ผู้ยากไร้ จนมีคำพังเพยว่า "ถูกยังกะกล้วยน้ำว้า"

ที่ว่าถูกนั้นก็เห็นจะไม่ผิดหรอกถ้าเป็นประเทศสยามสมัยเมื่อหลายสิบปีก่อนแต่ปัจจุบันไอ้ที่ว่าถูกยังกะกล้วยน้ำว้าอันเป็นที่พึ่งของคนยากเมื่อครั้งก่อน ๆ นั้น หามีไม่แล้ว

สมัยที่นมกระป๋อง แป้งกระป๋องยังไม่มีจะชงให้ลูกกิน ก็ไอ้ลูกเหลือง ๆ อวบ ๆ นี่แล้วที่เอามาขูดใช้เนื้อของมันนั่นแล้วบดกับข้าวสุกให้ลูกกิน จนกระทั่งมันรอดเป็นเนื้อเป็นตัวเติบใหญ่จนมีโอกาสได้ชื่นชมกับ "ประชาธิปไตย" ที่ไทยแต่เก่าก่อนบ่เคยรู้จัก

แล้วไอ้ที่มากับประชาธิปไตยนี่แล้วในยุคนี้ก็คือ ราคาอันสูงส่งของมันจนไม่มีใครบังอาจเอาไปเปรียบเป็นคำพังเพยได้อีกแล้วเพราะมันได้เลื่อนฐานันดรขึ้นจนกระทั่งบัดนี้ขึ้นหน้าขึ้นตาเทียมกับของกินเล่นกินจริง ของคนไทยทุกชั้นไปแล้ว เช่น กล้วยฉาบ กล้วยตากอบน้ำผึ้ง เป็นต้น

การเมืองของพลเมืองหรือการเมืองภาคประชาชน

การเมืองของพลเมือง(Citizen Politics) หรือการเมืองภาคประชาชน คืออะไร

การเมืองของพลเมือง หมายถึง การเมืองที่ประชาชนในทุกส่วนภาคสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับท้องถิ่น ระดับชาติ ระดับนานาชาติ

เป็นการเมืองที่ประชาชนสามารถเข้าไปมีบทบาทและเข้าใจถึงสิทธิในการแสดงออกซึ่งความต้องการของตนเพื่อนำไปสู่การผลักดันให้รัฐออกกฎหมายหรือกำหนดนโยบายต่างๆที่สอดคล้องกับความต้องการของตนได้

การเมืองภาคประชาชน จึงถือเอาขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองในรูปแบบต่างที่ปรากฏในสังคมรัฐ เช่น การชุมนุม เดินขบวน เรียกร้อง เจรจาต่อรอง การพยายามเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจร่วมกับรัฐในเรื่องต่างๆ ฯลฯเป็นต้น
การเมืองแบบนี้ ประชาชนจะเป็นตัวแทนของตนเอง เป็นผู้กำหนดความต้องการของตนเองออกมาเป็นประเด็นในสังคมเพื่อนำไปสู่การเคลื่อนไหวต่อไป

ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับรัฐ จะเปลี่ยนจากการเป็นผู้อยู่ใต้อุปถัมภ์พึ่งพา แบมือขอในฐานะเป็นผู้ถูกกระทำ(Passive) มาเป็นผู้กระทำ (active) เป็นฝ่ายรุกรัฐให้กระทำตาม ดังนั้น รัฐจึงไม่ใช่ศูนย์อำนาจแต่ประชาชนคือศูนย์อำนาจเป็นผู้กำหนดความต้องการของตน ไม่ใช่รัฐ

วันพุธที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ระบบเศรษฐกิจที่รับใช้ทุกคนอย่างเสมอหน้า

วิสัยทัศน์ใหม่...มุมมองของผู้หญิง IMOW
ดรุณี : แปล

วิกฤตการเงินโลกได้เปิดโอกาสสำหรับผู้หญิงไหม? IMOW (International Museum of Women) นำเสนอจินตนาการและประสบการณ์อันหลากหลายของผู้หญิง เพื่อตอบคำถามว่า วิกฤตได้บ่มเพาะโอกาสหรือไม่?

ขลิบสีเงินบนขอบเมฆ ในระหว่างพายุกระหน่ำของวิกฤตการเงินทั่วโลก คือ มันได้ช่วยเปิดโปงจุดบกพร่องในระบบเศรษฐกิจของเรา และได้ช่วยเปิดโอกาสบ้างสำหรับการเปลี่ยนแปลง ในสถานที่ต่างๆ เช่น บังคลาเทศ บาร์บาโดส โบลิเวีย กัมปาลา และมานิลา วาระเศรษฐกิจใหม่ๆ กำลังงอกเงยและเริ่มแข็งแรงขึ้น--วาระที่จะแก้ไขปัญหาที่ผู้หญิงทั่วโลกกำลังเผชิญหน้าอยู่ และส่งเสริมให้พวกเธอได้มีส่วนร่วมและใช้ความสามารถของพวกเธอ IMOW หวังว่า ผู้อ่านและผู้ฟัง จะสามารถถอดรหัส เรียนรู้จากบทความที่เต็มไปด้วยวิสัยทัศน์และภูมิปัญญา ตั้งคำถามคำใหญ่ และช่วยพวกเราจินตนาการอนาคตที่สว่างสดใสและมีความเสมอภาคกว่าปัจจุบัน

An Economy That Works for Everyone
Masum Momaya, Curator

วันอังคารที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2553

แก้ - ไม่แก้รัฐธรรมนูญ ในมุมมองของผู้หญิง

รายการ "สิทธิ วิวาทะ ประเด็น : แก้ - ไม่แก้รัฐธรรมนูญ ในมุมมองของผู้หญิง
ออกอากาศทาง ทีวีไทย TPBS ปี พ.ศ.๒๕๕๒



อุดมการณ์ประชาธิปไตย

อุดมการณ์ประชาธิปไตยจะเน้นในเรื่องสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคควบคู่กันไป

สิทธิเสรีภาพ
สิทธิ หมายถึง อำนาจอันชอบธรรมหรือความสามารถที่จะกระทำการใด ๆ ได้โดยชอบธรรม โดยอำนาจอื่นแม้กระทั่งอำนาจของรัฐจะก้าวก่ายในสิทธิของบุคคลอื่นไม่ได้

เสรีภาพ หมายถึง ความมีอิสระในการกระทำการใด ๆ ได้ตามปรารถนา แต่มีขอบเขตจำกัดว่า การกระทำนั้นๆ จะต้องไม่ละเมิดกฎหมายหรือละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น โดยเสรีภาพที่เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานได้แก่ เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ เสรีภาพในการรวมตัวกันจัดตั้งเป็นพรรคการเมือง ฯลฯ

สิทธิและเสรีภาพในระบอบประชาธิปไตยจำแนกได้ดังนี้
1. เสรีภาพในการพูด การพิมพ์ และการโฆษณา โดยรัฐประชาธิปไตยจะอนุญาตให้มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น แต่ต้องไม่หยาบคายลามก หมิ่นประมาท หรือละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นนี้มีค่าสูงมาก เพราะเชื่อว่า หากยอมให้ทุกฝ่ายได้แสดงความคิดเห็นอย่างเสรีแล้ว การขัดแย้งกันอย่างรุนแรงจะไม่เกิดขึ้น

2. เสรีภาพในการนับถือศาสนา คนทุกคนย่อมมีสิทธิโดยสมบูรณ์ที่จะเลือกนับถือหรือศรัทธาในศาสนาใดศาสนาหนึ่งแต่บุคลก็ไม่สารถที่จะปฏิเสธกฎหมายของรัฐซึ่งอาจขัดแย้งกับหลักการทางศาสนาของเขา แต่ในบางประเทศที่เคารพเสรีภาพสูงมาก เช่น สหรัฐอเมริกา การหลีกเลี่ยงกฎหมายของประเทศเพราะขัดหลักการทางศาสนา ได้รับการยอมรับว่าเป็นการกระทำที่ไม่ผิดกฎหมาย จึงไม่ต้องรับโทษแต่ประการใด

วันจันทร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ทางตันของคณะรัฐประหารและรัฐบาลประชาธิปัตย์

"ทางตันของคณะรัฐประหารและรัฐบาลอภิสิทธิ์ชน จนร้องหาความปรองดอง"

การเมืองไทย 2553 : ทางตันของคณะรัฐประหารและรัฐบาลประชาธิปัตย์

โดย รศ.ดร.วรพล พรหมิกบุตร
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

1.ภูมิหลังปัญหาและความต่อเนื่องของความขัดแย้งการรัฐประหารเมื่อ 19 กันยายน 2549 มิได้มีเป้าหมายเพื่อมุ่งกำจัดพรรคไทยรักไทยเท่านั้น แต่ต้องการกำจัดการเมืองในระบอบประชาธิปไตย เพื่อการหวนคืนสู่อำนาจของการเมืองระบอบคณาธิปไตย โดยรัฐสภาที่มีเครือข่ายคณะรัฐประหารในกองทัพ ผู้ร่วมผลประโยชน์ภายนอกกองทัพ (ดังปรากฏบทบาทและตัวตนของบุคคลรวมทั้งองค์กรต่างๆหลากหลายวิชาชีพในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา) ร่วมกันสืบทอดอำนาจปกครองโดยอาศัยรัฐธรรมนูญ 2550 และกฎหมายอื่นทั้งที่มีอยู่แล้วและที่บัญญัติขึ้นใหม่เป็นการเฉพาะสำหรับการสืบทอดอำนาจภายในเครือข่ายคณะรัฐประหาร(รวมทั้งการกำจัดปรปักษ์ทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย)

วิธีการหวนคืนสู่ระบอบคณาธิปไตยและสืบทอดอำนาจการเมืองการปกครองของเครือข่ายคณะรัฐประหาร 2549 กระทำเป็นกระบวนวิธีมีลำดับขั้นตอน โดย
1.1 ยึดอำนาจการเมืองด้วยกำลัง วันที่ 19 กันยายน 2549 ซึ่งเป็นการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113 แต่ภายหลังได้ออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้ตนเอง
1.2 จัดตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติและสภาร่างรัฐธรรมนูญของคณะรัฐประหาร
1.3 มอบหมายให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติและสภาร่างรัฐธรรมนูญของคณะรัฐประหารเขียนบทบัญญัติทางกฎหมายกำหนดขั้นตอน ซ่อนวิธีสืบทอดอำนาจ และการควบคุมการเมืองการปกครองในรัฐสภาโดยใช้กฎหมายหรือนิติวิธี สืบเนื่องต่อจากช่วงเวลาที่ต้องการควบคุมด้วยกำลังอาวุธ (ได้แก่ บทบัญญัติว่าด้วยวุฒิสภา บทบัญญัติว่าด้วยการสรรหาองค์กรอิสระและองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และบทเฉพาะกาลเป็นสำคัญ)

เวทีประชาธิปไตยชุมชน

เวทีประชาธิปไตยชุมชนวันที่สองคึกคัก ยื่น 5 ข้อเสนอเชิงนโยบาย และปัญหาเร่งด่วน 5 ภาค นายกฯโปรยยาหอมรับทุกข้อ เตรียมงบ 700 ล้านให้ตำบลละแสนภายใน 2 ปี ผลักดัน ปชต.ทุกหมู่บ้านไปสู่สมานฉันท์แผ่นดิน เติมหลักสูตรใส่การศึกษาทุกระดับ ให้ อปท.มีอิสระหนุนงบองค์กรชุมชน เปิดพื้นที่รากหญ้าในสื่อสาธารณะ

เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม ที่ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ แจ้งวัฒนะ สภาพัฒนาการเมือง(สพม.) จัด “สมัชชาประชาธิปไตยชุมชน สู่การเมืองภาคพลเมืองที่เข้มแข็ง” เป็นวันที่สอง โดยมี ศ.ดร.สุจิต บุญบงการ ประธาน สพม. ภาคีเครือข่ายพัฒนาการเมือง 76 จังหวัดทั่วประเทศ หน่วยงานรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) เข้าร่วมจำนวนมาก ทั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีได้เดินทางมารับ “ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อนำไปสู่การจัดทำนโยบายสนับสนุนกระบวนการประชาธิปไตยชุมชนและความเข้มแข็งของการเมืองภาคพลเมือง” จากตัวแทนสมัชชาประชาธิปไตยชุมชน

นายสน รูปสูง รองประธานสภาพัฒนาการเมือง กล่าวว่าข้อจำกัดในการพัฒนาประชาธิปไตยที่ผ่านมาเพราะภาคราชการและ อปท.ไม่เปิดพื้นที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมจัดการตนเองอย่างแท้จริง ดังนั้นประชาธิปไตยชุมชนจะเป็นรากฐานการพัฒนาประชาธิปไตยของชาติและการปฏิรูปเพื่อความเข้มแข็งของประเทศ ทั้งนี้มีตัวอย่างความสำเร็จที่สภาพัฒนาการเมืองได้ดำเนินการหรือต่อยอดในจังหวัดนำร่องทั่วประเทศช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เช่น ชุมชนอนุรักษ์ป่าพรุแม่รำพึง จ.ประจวบคีรีขันธ์, บ้านสามขา จ.ลำปาง ที่ประชุมยืนยันจะนำกระบวนการดังกล่าวไปปฏิบัติในระดับชุมชน ร่วมกับภาครัฐ อปท.และองค์กรต่างๆเพื่อให้ท้องถิ่นสามารถจัดการตนเองได้ทั้งระดับชุมชนและระดับจังหวัด โดยมีนโยบายที่เหมาะสม จึงมีข้อเสนอให้รัฐบาลนำไปจัดทำนโยบายสนับสนุนประชาธิปไตยชุมชนและการเมืองภาคพลเมืองอย่างสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญมาตรา 78(7) และมาตรา 87 ดังนี้

จะสร้างประชาธิปไตยให้เป็นจริง ได้อย่างไร ?

จะสร้างประชาธิปไตยให้เป็นจริงในประเทศไทย ได้อย่างไร ?

การมุ่งไปสู่การเป็นสังคมประชาธิปไตย คือ อุดมคติของประชาชนในประเทศทั้งหลายทั่วโลกในยุคประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ผู้ซึ่งมีลัทธิประชาธิปไตยเป็นอุดมการณ์ หรือเป็นอาวุธทางความคิด ที่ใช้เป็นวิธีคิดสร้างสังคมให้เป็นประชาธิปไตยอันเป็นความมุ่งหมายสูงสุด สังคมที่เป็นความใฝ่ฝันอันสูงสุดของมนุษยชาติ คือสังคมที่มีความไพบูลย์ ความสันติสุข อิสรภาพ เสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ ซึ่งเรียกขานกันทั่วไปว่า “สังคมประชาธิปไตย”

การสร้างสังคมประชาธิปไตยด้วยลัทธิประชาธิปไตยนั้นจะบรรลุความสำเร็จได้จริง จะต้องสร้างให้ครบองค์ประกอบที่สำคัญของระบบสังคมทั้ง 3 ด้าน คือ การเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม นั่นคือ จะต้องมีการเมืองประชาธิปไตย โดยมีด้านการเมืองเป็นองค์ประกอบนำ ด้านเศรษฐกิจเป็นองค์ประกอบด้านรากฐาน และด้านวัฒนธรรมเป็นองค์ประกอบส่วนบนภาพสะท้อน เพราะคำว่า “ระบบสังคม” คือ ทุกส่วนทุกด้านของสังคมนั่นเอง

สังคมประชาธิปไตยเป็นสังคมเปิด เป็นสังคมแห่งความแตกต่างหลากหลาย เป็นสังคมแบบพหุนิยม ไม่ใช่แบบเอกนิยม หรือทวินิยม ดังนั้นจึงมีความคิดจิตสำนึกของสังคมที่มีจุดยืนบนผลประโยชน์ส่วนรวม มีทรรศนะที่กว้างขวางไม่ยึดติดคับแคบด้านใดด้านหนึ่ง เช่น วัตถุนิยม หรือจิตนิยม มีมรรควิธีวิทยาศาสตร์และเหนือวิทยาศาสตร์ การเมืองของสังคมประชาธิปไตย คือ การเมืองประชาธิปไตย, เศรษฐกิจของสังคมประชาธิปไตย คือ เศรษฐกิจประชาธิปไตย, วัฒนธรรมของสังคมประชาธิปไตย คือ วัฒนธรรมประชาธิปไตย

วันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2553

อนาคต "ประชาธิปไตย?"

รายงานเสวนา : อนาคต "ประชาธิปไตย?"
(ปรองดอง ปฏิรูป รัฐบาลแห่งชาติ และรัฐประหาร)
ที่มา : ประชาไท

เมื่อวันที่ 13 ต.ค.53 เวลา 13.30 น. มีการเสวนาวิชาการ หัวข้อ อนาคต "ประชาธิปไตย ?" (ปรองดอง ปฏิรูป รัฐบาลแห่งชาติ และรัฐประหาร) โดย ไชยันต์ รัชชกูล อาจารย์จากสถาบันศาสนา วัฒนธรรมและสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ, ศรีวรรณ จันทร์ผง ผู้ประสานงาน นปช. เชียงใหม่, ปรีชาพล ชูชัยมงคล อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย , ชำนาญ จันทร์เรือง อาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน, ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, พิภพ อุดมอิทธิพงศ์ นักแปลอิสระ ดำเนินรายการโดย ณัฐกร วิทิตานนท์ อาจารย์สำนักนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ณ ห้องมัณฑเลย์ สถานวิชาการนานาชาติ สำนักบริหารวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (IC) จัดโดยกลุ่มประชาธิปไตยเพื่อรัฐสวัสดิการ แนวร่วมกลุ่มเกษตรกร กลุ่มผู้ใช้แรงงาน ภาคเหนือ กลุ่มไร้สังกัด

“ไชยันต์ รัชชกูล” ประชาธิปไตยเฉพาะหน้าไม่เห็นทาง-ระยะยาวฝากพระสยามเทวาธิราช
ไชยยันต์กล่าวว่า จะพูดคุยเรื่องประชาธิปไตยโดยแบ่งเป็นสองส่วน 1. ประชาธิปไตยเฉพาะหน้า ภายใน 1-2 ปีนี้ 2.การมองประชาธิปไตยในระยะยาว

วันพุธที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2553

กับดักสำคัญของการปกครองท้องถิ่น

บ้านเขาเมืองเรา : ดร.ไสว บุญมา
กรุงเทพธุรกิจ วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553

การปกครองท้องถิ่นเป็นประเด็นหลักประเด็นหนึ่งซึ่งจะได้รับการพิจารณาจากสมัชชาปฏิรูป ทั้งนี้คงเพราะนักวิชาการด้านการบริหารกิจการแผ่นดินอยากให้เมืองไทยพัฒนาไปในแนวที่ได้รับความนิยมในสังคมตะวันตกซึ่งกำลังมีเรื่องราวมากมายในปัจจุบันอันน่าจะนำมาเป็นอุทาหรณ์ ข่าวในอเมริกาล่าสุดเป็นเรื่องของเมืองแฮริสเบอร์กอันเป็นเมืองหลวงของรัฐเพนซิลเวเนีย แฮริสเบอร์กเพิ่งประกาศเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่าจะงดชำระหนี้ในสัปดาห์ที่จะมาถึง ในช่วงนี้มีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวางระหว่างนายกเทศมนตรีและสภาเทศบาลของเมืองนั้นกว่าในอันดับต่อไป พวกเขาควรจะประกาศล้มละลายเพื่อพักชำระหนี้ซึ่งมีอยู่ถึงเกือบ 300 ดอลลาร์ หรือไม่

แฮริสเบอร์ก ไม่ใช่เมืองเดียวที่กำลังประสบปัญหาหนักหนาสาหัสถึงขนาดประกาศล้มละลายเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยทำให้เก็บภาษีได้น้อยกว่าที่คาด เทศบาลอเมริกันจำนวนมากต่างประสบปัญหาคล้ายกันยังผลให้หลายแห่งประกาศล้มละลายไปแล้ว เช่น เมืองพริชาร์ดในรัฐแอละแบมา เมืองวอชิงตันในรัฐอิลลินอยส์ และเมืองวาเยโฮในรัฐแคลิฟอร์เนีย เมืองเหล่านี้ยังค่อนข้างโชคดีที่มีทางออกเนื่องจากรัฐมีกฎหมายล้มละลายที่อนุญาตให้พักชำระหนี้ได้เช่นเดียวกับภาคเอกชน หลายรัฐไม่อนุญาตให้ทำเช่นนั้น เมืองที่ประสบปัญหาต้องใช้มาตรการรุนแรงจำพวกหยุดให้บริการสำคัญๆ และไล่พนักงานออกทันที

ปฏิรูปประเทศไทยในสายตาประชาชน

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง ปฏิรูปประเทศไทยในสายตาประชาชน กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระหว่างวันที่ 6-9 ตุลาคม 2553 พบว่า ประชาชนร้อยละ 58.8 ติดตามข่าวการปฏิรูปประเทศไทยในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ในขณะที่ร้อยละ 41.2 ไม่ได้ติดตาม

ร้อยละ 47.9 ระบุยังไม่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการปฏิรูปประเทศไทยที่เพียงพอ ในขณะที่ร้อยละ 20.3 ระบุเพียงพอแล้ว และร้อยละ 31.8 ยังไม่แน่ใจ

ร้อยละ 36.7 ไม่มั่นใจว่าการปฏิรูปประเทศไทยจะประสบความสำเร็จ เพราะคนไทยเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว ขาดความสามัคคี ยังมีความขัดแย้งกันหลายฝ่าย ไม่เชื่อมั่นต่อฝ่ายการเมือง เป็นต้น ร้อยละ 12.1 มั่นใจ เพราะเชื่อมั่นต่อศักยภาพของรัฐบาลชุดนี้ คนไทยยังสามัคคีกัน และจะทำให้บ้านเมืองสงบได้ เป็นต้น

ที่น่าเป็นห่วงคือ เมื่อวิเคราะห์คนที่แสดงความคิดเห็นต่อการปฏิรูปประเทศไทย พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 75.3 ไม่มั่นใจ ในขณะที่ร้อยละ 24.7 มั่นใจ

ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.3 ระบุการปฏิรูประบบการจัดเก็บภาษีให้เป็นธรรมเป็นเรื่องเร่งด่วน รองลงมาคือร้อยละ 61.7 ระบุการปฏิรูปที่ดินเพื่อให้ถือครองอย่างเป็นธรรมเป็นเรื่องเร่งด่วน และร้อยละ 59.9 ระบุเป็นเรื่องการกระจายอำนาจสู่ชุมชน

การเมืองคืออะไร ?

การเมือง คืออะไร ?

ระบบการเมือง หมายถึง ระบบซึ่งประกอบไปด้วย ข้าราชการการเมือง พรรคการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา กลุ่มผลประโยชน์ สื่อมวลชนและประชาชน การที่กลุ่มต่างๆเหล่านี้มาอยู่ร่วมกันในรูปแบบของรัฐจะมีการสร้างระบอบการปกครองมาใช้ในรูปแบบต่างๆ เช่นสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ประชาธิปไตย
ระบอบการเมือง คือระบบการบริหารสังคมที่เรียกว่า “รัฐ” นั่นเอง

ในระบบการบริหารจัดการรัฐ จึงเป็นระบบของการตัดสินใจแทนรัฐโดยผู้ใช้อำนาจรัฐ เป็นการกระทำในนามของรัฐและมีผลผูกพันต่อคนในสังคมของรัฐนั้นๆต้องให้การยอมรับหรือต้องปฏิบัติตามระบอบการเมือง จึงเป็นระบบการปกครองและการบริหารจัดการรัฐโดยสถาบันต่างๆผู้ใช้อำนาจรัฐ มีความสำคัญอย่างมากต่ออนาคตของทุกคนในสังคมรัฐนั้นๆอย่างเลี่ยงไม่ได้

ดังนั้นการใช้อำนาจของสถาบันหลักทางการเมือง ต้องมีรูปแบบของการจัดการที่ตั้งบนกฎเกณฑ์ตามระบอบการปกครองที่นำมาใช้เสมอ เช่น ถ้าเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตย การใช้อำนาจรัฐของสถาบันทางการเมือง ไม่ว่ารัฐบาล รัฐสภา ต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนมาส่วนร่วมทางการเมือง เพื่อให้เกิดการถ่วงดุลอำนาจ การตรวจสอบ ให้การใช้อำนาจเป็นไปอย่างโปร่งใส ชอบธรรม ไม่ควรผูกขาดการตัดสินใจแค่เพียงการพิจารณาของครม. และรัฐสภาโดยประชาชนไม่มีส่วนรู้เห็นด้วยเลย

วันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ประชาธิปไตย ต้องเข้าใจ เข้าให้ถึง จึงจะพัฒนา

ประชาธิปไตย คือ อะไร ?

คำว่า “ประชาธิปไตย” ประกอบด้วยคำว่า “ประชา” หมายถึงหมู่คนคือปวงชน กับคำว่า ”อธิปไตย” หมายถึงความเป็นใหญ่

“ประชาธิปไตย” จึงหมายถึง “ความเป็นใหญ่ของปวงชน”
ราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายของคำว่า “ประชาธิปไตย” ไว้ในหนังสือพจนานุกรมของทางราชการว่า “แบบการปกครองที่ถือมติปวงชนเป็นใหญ่”

ทั้งนี้พึงเข้าใจว่าการที่ปวงชนจะมีความเป็นใหญ่ในการแสดงมิติได้ก็จำเป็น ที่ชนทุกคนรวมกันเป็นปวงชนนั้นต้องมี “สิทธิและหน้าที่ของมนุษยชน” อันเป็นสิทธิและหน้าที่ตามธรรมชาติของทุกคนที่เกิดมาเป็นมนุษย์ คือ สิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคซึ่งมนุษย์จะต้องใช้พร้อมกันกับหน้าที่ มิให้เกิดความเสียหายแก่เพื่อนมนุษย์อื่นและหมู่คนอื่นหรือปวงชนเป็นส่วนรวม ถ้าชนส่วนมากซึ่งเป็น “สามัญชน” ถูกตัดสิทธิมนุษยชนโดยให้มีหน้าที่แต่อย่างเดียว สามัญชนก็มีลักษณะเป็นทาส หรือข้าไพร่ของชนส่วนน้อยซึ่งมีสิทธิใหญ่ยิ่งหรือ “อภิสิทธิ์ชน” แบบการปกครองจึงไม่ใช่ประชาธิปไตย ถ้าสามัญชนมีสิทธิมนุษยชนอย่างเดียว โดยไม่มีหน้าที่ มนุษยชนแบบการปกครองก็เกินขอบเขตของประชาธิปไตย

วันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2553

แนวคิดทางการเมือง ของโสเครติส

ของปราชญ์กรีกสกุลโสเครติส และ ประชาธิปไตย
โดย สลักธรรม โตจิราการ

ในสภาพการณ์ปัจจุบันที่ประเทศไทยเข้าสู่ระยะหัวเลี้ยวหัวต่อทางการเมือง ในแวดวงวิชาการได้มีการอ้างถึงหลักปรัชญาของนักคิดในยุคกรีกโบราณ ซึ่งถือกันว่าเป็น ต้นแบบของประชาธิปไตย มาใช้กับสภาวการณ์ของประเทศไทยอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะนักปราชญ์ที่สืบสายมาจากโสเครตีสอันได้แก่ พลาโต และอริสโตเติล ซึ่งมีชีวิตอยู่ในนครรัฐเอเธนส์เมื่อประมาณ 300 ถึง 400 ปีก่อนคริสตกาลและกลายเป็นต้นธารสำคัญของปรัชญาตะวันตก

ประเด็นที่มีการเสนอกันมีหลายประการ เช่น การพยายามให้อำนาจอื่นมาคัดง้างกับอำนาจของประชาชนที่มักอ้างกันว่าถูกครอบงำโดยระบบ ประชานิยม ได้ง่าย โดยอ้างว่าเป็นการปกครองตามระบบรัฐบาลผสมหรือ Polity ของอริสโตเติล หรือการพยายามให้กลุ่ม บุคคลที่มีจริยธรรม ความรู้ มาปกครองประเทศ คล้ายกับหลักการ ปรัชญราชา ของเพลโต (ซึ่งมักคิดกันว่าเป็น เอกลักษณ์ของไทย) ถึงแม้ว่าผมมิได้ศึกษามาในด้านนี้โดยตรง แต่ว่า ก็ใคร่ที่จะแสดงความคิดเห็นบางประการเกี่ยวกับแนวคิดทางการเมืองของปราชญ์สกุลโสเครตีส ดังต่อไปนี้

วันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การเมืองภาคพลเมืองระดับท้องถิ่น

บาว นาคร*

กระบวนการพัฒนาประเทศไทยที่ผ่านมาล้วนแต่เป็นการพัฒนาโดยรัฐหรือจากอำนาจส่วนกลางหรือเป็นการรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลางเป็นส่วนใหญ่ ทำให้การพัฒนาไม่ตรงกับความต้องการหรือปัญหาของประชาชนอย่างแท้จริง ประชาชนเป็นเพียงผู้รอรับผลของการพัฒนาเท่านั้น

จนมาถึงยุคปัจจุบันในท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ซึ่งเป็นกระบวนการที่ก้าวข้ามอำนาจความเป็นรัฐและพรมแดนของรัฐไปสู่ความผูกพันในขอบเขตทั่วโลก โลกาภิวัตน์ไม่ได้มีเพียงมิติทางเศรษฐกิจอย่างเดียว แต่แทรกซึมไปในทุกมิติ และกระบวนการโลกาภิวัตน์ก็ไม่ได้หมายถึงการทำให้เป็นโลกเดียวกันที่เหมือนๆกัน แต่หมายถึง การที่มนุษย์ขยายเครือข่ายความสัมพันธ์ในทุกๆด้านของตน ตั้งแต่การแลกเปลี่ยนซื้อขาย การลงทุนกู้ยืมเงิน การติดต่อทางข่าวสาร วัฒนธรรมและการบันเทิง กีฬา ไปในขอบเขตที่กว้างมากขึ้นจนครอบคลุมทั่วทั้งโลก โดยก้าวพ้นไปจากพรมแดนแคบๆของ รัฐชาติตนเอง

คำว่า “ชาติ” เบน แอนเดอร์สัน ได้ให้คำจำกัดความในหนังสือ ชุมชนจินตกรรม บทสะท้อนว่าด้วยกำเนิดและการแพร่ขยายของชาตินิยมว่า ชาติคือชุมชนจินตกรรมการเมืองและจินตกรรมขึ้นโดยมีทั้งอธิปไตยและมีขอบเขตจำกัดมาตั้งแต่กำเนิด

วันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ภาคปฏิบัติ ปฏิวัติชุมชน : ปรีชา ทองเสงี่ยม

เกษตรกรดีเด่น อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว
(วันอาทิตย์ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๓)

ตอนที่ ๑


ตอน ๒


ตอน๓


ตอน ๔

ชุมชนจะเข้มแข็งได้อย่างไร? : พระครูสมุห์เผิน

สนทนากับพระครูสมุห์เผิน วัดป่าประชาสามัคคีธรรม อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว
(วันอาทิตย์ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๓)

ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ คือ ทางออกประเทศไทย

ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ (Deliberative Democracy) คือทางออกประเทศไทย

ชำนาญ จันทร์เรือง
เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 5 ต.ค.53

หนึ่งในแนวความคิดของอาจารย์สมเกียรติ ตั้งนโม อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนผู้ล่วงลับเน้นย้ำอยู่เสมอเมื่อมีโอกาสได้พบปะแลกเปลี่ยนแนวความคิดกับผม คือ แนวความคิดเรื่องประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ(Deliberative Democracy) เพราะพวกเราชาวมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเห็นว่าปัญหาของประชาธิปไตยแบบตัวแทน (Representative Democracy) ในปัจจุบันคือการมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนเพียงเฉพาะการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเท่านั้น ซึ่งผลที่ตามมาก็คือการที่ได้คนที่เป็นตัวแทนที่ไม่ใช่ตัวแทนที่แท้จริงของผู้คนในสังคม

ตัวแทนที่ได้รับการเลือกตั้งเข้าไปในสภาล้วนแล้วแต่เป็นตัวแทนของกลุ่มนักธุรกิจการเมืองและวงศาคณาญาติ ดังจะเห็นได้จากที่แม้ว่าบางคนที่ถูกตัดสิทธิทางการเมืองไปแล้วยังสามารถส่งหุ่นเชิดที่เป็นลูกเมียญาติมิตรเข้ารับสมัครและได้รับเลือกตั้งเข้ามาโดยถ้วนหน้า ทั้งที่ไม่ได้มีความรู้ความสามารถหรือประสบการณ์ ใดใดในอันที่จะแสดงให้เห็นว่ามีกึ๋นพอที่จะเป็นตัวแทนที่แท้จริงของประชาชนได้เลย
โอกาสของประชาชนในชนชั้นล่างหรือผู้ยากจนหาเช้ากินค่ำที่จะเข้าไปมีบทบาทในสภานิติบัญญัติหรือ มีบทบาทในการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองในระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทนในปัจจุบันนี้เรียกได้ว่าเป็นศูนย์ จึงได้มีการพยายามหาทางแก้ไขโดยการเสนอรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบใหม่ที่เรียกว่าประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือนั่นเอง

ปัญหาองค์การนำในขบวนการประชาธิปไตย (ตอนที่ ๒)

รศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์
1 ตุลาคม 2553
ที่มา : ประชาไท

3. ลักษณะเฉพาะของขบวนการประชาธิปไตยปัจจุบัน
ในการเปลี่ยนแปลงทางสังคมจำต้องมีองค์การนำที่มีการจัดตั้งและแนวทางที่ถูกต้องชัดเจนในระดับหนึ่ง แต่ลักษณะขององค์การนำย่อมขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะตัวของขบวนการเคลื่อนไหวนั้น ๆ โดยไม่มีสูตรสำเร็จ

การเคลื่อนไหวประชาธิปไตยที่คลี่คลายขยายตัวจนกลายเป็น “ขบวนคนเสื้อแดง” ในวันนี้มีลักษณะเฉพาะคือ เป็นการก่อตัวและพัฒนาขึ้นอย่างเป็นไปเองของมวลชน จากมวลชนชั้นล่างในเมืองและชนบท ชนชั้นกลางไปจนถึงบางส่วนของชนชั้นสูงของสังคม กระทั่งปัจจุบัน กลายเป็นขบวนการมวลชนที่กว้างไพศาลและหลากหลาย โดยมีจุดร่วมกันคือ ล้วนตื่นตัวจากประสบการณ์จริงทางตรงที่ได้เห็นความกระตือรื้อร้นและลักษณะก้าวหน้าของรัฐธรรมนูญ 2540 ความล้าหลังเป็นเผด็จการกดขี่ของระบอบอำมาตยาธิปไตย ปฏิเสธรัฐประหาร 19 กันยายนและผลพวงทั้งหมด โดยมีจุดหมายปลายทางเดียวกันคือ ให้ได้มาซึ่งระบอบประชาธิปไตยที่ “อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน” อย่างแท้จริง

มวลชนเหล่านี้ก่อรูปเป็นกลุ่มและองค์กรระดับรากฐานที่เป็นธรรมชาติ แต่ละกลุ่มมีลักษณะเฉพาะของท้องถิ่น วัฒนธรรม ภาษา ศาสนา และเชื้อชาติที่หลากหลาย เป็นกลุ่มมวลชนกระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศหลายพันกลุ่ม มีตั้งแต่ขนาดเล็กสุดน้อยกว่าสิบคน ไปจนถึงกลุ่มขนาดใหญ่หลายร้อยคน แกนนำมักจะเป็นผู้นำตามธรรมชาติในท้องถิ่นหรือกลุ่มสังคมนั้น ๆ ที่มีทรรศนะประสบการณ์ที่แตกต่างกัน มีความสัมพันธ์เกื้อหนุนที่แตกต่างกันกับนักการเมืองและพรรคการเมืองในท้องถิ่นของตน มีลักษณะวิธีการนำที่เป็นปัจเจกชนไปจนถึงเป็นคณะแกนนำแบบรวมหมู่อย่างหลวม ๆ แต่สิ่งที่เครือข่ายมวลชนเหล่านี้ยังขาดอยู่คือ การเชื่อมโยงกันเข้าเป็นองค์กรเครือข่ายอย่างเป็นรูปธรรมในระดับทั่วทั้งประเทศ

วันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2553

10 ปี การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น (2543-2552)

ฤาการเดินทางเพื่อกลับมา “หยุด” ตรงจุดเดิม
ณัฐกร วิทิตานนท์
ที่มา : ประชาไท
กระจายอำนาจ คำจำกัดความ
เมื่อเอ่ยถึง “การกระจายอำนาจ” (Decentralization) คำอธิบายที่ได้ย่อมแตกต่างกันไปตามแต่ทัศนะมุมมอง เป็นต้นว่าอาจมอง “ที่ไป” ของอำนาจรัฐที่จะถูกกระจายผิดแผกกัน เช่นให้แก่ ‘ประชาชน’ เองเลย (เป็นประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม นอกเหนือจากการเลือกตั้ง ก็เช่นการทำประชามติ การริเริ่มกฎหมาย และการถอดถอน ฯลฯ) หรือกระจายไปที่ ‘หน่วยงานอิสระ’ ทั้งหลายทั้งปวง (ไม่ว่าจะเป็นศาล องค์กรตามรัฐธรรมนูญ องค์การมหาชน รัฐวิสาหกิจ ฯลฯ) หรือไปยัง ‘กลไกอื่นของรัฐ’ อื่นๆ (ได้แก่ส่วนราชการที่ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง) หรือฝากไว้กับ ‘ชุมชนท้องถิ่น’ ใด (เช่นตามกฎหมายสภาองค์กรชุมชน) กระทั่งลงสู่ ‘องค์กรปกครองท้องถิ่น’ (อปท.) (ทั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เป็นต้น)


โครงสร้างการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบใหม่ตามกฎหมาย

วันเสาร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2553

สมุดปกขาว "การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ"

สํานักกฎหมาย อัมสเตอร์ดัม แอนด์ เปรอฟ ซึ่งรับว่าจ้างเป็นทนายความให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ออกสมุดปกขาว การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ : ข้อเรียกร้องต่อการแสดงความรับผิดชอบ ภายใต้พันธกรณีระหว่างประเทศ ที่ประเทศไทยมีภาระหน้าที่ในการนำตัวฆาตกรเข้าสู่กระบวน การยุติธรรม ความหนา 1,857 หน้า 9 หมวด

มีเนื้อหาโดยสรุป ดังนี้
บทนำ ระบุวัตถุประสงค์การทำหนังสือ
1.เพื่อเน้นถึงพันธกรณีของประเทศไทยตามกฎหมายระหว่างประเทศ รวมถึงพันธกรณีตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights- ICCPR) ที่ต้องสืบสวนการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นร้ายแรงทั้งหลายที่เกิดขึ้นระหว่างการชุมนุมของคนเสื้อแดง

ดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ทหารและพลเรือนที่อยู่ใต้การบังคับบัญชาในการก่ออาชญากรรมการสังหารพลเรือนกว่า 80 ราย ช่วงเดือนเม.ย.-พ.ค.

ที่ข้อเท็จจริงปรากฏชัดเจนมีการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ ด้วยการใช้กองกำลังทหารอย่างเกินความจำเป็น มีการกักขังอย่างพลการโดยต่อเนื่องเป็นเวลานาน การทำให้ประชาชนบางส่วนหายสาบสูญ และยังมีการไล่ล่าประหัตประหารทางการเมือง

วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553

พลังอำนาจของชาติที่เหลืออยู่

National Power ยังหลงเหลืออยู่แค่ไหน?

ความหมายของ National Power ก็คือพลังอำนาจของชาติ ถือเป็นเรื่องสำคัญที่เอามาใช้ในทางยุทธศาสตร์ ผู้ริเริ่มเอามาใช้เป็นคนแรกในปลายศตวรรษที่ 15 ได้แก่ นิโคโล มาเคียเวลลี่ ซึ่งเป็นทั้งนักการทหารและนักปรัชญาชาวอิตาลี...พลังอำนาจของชาติในช่วงที่มาเคียเวลลี่นำเสนอ เขาได้จัดเป็นองค์ประกอบ 3 ประการคือ การเมือง สังคม และการทหาร กระทั่งต่อมามีการเพิ่มเติมโดยคาร์ล วอน เคลาสวีทซ์ ผู้เป็นซุนหวู่แห่งตะวันตก โดยเพิ่มพลังอำนาจของชาติในทางด้านเศรษฐกิจเข้ามาเป็นองค์ประกอบต่อการทำสงครามอีกปัจจัย

เรื่องพลังอำนาจของชาติ แม้จะเริ่มต้นมาจากหลักการดังกล่าว แต่ได้มีการพัฒนาและศึกษาเพิ่มเติมในฐานะเครื่องมือสำคัญที่จะผลักดันยุทธศาสตร์ชาติให้ดำเนินไปถึงการบรรลุวัตถุประสงค์และการรักษาผลประโยชน์ของชาติบ้านเมือง ประเด็นนี้จึงเป็นเรื่องที่ต้องยกขึ้นมาถกเถียงอย่างจริงจัง โดยเฉพาะภายใต้สถานการณ์ของประเทศไทยปัจจุบัน ตลอดเวลาของความขัดแย้งเราคงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าพลังอำนาจของชาติได้กร่อนสลายลงไปถึงจุดวิกฤตที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง โดยบรรดาผู้ปกครองและผู้อยู่ในอำนาจทั้งหลายยังไม่ได้ตระหนัก หรืออาจจะไม่มีสำนึกในเรื่องนี้ด้วยซ้ำไป?