เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม เลขทะเบียน ๘๖๙ สภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า

อุดมการณ์สถานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตย

เรา...มั่นใจว่า
ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา
ประเทศไทย เป็นของเราทุกคน
เรา ต้องร่วมกันสร้างชาติไทย ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์  พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บทบาทของสื่อมวลชน

ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญในการกำหนดภาระความรับผิดชอบต่อสังคมและอิสรภาพจากการครอบงำของธุรกิจ ทั้งนี้ ได้มีการแบ่งระดับของบทบาทสื่อมวลชนเป็น 5 ระดับ คือ (นิพนธ์ นาคสมภพ: 2549)

(1) ระดับการชวนเชื่อ (Propaganda) เป็นสื่อมวลชนที่ได้รับการไว้วางใจต่ำสุด เพราะมุ่งรับใช้นักการเมืองหรือนักธุรกิจมากเกินไป หรือมุ่งผลประโยชน์ของผู้เป็นเจ้าของสื่อมากเกินไป แต่กลับละเลยประชาชน โดยเฉพาะการโฆษณาชวนเชื่อที่ส่งผลเสื่อมเสียต่อวินัยทางศีลธรรม วินัยทางการเงิน และวินัยทางสังคมของประชาชน

(2) ระดับการบริการข่าวสาร (News & Information service) จัดเป็นการสื่อสารของเอกชน (Private Communication) มุ่งเสนอข่าวสารทั่วไป บางครั้งทำให้ขาดการคัดเลือกคุณค่าทางจริยธรรมไปบ้าง เพราะมุ่งเรื่องการค้าเป็นหลัก

(3) ระดับมาตรฐาน (Standard) เป็นสื่อมวลชนที่รับผิดชอบต่อกฎหมาย รับผิดชอบต่อสังคมสูง มีส่วนในการสร้างสรรค์สังคม ไม่มุ่งเพื่อการค้าอย่างไม่รับผิดชอบ

(4) ระดับวิชาชีพ (Professionalism) เป็นสื่อมวลชนที่รับผิดชอบต่อสังคมถึงระดับคุณธรรม ศีลธรรม มีความกล้าหาญทางคุณธรรมสูง มีอำนาจมีอิสระเสรีภาพ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และการเมือง

วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554

กระบวนทัศน์ด้านการสื่อสารเพื่อการพัฒนาสื่อจากอดีตถึงปัจจุบัน

โดย รศ. ดร. ปาริชาติ สถาปิตานนท์

เหลียวหลัง…แลหน้า : การสื่อสารกับการเปลี่ยนแปลงสังคม

นับเป็นเวลากว่าสี่ทศวรรษแล้วที่ประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทย ได้พยายามนำกระบวนการสื่อสารมาประยุกต์ใช้อย่างจงใจในฐานะ “เครื่องมือ” ในการเปลี่ยนแปลงสังคม

ในยุคแรกของใช้กลไกด้านการสื่อสารในฐานะเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลงสังคม ได้มุ่งเน้นการใช้การสื่อสารในการ “ขับเคลื่อน” สังคมต่างๆ ไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีเป้าหมายสูงสุด คือ การก้าวสู่สังคมทันสมัยตามแบบฉบับของสังคมตะวันตกนั่นเอง โดยกรอบแนวคิดดังกล่าว รู้จักกันในนามของ “กระบวนทัศน์ความทันสมัยนิยม” ของการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง (The Modernization Paradigm of Communication for Social Change)

ในเชิงหลักด้านการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม ภายใต้กระบวนการทัศน์ความทันสมัยนิยม กล่าวกันว่า การสื่อสารและการเปลี่ยนแปลงมีความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลซึ่งกันและกัน กล่าวคือ การสื่อสารเป็นเงื่อนไขสำคัญ หรือเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้สังคมเปลี่ยนแปลงไปสู่ความทันสมัย โดยยิ่งมีการสื่อสารมากเท่าไร ก็ยิ่งส่งผลให้สังคมเปลี่ยนแปลงมากเท่านั้น

วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ศาลอาญาระหว่างประเทศกระทบเขตอำนาจศาลไทยหรือไม่

โดย สราวุธ เบญจกุล

ปัจจุบันมีการกระทำที่ถือว่าเป็นอาชญากรรมระหว่างประเทศเกิดขึ้นในสังคมประชาคมโลกมากมาย เช่น เมื่อเกิดสงครามก็อาจมีการนำเอาเด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ปี ไปเป็นทหารในกองกำลังและให้สู้รบในสงคราม การใช้กำลังทางทหารที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของพลเมืองที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสงครามหรือความขัดแย้งที่เกิดขึ้น การกักขังและลงโทษบุคคลที่มีแนวความคิดตรงกันข้ามกับกลุ่มพวกพ้องของตนอย่างไม่เป็นธรรม หรือแม้กระทั่งการค้ามนุษย์ ซึ่งอาชญากรรมเหล่านี้มีลักษณะเป็นการละเมิดหลักสิทธิมนุษยชนที่ได้รับการคุ้มครองอย่างเป็นสากล และยังถือเป็นภัยคุกคามต่อมนุษยชาติอย่างร้ายแรงที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น

จากแนวคิดดังกล่าว ที่ประชุมทางการทูตขององค์การสหประชาชาติ (UN Diplomatic Conference) จึงได้มีข้อสรุปให้ใช้ธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ (Rome Statute of the International Criminal Court) และมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2545 เป็นต้นมา หลังจากมีการให้สัตยาบันของ 60 ประเทศ ในขณะนี้ศาลอาญาระหว่างประเทศมีรัฐที่เป็นภาคีสมาชิกทั้งหมด 116 รัฐ โดยมี 15 รัฐมาจากภาคพื้นทวีปเอเชีย ในส่วนของประเทศไทยได้มีการลงนามรับรองในธรรมนูญกรุงโรมฯ ตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม 2543 แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่ได้มีการให้สัตยาบัน

ศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court) ถูกจัดตั้งขึ้นตามธรรมนูญกรุงโรมฯ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ทั้งนี้จากสถิติที่ปรากฏตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2545 ศาลอาญาระหว่างประเทศได้รับคำร้องขอให้ดำเนินการพิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องมากกว่า 8,733 คำร้อง จาก140 ประเทศ โดยคำร้องส่วนใหญ่มาจาก สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เยอรมันนี รัสเซีย และฝรั่งเศส

ศาลอาญาระหว่างประเทศเป็นศาลที่มีเขตอำนาจในการพิจารณาคดีโดยเฉพาะคดีที่เกิดขึ้นในรัฐภาคี และรัฐอื่นที่ยอมรับอำนาจของศาล และมีอำนาจพิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับตัวบุคคล และมีอำนาจไต่สวน ดำเนินคดี และพิพากษาคดีบุคคลได้ แต่มีข้อจำกัดคือ สามารถพิจารณาเฉพาะอาชญากรรมที่กำหนดไว้ใน ธรรมนูญกรุงโรมฯ อันได้แก่

วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

จรรยาบรรณของสื่อ

ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจถึงจรรยาบรรณของสื่ออันได้แก่ หนังสือพิมพ์ วิทยุและโทรทัศน์กันก่อน ในที่นี้ได้กล่าวถึงจรรยาบรรณสื่อโดย *อ้างอิงจาก “ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อมวลชน” เอกสารการสอน สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หน่วยที่ 9-15) ดังนี้
1.จรรยาบรรณหนังสือพิมพ์โดย สมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
โดยได้กำหนด “จริยธรรมของสมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย” เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ.2510 ไว้ดังนี้
• ความรับผิดชอบ (Responsibility) ได้แก่ ความรับผิดชอบต่อผลประโยชน์อันชอบธรรมของปัจเจกชน สถาบัน ประเทศชาติ ศาสนา และราชบัลลังก์ (ตรงกับหลักพุทธศาสนาคือ กิจญาณ)
• ความมีเสรีภาพ (Freedom) ได้แก่ เสรีภาพที่มีความรับผิดชอบกำกับ (ตรงกับหลักธรรมในพุทธสาสนาคือ ปวารณา หรือ ธรรมาธิปไตย)
• ความเป็นไท (Independence) ได้แก่ ความไม่ตกเป็นทาสของใครทั้งกายและจิตใจ โดยอามิสสินจ้างอื่นใด(ตรงกับหลักธรรมในพุทธศาสนาคือ ความไม่ตกเป็นทาสของอกุศลมูล)
• ความจริงใจ (Sincerity) ได้แก่ ความไม่มีเจตนาบิดเบือน ผิดพลาดต้องรีบแก้ไข (ตรงกับหลักธรรมในพุทธศาสนา คือ สัจจะ)

วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ทฤษฎีการสื่อสารคืออะไร ?

ทฤษฎีการสื่อสาร คือ การอธิบายการสื่อสารในด้านความหมาย กระบวนการ องค์ประกอบ วิธีการ บทบาทหน้าที่ ผล อิทธิพล การใช้ การควบคุม แนวคิดของศาสตร์ต่าง ๆ แนวโน้มอนาคต และปรากฏการณ์เกี่ยวกับการสื่อสาร แต่การอธิบายต้องมีการอ้างอิงอย่างมีเหตุผลที่ได้จากหลักฐาน เอกสาร หรือปากคำของมนุษย์

เราแปลคำนี้มาจากภาษาอังกฤษที่ว่า communication theory ซึ่งมีความหมายครอบคลุมกว้างขวาง รวมไปถึง theory of communication (ทฤษฎีของการสื่อสาร) theories in communication (ทฤษฎีในการสื่อสาร) theories for communication (ทฤษฎีเพื่อการสื่อสาร) และ theories about communication (ทฤษฎีเกี่ยวกับการสื่อสาร)

1. ทฤษฎีเพื่อการสื่อสาร เกิดขึ้นมานานก่อนที่จะมีการศึกษาในสาขาวิชานิเทศศาสตร์ เริ่มด้วยปรัชญาพุทธและปรัชญากรีก ที่ว่าด้วยการคิดและการพูด หลักวิธีการเผยแพร่ศรัทธาของศาสนาคริสต์ ทฤษฎีเศรษฐกิจการเมืองต่าง ๆ ว่าด้วยเสรีภาพของการแสดงออกตั้งแต่ก่อนการปฏิวัติฝรั่งเศส ทฤษฎีทางการแพทย์และสรีรวิทยาที่ว่าด้วยประสาทกับการรับสารและสมรรถภาพในการส่งสารของมนุษย์ ทฤษฎีจิตวิเคราะห์และจิตบำบัดของฟรอยด์ รวมไปถึงหลักและทฤษฎีต่าง ๆ ว่าด้วยภาษา สังคม และวัฒนธรรม ล้วนแล้วแต่เป็นทฤษฎีของสาขาต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่เป็นทฤษฎีแนวปฏิบัติ เพื่อการสื่อสารภายในบุคคล ระหว่างบุคคล การสื่อสารในกลุ่มหรือการสื่อสารในสังคมใหญ่ แม้แต่ภายในสาขานิเทศศาสตร์ ก่อนที่จะมีการสถาปนาเป็นสาขาการศึกษาในยุโรปและอเมริกาตอนต้นศตวรรษที่ 20 ความรู้ที่ได้มาจากการปฏิบัติงานวิชาชีพวารสารศาสตร์ ก็ยังมีบทบาทเป็นทฤษฎีหลักเพื่อการปฏิบัติเรื่อยมา จนกระทั่งกลายเป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรีที่สหรัฐอเมริกาขยายไปเจริญเติบโตที่เอเชียตะวันออก เอเชียใต้ อังกฤษ และออสเตรเลีย ในช่วง 20 ปี ก่อนศตวรรษที่ 21

วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2554

"ความเหลื่อมล้ำ-ไม่เป็นธรรม"ในกระบวนการยุติธรรมไทย

ปาฐกถาพิเศษ โดย ดร.จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย

เมื่อวันพุธที่ 17 ส.ค. ได้มีการปาฐกถาเรื่อง "ความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมด้านกระบวนการยุติธรรมในประเทศไทย" โดย ผศ.ดร.จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งจัดขึ้นที่อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โดย.ดร.จุฑารัตน์กล่าวว่า ความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรม เกิดจากความแตกต่างทางฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมตั้งแต่เริ่มแรก "ใครมีอำนาจทางเศรษฐกิจ-มีอำนาจทางสังคมก็เป็นผู้ที่สร้างความเหลื่อมล้ำกับ ผู้ที่ไม่มีอำนาจ" รวมถึงความแตกต่างระหว่างอำนาจในเชิงพื้นที่ทางสังคม

"โดยนิยามแล้ว ความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมก็คือความไม่เท่าเทียมกันระหว่างผู้มี โอกาสกับผู้ที่ขาดโอกาส ซึ่งโอกาสในที่นี้ก็คือโอกาสในการเข้าถึงและจัดการกลไกต่างๆ โดยเฉพาะกลไกภาครัฐ อย่างใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีการประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยพ.ร.ก.ดังกล่าวนั้นเขียนไว้ว่า ถ้าเจ้าหน้าที่รัฐเป็นกระทำการใดๆ ประชาชนไม่มีสิทธิไปฟ้องศาลปกครองว่าเจ้าหน้าที่รัฐทำผิด ซึ่งนี่เป็นการตัดสิทธิทางศาลปกครอง เพราะฉะนั้น อะไรก็ตามที่เกิดขึ้นใน 3 จังหวัดภาคใต้จะถูกตัดโอกาสในการเข้าถึงการเรียกร้องความเป็นธรรม"

ภาวะผู้นำ

การศึกษาภาวะผู้นำอย่างมีระบบได้ดำเนินการต่อเนื่องมาร่วมร้อยปี เกิดมุมมองและความเชื่อต่าง ๆ ที่พัฒนามาเป็นทฤษฎีภาวะผู้นำ จำนวนมากมาย ในที่นี้จะแบ่งเป็นกลุ่มทฤษฎีและยกมาเป็นตัวอย่างเพียงบางทฤษฎี เริ่มด้วยทฤษฎีคุณลักษณะของผู้นำ กลุ่มทฤษฎีเชิงพฤติกรรม ตัวอย่างบางทฤษฎีเชิงสถานการณ์ ทฤษฎีผู้นำเชิงวีรบุรุษ หรือภาวะผู้นำใหม่โดยเสน่หาบางทฤษฎี และประเด็นที่เป็นแนวโน้มที่เกี่ยวกับภาวะผู้นำในอนาคต

ความหมายของภาวะผู้นำ
มีคำสำคัญอยู่ 2 คำที่จำเป็นต้องเข้าใจในเริ่มแรก ก็คือคำว่า "leadership" ซึ่งมักเรียกว่า "ภาวะผู้นำ" หรือ "การเป็นผู้นำ" กับอีกคำหนึ่งคือ "Management" ซึ่งเรียกว่า "การบริหาร" หรือ "การบริหารจัดการ" ทั้งสองคำ มีความหมายแตกต่างกัน โดยมีนักวิชาการคนสำคัญให้ทัศนะไว้ ดังนี้

คอตเตอร์ (Kotter, 1999) แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด กล่าวไว้ว่า การบริหารจัดการ (Management) หมายถึง ความสามารถ ในการเผชิญกับสถานการณ์ที่สลับซับซ้อนได้ การบริหาร จัดการที่ดีทำให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยในแง่ มีแผนงานที่เป็น ทางการ มีโครงสร้างขององค์การที่แน่นอนชัดเจน และมีการกำกับดูแลให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผน ส่วนภาวะผู้นำหมายถึง ความสามารถในการเผชิญกับภาวะการเปลี่ยนแปลงได้ โดยมีผู้นำเป็นผู้สร้างวิสัยทัศน์ให้เป็น ตัวกำกับ ทิศทาง ขององค์การในอนาคต จากนั้นจึงจัดวางคนพร้อมทั้งสื่อความหมายให้เข้าใจ วิสัยทัศน์และ สร้างแรงดลใจแก่คนเหล่านั้น ให้สามารถเอาชนะอุปสรรคเพื่อไปสู่วิสัยทัศน์ดังกล่าว

วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ข้อตกลงระหว่างเพื่อไทยกับอำมาตย์

ใจ อึ๊งภากรณ์

เราเริ่มเห็นภาพของ “ข้อตกลง” ไม่ว่าจะทางการหรือไม่ ระหว่างอำมาตย์กับพรรคเพื่อไทย เพื่อให้พรรคเพื่อไทยตั้งรัฐบาลได้ และเพื่อให้แกนนำเพื่อไทยถูกกลืนกลับไปเป็นพรรคพวกของอำมาตย์เหมือนเดิม เพราะพรรคไทยรักไทยในอดีตก็เคยเป็นพวกเดียวกับอำมาตย์ก่อนที่จะทะเลาะกัน

อำมาตย์กีดกันไม่ให้เพื่อไทยตั้งรัฐบาลยาก เพราะเสียงประชาชนชัดเจน แต่ในขณะเดียวกันพรรคเพื่อไทยแสดงความยินยอมที่จะ “ปรองดอง” แบบยอมจำนนต่ออำมาตย์ เพื่อแลกกับการไม่ถูกล้ม โดยการสัญญาว่าจะไม่เปลี่ยนอะไรมากมายในสังคมไทย สรุปแล้วในอดีตเราเห็นรัฐประหาร ๑๙ กันยา ตามด้วยรัฐประหารผ่านศาล และปัจจุบันเราเห็นรัฐประหารที่สาม ผ่านการกดดันและการปรองดองจอมปลอม และผ่านการหักหลังเสื้อแดง

ลองมาพิจารณาประเด็นสำคัญๆ เช่น กรณี 112 กรณีภาคใต้ กรณีคดีการเมืองเนื่องจากการชุมนุม และกรณีทหาร

คดี 112
๕ สิงหาคม ตำรวจจับนักศึกษาที่พึ่งจบจากม.เกษตร นรเวศย์ ยศปิยะเสถียร ในข้อหา 112 เพราะดาวน์โหลดข้อความจากอินเตอร์เน็ท นักศึกษาคนนี้โดนฟ้องโดยเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยเองคือ นายนิพนธ์ ลิ้มแหลมทอง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศา​สตร์ ฝ่ายกิจการนิสิต เป็นผู้มาแจ้งความดำเนินคดี

เสื้อแดงกับ ครม. ใหม่

ใจ อึ๊งภากรณ์

นักการเมืองพรรคเพื่อไทยจำนวนมากคงมองว่าการแต่งตั้งแกนนำเสื้อแดงเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลใหม่ “จะสร้างภาพไม่ดี” ก็คงจริงถ้าคิดว่า “ภาพที่ดีของ ครม.” คือภาพของผู้ที่จะไม่ทำอะไรเลยเพื่อพัฒนาสิทธิเสรีภาพ ประชาธิปไตย และความเป็นธรรม

การทื่ ครม. ใหม่มีคนอย่าง เฉลิม อยู่บำรุง ซึ่งเป็นนักการเมืองรูปแบบเก่าที่มีภาพเป็นนักเลง เป็นต้นตำรับการสร้างสองมาตรฐานทางกฏหมายในกรณีลูกชายอันธพาล และหลายคนมองว่าอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้ายาเสพติด สร้างภาพอะไร?

ผมไม่รู้จัก พล อ. ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ซึ่งเป็นรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม เขาอาจเป็นคนดีที่รักประชาธิปไตยก็ได้ ผมไม่ทราบและไม่วิจารณ์เขาเป็นส่วนตัว แต่คำถามคือ เมื่อไรประเทศไทยจะสร้างวัฒนธรรมที่รัฐมนตรีกลาโหมต้องเป็นพลเรือน? เมื่อไรจะต้องมีการลาออกจากตำแหน่งทางทหารหรือตำรวจ ก่อนที่จะมาเป็น สส. หรือรัฐมนตรีได้? เรื่องนี้สำคัญเพราะถ้าเราจะมีประชาธิปไตย และประชาชนจะเป็นใหญ่ในแผ่นดินจริง ทหารต้องถูกบังคับให้ยุติบทบาททางการเมืองโดยสิ้นเชิง และกองทัพต้องรับใช้ประชาชนผ่านกระบวนการเลือกตั้ง ไม่ใช่ว่ากองทัพรับใช้ผลประโยชน์ตนเองแล้วมาอ้างว่าทำ “เพื่อกษัตริย์” โดยปิดปากคนที่คัดค้านด้วยกฏหมาย 112

การสร้างภาพของ ครม. และรัฐบาลใหม่ นอกจากจะมีเรื่องบุคคลที่นั่งเก้าอี้แล้ว ยังมีภาพประธานสภาที่มาจากการเลือกตั้ง ที่ต้องคลานเข้าไปหาคนที่ไม่เคยได้รับการเลือกตั้ง ในประเทศอังกฤษ เวลาราชินีเปิดสภา ราชินีถูกบังคับให้อ่านนโยบายของรัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้ง

วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ความเป็นกลางคือ “ความชอบธรรม” หรือจะเป็นแค่วาทกรรมแห่งยุคสมัย

เมื่อมีสถานการณ์ขัดแย้งเกิดขึ้น ก็จะเกิดคู่กรณีสองฝ่าย ซึ่งต่างฝ่ายก็เรียกร้องหาความเป็นธรรมให้แก่ฝ่ายตน ประชาชนที่อยู่ข้างฝ่ายปริมาณ ก็จะอ้างเอามวลชนและปริมาณมาสร้างความชอบธรรม (พวกมากลากไป) ส่วนประชาชนที่อยู่ข้างฝ่ายคุณภาพ ก็จะอ้างเอาคุณภาพ ฐานะ ชนชั้น (นักวิชาการ นักธุรกิจ นักปราชญ์) มาสร้างความชอบธรรม นี่คือประเด็นความขัดแย้งที่หาจุดประนีประนอมกันได้ยาก

สถานการณ์ขัดแย้งต่างๆ มีสาเหตุมาจากการเบียดเบียนกันเองของคนในสังคมนั้น และเกิดจาก โครงสร้างของเศรษฐกิจ สังคม การเมือง มีสภาพบิดเบี้ยว ไม่สมประกอบ เกิดการทุจริตคอรัปชั่น การค้นหาต้นเหตุของปัญหาดังกล่าว จะต้องกระทำอย่างรอบคอบ มองให้รอบถ้วน เซาะให้ถึงรากเหง้าของปัญหา ด้วยการนำข้อมูลทั้งเชิงปริมาณ (Quantity fact) และเชิงคุณภาพ (Quality fact) มาร่วมพิเคราะห์พิจารณาด้วย อย่ามองเพียงแง่มุมเดียว หรือเพียงด้านเดียว มิฉะนั้นถ้าตัดสินลงไป ก็จะเกิดความไม่ธรรม หรือขาดความเป็นกลางทันที นอกจากจะแก้ไขปัญหาไม่ได้แล้ว เท่ากับจุดไฟให้ข้อขัดแย้งมันรุนแรงขึ้น

นี่เป็นเรื่องปกติของสังคมมนุษย์ที่ยังมีความเห็นแก่ตัว มีความเชื่อ ความคิด วิถีชีวิต และวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ทำให้สังคมเกิดความไม่สงบสุข และแสวงหาเรียกร้องความยุติธรรม บุคคลที่จะทำหน้าที่ตัดสินปัญหา จะต้องเป็นคนกลาง ที่ไม่มีส่วนได้เสียในผลประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย และต้องกล้าตัดสินหรือชี้นำ

วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554

National Power ยังหลงเหลืออยู่แค่ไหน?

ความหมายของ National Power ก็คือพลังอำนาจของชาติ ถือเป็นเรื่องสำคัญที่เอามาใช้ในทางยุทธศาสตร์ ผู้ริเริ่มเอามาใช้เป็นคนแรกในปลายศตวรรษที่ 15 ได้แก่ นิโคโล มาเคียเวลลี่ ซึ่งเป็นทั้งนักการทหารและนักปรัชญาชาวอิตาลี...พลังอำนาจของชาติในช่วงที่มาเคียเวลลี่นำเสนอ เขาได้จัดเป็นองค์ประกอบ 3 ประการคือ การเมือง สังคม และการทหาร กระทั่งต่อมามีการเพิ่มเติมโดยคาร์ล วอน เคลาสวีทซ์ ผู้เป็นซุนหวู่แห่งตะวันตก โดยเพิ่มพลังอำนาจของชาติในทางด้านเศรษฐกิจเข้ามาเป็นองค์ประกอบต่อการทำสงครามอีกปัจจัย

เรื่องพลังอำนาจของชาติ แม้จะเริ่มต้นมาจากหลักการดังกล่าว แต่ได้มีการพัฒนาและศึกษาเพิ่มเติมในฐานะเครื่องมือสำคัญที่จะผลักดันยุทธศาสตร์ชาติให้ดำเนินไปถึงการบรรลุวัตถุประสงค์และการรักษาผลประโยชน์ของชาติบ้านเมือง ประเด็นนี้จึงเป็นเรื่องที่ต้องยกขึ้นมาถกเถียงอย่างจริงจัง โดยเฉพาะภายใต้สถานการณ์ของประเทศไทยปัจจุบัน ตลอดเวลาของความขัดแย้งเราคงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าพลังอำนาจของชาติได้กร่อนสลายลงไปถึงจุดวิกฤตที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง โดยบรรดาผู้ปกครองและผู้อยู่ในอำนาจทั้งหลายยังไม่ได้ตระหนัก หรืออาจจะไม่มีสำนึกในเรื่องนี้ด้วยซ้ำไป?

ประเด็นของการเมืองเป็นปัจจัยเบื้องต้นที่สุดเมื่อเราจะเขียนถึงพลังอำนาจของชาติ ตรงนี้คงไม่ต้องตั้งคำถามอะไรว่า “ปัจจัยทางการเมืองและการมีเสถียรภาพของรัฐบาลไทยมีทิศทางและความเป็นไปอย่างไรกันแน่? เมื่อการเมืองอยู่ในสภาพไม่มั่นคง ผลกระทบที่จะเชื่อมโยงเข้าไปถึงปัจจัยที่เป็นพลังอำนาจของชาติในด้านอื่นๆย่อมได้รับผลประทบ และตกต่ำเป็นโดมิโนไปด้วย? ประเด็นต่อมาเราก็ต้องเข้าใจว่าเศรษฐกิจก็ถือเป็นพลังอำนาจของชาติที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศ ชาติบ้านเมืองที่ไม่มีความมั่งคั่ง ไม่มีเงินทองจนต้องไปกู้หนี้ยืมสินจะกลายเป็นชาติบ้านเมืองที่มีความเข้มแข็งได้อย่างไร? เรื่องของเศรษฐกิจยังกระทบไปสู่เรื่องการทหาร โดยการทหารก็ยังเป็นพลังอำนาจของชาติที่สืบเนื่องมาจากประวัติศาสตร์ ถามว่าเมื่อการเมืองไร้ทิศทาง เศรษฐกิจของบ้านเมืองจะเข้มแข็งได้อย่างไร? แล้วในด้านการทหารจะเอาเงินทองจากที่ไหนเพื่อซื้อหาอาวุธ สร้างเขี้ยวเล็บให้ทหารได้กลายเป็นพลังอำนาจของชาติที่มีศักยภาพในการต่อรอง ซึ่งขุนศึกทั้งหลายต่างก็ใฝ่ฝันกัน?

วันพุธที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554

จลาจลที่อังกฤษมีผลจากนโยบายทางการเมืองในยุควิกฤต

กองบรรณาธิการ นสพ.เลี้ยวซ้าย

การจลาจลเมื่อเดือนสิงหาคมนี้ในเมืองต่างๆ ของอังกฤษ เป็นผลของนโยบายรัฐบาลแนวร่วมพรรคอนุรักษ์นิยม-เสรีนิยม ที่ใช้กลไกตลาดเสรีสุดขั้ว เพื่อตัดงบประมาณรัฐ โดยอ้างว่า “ต้อง” ลดหนี้สาธารณะเพื่อรักษา “วินัยทางการคลัง” คำพูดเรื่องวินัยทางการลังนี้ เรามักได้ยินออกมาจากปากนักการเมืองเสรีนิยมอย่างอภิสิทธิ์และกรณ์โดยเฉพาะเวลารัฐบาลไทยรักไทยใช้งบประมาณเพื่อพัฒนาสถานภาพคนจน แต่เมื่อมีการเพิ่มงบประมาณทหารสองเท่าหลังรัฐประหาร ๑๙ กันยา ไม่มีใครพูดอะไร

ในกรณีอังกฤษหนี้สาธารณะไม่ได้สูงเป็นประวัติศาสตร์ตามที่รัฐบาลอ้าง เพราะหลังสงครามโลกครั้งที่สองสูงกว่านี้สองเท่า และเขายังสร้างรัฐสวัสดิการได้ และที่สำคัญหนี้สาธารณะที่ขยายตัวตอนนี้มาจากการเอาเงินประชาชนไปอุ้มธนาคารที่เต็มไปด้วยหนี้เสียจากการปั่นหุ้น แต่ไม่มีรัฐมนตรีหรือนักเศรษฐศาสตร์กระแสหลักคนไหนที่เสนอว่าต้องไปเก็บคืนจากนายธนาคารและคนรวยที่เคยได้ดิบได้ดีจากการเล่นหุ้น

รัฐบาลแนวร่วมพรรคอนุรักษ์นิยม-เสรีนิยมอังกฤษ ตัดการบริการสาธารณะ ตัดตำแหน่งงาน ตัดรัฐสวัสดิการ ทำลายชีวิตและอนาคตของเยาวช​น มีการตัดทุนเพื่อการศึกษาของวัยรุ่นและตัดศูนย์วัยรุ่นอีกด้วย หลายคนคาดว่าคงจะเกิดเหตุจลาจลในไม่ช้า แต่นักการเมืองตอนนี้ทำเป็น “ตกใจ”

วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ทฤษฎีการพัฒนาทางการเมือง

หนังสือของ Lucian Pye ชื่อ Aspects of Political Development ซึ่ง Pye ได้พยายามสรุปแนวความคิดต่าง ๆ เกี่ยวกับการพัฒนาการเมืองซึ่งมีอยู่ 10 แนวความคิด (ซึ่งได้เก็บความตามที่จะกล่าวข้างล่างนี้) โดยการสังเคราะห์และออกมาในรูปของ Development Syndrome หรือพหุภาพแห่งการพัฒนา

แนวความคิดต่าง ๆ 10 แนวคิด และพหุภาพแห่งการพัฒนามีดังนี้คือ
1. การพัฒนาการเมือง คือ รากฐานของการพัฒนาเศรษฐกิจ (Political Development as the Political Prerequisit of Economic Development) เมื่อมีการสนใจเกี่ยวกับปัญหาความเจริญทางเศรษฐกิจและมีความจำเป็นที่จะแปรรูปของเศรษฐกิจที่หยุดนิ่ง เพื่อเป็นเศรษฐกิจที่เจริญได้ในระดับสม่ำเสมอ นักเศรษฐศาสตร์ก็กล่าวโดยพลันว่าสภาพทางการเมืองและสังคมจะมีบทบาทอย่างแน่วแน่ในการขัดขวางหรือเอื้ออำนวยต่อการเพิ่มขึ้นในรายได้เฉลี่ยต่อหัว และดังนั้นจึงเป็นการเหมาะสมที่จะคิดว่า การพัฒนาการเมืองคือสภาพของระบบการเมืองซึ่งจะเอื้ออำนวยต่อความเจริญทางเศรษฐกิจ

อย่างไรก็ดี เมื่อมาใช้ในการวิจัย คำจำกัดความการพัฒนาการเมืองดังกล่าวมีลักษณะในทางลบ เพราะว่าเป็นการง่ายกว่าที่จะพูดอย่างชัดแจ้งว่า ระบบการเมืองได้ขัดขวางความเจริญทางเศรษฐกิจอย่างไรบ้าง แต่เป็นการยากที่จะพูดว่า ระบบการเมืองได้ช่วยให้เกิดความเจริญทางเศรษฐกิจอย่างไร เพราะตามประวัติศาสตร์นั้น ความเจริญทางเศรษฐกิจได้เกิดขึ้นในระบบการเมืองหลายระบบและด้วยนโยบายที่ต่างกัน อันนี้นำไปสู่การคัดค้านต่อคำจำกัดความพัฒนาการเมืองดังกล่าว เนื่องจากว่า คำจำกัดความนั้นไม่ได้มีทฤษฎีร่วมกันเพราะในบางกรณีจะมีความหมายเพียงว่า รัฐบาลได้ปฏิบัติตามนโยบายเศรษฐกิจที่ถูกต้องหรือไม่เท่านั้น ส่วนในสถานการณ์อื่นนั้นอาจจะเกี่ยวพันถึงการพิจารณาองค์การขั้นมูลฐานของรัฐและการปฏิบัติของสังคมทั้งมวล ดังนั้นปัญหาเรื่องการพัฒนาการเมืองจึงแตกต่างกันตามความแตกต่างกันทางปัญหาเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ

วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เจาะข้อเท็จ-จริง ทฤษฎีวันโลกแตก!

ณอร อ่องกมล

กระแสข่าวลือ-ข่าวลวง-ข่าวเขย่าขวัญ ทำนองว่า
'โลกมนุษย์' จะถึงคราวดับสูญไปในปีนั้น ปีนี้ หรืออนาคตอันใกล้อีกไม่กี่ปีข้างหน้า ก็ยังคงมีให้ได้เห็นได้ยินอย่างต่อเนื่อง

โดยเฉพาะใน 'โลกไซเบอร์' รวมถึงอีเมล์ลูกโซ่ ที่มีมือมืดพยายามปั่น 'ทฤษฎีโลกแตก' สารพัดชนิด ทั้งในแง่มุมวิทยาศาสตร์ เช่น สนามแม่เหล็กโลกกลับขั้ว มุมภูตผีปีศาจเหนือธรรม ชาติ หรือพยากรณ์กันตามปฏิทินมายา ออกมาเขย่าให้ผู้คนหวาดผวาอยู่เป็นระยะๆ

อย่างล่าสุด ก็ลือกันทั่วอินเตอร์เน็ตว่า โลกอาจจะแตกในปี ค.ศ.2012 หรือพ.ศ. 2555?

ด้วยเหตุนี้จึงถือเป็นโอกาสดีที่เมื่อปลายเดือนก.ค.ที่ผ่านมา แวดวงวิชาการไทยได้ต้อนรับศาสตราจารย์ท่านผู้หญิง 'โจเซลิน เบล เบอร์เนล' นักดาราศาสตร์หญิงชั้นแนวหน้า ชาวอังกฤษ สาขาดาราศาสตร์วิทยุ จากมหา วิทยาลัยเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร ซึ่งเดินทางมาร่วมประชุมวิชาการสหพันธ์ดาราศาสตร์นานาชาติภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 11 (APRIM 2011) จัดโดยสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยี