เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม เลขทะเบียน ๘๖๙ สภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า

อุดมการณ์สถานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตย

เรา...มั่นใจว่า
ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา
ประเทศไทย เป็นของเราทุกคน
เรา ต้องร่วมกันสร้างชาติไทย ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์  พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วันพุธที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กองทัพกับการเมืองไทย ๑ : นิธิ เอียวศรีวงศ์

โดย : นิธิ เอียวศรีวงศ์

เวลานี้มีการอภิปรายถกเถียงในเว็บไซต์ต่างประเทศแห่งหนึ่ง ซึ่งสนใจศึกษาประเทศไทยโดยเฉพาะว่า กองทัพไทยเป็นปัจจัยสำคัญสุดทางการเมืองใช่หรือไม่ หรือกองทัพเป็นเพียงเครื่องมือของอำนาจนอกระบบในการแทรกแซงจัดการทางการ เมืองเท่านั้น

คิดอีกทีข้อถกเถียงนี้ก็ประหลาดนะครับ กองทัพในประเทศอุษาคเนย์ทุกประเทศล้วนมีบทบาทสำคัญทางการเมืองอย่างยิ่งทั้ง นั้น จนกลายเป็นหัวข้อศึกษาที่นักวิชาการเฝ้าศึกษาวิเคราะห์มานาน และมักจะวิเคราะห์กันเหมือนว่ากองทัพเป็นตัวละครอิสระ โดยไม่ได้เชื่อมโยงกับอำนาจอื่นๆ ที่มีอยู่ในสังคมเลย

ครั้นมาถึง ตอนนี้ การเมืองไทยมักถูกวิเคราะห์ในแนวว่ามีอำนาจนอกระบบ, มือที่มองไม่เห็น, หรือเครือข่ายทางเศรษฐกิจที่ชักใยอยู่เบื้องหลัง เป็นปัจจัยชี้ขาด จนกระทั่งบางทีก็ลืมกองทัพไปเลย

วันอังคารที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553

อนิจจาปุถุชนทุรนรั้น

น่าจะเกิน 20 ปี นะ เคยอ่านกลอนนี้ โดนใจ..ใช่เลย จำไม่ได้ว่าท่านผู้ใดเป็นผู้เขียน (ไพร่แดง)พยายามฟื้นความจำ
เอามาปะติดปะต่อ ขออนุญาต นำมาเพื่อเป็นประโยชน์กับผู้คน ที่กำลังมองหาสัจธรรมของชีวิต

ผ่านลมร้อนลมหนาวหลายคราวครั้ง
ชีวิตแห่งหวังยังโหยหา
เคลือบรอยยิ้มกลบทางรางน้ำตา
ปกปิดความปวดปร่าไว้มิดชิด

ทุกด้านที่พบเห็นเป็นเช่นนี้
วันหนึ่งร้ายวันหนึ่งดีมีถูกผิด
ในความงดงามมีหนามพิษ
ในความสวยมีจริต มีเล่ห์กล

ในอารมณ์ยินดีมีแอบแฝง
ในความแจ้งมีมุมอับอาจสับสน
ทว่าใครลุ่มหลงหลงไม่คงทน
ก็ตกตนสมเพชเวทนา

วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2553

วิกิลีกส์กับการเลิกเชื่อ : คุยกับ ดร.เกษียร เตชะพีระ

คำถามสำคัญ ของผู้คนแทบทุกวัฒนธรรมจำนวนวนไม่น้อย ต่างแสวงหา “ความจริง” ไม่ว่าจะด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ โหราศาสตร์ ไสยศาสตร์ ฯลฯ ยังไม่นับรวมวิธีวิทยาอื่นๆ ที่แต่ละสำนักคิด ต่างยึดถือ หรือกระทั่งวิธีคิดเองเออเอง ตามจินตนาการเท่าที่ประสบการณ์ในชีวิตแต่ละคนจะเอื้ออำนวยต่อการวาดภาพถึง สิ่งไกลๆ ที่ไม่สามารถมองเห็น

ไม่ว่าวิธีการแสวงหาความจริงของแต่ละคน จะใช้วิธีอะไร หยิบจับเครื่องมือชิ้นไหน แต่ปัญหาอาจไม่ได้อยู่ที่ “ความจริง” ชุดนั้น มากเท่ากับ ความพร้อม ในการยอมรับความจริงของผู้ที่กำลังรับรู้...

เดิมทีความเข้าใจความจริงแต่ละชุด ถูกจำกัดอยู่แต่เฉพาะกลุ่ม และอาจเป็นสิ่งต้องห้ามของสาธารณะ ต้องรอเวลาจนกว่าจะผ่านช่วงชีวิตในแต่ละรุ่น เพื่อคลายความ “ต้องห้าม” ของข่าวสารชุดนั้น

ขณะที่วันนี้ ความเคลื่อนไหววิธีใหม่ๆของข้อมูลข่าวสารเกิดขึ้น เมื่อมนุษย์สื่อสารถึงกันผ่านอินเตอร์เนต ข้ามพรมแดนของรัฐชาติและเป็นไปได้ยากในการควบคุม

วันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สังคมไร้กฎกติกา ใช้อารมณ์ความรู้สึกชี้นำ

ดร.นันทวัฒน์ วิพากษ์"สังคมไร้กฎกติกา ใช้อารมณ์ความรู้สึกชี้นำ เอาคนไม่รู้จริงทำงาน"

ศ.ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิเคราะห์การเมืองปี 2554 ในแง่มุมของนักกฎหมายมหาชน หลังจากอ่านบทสัมภาษณ์พิเศษนี้แล้ว อาจเข้าใจการเมืองไทยปีหน้าได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

วิเคราะห์การเมืองและรัฐธรรมนูญปีหน้า 2554 อย่างไร
การเลือกตั้งปีหน้าจะมีหลายองค์ประกอบ องค์ประกอบแรกที่เราดูกันอยู่หน้าจะเกี่ยวกับการแก้รัฐธรรมนูญ การแก้รัฐธรรมนูญในทางปฎิบัติ รัฐบาลไม่ได้อยากแก้ การแก้รัฐธรรมนูญดูเหมือนเป็นการซื้อเวลาในบางช่วง เพราะว่าคณะกรรมการชุดที่รัฐบาลตั้งขึ้นมาดูประเด็นต่างๆ ที่รัฐบาลเลือกไว้ 2 ประเด็น และ 2 ประเด็นที่รัฐบาลเลือกไม่ได้เป็นประเด็นใหม่ เป็นประเด็นที่คณะกรรมการของวุฒิสภาเขาทำกันมาแล้ว เพราะฉะนั้นก็เหมือนว่าการตั้ง 2 คณะกรรมการนี้ขึ้นมาก็เพื่อใช้ระยะเวลาอีกระยะเวลาหนึ่งยืนยันของเก่าที่ทำ กันมาแล้ว อาจจะมีเปลี่ยนบ้างเล็กน้อย

วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ทฤษฏีใหม่..การเมืองใหม่..Back..to..Basics

เมื่อครั้งที่ IBM ได้ผลิต Personal Computer (PC)
ในปี 1981 นั้น เป็นจุดเริ่มต้น ของการเปลี่ยนแปลง ครั้งใหญ่
ในโลกของเรา เป็นที่มาของเก็บรวบรวมข้อมูล (Database)
การวิจัยและพัฒนา (Research & Development)
และท้ายที่สุด คือ การสร้างระบบที่ควบคุมได้ (Control System)

แต่ในครั้งนั้น ผู้ประดิษฐ์คิดค้น และออกแบบ
Basic Input Output System (BIOS) ซึ่งเป็นจุดที่ Computer
เริ่มต้นทำงานเมื่อเปิดเครื่อง เพื่อสร้างระบบพื้นฐาน ให้กับโครงสร้าง
และการขับเคลื่อน ได้เปิดช่องว่างไว้ สำหรับการแก้ปัญหา ในภายหลัง
เผื่อว่า BIOS มีความผิดพลาด ก็จะทำการแก้ไขได้ง่าย

แต่กลับกลายเป็นว่า เป็นการเปิดทาง ให้กับผู้ที่คิดในทางลบ (Negative Thinking) ใช้ในการสร้าง Virus ขึ้นมา

วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2553

งานวิจัยชุมชน “จุดระเบิด” เคลื่อนประเทศ

ดร.สีลาภรณ์ บัวสาย” รอง ผอ.สกว.

“อยู่บนหอคอยงาช้าง-งานวิจัยขึ้นหิ้ง” เป็นคำแสลงใจนักวิชาการ โต๊ะข่าวเพื่อชุมชนสัมภาษณ์ “ดร.ลีลาภรณ์ บัวสาย” รอง ผอ.สกว. ในฐานะองค์กรศูนย์รวมงานวิจัยชุมชนของประเทศ และผู้มีทัศนะว่าองค์ความรู้จุดระเบิดจากภายใน-สร้างปฏิกิริยาลูกโซ่ให้ “ชุมชนแข็งแรงจัดการตนเองได้” ไม่ใช่ม็อบหรือเงิน

ช่วยให้คำนิยามที่บอกภาพองค์กร สกว.สั้นๆด้วยค่ะ

อุดมคติ ของ สกว.คือ“เข็มที่เล็งคือสร้างการเปลี่ยนแปลง” คือเราเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงที่ดีต้องใช้ความรู้ ถึงจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีหางเสือ มีเหตุมีผล ไม่ใช่พวกมากลากไป

ความเป็นมาของอาจารย์ กับงานวิจัยชุมชนเป็นอย่างไรค่ะ?

วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553

“เพื่อนร่วมอุดมการณ์”

เก็บมาฝาก จากกำแพง

๑.ทำ(เล่น)การเมือง เหตุไฉน ถึงไร้เพื่อน
เปรยเปรียบเหมือน เพื่อนคือหมา สัตว์หน้าขน
หลงทางผิด คิดข้า ปัญญาชน
ตนเตือนตน เองได้ ไม่เสียที

๒.ฤาสับสน ชั่วดี ไม่ประจักษ์
เพื่อนที่รัก วอนว่า อย่าหน่ายหนี
เดินทางดี เพื่อนใด ไม่ใยดี
ควรไม่ควร ทำที เหินห่างกัน

๓.ใยรักชาติ ไม่รักเพื่อน ช่างเถื่อนหนัก
ผิดเหตุนัก ผลพา พาลน่าขัน
หลงทางเพื่อน เตือนได้ ไม่เตือนกัน
ใช่หรือเพื่อน เพื่อนนั้น พรรค์อย่างไร

๔.จึงวันนี้ ตรึกตรอง เราต้องคิด
มองมุมผิด เธอฉัน นั้นเหลวไหล
ลองมองเพื่อน ด้วยจิต มิตรจริงใจ
อคติ ต่ำใต้...... พึงใคร่ครวญ...

ความท้าทายภาคเกษตร ระวังต่างชาติฮุบประโยชน์

สกว.เปิดเวทีถกความท้าทายภาคเกษตร นักวิชาการเตือนระวังต่างชาติฮุบประโยชน์











นักเศรษฐศาสตร์ชี้ภาคเกษตรไทยได้เปรียบด้านความหลากหลายชีวภาพ ส่งอาหารไทยดังไปทั่วโลก แต่ห่วงผลประโยชน์ตกกับบริษัทต่างชาติ เตือนระวังผลกระทบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อเกษตรกร ชุมชน มองผลประโยชน์การพัฒนาต้องกระจายทั่วถึง แนะเร่งผลักสวัสดิการชาวนา

ที่มา : ศูนย์ข่าวสถาบันอิศรา ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๓

วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553

บทวิเคราะห์ คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ

คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ ๑๕/๒๕๕๓
กรณียกคำร้องขอให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์
โดย คณะนิติราษฎร์

ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญได้อ่านคำวินิจฉัยที่ ๑๕/๒๕๕๓ เรื่องนายทะเบียนพรรคการเมืองขอให้ศาลมีคำสั่งยุบพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ และต่อมาได้มีการเผยแพร่คำวินิจฉัยกลางและความเห็นส่วนตนของตุลาการศาลรัฐ ธรรมนูญที่เป็นองค์คณะเมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓ คณาจารย์คณะนิติราษฎร์ นิติศาสตร์เพื่อราษฎร (www.enlightened-jurists.com) ได้ศึกษาคำวินิจฉัยดังกล่าวแล้ว เห็นว่าเพื่อประโยชน์ในทางวิชาการและประโยชน์สำหรับการตรวจสอบกระบวนการทำ งานตลอดจนการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ สมควรจะได้แสดงทัศนะทางกฎหมายในเรื่องดังกล่าว ดังนี้

๑. คดีนี้นายทะเบียนพรรคการเมือง (นายอภิชาต สุขัคคานนท์) ผู้ร้อง ได้ยื่นคำร้องลงวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๓ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคประชาธิปัตย์ ผู้ถูกร้อง เนื่องจากปรากฏว่าพรรคประชาธิปัตย์กระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐ ธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฯ มูลของคดีสืบเนื่องจากคณะกรรมการการเลือกตั้งได้รับแจ้งจากกรมสอบสวนคดี พิเศษว่าได้รับคำร้องทุกข์กล่าวโทษซึ่งเมื่อได้พิจารณาคำร้องทุกข์กล่าวโทษ ประกอบกับพยานหลักฐานที่ปรากฏแล้วพบว่าพรรคประชาธิปัตย์มีส่วนเกี่ยวข้อง ๒ ข้อกล่าวหา คือ

วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เวียดนามผงาด : การพัฒนาที่มีทิศทาง

โดย : กมล กมลตระกูล

ประเทศเวียดนามมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพที่สูง มาก โดยระหว่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจ 5 ปี ระหว่างปี 2001-2005 ตัวเลขจีดีพีเติบโตเฉลี่ย 7.51 ทุกปี ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งเป็นบทพิสูจน์ว่าระบอบเศรษฐกิจแบบรัฐสวัสดิการมิได้เป็นอุปสรรคต่อการ พัฒนาเศรษฐกิจ หรือทำให้ประเทศล้าหลังแต่อย่างใด

* สัดส่วนของภาคการผลิตด้านการเกษตร ป่าไม้ และประมง คิดเป็นร้อยละ 20.9 ของจีดีพี
* สัดส่วนภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้างคิดเป็นร้อยละ 41 ของจีดีพี
* สัดส่วนของภาคบริการคิดเป็นร้อยละ 38.1 ของจีดีพี
* มูลค่าของผลผลิตทั้งหมดได้นำส่งออกคิดเป็นร้อยละ 50 ของจีดีพี

ในขณะเดียวกัน สัดส่วนของคนจนได้ลดลงจากร้อยละ 17.5 เมื่อเริ่มต้นแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับนี้เมื่อปี 2001 เหลือเพียงร้อยละ 7 โดยที่ รัฐบาลได้สร้างงานเพิ่มขึ้น 7.5 ล้านตำแหน่ง และรายได้เฉลี่ยต่อคนเพิ่มขึ้นจาก 5.7 ล้านด่อง เป็น 10 ล้านด่อง ในด้านการรักษาพยาบาลก็มีการขยายโรงพยาบาลและเครือข่ายศูนย์อนามัยลงไปยัง ระดับรากหญ้าทุกระดับ

วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ความยุติธรรมที่เป็นอิสระ

สราวุธ เบญจกุล
รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม
ที่มา : มติชน

เมื่อไม่นานมานี้ข่าวการถอนตัวจากการพิจารณาคดีของผู้พิพากษาใน คดีที่อยู่ในความสนใจของประชาชนคดีหนึ่ง ได้สะท้อนให้เห็นถึงการอำนวยความยุติธรรมที่เป็นอิสระเพื่อรักษาความเชื่อ ถือศรัทธาของประชาชนที่มีต่อศาล

การอำนวยความยุติธรรมจะสัมฤทธิ์ผลได้เมื่อศาลและผู้พิพากษามีความเป็น อิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี ปราศจากอิทธิพลอันไม่ชอบไม่ว่าจะเป็นอิทธิพลจากภายนอกหรือจากการก้าวก่ายของ บุคคลในวงการศาลหรือจากบุคคลอื่นใดก็ตาม ผู้พิพากษาจึงต้องถือเรื่องนี้เป็นหลักสำคัญในการปฏิบัติหน้าที่ราชการของ ศาลยุติธรรม
ความเป็นอิสระนั้นเป็นสิ่งสำคัญ เห็นได้จากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 197 ได้บัญญัติเรื่องความเป็นอิสระของศาลและผู้พิพากษาว่า

“การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเป็นอำนาจของศาล ซึ่งต้องดำเนินการให้เป็นไปโดยยุติธรรม ตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมาย และในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ผู้พิพากษาและตุลาการมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีให้เป็นไปโดยถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม ตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย........”

วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ศัพท์ใหม่ "ประชาวิวัฒน์"

ประชาวิวัฒน์นั้นคือ การขยายผลของอภิมหาประชานิยมภายใต้ รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่ว่าจะเป็นราคาหมู ไก่ ไข่ ไปจนถึงการกระชับพื้นที่หาบเร่ ช่วยเหลือมอเตอร์ไซค์ ล้วนแล้วแต่อยู่ภายใต้กรอบของประชานิยมยี่ห้ออภิสิทธิ์ ที่เรียกว่าประชาวิวัฒน์ทั้งสิ้น

คุณกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีคลัง บอกว่า รัฐบาลเตรียมจะออกโครงการปฏิบัติการประชาวิวัฒน์ "คิดนอกกฎ บริหารนอกกรอบ" เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้แก่ประชาชน

17 ธันวาคม นี้ นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะรับฟังข้อสรุปของทีมนักวิชาการและหน่วยงานกว่า 30 แห่ง ก่อนจะประกาศใช้วันที่ 8 หรือ 9 มกราคม 2554

คุณกรณ์บอกว่า โครงการนี้จะช่วยเหลือคนที่อยู่นอกระบบกว่า 10 ล้านคน เช่น กลุ่มคนขับรถแท็กซี่ รถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง หาบเร่ แผงลอย ให้มีสิทธิ์ประกันสังคมเข้าถึงแหล่งทุนลดค่าครองชีพ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร เรื่องส่วย หรือหัวคิวรายเดือนให้แก่เจ้าหน้าที่รัฐ และนั่นยังไม่รวมถึงมาตรการลดค่าครองชีพที่จะเน้นไปที่โครงสร้างราคาอาหาร เช่น ไข่ไก่ ไก่ สุกร รวมไปถึงพลังงาน ทั้งแก๊สแอลพีจี และค่าไฟฟ้า

ครั้งแรกที่ศาลไทย ใช้แนวคิด Legal pluralism

ถ้ายอมรับความแตกต่าง ย่อมเห็นคนอื่นเป็นมนุษย์

มื่อไม่นานมานี้ ในงานเสวนาถกเรื่องพหุวัฒนธรรม ประจำเดือนธันวาคม 2553 โดย ศูนย์มานุษยวิทยาสิริธร หัวข้อเรื่อง “Legal pluralism” ศ.ดร. อานันท์ กาญจนพันธุ์ กล่าวบรรยายว่า Legal pluralism แปลตรงตัวว่า “พหุนิยมทางกฎหมาย” ความหมายของมันกว้างจนยากจะหาคำอธิบายที่ถูกต้องชัดเจนได้ แต่หากจะให้อธิบายง่ายๆแล้ว พหุนิยมทางกฎหมาย คือ การใช้กฏหมายตั้งแต่สองฉบับ ในพื้นที่เดียวกัน โดยมีเงื่อนไข ในการใช้กฏหมายแต่ละฉบับ ในที่นี้ กฏหมาย มิเพียงหมายถึง กฏหมายที่รัฐเป็นผู้บัญญัติ แต่ยังหมายถึง ประเพณี วัฒนธรรมของสังคม ซึ่งเปรียบเสมือนกฏหมาย แม้แต่ข้อปฏิบัติในศาสนาก็ไม่ต่างกัน

ตัวอย่าง เช่น ในแคนาดา มีเผ่าอินเดียนแดงอาศัยอยู่ในเขตป่าสงวน สามารถตกปลา ตัดไม้ ทำมาหากิน ในเขตป่าสงวนได้อย่างไม่มีความผิด แต่หากเป็นคนแคนาดาซึ่งเป็นผู้มาทีหลังจะโดนจับทันที บอกเช่นนี้ ทุกคนอาจคิดว่าไม่ยุติธรรม

แต่ลองคิดดูดีๆ ชนเผ่าอินเดียนแดงทำมาหากินในดินแดนนี้ตั้งแต่แรก หากเราแย่งที่อยู่ ที่ทำมาหากินของเขา พวกเขาจะหาอะไรเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง และถึงแม้จะมีการจัดเขตแดนพิเศษให้พวกเขา แต่สักวันหนึ่งที่ดินแถบนั้น ต้องแห้งแล้ง เสื่อมสภาพ เช่นนั้น ที่นั้นก็ไม่ต่างจาก “กรงขัง” ดีๆ นี่เอง และเมื่อเป็นเช่นนั้น ผลที่ตามมาย่อมเกิดเป็นความขัดแย้ง

วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การสื่อสารมวลชนไทย อยู่ในทฤษฎีแบบไหนก้น ?

ทฤษฎีสื่อสารมวลชน

ในวงวิชาการสื่อสารมวลชน มีทฤษฎีเกี่ยวข้องมากมายด้วยกัน ส่วนมากยังไม่วิวัฒนาการเป็นทฤษฎีสมบูรณ์ตามความหมายทฤษฎีที่แท้จริง ยังคงเป็นสมมติฐานเท่านั้น ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างแนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีสื่อสารมวลชนมา 4 ตัวอย่างด้วยกัน ที่เทียบกับการสื่อสารในจีน ได้อย่างใกล้เคียงกันพอสมควร

แนวความคิดแรกเน้นศึกษา "ประสิทธิผล" (Effect) ของสื่อสารมวลชนในสังคม แนวความคิดนี้เริ่มมีมานานแล้วจนกลายเป็นประเพณีการวิจัยสื่อสารมวลชนในปัจจุบัน ทุกครั้งที่พูดถึงสื่อสารมวลชนเรามักจะนึกถึง "ประสิทธิผล" ของมันมากกว่าองค์ประกอบอย่างอื่นเท่าที่ผ่านมานั้น ได้มีวิวัฒนาการเกี่ยวกับการศึกษาประสิทธิผลสื่อมวลชน (Effect Approach) แตกต่างกันไป แยกได้เป็นสามขั้นตอนสำคัญ คือในระยะแรก นักวิชาการเชื่อ ว่าสื่อมวลชนมีอิทธิพลอย่างมาก จึงเรียกแนวความคิดนี้ว่า Hypodermic needle theory (ทฤษฎีเข็มฉีดยา)

แจ็คกับยักษ์ และ กล่องแพนโดร่า ในรัฐธรรมนูญไทยฯ

“จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สู่ระบอบประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ 2475-2490 ”
โดย ณัฐพล ใจจริง
ที่มา : นิติราษฎร์

“อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย”

สวัสดีพลเมือง นิสิตนักศึกษา ผู้แสวงหาความรู้และมีความตื่นตัวในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยทุกท่าน การอภิปรายในวันนี้ของพวกเรา คือ การยืนยันและเชิดชูระบอบประชาธิปไตยที่ถือกำเนิดมาตั้งแต่ 2475

วันนี้เป็นโอกาสที่ดีและเหมาะสมด้วยทั้งกาละและเทศะ กล่าว คือ เราได้มาประชุมกันขึ้น ในวันที่ 10 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันที่เรามีรัฐธรรมนูญฉบับถาวร และในสถานที่ คือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่เป็นผลผลิตโดยตรงจากการปฏิวัติ 2475

วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553

รัฐ - ประชาชน บริบทของความขัดแย้ง

ธนชาติ แสงประดับ ธรรมโชติ
นักวิชาการเศรษฐศาสตร์การเมือง
Thanajaithai@hotmail.com
ที่มา : ประชาไท

นับแต่สมัยที่ราชวงศ์โรมานอฟแห่งรัสเซียสิ้นสุดลงในช่วงสงครามโลกครั้ง ที่หนึ่ง และต่อเนื่องถึงการสิ้นสุดของจักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งจีน ภัยของคอมมิวนิสต์ได้ถูกสร้างภาพให้เป็นมารร้ายในสังคมโลก ความขัดแย้งด้านอุดมการณ์ยุคสงครามเย็นได้แบ่งโลกออกเป็นสองขั้ว ระหว่างทุนนิยมเสรีที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นแกนนำ และขั้วสังคมนิยมที่มีสหภาพโซเวียตเป็นแกนนำ ได้สร้างภาพให้เกิดฝ่ายเทพกับมาร ภาพของมารร้ายคอมมิวนิสต์ดูจะเป็นสัญลักษณ์ที่คอยหลอกหลอนไปทั่วโลก รวมทั้งรัฐนาวาสยามประเทศจวบจนมาเป็นประเทศไทย แม้แต่การต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมในสังคมยังถูกยัดเยียดและเหมารวมว่าเป็น การกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ จึงต้องปราบปรามกันอย่างรุนแรงโดยไม่ได้พิจารณาแยกแยะอย่างถี่ถ้วน

ในปี 1989 กำแพงเบอร์ลินซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของสงครามเย็นได้ถูกพังทลายลงอันเป็นการสิ้น สุดของสงครามเย็น การล่มสลายของกลุ่มประเทศสังคมนิยมยุโรปตะวันออกหลายประเทศ รวมทั้งสหภาพโซเวียต และประเทศในกลุ่มอินโดจีน นำไปสู่การเปลี่ยนถ่ายจากเศรษฐกิจที่วางแผนจากส่วนกลางอันเรียกว่า ระบอบ “สังคมนิยม” เข้าสู่เศรษฐกิจ “ทุนนิยมเสรี” แม้กระทั่งประเทศจีนก็เข้าสู่ระบบตลาดทุนนิยมเสรีแบบจีน ทำให้ความหวาดวิตกเกี่ยวกับมารร้ายที่คอยมาคุกคามความมั่นคงอันเนื่องมาจาก ลัทธิคอมมิวนิสต์หมดไป ปัญหาความขัดแย้งเรื่องอุดมการณ์ลดความสำคัญลง และแล้วความตึงเครียดและขัดแย้งในสังคมไทยได้เคลื่อนตัวออกจากประเด็นของ อุดมการณ์พัฒนามาสู่การแข่งขันทางเศรษฐกิจ สู่ปัญหาใหม่ภายใต้บริบทของการเร่งรัดพัฒนา

วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553

"สถาบันฯ - รัฐธรรมนูญ - ประชาธิปไตย"

สรุปย่อ โดย มติชน

เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม เวลา 13.00-16.00 น. คณะนิติราษฎร์ (นิติศาสตร์เพื่อราษฎร) ได้จัดงานเสวนาหัวข้อ "สถาบันกษัตริย์ - รัฐธรรมนูญ - ประชาธิปไตย" ณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยมีนายณัฐพล ใจจริง อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, นายสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมเป็นวิทยากร

นายณัฐพล ได้เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ 6 ฉบับของไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2475-2495 เข้ากับนิทานแจ๊คผู้ฆ่ายักษ์ โดยในช่วงปี 2475 นั้น ได้เกิดบรรยากาศการสร้างระบอบประชาธิปไตย และ สร้างเสรีภาพให้เกิดขึ้นในการปกครอง เปรียบเสมือนการที่ "ยักษ์" ถูกจับใส่กล่อง แต่พอหลังปี 2490 เป็นต้นมา "ยักษ์" ก็แหกกล่องออกมา แล้วจับเอา "แจ๊ค" ยัดใส่ลงไปในกล่องแทน

ขณะที่นายสุธาชัย กล่าวถึงประเด็นระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ โดยอธิบายได้ว่าระบอบดังกล่าวดีกว่าระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งรวมศูนย์อำนาจอยู่ที่ผู้เป็นใหญ่เพียงคนเดียว นักวิชาการสาขาประวัติศาสตร์ผู้นี้ระบุว่าควรมีการ รณรงค์หรือผลักดันให้เห็นว่าระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญถือเป็นสิ่งที่ถูก ต้อง เพราะจะทำให้สถาบันฯ อยู่ได้ยั่งยืน และหากเราเชื่อว่าระบอบดังกล่าวเป็นสิ่งที่ดี ก็ควรเชื่อว่าระบอบมีความดีอยู่ที่ตัวระบบ ไม่เหมือนระบอบประธานาธิบดีที่ความดีอาจขึ้นอยู่กับตัวบุคคล

วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ความจริงคืออาวุธ

รุ้งตัดแวง : ข่าวสด

เมื่อมีข่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะเดินทางเข้า 'สหรัฐอเมริกา' 16 ธันวา คมนี้

เราก็เห็นการทำงานกระฉับกระเฉงเกินเงินเดือนในการสกัดกั้นพ.ต.ท.ทักษิณของบิ๊กๆ กระทรวงการต่างประเทศอีกครั้ง

เป็น ที่พอทราบๆกันในแวดวงข่าวสารระดับสากลว่า พ.ต.ท.ทักษิณนั้นทั้ง 'เคยใช้' และ 'กำลังใช้' บริษัทล็อบบี้ยิสต์ยักษ์ใหญ่ระดับโลก 'เดินเกม' ให้

เช่น 'BGR Group' รับผิดชอบดูแลงานล็อบบี้นักการเมืองในสภาสหรัฐ และประชาสัมพันธ์สถานะความเป็นนักประชา ธิปไตยของพ.ต.ท.ทักษิณ

รวมถึง 'Kobre & Kim' ซึ่งจ้างเอาไว้ดำเนินการล็อบบี้ระดับนโยบาย

และที่ดูเหมือนจะแรงจัดกว่าใครเพื่อน ก็คือ 'Amsterdam & Peroff' หรือสำนักงานกฎหมายนายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม

ปากกาอยู่ที่มัน

นายสถิตย์ ไพเราะ
ที่มา : นิติราษฎร์

นักศึกษาหลายท่านมาถามผมเสมอ ๆ ว่า เหตุใดศาลจึงมีคำวินิจฉัยอย่างนั้นอย่างนี้ เป็นการวินิจฉัยสองมาตรฐานหรือไม่มีมาตรฐาน ข้อนี้ตอบแบบกำปั้นทุบดิน ก็ต้องตอบว่าเรื่องของความเห็นเป็นเรื่องยากที่จะชี้ลงไปได้ว่าใครถูกใคร ผิด ยิ่งคนธรรมไม่เสมอกันแล้วไม่มีทางจะเห็นตรงกันได้

เรื่องการวิพากษ์วิจารณ์คำพิพากษาของศาลนั้นไม่ใช่เพิ่งมีในขณะนี้ มีมาแต่โบราณกาลแล้วในหนังสือมูลบทบรรพกิจ ซึ่งเป็นตำราเรียนในสมัยก่อนเขียนวิจารณ์ศาลไว้ว่า

"คดีที่มีคู่ (ความ) คือไก่หมูเจ้าสุภา
เอาไก่เอาหมูมา (ให้) เจ้าสุภาก็ว่าดี
ที่แพ้แก้ (ให้) ชนะไม่ถือพระประเวณี
ขี้ฉ้อก็ได้ดีไล่ด่าตีมีอาญา"
และวิจารณ์พระภิกษุไว้ว่า
"ภิกษุสมณะหรือก็ละพระสธรรม
คาถาว่าลำนำไปเร่รำทำเฉโก"

วันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เศรษฐศาสตร์การเมืองของการเก็บภาษี

โดย ผาสุก พงษ์ไพจิตร

ทำไมบางประเทศสามารถที่จะเก็บภาษีทางตรง คือภาษีรายได้และภาษีทรัพย์สิน ได้มากกว่าบางประเทศ แม้ว่าระดับขั้นการพัฒนา และโครงสร้างทางเศรษฐกิจอาจไม่ต่างกันมากนัก?

การตอบคำถามนี้โดยศึกษาจากประสบการณ์จริงของประเทศเหล่านั้น อาจจะให้บทเรียนว่าจะเลียนแบบระบบแรงจูงใจหรือวิธีการทำให้เก็บภาษีทางตรงได้มากขึ้นได้อย่างไร เพื่อที่รัฐบาลจะสามารถมีรายได้เอาไปใช้จ่ายในการสร้างสินค้าสาธารณะที่จำเป็น ในการสร้างระบบสวัสดิการถ้วนหน้าเพื่อสนองความต้องการของพลเมือง และเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับรัฐบาลเอง

มี 2 กรณีสำคัญที่จะนำมาเล่าให้ฟังโดยสังเขป คือกรณีของแอฟริกาใต้ บราซิล และเกาหลีใต้

กรณีของแอฟริกาใต้ (South Africa) นั้น มีสถิติการจัดเก็บภาษีที่น่าทึ่งคือ ในบรรดาประเทศที่มีสถานะเป็นประเทศรายได้ระดับกลาง (middle income countries) ซึ่งไทยก็อยู่ในกลุ่มนี้นั้น แอฟริกาใต้สามารถจัดเก็บภาษีได้สูงถึงคิดเป็นร้อยละ 25 ของ GDP ขณะที่ค่าเฉลี่ยสำหรับประเทศรายได้ปานกลางทั้งหมดเท่ากับร้อยละ 15 ของ GDP

สิทธิ เสรีภาพ ประชาธิปไตย และธรรมาภิบาล

โดย ทศพนธ์ นรทัศน์
ไทยเอ็นจีโอ
1. บทนำ
สิทธิ เสรีภาพ ประชาธิปไตย และธรรมาภิบาล เป็นหลักที่เกื้อกูลซึ่งกันและกันในการปกครองประเทศให้มีความเจริญรุ่งเรือง ยิ่งมีการส่งเสริม คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนมากเท่าใด ก็จะทำให้ประเทศมีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นเท่านั้น การสร้างธรรมาภิบาลก็เป็นกลไกสำคัญในการสนับสนุนให้ภาคประชาชนเข้ามามีบทบาท มีส่วนร่วมในการปกครองและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐอย่างเป็นรูปธรรมและสัมฤทธิ ผล ก่อเกิดดุลยภาพและประสิทธิภาพตามวิถีการปกครองระบอบประชาธิปไตย หากธรรมาภิบาล หรือการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเกิดขึ้นในทุกภาคส่วนแล้ว ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายของประเทศนั้นๆ และ/หรือกฎหมายระหว่างประเทศอย่างแท้จริง ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของพลเมืองดีขึ้น การพัฒนาประเทศในทุกมิติก็เป็นไปโดยง่าย เพราะพลเมืองมีคุณภาพ

2. สิทธิ เสรีภาพ ประชาธิปไตย และธรรมาภิบาล
Dr. Faustina Pererira, Advocate of the Supreme Court of Bangladesh and Director of the Human Rights and Legal Services (HRLS), BRAC ได้แสดงปาฐกถาในเรื่องนี้ไว้อย่างน่าสนใจว่าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ รัฐธรรมนูญของแต่ละประเทศได้มีบทบัญญัติเพื่อรับรองสิทธิ เสรีภาพ ประชาธิปไตย และธรรมาภิบาล เสมือนหนึ่งเส้นเลือดหลักที่คอยหล่อเลี้ยงให้การปกครองรัฐ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ หรือกล่าวให้เข้าโดยง่ายก็คือ ยิ่งรัฐมีสิ่งเหล่านี้มากเท่าไหร่ ก็จะเป็นรัฐที่มีสุขภาพดี (Healthy State) มากเท่านั้น

วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

"ธิดา ถาวรเศรษฐ์" แม่ทัพหญิง นปช.คนใหม่

เปี่ยมด้วยอุดมการณ์แรงกล้า เผยฉากชีวิตรักกับ"หมอเหวง"ในป่า
"บางคนพูดเพื่อให้ดูดี บางคนพูดเพื่อให้ตัวเองเป็นคนสำคัญมีฐานะนำ" แต่ไม่ใช่ "ธิดา ถาวรเศรษฐ์" รักษาการประธานแนวร่วมกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. ภรรยา นพ.เหวง โตจิราการ แกนนำ นปช. ที่ถูกขังอยู่ในเรือนจำในข้อหาก่อการร้าย ซึ่งเป็นผู้ถูกเลือกโดยมีมติจากแกนนำในคุกส่งสัญญาณให้เธอเป็นผู้นำทัพ ทำให้เธอต้องออกมารับหน้าที่แม่ทัพใหญ่คุมมวลชนคนเสื้อแดงในยามที่ขาดหัว พร้อมกับเน้นย้ำว่า

"เราจะพูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์กับ ประเทศชาติและประชาชน ถ้าเราพูดอะไรแล้วมันให้โทษกับประชาชน หรือไปเข้าทางคนที่เป็นอุปสรรคขัดขวางประชาชนจะไม่พูด ไม่ต้องการพูดเพื่อสำแดงโวหาร ว่า เราเป็นคนเก่งหรือก้าวหน้า คำพูดของเราจึงต้องนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นประโยชน์เท่านั้น" คำกล่าวของ ธิดา ประธาน นปช.คนใหม่ กับทิศทางใหม่พูดเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สมกับเป็นแกนนำไม่ใช่โฆษก ซึ่งมีเรื่องราวชีวิตที่น่าสนใจมากเริ่มจากการเป็น อาจารย์สอนวิทยาศาสตร์การแพทย์ หลังจากเรียนจบปริญญาโททางด้าน Microbiology หรือ จุลชีววิทยา สอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่พร้อมกับทำวิจัยไปด้วย และมาสอนที่มหาวิทยาลัยมหิดล สอนคณะเภสัชเพราะปริญญาตรีอาจารย์จบ"เภสัช"

สัมภาษณ์พิเศษ “พันศักดิ์ วิญญรัตน์”

Siam Intelligence Unit และรายการ Practical Utopia สัมภาษณ์พิเศษ “พันศักดิ์ วิญญรัตน์” อดีตประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี 2 สมัย คือ รัฐบาล พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ และ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร

พ่อของเขาเคยเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ของธนาคารกรุงเทพ พันศักดิ์จบการศึกษาด้านกฎหมายจากอังกฤษ เคยทำงานอยู่ในสหรัฐนับสิบปี หลังกลับมาเมืองไทยใหม่ๆ พันศักดิ์เคยเริ่มทำหนังสือพิมพ์ “จตุรัสรายสัปดาห์” และภายหลังเป็นบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ Asia Times (ปัจจุบันปิดตัวไปแล้ว) นอกจากนี้ยังเป็นผู้ก่อตั้งศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) องค์การมหาชนที่ดูแลด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์และการสร้างมูลค่าเพิ่มในสินค้าไทย

ถอดความจากวิดีโอสัมภาษณ์

เปิดจม.คณะกรรมการเฮลซิงกิ เชิญ ทักษิณ ไปสหรัฐ

นายเบนจามิน แอล. คาแดง คณะกรรมการเฮลซิงกิ ได้ทำจดหมายถึงพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา โดยได้ส่งผ่านไปยังสำนักงานทนายความของนายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ในกรุงวอชิงตัน ดีซี มีใจความว่า

ในฐานะประธานคณะกรรมการความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป (คณะกรรมการเฮลซิงกิ) ข้าพเจ้าขอส่งจดหมายเชิญมายังท่านเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน และสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ ไทย ภายใต้ หัวข้อ “ประเทศไทย : ประชาธิปไตย , การบริหารประเทศ และสิทธิมนุษยชน” ในวันที่ 16 ธันวาคม เวลา 15.00 น. ณ สถานที่ซึ่งจะมีการยืนยันในอนาคต

ในฐานะที่เป็นพันธมิตรด้านความร่วมมือขององค์การเพื่อความมั่นคงและความ ร่วมมือในยุโรปนั้น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสลายการชุมนุมของกลุ่มผู้ประท้วงในกรุงเทพฯ เป็นที่สนใจของคณะกรรมการเฮลซิงกิ และเมื่อไม่นานมานี้ กลุ่ม นปช.ได้ยื่นฟ้องนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ โดยกล่าวหาว่านายอภิสิทธิ์กระทำผิดต่อสิทธิมนุษยชนระหว่างการสลายการชุมนุม ซึ่งหากท่านสามารถให้มุมมองต่อสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย เสรีภาพของสื่อมวลชน และเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน ความพยายามของรัฐบาลไทยในการแก้ปัญหาเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดทางตอนใต้ ของประเทศ และแนวทางที่สหรัฐอเมริกา รวมทั้งประชาคมนานาชาติ รวมทั้งคณะกรรมการเฮลซิงกิ จะมีส่วนช่วยยกระดับสิทธิมนุษยชน และสร้างความเชื่อมั่นว่าจะมีการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์และยุติธรรม

คณะกรรมการเรียกร้องให้ท่านนำเสนอข้อมูลโดยปากเปล่า เป็นเวลาประมาณ 7-10 นาที ซึ่งท่านอาจร้องขอให้เพิ่มเวลาการให้การ หรือแถลงการณ์เป็นลายลักษณ์อักษร หรือนำเสนอวัตถุพยานเพื่อนำมาบันทึกเป็นหลักฐานอย่างเป็นทางการ และคณะกรรมการจะรู้สึกขอบคุณอย่างมาก หากได้รับถ้อยแถลงของท่านในรูปแบบ อิเล็กทรอนิกส์ภายในวันอังคารที่ 14 ธันวาคม เพื่อที่จะส่งมอบให้แก่กรรมการและเปิดเผยต่อสาธารณะ ณ สถานที่ให้การ

ต้นฉบับภาษาอังกฤษ

วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เปลี่ยนแปลงประเทศไทย

โดย นพ.ประเวศ วะสี
ที่มา : คมชัดลึก

ทุกคนรู้ว่าประเทศไทยต้องเปลี่ยนแปลง แต่ที่ไม่ชัดเจนคือเปลี่ยนอะไรและอย่างไร ที่จริงประเทศไทยพยายามดิ้นรนหาจุดลงตัวใหม่ มาตั้งแต่ครั้งที่ ร.๕ แต่ยังหาไม่พบ

มหาวิกกฤตการณ์สยามนี้ไม่มีใครสามารถแก้ได้ง่ายๆ และคงแก้ไม่ได้ในภพภูมิเดิม เราจะไม่รู้ตัวว่าเราอยู่ในภพภูมิอะไร แล้วก็พยายามแก้ปัญหาอยู่ในภพภูมิเดิมๆ ซึ่งก็ไม่มีทางออกจากวิกฤต จึงควรทำความเข้าใจเรื่องภพภูมิแห่งการพัฒนา ในพระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนก ทรงกล่าวถึง “โมหภูมิ” ว่าคนทั้งหลายตั้งแต่อุปราชจนถึงคนเลี้ยงม้าล้วนตกอยู่ในโมหภูมิเป็นผลให้เกิด “เมืองอวิชชา” ซึ่งเต็มไปด้วยความชั่วช้านานาชนิด

๑. ภพภูมิแห่งการพัฒนา ลูกไก่ที่อยู่ในไข่เมื่อโตเต็มที่แล้วต้องสามารถจิกเปลือกไข่ออกมาสู่ภพภูมินอกเปลือกไข่จึงจะเติบโตต่อไปได้ ถ้ามันยังอยู่ในภพภูมิที่ล้อมรอบด้วยเปลือกไข่มันจะตายเพราะภพภูมินั้นแคบจะบีบรัดให้ตาย หรือเหมือนเด็กในครรภ์มารดาเมื่อโตเต็มที่แล้วต้องคลอดออกมาสู่ภพภูมินอกครรภ์มารดา ถ้ายังอยู่ในภพภูมิเดิมคือ มดลูกของแม่จะตายทั้งแม่และลูก
สังคมไทยเติบโตและซับซ้อนอย่างยิ่ง ภพภูมิเดิมแคบและบีบคั้น เมื่อบีบคั้นก็เกิดการทะเล้นทะลัก ด้วยอาการต่างๆ รวมทั้งความรุนแรง จึงควรทำความเข้าใจว่าเราอยู่ในภพภูมิอะไร

การบริหารจัดการท้องถิ่นกับการสร้างความเป็นพลเมือง

ประสบการณ์จากประเทศเยอรมนี

แนวคิดการกระจายอำนาจในการปกครองให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ท้องถิ่นได้มีอิสระในการบริหารจัดการตนเองและเพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการบริหารกิจการสาธารณะของท้องถิ่นเองนั้น ถือเป็นรากฐานสำคัญของการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย


ซึ่งจากประสบการณ์ของการกระจายอำนาจไปสู่การปกครองในระดับท้องถิ่นของประเทศเยอรมนี[1] พบว่า ประเทศเยอรมนีได้นำแนวคิดของการบริหารจัดการท้องถิ่น (Local Governance) มาใช้อันมีนัยยะสำคัญถึง “การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนในรูปแบบใหม่ โดยเน้นให้รัฐมีบทบาทในการสร้างความเป็นพลเมืองให้แก่ประชาชน ซึ่งหมายถึง ผู้ที่มีความรับผิดชอบในกิจการสาธารณะของเมือง/ชุมชน” ทั้งนี้ โดยได้มีการนำแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management: NPM) มาใช้ในการออกแบบองค์กรและรูปแบบการทำงานของหน่วยงานรัฐในระดับท้องถิ่นให้เหมาะสมกับการส่งเสริมให้ภาคประชาชน และภาคธุรกิจเอกชนได้มีส่วนร่วมในกิจการสาธารณะของท้องถิ่นได้มากขึ้น อันสอดคล้องกับเป้าหมายของหลักการกระจายอำนาจทางการเมือง (Political Decentralization) ที่ต้องการสร้างให้เกิดความเป็นพลเมืองในระดับท้องถิ่น ซึ่งเป็นผู้ที่มีความตื่นตัว ไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกันและกัน และร่วมรับผิดชอบในการกิจการสาธารณะ รวมทั้งมี commitment ในทางการเมือง

วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553

"พรรคเพื่อไทย" กับ "ประชาธิปไตยไทย"

โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
ที่มา : มติชน 6-12-2010

ในขณะที่จำนวนมากของคนเสื้อแดงได้ก้าวพ้นทักษิณไปแล้ว แต่พรรคเพื่อไทยยังก้าวไม่พ้น และที่น่าเศร้าไปกว่านั้นก็คือ ทักษิณที่ พท.ก้าวไม่พ้นนั้นคือตัวบุคคล ไม่ใช่สัญลักษณ์การมีส่วนร่วมทางการเมืองของคนเล็กๆ ไม่ใช่นโยบายที่ตอบสนองต่อความจำเป็นของคนเล็กๆ (คือการเสริมสร้างความมั่นคงในชีวิต) และไม่ใช่แม้แต่ "ประชาธิปไตย" อย่างที่ พท.ชอบกล่าวอ้าง

จุดยืนทางการเมืองที่เด่นชัดของ พท.คือการเอาทักษิณกลับมา มีนโยบายที่ได้แถลงแก่ประชาชนอย่างชัดเจนว่า จะมีขั้นตอนอย่างไร จนในที่สุดทักษิณก็สามารถกลับสู่ประเทศไทยโดยไม่มีคำพิพากษาติดตัว

แต่ จะกลับมาทำอะไร (ทางการเมือง) พท.ไม่มีคำตอบชัดเจน จะให้เข้าใจโดยนัยยะว่าเพื่อกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีก (หรือเป็นต่อไปเหมือนไม่เกิดรัฐประหารใน พ.ศ.2549) ก็ไม่สู้จะชัดเจนนัก หรือให้กลับเข้ามาเพราะเป็นความเป็นธรรมที่จะให้กลับมา พท.ก็ไม่ได้เน้นเรื่องของความไม่เป็นธรรมเป็นหลัก อย่างน้อยก็เน้นประเด็นนี้ไม่เท่ากับที่เสื้อแดงเน้น พท.วางเงื่อนไขไว้อย่างเดียว คือหาก พท.สามารถได้ที่นั่งในสภาเกินกึ่งหนึ่งในการเลือกตั้งครั้งหน้า

แต่อย่างน้อยนักการเมืองที่เจนเวทีในพรรคก็คงรู้อยู่แล้วว่าเป็นไปไม่ได้มากไปกว่ากโลบายหาเสียง

วันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2553

"วันหวนคิดถึงพ่อของฉัน"

ความเรียงสมัครเล่น
โดย.คงฝัน (รากหญ้าพัฒนา)

พ่อฉันเป็นคนจีนโดยกำเนิด พ่อฉันชอบไหว้พระ ทำบุญเลี้ยงพระที่บ้านบ่อยสมัยฉันเป็นเด็ก พ่อชอบไปทำบุญสร้างวัดที่ต่างจังหวัด ตามสถานะภาพ เพราะพ่อต้องเลี้ยงดูแม่ฉันและพี่น้องรวม ๗ ชีวิต และคนงานอีก ๑๐ คน ฐานะจึงไม่ได้ร่ำรวย ฉันทึ่งในตัวพ่อของฉันมาก พ่อเป็นคนจีนที่ชอบวัฒนะธรรมไทย อาหารไทย พ่อเป็นคนขยัน,อดทน,มัธยัตถ์ รู้จักใช้สิ่งของ หากแพงแต่ใช้ประโยชน์ดี พ่อเลือกใช้

พ่อฉันชอบช่วยเหลือคน ชอบถ่ายทอดความรู้ที่ดีที่มีและอาชีพให้ โดยไม่เคยหวง พ่อเคยถามภาษาจีนฉันว่า "อยากให้เขากิน..หรือกินของเขา" ฉันจึงตอบพ่อว่า " อยากให้เขากิน" พ่อบอกว่าถูกต้องแล้ว เราให้เขากิน หมายถึงเรารู้จักทำกินและมีเหลือช่วยคน แต่ถ้าเราคอยกินของเขา หมายถึงเราไม่มีอันจะกิน เราไม่รู้จักแม้กระทั่งช่วยเหลือตัวเอง ภายภาคหน้าจะลำบากหากคิดเช่นนี้

พ่อฉันมีความรู้ตำรายาจีน ,ตำราหมอดูทำนายชะตาชีวิต,งานโรงพิมพ์,ตัดเสื้อผ้า,ค้าขาย,การเมืองและประวัติศาสตร์ หลายประเทศ เพราะพ่อเป็นนักอ่าน พ่อจึงมีความรู้ ความสามารถก็เยอะ ต่อเติม,สร้าง,ออกแบบ ช่างคิด พ่อไม่เคยหวงความรู้ พ่อบอกว่าการที่เราให้ความรู้หรือช่วยเหลือคนนอกจากได้บุญแล้ว วันข้างหน้าหากเราลำบากหรือต้องการความช่วยเหลือ คนที่เราเคยช่วยเหลือเขาๆอาจจะช่วยเหลือเราได้บ้าง

"จันทร์ กั้วพิจิตร" หญิงเก่งผู้นำชุมชนต้นแบบ

แม้ ในอดีตจะเคยผ่านประสบการณ์ถูกไล่รื้อที่อยู่อาศัยภายในชุมชนแออัด ทว่า จันทร์ กั้วพิจิตร ประธานชุมชนคลองลำนุ่น ย่านคันนายาว ก็ร่วมต่อสู้กับพี่น้องเพื่อนบ้านชาวชุมชนคลองลำนุ่น กระทั่งวันนี้ได้มีการบริหารจัดการชุมชนจนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี ลบภาพชุมชนแออัดได้อย่างสิ้นเชิง


ประธานชุมชนวัย 55 ปี ย้อนอดีตเมื่อครั้งที่เธอและเพื่อนบ้านร่วมต่อสู้เรื่องที่อยู่อาศัยจากภาครัฐ จนสำเร็จเมื่อหลายปีก่อน แม้กว่าจะได้มาต้องเผชิญกับความยากลำบาก แต่ก็คุ้มค่ากับผลลัพธ์ที่ได้มา จากคนที่ไม่เคยมีบ้าน
วันนี้เธอบอกถึงตายก็ตายตาหลับ เพราะมีที่อยู่ให้ลูกหลาน

รัฐที่ความยุติธรรมล้มเหลว

โดย สุรพศ ทวีศักดิ์
ที่มา : ประชาไท

คนจนนำแผ่นซีดีเก่าสิบ-ยี่สิบแผ่นมาวางขายหาเงินซื้อข้าวสารกรอกหม้อ ถูกจับและเรียกปรับเป็นแสน ทำให้ดูเหมือนว่ารัฐไทยช่างเอาจริงเอาจังกับการบังคับใช้กฎหมายเหลือเกิน

คนจนนำแผ่นซีดีเก่าสิบ-ยี่สิบแผ่นมาวางขายหาเงินซื้อข้าวสารกรอกหม้อ ถูกจับและเรียกปรับเป็นแสน ทำให้ดูเหมือนว่ารัฐไทยช่างเอาจริงเอาจังกับการบังคับใช้กฎหมายเหลือเกิน และเมื่อปรากฏภาพข่าวนายตำรวจขวัญใจประชาชนควักเงินส่วนตัวจ่ายค่าปรับแทนคน จน เราต่างตื้นตันใจว่าสังคมนี้ช่างมีตำรวจที่เปี่ยมเมตตาธรรมต่อประชาชนผู้ยาก ไร้หาเช้ากินค่ำเหลือเกิน แต่เป็นภาพที่ขัดแย้งกับภาพตำรวจตามด่านตรวจบางแห่ง ที่ก้มลงหยิบเศษเงินข้างๆ เท้าของคนขับรถบรรทุก

ภาพที่ขัดแย้งกันสองภาพดังกล่าว ภาพแรกเป็นภาพจงใจถ่ายทำ แต่ภาพหลังเป็นภาพแอบถ่าย หรือภาพแรกเป็นภาพจงใจนำเสนอเพื่อต้องการบอกสังคมว่า ตำรวจไทยเอาจริงเอาจังและเที่ยงตรงกับการบังคับใช้กฎหมาย และตำรวจไทยก็มีเมตตาธรรมต่อประชาชนผู้ยากไร้ ส่วนภาพหลังเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ได้จงใจนำเสนอ แต่เป็นข้อเท็จจริงของวิถีชีวิตประชาชนที่หาเช้ากินค่ำถูกรีดไถจนชาชิน

คำถามคาใจในคำวินิจฉัยไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์

โดย "นิติเกิน" (จากเว็บไซต์ "นิติราษฎร์" 3 ธันวาคม 2553)

ด้วยความเคารพอย่างสูงต่อท่านตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทุกท่าน คำวินิจฉัยอย่างไม่เป็นทางการที่ท่านได้อ่านไปในคดียุบไม่พรรคประชาธิปัตย์นั้น ทำให้ผู้น้อยเกิดความสงสัยหลายประการ อยากให้ท่านช่วยอธิบายให้กระจ่างชัดด้วย

1. วิธีการอ่านคำวินิจฉัยที่ถูกต้องควรเป็นเช่นไร
เคยเข้าใจมาตลอดว่า ศาลไทยและต่างประเทศมีวิธีปฏิบัติเหมือนกันคือ เขียนคำพิพากษาให้เสร็จ ตรวจทานแล้วจึงให้ตุลาการทุกท่านที่เป็นองค์คณะลงนามกำกับไว้ ท่านใดมีความเห็นแย้ง หรือมีเหตุผลเป็นอย่างอื่นก็จะแนบเข้าไปกับตัวคำพิพากษา จากนั้น จึงนำมาอ่านต่อหน้าคู่ความ

หากเทียบกับกรณีศาลรัฐธรรมนูญ อย่างน้อยที่สุด คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญก็น่าจะต้องแล้วเสร็จพร้อมอ่านต่อหน้าผู้ร้อง ผู้ถูกร้อง ส่วนความเห็นในการวินิจฉัยส่วนตน แม้ไม่มีสภาพบังคับในทางกฎหมาย แต่ก็น่าจะเปิดเผยไปพร้อมกันด้วย

แต่คดีนี้ ปรากฎว่า คำวินิจฉัยของศาลยังไม่เสร็จ เปิดดูเว็ป ก็มีแต่คำวินิจฉัยอย่างไม่เป็นทางการ
จริง ๆ แล้ว ที่ถูกต้องควรเป็นอย่างไรครับ

วันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2553

มองชนชั้นในสังคมไทยปัจจุบัน

ผ่านมโนทัศน์ของ คาร์ล มาร์กซ์ และ แมกซ์ เวเบอร์
ศิวนันท์ คีรีเพ็ชร์
สาขาภูมิภาคศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

มโนทัศน์ชนชั้นของคาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) ผ่านมาพร้อมกับกับประวัติศาสตร์การแบ่งมนุษย์เป็นชนชั้นในทุกสภาพสังคม เพื่อต้องการแสวงหาผลประโยชน์ให้ชนชั้นด้วยตัวเองเป็นหลัก เช่น ในสภาพของลัทธินายทุน ซึ่งมีระหว่างชนชั้นผู้กดขี่และผู้ถูกกดขี่ รวมถึงผู้ซื้อและผู้ขายแรงงาน โดยมีลักษณะร่วมกันทางหน้าที่เท่านั้น เพื่อแสดงอำนาจที่อยู่เหนือกว่าในนัยยะของชนชั้นทางสังคม

แต่อีกประเด็นซึ่งขัดกับการแสดงอำนาจที่เหนือกว่าของผู้กดขี่ นั่นคือ การที่บุคคลอยู่ในสภาพเฉพาะที่ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งแต่ละบุคคลไม่รู้จักกัน แต่สามารถแสดงพลังร่วมกันต่อต้านผู้ว่าจ้างได้อย่างมีพลังอำนาจ โดยพวกเขาเริ่มคิดในโชคชะตาร่วมกัน เริ่มก่อตัวเป็นชนชั้นที่สามัคคีและมีผลประโยชน์ร่วมกัน

ส่วนมโนทัศน์ชนชั้นของเวเบอร์ อธิบายลักษณะทางชนชั้นซึ่งแบ่งกลุ่มตามสถานภาพที่ขึ้นกับแบบแผนการบริโภคของบุคคลมากกว่าขึ้นอยู่กับตำแหน่งในตลาดหรือกระบวนการผลิต โดยสถานภาพนั้นต่างจากชนชั้น มีลักษณะที่เป็นการรวมกลุ่มแบบชุมชน มีแนวคิดกับวิถีชีวิตที่เหมาะสม และต้องการได้รับการชื่นชม ยกย่องจากสังคมอื่น รวมถึงการกีดกันจากสังคมที่ไม่อยู่แวดวงเดียวกัน จากความห่างเหินทางสังคมก่อให้เกิดลักษณะที่แบ่งแยกระหว่าง "พวกเขา" กับ "พวกเรา"

"แม่น้ำโขง" จากอาณานิคมาภิวัตน์สู่โลกาภิวัตน์

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
อารัมภบท
เมื่อฤดูหนาวปี ๒๕๔๔ ผมไปล่องแม่น้ำโขงจากตอนใต้ของจีนระยะทาง ๒๐๐ กิโลเมตร ผ่านแดนพม่าทางด้านขวา ผ่านแดนลาวด้านซ้าย จาก "สี่เหลี่ยม (ที่ไม่ค่อยจะมี) เศรษฐกิจ" ที่ดีและก็ไม่ค่อยจะรักษาธรรมชาติและสภาพแวดล้อมนัก ลงมาจะถึง "สามเหลี่ยมทองคำ" ที่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

เราเริ่มต้นจากการบินจากกรุงเทพฯ ไปเมืองคุนหมิง เที่ยวแล้วก็นอนที่นั่นคืนหนึ่ง วันรุ่งขึ้นบินไปเมืองเชียงรุ่ง (หมายถึงรุ่งเช้า ไม่ใช่เชียงรุ้ง หรือรุ้งกินน้ำ) ในแคว้นสิบสองปันนาของชนชาติไตหรือไท (ที่ไม่มี ย. ยักษ์) สัมผัสกับ "ไต/ไทลื้อ" ในดินแดนที่กำลังกลายเป็น "จีนฮั่น" ไปจนเกือบหมด

จากเมืองเชียงรุ่งเราตื่นตีสาม ขึ้นรถทัวร์ตีสี่ แล้วนั่งรถไต่เขามาเรื่อย ๆ มาถึงสุดชายแดนจีน หมอกลงหนาทึบแทบไม่เห็นทาง (และก็ดีที่ไม่เห็นเหวลึกเบื้องล่าง) เราลงเรือเหล็กท้องแบนของจีนที่แม่น้ำโขงประมาณเจ็ดโมงเช้า แล้วก็ล่องลิ่วลงมาตามเกาะแก่งทั้งหลายเป็นเวลาถึง ๑๑ ชั่วโมง ถึงเชียงแสนก็ค่ำแล้วประมาณสองทุ่ม นี่เป็นการเดินทางซึ่งผมคิดว่าประทับใจและสุดยอดที่สุดครั้งหนึ่งในชีวิต

วันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การพัฒนาระบอบประชาธิปไตยไทย ในสายตา "ดร.โกร่ง"

4 ปัจจัยบวก 4 ปัจจัยฉุด การพัฒนาระบอบประชาธิปไตยไทย
ในสายตา "ดร.โกร่ง" วีรพงษ์ รามางกูร ,ที่มา : มติชน

อย่าคิดว่าเรามีแต่ปัจจัยลบ ทั้งที่เรามีปัจจัยบวกที่ดีกว่าประเทศอื่นอยู่มาก"
เมื่อวันที่ 1 ธันวาคมโรงแรมสยามซิตี้ นายวีรพงษ์ รามางกูร อดีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “นักการเมืองรุ่นใหม่-กับแนวทางพัฒนาประชาธิปไตยในอนาคต” ซึ่งจัดขึ้นโดยสถาบันศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย ซึ่งมีนายจาตุรนต์ ฉายแสง เป็นประธาน และมูลนิธิคอนราด อเดนาวร์

นายวีรพงษ์ หรือ ดร.โกร่ง กล่าวถึงความสำคัญในส่วนของการเมืองที่เป็นปัจจัยในการพัฒนาประเทศไปสู่ระบบประชาธิปไตย ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลก ทั้งในด้านการผลิต การโทรคมนาคม และสื่อสารมวลชน ที่ได้ทำลายกำแพงของระบอบประชาธิปไตยแบบปิด และทำให้สังคมที่พยายามฝืนกระแสโลกาภิวัฒน์จะประสบกับปัญหาต่างๆ ทั้งในเรื่องการชะงักงันทางเศรษฐกิจ และการต่อต้านจากสังคมโลก จึงไม่แปลกที่จะรู้สึกว่าทั่วโลกมีความตระหนักถึงความสำคัญของระบอบประชาธิปไตย

วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

พรรคประชาธิปัตย์ในมุมมองของ "ดร.โกร่ง"

คนเดินตรอก
วีรพงษ์ รามางกูร

ประชาธิปัตย์ต้องการปฏิรูปการเลือกตั้งทั่วไปหลังจากมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี 2550 เป็นเครื่องชี้อย่างดีว่าพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นพรรคที่เก่าแก่ที่สุดของบ้านเรา ต้องการการปฏิรูป อย่างรุนแรงและขนานใหญ่ มิฉะนั้นประเทศไทยจะกลายเป็นประเทศที่มี ระบอบการปกครองโดยพรรคใหญ่ พรรคเดียว ซึ่งไม่เหมาะกับบ้านเราและ เราก็ไม่ต้องการอย่างนั้น

พรรคประชาธิปัตย์ก็เหมือนกับพรรคการเมืองอื่นที่ต้องถือว่าเป็นของประชาชน มิใช่พรรคของกรรมการบริหารพรรค หรือสมาชิกพรรคเท่านั้น เพราะได้รับเงินจากภาษีอากรที่เก็บจากประชาชนทั่วประเทศไปทำกิจกรรมของพรรค พรรคต้องฟังความคิดเห็นของประชาชน ผู้เสียภาษีด้วย ถ้าการวิพากษ์วิจารณ์มีเหตุผล ควรฟังว่าเขาวิพากษ์วิจารณ์อะไร อย่ามัวแต่ค้นหาว่าทำไมเขาจึงวิพากษ์วิจารณ์

เรื่องแรก พรรคต้องเปลี่ยนทัศนคติ เสียใหม่ การเอาแต่คิดโค่นล้มคู่ต่อสู้ ทุกวิถีทางนั้นต้องเปลี่ยนใหม่ แม้ว่าตอนที่ก่อตั้งพรรคเมื่อปี 2489 พรรคประสบความสำเร็จในการโค่นล้มพรรคแนวรัฐธรรมนูญและพรรคสหชีพ โดยการ ร่วมมือกับทหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับจอมพลผิน ชุณหะวัณ และจอมพลป.พิบูลสงคราม ลงเลือกตั้งโดยการ ช่วยเหลือของทหารในเดือนมกราคม 2491 เป็นรัฐบาลอยู่ได้ 4เดือน ก็ถูกทหารหักหลังจี้ให้ลาออก หลังจากนั้นก็ไม่ได้อะไร จนเกิดกรณี 14 ตุลาคม 2516 เพราะทหารแตกคอกันเองไม่ใช่ฝีมือของพรรค