เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม เลขทะเบียน ๘๖๙ สภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า

อุดมการณ์สถานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตย

เรา...มั่นใจว่า
ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา
ประเทศไทย เป็นของเราทุกคน
เรา ต้องร่วมกันสร้างชาติไทย ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์  พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553

"สถาบันฯ - รัฐธรรมนูญ - ประชาธิปไตย"

สรุปย่อ โดย มติชน

เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม เวลา 13.00-16.00 น. คณะนิติราษฎร์ (นิติศาสตร์เพื่อราษฎร) ได้จัดงานเสวนาหัวข้อ "สถาบันกษัตริย์ - รัฐธรรมนูญ - ประชาธิปไตย" ณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยมีนายณัฐพล ใจจริง อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, นายสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมเป็นวิทยากร

นายณัฐพล ได้เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ 6 ฉบับของไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2475-2495 เข้ากับนิทานแจ๊คผู้ฆ่ายักษ์ โดยในช่วงปี 2475 นั้น ได้เกิดบรรยากาศการสร้างระบอบประชาธิปไตย และ สร้างเสรีภาพให้เกิดขึ้นในการปกครอง เปรียบเสมือนการที่ "ยักษ์" ถูกจับใส่กล่อง แต่พอหลังปี 2490 เป็นต้นมา "ยักษ์" ก็แหกกล่องออกมา แล้วจับเอา "แจ๊ค" ยัดใส่ลงไปในกล่องแทน

ขณะที่นายสุธาชัย กล่าวถึงประเด็นระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ โดยอธิบายได้ว่าระบอบดังกล่าวดีกว่าระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งรวมศูนย์อำนาจอยู่ที่ผู้เป็นใหญ่เพียงคนเดียว นักวิชาการสาขาประวัติศาสตร์ผู้นี้ระบุว่าควรมีการ รณรงค์หรือผลักดันให้เห็นว่าระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญถือเป็นสิ่งที่ถูก ต้อง เพราะจะทำให้สถาบันฯ อยู่ได้ยั่งยืน และหากเราเชื่อว่าระบอบดังกล่าวเป็นสิ่งที่ดี ก็ควรเชื่อว่าระบอบมีความดีอยู่ที่ตัวระบบ ไม่เหมือนระบอบประธานาธิบดีที่ความดีอาจขึ้นอยู่กับตัวบุคคล

นายสมศักดิ์ กล่าวว่า สถาบันพระมหากษัตริย์ไทยมีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลง ทางกระแสการเมืองได้อย่างว่องไวเสมอมา แต่บุคคลที่ล้อมรอบสถาบันฯ ต้องไม่ประเมินความรู้สึกแปลกแยกของประชาชนให้ต่ำจนเกินไป และอย่าประเมินความสามารถของตนเองในการจัดการเรื่องดังกล่าวให้สูงจนเกินไป หรืออย่าใช้สองมาตรฐาน ซ้อนสองมาตรฐาน ซ้อนสองมาตรฐาน ซ้ำแล้วซ้ำอีก ในการแก้ไขปัญหาทางการเมือง

ส่วนนายวรเจตน์ ได้กล่าวเปรียบเทียบลักษณะของพระมหากษัตริย์ในประเทศต่าง ๆ ที่ปกครองด้วยระบอบพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งนำไปสู่ข้อสังเกตที่ว่า

หนึ่ง ในระบอบการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้น องค์พระมหากษัตริย์จะอยู่ในตำแหน่งจนสวรรคต ซึ่งพระมหากษัตริย์จะต้องเป็นศูนย์รวมอำนาจของประชาชนได้เป็นอย่างดี รอบรู้ปัญหาทั้งภายนอกและภายใน

สอง ผู้ดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์ต้องสืบเชื้อสายโลหิตเท่านั้น ไม่ได้ผ่านกลไกทางการเลือกตั้ง ในระบบดังกล่าว พระมหากษัตริย์จะสามารถแสดงออกทางอำนาจแห่งรัฐ โดยรัฐธรรมนูญบางประเทศได้ให้อำนาจพระมหากษัตริย์มีร่วมกันกับประชาชน เช่น ในยามคับขันทั้งสองฝ่ายจะต้องแสดงออกเพื่อป้องกันอำนาจแห่งรัฐและจะต้อง พิทักษ์ปกป้องรัฐธรรมนูญ

สาม องค์พระมหากษัตริย์จะถูกล่วงละเมิดมิได้ในทุก ๆ ประเทศ แต่การตีความว่าพฤติกรรมใดถือเป็นการล่วงละเมิดหรือไม่นั้นจะแตกต่างกันไป ตามบริบท อย่างไรก็ตาม ประเทศที่ระบุให้มีการสักการะและให้ความเคารพต่อองค์พระมหากษัตริย์ มีอยู่ 2 ประเทศ ได้แก่ ไทยและนอร์เวย์ ซึ่งพระมหากษัตริย์ต้องอยู่ในฐานะตามที่กล่าวมาข้างต้น และอำนาจสูงสุดทางนิติบัญญัติจะเป็นของพระมหากษัตริย์

ท้ายที่สุดอาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เห็นว่า สังคมไทยต้องมาพูดคุยกันว่าจะเชื่อมโยงอำนาจขององค์พระมหากษัตริย์เข้ากับ อำนาจรัฐอย่างไร รวมทั้งเสนอให้มีการป้องป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ออกจากพื้นที่ทางการเมือง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา