รศ.พิศิษฐ์ ชวาลาวัช
เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของประชาชนชาวไทยยังคงเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพรัฐบาลหรือผู้ใดจะใช้อำนาจหรือกระทำการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนไม่อาจกระทำได้และมีหลักประกันทางกฎหมายหลายประการ(จะไม่ขอกล่าวในที่นี้) ส่วน สาระสำคัญด้วยสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ยังคงให้หลักประกันในเรื่องสิทธิและเสรีภาพ และได้มีการเพิ่มมาตรการป้องกันการละเมิดสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนมากขึ้นกว่าเดิม มีประเด็นสำคัญ ดังนี้
๑.ให้หลักประกันและคุ้มครองเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ รัฐบาลจะออก
กฎหมายกำจัดเสรีภาพไม่อาจกระทำได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติเฉพาะเท่านั้น
ดังที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ว่าบุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณาและการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น (มาตรา ๔๕ วรรคแรก )
การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติ
กฎหมาย เฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ เกียรติยศ ชื่อเสียง
สิทธิในครอบครัวหรือความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือ
ศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันหรือระงับความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพ
ของประชาชน(มาตรา ๔๕ วรรคสอง)
๒.ยกเลิกอำนาจรัฐเพื่อการปิดสื่อภาคเอกชนหรือภาครัฐ ดังที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ว่า
การสั่งปิดกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นๆ เพื่อลิดรอนเสรีภาพตามมาตรานี้ จะ
กระทำมิได้ (มาตรา ๔๕ วรรคสาม)
เดิมทีเจ้าหน้าที่ของรัฐมีอำนาจในการสั่งปิดโรงพิมพ์(หรืองดใช้เครื่องพิมพ์) เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานการพิมพ์ ตาม พ.ร.บ.การพิมพ์ พ.ศ.๒๔๘๔ มาตรา ๒๑(๒)(๓) ต่อมารัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๓๘ มาตรา ๓๙ วรรคสามได้มีการแก้ไขให้อยู่ในอำนาจศาล
และให้อำนาจแก่ กกช หรือ “คณะกรรมการว่าด้วยวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์” สั่งปิดสื่อภาครัฐได้แก่สถานีวิทยุกระจายเสียงและสถานีโทรทัศน์ ตามระเบียบว่าด้วยวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓ต (๕) แต่ปัจจุบันไม่อาจใช้อำนาจดังกล่าวได้ เพราะเหตุที่ว่าบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๔๕ วรรคสามห้ามไว้
๓.ห้ามไม่ให้มีการแทรกแซงการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนไม่ว่าด้วยวิธีการใดอันเป็นการ
ลิดรอนเสรีภาพ ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันรัฐบาล นักการเมือง กลุ่มทุนทำการแทรกแซงเสรีภาพของสื่อมวลชน ดังที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ว่า
ห้ามแทรกแซงด้วยวิธีการใดๆ เพื่อลิดรอนเสรีภาพหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นเสมอข่าวสารหรือแสดงความคิดเห็นทั้งหมดหรือบางส่วน หรือการแทรกแซงด้วยวิธีใดๆ เพื่อลิดรอนเสรีภาพตามมาตรานี้ จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งได้
ตราขึ้นตามวรรคสอง (มาตรา๔๕ วรรคสี่)
๔.ห้ามรัฐบาลสั่งการให้เจ้าหน้าที่ตรวจข่าวและบทความก่อนโฆษณาในหนังสือพิมพ์และ
สื่อมวลชนอื่น ยกเว้นภาพยนตร์และวีดิทัศน์ต้องผ่านการตรวจพิจารณาจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ
เพื่อให้สื่อมวลชนมีเสรีภาพจึงได้ยกเลิกการเซ็นเซอร์ข่าวและบทความ ก่อนมีการปฏิรูปทาการเมือง เดิมกฎหมายให้อำแก่เจ้าพนักงานพิมพ์อาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ. การพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๘๔มาตรา ๓๖ (๒)(๓) สั่งการให้เสนอเรื่อง ข้อความที่โฆษณาในหนังสื่อพิมพ์ต่อไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจข่าวก่อน ได้ หากมีเหตุในสถานการณ์ฉุกเฉินหรือมีเหตุคับขันระหว่างประเทศหรือมีการสงคราม แต่ปัจจุบันการกระทำดังกล่าวได้เฉพาะประเทศอยู่ในภาวะสงครามหรือการรบ ดังที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ว่า
๘
การให้นำข่าวหรือบทความไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจก่อนนำไปโฆษณาในหนังสือพิมพ์หรือ สื่อมวลชนอื่น จะกระทำมิได้ เว้นแต่จะกระทำในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะสงครามหรือการรบ แต่ทั้งนี้ จะต้องกระทำโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งได้ตราขึ้นตาม
วรรคสอง (มาตรา ๔๕ วรรคห้า)
อย่างไรก็ตามโดยอ้างเหตุที่บัญญัติไส้ตามรัฐธรรมนูญนั้น รัฐบาลจะใช้อำนาจได้ต่อเมือประเทศไทยมีการประกาศสงครามด้วยความเห็นชอบของรัฐสภาเสียก่อน(มาตรา ๑๘๙) ส่วนสภาวะการรบนั้นอาจยังมีข้อถกเถียงอยู่เหมือนกันคงจะต้องพิจารณาถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องไปๆ
มีข้อน่าสงเกตว่ารัฐยังมีอำนาจในการเซ็นเซอร์ภาพยนตร์และวีดีทัศน์อยู่ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ยัง
ไม่ได้บัญญัติให้การคุ้มครองเสรีภาพดังเช่นสื่ออื่น
๕. สงวนสิทธิเป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นให้เฉพาะบุคคลสัญชาติไทย เพื่อ
สงวนความเป็นเจ้าของกิจการให้เฉพาะบุคคลสัญชาติไทยเท่านั้น และป้องกันไม่ให้นายทุนข้ามชาติเข้ามาเป็นเจ้าของกิจการ ดังที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ว่า
เจ้าของกิจการหรือสื่อมวลชนอื่นต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทย (มาตรา ๔๕ วรรคหก)
๖.ห้ามไม่ให้รัฐเข้าไปอุดหนุนด้วยเงินหรือทรัพย์ในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่น
ของเอกชน เพื่อไม่ให้รัฐเข้าไปทำธุรกิจแข่งขันกับเอกชนและป้องกันไม่ให้รัฐเข้าไปครอบงำหรือแทรกแซงจนอาจเป็นผลกระทบต่อหลักประกันว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพได้ ดังที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ว่า
การให้เงินหรือทรัพย์อย่างอื่นเพื่ออุดหนุนกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นของเอกชน รัฐจะกระทำมิได้ (มาตรา ๔๕ วรรคสุดท้าย)
๗.ให้การคุ้มครองเสรีภาพในการเสนอข่าวและแสดงความคิดเห็นแก่ผู้ประกอบวิชาชสื่อมวลชนไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชน ผู้ประกอบวิชาชีพดังกล่าวไม่ตกอยู่ภายใต้อาณัติของหน่วยงานหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าของกิจการนั้น การกระทำใดๆ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือเจ้าของกิจการ อันเป็นขัดขวางหรือแทรกแซงการเสนอข่าวหรือแสดงความคิดเห็นในประเด็นสาธารณะไม่อาจกระทำได้ และมีสิทธิจัดตั้งองค์กรเพื่อปกป้องสิทธิ เสรีภาพ และความเป็นธรรมได้ เพื่อเป็นการ ให้หลักประกันเสรีภาพแก่สื่อมวลชนจะได้ทำหน้าที่ตามหลักจริยธรรมโดยไม่ต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าของกิจการ ผู้ใดจะกระทำการใดอันเป็นการกระทบต่อเสรีภาพของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนไม่อาจกระทำได้ ดังที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ว่า
พนักงานหรือลูกจ้างที่ประกอบกิจการหรือหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือสื่อมวลชนอื่น ย่อมมีเสรีภาพในการเสนอข่าวและแสดงความคิดเห็นในการเสนอข่าวและแสดงความคิดเห็นภายใต้ข้อจำกัดตามรัฐธรรมนูญ โดยไม่ตกอยู่ภายใต้อาณิติของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าของกิจการนั้น แต่ต้องไม่ขัดต่อจริยธรรมแห่งการประกอบวิชาชีพและมีสิทธิจัดตั้งองค์กรเพื่อปกป้องสิทธิ เสรีภาพ และความเป็นธรรม รวมทั้งมีกลไกควบคุมกันเองขององค์กรวิชาชีพข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจในกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือสื่อมวลชนอื่น ย่อมมีเสรีภาพ
เช่นเดียวกันกับพนักงานหรือลูกจ้างของเอกชนตามวรรคหนึ่ง
การกระทำใดๆ ไม่ว่าโดยตรงหรือทางอ้อมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือเจ้าของกิจการ อันเป็นการขัดขวางหรือแทรกแซงการเสนอข่าวหรือแสดงความคิดเห็น ในประเด็นสาธารณะของบุคคลตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ให้ถือว่าเป็นการจงใจใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบและไม่มีผลบังคับ เว้นแต่เป็นการกระทำเพื่อเป็นไปตามกฎหมายหรือ
จริยธรรมแห่งการประกอบอาชีพ (มาตรา ๔๖)
๘.ให้ถือว่าคลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม
เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ และให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระองค์กร
หนึ่งทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ แต่ต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนเป็นสำคัญ เดิมที
เอกชนเป็นเพรียงคู่สัญญาหน่วยงานของรัฐผู้มีในอนุญาตใช้สิทธิจากคลื่นความถี่ ปัจจุบันคลื่นความถี่รัฐธรรมนูญถือว่าเป็นทรัพยากรของชาติใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่สาธารณะและโอนอำนาจให้อยู่ในการควบคุมขององค์กรของรัฐที่เป็นอิสระเพื่อทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่และกำกับดูแลการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวกฎหมายเปิดโอกาสให้ทั้งภาครัฐและเอกชนเข้ามาทำการแข่งขันเปิดประมูลคลื่นความถี่โดยเสรีและเป็นธรรมและบังคับให้ต้องจัดให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการสื่อมวลชนสาธารณะด้วย ดังที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ว่า
คลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคมเป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ
ให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระองค์กรหนึ่งทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ตามวรรคหนึ่ง และกำกับการประกอบกิจการกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ*
การดำเนินการตามวรรคหนึ่งต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ทั้งในด้านการศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคงของรัฐ และประโยชน์สาธารณะอื่นและการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม รวมทั้งต้องจัดให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการสื่อมวลชนสาธารณะ
การกำกับประกอบกิจการตามวรรคหนึ่งต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสูดของประชาชนในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ทั้งในด้านการศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคงของรัฐ และประโยชน์สาธารณะอื่นและการแข่งขันโดยเสรีภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารหรือเป็นการได้รับข้อมูลข่าวสารที่หลากหลายของประชาชน(มาตรา ๔๗)
๙.ห้ามมิให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นเจ้าของหรือถือหุ้นในกิจการ
* มิให้นำบทบัญญัติมาตรา ๔๗ วรรคสองมาใช้บังคับจนกว่าจะมีการตรากฎหมายตาม มาตรา ๔๗ จัดตั้ง องค์กรเพื่อทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่แถลงนโยบายต่อรัฐสภา(รัฐธรรมนูญ มาตรา๓๐๕(๑) ก่อนหน้านี้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้บัญญัติเรื่องการจัดสรรคลื่นความถี่ฯ และได้ออกกฎหมายเรียกว่า” พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคม พ.ศ.๒๕๔”(บังคับใช้ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๓) และรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๕๐ ได้มีการบัญญัติเรื่องนี้ไว้อีกครั้ง แต่เนื้อหาบางตอนมีส่วนต่างจากเดิมกล่าวคือ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่บัญญัติให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระองค์กรเดียวเท่านั้น
สื่อมวลชนหรือโทรคมนาคมไม่ว่าจะถือหุ้นในนามตนเองหรือให้ผู้อื่นเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นแทน ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลดังกล่าวเอาเปรียบคู่แข็งขันทางการเมือง หรือใช้สื่อมวลชนเพื่อแสดงหาประโยชน์อื่นใด ดังที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือโทรคมนาคม มิได้ ไม่ว่าในนามของตนเองหรือให้ผู้อื่นเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นแทน หรือจะดำเนินการโดยวิธีการอื่นไม่ว่าโดยตรงหรือทางออ้มที่สามารถบริหารกิจการดังกล่าวได้ในทำนองเดียวกับการเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นในกิจการดังกล่าว(มาตรา ๔๘)
๑๐.ประชาชนมีสิทธิได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลข่าวสารสาธารณะในครอบครองของ
หน่วยราชการ เพื่อให้สิทธิประชาชน(รวมถึงสื่อมวลชน)ได้รับรู้นโยบายของหน่วยงานรัฐตามบทบาทหน้าที่ๆกฎหมายกำหนดไว้ และให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลสาธารณะ ทั้งประชาชนและสื่อมวลชนจะได้ทำหน้าทตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลและเจ้าหน้าที่ทุกระดับ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติ ดังที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ว่า
บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น เว้นแต่การเปิดเผยข้อมูลนั้นจะกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประชาชน หรือส่วนได้เสียอันพึงได้รับความคุ้มครองของบุคคลอื่น หรือเป็นข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ(มาตรา๕๖)
๑๑.สิทธิที่จะได้รับข้อมูล คำชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยงานของรัฐก่อนการอนุญาตหรือดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใดที่อาจส่งผลกระทบสร้างปัญหาต่างๆ ต่อสังคม ได้ สิทธินี้ให้สิทธิแก่ทุกคนไม่จำเป็นว่าผู้นั้นจะมีส่วนได้เสียตามกฎหมายหรือไม่ เป็นบทบังคับหน่วยงานของรัฐต้องมอบข้อมูลหรือมีคำชี้แจงใดๆแก่ผู้ใช้สิทธิ ดังที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ว่า
บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล คำชี้แจง และเหตุผลมาจากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ก่อนการอนุญาตหรือดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใดที่อาจ มีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดที่
เกี่ยวกับตนหรือชุมชนท้องถิ่น และมีสิทธิแสดงความคิดเห็นของตนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปประกอบการพิจารณาในเรื่องดังกล่าว
การวางแผนพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์การวางผังเมือง การกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ในที่ดิน และการออกกฎที่อาจมีผลกระทบต่อ ส่วนได้เสียสำคัญของประชาชน ให้รัฐจัดให้มีกระบวนการฟังความคิดเห็นของประชาชนทั่วถึงก่อนดำเนินการ(มาตรา ๕๗)
๑๒.ผู้บริโภคย่อมมีสิทธิได้รับการคุ้มครองจากรัฐได้รับข้อมูลที่เป็นจริง และมีสิทธิเรียกร้องความเสียหายรวมทัมีสิทธิรวมตัวเพื่อพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค องค์กรธุรกิจหรือบุคคลใดย่อมมีสิทธิที่จะใช้เสรีภาพในการให้ข้อมูลข่าวสารหรือโฆษณาสินค้าหรือบริการผ่านสื่อมวลชนหรือสื่อบุคคล แต่อาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้บริโภคหรือสังคม และอาจทำให้ประชาชนหลงเชื่อในสินค้า หรือผลิตภัณฑ์นั้น ผู้บริโภคหรือสังคมอาจได้รับความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย สุขภาพ อนามัย รัฐจึงต้องมี หน้าที่ทั้งป้องกัน และทำการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจากการใช้สินค้าหรือบริการ และควบคุมการโฆษณา สินค้าเฉพาะบางประเภท เช่น ยา อาหาร และเครื่องมือแพทย์ รวมถึงสินค้าทั่วๆไป ดังที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ว่า
สิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครองในการได้รับข้อมูลที่เป็นจริง และ มีสิทธิเรียกร้องให้ได้รับการแก้ไขเยียวยาความเสียหาย รวมทั้งมีสิทธิรวมตัวเพื่อพิทักษ์สิทธิของ ผู้บริโภค (มาตรา ๖๑ วรรคแรก)
๑๓.เสรีภาพในการสื่อสารถึงกันและเสรีภาพทางวิชาการ และเสรีภาพในการเผยแพร่งานวิจัยได้ตามหลักวิชาการ ดังที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ว่า
บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการสื่อสารถึงกันโดยทางที่ชอบด้วยกฎหมาย (มาตรา ๓๖)
บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ
การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ
ย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน (มาตรา ๕๐ )
มีข้อน่าสังเกตว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้บัญญัติถึงการให้หลักประกันในเรื่องการคุ้มครองสิทธิและ เสรีภาพไม่ให้รัฐบาลออกกฎหมายมาจำกัดสิทธิเสรีภาพต่อไปและเป็นการยืนยันสาระสำคัญให้รัฐบาล ใช้อำนาจเท่าที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญไว้และไม่อาจใช้อำนาจกระทำการใดให้กระทบกระเทือนสาระสัญญาว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพ ถือว่าเป็นการยืนยันหลักการเดิมสาระเดิมตามที่บัญญัติ
๑๓
ไว้ในรัฐธรรมนูญพ.ศ.๒๕๔๐และได้บทบัญญัติเพิ่มเติมให้รัดกุมมากกว่าเดิมดังที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่า “การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ จะกระทำมิได้ เว้นแต่จะกระทำโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อการที่รัฐธรรมนูญนี้กำหนดไว้ และเท่าที่จำเป็นและกระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้นไม่อาจกระทำได้ (มาตรา ๒๙)
ข้อน่าสังเกตประการต่อมา หลังจากดูบทสรุปตามรัฐธรรมนูญข้างต้น จะเห็นว่าสิทธิ เสรีภาพของสื่อมวลชนคือหัวใจสำคัญในการสนับสนุนหลักสิทธิเสรีภาพของประชาชนสื่อมวลชนทำหน้าที่ อย่างอิสระไม่ต้องถูกแทรกแซงจากฝ่ายใดไม่ว่าจะเป็นทุนหรือรัฐ จริงๆแล้วหลักประกันที่กล่าวมานั้น คือ การรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชนคนไทยจะต้องนำมาไว้รัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆแต่อำนาจทาง การเมืองไม่ยินยอมและปฏิเสธหลัก”เสรีภาพ” ของสื่อมวลชนมาช้านานจนกระทั่งได้มีการบัญญัติไว้ใน รัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๔๐
สื่อมวลชนมีสิทธิเสรีภาพอย่างไร สังคมไทยมีสิทธิเสรีภาพอย่างนั้น ดังที่มีการกล่าวกันเป็นที่รับรู้ มานานว่า “ถ้าอยากรู้ว่าสังคมไทยมีสิทธิเสรีภาพแค่ไหน ให้ดูว่าสื่อมวลชนมีหลักประกันทางกฎหมายแค่นั้น”เราจึงจะเข้าใจสังคมไทยมีหลักประกันสิทธิเสรีภาพตารัฐธรรมนูญแค่ไหนเพียงใดนั่นเอง อาจกล่าวได้ว่า สังคมไทยก็มีสิทธิเสรีภาพแค่นั้นไม่ต่างกันกับสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน คือ ภาพสะท้อนความคิดความอ่านและปรากฏการณ์ทางสังคมนั้นเอง จะเห็นว่าสังคมไทยไม่มีหลักประกันสิทธิเสรีภาพมานาน สังคมแห่งความรู้อุดมปัญญาไม่อาจเกิดขึ้นได้เพราะถูกแช่แข็งจากอำนาจทางการเมือง ความรู้และความรอบรู้จึงมีการกระจุกตัวเฉพาะคนบาง กลุ่มที่มีความได้เปรียบเท่านั้นและยังคงได้เปรียบอยู่นั้นเอง สังคมไทยเป็นสังคมที่เกิดช่องว่างทางปัญญา มาช้านานแล้ว ยิ่งเกิดสังคมข้อมูลข่าวสารไร้พรหมแดนเท่าใด ยิ่งทำให้คนรู้และความรู้น้อยลงไปเท่านั้น เพราะทุนทางสื่อมวลชนระดับโลกของประเทศมหาอำนาจจะทำหน้าที่ควบคุมข้อมูลข่าวสารอย่างเสรีเพื่อรักษาประโยชน์ของระบบทุนนิยม สภาพปัจจุบันสื่อมวลชนไทยจึงยังอยู่ในวังวนแห่งความเห็นและไม่อาจ ก่อเกิดสังคมแห่งความรู้ได้ง่ายนัก แต่ก็ไม่อาจโยนบาปทั้งหมดให้กับการทำหน้าที่ของสื่อ มวลชน สังคมแห่ง ความรู้เป็นเรื่องใหญ่เป็นปัญหานโยบายระดับชาติต้องเห็นชอบร่วมกันและทำไปพร้อมๆกันจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะได้รับการสนับจากอำนาจทางการเมือง (แต่เรืองดังกล่าวยังหาเจ้าภาพไม่ได้ จึงมีแต่เสียงบ่นและคำวิจารณ์หรือความเห็น(อีก เช่นกัน)
กระแสโลกและแรงกดดันทางสังคมกับสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน
ขอมองสิทธิเสรีภาพในบ้านเราผ่านกรอบของรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่ไว้ควบคุมเสรีภาพ
สื่อมวลชนและเสรีภาพทางความคิดของสังคมไทย กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสื่อมวลชนไม่ว่าจะเป็น
ภาคเอกชนหรือภาครัฐคือพื้นฐานสำคัญปัจจัยหนึ่งขัดขวางและชะลอการเติบโตความคิดทางการเมืองของไทยไปสู่การเมืองการปกครองในระบบประชาธิปไตยตามที่สังคมทุนนิยมเสรีเข้าใจ โลกนิยมเสรีเชื่อว่า
“สิทธิเสรีภาพต้องเกิดขึ้นตามธรรมชาติของมนุษย์ที่มีอิสระทางความคิดปราศจากอำนาจ ภายนอกเข้ามาขัดขวาง สิทธิเสรีภาพจะต้องเกิดขึ้นจากการไม่ถูกบีบบังคับให้ต้องรับคำสั่งของผู้มีอำนาจจนต้องปฏิเสธและต่อต้านเสรีภาพตามธรรมชาติจึงมีอิสระเพียงพอที่จะไม่มีกฎหมายใดมากักขังความคิดให้อยู่ภายใต้อำนาจ มนุษย์จึงต้องมีความเป็นอยู่ร่มกัน ตัดสินใจร่วม ภายใต้กฏเกณฑ์เดียวกันอย่างสมัครใจ ไม่ใช่เกิดจากผู้มีอำนาจในการปกครองประเทศเป็นผู้กำหนดตามแต่ใจ”
ดังนั้นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสื่อมวลชนและประชาชนจึงต้องมีลักษณะคุ้มครองไม่ใช่ควบคุมสิทธิเสรีภาพหรือกักขังความคิดของประชาชน และมีไว้เพื่อรักษาประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญ มีทั้งคุณค่าและสร้างสรรค์มากกว่าลิดรอนและทำลายสิทธิเสรีภาพ หากจะมีไว้เพื่อเป็นการควบคุมได้บ้างต้องมีไว้เพื่อรักษาผลประโยชน์ร่วมกันของชาติ แต่ไม่ใช่เป็นกฎหมายไว้ควบคุมเสรีภาพสื่อมวลชนดังที่เข้าใจกันมาแต่เดิม กฎหมายสื่อสารมวลชนต้องเป็นกำแพงเหล็กกล้าแข็งแกร่งเพียงพอไว้ควบคุมหรือป้องกันการใช้
อำนาจของรัฐบาล นักการเมือง กลุ่มทุน ไม่สุจริตคิดแสวงหาประโยชน์หรือทุจริตคอร์รัปชั่น กล่าวได้ว่าการใช้อำนาจของรัฐบาลแต่ละยุคสมัยกับการควบคุมสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน คือ การชะลอการเจริญเติบความคิดของสังคมไทย พบว่า อำนาจทางการเมืองไม่ว่าจะเป็นยุคทหารมีบทบาทสูงก็ดี หรือนักการเมืองได้อำนาจบริหารบ้านเมืองจากระบบประชาธิปไตย(ที่อ้างให้เชื่อกันเช่นนั้นก็ดี)ต่างไม่ยินยอมให้สิทธิ เสรีภาพของสื่อมวลชนมาตั้งแต่ยุคแรกของการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง พ.ศ.๒๔๗๕ เป็นต้นมา บทพิสูจน์ความคิดที่กล่าวไว้นั้น ให้สังเกตการณ์เรียกร้องสิทธิเสรีภาพของประชาชนแต่ละช่วงสำคัญของ ประวัติศาตร์การเมืองไทยประชาชนต้องเสียสละทั้งเลือดเนื้อ ชีวิต และน้ำตาทุกครั้ง การระเบิดอารมณ์ทางสังคม และแรงกดดันทางความคิดของประเทศมหาอำนาจในโลกเสรีประชาธิปไตยจึงนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งสำคัญของไทยในเวลาต่อมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา