เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม เลขทะเบียน ๘๖๙ สภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า

อุดมการณ์สถานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตย

เรา...มั่นใจว่า
ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา
ประเทศไทย เป็นของเราทุกคน
เรา ต้องร่วมกันสร้างชาติไทย ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์  พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

สื่อในภาวะวิกฤต

สื่อในฐานะ gate-keeper ท่ามกลางสงครามข่าวสาร โดย กาแฟดำ

แน่นอนว่าสื่อในภาวะวิกฤติต้องโดนตั้งคำถาม เรื่องบทบาทหน้าที่ และความเป็นมืออาชีพอย่างเข้มข้น

ซึ่งก็ถูกต้องแล้วที่สังคมจะต้องคาดหวังว่าคนข่าว และคนกรองข่าวจะต้องทำหน้าที่ของ "ผู้เฝ้าประตู" หรือ "gate-keeper" และผู้ตรวจสอบเป็นหูเป็นตาของประชาชนอย่างตรงไปตรงมา

ยิ่งความขัดแย้งในสังคมสูง ยิ่งต่างฝ่ายต่างมีวาระของตน สื่อก็ยิ่งจะโดนกดดันให้ต้องวางตัว ให้เป็นที่พึ่งพาของคนส่วนใหญ่ได้ ไม่หวั่นไหว ไม่ครั่นคร้าม และไม่ตกเข้าหลุมพรางของฝ่ายใด

แน่นอนว่าการทำหน้าที่ให้ได้มาตรฐานที่สังคมตั้งเอาไว้นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็จะต้องทำอย่างสุดความสามารถ พิงหลังประชาชน และตั้งเป้าหมายหลักที่การทำเพื่อให้ความจริงประจักษ์ ไม่ว่าฝ่ายที่ขัดแย้งกันจะพอใจกับการทำหน้าที่เช่นนั้นหรือไม่ก็ตาม

จึงแปลว่าคนข่าว และวิเคราะห์ข่าวจะต้องทำหน้าที่อย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ ตอบคำถามที่ผู้คนสงสัย และไม่มีเบื้องหน้าเบื้องหลังอันเกิดจากการมีผลประโยชน์ส่วนตน

เพราะสื่อตรวจสอบฝ่ายต่างๆ ที่ขัดแย้ง สังคมก็ตรวจสอบว่าสื่อทำหน้าที่ของตนอย่างสัตย์ซื่อหรือไม่

หลายวงสนทนาที่ผมไปร่วมวิสาสะด้วย ในช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมา ตั้งคำถามเกี่ยวกับบทบาทของ "สื่อมวลชน" ในภาวะบ้านเมืองวิกฤติเช่นนี้

บางคนวิพากษ์ว่าสื่อไทยวันนี้ทำหน้าที่เป็นเพียงแค่ "คนเชียร์มวย" อยู่ข้างสนาม
อีกบางคนบอกว่าสื่อบางสื่อดูเหมือนจะ "play safe" ซึ่งเขาหมายความว่า "เอาตัวรอด" ไปวันๆ ไม่ทำหน้าที่เป็น "ฐานันดรที่สี่" ที่จะวิเคราะห์เจาะลึกหรือชี้ความไม่ถูกต้องทำนองคลองธรรมอย่างที่ทำกับกรณีประเด็นสังคมอื่นๆ ทั่วไป

เขาวิจารณ์ว่าอ่านหนังสือพิมพ์และดูทีวีบางฉบับบางช่องแล้วเครียดกว่าที่ควรจะเป็น เพราะสื่อที่ว่านี้ไม่ทำหน้าที่เป็น "คนเฝ้าประตู" หรือ "gate keeper" ตามบทบาทหน้าที่ของวิชาชีพที่มีมาตรฐานอันเหมาะควร
นั่นคือ การทำหน้าที่กลั่นและกรองข้อมูลข่าวสารอย่างผู้ที่มีความรู้ และผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อน จึงจะปล่อยให้ "ผ่านประตู" อย่างเป็นระบบ และมีความน่าเชื่อถือได้ในระดับที่สังคมให้ความเคารพและนับถือ
ใครคนหนึ่งในวงสนทนาโพล่งกลางวงขึ้นมาว่า "จะโดยรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม ผมว่าสื่อถูกใช้เป็นเครื่องมือในสงครามชิงพื้นที่ข่าวของฝ่ายที่ขัดแย้งกัน..."
ฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายค้าน รู้ว่าถ้าพูดอย่างนี้ ใช้คำดุดันอย่างนั้น ก็จะเป็นข่าวพาดหัวหนังสือพิมพ์ และข่าวต้นชั่วโมงของทุกสื่อได้อย่างง่ายดาย
เพราะสื่อวันนี้ขาดคุณสมบัติของการกรองข่าว...และไม่ใช้วิจารณญาณในการประเมินว่าอะไรเป็นสาระของข่าวจริง อะไรเป็นเพียงแค่สีสันที่ต้องการจะ "เรียกแขก" เท่านั้น
ผมรับฟังด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน เพราะสื่อเองก็ต้องการให้สังคมวิจารณ์ และประเมินบทบาทของตนเองว่าในยามประเทศชาติสับสนวุ่นวายนั้น สื่อมวลชนได้ทำหน้าที่ตามมาตรฐานที่สังคมคาดหวังเอาไว้หรือไม่?
ใครคนหนึ่งบอกว่าสื่อจะต้องทำหน้าที่เป็น "ไลน์แมน" หรือ "คนคุมเส้น" ในสนามการประลองกำลังด้วย นั่นคือว่า เมื่อเห็นใคร "ล้ำเส้น" จะต้องเป่านกหวีดให้คนดูทั้งสนามได้ยิน
เพราะคนดูเชื่อในการทำหน้าที่ของคนที่คุมเส้น และกรรมการ ก็ถือว่า "ไลน์แมน" มีความเป็นมืออาชีพ และรู้กฎกติกาอย่างแม่นยำ
แต่บ่อยครั้งในสถานการณ์ข่าวร้อนแรงและขัดแย้งวันนี้ คนข่าวบางคนไม่กล้าหรือไม่อยากทำหน้าที่ชี้ ว่าใครล้ำเส้น ใครทำผิดกติกา หรือใคร "มั่ว" ในภาวะพัลวันชุลมุน
การรายงานข่าวจึงกลายเป็นเรื่องของ "คนนั้นพูดอย่างนี้ คนนี้พูดอย่างนั้น" (He said/She said) เท่านั้น ไม่มีอะไรลึกซึ้งเกินกว่าสิ่งที่เห็นผิวเผิน ไม่ตรวจสอบให้ละเอียดว่าคำกล่าวอ้างของฝ่ายนั้นฝ่ายนี้เชื่อถือได้มากน้อยเพียงใด
คำว่าสื่อต้องการเพียงจะ "ขายข่าว" จึงเป็นข้อกล่าวหาที่ควรจะสร้างความเจ็บปวด ให้กับคนทำสื่อที่ต้องไม่เพียงแต่มองว่าวิชาชีพของตน เป็นแค่ธุรกิจกำไรขาดทุนแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
ที่เขาวิพากษ์ว่าสื่อเป็นเพียง "คนเชียร์มวย" ก็เพราะภาษาและลีลาของการรายงานข่าวบางแห่งวันนี้ไม่ได้มีอะไรมากไปกว่าการบอกว่าใครด่าใครว่าอย่างไร ใครมีข้อหาใหม่ยัดใส่ใคร ใครมีลูกเล่นเพื่อทำตัวเองให้เป็นข่าวเท่านั้น
คนข่าวอยู่ใกล้เวทีมวยเห็นได้ชัดกว่าคนรอบนอกว่าใครชกตามกติกา ใครชกใต้เข็มขัด ใครมีลูกเล่น และลีลาเพื่อหลอกล่อคนดู...แต่ไฉนเราจึงได้ยินแต่เสียงตะโกน "เฮ!" จากขอบสนามแต่เพียงอย่างเดียว?
ใครคนหนึ่งพูดหรือทำอะไรที่เกินเลยกฎกติกา หรือ "ล้ำเส้น" นั้น สื่อบางสื่อหมดความกล้าหาญหรือสำนึกในหน้าที่เพียงพอที่จะระบุว่านั่นมันเกินความถูกต้องชอบธรรมแล้ว
แทนที่สื่อเองจะแสดงเหตุและผลให้รู้ว่าใครพูดอะไรทำอะไรอันเป็นการฝ่าฝืนเส้นที่สังคมกำหนดเอาไว้ กลับกลายเป็นว่าคนข่าวจะเพียงรายงานว่า
"ก็เจ้าตัวเขาบอกว่าเขาไม่ผิด..." ทั้งๆ ที่คนทำสื่อรู้แน่แก่ใจว่าอะไรเป็นอะไร และใครทำอะไรเกินกว่าสิ่งที่ควรจะเป็น
ความสามารถในการ "กรองข่าว" ที่หดหายไปของสื่อ จึงกำลังถูกสังคมตั้งคำถาม เพราะวงจรข่าวทุกนาทีตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้มีแต่ความเร็วและความด่วน แต่ขาดความลุ่มลึกและวิเคราะห์
อยู่ดีๆ คำว่า "สงครามประชาชน" หรือ "ปฏิวัติประชาชน" หรือ "อมาตยาธิปไตย" หรือแม้ "การเมืองใหม่" ก็ใช้กันเกร่อในพาดหัวข่าว และสคริปท์ข่าวทีวีวิทยุโดยที่คนอ่านข่าวเองก็มิได้เข้าใจว่ามันคืออะไร มันมีความหมายอย่างไร คนที่ใช้คำนี้ในการให้ข่าวนั้นเขาต้องการอะไร?
สื่อมีหน้าที่เพียงเอาข่าวหยาบๆ ดิบๆ ที่ได้รับมา ส่งต่อให้คนอ่านคนดูคนฟังเท่านั้นหรือ?
สังคมจะเกิดปัญญา จะแสวงหาทางออก จะชี้ถูก ชี้ผิด จะตัดสินใจที่จะมีจุดยืนต่อสถานการณ์รอบตัวเองได้อย่างไร หากว่ากระบวนการกรองข่าวสารดิบๆ ด่วนๆ ให้เป็นความรู้เพื่อสร้างสติปัญญาให้เกิดนั้นเกิดสภาพ "ภูมิคุ้มกันบกพร่อง" อย่างที่เห็นกัน?

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา