เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม เลขทะเบียน ๘๖๙ สภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า

อุดมการณ์สถานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตย

เรา...มั่นใจว่า
ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา
ประเทศไทย เป็นของเราทุกคน
เรา ต้องร่วมกันสร้างชาติไทย ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์  พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

การเมืองไทย สิทธิเสรีภาพ สังคม และสื่อมวลชน ตอนที่ 3

รศ.พิศิษฐ์  ชวาลาวัช

ช่วงระยะ พ.ศ.๒๕๓๗-๒๕๔๐ เกิดกระแสเรียกร้องเสรีภาพสร้างแรงกดดันแก่รับบาลประกอบกับ การเมืองของคนไทยสวนทางกับการเมืองของโลกเสรีในระบอบเสรีนิยม จึงเกิดยุคการเมืองการปกครอง ประชาธิปไตยใหม่โครงสร้างทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม และยอมรับว่าอำนาจ อธิปไตยใหม่ หลักประกันว่าด้วย “สิทธิเสรีภาพ”ของพลเมืองจึงได้นำบัญญัติไว้ในรับธรรมนูญฉบับใหม่ ด้วยเหตุผลที่ว่า

รัฐบาลย่อมมีอำนาจในการปกครองอย่างจำกัด และยินยอมที่จะอยู่ภายใต้กฎหมายที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญไม่ว่าจะเต็มใจหรือไม่ ทั้งนี้เพราะอำนาจสูงสุดที่แท้จริงยังเป็นของประชาชนอยู่ เพียงแต่ว่าประชาชนได้มอบให้รัฐบาลใช้อำนาจดังกล่าว แต่อำนาจที่ได้รับมอบไม่ใช่เป็นของรัฐบาล หากรัฐบาลไม่ทำตามสัญญาที่ให้ไว้และไม่อาจตอบสนองผลประโยชน์ของประชาชนได้ ถือว่าเป็นการละเมิดข้อตกลงที่ให้ไว้ ประชาชนย่อมมีอำนาจถอดถอนหรือขับไล่รัฐบาลได้”

เห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่เป็นการยืนยันถึงความคิดของจอห์น ล๊อค ( John locke) ในเรื่อง “ทฤษฏีอำนาจอธิปไตย” ทฤษฏีนี้มีความเชื่อว่าอำนาจสูงสุดที่แท้จริงอยู่ที่เจตจำนงของประชาชนในรัฐ แต่ประชาชนทุกคนจะทำหน้าที่ไม่ได้จำเป็นต้องมีตัวแทน แต่ประชาชนยังคงสงวนอำนาจสิทธิขาดไว้ไม่ยอมโอนอำนาจให้แก่กันได้

สิทธิเสรีภาพจึงเป็นหัวใจสำคัญสำหรับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แต่ละยุคสมัยในประวัติศาสตร์ทางการเมืองอธิบายสภาพสังคมไว้ว่า ถ้าสังคมไม่มีสิทธิเสรีภาพและมีรัฐบาลเผด็จการครั้งใด ประชาชนจะทำทุกอย่างเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลคืนสิทธิเสรีภาพ หากรัฐบาลแข็งขันไม่สนใจปัญหาทางการเมืองเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น เพื่ออธิบายถึงความสำคัญในเรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชนและสื่อมวลชนตามรัฐธรรมนูญ ถ้ามองย้อนหลังไปสู่อดีตสู่ปัจจุบันบันจะช่วยให้ท่าน

เข้าใจความสำคัญมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกฎหมายที่บังคับใช้สื่อมวลชนภาครัฐหรือเอกชน ขอแยกอธิบายออกเป็น ๒ ยุค


ยุคประชาชนถูกแย่งอำนาจอธิปไตย ยุคนี้เริ่มจากการเปลี่ยนแปลงอำนาจทางการเมือง พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นต้นไปจนกระทั่ง พ.ศ. ๒๕๔๐ พบว่า


สื่อมวลชนภาคเอกชนได้แก่หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือสิ่งพิมพ์ต่างๆอยู่ภายใต้อำนาจหน้าที่ของรัฐในการควบคุมสิทธิเสรีภาพสื่อ กฎหมายมีหลายฉบับด้วยกัน อย่างน้อยมีอยู่ ๓ ฉบับ ให้อำนาจรัฐบาลไว้ควบคุมเสรีภาพหนังสือพิมพ์และสิ่งพิมพ์ คือ พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.๒๔๘๔ คำสั่งคณะปฏิวัติฉบับที่ ๑๗ คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ ๔๒ เป็นต้น สาระสำคัญ คือให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานการพิมพ์สั่งห้ามการขาย หรือจ่ายแจกสิ่งพิมพ์เห็นว่าอาจจะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จะสังเกตว่าเพียงแค่เจ้าพนักงานการพิมพ์มีความเห็นจะถูกหรือผิดเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะวลีที่เขียนไว้ว่า “อาจจะขัดต่อความสงบเรียบร้อยฯ” นั้นเขียนไว้คลุมเพื่อให้อำนาจเจ้าพนักงานการพิมพ์ใช้อำนาจทั้งทางบริหารและอำนาจทางตุลาการอยู่ที่คนๆเดียวกัน เพื่อจะสั่งการในเรื่องให้ใบอนุญาตหรือสั่งปิดหนังสือพิมพ์ ต่อมาได้มีการยกเลิกกฎหมายดังกล่าวภายหลังจากประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๔๐


สื่อภาครัฐอยู่ใต้อำนาจและควบคุมโดยรัฐบาล ระบบการบริหารอยู่ในรูปของคณะกรรมการประกอบด้วยตัวแทนจากกระทรวงทบวงกรมภายใต้กฎหมาย ๒ ฉบับ ไว้ควบคุมคลื่นความถี่ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม กฎหมายฉบับแรก เรียกว่า พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.๒๔๙๘ มีการแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ ๒ พ.ศ.๒๕๐๔ กำหนดห้ามมิให้ผู้ใดตั้งสถานีวิทยุคมนาคม เว้นแต่จะได้รับอนุญาต(มาตรา ๖)และให้อำนาจแก่อธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขหรือผู้ได้รับมอบหมายมีอำนาจควบคุมและกำหนดการใช้คลื่นความถี่สถานีวิทยุคมนาคม(มาตรา ๑๑)และอีกฉบับหนึ่ง เรียกว่า พระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ.๒๔๙๘ฉบับแก้ไข พ.ศ.๒๕๓๐


ให้รัฐมีอำนาจที่จะห้ามมิให้ผู้ใดส่งวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เพื่อให้บริการสาธารณะและแก่ชุมชนเว้นแต่จะได้รับใบอนุญาต(มาตรา๕) จากการสำรวจพบว่าก่อนมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๔๐ รัฐบาลยังคงผูกขาดคลื่นความถี่และได้อนุญาตให้กระทรวงทบวงกรมใช้คลื่นความถี่ตามที่ต้องการ ยกเว้นแต่เอกชนไม่ได้รับอนุญาตแม้แต่เพรียงรายเดียว ภายหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๔๐ มาตรา ๔๐บัญญัติให้อำนาจในการจัดสรรคลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วิทยุโทรคมนาคมโอนไปยังองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระ ทำหน้าที่ในการจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับดูแลกิจการดังกล่าว เพื่อป้องกันไม่ให้รัฐบาลใช้อำนาจผูกขาดคลื่นความถี่เพื่อการนี้เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติ หากจะใช้ประโยชน์ต้องเพื่อประโยชน์สาธารณะเท่านั้น แต่เพื่อไม่ให้กระทบในเรื่องสิทธิใใบอนุญาตของกระทรวงทบวงกรม ก่อนหน้านี้ รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ในบทเฉพาะกาลว่า “กฏหมาขึ้นจะต้องไม่กระทบกระเทือนถึงการอนุญาตสัมปทานหรือสัญญาซึ่งมีผลสมบูรณ์อยู่ในขณะกฏหมายดังกล่าวมีผลบังคบใช้จนกว่าการอนุญาตสัมปทานหรือสัญญานั้นจะสิ้นผล


ยุคคืนอำนาจอธิปไตยให้ประชาชน ภายหลังรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๔๐ มีผลบังคบใช้ กฎหมายยุคแรกถูกยกเลิกแม้ว่าภายหลังจะเกิดเหตุรัฐประหารขึ้นเมื่อ ๑๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๙ คณะรัฐประหารไม่ได้นำกฎหมายควบคุมสื่อมาใช้อีก และหลังมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญอีกหลายฉบับเกี่ยวกับสื่อมวลชนทั้งภาครัฐและเอกชนเกิดขึ้นภายใต้ ปรัชญาทางกฎหมายที่ว่าต้องไม่มีกฎหมายไว้ควบคุมความคิดทางสังคมครองสิทธิเสรีภาพของสังคมโดยเฉพาะสื่อมวลชนและต้องเปลี่ยนจากความคิดเดิมจากควบคุมเป็นการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของสังคมและสื่อมวลชนและเป็นสำคัญ มีกฎหมายเกิดขึ้นหลายฉบับ อาทิพระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.๒๕๕๐ พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.๒๕๕๑พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ.๒๕๕๑ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดีทัศน์ พ.ศ.๒๕๕๑ส่วนพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐสภาถ้าภายหลังมีกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญสมบรูณ์ โครงสร้างในการใช้อำนาจและการบริหารจะเปลี่ยนแปลงจากเดิม โดยเฉพาะการจัดสรรคลื่นความถี่ฯผู้บริหารองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระจะต้องทำตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๔๗ บังคับให้คณะกรรมการเปิดการแข่งขันโดยเสรีและเป็นธรรม รวมทั้งต้องจัดให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการสื่อสารธารณะ

สาระสำคัญของกฎหมายดังกล่าวข้างต้นจะได้นำมาอธิบายเชื่องโยงกับหัวข้อบรรยายในโอกาศต่อไป

ภาพรวมทางการเมือง สังคม และสื่อมวลชน
การปฏิรูปการเมืองยุคแรก เกิดขึ้นภายหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๔๐ รัฐธรรมนูญฉบับนี้จัดตั้งองค์อิสระหลายองค์กรเพื่อทำหน้าที่รักษาและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนจากอำนาจรัฐบาล ประชาชนมีเสรีภาพในการมีส่วนร่วมทางการเมืองและมีสิทธิที่จะทำการตรวจสอบหน่วยงานต่างๆของรัฐบาลและรัฐบาล แต่ระยะแรกยังมีอุปสรรคไม่อาจนำไปสู่การปฏิบัติให้เต็มรูปแบบ ประกอบกับกลไกของรัฐยังแข็งขืนไม่อาจปรับความคิดยอมรับการสูญเสียอำนาจได้ การทำให้กฎหมายมีความศักดิ์สิทธิ์จึงถูกขัดขวางจากอำนาจเดิม สื่อมวลชนภาคเอกชนโดยเฉพาะหนังสือพิมพ์นำร่องผลักดันความคิดเรื่อง”การปกปิดข้อมูลหรือข่าวสารของราชการต้องเป็นข้อยก เว้น การเปิดเผยต้องเป็นหลัก”ก่อกระแสปลุกสิทธิประชาชนคนไทยพอสมควร

แต่สื่อมวลชนภาครัฐยังคงสนับสนุนทุนการโฆษณา เน้นขายความบันเทิงและอยู่ภายใต้ทุนผูกขาดไม่กี่กลุ่ม จึงยังไม่ขยับปรับตัวใช้เสรีภาพเสนอเรื่องราวที่กระทบผลประโยชน์สาธารณะได้ แม้แต่จะใช้สื่อเพื่อเผยแพร่อุดมการณ์เสรีทางการเมืองตามระบอบประชาธิปไตย ยิ่งกว่านั้นรัฐบาลสนับสนุนให้ อสมท. แปรรูปเป็นบริษัทมหาชน มีการขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์เปิดช่องให้กลุ่มทุ่นใหญ่เข้าไปถือหุ้นในภายหลัง นักการเมืองและกลุ่มทุนทางการเมืองเริ่มตอบโต้การใช้สิทธิเสรีภาพของประชาชนและพยายามทำให้กลไกต่างๆขององค์กรใหม่ตามรัฐธรรมนูญอ่อนแอลง และประกาศสร้างศูนย์กลางอำนาจควบคุมการสั่งการหน่วยงานราชการทำตามคำสั่งของรัฐบาล ส่วนภาคประชาชนเริ่มมีบทบาทชัดเจนขึ้นและเริ่มตรวจสอบนโยบายสาธารณะของรัฐบาลและใช้สิทธิทางศาลจนกระทบนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจของรัฐบาล ยกเว้นเรื่องปตท. ที่น่าสังเกตความเชื่อเรื่องเสรีภาพทางการเมืองถือว่าเป็นเสรีภาพชั้นสูงสุดของประชาชนในทางการเมืองได้แตกหน่อออกช่อ การเกิดขึ้นของกลุ่มพลังใหม่ทางการเมืองเริ่มทวงสิทธิที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในทางการเมืองการปกครอง กลุ่มนี้มีการก่อตัวขับเคลื่อนจนเป็นกระบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาชนและเริ่มปฏิเสธการบริหารของรัฐบาลมาจากการเลือกตั้งถึงขึ้นต่อต้านขัดขวางและเป็นแกนนำสังคมทางความคิดจนพัฒนาเป็นพรรคการเมืองในเวลาต่อมา

รัฐบาลรื้อฟื้นความคิด”หลักการอำนาจนิยม”(Authoritarian Principles) บางทานอาจเรียกว่าเป็นทฤษฏีอำนาจนิยม ทฤษฏีนี้เชื่อว่า “รัฐมีความสำคัญกว่าปัจเจกชนหรือประชาชน ดังนั้น อำนาจทางการเมืองจึงเข้ามากำกับดูแล” Machiavelli นักปรัชญาการเมืองมีอิทธิพลทางความคิดดังกล่าวและมีส่วนสนับสนุนให้รัฐเชื่อเรื่องอำนาจเบ็ดเสร็จ หลักการอำนาจนิยมมีอิทธิต่อชนชั้นปกครองตั้งแต่ศตวรรษที่๑๖และเริ่มถูกต่อต้านและถูกลดความสำคัญลงในช่วงปลายศตวรรษที่๑๗แต่ในยุคนั้นนับว่าเป็นปรัชญาการเมืองสมัยใหม่แตกต่างไปจากปรัชญาการเมืองในยุคคลาสถ้าผู้ปกครองมีคุณธรรมจะนำสิ่งที่ดีมาสู่ประชาชนและขับไล่ความชั่วร้ายออกไป

(๒) ความเชื่อในเรื่องลัทธิอำนาจนิยมมีจุดมุ่งหมายที่จะให้ได้มาซึ่งอำนาจรัฐ พยายามที่จะรักษาอำนาจรัฐให้นานที่สุด ขยายอำนาจรัฐ และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ ผู้ปกครองจะต้องใช้กลวิธี(means) ทุกชนิดโดยไม่คำนึงถึงคุณธรรมและจริยธรรม

แนวความคิดนี้จึงมีความคล้ายกันในเชิงความคล้ายกันในเชิงความคิดของรัฐบาลก่อนถูกรัฐบาลก่อนถูกรัฐประหาร รัฐบาลในยุคนั้นเริ่มถูกจับตาและถูกวิจารณ์จากนักวิชาการ สังคม และสื่อมวลชนอย่างตรงไปตรงมา “เป็นรัฐบาลพลเรือนเผด็จการที่น่าจับตาและอันตรายสำหรับการเมืองการปกครองในระบบประชาธิปไตย” ส่วนองค์กร



(๒)ศ.ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงค์”มาเคียเวลลี”ในการเมืองแนวคิดและการพัฒนา,(กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์สมาธรรม พ.ศ.๒๕๔๓ หน้า ๑๑๖ อิสระต่างๆบางองค์กร ที่ถูกจัดตั้งตามรัฐธรรมนูญถูกทำให้อ่อนแอลงโดยทุนทางการเมือง จนมีเหตุใช้อ้างเพื่อการปฏิวัติรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลใน เดือน กันยายน พ.ศ.๒๕๔๙

ยุคสองของการปฏิรูปการเมือง ภายหลังจากประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๕๐ แม้ว่าผู้ยกร่างจะแก้ไขจุดอ่อนไม่ให้เกิดปัญหาทางการเมือง แต่ใช่ว่านักการเมืองจะยินยอมและยังคงสู้เพื่อรักษาอำนาจรวมถึงการเรียกอำนาจคืน กระบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองเกิดขึ้นเพื่อแย่งชิงการนำทางสังคม เกิดการจัดตั้งให้ทำหน้าที่เป็นฟันเฟืองสำคัญเพื่อสนับสนุนการทวงคืนอำนาจเดิมการเมือง และคานอำนาจเดิมทั้งสองกลุ่มต่างคานอำนาจกัน

เกิดปรากฏการณ์และสถานการณ์รุนแรงหลายครั้งเพื่อขัดขวางการบริหารประเทศของรัฐบาลที่มาจากการเลืองตั้ง นายกรัฐมนตรีผู้บริหารประเทศในยุคนี้ถูกขับไล่ ถูกทำร้ายแต่รอดตายถึงสองครั้งในเวลาติดๆกัน คนในประเทศไม่อาจปรับความคิดทันการต่อสู้ทางการเมืองของกลุ่มอำนาจเพื่อแย่งอำนาจและแย่งผลประโยชน์ กลุ่มทุนการเมืองสนับสนุนสื่อมวลชนให้ปกป้องเจ้าของทุนและโจมตีบิดเบือนฝ่ายตรงข้างสถานการณ์ทางการเมืองมีความขัดแย้งสูงมากเมือเทียบเคียงกับการเมืองในยุคก่อน พ.ศ.๒๕๔๐

ในช่วง ๒-๓ปีที่ผ่านมาภายหลังรัฐประหารกลุ่มทุนทางการเมืองพยายามจะสู้เพื่อให้ได้อำนาจ มีการสร้างสถานการณ์หลายรูปแบบและแย่งอำนาจกันอย่างเปิดเผยท้าทายระบบนิติรัฐและอำนาจของรัฐบาลสังคมไทยสับสนปรับตัวไม่ทันและไม่เข้าใจปัญหาทางการเมืองอย่างเพียงพอเพราะทุนทางการเมืองนักการเมือง สร้างและส่งข้อมูลข่าวสารถูกบิดเบือนตัดต่อเป็นชิ้นๆผ่านกระบวนการสื่อสารมวลชนหลากหลาย โดยเฉพาะสถานีวิทยุโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม วิทยุชุมชน อินเตอร์เนท และ เทศโนโลยี สารสนเทศทุกรูปแบบ อุปมาไม่ต่างไปจากผู้กำกับภาพยนตร์ผู้มีฝีมือตัดต่อภาพยนตร์ฉายซ้ำ(rerun)ผู้กำกับคนนี้กำกับความคิดทางสังคมให้ผู้รับสารค่อยๆซึมซับข้อมูลทุกวันจนฝังไว้ในสมองให้ยาวนานและเกิดความเชื่อในข้อมูลข่าวสารจนยากแก่การสลัดออกจากสมองได้

ประชาชนเกิดความระส่ำและตกเป็นเหยื่อทางการเมืองมิหนำซ้ำยังถูกตีตราบาปจากนักการเมืองในรัฐสภาว่ามีการแตกแยกจนต้องมีการหาทางสมานฉันท์ ซึ่งถือว่าเป็นเทคนิคราถูกใช้เป็นเพียงข้ออ้าง ให้ดูมีน้ำหนักและชอบธรรมเพื่อใช้รัฐสภาเข้ามาคลี่คลายปัญหา สังคมเริ่มสงสัยในบทบาทและขาดความศรัทธานักการเมืองในสภา สภากลายเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่ขาดจิตวิญญาณของนักการเมืองในระบอบประชาธิปไตย และไม่อาจทำหน้าที่อย่างสง่างามน่าให้เกียรติยกย่องว่า”สภาอันทรงเกียรติ”เกียรติและความสง่าจึงถูกเปลี่ยนถ่ายจากนักการเมืองไปที่ตัวอาคารรัฐสภา

ทว่า สังคมแทบไม่ได้อะไรและไม่อาจฝากอนาคตของประเทศให้อยู่ในกำมือของสมาชิกสภาผู้แทนบางท่านมีศักยภาพที่จะนำบ้านเมืองให้พ้นภัยแห่งความขัดแย้ง นอกจากต้องอยู่อย่างอดทน และเฝ้ารอดูชะตากรรมของสมาชิกสภาบางคน จนกว่าจะหลุดพ้นจากหน้าโทรทัศน์(และกลับเข้ามาใหม่)บทบาทของสมาชิกสภาอันทรงเกียรติไม่ต่างกับการแสดงละครสลับฉาก(ที่ต้องจ่ายค่าตัวแพงเกินจริง)ฆ่าเวลารอคอยความจริงแท้ให้ปรากฏ

เห็นว่า ข้ออ้างอิงสังคมไทยแตกแยกเป็นเสี่ยงๆเป็นเพียงปลายเหตุแห่งปัญหาและไม่อาจมีอิทธิพลอย่างเพียงพอชี้นำสังคมได้ จนกว่าละครการเมือง นักการเมือง พรรคการเมืองเกิดมีสติเกิดปัญญาสำนึกผิด(พูดในสิ่งที่เป็นจริงยาก อาจเพราะความจริงยิ่งคิดยิ่งเจ็บปวด จึงยกให้ความฝันคิดพาไป พอตกใจตื่นคนเหล่านี้ยังคงเดินหน้ากินบ้านกินเมืองทำร้ายสังคมกันต่อไป)จะมีนักการเมืองคนใดมานั่งทบทวนและคิดทบทวนเวชกรรมที่กำลังทำร้ายสังคมไทยอย่างแยบยลเสียที (ท่านช่วยหาคำตอบเอาเองก็แล้วกันว่าอะไรคือวิธีแยบยล)ประวัติหน้าใหม่ทางการเมืองยุคปฏิรูปใหม่กำลังจะจบลงอย่างไร คนดูทั้งประเทศกำลังนั่งดูกันอยู่ “ไม่มีใครหนีกฎแห่งกรรมพ้น”นี่คือความจริงแท้รอการพิสูจน์
ประเทศไทยไม่อาจนำความคิดในเรื่องแผนชาติเข้ามารื้อฟื้นโครงสร้างทางสังคม เศรษฐกิจการเมืองได้ง่ายนัก ความคิดดีๆถูกเขียนไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติและรอวันล้าสมัย สาเหตุขาดเอกภาพแห่งอุดมการณ์ ความคิดดีๆจึงเป็นเพียงนามธรรมไม่อาจทำให้เป็นรูปธรรมได้ทั้งที่ประเทศไทยมีทรัพยากรธรรมชาติเพียงพอ มีคนมีการศึกษาความคิดดีๆพร้อมร่วมมือและทำงาน เพียงแต่คนเหล่านี้ไม่อาจอยู่ร่วมกับงานทางการเมืองหรืออาจถูกทิ้งแช่แข็งหรือถูกกีดกันอำนาจทางการเมือง
เกิดอะไรขึ้นกับบ้านนี้เมืองนี้ น่าจะเป็นประเด็นอภิปราย

สถานนะการณ์ทางการเมืองบ่งบอกถึงพิษภัยทางการเมืองเกิดขึ้นยากแก่การที่จะอ้างความสมานฉันท์ ข้ออ้างเป็นเพียงเปลือกนอกแต่แก่นแท้ไม่ใช้ ความล้มเหลวทางการเมืองเกิดขึ้นเพราะ อุดมการณ์แห่งชาติไม่อาจมีกลไกเพียงพอที่จะผลักดันให้สังคมไทยเดินไปข้างหน้า อย่าง สง่าและเต็มไปด้วยอุปสรรคสะสมมาช้านานแล้วตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง พ.ศ.๒๔๗๕เป็นต้นมาข้ออ่างที่ว่าบ้านเมืองไทยต้องเปลี่ยนแปลงการเมืองไปสู่ระบอบประชาธิปไตยยังคงอ้างต่อไป ประวัติศาสตร์ทางการเมืองบ่งบอกถึงผู้มีอำนาจหรือรัฐบาลทุกยุคทุกสมัยยังเชื่อในเรื่องอำนาจเบ็ดเสร็จและยึดกุมความได้เปรียบในเรื่องการใช้อำนาจเพื่อการแสวงหาประโยชน์ บทพิสูจน์ง่ายๆกล่าวคือ ภายหลังการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไม่น้อยกว่า๗๐ปี การเมืองไม่เคยเอาจริงเอาจังกับการเผยแพร่อุดมการณ์เสรี ประชาธิปไตยไม่ว่าจะผ่านรัฐสภา การบริหารของรัฐบาล หรือแม้ว่าจะผ่านสื่อมวลชนภาครัฐ นอกจากแสดงละครทำเป็นเพียงพิธีกรรมแต่แก่นแห่งเนื้อหาไม่มี เพื่อรักษาโอกาสเวลาให้นานที่สุดไว้แสวงหาประโยชน์ทางการเมือง เพราะถ้าให้ประชาชนฉลาดรู้เท่าทันโอกาสแสวงหาประโยชน์จะสั้นและอาจต้องติดคุก

ขอกล่าวย้ำว่าสิทธิเสรีภาพของประชาชนคือหัวใจสำคัญของการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๔๐ สังคมไทยเพิ่งจะได้เรียนถูกจากหลักประกันในเรื่องการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพสังคมไทยยังอยู่ในระยะเวลาแห่งการเรียนรู้ทั้งความผิดพลาด(เพราะถูกผู้มีอำนาจทำให้เกิดขึ้นอย่างจงใจ)และความถูกต้องของการใช้สิทธิและเสรีภาพความวุ่นวายเกิดขึ้นกับสังคมและการเมืองมาด้วยเหตุผลที่ว่า

๑.รัฐธรรมนูญมุ่งที่จะสร้างความเข็มแข็งให้กับการใช้อำนาจในการบริหารแผ่นดิน
๒.สร้างระบบถ่วงดุลอำนาจให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในการมีส่วนร่วมทางการเมืองมีบทบาทในการตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ

ในทางวิชาการถ้ามองเผินๆทุกอย่างหากเชื่อเช่นนั้นการเมืองไทยและสังคมไทยน่าจะเดินไปข้างหน้าพร้อมกันใช่หรือไม่

อะไรเล่าคือสาเหตุแห่งปัญหา?น่าจะเป็นประเด็นอภิปราย
การดำรงอยู่ตามสภาพการณ์ยังคงเดินไปข้างหน้า หากเปรียบการเมืองเหมือนละครอาจมีหลายตอนจบ อาจกล่าวได้ว่า ความคิดมนุษย์มันดิ้นรนแสวงหาบนถนนแห่งกิเลศไม่อาจหลุดพ้นในเรื่องความดีและความชั่ว(ขอพูดเพื่อลดความจริงไปบ้างก็ดี แต่ใช่ว่าความจริงมันหนีเรา มันตามเราเป็นเงาตามตัวตลอดไม่ว่าเราจะชอบหรือไม่ชอบ ไม่ว่าเราสนใจหรือไม่สนใจ)การเมืองไทยและสังคมไทยยังพบสภาพความจริงที่ว่า ศึกแย่งชิงอำนาจของพรรคร่วมรัฐบาล พรรคฝ่ายค้าน กลุ่มทุนทางการเมืองยังคงเดินไปข้างหน้าและไม่สนใจว่าสังคมบอบช้ำและกำลังตรวจสอบจับจ้องอย่างดูหมิ่นดูแคลนถึงความไม่ซื่อสัตย์ของนักการเมือง มีการระบุทั้งทางตรงและทางอ้อมสื่อให้เข้าใจว่าใครทำอะไร ที่ไหน ได้อะไรกัน เสียอะไรกัน แม้ว่ามันเป็นเพียงเบาะแสข่าวก็ตาม แต่สังคมหวั่นไหวได้พอสมควรเมื่อดูจากบริบทของนักการเมืองบ้านเรา

การเดินไปข้างหน้าของนักการเมือง(ทุนทางการเมือง)และสังคมต่างมีทิศทางและมีธรรมชาติต่างกันทั้งสองกลุ่มน่าจะเกื้อหนุนกันบนพื้นฐานของคนในสังคมเดียวกันและเคารพในความต่างกันถึงหน้าที่และความรับผิดชอบ(ทางกฎหมาย)แต่ว่า การเกื้อหนุนยังไม่เกิดขึ้น คนมีอำนาจทางการเมืองยังเป็นนักฉวยโอกาส ภาพจึงปรากฏออกมาว่ามันช่างทิ้งห่างกันมากในเรื่องความเข็มแข็งทางความคิดของประชาชนและการจัดตั้งองค์กรของนักการเมือง หากเปรียบเทียบกับการแข่งกันวิ่งเพื่อชัยชนะระหว่างคนสองกลุ่ม กลุ่มประชาชนยังอ่อนแอเกินไปจะลงสนามแข่งครั้งนี้ แต่ใช่ว่าแพ้ตลอดกาลหรือจะไม่มีโอกาสถึงเส้นชัยในอนาคตสังคมไทยกำลังเจริญเติบโตทางความคิดแม้ว่า จะเชื่องช้าไปบ้างก็ตาม ความคิดอาจตามทันแต่ความเข้มแข็งทางสังคมยังมีขีดจำกัด เพราะถูกแช่แข็งจากอำนาจทางการเมืองในยุค”เผด็จการนิยม”มาไม่น้อยกว่า ๗๐ ปีและ ถูกทำลายโดยทุนท้องถิ่นและทุนทางการเมืองมาช้านาน

ทว่า ตราบใดที่การทุจริตจากอำนาจทางการเมืองยังเดินไปข้างหน้า ความหวังร้ายทางการเมืองต่อสังคมไทยยังเดินไปข้างหน้า ขณะที่สังคมไทยกำลังเติมสติปัญญาข้อมูลข่าวสารและความองค์ความรู้ไปข้างหน้าเช่นกัน และยังหวังที่จะรอความจริงแห่งความจริงในประเด็นการทุจริตซึ่งมันเดินไปข้างหน้าเช่นเดียวกัน วัฏจักรแห่งความดีความชั่วรอ”วันพิพากษา ด้วย กฎแห่งกรรม”และวันนั้น มันรอการเปิดเผยความจริงเห็นว่า ปัญหาต่างๆในทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจ ถ้าเกิดตามธรรมชาติอาจผิดพลาดบ้าง หากสุจริตใจมองไปข้างหน้าหรือแผนผิดพลาด ย่อมแก้ไขได้ง่าย แต่ถ้าเกิดขึ้นอย่างจงใจปัญหาจะถูกสะสมมากขึ้นและนานวันมันพร้อมที่จะปะทุ (เตรียมหาทางหนีทีไล่กันเอาเอง)

นั้นคือสิ่งที่กล่าวว่า “รอวันพิพากษา (ทั้งทางกฎหมายและสังคม)มีประโยคหนึ่งกล่าวว่า “เมื่อหมอกควันสีดำจากหลุมดำแห่งความชั่วร้ายของมนุษย์จางไป ท่านจะเห็นภาพอย่างชัดเจน ปรากฏอยู่เบื้องหน้า และท่านจะพบความจริงว่าท่านยืนอยู่ตรงส่วนไหนแห่งความจริงหรือความไม่จริง)
จริงๆแล้วรากเหง้าแห่งไม่ได้อยู่ที่ประชาชนใส่เสื้อสีต่างกัน สีคือสัญลักษณ์ไว้เรียกขาน มันเป็นเพียงปรากฏการณ์ทางการเมืองและเป็น” เกมแห่งอำนาจ เพื่อช่วงชิงอำนาจ ทำลายอำนาจ รักษาอำนาจเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์” ให้ดูเนื้อหาจากคนใส่เสื้อสี ท่านจะพบความเข้มแข้งทางความคิดและข้อมูลข่าวสารของคนทั้งสองกลุ่ม (อย่าใช้ Subjactivity) แต่พยายาม ( Oubjactivity) ท่านจะพบความจริง และช่วยกัน ตรวจค้นดูว่ามีอะไรที่เป็นความจริงแห่งความขัดแย้งจนส่งกลิ่นโชยกระทบคนใส่เสื่อสีและสังคมจนแทบจะสำลักอยู่แล้ว

ท่านอาจพบว่าเบื้องหลังและเบื้องหน้าแห่งการแย่งอำนาจทางการเมืองและแย่งผลประโยชน์จาก นโยบายสาธารณะนั่นแหละคือฟันเฟืองแห่งอำนาจหมุนให้เกิดสีเสื้อจากสีหนึ่งไปสู่สีหนึ่ง บางคนพูดอย่างประชดประชันว่า “เรามาดูกีฬาเสื้อสีกันดีไหม” ใช่เพียงแต่ว่ามันเป็นกีฬาแห่งอำนาจ เพียงแต่ว่าไม่มีการแข่งขันใดที่ไม่เลิกราแต่เราก็ไม่รู้เมื่อไหร่กรรมการ (ประชาชน) จะเป่านกหวีดตัดสินใจจบเกม

เกมกีฬาการเมืองจึงยังเดินไปข้างหน้าเพื่อรอควันสีดำจางลง และดูว่าหลุมดำแห่งความชั่วร้ายทับฝังผู้ใด
ในฐานะที่ท่านเป็นนักนิเทศศาสตร์ท่านจะดูกีฬาการเมืองยุคนี้ได้อย่างไรกันน่าจะเป็นประเด็น อภิปราย?

ขอนำท่านมาสู่สถานการณ์บ้านเมืองอีกรอบหนึ่ง มันอาจฉายซ้ำกันบ้างเพราะไม่อาจหลีกเหลี่ยงกล่าวถึงได้ กระแสข่าวทุจริตจากหน่วยงานของเกิดรัฐขึ้นเหมือนไฟลามทุ่ง ผนวกกับสงครามแย่งทรัพยากรธรรมชาติของชาติไทยกำลังรุนแรง บทพิสูจน์ ความดีงามความน่าชื่นชมและภาพลักษณ์ของนักการเมืองหาได้น้อยเต็มที ขณะที่กระบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองเข้มข้นเพื่อประกาศความจริงและสัจจะท่ามกลางการขัดขวางจากกลุ่มทุนทางการเมือง ประชาชนหากินฝืดเคืองเศรษฐกิจจนต่ำจนน่าห่วงใย นี่คือสภาพสังคม สถานะการณ์ทางการเมืองและภาพลักษณ์ของนักการเมืองผู้หลงทางและไหลวนอยู่ในเขาวงกตแห่งกิเลศและเป็นขบวนการภาคนักการเมือง(คิดขึ้นเองไม่สงวนลิขสิทธิ์)น่าวิตกกังวล ความชัดเจนของกระบวนเคลื่อนไหวภาคประชาชนเริ่มทวงสิทธิและเรียกคืนอำนาจอธิปไตยคืนจากอำนาจทางการเมืองส่งเสียงดังขึ้น ปรากฏการณ์ทางสังคมสะท้อนความเอาจริงเอาจังและเกิดการตอบโต้จากอำนาจรัฐและกลไกของรัฐ มันซับซ้อนเงื่อน เปิดข้อมูลบางส่วนเพื่อเป้าหมาย ปิดข้อมูลหลายส่วนประโยชน์ส่วนตน ความขัดแย้งและแย่งผลประโยชน์นักการเมืองยุคนี้ต่างไปจาก พ.ศ.๒๕๔๐ และน่าห่วงใยบ้านเมือง

กระบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาชนมีทั้งทวงอำนาจอธิปไตยคืนจากนักการเมืองทวงสิทธิให้กับ การถูกแย่งสิทธิที่รัฐธรรมนูญให้หลักประกัน อาทิ การรุกคืบของกลุ่มทุนมีทั้งแย่งชิงและทำลายธรรมชาติรวมถึงชีวิตมนุษย์ มีการปล่อยน้ำเสียและควันพิษ รวมถึงสารเคมีตกค้างจากโรงงานอุตสาหกรรม กระทบต่อวิถีชีวิตทั้งคนในชุมชนผู้อยู่อาศัยเดือดร้อนล้มป่วย รัฐบาลไม่อาจใช้กลไกของรัฐเข้าไปป้องกันหรือคลี่คลายปัญหาดังกล่าวได้

เราจะหาคำตอบจากปรากฏการณ์ทางสังคมไทยได้อย่างไรเพื่อสนับสนุนความเห็นดังกล่าวข้างต้น ดังนั้น จึงขอมอบปรากฏการณ์ในฐานะนักเกตการณ์ทางวารสารศาสตร์หรือนักนิเทศศาสตร์ เราจะพบว่าภายหลังประกาศใช้รัฐธรรม พ.ศ.๒๕๕๐ เป็นต้นมา แรงเก็บกดทางสังคมและความเดือดร้อนของประชาชนสะสมมาช้านานเกิดปะทุขึ้นจนรัฐบาลไม่อาจตั้งรับปัญหาได้ และที่น่าวิตกสังคมเกิดช่องว่างทางปัญญาและขาดแคลนองค์ความรู้และข้อมูลเบื้องลึก ทางออกของปัญหาเมื่อประชาชนพึ่งรัฐบาลไม่ได้ สิ่งแรกที่คิดคือต้องร่วมกลุ่มและพัฒนาเป็นขบวนการภาคประชาชนสังคม (civil society) จำเป็นต้องยกแนวคิดศึกษาจากปรากฏการณ์ทางสังคม

อาจกล่าวว่าสังคมไทย เริ่มเกิด “การเมืองแบบใหม่และขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในรูปแบบใหม่”(the new politics and the social movementh) สาเหตุหลายปัญหาเริ่มจากการทวงสิทธิเสรีภาพ ความเดือดร้อนจากสภาพความเป็นอยู่ และสภาพปัญหาสะสมมาก่อนคืนสิทธิเสรีภาพของพลเมืองให้กับคนในประเทศ และปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไขขออย่างเอาจริงเอาจังจากอำนาจของฝ่ายบริหารและการต่อสู้ของประชาชนค่อนข้างจะเป็นเรื่องใหม่หลังจากการเปลี่ยนถ่ายอำนาจของฝ่ายบริหารและการต่อสู้ของประชาชนค่อนข้างจะเป็นเรื่องใหม่หลังจากการเปลี่ยนถ่ายอำนาจทางการเมืองในเชิงทฤษฏีอำนาจนิยมไปสู่ทฤษฏีเสรีนิยมพื้นฐานสำคัญของการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย (จะอธิบายในเชิงประวัติศาสตร์การต่อสู้ทางความคิดนำไปสู่การต่อสู้เรื่องอำนาจของชนชั้นปกครองและการทวงคืนอำนาจอธิปไตยของประชาชนโดยหยิกยกปรัชญาทางความคิดจากทฤษฏีหนึ่งไปสู้ทฤษฏีหนึ่งในโอกาสต่อไป)

นักการเมืองอ่อนด้อยทั้งความรู้ประสบการณ์ไม่อาจนำสังคมและอยู่ร่วมสมัยกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทั้งของโลกและของประเทศ ไม่ว่า ทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจได้อย่างแท้จริง นักการเมืองยังมองตัวเองออกไปสู่สังคม แต่ไม่ได้มองสังคมและการเปลี่ยนแปลงของโลกทุนนิยมเสรีมาสู่คุณภาพตัวเองจึงทำสิ่งที่ง่ายกว่าจะมาแก้ไขปัญหาดั้งเดิมปล่อยให้หมักหมมซ่อนความเน่าของปัญหาไว้ใต้พรมต่อไปและมุ่งที่จะแสวงหาประโยชน์จากการจัดตั้งองค์กรการเมืองที่เข้มแข็งและมีความพร้อมมากว่าฐานความคิดของคนส่วนใหญ่ในประเทศจึงมีแต่ความขัดแย้งและประณีตประนอมเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของนักการเมืองแต่ไม่ใช่ผลประโยชน์สาธารณะ ประชาชนไม่พอใจและขับไล่รัฐบาล หรือประท้วงรัฐบาล หรือทำการขัดขวางการทำงานของรัฐบาลทุกรูปแบบ หรือมีการยึดสถานที่ทำการของรัฐบาล เป็นต้น นี่ปรากฏการณ์ที่เราไม่อาจปฏิเสธได้ ขอทำความเข้าใจว่า การเคลื่อนไหวของภาคประชาชนในช่วงระยะ ๒-๓ปีที่ผ่านมามีทั้งรุนแรงและไม่รุนแรง สำหรับสังคมไทยอาจคิดว่าเป็นเรื่องใหม่แต่ไม่ใหม่จริงในโลกเสรีนิยมหรือในประเทศผู้นำทางด้านอุตสาหกรรม การเกิดขึ้นของขบวนการเคลื่อนไหวของประชาชนในทำนองข้างต้นเกิดขึ้นมานานแล้วในอดีต มันเกิดขึ้นจากปัญหาความเห็นแก่ตัวของมนุษย์ ผู้มีอำนาจทางการเมืองปล่อยให้หรืออาจมีส่วนร่วมให้เกิดความไม่เป็นธรรมขึ้น กฎหมายไม่อาจทำให้ความศักดิ์สิทธิของอำนาจอธิปไตยเป็นจริงและแย่งอำนาจจากประชาชนมาเป็นของตนเองเพื่อประโยชน์ตนเองและพวกพ้อง ที่สำคัญไม่สนใจปัญหากระทบต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สินของประชาชน

กระบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมจึงเกิดขึ้นเพื่อทวงสิทธิเสรีภาพ ความคิดต่างๆ จึงถูกพัฒนาให้บรรลุผล นักวิชาการจึงทำการศึกษาและอธิบายในเชิงความคิดหรือสร้างทฤษฎีให้ถกเถียงกัน เช่น มีการเคลื่อนไหวของคนบางกลุ่มระดับท้องถิ่นในรัฐอะริโซน่า(คศ.๑๙๘๐)เพื่อรักษาธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและต่อสู้กับกลุ้มทุนและอำนาจรัฐ จากนั้นได้มีการขยายออกไปอย่างรวดเร็วและขยายวงกว้างไปยังมลรัฐต่างๆและมีเครือข่ายโยงใยในหลายประเทศทั่วโลก การต่อสู้เช่นนั้นถูก เรียกว่า Earth First หมายถึง “ขบวนการโลกต้องมาก่อน”เป้าหมายของขบวนการนี้อยู่ที่การอนุรักษ์ธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งป่าไม้และที่ดินสาธารณะต่างๆและความหมายหลากทางชีวภาพเพื่อคงความสมดุลของระบบนิเวศน์ของโลกไว้ แต่รัฐบาลและสื่อมวลชนในประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งในระดับท้องถิ่นและในระดับชาติกลับพยายามฉายภาพของขบวนการนี้ว่าเป็น ขบวนการก่อการร้ายทางด้านนิเวศน์ (eco-terrorism) หรือไม่ก็เป็นกลุ่มอาชญากรที่ผิดกฎหมาย สำหรับประเทศไทย
มีเหตุการณ์ มีเหตุการณ์ทำนองนี้เกิดขึ้นเหมือนกัน เช่น กรณีการต่อต้านของชาวบ้านและกลุ่มก้าวหน้าทางสังคมช่วยคัดค้านไม่ให้ก่อสร้างงานไฟฟ้าที่บ้านหินกรูดและบ่อนอก จังหวัดประจวบคีขัณฑ์ จนผู้นำการต่อต้านถูกยิงเสียชีวิต กลายเป็นตัวอย่างของการต่อสู้เพื่อสิทธิธรรมชาติและมนุษย์(โดยเฉพาะคนในท้องถิ่น)

ดร.ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร ได้อธิบายความสำคัญของกลุ่มคนที่เคลื่อนไหวในทำนองกันนี้ว่า อยู่ที่เป้าหมายในการเคลื่อนไหวที่ไม่ต้องการช่างชิงอำนาจรัฐ แต่ต้องการสร้างคำนิยาม/ความหมายชุดใหม่ให้กับการอนุรักษ์ธรรมชาติ ด้วยการชูโลกให้เป็นศูนย์กลางตามชื่อขบวนการว่า Earth First คือ “โลกต้องก่อน ไม่ใช้ มนุษย์ต้องมาก่อนโลก”เรียกร้องให้เลิกมองโลกในฐานะที่เป็นเพรียงแหล่งทรัพยากรหรือวัตถุดิบ ที่มนุษย์สามารถเข้าไปฉกฉวยหาประโยชน์ได้ตามอำเภอใจและเลิกมองว่าเฉพาะสิ่งที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์เท่านั้น จึงจะมีคุณค่าและควรแก่การอนุรักษ์ นั่นคือ สำหรับขบวนการเอริ์ธเฟิร์สแล้ว มนุษย์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของโลก/ของธรรมชาติไม่ใช่เป็นศูนย์กลางมนุษย์จึงมีฐานะไม่ต่างไปจากพืช สัตว์หรือสิ่งไม่มีชีวิตอื่นๆในโลกแต่อย่างใดในนี้ เอิร์ธเฟิร์สจึงเป็นขบวนการเรียกร้องสิทธิแบบหนึ่ง แต่เป็นการเรียกร้องสิทธิให้กับสิ่งที่ไม่มีชีวิตที่มนุษย์เก็บกดปิดกั้นไว้” ความคิดดังกล่าวมานี้ได้สะท้อนเหตุการณ์แห่งยุคสมัยในโลกนี้ไม่ว่าในสังคมตะวันตกหรือแม้แต่ในสังคมไทยก็เช่น เมื่อพิจารณาถึงบริบททางสังคมถูกกดขี่รังแกจากอำนาจทุน กฎหมายล้าหลัง และการบังคับใช้ตามกฎหมาย(ที่มีอยู่ในขณะนั้น

ดร.ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร, ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในรูปแบบใหม่, ศูนย์วิจัยและผลิตตำรา มหาวิทยาลัยเกริก(กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์วิภาษา, พ.ศ.๒๕๔๐) หน้า๑๘-๑๙)


ดร.ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร, อ้างแล้ว ,หน้า ๒๒-๒๓.และปัจจุบันนี้)ของเจ้าหน้าที่รัฐไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ นานไว้เข้าปัญหาต่างๆสะสมจนสังคมรับสภาพที่เป็นอยู่ไม่ได้อีกต่อไป เราจึงพบว่าในสังคมไทยเกิดการเรียกร้องสิทธิของประชาชนเกิดขึ้นอย่างกระจัดกระจายมาช้านาน สาเหตุมาจากความคับแค้นใจของชาวบ้าน คนในชุมชนเดือดร้อนไม่อาจพึ่งพาเจ้าหน้าที่รัฐ นักการเมือง หรือแม้แต่รัฐบาลได้ คนเดือดร้อนต้องต่อสู้ด้วยใจ ขาดการนำและถูกขัดขวางจากกลุ่มผลประโยชน์และเจ้าหน้าที่ของรัฐบางคน ผู้เดือดร้อนมักจะเป็นกลุ่มอ่อนแทบทุกด้านเขาเหล่านั้นเริ่มอ่อนใจถอดใจและยอมแพ้มาแทบทุกยุคทุกสมัย ไม่มีทางสู้รบปรบมือกับทุนหรือข้าราชการผู้ถือกฎหมายได้

หลังจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๔๐ คืนอำนาจอธิปไตยให้กับประชาชนเป็นครั้งแรก คนเหล่านี้สะสมประสบการเริ่มเรียนรู้ที่จะสู้ต่อไปเพื่อรักษาสิทธิอันชอบธรรมในฐานะที่เป็นมนุษย์คนหนึ่งย่อมมีความเสนอภาคในทางกฎหมายเช่นเดียวกับคนมีอำนาจ และที่สำคัญหลักสำคัญรัฐธรรมนูญฉบับนี้ให้ความคุ้มครองสิทธิในชีวิตความเป็นอยู่และทรัพย์สินด้วย คนอ่อนแอและเดือดร้อนจึงมีการรวมตัวกันใหม่ประสานแนวร่วมหาแกนนำที่เข้าใจและเห็นความเสียหายความเดือดร้อนและความไม่เป็นธรรมเกิดขึ้น การรวมตัวของชุมชนหรือประชาชนเพื่อทวงสิทธิอันชอบธรรมที่ควรจะได้รับการคุ้มครองเยียวยาให้มีการแก้ไขปัญหาจากเจ้าหน้าที่รัฐหรือรัฐบาลจึงเกิดขึ้นบ่อยครั้ง

การต่อสู้บางครั้งสร้างอาจก่อความเสียหายกระทบการลงทุนรวมถึงรัฐบาล เช่น เมื่อเร็ว ๆนี้ (ปลายเดือน กันยายน ๒๕๕๒) ได้เกิดการรวมตัวของภาคประชาชนเพื่อทวงสิทธิของชุมชน กลุ่มนี้พยายามเรียกร้องความเป็นธรรมจากเจ้าหน้าที่ของรัฐมาช้านานแต่ไม่ได้ผลในทางปฏิบัติ สาเหตุเพราะเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษกระทบต่อชีวิตคนในชุมชนนั้นยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเพียงพอ แต่สื่อมวลชนเลือกที่จะสื่อความเข้าใจทางสังคมเสนอข่าวเฉพาะด้านกลุ่มทุนและรัฐบาล และไม่ยอมเปิดพื้นที่ให้กับคนกลุ่มนี้หรือถ้าเปิดพื้นที่ไม่เต็มใจนัก

การต่อสู่เพื่อความชอบธรรมและรักษาสิทธิตามกฎหมายคือบทเรียนสำคัญของกลุ่มทุนและอำนาจรัฐที่เชื่อในเรื่องของ”อำนาจ มากกว่า ความถูกต้องและชอบธรรม”ภายใต้แกนนำของนักกฎหมายกลุ่มก้าวหน้า นักสิทธิมนุษย์ชนและผู้นำความคิดของชุมชนหรือท้องถิ่นได้ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ มาตรา๖๗ วรรคสอง บัญญัติว่า “การดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ จะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้ศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชน และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อน รวมทั้งได้ให้องค์การอิสระซึ่งประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติหรือด้านสุขภาพ ให้ความเห็นประกอบก่อนมีการดำเนินการดังกล่าว สิทธิของชุมชนที่จะฟ้องหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่นหรือองค์กรอื่นของรัฐที่เป็นนิติบุคคล เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามบทบัญญัตินี้ ย่อมได้รับความคุ้มครอง”

สิ่งแรกที่คนกลุ่มนี้ใช้สิทธิเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกกระทำจากโรงงานอุตสาหกรรม คือ การเรียกร้องให้กลุ่มทุนทางอุตสาหกรรมรับผิดชอบและช่วยกันแก้ไขเพื่อรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้เหมือนเดิมให้คนหรือชุมชนดำรงชีพอยู่ได้ตามปกติและต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพหรือคุณภาพชีวิต แต่ไม่ได้ผล และเมื่อกลุ่มทุนแข็งขืน คนกลุ่มนี้จึงใช้สิทธิฟ้องหน่วยราชการที่รับผิดชอบเรื่องนี้และรัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ๕กระทรวงหลักจนศาลปกครองกลางมีคำสั่งระงับถึง ๗๖ โครงการเป็นการชั่วคราว ขณะนี้กลายเป็นปัญหาเผชิญหน้ากันอยู่ระหว่างกลุ่มทุนอุตสาหกรรม ประชาชน และรัฐบาล (รอความจริงที่จะเปิดเผยความจริงในชั้นศาลกันต่อไป)

และ ภายใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ว่าด้วย สิทธิชุมชน มาตรา ๖๖ บัญญัติว่า “บุคคลซึ่ง รวมกันเป็นชุมชน ชุมชนท้องถิ่น หรือชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ย่อยมีสิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรมอันดีของคนในท้องและของชาติ และมีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรม สิ่งแวดล้อม รวมทั้งความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน” ประกอบ มาตรา ๖๗ วรรคแรก “สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชนในการอนุรักษ์ บำรุงรักษาและการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพและในการคุ้มครองส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ดำรงอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของตน ย่อมได้รับความคุ้มครองตามความเหมาะสม”

นักศึกษาสังเกตว่า รัฐธรรมนูญบัญญัติสำคัญพื้นฐานว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิชุมชนซึ่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสวยงามก่อนจะถูกทำลายด้วยน้ำมือมนุษย์ที่แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวและรัฐบาลขาดความสามารถในคุ้มครองสิทธิประชาชนไม่ว่าจะเป็น
ท้องถิ่นหรือในส่วนกลางก็ตาม การรวมตัวภาคประชาชนจึงเกิดขึ้นเพื่อเรียกร้องในกลุ่มทุนข้ามมาทำลายทรัพยากรธรรมชาติยุติการทำลายทุกรูปแบบ และให้กระบวนการยุติธรรมมาตัดสินเพื่อความชอบธรรมทั้งสองฝ่าย
เพื่อชี้ให้เห็นถึงความศักดิ์สิทธิ์ “ เสรีภาพ” ของความเป็นมนุษย์ไม่ว่าจะตกอยู่ภายใต้การเมืองระบอบใดก็ตาม หากมนุษย์ถูกเอาเปรียบถูกจำกัดเสรีภาพ(ซึ่งเป็นสิทธิตามธรรมชาติติดตัวมาตั้งแต่มนุษย์สร้างโลก) จากน้ำมือของผู้ใดไม่ว่าจะเป็นอำนาจรัฐหรืออำนาจทุนหรืออำนาจทางการเมืองมนุษย์ก็จะสู้จนตัวตายและถ้าจำเป็นมนุษย์อาจดโค่นล้มทำลายสิ่งอธรรมทั้งหลายที่คนมีอำนาจก่อกรรมขึ้นตัวชี้วัดทางสังคมจึงเกิดขึ้นตามวิถีทางสังคมและธรรมชาติไม่อาจปรุงแต่งเติมสีสันได้ “ระหว่างการใช้อำนาจของรัฐบาลกับการใช้เสรีภาพของประชาชนเสมือนหนึ่งเป็นเงาตามตัวในสังคมเสรีประชาธิปไตย”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา