เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม เลขทะเบียน ๘๖๙ สภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า

อุดมการณ์สถานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตย

เรา...มั่นใจว่า
ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา
ประเทศไทย เป็นของเราทุกคน
เรา ต้องร่วมกันสร้างชาติไทย ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์  พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

การเมืองไทย สิทธิเสรีภาพ สังคม และสื่อมวลชน ตอนที่ 1

รศ.พิศิษฐ์ ชวาลาวัช

ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชไปสู้การเมืองการปกครองใน
ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตั้งแต่พ.ศ.๒๔๗๕ เป็นต้นมา และได้มีการประกาศให้รัฐธรรมนูญเป็นครั้งแรกเรียกว่า “พระราชบัญญติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว”หลังจากนั้นเกิดการแย่งอำนาจมีการรัฐประหารจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งสำคัญอีกหลายครั้งมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่และยกเลิกรวมแล้ว๑๗ ฉบับ รัฐธรรมนูญฉบับล่าสุดได้แก่ รัฐธรรมนูญ ฉบับที่๑๘ และประกาศใช้เมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐ แทนรัฐธรรมนูญฉบับที่๑๗ เรียกว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดขึ้นหลังจากการรัฐประหาร(รัฐธรรมนูญฉบับที่ ๑๖ ถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกได้วางรากฐานสำคัญในเรื่อง สิทธิ เสรีภาพ และการมีส่วนทางการเมือง)

การทำรัฐประหาร และ การแย่งอำนาจทางการเมือง อำนาจทางการเมืองไม่ยอมคืนสิทธิเสรีภาพ
ให้ประชาชนอย่างแท้จริง รัฐธรรมนูญแทบจะไม่มีหลักประกันในเรื่องนี้ การวางรากฐานปลูกฝังความคิดในเรื่องอุดมการณ์เสรีประชาธิปไตยแทบไม่มีการกล่าวถึงเหมือน สื่อมวลชนภาครัฐถูกควบคุมโดยรัฐบาลทุกสมัย รัฐบาลขาดความมั่นคงในการบริหาร ประเทศไทยขาดการนำ”หลักประชาธิปไตย” มาใช้กับประชาชนแตกต่างไปจากรัฐเสรีประชาธิปไตยในภาคพื้นยุโรปและอเมริกา มีการวางพื้นฐานมั่นคงในเรื่อง หลักประชาธิปไตย และหลักนิติรัฐ ความคิดเรื่องอำนาจอธิปไตยเป็นชองประชาชนเกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ ๑๖ และ ๑๗ สังคมเชื่อนักทฤษฎีการเมืองในเรื่องนี้ การต่อสู้กับชนชั้นปกครองเกิดขึ้น เป็นการต่อสู้ระหว่างอำนาจเก่าคือชนชั้นปกครองซึ่งทีความเชื่อในเรื่อง “ทฤษฎีอำนาจนิยม กับ ประชาชนผู้มีความเชื่อและ ศรัทธาใน “ทฤษฎีเสรีนิยม” ที่สุด อิทธิพลทางความคิดตาม “ทฤษฎีเสรีนิยม” ได้รับชัยชนะและได้รับการยอมรับจากนานาประเทศเกือบค่อนโลก มองย้อนสู่ประวัติสตร์แห่งการต่อสู้ทางการเมืองของประชาชนตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๖ บ่งบอกให้เข้าใจว่า การได้รับอำนาจของชนชั้นปกครองไม่กี่คนอาจล่มสลายในที่สุดดังเช่น ความเชื่อตามทฤษฎีอำนาจนิยมเป็นความเชื่อที่สุดโต่งในเรื่องอำนาจรับจนถูกปฏิเสธจากประชาชนและสิ้นสุดในต้นศตวรรษที่ ๑๗ ความเชื่อในเรื่องอำนาจอธิปไตยเป็นของคนในประเทศจึงกลายเป็นรากฐานทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย และเป็นเหตุให้เกิดเปลี่ยนทางประวัติสาสตร์การเมืองเกือบทั่วโลก ส่งผลให้กลุ่มประเทศเหล่านั้นมีการพัฒนารากฐานสำคัญในเรื่องหลักนิติรัฐและหลักประชาธิปไตยตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๗ เป็นต้นมา ทั้งสองหลักต่างมีความเกี่ยวข้องกันสัมพันธ์เกื้อหนุนต่อโครงสร้างทางการเมืองในระบบประชาธิปไตย เศรษฐกิจ สังคม และ วัฒนธรรมนับเป็นร้อยๆปี

ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งได้รับอิทธิพลทางความคิดดังกล่าวและนำความคิดในเรื่องทฤษฎีเสรีนิยมมาใช้เพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองจากระบอบเดิมในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ และให้หลักประกันอย่างจำกัดในหลักสิทธิเสรีภาพบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับต่างๆ ยกเว้น รัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๔๐ ส่งผลกระทบอย่างมากต่อโครงสร้างทางการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แม้แต่หลังเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๕ ผ่านไป จากนั้นรัฐธรรมนูญยังไม่เคารพสิทธิเสรีภาพของประชาชน หลักอำนาจอธิปไตยยังไม่หลักประกัน รัฐสภาอ่อนแอไม่อาจพึ่งพิงและไม่อาจออกกฎหมายที่ดี ฝ่ายการเมืองยังมีอิทธิพลในการใช้อำนาจเกิดการทุจริตคอรัปชั่น กลไกทางกฎหมายและสังคมไม่เข้มแข็งเข้าไปทำการตรวจสอบอำนาจรัฐ รัฐบาลยังคงอ่อนแอเหมือนเดิม นักการเมืองต่างแย่งอำนาจและผลประโยชน์ประชาชนไม่มีหลักประกันทางกฎหมายในเรื่องสิทธิเสรีภาพ รัฐบาลยังคุมสื่อมวลชนภาครัฐ ภาคเอกชนไม่มีหลักประกันหลักการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ เพราะการควบคุมสื่อด้วยกฎหมายของรัฐบาลเพื่อรักษาอำนาจทางการเมืองจะทำให้สื่อมวลชนและประชาชนไม่มีสิทธิเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของทางราชการปกปิดความผิดจึงทำได้ง่าย สังคมก่อเกิดแรงกดดันทางการเมืองและถามหาอำนาจอธิปไตยเป็นของใคร และได้มีการศึกษาหาเหตุผลและปัญหาการอ่อนแอทางการเมืองไทยในระบบประชาธิปไตยก่อนมีการร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับที่๑๖ ซึ่งถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ยอมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนยกร่าง และได้มีการประกาศใช้เมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๐ ลักษณะเด่นของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ลดแรงกดดันทางสังคมด้วยการเปิดกว้างให้ประชาชนทุกส่วนของประเทศเข้ามามีส่วนร่วมและมีโอกาสแสดงความคิดเห็น ส่วนการยกร่างรัฐธรรมนูญมีความประณีตอ้างอิงงานวิชาการงานวิจัยทางกฎหมายมหาชนและผู้ทรงคุณวุฒิสาขาต่างๆมาหาทางเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม แตกต่างไปจากการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้านี้ ดังเอกสารทางการศึกษาชิ้นสำคัญยกมากล่าวเฉพาะบางส่วนที่จำเป็น

จากรายงานการศึกษาของคณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตย ได้นำข้อเสนอกรอบคคิดในการปฏิรูปการเมืองไทยระบุประเด็นสำคัญถึงจุดอ่อนที่มีผลโดยตรงให้เกิดความอ่อนแอทางการเมือง จะขอหยิบยกมาบางเรื่องมากล่าวถึง

๑.มีการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญบ่อยครั้ง(๑๕ฉบับใน๖๐ ปีเศษ) โดยไม่มีการเปลี่ยนหลักการที่เกี่ยวกับโครงสร้าง องค์กร กลไก และกระบวนการที่บรรจุอยู่ในรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับที่เป็นนัยสำคัญโดยแท้ เพื่อแก้ปัญหาของระบบอย่างแท้จริง

๒.การทุจริต คอร์รัปชั่น โดยผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและข้าราชการระดับสูงเกิดขึ้นตลอดเวลาเพราะกฎหมายให้อำนาจดุลพินิจสูง ไม่มีเกณฑ์การใช้ดุลพินิจที่วัดความถูกผิดได้อีกทั้งไม่มีระบบการตรวจสอบที่มีอิสระและมีประสิทธิภาพคนจึงอยากดำรงตำแหน่งเพื่อให้ได้อำนาจและทรัพย์สิน

๓.เมื่ออำนาจเป็นที่มาของเกียรติและเงิน การแข่งขันโดยการเลือกตั้งที่มุ่งตำแหน่งเป็นสำคัญ จึง
เป็นการแข่งขันที่ทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นการซื้อเสียงหรือวิธีอื่น

๔.ชาวบ้านในชนบทยังขาดความจำเป็นพื้นฐาน ถูกละเลยจากส่วนกลางทั้งสภาพปัญหาและการ
แก้ปัญหาของเขา ข้าราชการไม่ใช้ที่พึ่งพิงแท้จริง เข้าพบหายาก ผู้สมัครและพรรคการเมืองจึงแทรกเข้ามาแก้ปัญหาให้ด้วยการหา “ความเจริญ”ไปให้ เมื่อถึงเวลาชาวบ้านเขาก็เลือกคนที่ไปหาไปสร้างบุญคุณให้

๕.คนในเมืองที่มีฐานะเศรษฐกิจดีและมีการศึกษา ประณาม “การขายเสียง” ของชาวบ้าน และดูถูก
ผู้แทนราษฎรที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามา ไม่ศรัทธาในองค์กรการเมือง

๖.ระบบการบริหารแบบรวมศูนย์สูงสุดอยู่ที่ราชการบริหารที่กรุงเทพฯ ทำให้ปัญหาทุกปัญหาที่เกินขึ้นทุกมุมของประเทศต้องวิ่งมาให้ส่วนกลางแก้ปัญหา ปัญหาของกรุงเทพฯแท้ (การจราจร) กลายเป็นปัญหาของชาติไป การแก้ไขล่าช้า ปัญหาสะสมหมักหมมจนยากจะแก้

๗.องค์กรทางการเมืองทุกองค์กรไม่สามารถตอบสนองการแก้ไขปัญหาที่หลากหลายทั้งทาง
เศรษฐกิจ สังคมฯลฯ ได้ ไม่ว่าของคนเมือง(การจราจร สลัม สิ่งแวดล้อม)หรือชนบท(ที่ทำกิน พืชผลราคาตกต่ำ ผลิตตกต่ำ ยากจนลง) ปัญหาสั่งสมหมักหมม

๘.กฎหมายไทยส่วนใหญ่ทำให้ระบบการตัดสินใจทางการเมือง ระบบราชการ และข้าราชการมี
อำนาจดุลพินิจที่กว้างขวาง เน้น “สิทธิเด็ดขาดในทางการบริหาร” มากกว่า “หน้าที่” หรือ “ภารกิจ”เพื่อการบริหารราชการให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชน

๙.การตรากฎหมายมีแนวโน้มที่สูงขึ้น และขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน นอกจากนั้น องค์กร
วิชาชีพทั้งหลายเองก็มีส่วนร่วมทางการเมืองและการปกครองน้อยกว่าที่ควรจะเป็น

๑๐.การถ่ายทอดภาพการเมืองโดยสื่อต่างๆ เน้น “ความมัน” ไม่ได้เน้น “เนื้อหา” ซึ่งถูกหาว่า
“กร่อย” ปลูกฝังความรู้สึกรุนแรงแบ่งขั้วในผู้ติดตามทางการเมือง ความขัดแย้งทางความคิดจึงถูกสร้างให้กลายเป็นความแตกแยก ความขัดแย้งกลายเป็นสินค้า(ปัจจุบันมีการใช้คำว่า “ความหลากหลาย”) ที่มีราคาดีในสังคมสารสนเทศไทย

๑๑.สื่อในสังคมไทยโดยส่วนใหญ่ยังไม่อยู่ในฐานะที่สามารถปกป้องคุ้งครองคนในสังคมได้อย่าง
เต็มที่จึงมีแนวโน้มที่จะเอารัดเอาเปรียบและเอาประโยชน์จากสังคมมากกว่าการพิทักผลประโยชน์ทางสังคม

๑๒.สังคมไทยมีความอ่อนแอทางวิชาการ(ขอเติมว่าขาดข้อมูลข่าวสารสารธารณะและทั่วไป
เนื้อหาของข่าวสารมีลักษณะคำสั่งผู้อำนาจสู่ผู้อยู่ใต้อำนาจ ขาดความเสมอภาคอย่างสิ้นเชิง)

๑๓.สังคมไทยเป็นสังคมที่มีพุทธศาสนาเป็นตัวนำ ซึ่งมีพลังทางจิตวิญญาณ สามารถนำไปใช้
ประโยชน์ได้ในระยะยาว แต่ในปัจจุบันสถาบันในพุทธศาสนา เช่น วัดความอ่อนแอลงเป็นอันมาก
เนื่องจากถูกครอบงำจากระบบที่รวมศูนย์ของราชการและอำนาจทุนในกระแสโลกาภิวัตร

๑๔.คนไทยมีความ “ศรัทธา” มากกว่าใช้ “ปัญญา” ซึ่งบางคนสามารถใช้ในการแก้ปัญหาสำเร็จ
โดยเร็ว แต่อาจไม่ถูกต้องและอาจจะไม่ได้กับทุกๆกรณีไป

ทั้งหมดนี้นำไปสู่ “ปัญหาความชอบธรรม”(legitimacy) และ “ประสิทธิภาพ”(efficiency)ของ
ระบบการเมือง ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ไม่เปลี่ยนแปลงครั้งแล้ว
ครั้งเล่า จนกว่าจุดอ่อน จะได้รับ การแก้ไขพื้นฐาน

รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับของไทยประกาศใช้ตามการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมตามสภาวการณ์ของบ้านเมือง แต่มีข้อน่าสังเกตว่ารัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๔๐ นั้น มีรากฐานจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย พุทธศักราช ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่๖)พุทธศักราช ๒๕๓๙ ได้บัญญัติให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้น ประกอบด้วยสมาชิกที่ได้รับเลือกตั้งรัฐสภาจำนวนเก้าสิบเก้าคนมีหน้าที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้ง ฉบับเพื่อเป็นพื้นฐานในการปฏิรูป
การเมือง คณะทำงานชุดนี้ได้วางพื้นฐานสำคัญในเรื่อง “หลักประชาธิปไตย” และ “หลักนิติรัฐ”
โดยมีสาระสำคัญอยู่ ๔. ประการด้วยกันคือ
๑. ส่งเสริมและคุ้มครองเสรีภาพของประชาชน
๒.ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครอง และ
๓. ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐเพิ่มขึ้น
๔.ปรับปรุงโครงสร้างทางการเมืองให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพขึ้น

ภายหลังยกร่างแล้วเสร็จรัฐสภามีมติเห็นชอบให้นำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยให้ประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญแห่ราชอาณาจักรไทยเมื่อ วันที่ ๑๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๐ เป็นต้นไป
หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวเป็นเวลา ๙ ปีต่อมา ปรากฏว่าอำนาจทางการเมืองเข็มแข็งเกิดรวมศูนย์อำนาจทางการเมืองของนักการเมืองและทุน แต่ประชาชนยังอ่อนแอทุกด้านเพราะไม่
อาจพัฒนาได้รวดเร็วเพื่อถ่วงดุลอำนาจทางการเมืองได้ แม้ประชาชนจะมีสิทธิเสรีภาพ องค์กรต่างๆถูกใช้อำนาจของรัฐบาลแต่ไม่อาจทำหน้าที่ได้ อย่างสมบูรณ์ หรือพูดง่ายๆ ว่าเติบโตไม่ทันนักการเมืองและพรรคการเมือง สื่อมวลชนถูกแทรกแซงจากอำนาจรัฐและอำนาจทุนทั้งทางตรงและทรงอ้อมทั้งๆ ที่มีหลักประกันสิทธิเสรีภาพตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญก็ตาม เกิดการทุจริตคอร์รัปชั่นในเชิงนโยบายสูงขึ้นกว่าอดีต การปฏิวัติรัฐประหารจึงเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งเมื่อ ๑๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๙ ก่อนที่จะมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในปีต่อมา รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นกฎหมายสูงสุดเพื่อนำไปปฏิรูปการเมืองเป็นครั้งที่ ๒ บทบัญญัติต่างๆยังคงรักษารัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๔๐ และเพิ่มมาตรการลงโทษพรรคการเมืองหากทำผิดกฎหมายเลืองตั้งเป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา