เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม เลขทะเบียน ๘๖๙ สภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า

อุดมการณ์สถานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตย

เรา...มั่นใจว่า
ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา
ประเทศไทย เป็นของเราทุกคน
เรา ต้องร่วมกันสร้างชาติไทย ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์  พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

จากสยามเป็นไทย : ประชาธิปไตยไปถึงไหนแล้ว

เสวนา “70 ปีประเทศไทย: ประชาชน ประชาชาติ กับประชาธิปไตย”
อ.ไชยยันต์  รัชชกูล
"ไชยันต์" ตั้งคำถามจะรักกันอย่างไร เพราะข่าวเขาใหญ่กลบกรณี 90 ศพ
ประเด็นแรก คือการมองย้อนเข้าไปในอดีต หรือเรามองปัจจุบันจากความเข้าใจอดีต และประเด็นที่สอง มีข้อคิดอะไรบ้างกับสถานการณ์ปัจจุบัน

ประเด็นแรก วันที่ 19 พฤษภาคม เขาเรียกว่า กระชับวงล้อม ก็ตายไปไม่รู้กี่คน ซึ่งผมเชื่อว่า เรารู้สึกหดหู่ว่า ขบวนการของคนเสื้อแดงพ่ายแพ้อย่างย่อยยับ แต่ว่าการประเมินเช่นนี้เป็นการประเมินช่วงสั้น ทำนองเดียวกับการประเมินเหตุการณ์ 24 มิถุนา 2475 คือ เมื่อสมัยสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ขึ้นมามีอำนาจก็ประเมินว่าเป็นการปิดฉากคณะราษฎร จนกระทั่งในสมัย 2516 ก็มีการกลับมาประเมินเรื่อง 2475 และล่าสุดในการเมืองสมัยปัจจุบัน บนเวทีการชุมนุมก็มีการปราศรัยเรื่องคณะราษฎร มีการกล่าวถึงปรีดี พนมยงค์ ซึ่งแสดงว่า เราก็ได้ประเมิน 2475 ไปตามเวลาเช่นเดียวกับเหตุการณ์วันนี้


ไชยันต์กล่าวต่อไปว่า มรดกความคิดของการเปลี่ยนแปลง หรือ พลวัต อาจจะแสดงในอนาคต เหมือนเราประเมิน 2475 ได้ดีกว่าคณะราษฎร และสมมติว่า วิญญาณปรีดี ส่องกล้องมาจากสวรรค์ ซึ่งอาจารย์ปรีดี มองว่าตอนนั้นฉันทำอย่างนี้ไม่ได้ และคนก็น้อยมากสำหรับคณะราษฎร สื่อก็จำกัด ซึ่งผิดกับยุคปัจจุบันที่มีเครื่องมือเทคโนโลยีสื่อมากขึ้น อาจถือว่าการขยายเรื่องประชาธิปไตย ของประชาชนก็ขยายกลุ่มคนไปแล้วขบวนการประชาธิปไตยก็สืบเนื่องมาจนปัจจุบันนี้

ไชยันต์กล่าวด้วยว่า ความแตกแยกในสังคมไทยเกิดขึ้นในทุกหน่วย ไม่มีหน่วยไหนที่ไม่แตกแยกทางความคิด แม้โดนอบรมสั่งสอนเยอะ แต่ไม่มีผล กลับเชื่อหนักขึ้น ในสังคมไทยไม่เคยมีปรากฏการณ์แบบนี้ ถามว่าดีหรือไมดี บางคนก็บอกว่าต้องรักกัน เมื่อต้องปฏิรูปประเทศไทย เราจะรักกัน ข่าวตัดต้นไม้เขา ใหญ่มันกลบ 90 ศพ คนอีกนับพันที่พิการ ก็ถูกลบไปเลย คำถามเดิมแล้วเราจะรักกันได้อย่างไร คณะกรรมการ "ปูดอง" จะเห็นปัญหานี้หรือไม่

บทความของ อ.ธงชัย วินิจจะกูล เล่าถึงตอนที่คนเสื้อแดงไปที่ รพ.จุฬา (อ่านบทความของธงชัย) มีคนมองว่า คนเสื้อแดงเป็นเชื้อโรคที่ต้องกำจัด จุดนี้ถือเป็นจุดพลิก ที่คนกลุ่มหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยกับคนเสื้อแดงอย่างมาก มองคนเสื้อแดงเป็นส่วนเกินของสังคมไทย สกปรก ผ้าขี้ริ้ว เป็นบ้านนอก ต้องกำจัด หลังสลายการชุมนุมมีการกวาดล้างที่ราชประสงค์ ไม่มีการทำบุญให้คนตาย แต่ทำบุญเพื่อกำจัดเสนียดที่ราชประสงค์ คำถามเดิม คือ เราจะรักกันได้อย่างไร

คำถามของสังคมไทยคือขัดแย้งกันมาตลอด ไม่ใช่ดีกัน รักกัน เมื่อเกิดความขัดแย้งแล้วก็จะใช้วิธีปราบปราม ซึ่งไม่ถูกต้อง ความหมายของปรองดอง หมายความว่าอย่างไร เราต้องตั้งคำถาม ถามต่อไปอีก ภาษาที่ใช้กับความเป็นจริงด้วยกันหรือไม่ เช่นขอคืนพื้นที่กระชับวงล้อม หมายความว่าอย่างไร ปรองดอง หมายความว่า คำพูดเป็นอย่างหนึ่ง ความเป็นจริงเป็นอย่างหนึ่ง กระนั้นหรือ

ส่วนเรื่องความขัดแย้งคืออะไร ซึ่งสังคมไทยก็ต้องหาคำตอบมากกว่าจะบอกว่าให้รักกัน ซึ่งจะเห็นว่าความขัดแย้งของการชุมนุมที่ผ่านมามีทั้งความขัดแย้งทางการเมือง สังคม วัฒนธรรม ดังนั้นถ้าคำว่า "ปรองดอง" ใช้ตรงความหมายจริงๆ ไม่ใช่แปลว่า "กดเอาไว้ไม่ให้หือ" หรือไม่ สิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมไทยเวลานี้ เป็นการสร้างบรรยากาศความกลัวขึ้นมา ใครเป็นคนสร้าง ก็จะเห็นว่าใครคือผู้ก่อการร้ายตัวจริง เพราะคนที่สร้างบรรยากาศความกลัวคือรัฐบาลไม่ใช่หรือ ใครกันแน่คือผู้ก่อการร้ายต้องถาม

"ธเนศวร์" ชวนมองรัฐรวมศูนย์อำนาจ ต้นตอปัญหาประชาธิปไตย
อ.ธเนศวร์ เจริญเมือง
กล่าวว่า เมื่อประมาณสามเดือนที่แลวมีผู้ส่งจดหมายมาให้ เป็นเรื่องของหญิงสาวระดับดาวมหาวิทยาลัย ที่เขียนถึงแม่พูดถึงความรักที่มีต่อแม่ พูดถึงความรักต่อสามี และฆ่าตัวตาย แม่ก็เขียนถึงลูกว่าลูกน่ารัก แม่ดูแลอย่างดีทุกอย่าง เรียนหนังสือเก่ง นี่คือชะตากรรมของหญิง สาวที่ไม่เคยเผชิญความทุกข์ยากลำบากใดๆ เลย เรื่องนี้ตนคิดว่ามีความเกี่ยวพันกับสังคมไทย หญิงสาวนี้คือสังคมไทย เราเป็นสังคมที่ไม่เคยทุกข์ยาก ไม่เคยมีประสบการณ์การต่อสู้ทางการเมือง มีความขัดแย้งกัน เมืองไทยเป็นสังคมที่ไม่เคยเป็นเมืองขึ้นมาก่อน ก็เราไม่รู้ว่าฝรั่ง ซึ่งนิสัยไม่ดีอย่างไร แล้วเราไม่เคยมีประสบการณ์ต่อสู้ทางการเมือง และเราไม่ได้เผชิญความขัดแย้งแบบอาณานิคมและสังคมกึ่งเมืองขึ้น ซึ่งทุกอย่างดีตลอดมา และหลังสนธิสัญญาเบาวริ่ง ชนชั้นนำดิ้นรนเอาตัวรอด ซึ่งสถาบันชนชั้นนำเขาปรับตัวเอง คือ ด้านหนึ่งเล่นเกมกับนักล่าเมืองขึ้น คือเอาอีสาน ล้านนา มาเป็นเมืองขึ้น และดูดกลืนทีละขั้น ให้ภูมิภาคนี้เป็นสยามประเทศอย่างนุ่มนวล สมัยรัชกาลที่ 6 ก็มีเอกสารบางชิ้นระบุว่า เมื่อรัชกาลที่ 6 นั่งช้างมาเชียงใหม่และพระองค์ฟังภาษาเหนือไม่ออกเลย ก็รู้สึกว่ามาเชียงใหม่เหมือนกับต่างประเทศ และเมื่อ พ.ศ. 2453 ก็เป็นการสถาปนารัฐรวมศูนย์ แล้ววัดหายไป กลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบราชการ คือ สถาบันสีเหลือง และ สถาบันสีเขียว คือ กองทัพ

ระบบราชการใหญ่โตขึ้นจากความเป็นรัฐรวมศูนย์ การเป็นรัฐรวมศูนย์แข็งแกร่งตั้งแต่ปี 2453 จนถึง 2475 ทำให้สังคมไทยอ่อนแอ เมื่อคณะราษฎรเข้ามา ในขณะที่อีกฝั่งหนึ่งแข็งแกร่งกว่ามาก เพราะได้พัฒนารัฐรวมศูนย์มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ทำลายความเป็นท้องถิ่นอย่างราบคาบ เรื่องนี้มีการพูดถึงน้อยมาก ดังนั้น คณะราษฎรจึงเผชิญปัญหามากมาย คือการสถาปนาระบบราชการส่วนภูมิภาค กลายเป็นมือเท้าของส่วนกลางอย่างชัดเจน

อีกเรื่องคือระบบการศึกษาไม่ให้ความสนใจเหตุการณ์ 24 มิถุนายน 2475 เลย เราไม่รู้จัก 24 มิถุนายน วัฒนธรรมอำมาตย์ก็โตวันโตคืนมาจนถึงปัจจุบัน ดังนั้นจากนี้แล้วเราก็ต้องพูดถึง และที่สำคัญคือในทศวรรษที่ 2490 เป็นต้นมา จีน เวียดนาม กัมพูชา ยุโรปตะวันออก กลายเป็นสังคมนิยม ในเวลานั้นถ้าไทยมีขบวนการแข็งแกร่ง ไทยก็อาจจะเป็นสังคมนิยม แต่เราเป็นหญิงสาวที่อ่อนเยาว์ สหรัฐอเมริกาก็เข้ามา สถาปนาอำมาตย์มาจนถึงปัจจุบันกล่อมเกลาให้เราเป็นอย่างทุกวันนี้ จนกระทั่งเกิดความขัดแย้งในปัจจุบัน

ที่ผ่านมาเราศึกษาบทเรียนต่างประเทศน้อยไป เราต้องรู้ว่า EU กับ สหรัฐ จีน คิดกับเราอย่างไร ทำไมกัมพูชาหันไปสนับสนุนรัฐบาลเพราะอะไร สหรัฐที่มีผลประโยชน์ในประเทศไทยอย่างมหาศาล ถ้าจะเปลี่ยนแผ่นดิน เขาต้องคิดว่ามวยคู่นี้ เขาจะยืนอยู่ตรงไหน สรุปคือเราต้องศึกษาปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อประเทศไทยด้วย

ธเนศวร์ อภิปรายต่อว่า การเปลี่ยนแปลงประชาธิปไตย เป็นการเปลี่ยนแปลงระบบการเมือง สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมด้วย การที่วัฒนธรรมของนักศึกษาเป็นเช่นนี้ กล่าวคือนักศึกษาไม่สนใจเรื่องการเมือง เราจะไปกันอย่างไร เราจะต้องมีการปฏิวัติวัฒนธรรมในบ้านเราในสถาบันการศึกษาด้วย ซึ่งเราต้องคุยกันให้มาก อีกอย่างคือสถาบันศาสนา เราจะจัดการและแก้ไขอย่างไร

ธเนศวร์ ยังกล่าวด้วยว่า ประชาธิปไตยต้องไม่ใช่แค่มีในระดับชาติ แต่ต้องมีในระดับท้องถิ่นด้วย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จะมีบทบาทอย่างไรที่จะช่วยดูแลประชาธิปไตยให้อยู่ได้ ไม่ใช่ไล่ล่าเสื้อแดง

เสนอสรุปบทเรียน 19 พฤษภาคม ยกกรณี 18 พฤษภาคม ที่กวางจู
ทั้งนี้ธเนศวร์ กล่าวด้วยว่า ประทับใจเหตุการณ์หนึ่ง คือเรื่องการระลึกถึงการสังหารหมู่ที่เมืองกวางจู ในปี 2523 ที่เกาหลีใต้ ซึ่งต่อมาประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้งได้ดำเนินการไต่สวน แล้วนายทหารเกาหลีก็ถูกตัดสินประหารชีวิต มีการจัดพิธีใหญ่บนสถานที่สังหารประชาชน มีการระลึกถึงวันที่ 18 พฤษภาคม 2523 และถ่ายทอดเรื่องนี้ไปสู่ทั่วโลก มีการทำหนังสือ History of 18 May uprising ในนั้นมีข้อมูลละเอียดมาก บทวิเคราะห์ละเอียดมาก มีประสบการณ์ของพี่น้อง ก็คือเขาไม่ลืมเลือนเลย และเขาต้องการสรุปบทเรียนนี้ ส่วนของไทยเราพึ่งระลึกถึงเหตุการณ์เดือนพฤษภาคมผ่านไปหนึ่งเดือนเอง แต่เขาสามสิบปี เป็นหนังสือสำหรับการพัฒนาประชาธิปไตยของเกาหลีใต้ ก็เหมือนกับประเทศไทย ที่น่าจะทำไว้สำหรับวันนี้ ซึ่งเราต้องเตรียมพร้อมการเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่เกิดขึ้น แต่มันก็ล้มแล้วล้มอีก โดยถ้าเราสรุปบทเรียนดีๆ ที่บรรพชนทำไว้ยังไม่ดี และผมคิดว่าสำคัญ คือ คนเราทำงานในสถาบันการศึกษา จะทำให้อุดมการณ์บ้านเมืองดีขึ้น แล้วลูกหลานเราไม่เหน็ดเหนื่อย


หลักการประชาธิปไตยขั้นพื้นฐานคือความเท่าเทียมกันด้านปกครอง สิทธิเสรีภาพ ไม่ใช่ของแปลกปลอมจากต่างประเทศ มันอาจมาจากต่างประเทศ เพราะในต่างประเทศเขาเกิดประชาธิปไตยก่อน เพราะความไม่เท่าเทียมกันนั้นเป็นเรื่องสำคัญเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่อยากเห็นความเท่าเทียมกันไม่มีสองมาตรฐาน คนเราต้องมีเลือดเนื้อมีชีวิตเท่านั้นเอง และมันจะสร้างประเทศของตัวเอง ไม่ใช่การลอกเลียนแบบจากต่างประเทศ

เราเห็นต่างกันได้ไม่มีปัญหา คนไม่มีสี เพราะไม่ค่อย active ก็ไม่เป็นไรก็อยู่ไป คนที่มีสีก็เป็นพลเมืองเข้มแข็ง ประเด็นที่ว่าคือไม่พอใจการเรียกร้องของอีกฝ่ายหนึ่งแล้วเอาลูกปืนไปให้ ดังนั้น ปัญหาของอำมาตยาธิปไตยคือการไม่ยอมรับเสียงส่วนใหญ่

ที่มา : ประชาไท

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา