เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม เลขทะเบียน ๘๖๙ สภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า

อุดมการณ์สถานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตย

เรา...มั่นใจว่า
ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา
ประเทศไทย เป็นของเราทุกคน
เรา ต้องร่วมกันสร้างชาติไทย ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์  พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

หอไอเฟล: ประภาคารเหล็กผงาดค้ำเหนือศักดินา

โดย เพ็ญ ภัคตะ
ปีนป่ายใต้แสงสุรีย์สาดข
ณะที่อากาศธาตุสงัดสงบ
ช่อผกาช่วงชั้นที่หลั่นทบ
สยายกลีบยามพลบจุมพิตนภา

จากเปลวไฟในกมลคนนับล้าน
จุดโคมประภาคารแสวงหา
เคี่ยวความฝันสัญลักษณ์นครา
ประกาศแก่ดินฟ้าจบจักรพาล

ศาลใคร? คอลัมน์ เมืองไทยหรือเมืองใคร? โดย กาหลิบ

ใครแปลกใจในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในกรณียุบพรรคประชาธิปัตย์
แสดงว่ายังมีความลุ่มหลงกับระบอบโบราณของไทยว่าจะให้ความยุติธรรมและความเป็นธรรมในสังคมนี้ได้

การไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์โดยอาศัยประเด็นปลีกย่อยที่เป็นเทคนิคกฎหมาย
และเป็นตัวช่วยอย่างสำคัญต่อการก่อตัวขึ้นของระบอบประชาชน
หากยุบพรรคประชาธิปัตย์เสียอีก จะมีผู้ใหญ่ที่อ้างตัวเป็นแดงบางคนเข้ามาเชียร์ทันทีว่า
เห็นไหม ระบอบปัจจุบันยังใช้การได้ เราจะไปเคลื่อนไหวถึงขั้นระบอบและโครงสร้างกันไปทำไม

บุญเหลือเกินที่ความโง่บางชนิดถูกย่อยสลายได้ด้วยความจริงแบบเร่งด่วนทันใจ
ต้องขอบคุณศาลรัฐธรรมนูญในแง่นี้เป็นอย่างยิ่ง

ใครติดตามวิธีพิจารณาวินิจฉัยกรณีร้องเรียนให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์มาตลอด จะเห็นได้พร้อมกันว่า
ระบอบเผด็จการโบราณเขามีความชำนาญและความรอบคอบในการสร้างเครื่องมือแห่งอำนาจเป็นอันมาก

จีนเติบโตอย่างยิ่งใหญ่...เมื่อเริ่มใจถ่อม

โดย : มนตรี ศรไพศาล
หนังสือพิมพ์มติชน

ชาวโลกได้เห็นงานเปิดและปิด กีฬาเอเชียนเกมส์อย่างยิ่งใหญ่ ต่อเนื่องจากงานกีฬาโอลิมปิคอลังการ และงานเวิรลด์เอ็กซโปตระการตา ทำให้เห็นความยิ่งใหญ่ของจีนในทุกวันนี้อย่างแท้จริง

จีนเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ จีนเป็นผู้นำในด้านการผลิต การส่งออก การนำเข้า
จีนมีทุนสำรองสกุลเงินต่างประเทศสูงสุด ในประวัติศาสตร์โลก กว่า 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ
จีนกำลังมีคนรวยมากที่สุด กำลังมีรถหรูเช่น รถเบนซ์มากที่สุดในโลก

แม้จีนยังมีคนจนมาก รายได้เฉลี่ยประมาณ 6,800 เหรียญต่อคนต่อปี ไทยมีรายได้เฉลี่ย 8,000 เหรียญต่คนต่อปี เขากลับเริ่มมีคนร่ำรวยมากที่สุด มีรถหรูหรามากที่สุด

ทั้งนี้ไม่ใช่เพราะว่าเขายังใช้หลักการเศรษฐกิจรวมศูนย์ (Centralized Economy) แบบคอมมิวนิสต์อีกต่อไป แต่เป็นเพราะเขาเริ่มใช้หลักการเศรษฐกิจเสรี (Market Economy)

วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วันหนึ่ง เราจะฝ่าข้ามไป : วิสา คัญทัพ

แปลจากเพลง We shall overcome ของ Pete Seeger


เราจะฝ่าข้ามไปไม่ท้อแท้
เราฝ่าข้ามพ้นแน่ สักวันหนึ่ง
เชื่อมั่นโดยรู้สึกอันลึกซึ้ง
เราจักข้ามไปถึงโดยทั่วกัน

เดินกุมมือกันมั่นไม่หวั่นไหว
เรากุมมือกันไปไม่ไหวหวั่น
ลึกลงในหัวใจไม่กี่วัน
เราจะฝ่าข้ามมันอย่างแน่นอน

เราจะพบคืนวันสันติภาพ
ภาพสันติฉายฉาบรังสีสะท้อน
หัวใจเชื่อมั่นว่าภราดร
สันติภาพสถาพรจะเป็นจริง

เราไม่กลัวอะไรและไม่หนี
ไม่กลัวแล้ววันนี้ในทุกสิ่ง
ทั้งเชื่อมั่นสุดใจไม่ทอดทิ้ง
เดินและวิ่งรุดหน้าฝ่าข้ามไป

หมดทั้งโลกกว้างใหญ่อันไพศาล
โจนทะยานสง่างามข้ามไปได้
ต้องมีสักวันหนึ่งถึงเส้นชัย
เราจะฝ่าข้ามไปได้แน่นอน

วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สถาปนาสถาบันประชาชน : ไม้หนึ่ง ก.กุนที

ไม้หนึ่ง ก.กุนที , ที่มา : ประชาไท
1
เราไม่ปกป้องการอภิวัฒน์
สายลมปฏิปักษ์จึงพัดหวน
การรื้อสร้างไม่อาจทำอย่างนุ่มนวล
ทุกชิ้นส่วน ต้องกล้านับ 1 ใหม่

เราไม่ปกป้องการอภิวัฒน์
ทรรศนะทางชนชั้นไม่ขยาย
'475 พริบตาเป็นอาชาไนย
แล้วก็กลับเป็นงัวควาย เหมือนๆ เดิม

เราไม่ปกป้องการอภิวัฒน์
สิทธิ์หน้าที่แจ่มชัดไม่ทันเริ่ม
ลงหมุดแล้วไม่ตอกต่อเสาเติม
เอาเครื่องเรือนไปปลูกเสริมสร้างเวียงวัง

วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

อภิสิทธิ์

‘อภิสิทธิ์’ ลั่นค้าน ‘พ.ร.บ.ความมั่นคง’ (เหตุเกิดเมื่อ 2 ปีที่แล้ว)
ทัศนะของ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” (เมื่อ 2 ปีที่แล้ว) คัดค้านการผ่านร่าง พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร โดยเห็นว่าหากนิยาม “ภัยคุกคามความมั่นคง” อย่างไม่แยกแยะ อาจมีการใช้กฎหมายในทางที่ผิด และย้ำว่าการชุมนุมทางการเมืองเป็นสิทธิที่ทุกคนพึงมีตราบเท่าที่ไม่ใช้ความ รุนแรง การควบคุมต้องต่างจากการก่อการร้าย และย้ำว่าหากกฎหมายผ่าน สนช. ต้องแก้ไข
“ปัจจุบัน การกระทำที่ถูกมองว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงมีความหลากหลายมาก แต่กฎหมายทุกฉบับจะพยายามนิยามให้ครอบคลุมกว้างๆโดยไม่จำแนกแยกแยะ และมักจะใช้เครื่องมือตามกฎหมายโดยไม่มีการแยกแยะเช่นเดียวกัน หากเป็นเช่นนี้ต่อไป ก็จะเกิดความเสี่ยงที่ “ภัยคุกคาม” บางชนิดจะป้องกันปราบปรามไม่ได้ ขณะที่อาจมีการใช้อำนาจตามกฎหมายในทางที่ผิด”

“ขณะ ที่ปัญหาการชุมนุมทางการเมืองนั้น เป็นสิทธิที่ทุกคนพึงมีตราบเท่าที่ไม่มีการจงใจที่จะละเมิดกฎหมายในลักษณะ ของการใช้ความรุนแรง หรือก่อให้เกิดความวุ่นวาย การควบคุมสถานการณ์ในลักษณะนี้ ต้องการการปฏิบัติแตกต่างจากการก่อการร้ายอย่างชัดเจน”

วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แนวคิดทฤษฎีว่าด้วย "สิทธิ"

1. สิทธิ (Right)
ความคิดเรื่องสิทธิหรือมโนทัศน์เรื่องสิทธิเป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยในสังคมปัจจุบัน ดังเห็นได้ว่า “สิทธิ” เป็นคำที่เราอ้างถึงอยู่เสมอเพื่อแสดงถึงความชอบธรรมในสิ่งที่เราทำ เช่น เรามีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง นอกจากนี้เรามักอ้างถึง “สิทธิ” เพื่อแสดงถึงความชอบธรรมในสิ่งที่เราเห็นว่าควรได้รับจากผู้อื่นและสังคม เช่น เรามีสิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยในการดำรงชีวิต ทั้งนี้เมื่อเราอ้างถึง “สิทธิ” มีนัยว่าเราเรียกร้องให้ผู้อื่นต้องเคารพและปฏิบัติตาม อย่างไรก็ตาม แม้มโนทัศน์เรื่องสิทธิเป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยในสังคมปัจจุบัน แต่ก็เป็นที่น่าสงสัยว่าเราเข้าใจมโนทัศน์นี้ดีหรือไม่ เช่น เรารู้หรือไม่ว่าแนวคิดเรื่องสิทธิเกิดขึ้นเมื่อไร, “สิทธิ” หมายถึงอะไร, อะไรเป็นลักษณะสำคัญของสิทธิ, อะไรเป็นเหตุผลที่ทำให้เราอ้างได้ว่าเรามีสิทธิต่างๆ และการที่สังคมให้ความสำคัญลำดับแรกกับสิทธินั้นเหมาะสมหรือไม่

2. การเกิดขึ้นของมโนทัศน์เรื่องสิทธิ
คำว่า “สิทธิ” แปลมาจากคำว่า “right” ในภาษาอังกฤษที่นอกจากแปลว่า “สิทธิ” แล้วยังมีอีกความหมายหนึ่งคือ “สิ่งที่ถูกต้อง” ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นความหมายดั้งเดิมของ “right” ดังเห็นจากการที่ “right” นั้นมีรากศัพท์มาจากคำว่า “ius” หรือ “jus” ในกฎหมายโรมัน ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายเชิงยืนยันว่าสิ่งบางสิ่งหรือการกระทำบางอย่างถูกต้องหรือยุติธรรม ความหมายนี้บ่งถึงความถูกต้องแบบวัตถุวิสัย (objective right) ของการกระทำโดยอิงจากหลักศีลธรรมหรือกฎหมาย

นายกฯ ทักษิณคุยกับประชาชน : ๒๗ ธค.๒๕๔๖

คำกล่าวของพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในรายการ “นายกฯ ทักษิณคุยกับประชาชน”
ทางคลื่นเอฟ.เอ็ม. 92.5 สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เวลา 08.00 น. วันเสาร์ที่ 27 ธันวาคม 2546

สวัสดีครับพี่น้องประชาชนที่เคารพรักครับ
เหลืออีก 5 วันจะเป็นปี 2547 แล้ว ปีนี้วันที่ 2 ความจริงไม่ใช่วันหยุด วันที่ 31 ธันวาคมเป็นวันหยุด คณะรัฐมนตรีจึงสลับวันกันเพื่อที่จะให้พี่น้องได้มีโอกาสไปเยี่ยมเยียนญาติพี่น้อง วันที่ 31 ธันวาคมส่วนใหญ่ยังนับถอยหลังข้ามปีใหม่กันอยู่ที่กรุงเทพฯ เพราะฉะนั้น วันที่ 1 มกราคมก็ไปสวัสดีปีใหม่ไปเยี่ยมเยียนญาติผู้ใหญ่ ซึ่งตามประเพณีพวกที่นับถือศาสนาคริสต์ใช้ฤดูกาลช่วงคริสต์มาสเป็นวันหยุดหลายวันเพื่อจะได้ไปเยี่ยมญาติพี่น้องพ่อแม่ เพื่อนฝูงและได้พักผ่อนไปด้วยในตัวครับ

ขอให้ระมัดระวังในการเดินทางไปต่างจังหวัด
สำหรับพี่น้องคนไทยที่จะเดินทางไปพักผ่อนและไปต่างจังหวัดในช่วงวันหยุด 4 วัน ติดต่อกันคือ วันที่ 1- 4 มกราคม 2547 ขอให้พึงใช้ความระมัดระวัง เพราะอุบัติเหตุปี ๆ หนึ่งในช่วงวันหยุดยาวเกิดขึ้นมาก บางครั้งบาดเจ็บทีหนึ่ง 20,000 กว่าคน เสียชีวิต 400-500 คนมากไป อยากจะขอให้พี่น้องคนไทยทุกคนได้ใช้ความระมัดระวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ทำหน้าที่ขับรถสาธารณะนั้นถือว่าท่านต้องดูชีวิตคนหลายคนขอให้พึงระมัดระวัง

วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

National Power ยังหลงเหลืออยู่แค่ไหน?

ความหมายของ National Power ก็คือพลังอำนาจของชาติ ถือเป็นเรื่องสำคัญที่เอามาใช้ในทางยุทธศาสตร์ ผู้ริเริ่มเอามาใช้เป็นคนแรกในปลายศตวรรษที่ 15 ได้แก่ นิโคโล มาเคียเวลลี่ ซึ่งเป็นทั้งนักการทหารและนักปรัชญาชาวอิตาลี...พลังอำนาจของชาติในช่วงที่มาเคียเวลลี่นำเสนอ เขาได้จัดเป็นองค์ประกอบ 3 ประการคือ การเมือง สังคม และการทหาร กระทั่งต่อมามีการเพิ่มเติมโดยคาร์ล วอน เคลาสวีทซ์ ผู้เป็นซุนหวู่แห่งตะวันตก โดยเพิ่มพลังอำนาจของชาติในทางด้านเศรษฐกิจเข้ามาเป็นองค์ประกอบต่อการทำสงครามอีกปัจจัย

เรื่องพลังอำนาจของชาติ แม้จะเริ่มต้นมาจากหลักการดังกล่าว แต่ได้มีการพัฒนาและศึกษาเพิ่มเติมในฐานะเครื่องมือสำคัญที่จะผลักดันยุทธศาสตร์ชาติให้ดำเนินไปถึงการบรรลุวัตถุประสงค์และการรักษาผลประโยชน์ของชาติบ้านเมือง ประเด็นนี้จึงเป็นเรื่องที่ต้องยกขึ้นมาถกเถียงอย่างจริงจัง โดยเฉพาะภายใต้สถานการณ์ของประเทศไทยปัจจุบัน ตลอดเวลาของความขัดแย้งเราคงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าพลังอำนาจของชาติได้กร่อนสลายลงไปถึงจุดวิกฤตที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง โดยบรรดาผู้ปกครองและผู้อยู่ในอำนาจทั้งหลายยังไม่ได้ตระหนัก หรืออาจจะไม่มีสำนึกในเรื่องนี้ด้วยซ้ำไป?

วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วิกฤตการณ์แห่งอำนาจอธิปไตยของปวงชน

ปี 2549: วิกฤตการณ์แห่ง “อำนาจอธิปไตยของปวงชน” และการพังทลายของ “นิติรัฐ”
การวิเคราะห์สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปี 2549 ในแง่มุมที่ยังไม่มีเอกสารใดนำเสนอต่อสาธารณะมาก่อน เพื่อวิเคราะห์ถึงเหตุแห่งวิกฤติอันนำไปสู่การทำรัฐประหาร19กันยา ผลกระทบทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจที่เกิดจากการรัฐประหารและประเมินสถานการณ์ทางด้านการเมืองที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตภายใต้เงาปืนของเผด็จการทหาร เรียกสถานการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางปี 2548 -กย. 2549 ว่า “วิกฤตการณ์แห่งอำนาจอธิปไตยของปวงชน” เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด มีเป้าหมายอยู่ที่การเปลี่ยนผู้ยึดครองอำนาจรัฐหรืออำนาจอธิปไตยด้วยกระบวนการสองด้าน กล่าวคือ

ด้านหนึ่ง ประนาม โจมตี ทำลายความชอบธรรมของฝ่ายการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง กระทั่งมุ่งหมายปลิดชีวิตของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชิณวัตร มุ่งเอาชนะคะคานโดยไม่เลือกวิธีการ

ส่วนอีกด้านหนึ่งพวกเขาใช้ประโยชน์จากความจงรักภักดีของประชาชนไทยที่มีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นเครื่องมือเพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่ฝ่ายตน ภายใต้ Motto ที่ฟังดูแปลกๆ เช่น “ทวงคืนประเทศไทย” “ทำลายระบอบทักษิณ” “ถวายคืนพระราชอำนาจ” “สู้เพื่อในหลวง” “นายกพระราชทาน ผ่านมาตรา 7” เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อเป้าหมาย “ทักษิณ..ออกไป” ซึ่งจะทำให้ “กลุ่มอำนาจอื่น” เข้าควบคุม “อำนาจอธิปไตย” ได้ง่ายขึ้น

..."ความยุติธรรมในนิทาน...ไพร่แขนขาว"...

ความยุติธรรมในนิทาน โดย ไพร่แขนขาว

บ่นความเรื่องนี้ “ไพร่แขนขาว” ได้เขียนเล่นเมื่อประมาณสิบปีก่อน ให้เพื่อนฝูงดูในวงจำกัด เมื่อเห็นว่ากลุ่มนิติราษฎร์จัดทำเว็บไซต์ เลยขออนุญาตนำมาลงลดความร้อน และเพื่อความสนุกเพลิดเพลินของตัวเองเป็นสำคัญ
“ไพร่แขนขาว” เคยอ่านนิทานที่น่าสนใจเรื่องหนึ่ง เข้าใจว่าเป็นนิทานอินเดีย ซึ่งศาสตราจารย์ ร.ต.ท. แสง มนวิทูร หรือท่านมหาแสง ได้เล่าไว้ใน “อนุสรณ์มหาจุฬาฯ” พ.ศ. 2505 นิทานเรื่องนี้ให้ข้อคิดเกี่ยวกับความยุติธรรมในการแบ่งของ 8 ชิ้นให้แก่คน 2 คน ตามสัดส่วนที่แต่ละคนพึงจะได้รับ เรื่องมีอยู่ว่า.........

มีกระทาชาย 2 คน เดินทางไปทางเดียวกัน ทั้งสองรู้จักกันในระหว่างเดินทาง ก็ถือเป็นเพื่อนเดินทางไปด้วยกัน ครั้นเดินไปไกล ทั้งสองรู้สึกเหนื่อยจึงนั่งพักที่ใต้ร่มไม้ริมสระแห่งหนึ่งแล้วเปิดห่ออาหารของตนออก

กระทาชายคนหนึ่งมีโรตี 5 แผ่น อีกคนหนึ่งมี 3 แผ่น ทั้งสองเริ่มจะกิน ขณะนั้นมีเศรษฐีคนหนึ่งขี่ม้าเข้ามาใกล้ กระทาชายทั้งสองนั้นจึงทักขึ้นแล้วเชิญให้รับประทานอาหารด้วยกัน เศรษฐีกล่าวขอบใจและบอกว่าตนก็หิวอยู่เหมือนกัน แต่เกรงว่าอาหารของคนทั้งสองนั้นจะไม่พอกิน

กระทาชายเดินทางพูดว่า “หามิได้ นาย! อาหารของเรามีพอ เชิญท่านรับประทานกันเราเถิด”
เศรษฐีลงจากหลังม้า เข้าร่วมวงรับประทานอาหารกับกระทาชายทั้งสองนั้น

การลดความเหลื่อมลํ้าและสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ

บทความที่จะนำเสนอ ในการสัมมนาวิชาการ โดย TDRI ในวันที่ ๒๙-๓๐ พฤศจกายน ๒๕๕๓

๑.การลดความเหลื่อมล้ำ
๑.๑ การสร้างระบบสวัสดิการพื้นฐาน: ค่าใช้จ่ายระบบสวัสดิการสังคมที่คนไทยต้องการ
คนทั่วไปมักจะคิดว่าการมีสวัสดิการสังคมเป็นบริการสาธารณะที่มีราคาแพง คนไทยอาจจะแบกรับไม่ได้ ข้อกังวลดังกล่าวสามารถพิสูจน์ได้จากการประมาณการค่าใช้จ่ายของสวัสดิการสังคมที่คนไทยต้องการ บทความนี้ นำเสนอผลการสำรวจและการทำประชามติความต้องการสวัสดิการสังคมของคนไทย เพื่อมาประมาณการว่า สวัสดิการที่คนไทยต้องการนั้นจะต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายให้แก่ภาครัฐมากน้อยเพียงใด

ปัจจัยที่สำคัญของการให้สวัสดิการสังคมแก่คนไทยนั้น คือ การวางระบบสวัสดิการสังคมที่มีความเป็นธรรมให้แก่ประชาชนทุกกลุ่มอย่างทัดเทียมกัน ในบทความนี้ กล่าวถึงแนวคิดการวางระบบสวัสดิการสังคมโดยยึดหลักความเสมอภาคและความยั่งยืน และมีข้อเสนอสำหรับการมีระบบสวัสดิการสังคมสำหรับคนไทย

๑.๒ การสร้างระบบสวัสดิการพื้นฐาน: การจัดหาและจัดสรรทรัพยากรทางการเงินเพื่อรองรับระบบสวัสดิการ
ทุกระบบสวัสดิการล้วนมีค่าใช้จ่าย ดังนั้นความสามารถของประเทศในการให้สวัสดิการพื้นฐานกับประชาชนจึงมีความสัมพันธ์กับความสามารถในการหารายได้ของ ระบบเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่งเกี่ยวโยงไปถึงการสร้างอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่เพียงพอ แต่ต้องไม่เป็นการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ไปทำลายสวัสดิการ เช่น สร้างผลเสียต่อสุขภาพ เป็นต้น นอกจากนั้นการแบ่งสรรความรับผิดชอบด้านค่าใช้จ่ายตามกลุ่มรายได้ก็สามารถมีส่วนช่วยสร้างสวัสดิการพื้นฐานได้เร็วขึ้น และถือ เป็นกระบวนการเพิ่มความเท่าเทียมกันของการกระจายรายได้ด้วย

วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ทฤษฎีการพัฒนาการเมือง

แนวความคิดทางการเมืองที่ใช้อ้างกันมากเพื่อการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางการเมืองในประเทศด้อยพัฒนา คือ แนวความคิดเรื่องการพัฒนาการเมือง (Political Development) หรือนักวิชาการบางท่านก็ใช้คำว่า การทำให้ทันสมัยทางการเมือง (Political Modernization) บางท่านก็ใช้ปนเปกันทั้งสองคำ มูลเหตุสำคัญที่ได้มีการใช้ศัพท์ดังกล่าววิเคราะห์และอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองนั้น ก็เนื่องจากว่าหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศต่าง ๆ ซึ่งเคยเป็นประเทศในอาณานิคมของมหาอำนาจตะวันตกได้รับเอกราช ประเทศเกิดใหม่เหล่านี้ก็ประสบปัญหาทางการเมืองต่าง ๆ มากมาย เกิดจากการรบราฆ่าฟันเพื่อแย่งอำนาจกันระหว่างเผ่าพันธุ์หรือกลุ่มการเมืองต่าง ๆ การล้มลุกคลุกคลานของระบบรัฐสภาในระบบประชาธิปไตย พร้อมกับการเข้ายึดอำนาจของทหารในรูปของการปฏิวัติรัฐประหาร

ปรากฏการณ์ทางการเมืองดังกล่าวนั้น ย่อมมีการวิเคราะห์หาสาเหตุและนักวิชาการแขนงต่าง ๆ ก็ใช้วิชาที่ตนถนัดเป็นตัวแปรสำคัญในการเสาะหาสาเหตุ นักเศรษฐศาสตร์ก็มองการไร้เสถียรภาพต่าง ๆ ในประเทศเหล่านี้ด้วยการเน้นที่ตัวแปรทางเศรษฐกิจว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเกิดจากการด้อยพัฒนาทางเศรษฐกิจ ปัญหาความยากจนและการขาดเทคโนโลยีในการผลิต ทำให้สังคมประสบปัญหาต่าง ๆ ยากที่จะเกิดเสถียรภาพทางการเมืองขึ้นได้ ความเชื่อดังกล่าวนี้ยังครอบคลุมไปถึงสาเหตุของสงครามโลกครั้งที่สองด้วยว่าเกิดจากปัญหาหลัก คือ ปัญหาเศรษฐกิจ

วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

จดหมายเปิดผนึก : โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม

เรียน เพื่อน นปช.ที่เคารพรักทุกท่าน

บางท่านอาจจะสงสัยว่าเหตุใด ในสัปดาห์นี้ สมาชิกประชาธิปัตย์ถึงได้ออกมาโจมตีข้อความในสมุดปกขาว สี่เดือนหลังจากที่สมุกปกขาวกว่า 50,000 สำเนาถูกเผยแพร่ ดูราวกับว่า ดร.บุรณัชย์ สมุทรักษ์และสมาชิกพรรคคนอื่นออกมากล่าวหาว่าสมุดปกขาวมีข้อความที่ละเมิดกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพทุกวัน ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาที่ไม่มีมูลและจนตรอก

เหตุใดพรรคประชาธิปัตย์ถึงเลือกที่จะโมโหโทโสกับข้อความในสมุดปกขาวที่ถูกเผยแพร่เมื่อสี่เดือนในเวลานี้? สัปดาห์ที่แล้ว สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ได้เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการบริหารของสหพันธรัฐพรรคการเมืองเสรีนิยมที่ประเทศแอฟริกาใต้ ซึ่งในการประชุมดังกล่าว มีการพิจารณาถึงเรื่องการระงับสมาชิกภาพชั่วคราวหรือขับไล่พรรคประชาธิปัตย์ออกจากสหพันธรัฐ สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์เดินทางไปยังแอฟริกาใต้พร้อมด้วยกระเป๋าเดินทางที่เต็มไปด้วยคำอธิบายที่ซ้ำซาก เข้าข้างตนเอง และไม่มีมูลความจริง ซึ่งเป็นข้อมูลเดียวที่พรรคใช้อธิบายให้คนในประเทศไทยฟังเมื่อ 6เดือนที่ผ่านมา โดยปกติแล้ว มาตรฐานทางด้านสิทธิมนุษยชนของสมาชิกสหพันธรัฐพรรคการเมืองเสรีนิยมนั้นไม่ใช่มาตรฐานสิทธิมนุษยชน “แบบไทยๆ” ดังนั้นจึงมีความเป็นได้ว่า พรรคประชาธิปัตย์อาจจะไม่ได้รับการต้อนรับขับสู้อย่างที่ได้คาดหวังเอาไว้ในแอฟริกาใต้ และการตอบโต้เรื่องสมุดปกขาวหลังจากเลยมาสี่เดือนแล้ว อาจเป็นเพราะพรรคประชาธิปัตย์ถูกสมาชิกสหพันธรัฐพรรคการเมืองเสรีนิยมประณามเรื่องการทำลายระบอบประชาธิปัตย์ในประเทศไทยลงอย่างไม่เหลือชิ้นดี

วัฒนธรรมประชาชนนิยม

"ความรู้แจ้งเห็นจริงเป็นสิ่งไม่ตาย"
โดย อริสมันต์ พงศ์เรืองรอง

ก่อนอื่นต้องแสดงความยินดีกับ ออง ซาน ซู จี ที่ได้รับการปล่อยตัวจากรัฐบาลพม่า ถึงแม้ว่าจะช้าแต่ก็ไม่สาย ถือว่าเป็นนิมิตรหมายที่ดีสำหรับประชาธิปไตยในภูมิภาคนี้ คงจะมีโอกาสได้มาถึงบ้านเรา หวังว่าจะเป็นอย่างนั้น ขอเรียกร้องสุดท้ายขอคนเสื้อแดงผู้อาภัพ มีเพียงขอให้ปล่อยตัวนักโทษการเมืองแกนนำคนสำคัญทุกคนรวมทั้งประชาชนที่ถูกคุมขัง และขอให้ยุติการไล่ล่าแกนนำทุกคน เพราะคนเหล่านั้นเป็นผู้บริสุทธิ์ รัฐบาลไม่มีสิทธิ์ที่จะปฏิบัติกับประชาชนผู้รักความยุติธรรม รักประชาธิปไตยอย่างนี้ได้ ให้ตรองดูว่าข้อเรียกร้องที่ผ่านมามีอะไรบ้างที่รัฐบาลยอมให้กับคนเสื้อแดง เราไม่เคยได้อะไรเลยนอกจากเสียกับเสีย จากวันนั้นถึงวันนี้

๑. การเรียกร้องต่อต้านการรัฐประหารเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ โดย กลุ่มนายทหารรวมตัวกันเรียกว่า คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ การต่อต้านทำกันอย่างออกหน้าออกตายังไม่มีคำสั่งปราบปรามประชาชนแม้แต่คนเดียว นอกจากการจับกุมแกนนำที่ไปหน้าบ้านอำมาตย์เปรมเท่านั้น เราแพ้ครั้งที่หนึ่ง

วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ปัญหาการเมืองไทย

การเมืองเป็นเรื่องเกี่ยวกับรูปของรัฐและการจัดระเบียบความสัมพันธ์ภายในรัฐระหว่างผู้ปกครองและผู้ถูกปกครอง โดยเมื่อสังคมมนุษย์ยังมีความจำเป็นที่จะต้องมีรัฐบาล คนเราจึงต้องแบ่งออกเป็นสองพวกใหญ่ๆ คือ ผู้ที่ทำหน้าที่บังคับกับผู้ถูกบังคับเสมอ

กลุ่มปัญหาที่เกิดทางการเมือง

กลุ่มแรก การเมืองเป็นเรื่องของอำนาจ โดยเป็นการต่อสู่กันเพื่อใหได้มาซึ่งอำนาจและอิทธิพลในการบริหารกิจการบ้านเมือง

กลุ่มที่สอง การเมืองเป็นเรื่องของการจัดสรรทรัพยากรของรัฐหรือสิ่งที่มีคุณค่าทางสังคม

กลุ่มที่สาม การเมืองเป็นเรื่องของความขัดแย้ง ทั้งนี้เนื่องจากทรัพยากรของชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด ขณะที่ผู้คนซึ่งต้องการใช้ทรัพยากรนั้นมีอยู่มากและความต้องการใช้ไม่มีขีดจำกัด การเมืองจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการที่คนในสังคมไม่อาจตกลงกันได้หรือเกิดความขัดแย้งขึ้น

วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กบฏ - ปฏิวัติ - รัฐประหาร ในสังคมการเมืองไทย

ในสังคมการเมืองไทยสมัยใหม่ของไทย ผ่านความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงระบบ โครงสร้าง การเข้าถึงอำนาจ หลายครั้ง หลายรูปแบบ ที่มีสำเร็จและล้มเหลวคละเคล้ากันไป สำหรับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างฉับพลัน โดยวิธีนอกระบบกฎเกณฑ์ทางการเมืองที่สังคมในช่วงเวลานั้นๆ ไม่ยอมรับ เกี่ยวพันโดยตรงกับผลลัพธ์ของปฏิบัติการ ถ้าสำเร็จ คณะผู้ก่อการก็สามารถบัญญัติคำหรือภาษาสวยงามลงไปอ้างอิงการกระทำของกลุ่มตนเองได้ ไม่ว่าจะเป็น คณะปฏิวัติ คณะปฏิรูป เป็นต้น แต่หากล้มเหลวมีเพียงโทษสถานเดียวคือการเป็นศัตรูของสังคมในฐานะ “กบฏ”

กบฏ ร.ศ. 130

กบฏ ร.ศ. 130 เกิดขึ้นก่อนการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 นานถึง 24 ปี โดยเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อปี พ.ศ. 2455 (ร.ศ. 130) เมื่อนายทหารและปัญญาชนกลุ่มหนึ่ง วางแผนปฏิบัติการโดยหมายให้พระมหากษัตริย์ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญให้ และเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตย แต่แผนการแตกเสียก่อน จึงมีการจับกุมผู้คิดก่อการหลายคนไว้ได้ 91 คน คณะตุลาการศาลทหารมีการพิจารณาตัดสินลงโทษให้จำคุกและประหารชีวิต โดยให้ประหารชีวิตหัวหน้าผู้ก่อการจำนวน 3 คน คือ ร.อ.เหล็ง ศรีจันทร์ ร.ท.จรูญ ณ บางช้าง และ ร.ต.เจือ ศิลาอาสน์ ลงโทษจำคุกตลอดชีวิต 20 คน จำคุกยี่สิบปี 32 คน จำคุกสิบห้าปี 6 คน จำคุกสิบสองปี 30 คน

วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

รัฐประหารกำมะลอ

โดย เพ็ญ ภัคตะ ,ที่มา : ประชาไท
เราถูกหลอกชัดชัดรัฐประหาร
อ้างว่าไม่ต้องการ “แดงพาลเหลือง”
ค.ม.ช.ใส่ไคล้ให้ขุ่นเคือง
เขากุเรื่องเคลื่อนกำลังรถถังมา

น่าฉงนคนไฉนให้รอยยิ้ม
เสียบบุปผาพักตร์พริ้มบนธงผ้า
ขอถ่ายรูปคู่ทหารเป็นขวัญตา
โอ!สิบเก้ากันยามายาการ

แถมขอบคุณบิ๊กบังกุมบังเหียน
ท่านช่วยเปลี่ยนฝันร้ายกลายเป็นหวาน
ระงับเลือดหลั่งนองสองฝั่งธาร
เป็นบุญคุณคุ้มกบาลอยู่นานปี

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประชาชนกับบทบาททางการเมือง

อริสโตเติล กล่าวว่า การเมือง คือ ความผูกพันระหว่างประชาชนกับรัฐ จากคำกล่าวนี้ทำให้เกิดการยอมรับกันโดยทั่วไปว่า ประชาชนกับการเมืองจะแยกกันไม่ออก จะมีความผูกพันและจะมีบทบาทต่อกันตลอดไป การที่ประชาชนเข้ามาเกี่ยวข้องสัมพันธ์และแสดงบทบาทอย่างใดอย่างหนึ่ง ถือว่าเป็นการแสดงบทบาททางการเมืองของประชาชนหรือเป็นการเข้าร่วมทางการเมือง (Political participation) นั่นเอง

ซึ่งแมคคอสกี้ (Meclosky) ได้อธิบายความหมายของการเข้าร่วมทางการเมืองไว้ว่า " การที่บุคคลมีความสำนึกในทางการเมืองการปกครองได้เข้าร่วมทางการเมืองเป็นกิจกรรมต่าง ๆ ที่กระทำโดยความสมัครใจซึ่งสมาชิกทั้งที่อยู่ในสังคมได้มีส่วนร่วมกันในอันที่จะเลือกผู้นำของตน และกำหนดนโยบายของรัฐ การกระทำนั้นอาจจะทำโดยตรงหรืออ้อมก็ได้" สำหรับบุคคลที่ได้ชื่อว่า เป็นผู้เข้าร่วมทางการเมืองนั้น จะเกี่ยวข้องหรือเข้าร่วมกับกิจกรรมต่าง ๆ ทางการเมือง

เหล่านี้ (อาจจะอย่างเดียวหรือหลายอย่างพร้อม ๆ กันก็ได้) คือ การใช้สิทธิในการเลือกตั้ง การแสวงหาความรู้ทางการเมือง การอภิปรายหรือการพูดคุยเกี่ยวกับการเมือง การเข้าร่วมในการชุมนุมทางการเมือง การแสดงมติมหาชนอื่น ๆ การเป็นสมาชิกพรรคการเมือง การก่อตั้งพรรคการเมือง การลงรับสมัครเลือกตั้ง เป็นต้น แต่การที่ประชาชนจะมีส่วนร่วมทางการเมืองมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ลัทธิการเมืองเอื้ออำนายให้ ประชาชนมีความสำนึกทางการเมืองวิถีทางทางการเมือง เป็นต้น

วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

อนิจจาปุถุชนทุรนรั้น

น่าจะเกิน 20 ปี นะ เคยอ่านกลอนนี้ โดนใจ.ใช่เลย จำไม่ได้ว่าท่านผู้ใดเป็นผู้เขียน พยายามฟื้นความจำเอามาปะติด ปะต่อ ขออนุญาต นำมาเพื่อเป็นประโยชน์กับผู้คนที่กำลังมองหาสัจธรรมของชีวิต

ผ่านลมร้อนลมหนาวหลายคราวครั้ง.....ชีวิตแห่งหวังยังโหยหา
เคลือบรอยยิ้มกลบทางรางน้ำตา...........ปกปิดความปวดปร่าไว้มิดชิด
ทุกด้านที่พบเห็นเป็นเช่นนี้..............วันหนึ่งร้ายวันหนึ่งดีมีถูกผิด
ในความงดงามมีหนามพิษ..............ในความสวยมีจริต มีเล่ห์กล
ในอารมณ์ยินดีมีแอบแฝง..............ในความแจ้งมีมุมอับอาจสับสน
ทว่าใครลุ่มหลงหลงไม่คงทน............ก็ตกตนสมเพชเวทนา
ล้วนสวมตัวหัวโขนแสดงบท............เป็นไปตามกำหนดแห่งตันหา
มีความใคร่ความอยากมากมารยา..........อนิจจาปุถุชนทุรนรั้น
ธรรมเนียมปีใหม่ให้อวยพร..........ต่างก็ป้อนความหวานหว่านความฝัน
ส่งความสุขสดใสให้แก่กัน..............ซึ่งแท้จริงนั้นคืออะไร ?
บ้างเพราะรักเพราะศรัทธาจากใจจริง........บ้างกลอกกลิ้งเสแสร้งตามวิสัย
ใครเล่าจะมองเห็นเป็นเช่นใด............นอกจากตนรู้ใจของตนดี
ไม่มีพรใดๆ ให้ใครอื่น.................ความสดชื่นไม่ได้เกิดจากพรที่
หยิบยื่นส่งให้กันในวันนี้ ...............เพียงเพื่อทอดไมตรีชั่วครั้งคราว
แต่อยากบอกเพื่อนรักให้พักผ่อน..........ดับความเร่าความร้อนทุกย่างก้าว
ชำระใจหมดจดจากขื่นคาว.............ระงับความแตกร้าวทุกลีลา
แล้วส่งความจริงใจให้แก่กัน.............มิใช่มุ่งฟาดฟันด้วยริษยา
ทั้งผู้น้อยผู้ใหญ่ให้ราคา...............เพราะต่างมีคุณค่าเสมอคน
อาจแตกต่างทางฐานะทางหน้าที่.........แต่ถ้าไร้อวดดีมีเหตุผล
สังคมย่อมมิยับมิอับจน................แหละย่อมผ่านมืดมน อนธการ

วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ระบบประชาธิปไตย (Democracy System)

คำว่าประชาธิปไตย มาจากภาษาอังกฤษว่า Democracy ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษากรีก 2 คำ คือคำว่า Demos แปลว่าประชาชน และ Kratein แปลว่าปกครอง เมื่อรวมกันจึงแปลว่า การปกครองโดยประชาชน

การปกครองแบบประชาธิปไตย วิวัฒนาการมาจากการปกครองแบบประชาธิปไตยในนครรัฐเอเธนส์ของประเทศกรีกโบราณ ซึ่งเป็นประชาธิปไตยโดยตรง คือ ประชาชนทั้งหมดของนครรัฐเป็นผู้ใช้อำนาจในการปกครองโดยตรง ต่อมาเมื่อการปกครองแบบนี้ได้สลายไปจากเอเธนส์ ก็ได้มาเจริญเติบโตในอังกฤษ ซึ่งต่อมาประเทศอังกฤษก็ได้ชื่อว่าเป็นแม่บทของการปกครองแบบประชาธิปไตย

ระบบการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้น คือ การปกครองที่ให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนมากที่สุด นั้นหมายถึงการปกครองที่อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน แต่ในทางปฏิบัติประชาชนจะใช้วิธีการปกครองโดยเลือกตัวแทนเข้าไปบริหารประเทศแทนตนในสภา เพราะประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย

วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

คิดเห็น.......เป็นความ

ลองสังเกตุตัวเองดูซิว่า.......ทุกเช้าเวลาที่เดินไปไหนต่อไหนมีใครพูดทักทายเราบ้างหรือยัง "ช่วงนี้ผอมลงนะ"
"เช้านี้ทานข้าวกับอะไร" "ช่วงนี้ผอมลงหรือเปล่า"

หรือช่วงบ่ายมีคนเดินมาทัก "เที่ยงนี้จะไปทานข้าวที่ไหน " "กาแฟสักแก้วเป็นไง"

ช่วงหัวค่ำ "จะกลับบ้านแล้วเหรอ กลับด้วยกันไหม"

ลองนับดูสิว่า ในแต่ละวันมีคนเข้ามาทักทายเรากี่คน / กี่ครั้ง

เป็นคำทักทายถามสารทุกข์สุกดิบตามแบบฉบับชาวฝรั่ง

สวัสดีครับ /ค่ะ วันนี้สบายดีไหม ? นี่เป็นคำทักทายตามแบบฉบับวัฒนธรรมไทย
พูดกันมาแต่อ้อนแต่ออก ประโยคนี้ใครพูดไม่เป็นก็คงจะแปลกพิลึก

ความเป็นธรรมทางสังคม กับความเป็นธรรมทางกฎหมาย

การเมืองภาคประชาชน ความเป็นธรรมทางสังคม กับ ความเป็นธรรมทางกฎหมาย

" ตราบใดที่ความเป็นธรรมยังไม่เกิด ตราบนั้นความขัดแย้งก็ยังไม่ยุติ กระบวนการยุติธรรมจึงต้องพิจารณากันเสียใหม่ว่าคือ กระบวนการสร้างความเป็นธรรมเพื่อนำไปยุติปัญหาข้อพิพาทต่างๆ มิใช้ข้อพิพาทหรือความขัดแย้งต่างๆจะต้องยุติเพราะศาลยุติธรรมที่มีเพียงสามศาล เหมือนที่ใครๆและกระบวนการยุติธรรมชอบอ้างเท่านั้น "

" ที่ไหนมีการกดขี่ ที่นั้นย่อมมีการต่อสู้ ที่ไหนไม่มีความรู้ ที่นั้นต้องได้รับการศึกษา ที่ไหนยังไม่มีการพัฒนา ที่นั้นต้องมีการเรียกร้อง ที่ไหนไม่มีความถูกต้อง ที่นั้นต้องเรียกร้องความเป็นธรรม"

อุดมการณ์ของสังคมที่เกี่ยวข้องกับ"ความเป็นธรรม"มีหลายหลากกระแสความคิด และภายใต้อุดมการณ์ดังกล่าวทำให้เกิด"เครื่องมือทางสังคม"ในรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อจะนำสังคมไปสู่อุดมการณ์นั้นๆ ซึ่งก็ผลัดกันมีอิทธิพล และมีบทบาทเหนือสังคมในแต่ละห้วงเวลาของพัฒนาการของสังคมที่แตกต่างในแต่ละยุคสมัยไม่เหมือนกัน เกณฑ์หรือมาตราฐานความเป็นธรรมที่เกิดขึ้นภายใต้เครื่องมือต่างๆที่มีอยู่ในสังคม จะทำอย่างไรที่จะให้ไปในทางเดียวกัน ในเวลานี้ มาตราฐานความเป็นธรรมตามกฎหมาย นอกจากจะไปไม่ได้กับมาตรฐานอื่นที่สังคมยึดถือแล้ว ในหลายๆกรณีกลับขัดแย้ง และในหลายๆกรณีก็ทำให้ผิดไปจากที่สังคมคาดหวัง

วันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กลอนไว้อาลัย "ท่านนายกฯ สมัครฯ" โดย จักรภพ เพ็ญแข

กลอนไว้อาลัย "ท่านนายกฯ สมัครฯ" โดย จักรภพ เพ็ญแข
« เมื่อ: 12 พฤศจิกายน เวลา 08:51:50 PM »
________________________________________
เรียบเรียงโดย Nangfa

“สมัคร สุนทรเวช”
โดย จักรภพ เพ็ญแข

ณ แผ่นดินถิ่นนี้มีผู้ใหญ่
ผู้เกรียงไกรใจถึงประหนึ่งสิงห์
ตอบสังคมสมศักดิ์รักความจริง
ไม่แอบอิงมายาเป็นอาภรณ์

มากศัตรูมากมิตรชีวิตชัด
รักษาชีพด้วยสัตย์เป็นอนุสรณ์
ผ่านถนนจนคุ้มทั้งลุ่มดอน
ครบวงจรอย่างผู้ใหญ่หัวใจจริง

“สมัคร สุนทรเวช” ท่านจากลับ
ย่อมมิใช่มืดดับทุกสรรพสิ่ง
ทุกร่องรอยตัวตนของคนจริง
ทุกครั้งนิ่งเงียบสงบพบปัญญา

กรณีศึกษา "การเมืองภาคประชาชน" ตอน ๒

วิถีทางการเมืองไทยในระยะนี้และระยะต่อๆ ไปในอนาคต” (ชาวไทย, 5 มิถุนายน 2517) นอกจากนี้ในสภานิติบัญญัติแห่งชาติยังมีความพยายามจัดตั้งกลุ่มเสรีธรรม และอ้างว่า ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เป็นแกนนำโดยเชิญข้าราชการผู้มีชื่อเสียงจากกระทรวง ทบวงกรมต่างๆ รวมทั้งนิสิตนักศึกษาเข้าร่วมประชุมเพื่อจัดตั้งกลุ่มเสรีธรรมซึ่งจะมี ดร.ป๋วยเป็นประธาน (โพธิ์ แซมลำเจียก, 2517, น.278) แต่ ดร.ป๋วยปฏิเสธข่าวการรับตำแหน่งทางการเมืองมาโดยตลอด

กลุ่มนอกสภานิติบัญญัติที่มีความสำคัญอีกกลุ่มคือ กลุ่มประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (ปช.ปช.) แกนนำสำคัญคือนายธีรยุทธ บุญมี นายชัยวัฒน์ สุรวิชัย กลุ่ม ปช.ปช.ถือว่า เป็นกลุ่มที่ใกล้ชิดและสามารถ “เข้าถึงตัว” นายกรัฐมนตรีสัญญา ธรรมศักดิ์ได้ ทั้งยังสามารถส่งผ่านความเห็นที่มีต่อการบริหารงานของรัฐบาล รวมไปถึงการเปลี่ยนตัว รัฐมนตรีบางคนในชุดรัฐบาลสัญญา 2 (ประชาชาติ, 1:28, 30 พฤษภาคม 2517)

การเมืองภาคประชาชนจะเข้มแข็งได้อย่างไร ?

การเมืองภาคประชาชนจะเข้มแข็งได้ก็ต่อเมื่อต่อสู้หรือกระทำภารกิจที่ท้าทาย ข้อเสนอแนะภารกิจที่ท้าทายต่อการเคลื่อนไหวของการเมืองภาคประชาชน ๘ ประการดังต่อไปนี้

๑.ขจัดคอร์รัปชั่น
คอร์รัปชั่นจะกัดกินสังคมไทยไปอีกนาน เหมือนมะเร็งร้ายที่นำความตายมาให้สังคมไทย อาจไม่ฟื้นตัวอีกนานหลังทักษิณไปแล้ว ที่ฟิลิปปินส์ มาร์กอสจากไปแล้ว ๒๐ ปี ก็ยังไม่ฟื้น ฉะนั้น การเมืองภาคพลเมืองจะต้องรณรงค์ขจัดคอร์รัปชั่นอย่างเป็นระบบ

คนเก่งๆ ในการสืบสวนสอบสวนคอร์รัปชั่นควรจะมารวมตัวกันเป็น ปปช.ภาคประชาชน การสืบสวนสอบสวนโดยนักวิจัยและสื่อมวลชนจะต้องเข้มแข็ง ต้องมีทุนสนับสนุนกระบวนการขจัดคอร์รัปชั่น

๒.ปฏิรูปการเมืองเพื่อขจัดธนกิจการเมือง และสรรค์สร้างประชาธิปไตยที่แท้จริง

สังคมไทยได้บทเรียนอย่างเจ็บปวดว่าเมื่อทุนขนาดใหญ่เข้ามายึดอำนาจทางการเมือง ทำให้สังคมไทยเสียดุลอำนาจอย่างใหญ่หลวงและนำไปสู่ความไม่ถูกต้องต่างๆ รวมทั้งสร้างความแตกแยกที่คนไทยเกือบจะฆ่ากันเอง ฉะนั้นต้องหาทางขจัดธนกิจการเมืองให้ได้ และสรรค์สร้างประชาธิปไตยที่แท้ให้เกิดขึ้นให้จงได้ ต้องคำนึงถึงว่าประชาธิปไตยไม่ได้มีแต่การเลือกตั้งเท่านั้น และการเมืองไม่ได้มีแต่การเมืองของนักการเมืองเท่านั้น แต่มีการเมืองของพลเมืองด้วย

การเมืองภาคประชาชนคืออะไร ?

การเมืองของพลเมือง(Citizen Politics) หรือการเมืองภาคประชาชน คืออะไร

การเมืองของพลเมือง หมายถึง การเมืองที่ประชาชนในทุกส่วนภาคสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับท้องถิ่น ระดับชาติ ระดับนานาชาติ

เป็นการเมืองที่ประชาชนสามารถเข้าไปมีบทบาทและเข้าใจถึงสิทธิในการแสดงออกซึ่งความต้องการของตนเพื่อนำไปสู่การผลักดันให้รัฐออกกฎหมายหรือกำหนดนโยบายต่างๆที่สอดคล้องกับความต้องการของตนได้
การเมืองภาคประชาชน จึงถือเอาขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองในรูปแบบต่างที่ปรากฏในสังคมรัฐ เช่น การชุมนุม เดินขบวน เรียกร้อง เจรจาต่อรอง การพยายามเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจร่วมกับรัฐในเรื่องต่างๆ ฯลฯเป็นต้น
การเมืองแบบนี้ ประชาชนจะเป็นตัวแทนของตนเอง เป็นผู้กำหนดความต้องการของตนเองออกมาเป็นประเด็นในสังคมเพื่อนำไปสู่การเคลื่อนไหวต่อไป

กรณีศึกษา "การเมืองภาคประชาชน" ตอน ๑

กรณีศึกษา การเมืองภาคประชาชน
จากการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2517*

รัฐธรรมนูญของประชาชนกับความเป็นประชาธิปไตยในการร่างรัฐธรรมนูญและ
รัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย

ตามแนวคิดรัฐธรรมนูญนิยม (constitutionalism) เชื่อว่าการมีรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์ อักษร จะเป็นหลักการสำคัญและเป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ปกครองประเทศ แนวคิดรัฐธรรมนูญนิยม ได้พัฒนามาเป็นลำดับและมีการสร้างสถาบันการเมืองที่เป็นอิสระ หรือกึ่งอิสระตามกฎหมาย ประกอบรัฐธรรมนูญในอันที่จะเป็นกลไกกำกับ, ตรวจสอบการทำงานตลอดจนแบบแผนการ ใช้อำนาจของนักการเมืองและผู้บริหารระดับสูง แต่ถึงแม้ว่าจะมีรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษรก็ ไม่ใช่หลักประกันต่อสิ่งที่เรียกว่าความเป็นประชาธิปไตย หากยังจำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ประกอบตัวบทของรัฐธรรมนูญเพื่อสร้างสิ่งที่เรียกว่าความเป็นประชาธิปไตย (อมร จันทรสมบูรณ์, มปป. และโกสินทร์ วงศ์สุรวัฒน์, 2516)

วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ระบบลูกขุนไม่สามารถใช้ได้ในประเทศไทย?

ชื่อบทความเดิม: ศาลยุติธรรม: ยุติอย่างเป็นธรรม หรือ ยุติความเป็นธรรม
ตอนที่ 4 ระบบลูกขุนไม่สามารถนำมาใช้ในประเทศไทย?
ประเวศ ประภานุกูล

ระบบลูกขุนคืออะไร
ระบบกฎหมายที่ใช้ในโลกนี้ทั้งหมดแบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ คอมมอนลอว์ หรือกฎหมายจารีตประเพณี หรือกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร กับ กฎหมายลายลักษณ์อักษร

ประเทศที่ใช้กฎหมายจารีตที่สำคัญคือ อังกฤษ อเมริกา ปัจจุบันนี้ได้ยินว่า ญี่ปุ่น ซึ่งใช้กฎหมายลายลักษณ์อักษรเช่นเดียวกับบ้านเราก็ใช้ระบบลูกขุนด้วยแล้ว

แนวคิดทฤษฎีการพัฒนาทางการเมือง

การพัฒนามีการเกี่ยวพันกันทุกด้าน การพัฒนาเหมือนกันอย่างมากกับความเจริญทันสมัย (Modernization) และการพัฒนาเกิดขึ้นในกรอบทางประวัติศาสตร์ ซึ่งอิทธิพลจากข้างนอกสังคมมีต่อกระบวนการเปลี่ยนแปลงของสังคมเช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงในแง่ต่าง ๆ ในสังคม กล่าวคือ ทางเศรษฐกิจการเมืองและสภาพสังคมอย่างผูกพันซึ่งกันและกัน

จะเห็นได้ว่า คำจำกัดความดังกล่าวมานั้นส่วนใหญ่เป็นการมองการพัฒนาการเมือง โดยจะเน้นในแง่ที่นักวิชาการแต่ละสำนักคิดว่า เป็นตัวแปรสำคัญและบางคำจำกัดความจำเป็นจะต้องกล่าวถึงแนวความคิดดังกล่าว เช่น คำจำกัดความข้อ 1 แทบจะไม่ได้ให้คำจำกัดความเลย บอกเพียงว่าการพัฒนาการเมืองคือรากฐานของการพัฒนาเศรษฐกิจหรือบางจำกัดความก็มีอคติแฝงไว้อย่างเห็นได้ชัด เช่น คำจำกัดความข้อ 7 ที่ว่า การพัฒนาการเมืองคือการสร้างประชาธิปไตย

วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

"ช้างป่า"..... กรมทางประจำป่า

"ช้าง"จัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่อาศัยอยู่บนบก
งวงยาว ๆ ของช้างนั้นใช้ทำหน้าที่เป็นจมูก และมือจับอาหาร และใช้ในการต่อสู้

หนังของช้างนั้นหนา มีขนแข็ง ๆ ขึ้นแซมห่างๆ กัน
ช้างตัวผู้ ที่มีงายาว เราเรียกว่า "ช้างพลาย"

ช้างตัวผู้ ที่มีงาสั้น ไม่ยื่นเลยจากปากออกมา เรียกว่า "ช้างสีดอ"

ช้างตัวเมีย ที่ไม่มีงาเลยนั้น เรียกว่า "ช้างพัง"

ปรกติแล้ว ช้างตัวผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าช้างตัวเมีย ช้างป่าจะอาศัยอยู่รวมกันเป็นโขลงตั้งแต่ 5 ถึง 20 เชือกโดยในโขลงจะมีช้างตัวผู้ทำหน้าที่ผสมพันธุ์เพียงตัวเดียวก็นับว่ารับภาระที่หนักไม่เบาที่เดียว
ช้างตัวอื่น ๆ ก็จะเป็นตัวเมีย และลูกช้าง

ปรีดี พนมยงค์ กับขบวนการเสรีไทย

ปรีดี พนมยงค์กับขบวนการเสรีไทยที่สะท้อนแนวคิดทางการเมืองไทย

ขบวนการเสรีไทยเป็นขบวนการที่นำโดยท่าน ปรีดี พนมยงค์ ผู้นำขบวนการ หลังจากที่ญี่ปุ่นบุกไทย วันที่ 8 ธันวาคม 2484 ซึ่ง จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกฯของประเทศไทยขณะนั้นได้สั่งให้ยุติการต่อต้านญี่ปุ่นและได้ทำสัญญาเป็นพันธมิตรร่วมรบกับญี่ปุ่นซึ่งในที่สุดญี่ปุ่นนั้นเป็นฝ่ายที่แพ้สงครามซึ่งมีผลให้ประเทศไทยนั้นแพ้สงครามด้วย แต่ประเทศไทยไม่ต้องยอมจำนนต่อใด ซึ่งไม่ได้เป็นผลมาจากกลอุบายทางกฎหมายหรือทางการทูตแต่อย่างใดแต่เป็นเพราะวุฒิความสามารถ และคุณสมบัติอันเป็นอัจฉริยะของท่าน ปรีดี พนมยงค์ที่สามารถหล่อหลอมน้ำใจผู้รักชาติทุกหมู่ทุกกลุ่ม ทุกเหล่าไม่ว่านอกประเทศ ในประเทศรวมตัวกันขึ้นจนกระทั่งเป็นขบวนการเสรีไทย จนเป็นที่ยอมรับของคนไทยและเป็นที่ยอมรับในต่างประเทศอย่างเป็นอเนกฉันท์ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้มี "วันสันติภาพ"และประกาศสันติภาพ ในวันที่ 16 สิงหาคม 2488 ซึ่งเสรีไทยได้ได้กำหนดภารกิจการปฏิบัติไว้ 2 ประการ คือ ประการแรกต่อสู้กับญี่ปุ่นผู้รุกราน 2 ปฏิบัติการเพื่อให้ฝ่ายสัมพันธมิตรรับรองว่าเจตนารมณ์แท้จริงของราษฎรไทยไม่ใช่ ศัตรูกัน และเพิ่มขึ้นอีกคือปฏิบัติการเพื่อรับรองว่าประเทศไทยจะไม่เป็นผู้แพ้สงครามและผ่อนหนักให้เป็นเบา

วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

พิมพ์เขียว หยุดน้ำท่วม กทม.-ภาคกลาง

องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) เสนอ 3 ทางเลือกแก้ปัญหาน้ำท่วม กทม. ได้แก่ 1.สร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น จ.แพร่ 2.สร้างแก้มลิงบริเวณท้องทุ่งภาคกลางตอนบน และ 3.โครงการคลองผันน้ำเจ้าพระยา บางไทร-อ่าวไทย


กรมชลประทานได้รับการสนับสนุนจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) ศึกษาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร (กทม.) ผลการศึกษาของไจก้าสรุปชัดว่า กทม.เป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงภัยสูงกับปัญหาน้ำท่วม เพราะปัจจุบันมีเพียงแม่น้ำเจ้าพระยาเส้นทางเดียวที่จะระบายน้ำจากทางเหนือไหลลงสู่ทะเลและจะต้องผ่านกทม. ซึ่งเป็นที่ลุ่มประกอบกับแม่น้ำเจ้าพระยาในเขต กทม.สามารถรองรับน้ำได้ไม่เกิน 3,000 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ต่อวินาที หากมากกว่านี้มีโอกาสถูกน้ำท่วมสูงมาก

เปิด ๓ ผลงานสร้างสรรค์ท้องถิ่นจากงานวิจัยแห่งชาติ

เวทีนำเสนอผลงานวิจัยแห่งชาติปี ๒๕๕๓ มีไอเดียสร้างสรรค์นวัตกรรมพัฒนาประเทศมากมาย รวมทั้งผลงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น โต๊ะข่าวเพื่อชุมชนพาไปพบกับงานวิจัยความมั่นคงทางอาหารและเศรษฐกิจบนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โมเดลและการณรงค์สร้างทัศนคติใหม่ให้กลายเป็นวัฒนธรรมงดเหล้า รวมทั้งรูปธรรมแจ๋วๆ ระบบนาประหยัดน้ำและปุ๋ย








ข่าวประกอบเสียง โดย สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย

ยุทธศาสตร์ความดีและวิธีเลือกผู้นำตำบลหนองสาหร่าย

ยุทธศาสตร์ความดีและวิธีเลือกผู้นำของคนตำบลหนองสาหร่าย : ค่านิยมผิดๆ เป็นบ่อเกิดของปัญหาตั้งแต่ระดับชุมชน สังคม ประเทศชาติ และเป็นเรื่องน่าห่วง โดยเฉพาะกับเยาวชนที่กำลังเดินตามรอยผู้ใหญ่ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ จึงจัดเวทีระดมสมอง “การเสริมสร้างค่านิยมที่พึงประสงค์ : ทางออกวิกฤติสังคมไทย” ไปดูการปฏิรูปค่านิยมผิดๆจนประสบความสำเร็จในการพัฒนาท้องถิ่นของคนตำบลหนองสาหร่าย กาญจนบุรี








ข่าวประกอบเสียง โดย สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย

กำเนิดอุดมการณ์เพื่อสังคมของปรีดี พนมยงค์

เค้าโครงเศรษฐกิจ กับ แนวคิดประชาธิปไตยของท่านปรีดี พนมยงค์

หากพิจารณาบริบทความคิดความเชื่อในสังคมไทย ซึ่งนับถือศาสนาพุทธก็จะเห็นความเชื่อมต่อกันได้ไม่อยากเช่นกัน ในเรื่องของความเมตตากรุณาระหว่างของเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ความคิดในการอนุเคราะห์กันนั้นเป็นเพียงความคิดตะวันตกฝ่ายเดียว หากประเด็นหน้าสนใจอยู่ที่ว่า การปฏิวัติทางสังคมและการเมืองในยุคสมัยใหม่ในตะวันตกได้ประสานและนำเอาความคิดทางจริยธรรมและศาสนาเข้ามาประกอบเป็นส่วนหนึ่งของความคิดทางการเมืองและสังคม รวมทั้งทางกฎหมายด้วยอย่างมีพลังและความเป็นจริง

หากมองในแนวคิดหรืออุดมการณ์ของปรีดี พนมยงค์ตั้งแต่เกิดจนวาระสุดท้ายมีอยู่มากมาย แต่ลักษณะเด่นของความคิดทางการเมืองในช่วงแรกของปรีดี พนมยงค์ได้แก่ การค้นพบบุคคลหรือปัจเจกชนในสังคม อันนำไปสู่การเสนอมโนทัศน์ใหม่ทางการเมืองต่อมา ด้วยการให้สำคัญกับราษฎรในฐานะที่เป็นมนุษย์ เทียบเคียงเสมือนกับชนชั้นสูงในเรื่องกฎหมายแห่งสิทธิและเสรีภาพในระบบประชาธิปไตย

วันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แนวคิดการเมืองไทยของท่านปรีดี พนมยงค์

พื้นฐานความคิดของ ปรีดี พนมยงค์บนบริบทสังคมไทย

ความคิดทางการเมืองนั้นมีความสำคัญมากที่จะใช้ในการศึกษาและอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองได้อย่างถูกหลักวิธีการ ซึ่งวิธีการศึกษาความคิดทางการเมืองมีอยู่ 2 วิธีการ คือ

1 วิธีการศึกษาประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมือง
2 วิธีศึกษาสำนักปรัชญาทางการเมือง

วิธีการศึกษาประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมือง( History of political) เป็นการศึกษาความคิดการเมืองที่ให้ความสำคัญกับ " context" หรือ "บริบท"ซึ่งวิธีการนี้มีความเชื่อพื้นฐานว่าความคิดทางการเมืองที่เชื่อว่าความคิดทางการเมืองเกิดขึ้นลอยๆไม่ได้ แต่จะเกิดขึ้นจากบริบทสิ่งแวดล้อมที่เรานำมาศึกษาเป็นแนวทางที่ศึกษาความคิดของนักคิดโดยมีความเชื่อหรือปรัชญาขั้นพื้นฐานบางอย่างในสังคม

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ปลดแอกสังคมเหลื่อมล้ำด้วย “ประชาธิปไตยชุมชน”

การเมืองในระบบหรือประชาธิปไตยระดับชาติ อาจเป็นเรื่องไกลตัวนามธรรมสำหรับชาวบ้าน แต่การปลดหนี้ 20 ล้านที่บ้านสามขา, สภาผู้นำตำบลนาผือ, โรงเรียนสิทธิชุมชนคูหาใต้ และ การทวงคืนป่าพรุแม่รำพึงของชาวบางสะพาน และอีกหลายต้นแบบที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ กำลังบอกว่า “ประชาธิปไตยชุมชน” คือเรื่องจริงที่สัมผัสได้

หนี้ 20 ล้าน แก้ได้ที่ "บ้านสามขา" ด้วยประชาคมและแผนชุมชน
ชาวบ้านสามขา ต.หัวเสือ อ.แม่ทะ จ.ลำปาง 656 คน ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร ทำนาทำไร่ เลี้ยงสัตว์ แกะสลัก หาของป่า บางส่วนรับราชการ ค้าขาย รับจ้างทั่วไป ปัญหาร่วมคือพื้นที่ชุมชนกว่า 12,000 ไร่เป็นต้นน้ำ แต่กลับประสบปัญหาภัยแล้งจนทำเกษตรไม่ได้ กระทั่งปี 2546 ชาวบ้านไปดูงานอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าต้นน้ำแล้วกลับมาทำฝายชะลอความชุ่มชื้นจนแก้ภัยแล้งได้ และยังนำไปสู่การตั้งกติกาห้ามตัดต้นไม้ในพื้นที่ที่กำหนดเพื่ออนุรักษ์ป่าต้นน้ำ

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

อุปสรรคของประชาธิปไตย

ภูมิปัญญาของเทวดาผู้ทรงคุณธรรม คือ อุปสรรคของประชาธิปไตย
นักปรัชญาชายขอบ
ที่มา : ประชาไท

อาจารย์ท่านหนึ่งที่ไปสอนในหลักสูตรนานาชาติเล่าว่า เด็กอเมริกันที่มาเรียนในเมืองไทย มีเรื่องที่ต้องให้คิดถึงบ้านอยู่เรื่องหนึ่ง คือคิดถึงบรรยากาศของ “การสนทนาเชิงลึก” ซึ่งเขาบอกว่าในเมืองไทยเขาไม่เคยได้สัมผัสบรรยากาศที่ว่านี้เลย

ผมฟังแล้วก็เห็นด้วย อย่าว่าแต่เด็กอเมริกันจะเหงาเลย อาจารย์ไทยที่คิดอะไรเชิงลึก หรือคิดเรื่องซีเรียสหน่อยก็เหงา เพราะหาเพื่อนคุยด้วยได้ยาก ผมเห็นอาจารย์มหาวิทยาลัยเขาคุยกันสนุกปากเรื่องฟีล์ม-แอนนี่ คลิปฉาวของดารา แต่ไม่เห็นคุยเรื่องคลิปฉาวของศาลรัฐธรรมนูญ แถมในห้องทำงานของบางภาควิชายังห้ามคุยเรื่องการเมืองเสียอีก

วันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

พุทธทำนาย 16 ประการ

พุทธทำนายในที่นี้ จะกล่าวถึงเรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงทำนายพระสุบิน (ความฝัน) ของพระเจ้าปเสนทิโกศล จำนวน 16 ข้อ ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงทำนายว่า เหตุการณ์เหล่านั้นจะเกิดขึ้น ในยุคสมัยที่ศาสนาได้เสื่อมลง ซึ่งหลายอย่างได้เกิดขึ้นแล้วในปัจจุบัน เนื้อความดังกล่าวปรากฏใน อรรถกถาพระไตรปิฎก มหาสุบินชาดก เอกนิบาตชาดก ขุททกนิกาย มีเนื้อความดังต่อไปนี้

วันหนึ่งพระเจ้าปเสนทิโกศลมหาราช เสด็จเข้าสู่นิทรารมย์ในราตรีกาล ในปัจฉิมยามทอดพระเนตรเห็น พระสุบินนิมิตรอันใหญ่หลวง 16 ประการ ทรงตระหนกพระทัยตื่นพระบรรทม ทรงพระดำริว่า เพราะเราเห็นสุบินนิมิตรเหล่านี้ จักมีอะไรแก่เราบ้างหนอ เป็นผู้อันความสะดุ้งต่อมรณภัย คุกคามแล้ว ทรงประทับเหนือพระแท่นที่ไสยาสน์นั้นแล จนล่วงราตรีกาล

วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กษัตริย์ตามทัศนะของพุทธศาสนา

โดย สุรพศ ทวีศักดิ์
ที่มา : ประชาไท

1. พุทธศาสนามอง “กษัตริย์” ในมิติของชนชั้นทางสังคมอย่างไร?

เท่าที่ผมอ่านพบในพระไตรปิฎก (ที่ไม่พบไม่รู้) ความคิดของพุทธศาสนาเกี่ยวกับกษัตริย์ที่ชัดเจนเลย ปรากฏในอัคคัญสูตร (พระไตรปิฎกเล่มที่ 11) เนื้อหาสำคัญเป็นเรื่องที่พระพุทธองค์โต้แย้งความคิดแบบ “เทวสิทธิ์” ของพราหมณ์ที่สอนว่า พระพรหมสร้างโลก สร้างมนุษย์ แล้วก็แบ่งสถานะของมนุษย์ออกเป็น 4 ชนชั้น คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร

กษัตริย์เป็นชนชั้นปกครอง พราหมณ์เป็นชนชั้นปัญญาชน ผู้นำทางศาสนา แพศย์คือสามัญชนทั่วไป ศูทรคือพวกทาส กรรมกร สถานะทางชนชั้นดังกล่าวนี้นอกจากถูกกำหนดตายตัวโดยชาติกำเนิด (คือต้องได้มาโดยการเกิดเท่านั้น) แล้ว ยังมีความหมายที่สำคัญคือเป็นสถานะทางชนชั้นที่กำหนดความสูง-ต่ำทางศีลธรรมของมนุษย์ด้วย ซึ่งหมายความว่า คนมีความเป็นคนไม่เท่ากันเพราะมีชาติกำเนิดที่ต่างกัน

ปาฐกถานำ ในการสัมมนา "80 ปี จิตร ภูมิศักดิ์"

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ปาฐกถานำ ในการสัมมนา "80 ปี จิตร ภูมิศักดิ์"
จัดโดย ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับมูลนิธิจิตร ภูมิศักดิ์และกองทุนจิตร ภูมิศักดิ์
เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2553 ณ ห้อง 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
ที่มา : ประชาไท

80 ปี “จิตร ภูมิศักดิ์”
พ.ศ.2473-2553 ค.ศ.1930-2010

ท่านสุภาพบุรุษ สุภาพสตรี และสุภาพชน

ในฐานะประธานมูลนิธิจิตร ภูมิศักดิ์ และกองทุนจิตร ภูมิศักดิ์ ในฐานะของ “ผู้คนใฝ่ฝันอยากเรียน” ขอกล่าวสวัสดี และด้วยความเชื่อมั่นว่าคนที่ “เขาตายในชายป่า เลือดแดงทาดินอิสาน” นั้น มีจิตใจที่กว้างขวางใหญ่โตครอบคลุมไปทั่วทุกสัดส่วนของ “สยามประเทศไทย” แล้ว ก็ยังก้าวข้ามพรมแดนไปไกลพอที่จะกล่าวทักทาย “ผู้คนร่วมภูมิภาคอุษาคเนย์” ด้วยภาษาอื่นว่า “สบายดี-จุมเรียบซัว-ซินจ่าว-มิงกลาบา-และสลามัตเซียง” ฯลฯ

แผนปรองดอง ที่ยังไม่ตกผลึกความคิด

มุมมอง คกก.ปรองดองของนายจาตุรนต์
นายจาตุรนต์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ชี้แผนปรองดองของรัฐฯ ไม่ใช่แผนปรองดองอย่างแท้จริง และอาจทำให้ประเทศประสบกับวิกฤตมากกว่าเดิม

นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรี เห็นว่าแผนปรองดองของรัฐบาลที่มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาหลายคณะ ไม่ใช่แผนปรองดองอย่างแท้จริง นอกจากจะไม่ช่วยแก้ปัญหาแล้ว ยังทำให้ประเทศประสบกับวิกฤตมากกว่าเดิม ถือว่าแผนปรองดองไม่มีอยู่จริง เป็นการซ้ำเติมปัญหา และยังแสดงให้เห็นถึงความเป็นสองมาตรฐานของรัฐบาล โดยเฉพาะเรื่องของการเยียวยา ที่ช่วยเหลือแต่ในภาคธุรกิจ แต่กับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตมากถึง 88 คนรัฐบาลกลับละเลย ในขณะเดียวกันยังมีการกวาดล้างที่ทำให้พยานเกิดความหวาดกลัว และไม่กล้าออกมาเป็นพยานว่ารัฐบาลสั่งฆ่าประชาชน ดังนั้นสิ่งที่รัฐบาลชุดนี้ดำเนินการอยู่จึงเป็นสิ่งที่ร้ายแรงกว่าสมัย รัฐบาลเผด็จการด้วยซ้ำ