เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม เลขทะเบียน ๘๖๙ สภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า

อุดมการณ์สถานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตย

เรา...มั่นใจว่า
ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา
ประเทศไทย เป็นของเราทุกคน
เรา ต้องร่วมกันสร้างชาติไทย ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์  พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

พิมพ์เขียว หยุดน้ำท่วม กทม.-ภาคกลาง

องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) เสนอ 3 ทางเลือกแก้ปัญหาน้ำท่วม กทม. ได้แก่ 1.สร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น จ.แพร่ 2.สร้างแก้มลิงบริเวณท้องทุ่งภาคกลางตอนบน และ 3.โครงการคลองผันน้ำเจ้าพระยา บางไทร-อ่าวไทย


กรมชลประทานได้รับการสนับสนุนจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) ศึกษาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร (กทม.) ผลการศึกษาของไจก้าสรุปชัดว่า กทม.เป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงภัยสูงกับปัญหาน้ำท่วม เพราะปัจจุบันมีเพียงแม่น้ำเจ้าพระยาเส้นทางเดียวที่จะระบายน้ำจากทางเหนือไหลลงสู่ทะเลและจะต้องผ่านกทม. ซึ่งเป็นที่ลุ่มประกอบกับแม่น้ำเจ้าพระยาในเขต กทม.สามารถรองรับน้ำได้ไม่เกิน 3,000 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ต่อวินาที หากมากกว่านี้มีโอกาสถูกน้ำท่วมสูงมาก

ไจก้าได้เสนอทางเลือกที่รัฐบาลไทยควรดำเนินการ 3 แนวทางหลัก คือ
แนวทางที่ 1 สร้างอ่างเก็บน้ำแก่งเสือเต้นที่ จ.แพร่ และอ่างเก็บน้ำแควน้อยที่ จ.พิษณุโลก อ่างเก็บน้ำแก่งเสือเต้นจะช่วยลดปัญหาน้ำท่วมทั้งจังหวัดสุโขทัยและ กทม. ส่วนอ่างแควน้อยจะช่วยเก็บกักน้ำป้องกันปัญหาน้ำท่วมตั้งแต่ จ.พิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ รวมทั้ง กทม.
แนวทางที่ 2 สร้างแก้มลิงบริเวณท้องทุ่งภาคกลางตอนบนได้แก่บริเวณ จ.พิจิตร นครสวรรค์ และท้องทุ่งมหาราช ผักไห่ นครหลวง อยุธยา อ่างทอง โดยให้แก้มลิงทั้งสองแห่งนี้เก็บกักน้ำในปีที่ปริมาณน้ำฝนมากผิดปกติ เกษตรกรในสองท้องทุ่งแห่งนี้ต้องงดทำการเกษตร โดยรัฐบาลต้องจัดสรรงบประมาณมาชดเชยรายได้ให้ชาวบ้านแทน เพราะแก้มลิงทั้งสองแห่งจะช่วยกักเก็บน้ำบรรเทาการไหลของน้ำไม่ให้ไหลเข้าสู่ กทม. อย่างไรก็ดี โครงการแก้มลิงทั้งสองแห่งจะเก็บกักน้ำในปีที่ปริมาณน้ำมากเท่านั้น ในปีที่ปริมาณน้ำมีน้อยชาวบ้านยังสามารถทำการเกษตรได้ตามปกติ
อย่างไรก็ดี แนวทางทั้งสองดังกล่าวจะสามารถช่วยได้เพียงการบรรเทาเท่านั้นรวมถึงโครงการย่อยอื่นที่ไจก้าเสนอมานั้น ขณะที่ทาง กทม.ได้ดำเนินการแล้ว ได้แก่ การยกคันกั้นน้ำระยะทาง 80 กิโลเมตร ริมเจ้าพระยา และโครงการขุดคอคอดกระเพาะหมูที่ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ โดยกรมชลประทานจะดำเนินการในปีหน้า การขุดคลองลัดเสร็จจะช่วยให้น้ำไหลลงสู่ทะเลได้รวดเร็วขึ้น เพราะน้ำขึ้นเพียงแค่เซนติเมตรเดียวใน กทม.ก็มีผลกระทบในวงกว้างมาก
แนวทางที่ 3 เป็นแนวทางที่สำคัญที่สุดซึ่งไจก้าเสนอ หากรัฐบาลไทยตัดสินใจทำจะเป็นการแก้ปัญหาน้ำท่วม กทม.ได้อย่างถาวร อีกทั้งยังช่วยให้พื้นที่ลุ่มภาคกลางไม่ประสบปัญหาน้ำท่วมหนักอีกต่อไป นั่นคือ “โครงการคลองผันน้ำเจ้าพระยา บางไทร-อ่าวไทย” หรือโครงการ “เจ้าพระยา 2”

โครงการนี้เป็นโครงการขนาดใหญ่ ใช้ระยะเวลาดำเนินการประมาณ 25 ปี ด้วยเม็ดเงินงบประมาณ ราว 1 แสนบาท นับเป็นโครงการที่ใช้งบฯ ระยะเวลาดำเนินการ รวมถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับคุ้มค่าพอๆ กับโครงการสนามบินสุวรรณภูมิแต่เป็นประโยชน์คนละด้านกันท่านั้น
คลองผันน้ำเจ้าพระยาบางไทร-อ่าวไทยตามที่ไจก้าเสนอ จะเป็นอีกช่องทางสำหรับการผันน้ำจากเจ้าพระยาลงสู่อ่าวไทย คาดว่าชาวบ้านจะได้รับผลกระทบจากโครงการนี้น้อยที่สุด เพราะลักษณะของโครงการจะเป็นการขุดคลองผันน้ำจาก อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ผ่านทุ่งวังน้อยขนานทางมอเตอร์เวย์ ไปจนถึงเขตมีนบุรี กทม. หลังจากนั้นหักเข้าคลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต ไปออกทะเลที่คลองด่าน จ.สมุทรปราการ รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 100 กิโลเมตร ส่วนความกว้างไจก้าเสนอว่า ให้กันพื้นที่ไว้ประมาณ 500 เมตร ขุดคลองกว้าง 200 เมตร ลึก 10 เมตร สองข้างทางสามารถสร้างมอเตอร์เวย์ได้อีก คลองแห่งนี้จะสามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้งได้ประมาณ 100 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งสามารถนำไปใช้ผลิตน้ำประปา ใช้ประโยชน์ทางการเกษตร ตลอดเส้นทางของคลองสามารถพัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยว เกิดเมืองบริวารริมแม่น้ำสายใหม่ ไจก้าเสนอว่าโครงการนี้จะเกิดประโชน์และคุ้มค่าในด้านการลงทุนเป็นอย่างมาก

อย่างไรก็ดี แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม กทม. ทั้งหมดนี้ทางไจก้าไม่ได้สรุปชัดว่ารัฐบาลจะต้องทำโครงการนั้นโครงการนี้ เพียงแต่เสนอโดยชี้ให้เห็นว่า แต่ละแนวทางสามารถป้องกันได้มากน้อยแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับทางรัฐบาลว่าจะตัดสินใจเลือกแนวทางใดที่จะเป็นประโยชน์และคุ้มค่าที่สุด แต่หากยังไม่ทำอะไรเลย ภาคกลางจะยังคงเป็นพื้นที่รองรับน้ำก่อนถึง กทม. ขณะเดียวกัน คน กทม. ต้องอยู่บนความเสี่ยงกับภัยน้ำท่วมตลอดไป

ข้อเสนอของไจก้านั้น ขณะนี้รัฐบาลรับทราบแล้ว และได้รวบรวมไว้ในโครงการ “ธ ประสงค์ใด” ว่าด้วยกรอบและประสานการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา หากรัฐบาลให้ความสำคัญในโครงการใด คาดว่าจะมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปศึกษารายละเอียดเพื่อดำเนินการต่อไป

ทั้งนี้ ในเอกสารการจัดทำกรอบและประสานการบริหารจัดการและพัฒนาทรัพยากรในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ได้แบ่งแผนงานมาตรการและโครงการที่จะดำเนินการดังนี้
แผนระยะสั้น ภายใน 5 ปี : ในกิจกรรมเพื่อการบรรเทาอุทกภัยนอกเหนือจากแผนงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบในงบฯปกติแล้ว มาตรการด้านสิ่งก่อสร้างเสนอกำหนดให้จัดทำระบบพื้นที่ปิดล้อมชุมชนในเมืองหลักและ กทม. วงเงินลงทุน 13,000 ล้านบาท
แผนระยะกลาง ภายใน 15 ปี : มาตรการป้องกันโดยใช้สิ่งก่อสร้าง ประกอบด้วย 1.แผนงานพัฒนาระบบแก้มลิงในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง 2.ปรับปรุงระบบระบายน้ำ งบฯ 7,020 ล้านบาท 3.จัดสร้างช่องทางผันน้ำหลากบางไทร-อ่าวไทย งบฯ 33,684 ล้านบาท 4.สร้างอ่างเก็บน้ำคลองโพธิ์,แม่วงศ์ และแควน้อย ควบคู่กับปรับปรุงสภาพลำน้ำระยะที่ 1 งบฯ 1,425 ล้านบาท


แผนงานระยะยาว ภายใน 25 ปี : มาตรการด้านสิ่งก่อสร้าง ได้แก่ 1.กำหนดแผนก่อสร้างช่องทางผันน้ำหลากบางไทร-อ่าวไทย (โครงการต่อเนื่อง) 2.พัฒนาระบบแก้มลิงทุกลุ่มน้ำเหนือนครสวรรค์ 3.ปรับปรุงระบบระบายน้ำ และ 4.ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำแก่งเสือเต้น กิ่วคอหมา และแม่ขาน

จาก หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา