เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม เลขทะเบียน ๘๖๙ สภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า

อุดมการณ์สถานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตย

เรา...มั่นใจว่า
ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา
ประเทศไทย เป็นของเราทุกคน
เรา ต้องร่วมกันสร้างชาติไทย ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์  พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

อภิสิทธิ์

‘อภิสิทธิ์’ ลั่นค้าน ‘พ.ร.บ.ความมั่นคง’ (เหตุเกิดเมื่อ 2 ปีที่แล้ว)
ทัศนะของ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” (เมื่อ 2 ปีที่แล้ว) คัดค้านการผ่านร่าง พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร โดยเห็นว่าหากนิยาม “ภัยคุกคามความมั่นคง” อย่างไม่แยกแยะ อาจมีการใช้กฎหมายในทางที่ผิด และย้ำว่าการชุมนุมทางการเมืองเป็นสิทธิที่ทุกคนพึงมีตราบเท่าที่ไม่ใช้ความ รุนแรง การควบคุมต้องต่างจากการก่อการร้าย และย้ำว่าหากกฎหมายผ่าน สนช. ต้องแก้ไข
“ปัจจุบัน การกระทำที่ถูกมองว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงมีความหลากหลายมาก แต่กฎหมายทุกฉบับจะพยายามนิยามให้ครอบคลุมกว้างๆโดยไม่จำแนกแยกแยะ และมักจะใช้เครื่องมือตามกฎหมายโดยไม่มีการแยกแยะเช่นเดียวกัน หากเป็นเช่นนี้ต่อไป ก็จะเกิดความเสี่ยงที่ “ภัยคุกคาม” บางชนิดจะป้องกันปราบปรามไม่ได้ ขณะที่อาจมีการใช้อำนาจตามกฎหมายในทางที่ผิด”

“ขณะ ที่ปัญหาการชุมนุมทางการเมืองนั้น เป็นสิทธิที่ทุกคนพึงมีตราบเท่าที่ไม่มีการจงใจที่จะละเมิดกฎหมายในลักษณะ ของการใช้ความรุนแรง หรือก่อให้เกิดความวุ่นวาย การควบคุมสถานการณ์ในลักษณะนี้ ต้องการการปฏิบัติแตกต่างจากการก่อการร้ายอย่างชัดเจน”

“การตรากฎหมายครั้งนี้ ต้องตระหนักว่า กฎหมายที่ออกมาจะบังคับใช้ไปจนกว่าจะมีการแก้ไข หรือยกเลิกซึ่งคงเกิดขึ้นไม่ง่ายนัก
ผู้ใช้กฎหมายฉบับนี้ ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะผู้มีอำนาจในปัจจุบัน

ดัง นั้นเพื่อประโยชน์ในการรักษาความสงบเรียบร้อย ความมั่นคงอย่างแท้จริง การดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมายฉบับนี้ จึงควรกระทำด้วยความรอบคอบ และยึดถือหลักการที่ถูกต้อง สอดคล้องกับโลกปัจจุบัน”

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ,
ในบทความ “กฎหมายความมั่นคงกับสถานการณ์ปัจจุบัน”, 24 มิ.ย. 50


“ต้อง รอดูก่อนว่าร่าง พ.ร.บ.นี้จะผ่าน สนช.หรือไม่ หากผ่านมาแล้วไม่ได้มีการปรับแก้ในประเด็นที่หลายฝ่ายเป็นห่วง รวมถึงกระทบกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยก็จำเป็นต้องปรับแก้ ต่อไป”

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, 10 พ.ย. 50


“กฎหมาย ฉบับนี้ไม่ได้ห้ามการชุมนุม และกลุ่มผู้ชุมนุมหากจะเคลื่อนไหวในความสงบก็ควรให้ความร่วมมือ เนื่องจากกังวลว่าอาจมีมือที่สามเข้ามา ฉะนั้นสิ่งที่รัฐบาลทำไม่ได้เป็นเรื่องการต่อต้านการชุมนุมแต่อย่างใด แต่ต้องการให้การชุมนุมเป็นไปโดยเรียบร้อยและน่าจะเข้าใจกันได้”

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, 26 ส.ค. 52


เมื่อวันที่ 25 ส.ค. ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เห็นชอบการประกาศใช้ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร โดยให้มีการประกาศใช้ระหว่างวันที่ 29 ส.ค. - 1 ก.ย. เป็นเวลา 4 วัน ในบริเวณพื้นที่เขตดุสิต โดยให้ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง เป็นผู้บัญชาการสถานการณ์ [1]

ใครจะไปคิดบ้างว่า คนที่สั่งการให้ใช้ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงฯ ในวันนี้ คือคนที่เคยคัดค้านการมีกฎหมาย พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงฯ เมื่อ 2 ปีก่อน


พ.ศ. 2550
หากไม่แยกแยะ อาจมีการใช้อำนาจในทางที่ผิด

โดยเมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2550 ในช่วงรัฐบาล คมช. ที่มี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี และมีความพยายามผลักดันกฎหมายความมั่นคงของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในขณะนั้น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้เผยแพร่บทความ “กฎหมายความมั่นคงกับสถานการณ์ปัจจุบัน” ของเขาในเว็บไซต์ www.abhisit.org แสดงความห่วงใยกรณีที่จะมีการเสนอร่างกฎหมายความมั่นคง โดยเกรงว่าหากนิยาม “ภัยคุกคามความมั่นคง” โดยไม่แยกแยะ อาจมีการใช้อำนาจตามกฎหมายในทางที่ผิด รายละเอียดของบทความมีดังนี้
กฎหมายความมั่นคงกับสถานการณ์ปัจจุบัน
โดย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 24 มิถุนายน 2550
ที่มา: http://www.abhisit.org/visiondetail.php?cate_id=55

สัปดาห์ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงในราช อาณาจักร พ.ศ. …. ซึ่งเป็นกฎหมายที่เป็นเครื่องมือในการทำงานด้านความมั่นคง และเป็นการกำหนดโครงสร้างการทำงานของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ไปพร้อมๆ กัน โดยกฎหมายฉบับนี้จะมีการนำเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ต่อไป

ความจริง ความพยายามที่จะตรากฎหมายใหม่ทางด้านความมั่นคงมีมาโดยตลอด หลังจากที่ปัญหาการก่อการร้ายสากลได้ยกระดับความรุนแรงขึ้นหลังเหตุการณ์ 11 กันยายน 2544 และดูจะเป็นปัญหาที่หลายประเทศมีความตื่นตัวและข้อถกเถียงอย่างมาก

รัฐบาลที่แล้วก็เคยตราพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 มาแล้ว โดยให้เหตุผลว่า เป็นเครื่องมือที่จำเป็นในการคลี่คลายสถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้

หลังการรัฐประหาร ก็มีการนำกฎอัยการศึกมาประกาศใช้และยังคงใช้อยู่ในหลายพื้นที่

พร้อมๆ กับการเกิดแนวคิดที่จะใช้ กอ.รมน. เคลื่อนไหวงานด้านมวลชน ซึ่งแยกแยะได้ยากว่า เป็นงานความมั่นคง หรือเป็นงานการเมือง

แม้สภา นิติบัญญัติแห่งชาติจะเป็นสภาที่มาจากการแต่งตั้ง แต่ก็เชื่อว่า การพิจารณากฎหมายฉบับใหม่จะเป็นไปอย่างเข้มข้น และการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องนี้จะมีขึ้นอย่างกว้างขวาง ผมเห็นว่าเรื่องนี้มีความจำเป็นที่จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะนอกจากกฎหมายลักษณะนี้จะมีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างกว้าง ขวางแล้ว หากกำหนดเครื่องมือความมั่นคงที่ไม่รัดกุม สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ก็จะเป็นปัญหาและอุปสรรคในการดูแลรักษาความมั่นคงด้วย

ผมจึงอยากเห็นการดำเนินการในเรื่องนี้อย่างมีกรอบและหลักคิดที่ชัดเจนดังนี้

1. นิยาม “ภัยคุกคามความมั่นคง” ในลักษณะต่างๆให้ชัด ปัจจุบัน การกระทำที่ถูกมองว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงมีความหลากหลายมาก แต่กฎหมายทุกฉบับจะพยายามนิยามให้ครอบคลุมกว้างๆโดยไม่จำแนกแยกแยะ และมักจะใช้เครื่องมือตามกฎหมายโดยไม่มีการแยกแยะเช่นเดียวกัน หากเป็นเช่นนี้ต่อไป ก็จะเกิดความเสี่ยงที่ “ภัยคุกคาม” บางชนิดจะป้องกันปราบปรามไม่ได้ ขณะที่อาจมีการใช้อำนาจตามกฎหมายในทางที่ผิด

ยก ตัวอย่างเช่น การก่อการร้าย ซึ่งหมายถึง การมุ่งทำลายล้างชีวิตหรือทรัพย์สินต่างๆ ในปัจจุบันจะอาศัยเครื่องมือ อุปกรณ์ การติดต่อสื่อสารโทรคมนาคม ฯลฯ ซึ่งจำเป็นจะต้องมีการควบคุม หรือ จำกัดสิทธิในบางสถานการณ์ บางครั้งการจำกัดสิทธิอาจก่อให้เกิดความไม่สะดวกในการใช้ชีวิตของบุคคลทั่ว ไป แต่ก็จำเป็นจะต้องมีการทำความเข้าใจและขอความร่วมมือ

ขณะที่ ปัญหาการชุมนุมทางการเมืองนั้น เป็นสิทธิที่ทุกคนพึงมีตราบเท่าที่ไม่มีการจงใจที่จะละเมิดกฎหมายในลักษณะ ของการใช้ความรุนแรง หรือก่อให้เกิดความวุ่นวาย การควบคุมสถานการณ์ในลักษณะนี้ ต้องการการปฏิบัติแตกต่างจากการก่อการร้ายอย่างชัดเจน

อย่าลืม ว่าในโลกปัจจุบัน การป้องกันการก่อการร้าย เป็นเรื่องที่โลกประชาธิปไตยยอมรับได้ แต่การจำกัดสิทธิทางการเมือง นอกจากจะไม่เป็นที่ยอมรับแล้ว ยังเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ก่อให้เกิดความไม่มั่นคงอีกด้วย

กฎหมายใหม่จึงควรมีการแยกแยะกรณีต่างๆ ออกจากกันอย่างชัดเจน

2. ต้องมีความชัดเจนเรื่องผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพ เราอยู่ในช่วงที่กำลังจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญที่เปรียบเสมือนกฎหมายแม่บทรับรองสิทธิ เสรีภาพต่างๆเช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 บางมาตราอาจมีความเข้มข้นกว่ารัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 ด้วยซ้ำ นอกเหนือจากกฎอัยการศึก ซึ่งมักจะมีการเขียนรับรองไว้ กฎหมายอื่นๆ จะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้ และการจำกัดสิทธิตามรัฐธรรมนูญต้องไม่เป็นการจำกัดสิทธิขั้นพื้นฐานในสาระ สำคัญ โดยต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ข้อยกเว้นที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญเท่านั้น การตรากฎหมายฉบับใหม่จึงต้องกระทำด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง เพราะหากมีข้อความที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญก็จะบังคับใช้ไม่ได้ ทำให้เกิดปัญหาหลายประการตามมา

3. สะสางกฎหมายความมั่นคงให้เกิดเอกภาพ หากมีการใช้กฎหมายฉบับใหม่ควบคู่ไปกับกฎหมายอีก 2 ฉบับที่กล่าวมาแล้วข้างต้น (กฎอัยการศึก และพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548) จะทำให้เกิดความซ้ำซ้อนและสับสนในเรื่องการใช้อำนาจในทุกระดับ ตั้งแต่การประกาศใช้กฎหมาย การมีอำนาจ การมอบอำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกรณีของกฎหมายใหม่เป็น กฎหมายในลักษณะที่ให้มีอำนาจถาวรจะทำให้เกิดความขัดแย้งได้สูง

เมื่อจะ ตรากฎหมายทั้งที ควรจะจัดระบบกฎหมายความมั่นคงให้เป็นเอกภาพ มิใช่เพื่อประโยชน์ในความเข้าใจของเจ้าหน้าที่เท่านั้น แต่เพื่อให้ประชาชนซึ่งอาจถูกจำกัดสิทธิรับทราบและเข้าใจ

4. ต้องมีกลไกควบคุมหรือถ่วงดุลการใช้อำนาจ แม้ในบางสถานการณ์รัฐจะมีความจำเป็นที่จะต้องใช้อำนาจเด็ดขาด แต่ไม่ได้หมายความว่าจะมีการตรวจสอบถ่วงดุลไม่ได้ การบัญญัติให้เจ้าหน้าที่ไม่มีความรับผิดก็ดี การยกเว้นคำสั่งและการกระทำมิให้อยู่ภายใต้บังคับศาลปกครองก็ดี ทำให้โอกาสที่จะมีการใช้อำนาจในทางที่ผิดเกิดขึ้นได้มาก ควรยอมรับให้มีการตรวจสอบถ่วงดุลได้ โดยอาจให้การยกเว้นเป็นเพียงเฉพาะในช่วงเวลาที่จำเป็นในการปฏิบัติการ เป็นต้น นอกจากนี้การควบคุมตัวที่ไม่ถือว่าเป็นการจับกุม ต้องไม่เป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐาน เหมือนที่เกิดขึ้นในการใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และกลับเป็นการเพิ่มบุคคลที่มีทัศนคติที่เป็นลบต่อรัฐ

5. ใช้โอกาสนี้ปรับโครงสร้างหน่วยงานความมั่นคง การกำหนดโครงสร้างในกฎหมายใหม่ ยังมีความลักลั่นและความสับสนอยู่ เช่น การคาบเกี่ยวกันของสำนักนายกรัฐมนตรี กองทัพ ฝ่ายปกครอง ท้องถิ่น หากจะมีกฎหมายในเชิงโครงสร้างหน่วยงานความมั่นคง ก็ควรจะใช้โอกาสนี้ สะสาง และปฏิรูปไปในตัว

การตรากฎหมายครั้งนี้ ต้องตระหนักว่า กฎหมายที่ออกมาจะบังคับใช้ไปจนกว่าจะมีการแก้ไข หรือยกเลิกซึ่งคงเกิดขึ้นไม่ง่ายนัก

ผู้ใช้กฎหมายฉบับนี้ ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะผู้มีอำนาจในปัจจุบัน

ดัง นั้นเพื่อประโยชน์ในการรักษาความสงบเรียบร้อย ความมั่นคงอย่างแท้จริง การดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมายฉบับนี้ จึงควรกระทำด้วยความรอบคอบ และยึดถือหลักการที่ถูกต้อง สอดคล้องกับโลกปัจจุบัน


0 0 0

พร้อมปรับแก้

ต่อมา เมื่อ 10 พ.ย. 2550 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กล่าวถึงกรณีที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติผ่านพ.ร.บ.ความมั่นคงภายในวาระแรกไป แล้ว โดยอภิสิทธิ์เห็นว่าหาก พ.ร.บ.นี้ผ่านแล้วมีประเด็นกระทบกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยก็จำเป็นต้อง ปรับแก้

โดยเขากล่าวว่า จุดยืนประชาธิปัตย์ชัดเจนว่ากฎหมายใดก็ตามหากขัดหลักประชาธิปไตย ก็จำเป็นต้องปรับแก้ เพราะไม่เห็นด้วยในหลายประเด็น เช่น การที่เจ้าหน้าที่รัฐไม่ต้องรับผิดในการดำเนินการใดๆ รวมทั้งขอบเขตอำนาจหน้าที่ต่างๆ แต่บางเรื่องอาจจะพอเข้าใจถึงหลักการและเหตุผลได้ อาทิ การที่เกรงว่าหากมีการนำเรื่องไปร้องศาลปกครองแล้วศาลปกครองมีคำสั่งคุ้ม ครองชั่วคราว จะทำให้มีปัญหาในการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ เรื่องนี้อาจจะพอรับได้ แต่ต้องมีระยะเวลาที่ชัดเจน ไม่ได้หมายความว่ายกเว้นการตรวจสอบตลอดไป

"อย่างไรก็ตาม ต้องรอดูก่อนว่าร่าง พ.ร.บ.นี้จะผ่าน สนช.หรือไม่ หากผ่านมาแล้วไม่ได้มีการปรับแก้ในประเด็นที่หลายฝ่ายเป็นห่วง รวมถึงกระทบกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยก็จำเป็นต้องปรับแก้ ต่อไป" [3]


0 0 0

คำแนะนำของผมก็คือ สนช.ควรจะพักผ่อน

อีกไม่กี่วันก่อนการลงมติ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ โดย สนช. เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.50 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้รับเชิญไปพูดที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทยซึ่งจัดในช่วง ค่ำ

ในตอนหนึ่ง นายอภิสิทธิ์ ได้ตอบคำถามผู้สื่อข่าวจากหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่นเป็นภาษาอังกฤษเกี่ยวกับ บทบาทหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่กำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์มาก โดยเฉพาะที่จะมีการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ ว่า ตอนนี้ สนช.ควรจะพักผ่อนได้แล้ว

"คำแนะนำของผมก็คือ สนช.ควรจะพักผ่อน รอให้มีรัฐบาลจากการเลือกตั้ง"

นายอภิสิทธิ์ ยืนยันว่าหากกฎหมายความมั่นคงผ่านการพิจารณาของ สนช. และพรรคประชาธิปัตย์ได้จัดตั้งรัฐบาล พรรคของเขาจะไม่ยกเลิกกฎหมายดังกล่าว แต่จะแก้ไขในสาระสำคัญ 4 เรื่อง ได้แก่ 1.คำจำกัดความของคำว่า "ความมั่นคง" ที่ขณะนี้ดูเหมือนว่าครอบคลุมกว้างขวางเกินไป 2.ปรับแก้โครงสร้างองค์กรที่ รับผิดชอบความมั่นคง (กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน หรือ กอ.รมน.) โดยต้องทำให้สามารถตรวจสอบได้ 3.ศาลปกครองจะต้องมีอำนาจเหนือกฎหมายนี้ และสามารถดูแลการละเมิดสิทธิ์ผู้บริสุทธิ์ได้ 4.จะพยายามปรับให้กฎหมายฉบับ นี้ละเมิดสิทธิตามรัฐธรรมนูญน้อยที่สุด
โดยถัดมาหลังจากนั้น วันที่ 20 ธ.ค.50 เวลาประมาณ 20.00 น. ที่ประชุม สนช. ก็ลงมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ด้วยมติเห็นชอบ 105 เสียง ไม่เห็นชอบ 8 เสียง งดออกเสียง 2 เสียง โดยใช้เวลาในการอภิปรายประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง และไม่มีการแก้ไขสาระสำคัญ

พ.ศ. 2552
ไม่ได้ต่อต้านการชุมนุม แต่ต้องการให้เป็นไปโดยเรียบร้อย

ผ่านมา 1 วัน หลังที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบการประกาศใช้ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร โดยเมื่อวันที่ 26 ส.ค. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ชี้แจงสาเหตุ ที่ต้องประกาศใช้ พ.ร.บ.รักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 เขตดุสิต ระหว่างวันที่ 29 สิงหาคม-1 กันยายน โดยระบุว่าเพื่อให้การชุมนุมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

“สาเหตุ ที่ประกาศพื้นที่รักษาความมั่นคง ตาม พ.ร.บ.รักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 ในพื้นที่เขตดุสิต ในช่วงวันที่ 29 สิงหาคม-1 กันยายน เพื่อรับมือการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดงในวันที่ 30 สิงหาคม เพื่อต้องการให้การชุมนุมเกิดความเรียบร้อย ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้ห้าม การชุมนุม และกลุ่มผู้ชุมนุมหากจะเคลื่อนไหวในความสงบก็ควรให้ความร่วมมือ เนื่องจากกังวลว่าอาจมีมือที่สามเข้ามา ฉะนั้นสิ่งที่รัฐบาลทำไม่ได้เป็นเรื่องการต่อต้านการชุมนุมแต่อย่างใด แต่ต้องการให้การชุมนุมเป็นไปโดยเรียบร้อยและน่าจะเข้าใจกันได้
ต้องขอ ความกรุณาสื่อมวลชนเสนอข่าวสารให้ชัดเจนว่า รัฐบาลใช้กฎหมายฉบับนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุ แต่ไม่ได้บอกว่าเหตุจะเกิดจากใคร และคิดว่าหากทุกฝ่ายต้องการให้เกิดความสงบ ขอให้ใช้กฎหมายนี้เป็นเครื่องมือก็เท่านั้น กลุ่มผู้ชุมนุมก็ชุมนุมโดยสงบไป ก็ไม่มีอะไร อย่างไรก็ตาม ไม่ได้จับตากลุ่มเคลื่อนไหวใดเป็นพิเศษ แต่จับตาทุกกลุ่ม เพราะกังวลว่าเมื่อเกิดการชุมนุมใหญ่ ก็จะมีความละเอียดอ่อนทั้งหมด เพราะช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมาเกิดความเสียหายกับประเทศมาก และไม่มีใครต้องการให้เกิดขึ้นอีก

รัฐบาลมีหน้าที่ดูแลให้เกิดความสงบทั้งหมด และหากการชุมนุมอยู่ในความสงบเรียบร้อยก็ไม่มีปัญหา”

1 ความคิดเห็น:

  1. ประเทศไทย โชคดี มี รัฐบาลมาร์ค
    เก่ง...ใช้ปาก และชิวหา เป็นอาวุธ
    กล้า..ด้านได้ อายอดแน่ แย่ที่สุด
    กู้......เพื่อหยุด ความอ่อนแร็ง แข็งใจสู้

    โกง...ทันที ปลากระป๋อง นมเน่าเหม็น
    กลัว...กลายเป็น รัฐบาล ขิงอ่อนอยู่
    แก้.....ตัวรอด รัฐธรรมนูญ ลุ้นน่าดู
    กรรม..ของสู ผู้หลงเชียร์ ระเหียใจ

    เก็บ...ภาษี ถอนขนห่าน จนอานทั่ว
    การ...งานมั่ว เมาอำนาจ มิโปร่งใส
    ก่อ....กำเนิด เปิดศึกรอบ ประเทศไทย
    กฏ....หมายใช้ สองมาตรฐาน บริหารเยี่ยม

    นำประเทศ สู่สากล จนลือเรื่อง
    การชิงเมือง กลยุทธ สุดทานเทียม
    อำมาตยา พาสมหวัง ช่างจัดเตรียม
    จนล้นเปรี่ยม อำนาจชัด รัฐบาลเงา

    ตอบลบ

ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา