เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม เลขทะเบียน ๘๖๙ สภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า

อุดมการณ์สถานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตย

เรา...มั่นใจว่า
ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา
ประเทศไทย เป็นของเราทุกคน
เรา ต้องร่วมกันสร้างชาติไทย ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์  พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ปัญหาการเมืองไทย

การเมืองเป็นเรื่องเกี่ยวกับรูปของรัฐและการจัดระเบียบความสัมพันธ์ภายในรัฐระหว่างผู้ปกครองและผู้ถูกปกครอง โดยเมื่อสังคมมนุษย์ยังมีความจำเป็นที่จะต้องมีรัฐบาล คนเราจึงต้องแบ่งออกเป็นสองพวกใหญ่ๆ คือ ผู้ที่ทำหน้าที่บังคับกับผู้ถูกบังคับเสมอ

กลุ่มปัญหาที่เกิดทางการเมือง

กลุ่มแรก การเมืองเป็นเรื่องของอำนาจ โดยเป็นการต่อสู่กันเพื่อใหได้มาซึ่งอำนาจและอิทธิพลในการบริหารกิจการบ้านเมือง

กลุ่มที่สอง การเมืองเป็นเรื่องของการจัดสรรทรัพยากรของรัฐหรือสิ่งที่มีคุณค่าทางสังคม

กลุ่มที่สาม การเมืองเป็นเรื่องของความขัดแย้ง ทั้งนี้เนื่องจากทรัพยากรของชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด ขณะที่ผู้คนซึ่งต้องการใช้ทรัพยากรนั้นมีอยู่มากและความต้องการใช้ไม่มีขีดจำกัด การเมืองจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการที่คนในสังคมไม่อาจตกลงกันได้หรือเกิดความขัดแย้งขึ้น

กลุ่มที่สี่ มองการเมืองว่าเป็นเรื่องของการประนีประนอมผลประโยชน์ เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้เกิดความขัดแย้งจากการดำเนินงานทางการเมืองที่ไม่มีทางออก

กลุ่มที่ห้า การเมืองเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับรัฐและการบริหารประเทศในกิจกรรมหลัก 3 ด้านคือ งานที่เกี่ยวกับรัฐ การบริหารประเทศในส่วนที่เกี่ยวกับนโยบายและอำนาจการบริหารราชการแผนดินซึ่งเป็นการควบคุมให้มีการดำเนินงานตาม

กลุ่มที่หก การเมืองเป็นเรื่องของการกำหนดนโยบายของรัฐกล่าวคือ การเมืองคือกิจกรรมใดๆที่เกี่ยวกับการกำหนดนโยบาย หน่วยงานและเครื่องมือต่างๆที่ใช้ในการกำหนดนโยบาย

ตัวอย่างความขัดแย้งทางการเมืองไทยในปัจจุบัน “ สถานการณ์ชายแดนภาคใต้” สถานการณ์ปัจจุบัน
การสำรวจปัญหาจากประชาชนในพื้นที่พบว่าจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งประกอบด้วยจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส มีปัญหาที่สั่งสมกันมากมายหลายด้าน และมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างซับซ้อน บทความนี้ได้พยายามที่จะหาพยายามหลักฐานข้อมูลความรู้ที่น่าเชื่อถือจากเอกสาร ทัศนะ ความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิรวมทั้งข้อสรุปจากการประชุมสัมมนาเท่าที่ค้นคว้ามาได้ เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจเข้าถึงสาเหตุที่เป็นแก่นแท้ของปัญหา ดังนี้

วัฒนธรรมการใช้อำนาจและลัทธิการพัฒนา: ปัญหาเดิมที่ดำรงอยู่
การรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในกรณีความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาภาคใต้อย่างยั่งยืนและเป็นธรรม เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2547 ที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้มีข้อสรุปร่วมกันว่า เหตุการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ภาคใต้ เกิดจากปัญหาสำคัญ 3 ประการคือ
• ปัญหาวัฒนธรรมการใช้อำนาจกับดักประวัติศาสตร์
• ปัญหาในด้านลัทธิพัฒนา
• ปัญหาวัฒนธรรมการเรียนรู้
ชาติพันธ์ เอกลักษณ์และความเชื่อลัทธิทางศาสนาของคนกลุ่มใหม่ : พลวัตของปัญหาที่เปลี่ยนแปลงไปด้านชาติพันธ์ ด้านเอกลักษณ์ เรื่องชาติพันธ์เป็นปัญหาที่ปรากฏในรัฐไทยมาช้านาน รวมทั้งมีการกล่าวอ้างว่าปัญหานี้สามารถแก้ไข คลี่คลายได้ผ่านมาตรการ นโยบายรัฐด้านต่างๆ แต่กรณีย์กลุ่มชาติพันธ์ที่เป็นคนชายขอบที่มีความต่างทางด้างวิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม ภาษา การแต่งกาย แม้กระทั่งศาสนาและมีความพยายามที่จะรักษาอัตลักษณ์ของกลุ่มตนเองเอาไว้ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มชนเผ่าต่างๆในภาคเหนือของประเทศไทย กลุ่มชาวมลายูมุสลิมในภาคใต้ รัฐไทย ระบบความรู้ของสังคมไทย ยังมองว่าเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขมากกว่าการที่จะยอมรับว่าเป็นความต่างเป็นความหลากหลายที่มีคุณประโยชน์ต่อสังคมส่วนร่วมและไม่ได้เป็นปัญหาต่อเอกภาพหรือความมั่นคงของประเทศ
ข้อเสนอในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ไว้ 2 ประการคือ
1. ยึดรัฐธรรมนูญ ยอมรับความหลากหลาย
ข้อเสนอซึ่งเป็นผลการรับฟังความดิดเห็นจากประชาชนเพื่อแก้ไขปัญหาภาคใต้อย่างยั่งยืนและเป็นธรรม เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2547 ที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีดังนี้
• การปฏิบัติตามกฎหมายรัฐธรรมนูญอย่างจริงจัง
• ต้องเข้าใจและเคารพความหลากหลายของวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ภาคใต้• ปรับการบริหาร ของหน่วยงานรัฐให้ตรงกับสภาพวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน
• รัฐบาลและสังคมไทยต้องเข้าใจและให้ความสำคัญในเรื่องภาษามลายู วัฒนธรรมและการวิถีชีวิต ของคนมุสลิม เพราะถ้ารัฐบาลใช้นโยบายหรือบริหารประเทศที่ส่งผลกระทบกับการใช้ภาษา วัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนมุสลิม จะเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดเหตุการณ์รุนแรงในพื้นที่ภาคใต้ต่อไป รวมทั้งต้องเปิดโอกาส
• เปิดพื้นที่ให้คนในสังคมไทยเข้ามามีบทบาทในการลดการใช้อำนาจในทางมิชอบหรือป้องกันการเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงในสังคมไทย

2. ใช้แนวทางสันติประชาธรรม
ในสถานการณ์ของความขัดแย้งระหว่างสิ่งที่เรียกว่าเป็นกระแสความคิด ความต้องการที่สุดโต่งทั้งสองด้าน ทั้งความคิดสุดโต่งด้านความมั่นคงซึ่งเป็นวัฒนธรรมทางการเมือง การปกครองมานาน และแนวทางสุดโต่งที่ปะทุขึ้นมาเพื่อตอบโต้รัฐในอีกด้านหนึ่ง ทางออกของปัญหาคือ การสร้างทางเลือกให้กับประชาชนคนสามัญ โดยการทำความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิด ความต้องการ อุดมการณ์ ของประชาชนส่วนใหญ่ ซึ่งต้องการที่จะดำรงชีวิตร่วมกัน โดยปกติสุข มีการเคารพในสิทธิ เสรีภาพซึ่งกันและกัน ยอมรับในเอกลักษณ์กันและกัน โดยดำเนินการอย่างเป็นขั้น เป็นตอน เป็นกระบวนการในช่วง 3 ปีหรือ 4-5 ปีข้างหน้า แนวทางนี้ ถึงแม้ว่าจะไม่แก้ปัญหาเฉพาะหน้าโดยตรง แต่จะช่วยคลี่คลายปัญหา ช่วยคลี่คลายความหวาดระแวง และประการสำคัญ ช่วยคลี่คลายความมุ่งมาดปรารถนาของการใช้กำลัง เพราะการใช้ใช้กำลังไม่ว่าจากฝ่ายไหนก็ตาม ถ้าขาดเสียซึ่งฐานความเห็นชอบของประชาชนส่วนใหญ่แล้ว ไม่คิดว่าจะเป็นความยั่งยืน

1 ความคิดเห็น:

  1. รัฐธรรมนูญ ของพวกข้า ใครอย่าแตะ
    แม้ข้องแหวะ จะเห็นผล จนต้องหนาว
    มาตราเด่น สามร้อยเก้า คงถีงคราว
    นำมากล่าว แสดงผล ดลบันดาล

    การใดๆ รับรองไว้ ในรัฐธรรมนูญฯ
    สองห้าศูนย์ เห็นชอบด้วย รัฐประหาร
    ก่อนหรือหลัง ยังสามารถ ล้มรัฐบาล
    เผด็จการ อันถูกต้อง ตามรัฐธรรมนูญ

    ตอบลบ

ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา