ศราวุฒิ ประทุมราช
"พิเคราะห์แล้วเห็นว่า ตามพฤติการณ์แห่งคดีและลักษณะการกระทำนำมาซึ่งความเสื่อมเสีย สู่สถาบันกษัติริย์อันเป็นที่เทิดทูนและเคารพสักการะ ประกอบกับพนักงานสอบสวนได้คัดค้าน จึงเชื่อว่าหากอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ผู้ต้องหาจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรให้ปล่อยตัวชั่วคราว (กรณีนายโจ กอร์ดอน (Joe Gordon) หรือชื่อไทย เลอพงษ์ วิไชยคำมาตย์ ผู้ต้องหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพสัญชาติไทย-อเมริกัน)นี่คือตัวอย่างหนึ่งของเหตุผล โดยทั่วไปที่ศาลมักจะไม่ให้ประกันตัวผู้ต้องหา หรือจำเลยในคดีอาญา โดยเฉพาะในคดีที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของรัฐหรือคดีที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ทั้งนี้เป็นไปตามบทบัญญัติของประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108 ประกอบ มาตรา 108/1 ที่มีสาระสำคัญสรุปได้ว่า ในการวินิจฉัยคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราว ต้องพิจารณาประเด็นเหล่านี้ ประกอบด้วย ได้แก่
(1) ความหนักเบาแห่งข้อหา
(2) พยานหลักฐานที่ปรากฏแล้วมีเพียงใด
(3) พฤติการณ์ต่างๆ แห่งคดีเป็นอย่างไร
(4) เชื่อถือผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกันได้เพียงใด
(5) ผู้ต้องหาหรือจำเลยน่าจะหลบหนีหรือไม่
(6) ภัยอันตรายหรือความเสียหาย ที่จะเกิดจากการปล่อยชั่วคราวมีเพียงใดหรือไม่
(7) ในกรณีที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องขังตามหมายศาล ถ้ามีคำคัดค้านของพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ โจทก์ หรือผู้เสียหาย แล้วแต่กรณี ศาลพึงรับประกอบการวินิจฉัยได้