เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม เลขทะเบียน ๘๖๙ สภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า

อุดมการณ์สถานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตย

เรา...มั่นใจว่า
ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา
ประเทศไทย เป็นของเราทุกคน
เรา ต้องร่วมกันสร้างชาติไทย ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์  พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ทำความรู้จัก...'บัตรเลือกตั้ง'และการทำเครื่องหมาย'กากบาท'

บัตรเลือกตั้งมี 2 ใบ 2 สี (สีชมพู-สีเขียว)



บัตรเลือกตั้งที่จะใช้ในการเลือกตั้ง ครั้งนี้ มี 2 แบบ แบบแรก จะเป็นบัตรเลือกตั้งส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งใช้ “สีชมพู” ซึ่งใช้สำหรับการลงคะแนนตัวผู้สมัคร โดยสามารถกาบัตรได้เพียงหมายเลขเดียว แบบที่ 2 เป็นบัตรเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ “สีเขียว” ซึ่งใช้สำหรับลงคะแนนเลือกตั้งให้กับพรรคการเมือง บัตรเลือกตั้งและต้นขั้วบัตรเลือกตั้งจะเย็บเป็นเล่ม ๆ ละ 25 ใบ มีรอยปรุเพื่อให้ฉีกบัตรเลือกตั้งออกจากต้นขั้วบัตรเลือกตั้งได้ ซึ่งจะมีปกหน้าและปกหลัง สำหรับต้นขั้วของบัตรเลือกตั้งส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งจะมีข้อความ “เล่มที่ ...เลขที่...ลำดับที่...” อยู่ด้านบนของต้นขั้วบัตรเลือกตั้งและมีที่ลงลายมือชื่อกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง(กปน.)ผู้ที่จ่ายบัตรเลือกตั้งและมีที่สำหรับให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงลายมือชื่อ หรือพิมพ์ลายนิ้วมือ เพื่อเป็นหลักฐานการรับบัตรเลือกตั้ง และขอให้สังเกตว่าบัตรเลือกตั้งแบบเขตนั้นเมื่อพับแล้วด้านหน้าจะมีแถบสีอยู่บริเวณขอบขวาถัดไปทางซ้ายมีตราครุฑและถัดลงไปมีข้อความว่า “บัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง” ส่วนบัตรของบัญชีรายชื่อ ช่องแรกมีเบอร์ของพรรค สัญลักษณ์ (โลโก้) ของพรรคการเมือง อยู่ด้วย

วิธีการลงคะแนน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องนำหลักฐานบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรที่ทางราชการออกให้ พาสปอร์ตต่อกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งเมื่อถูกต้องแล้ว ก็จะให้ผู้มีสิทธิลงลายมือชื่อด้านหลังของบัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้งก็จะจ่ายบัตรเลือกตั้งให้ 2 ใบโดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะต้องลงลายมือชื่อก่อนที่กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งจะฉีกบัตรให้ จากนั้นก็เดินเข้าคูหาการลงคะแนนเลือกตั้ง ซึ่งต้องเป็น การลงคะแนนโดยลับ จะให้ใครล่วงรู้ไม่ได้ ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทำเครื่องหมาย กากบาท ลงในบัตรเลือกตั้ง และในกรณีที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่ประสงค์ลงคะแนนเลือกตั้ง ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทำเครื่องหมายกากบาท ลงคะแนนในช่องไม่ประสงค์จะลงคะแนนในบัตรเลือกตั้งส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง หรือบัตรเลือกตั้งส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ โดยจะอยู่ขวามือด้านล่างของบัตรเลือกตั้ง เมื่อลงคะแนนเสร็จแล้วก็พับบัตรเลือกตั้ง และเดินมาหย่อนบัตรเลือกตั้งใส่หีบด้วยตนเอง ต่อหน้ากรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง

ขั้นตอนวิธีการและการวินิจฉัยบัตรดี-บัตรเสีย

สำหรับการวินิจฉัยบัตรเลือกตั้ง กกต.จะกำหนดไว้ในระเบียบว่า ลักษณะบัตรอย่างไรเป็นบัตรดี บัตรใดเป็นลักษณะบัตรเสีย เมื่อกรรมการนับคะแนนเห็นว่าบัตรดี ให้อ่านเสียงดังว่า ’ดี” และขานหมายเลขผู้สมัคร ที่ได้รับคะแนนในกรณีการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง หรือหมายเลขของพรรคการเมืองที่ได้รับคะแนนในกรณีการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ พร้อมทั้งชูบัตรเลือกตั้งโดยเปิดเผยให้ผู้ที่อยู่ในบริเวณที่เลือกตั้งได้เห็นด้วยแต่ถ้าเป็นบัตรที่ทำเครื่องหมายในช่องไม่ประสงค์ลงคะแนนให้อ่านว่า ’ไม่ประสงค์ลงคะแนน” พร้อมทั้งชูบัตรเลือกตั้งโดยเปิดเผยให้ผู้ที่อยู่ในบริเวณที่เลือกตั้งได้เห็นด้วย

ถ้าเป็นบัตรเสีย ให้อ่านว่า ’เสีย” พร้อมทั้งชูบัตรเลือกตั้งโดยเปิดเผยให้ผู้ที่อยู่ในบริเวณที่เลือกตั้งได้เห็นด้วย และให้กปน.ไม่น้อยกว่า 3 คนสลักหลังบัตรเลือกตั้งว่า ’เสีย” พร้อมทั้งระบุเหตุผลว่าเป็นบัตรเสียเพราะเหตุใดและส่งบัตรให้กปน.คนที่สามที่มีหน้าที่รับบัตรและเจาะมุมบัตรเลือกตั้งทุกใบในการวินิจฉัยทุกครั้งแล้วพับบัตรแยกเก็บแต่ละประเภทลงในภาชนะที่เตรียมไว้ ทั้ง 3 กรณี และเมื่อกรรมการคนที่ขานคะแนนว่าเป็นบัตร ’ดี” ’เสีย” ’ไม่ประสงค์ลงคะแนน” กปน.คนที่สี่มีหน้าที่ขีด ตามกรรมการที่ขานคะแนนบนกระดาษที่เตรียมไว้ โดยให้ขีดหนึ่งต่อหนึ่งคะแนน แต่เมื่อครบห้าขีด ให้ขีดขวางทับเส้นสี่ขีดแรก และวงกลมวงลีล้อมรอบ เพื่อสะดวกแก่การนับคะแนนให้ทำเช่นนี้เรื่อยไปทุกห้าขีด

สำหรับบัตรที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ให้ถือเป็นบัตรเสีย

1.บัตรปลอม 2.บัตรที่ไม่ได้ทำเครื่องหมายลงคะแนนเลือกตั้ง 3.บัตรเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่ทำเครื่องหมายลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัครเกินจำนวน 1 คนหรือบัตรเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อที่ทำเครื่องหมายเลือกพรรคการเมืองเกินหนึ่งพรรคการเมือง 4.บัตรที่ไม่อาจทราบได้ว่าลงคะแนนเลือกตั้งให้กับผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้งผู้ใด หรือพรรคการเมืองที่ส่งสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองใด5.บัตรที่ได้ทำเครื่องหมายลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัคร ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งหรือแบบบัญชีรายชื่อแล้วทำเครื่องหมายในช่องไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้งด้วย 6.บัตรที่ทำเครื่องหมายอื่นนอกจากการทำเครื่องหมายกากบาท 7.บัตรที่ทำเครื่องหมายลงคะแนนเลือกตั้งนอกช่อง “ทำเครื่องหมาย” หรือนอกช่อง “ไม่ประสงค์ลงคะแนน” 8.บัตรที่ทำเครื่องหมายเป็นที่สังเกต เว้นแต่เป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ 9.บัตรที่ไม่ใช้บัตรซึ่งกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งมอบให้ 10.บัตรที่ทำเครื่องหมายลงคะแนนเลือกตั้งในช่องทำเครื่องหมายเกินกว่า 1 เครื่องหมายในช่องทำเครื่องหมายเดียวกัน.

ที่มา : คู่มือประชาชนการเลือกตั้งส.ส.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา