โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี
1.ความไม่สงบหลังเลือกตั้ง คนเป็นอันมากไม่เชื่อว่าจะมีความสงบหลังเลือกตั้ง เพราะปัจจัยให้เกิดความไม่สงบยังดำรงอยู่เหมือนเดิม เหมือนถูกล็อคอยู่ด้วย เหตุปัจจัยให้เป็นเช่นนั้น กล่าวคือ(1) ถ้าพรรคเพื่อไทยได้เสียงอันดับหนึ่ง แต่ไม่ใช่เสียงข้างมาก แล้วพรรคประชาธิปัตย์ร่วมกับพรรคอื่นจัดตั้งรัฐบาล พท. และมวลชนคนเสื้อแดงก็จะกล่าวหาว่ากองทัพและมือที่มองไม่เห็นเข้ามาจัดการไม่ให้ พท. เป็นรัฐบาลอย่างนี้ไม่เป็นไปตามครรลองประชาธิปไตย ต้องเคลื่อนไหวนอกสภาเพื่อต่อต้านรัฐบาลที่นำโดยประชาธิปัตย์
(2) ถ้า พท. ได้เสียงข้างมากแล้วจัดตั้งรัฐบาล และต้องการนำทักษิณกลับมา พวกที่เกลียดกลัวทักษิณ พวกที่เกลียดกลัวการล้มเจ้า ก็จะรวมตัวกันต่อต้านรัฐบาล
2.การแก้ไขตามเหตุปัจจัย ควรปลดล็อคเหตุปัจจัยที่จะทำให้เกิดความไม่สงบดังกล่าวข้างต้น ดังต่อไปนี้
(1) ถ้า พท. ได้เสียงมาเป็นอันดับ 1 ควรให้เวลา พท. พยายามจัดตั้งรัฐบาลอย่างเต็มที่ อย่าใช้อำนาจนอกระบบใดๆ ไปขู่เข็ญพรรคการเมืองให้ทำตามที่ตัวต้องการ ให้กระบวนการจัดตั้งรัฐบาลมีความโปร่งใสที่คนไว้วางใจเชื่อถือได้มากที่สุด
(2) ถ้า พท. จัดตั้งรัฐบาล จะนำทักษิณกลับหรือไม่ทักษิณก็สามารถบงการรัฐบาล พท. อยู่ดี คุณทักษิณควรจะถือโอกาสแก้ตัว คุณเคยมีอำนาจสูงสุดมาแล้ว ไม่ว่าคุณจะคิดว่าทำดีเพียงใด แต่การที่มีคนเกลียดและกลัวจำนวนมากไม่เป็นผลดีต่อประเทศชาติ ถ้าคุณทักษิณปรับตัว ว่าอะไรที่ทำให้คนเกลียดและกลัวก็อย่าไปทำ พิจารณาอย่างรอบคอบถึงวิถีประเทศไทยต่อไปในอนาคต การเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานในตัวเองของคุณทักษิณ จะเป็นประโยชน์มหาศาลต่อประเทศไทยและต่อโลก และเป็นการปลดล็อคความไม่สงบอย่างสำคัญ
(3) การปลดล็อคให้สถาบันไม่เป็นประเด็นที่คนไทยจะต้องมาฆ่ากันตาย ความกลัวว่าจะมีคนมาล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นปัจจัยที่จะทำให้คนไทยฆ่ากันตาย คนไทยทุกฝ่ายควรจะมาร่วมปรึกษาหารือกันว่าจะทำให้สถาบันไม่เป็นประเด็นที่คนไทยจะต้องฆ่ากันได้อย่างไร ประเทศประชาธิปไตยที่มีสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น อังกฤษ สวีเดน เดนมาร์ค นอร์เวย์ ญี่ปุ่น สถาบันของเขาไม่เป็นประเด็นทางการเมืองที่ผู้คนจะต้องมาทะเลาะกันเลย เราติดอยู่ตรงนี้นานจนบ้านเมืองไม่สามารถก้าวหน้าไปได้อย่างสันติ สมควรที่สังคมไทยจะต้องก้าวข้ามข้อติดขัดทางประวัติศาสตร์ ควรศึกษาดูว่าในประเทศดังกล่าวข้างต้นเขามีกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประเพณีปฏิบัติอย่างไร ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกับระบบการเมือง กับระบบราชการ กับระบบธุรกิจ และกับสังคม ประเด็นไม่น่าจะอยู่ที่การโค่นล้มและการปราบปรามผู้ที่คิดว่าจะคิดโค่นล้ม แต่อยู่ที่การปรับความสัมพันธ์มากกว่า
(4) ปรับวิถีคิด คนไทยเข้าไปสู่วิถีคิดแบบแยกข้างแยกขั้วและคิดห้ำหั่นกันมากเกิน อะไรเป็นพวกตัวถูกหมด ถ้าเป็นพวกอื่นผิดหมด ฝ่ายค้านๆ และจ้องทำลายฝ่ายรัฐบาลลูกเดียวและกลับกัน พระพุทธศาสนาปฏิเสธวิธีคิดตายตัวแยกส่วนแบบนี้ เพราะผิดธรรมชาติความเป็นจริง ธรรมชาติของสรรพสิ่งๆ ล้วนเชื่อมโยงสัมพันธ์เป็นปัจจัยแก่กันและกัน ที่เรียกว่าอิทัปปัจจยตา
การคิดแบบกระแสของเหตุปัจจัยนี้บางทีเรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา การคิดแบบแยกส่วนตายตัวสุดโต่งไม่ใช่วิถีคิดแบบพุทธ และไม่ใช่วิถีคิดแบบวิทยาศาสตร์ใหม่ วิทยาศาสตร์เก่านั้นคิดแบบตายตัวจึงแยกส่วนและสุดโต่ง วิทยาศาสตร์ใหม่พบว่าสรรพสิ่งล้วนไม่ตายตัวจึงเชื่อมโยงสัมพันธ์ การคิดแบบแยกส่วนตายตัวนำไปสู่ความแตกแยกและรุนแรง การแบ่งพรรคการเมืองเป็นฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายค้านแบบตายตัวก็อยู่บนความคิดที่ล้าสมัยแบบวิทยาศาสตร์เก่า ความคิดที่ล้าสมัยเช่นนี้นำไปสู่การต่อสู้เอาเป็นเอาตายกันเกินไป
ในอนาคตควรทำความเข้าใจวิถีคิดแบบพุทธและวิทยาศาสตร์ใหม่ซึ่งสอดคล้องกัน ว่าพรรคการเมืองใช่จะต้องแยกข้างแยกขั้วและห้ำหั่นกันแบบเอาเป็นเอาตาย วัตถุประสงค์ของพรรคการเมืองไม่ใช่เพื่อห้ำหั่นฝ่ายตรงข้าม แต่เพื่อพัฒนาบ้านเมือง อะไรที่ควรจะร่วมมือกันเพื่อบ้านเมืองก็ต้องร่วมมือกัน ไม่ใช้ค้านดะด่าทุกเรื่องในสหรัฐอเมริกานั้นอะไรที่สำคัญของชาติพรรคเดโมแครตและรีพับลิกันจะร่วมมือกัน
ประธานาธิบดีเชิญฝ่ายค้านมารับประทานอาหารเช้าที่ทำเนียบขาวบ่อยๆ เพื่อปรึกษาหารือ บางครั้งประธานาธิบดีก็ตั้งคนของพรรคตรงข้ามมาเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลของตน อย่างนายโรเบิต เกตส์รัฐมนตรีกลาโหมคนปัจจุบันก็เป็นริพับลิกัน เป็นรัฐมนตรีกลาโหมของบุชมาก่อน เขารักชาติเหนือพรรค
เราลองดูบ้างดีไหม ถ้า พท. ตั้งรัฐบาล ชวนคนเก่งๆ จาก ปชป. มาเป็นรัฐมนตรีสักคนสองคน
และในทางกลับกันถ้า ปชป. ตั้งรัฐบาลก็ชวนคนเก่งๆ ของ พท. มาเป็นรัฐมนตรีสักคนสองคน เพื่อเริ่มต้นสปิริตแห่งวิถีคิดแบบมัชฌิมาปฏิปทา ว่าพรรคการเมืองนั้นเสริมกันได้ในขณะที่ตรวจสอบไปพร้อมกัน เราต้องรักชาติเหนือพรรค
สื่อมวลชนก็ไม่ควรส่งเสริมการคิดแบบแยกข้างแยกขั้วตายตัว และเชียร์ให้ตบตีกัน การเมืองไม่ใช่เวทีมวย แต่เป็นที่ที่จะต้องใช้สติปัญญาทำประโยชน์ให้บ้านเมือง คนในวงการสื่อสารควรศึกษาวิธีคิดว่าการคิดแบบตายตัวแยกส่วนเป็นอย่างไร การคิดแบบมัชฌิมาปฏิปทาหรือคิดแบบเชื่อมโยงสัมพันธ์เป็นอย่างไร ระบบการศึกษาทั้งหมดควรสนใจวิธีคิด พระและชาวพุทธควรสนใจวิถีคิดแบบพุทธสังคมไทย เช่นเดียวกับสังคมโลก ต้องเปลี่ยนวิถีคิดใหม่เพื่อไปให้พ้นความรุนแรงไอน์สไตน์ เคยกล่าวว่า “เราต้องมีวิถีคิดใหม่โดยสิ้นเชิง ถ้ามนุษยชาติจะอยู่รอดได้”
(5) การเคลื่อนไหวมวลชนอย่างสร้างสรรค์ การเคลื่อนไหวมวลชนเป็นการเมืองภาคประชาชนอย่างหนึ่ง ถ้าทำให้ดีจะเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนนโยบายที่ตามปรกติทำได้ยาก ไม่ควรใช้ความรุนแรงเพราะจะทำให้ถูกปราบปรามและกระบวนการหดหาย ไม่ควรใช้การด่าทอลูกเดียว เพราะจะทำให้ตีบตัน ไม่ควรทำสิ่งที่สังคมรังเกียจเพราะจะทำให้ขาดการสนับสนุน การเคลื่อนไหวเรื่องความเป็นธรรมจะมีความชอบธรรมมากและมีคนเข้าร่วมมากขึ้นๆ เพราะความไม่เป็นธรรมกระทบทุกแง่มุมของชีวิตของประชาชนจำนวนมาก
ข้อเรียกร้องส่วนใหญ่ผู้ถูกเรียกร้องทำไม่ได้ การเคลื่อนไหวมวลชนควรจะต้องไปให้ถึงประเด็นนโยบาย เช่นอย่างที่คณะกรรมการปฏิรูปเสนอไว้ เช่น ปฏิรูประบบอำนาจรัฐ ปฏิรูปที่ดินเพื่อคนจน ปฏิรูประบบภาษีให้เป็นธรรม เป็นต้น ถ้าการเคลื่อนไหวมวลชนสามารถขับเคลื่อนประเด็นนโยบายที่จะสร้างความเป็นธรรม-ลดความเหลื่อมล้ำ การเคลื่อนไหวมวลชนก็จะเป็นพลังสร้างสรรค์อย่างยิ่ง เป็นทั้งพลังทางสังคมและพลังทางปัญญาที่สามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงด้วยสันติวิธี
เป้าหมายที่ใหญ่และสูงส่ง จะทำให้คนไทยทุกภาคส่วนไม่ว่าสีอะไร สามารถร่วมกันได้การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลี่ยมล้ำ ควรจะเป็นเป้าหมายร่วมกันของคนไทยทั้งมวล ไม่ว่าจะเป็นสีเหลือง สีแดง คุณทักษิณ คุณอภิสิทธิ์ หรือคนโดยอื่นใดทั้งหลายทั้งปวงคนไทยไม่เคยมีเป้าหมายร่วม มีแต่เป้าหมายแยกย่อยของแต่ละคน แต่ละกลุ่ม แต่ละองค์กร แต่ละสถาบัน ที่แตกต่างและทอนกำลังกันเอง ทำให้บ้านเมืองวิกฤตมากขึ้นๆ
เป้าหมายร่วม จะทำให้คนไทยรวมตัวกันออกจากวิกฤตได้
3.สร้างจิตสำนึกใหม่ ความไม่สมกันของสังคมไทยขณะนี้ก็คือ “สังคมใหญ่-แต่คนไทยจิตเล็ก” สังคมไทยปัจจุบันมีขนาดใหญ่และหลากหลายมาก แต่จิตคนไทยยังไม่ใหญ่ไปตามตัว กล่าวคือยังเห็นแคบๆ ยังเห็นแก่ตัวเอง เห็นแก่พวก เห็นแก่พรรค มากกว่าเห็นแก่สังคมเป็นส่วนรวม ถ้าเราไม่เห็นทั้งหมดและทำเพื่อทั้งหมด เห็นเฉพาะส่วนทำเพื่อเฉพาะส่วนย่อมไม่สามารถรักษาบูรณภาพและดุลยภาพของทั้งหมด สังคมจึงป่วยและวิกฤต คนไทยต้องพัฒนาจิตสำนึกใหม่ให้เป็นจิตใหญ่ที่เห็นทั้งหมดและทำเพื่อทั้งหมด จึงจะสามารถรักษาบูรณภาพและดุลยภาพของประเทศได้
วิถีคิดใหม่ และจิตสำนึกใหม่เป็นเรื่องที่เกิดได้ยาก แต่สภาวะวิกฤตจะมาบีบบังคับให้เกิดขึ้น เพราะตราบใดที่ยังมีวิถีคิดเก่าและจิตสำนึกเก่าก็จะเกิดวิกฤตการณ์ซ้ำแล้วซ้ำอีก ไล่ต้อนเราไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเกิดวิถีคิดใหม่และจิตสำนึกใหม่แท้ที่จริงวิถีคิดเก่าและจิตสำนึกเก่ากำลังนำโลกไปสู่วิกฤตการณ์ใหญ่ ซึ่งเป็นวิกฤตการณ์แห่งการอยู่ร่วมกัน ทั้งระหว่างมนุษย์กับมนุษย์และระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติแวดล้อม ดังที่ หายนภัยทางธรรมชาติกำลังคืบคลานเข้ามามากขึ้นๆ วิกฤตการณ์ของมนุษยชาติครั้งนี้เป็นวิกฤตการณ์ทางอารยธรรม เป็นจุดเปลี่ยนทางอารยธรรม (civilization turning Point)
อารยธรรมใหม่ เป็นอารยธรรมแห่งการอยู่ร่วมกัน
อารยธรรมใหม่เกิดจากวิถีคิดใหม่ และจิตสำนึกใหม่
1.ความไม่สงบหลังเลือกตั้ง คนเป็นอันมากไม่เชื่อว่าจะมีความสงบหลังเลือกตั้ง เพราะปัจจัยให้เกิดความไม่สงบยังดำรงอยู่เหมือนเดิม เหมือนถูกล็อคอยู่ด้วย เหตุปัจจัยให้เป็นเช่นนั้น กล่าวคือ
(1) ถ้าพรรคเพื่อไทยได้เสียงอันดับหนึ่ง แต่ไม่ใช่เสียงข้างมาก แล้วพรรคประชาธิปัตย์ร่วมกับพรรคอื่นจัดตั้งรัฐบาล พท. และมวลชนคนเสื้อแดงก็จะกล่าวหาว่ากองทัพและมือที่มองไม่เห็นเข้ามาจัดการไม่ให้ พท. เป็นรัฐบาลอย่างนี้ไม่เป็นไปตามครรลองประชาธิปไตย ต้องเคลื่อนไหวนอกสภาเพื่อต่อต้านรัฐบาลที่นำโดยประชาธิปัตย์
(2) ถ้า พท. ได้เสียงข้างมากแล้วจัดตั้งรัฐบาล และต้องการนำทักษิณกลับมา พวกที่เกลียดกลัวทักษิณ พวกที่เกลียดกลัวการล้มเจ้า ก็จะรวมตัวกันต่อต้านรัฐบาล
2.การแก้ไขตามเหตุปัจจัย ควรปลดล็อคเหตุปัจจัยที่จะทำให้เกิดความไม่สงบดังกล่าวข้างต้น ดังต่อไปนี้
(1) ถ้า พท. ได้เสียงมาเป็นอันดับ 1 ควรให้เวลา พท. พยายามจัดตั้งรัฐบาลอย่างเต็มที่ อย่าใช้อำนาจนอกระบบใดๆ ไปขู่เข็ญพรรคการเมืองให้ทำตามที่ตัวต้องการ ให้กระบวนการจัดตั้งรัฐบาลมีความโปร่งใสที่คนไว้วางใจเชื่อถือได้มากที่สุด
(2) ถ้า พท. จัดตั้งรัฐบาล จะนำทักษิณกลับหรือไม่ทักษิณก็สามารถบงการรัฐบาล พท. อยู่ดี คุณทักษิณควรจะถือโอกาสแก้ตัว คุณเคยมีอำนาจสูงสุดมาแล้ว ไม่ว่าคุณจะคิดว่าทำดีเพียงใด แต่การที่มีคนเกลียดและกลัวจำนวนมากไม่เป็นผลดีต่อประเทศชาติ ถ้าคุณทักษิณปรับตัว ว่าอะไรที่ทำให้คนเกลียดและกลัวก็อย่าไปทำ พิจารณาอย่างรอบคอบถึงวิถีประเทศไทยต่อไปในอนาคต การเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานในตัวเองของคุณทักษิณ จะเป็นประโยชน์มหาศาลต่อประเทศไทยและต่อโลก และเป็นการปลดล็อคความไม่สงบอย่างสำคัญ
(3) การปลดล็อคให้สถาบันไม่เป็นประเด็นที่คนไทยจะต้องมาฆ่ากันตาย ความกลัวว่าจะมีคนมาล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นปัจจัยที่จะทำให้คนไทยฆ่ากันตาย คนไทยทุกฝ่ายควรจะมาร่วมปรึกษาหารือกันว่าจะทำให้สถาบันไม่เป็นประเด็นที่คนไทยจะต้องฆ่ากันได้อย่างไร ประเทศประชาธิปไตยที่มีสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น อังกฤษ สวีเดน เดนมาร์ค นอร์เวย์ ญี่ปุ่น สถาบันของเขาไม่เป็นประเด็นทางการเมืองที่ผู้คนจะต้องมาทะเลาะกันเลย เราติดอยู่ตรงนี้นานจนบ้านเมืองไม่สามารถก้าวหน้าไปได้อย่างสันติ สมควรที่สังคมไทยจะต้องก้าวข้ามข้อติดขัดทางประวัติศาสตร์ ควรศึกษาดูว่าในประเทศดังกล่าวข้างต้นเขามีกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประเพณีปฏิบัติอย่างไร ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกับระบบการเมือง กับระบบราชการ กับระบบธุรกิจ และกับสังคม ประเด็นไม่น่าจะอยู่ที่การโค่นล้มและการปราบปรามผู้ที่คิดว่าจะคิดโค่นล้ม แต่อยู่ที่การปรับความสัมพันธ์มากกว่า
(4) ปรับวิถีคิด คนไทยเข้าไปสู่วิถีคิดแบบแยกข้างแยกขั้วและคิดห้ำหั่นกันมากเกิน อะไรเป็นพวกตัวถูกหมด ถ้าเป็นพวกอื่นผิดหมด ฝ่ายค้านๆ และจ้องทำลายฝ่ายรัฐบาลลูกเดียวและกลับกัน พระพุทธศาสนาปฏิเสธวิธีคิดตายตัวแยกส่วนแบบนี้ เพราะผิดธรรมชาติความเป็นจริง ธรรมชาติของสรรพสิ่งๆ ล้วนเชื่อมโยงสัมพันธ์เป็นปัจจัยแก่กันและกัน ที่เรียกว่าอิทัปปัจจยตา
การคิดแบบกระแสของเหตุปัจจัยนี้บางทีเรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา การคิดแบบแยกส่วนตายตัวสุดโต่งไม่ใช่วิถีคิดแบบพุทธ และไม่ใช่วิถีคิดแบบวิทยาศาสตร์ใหม่ วิทยาศาสตร์เก่านั้นคิดแบบตายตัวจึงแยกส่วนและสุดโต่ง วิทยาศาสตร์ใหม่พบว่าสรรพสิ่งล้วนไม่ตายตัวจึงเชื่อมโยงสัมพันธ์ การคิดแบบแยกส่วนตายตัวนำไปสู่ความแตกแยกและรุนแรง การแบ่งพรรคการเมืองเป็นฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายค้านแบบตายตัวก็อยู่บนความคิดที่ล้าสมัยแบบวิทยาศาสตร์เก่า ความคิดที่ล้าสมัยเช่นนี้นำไปสู่การต่อสู้เอาเป็นเอาตายกันเกินไป
ในอนาคตควรทำความเข้าใจวิถีคิดแบบพุทธและวิทยาศาสตร์ใหม่ซึ่งสอดคล้องกัน ว่าพรรคการเมืองใช่จะต้องแยกข้างแยกขั้วและห้ำหั่นกันแบบเอาเป็นเอาตาย วัตถุประสงค์ของพรรคการเมืองไม่ใช่เพื่อห้ำหั่นฝ่ายตรงข้าม แต่เพื่อพัฒนาบ้านเมือง อะไรที่ควรจะร่วมมือกันเพื่อบ้านเมืองก็ต้องร่วมมือกัน ไม่ใช้ค้านดะด่าทุกเรื่องในสหรัฐอเมริกานั้นอะไรที่สำคัญของชาติพรรคเดโมแครตและรีพับลิกันจะร่วมมือกัน
ประธานาธิบดีเชิญฝ่ายค้านมารับประทานอาหารเช้าที่ทำเนียบขาวบ่อยๆ เพื่อปรึกษาหารือ บางครั้งประธานาธิบดีก็ตั้งคนของพรรคตรงข้ามมาเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลของตน อย่างนายโรเบิต เกตส์รัฐมนตรีกลาโหมคนปัจจุบันก็เป็นริพับลิกัน เป็นรัฐมนตรีกลาโหมของบุชมาก่อน เขารักชาติเหนือพรรค
เราลองดูบ้างดีไหม ถ้า พท. ตั้งรัฐบาล ชวนคนเก่งๆ จาก ปชป. มาเป็นรัฐมนตรีสักคนสองคน
และในทางกลับกันถ้า ปชป. ตั้งรัฐบาลก็ชวนคนเก่งๆ ของ พท. มาเป็นรัฐมนตรีสักคนสองคน เพื่อเริ่มต้นสปิริตแห่งวิถีคิดแบบมัชฌิมาปฏิปทา ว่าพรรคการเมืองนั้นเสริมกันได้ในขณะที่ตรวจสอบไปพร้อมกัน เราต้องรักชาติเหนือพรรค
สื่อมวลชนก็ไม่ควรส่งเสริมการคิดแบบแยกข้างแยกขั้วตายตัว และเชียร์ให้ตบตีกัน การเมืองไม่ใช่เวทีมวย แต่เป็นที่ที่จะต้องใช้สติปัญญาทำประโยชน์ให้บ้านเมือง คนในวงการสื่อสารควรศึกษาวิธีคิดว่าการคิดแบบตายตัวแยกส่วนเป็นอย่างไร การคิดแบบมัชฌิมาปฏิปทาหรือคิดแบบเชื่อมโยงสัมพันธ์เป็นอย่างไร ระบบการศึกษาทั้งหมดควรสนใจวิธีคิด พระและชาวพุทธควรสนใจวิถีคิดแบบพุทธสังคมไทย เช่นเดียวกับสังคมโลก ต้องเปลี่ยนวิถีคิดใหม่เพื่อไปให้พ้นความรุนแรงไอน์สไตน์ เคยกล่าวว่า “เราต้องมีวิถีคิดใหม่โดยสิ้นเชิง ถ้ามนุษยชาติจะอยู่รอดได้”
(5) การเคลื่อนไหวมวลชนอย่างสร้างสรรค์ การเคลื่อนไหวมวลชนเป็นการเมืองภาคประชาชนอย่างหนึ่ง ถ้าทำให้ดีจะเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนนโยบายที่ตามปรกติทำได้ยาก ไม่ควรใช้ความรุนแรงเพราะจะทำให้ถูกปราบปรามและกระบวนการหดหาย ไม่ควรใช้การด่าทอลูกเดียว เพราะจะทำให้ตีบตัน ไม่ควรทำสิ่งที่สังคมรังเกียจเพราะจะทำให้ขาดการสนับสนุน การเคลื่อนไหวเรื่องความเป็นธรรมจะมีความชอบธรรมมากและมีคนเข้าร่วมมากขึ้นๆ เพราะความไม่เป็นธรรมกระทบทุกแง่มุมของชีวิตของประชาชนจำนวนมาก
ข้อเรียกร้องส่วนใหญ่ผู้ถูกเรียกร้องทำไม่ได้ การเคลื่อนไหวมวลชนควรจะต้องไปให้ถึงประเด็นนโยบาย เช่นอย่างที่คณะกรรมการปฏิรูปเสนอไว้ เช่น ปฏิรูประบบอำนาจรัฐ ปฏิรูปที่ดินเพื่อคนจน ปฏิรูประบบภาษีให้เป็นธรรม เป็นต้น ถ้าการเคลื่อนไหวมวลชนสามารถขับเคลื่อนประเด็นนโยบายที่จะสร้างความเป็นธรรม-ลดความเหลื่อมล้ำ การเคลื่อนไหวมวลชนก็จะเป็นพลังสร้างสรรค์อย่างยิ่ง เป็นทั้งพลังทางสังคมและพลังทางปัญญาที่สามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงด้วยสันติวิธี
เป้าหมายที่ใหญ่และสูงส่ง จะทำให้คนไทยทุกภาคส่วนไม่ว่าสีอะไร สามารถร่วมกันได้การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลี่ยมล้ำ ควรจะเป็นเป้าหมายร่วมกันของคนไทยทั้งมวล ไม่ว่าจะเป็นสีเหลือง สีแดง คุณทักษิณ คุณอภิสิทธิ์ หรือคนโดยอื่นใดทั้งหลายทั้งปวงคนไทยไม่เคยมีเป้าหมายร่วม มีแต่เป้าหมายแยกย่อยของแต่ละคน แต่ละกลุ่ม แต่ละองค์กร แต่ละสถาบัน ที่แตกต่างและทอนกำลังกันเอง ทำให้บ้านเมืองวิกฤตมากขึ้นๆ
เป้าหมายร่วม จะทำให้คนไทยรวมตัวกันออกจากวิกฤตได้
3.สร้างจิตสำนึกใหม่ ความไม่สมกันของสังคมไทยขณะนี้ก็คือ “สังคมใหญ่-แต่คนไทยจิตเล็ก” สังคมไทยปัจจุบันมีขนาดใหญ่และหลากหลายมาก แต่จิตคนไทยยังไม่ใหญ่ไปตามตัว กล่าวคือยังเห็นแคบๆ ยังเห็นแก่ตัวเอง เห็นแก่พวก เห็นแก่พรรค มากกว่าเห็นแก่สังคมเป็นส่วนรวม ถ้าเราไม่เห็นทั้งหมดและทำเพื่อทั้งหมด เห็นเฉพาะส่วนทำเพื่อเฉพาะส่วนย่อมไม่สามารถรักษาบูรณภาพและดุลยภาพของทั้งหมด สังคมจึงป่วยและวิกฤต คนไทยต้องพัฒนาจิตสำนึกใหม่ให้เป็นจิตใหญ่ที่เห็นทั้งหมดและทำเพื่อทั้งหมด จึงจะสามารถรักษาบูรณภาพและดุลยภาพของประเทศได้
วิถีคิดใหม่ และจิตสำนึกใหม่เป็นเรื่องที่เกิดได้ยาก แต่สภาวะวิกฤตจะมาบีบบังคับให้เกิดขึ้น เพราะตราบใดที่ยังมีวิถีคิดเก่าและจิตสำนึกเก่าก็จะเกิดวิกฤตการณ์ซ้ำแล้วซ้ำอีก ไล่ต้อนเราไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเกิดวิถีคิดใหม่และจิตสำนึกใหม่แท้ที่จริงวิถีคิดเก่าและจิตสำนึกเก่ากำลังนำโลกไปสู่วิกฤตการณ์ใหญ่ ซึ่งเป็นวิกฤตการณ์แห่งการอยู่ร่วมกัน ทั้งระหว่างมนุษย์กับมนุษย์และระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติแวดล้อม ดังที่ หายนภัยทางธรรมชาติกำลังคืบคลานเข้ามามากขึ้นๆ วิกฤตการณ์ของมนุษยชาติครั้งนี้เป็นวิกฤตการณ์ทางอารยธรรม เป็นจุดเปลี่ยนทางอารยธรรม (civilization turning Point)
อารยธรรมใหม่ เป็นอารยธรรมแห่งการอยู่ร่วมกัน
อารยธรรมใหม่เกิดจากวิถีคิดใหม่ และจิตสำนึกใหม่
ที่มา : ประชาไท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา