เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม เลขทะเบียน ๘๖๙ สภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า

อุดมการณ์สถานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตย

เรา...มั่นใจว่า
ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา
ประเทศไทย เป็นของเราทุกคน
เรา ต้องร่วมกันสร้างชาติไทย ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์  พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วันเสาร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ระบบเผด็จการขุนนางพระกับ "ภาวะไร้ความรับผิดชอบ"

บางท่านเห็นคำว่า "ระบบเผด็จการขุนนางพระอาจไม่พอใจว่าผมใช้คำ "แรงไป แต่ที่จริงเป็นคำที่ระบุถึง "ข้อเท็จจริงตรงๆ คือ องค์กรปกครองสงฆ์ปัจจุบันที่เรียกว่า "มหาเถรสมาคม" (มส.) นั้นเป็นองค์กรที่สถาปนาขึ้นโดยกฎหมายเผด็จการยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ คือ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ 2505 ที่ตราขึ้นเพื่อยกเลิกพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับประชาธิปไตย2484 ดังนั้น โครงสร้างองค์กรปกครองสงฆ์จึงไม่สอดรับกับระบบการแบ่งแยกอำนาจ การตรวจสอบ และวัฒนธรรมประชาธิปไตย

ยิ่งกว่านั้น บันไดไต่เต้าขึ้นมามีอำนาจปกครองคณะสงฆ์คือ "ระบบอาวุโสทางสมณศักดิ์" พึงเข้าใจว่าการสถาปนาฐานันดรศักดิ์ทางฝ่ายฆราวาสวิสัยนั้นสิ้นสุดลงเมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 แต่การสถาปนาฐานันดรศักดิ์ของพระสงฆ์ยังคงมีต่อมา ฉะนั้น องค์กรปกครองสงฆ์ที่สถาปนาขึ้นจาก "กฎหมายเผด็จการ + ระบบฐานันดรศักดิ์" จึงเท่ากับ "ระบบเผด็จการขุนนางพระ"

ปัญหาระดับพื้นฐานสำคัญมากที่สุดของระบบที่ว่านี้คือ

ประการแรก ขัดแย้งอย่างถึงรากกับระบบการปกครองสงฆ์สมัยพุทธกาล เพราะระบบสังคมสงฆ์ยุคพุทธกาลเป็น "ระบบรองรับการสลายชนชั้น" ไม่มีฐานดรศักดิ์ แม้พุทธะเองก็สละฐานันดรศักดิ์แล้ว ไม่มีการใช้คำราชาศัพท์ยกย่องสถานะของพุทธะให้สูงส่งเป็นพิเศษ พุทธะคือศาสดาหรือครูที่ให้เสรีภาพแก่ชาวพุทธทั้งพระและฆราวาสวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบท่านได้ คณะสงฆ์ก็มีความเสมอภาคภายใต้ธรรมวินัย ไม่ว่าจะมาจากชนชั้นกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร หรือคนนอกวรรณะกาลกิณีอย่างจัณฑาล เมื่อบวชเป็นพระก็มีสถานะเสมอภาคกัน เคารพกันตามลำดับการบวชก่อน-หลัง และแม้จะอาวุโสต่างกันแต่ก็มีเสรีภาพวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบกันและกันตามหลักธรรมวินัยภายใต้มาตรฐานเดียวกัน

วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประกาศนิติราษฎร์ ฉบับที่ ๓๕

โดย วรเจตน์ ภาคีรัตน์

วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งและที่มาของคณะตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญ

หลังจากที่คณะนิติราษฎร์ได้แถลงข้อเสนอให้ยกเลิกบทบัญญัติว่าด้วยศาลรัฐธรรมนูญในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันและให้จัดตั้งคณะตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญขึ้นทำหน้าที่แทนนั้น ได้มีข้อวิพากษ์วิจารณ์บางประเด็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของการจัดตั้งคณะตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญและที่มาของคณะตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญ โดยที่ข้อวิจารณ์จำนวนหนึ่งได้พาดพิงถึงความเห็นในอดีตของผู้เขียนเกี่ยวกับการสรรหาบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ จึงสมควรที่จะอธิบายเพื่อความเข้าใจให้ถูกต้อง ดังนี้

วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ศาลสูงสหรัฐอเมริกา

โดย ดร.วีรพงษ์ รามางกูร

ตำราเรียนทางรัฐศาสตร์ เมื่อพูดถึงการปกครองของสหรัฐในประเด็นที่ว่า ความเท่าเทียมกันของสถาบันผู้ใช้อำนาจอธิปไตยแทนประชาชน อันได้แก่ ประธานาธิบดี รัฐสภาและศาลสูง สำหรับประธานาธิบดีและรัฐสภา อันประกอบด้วยวุฒิสภาทำหน้าที่แทนมลรัฐ จึงมีสมาชิก 2 คนเท่า ๆ กัน ไม่ว่ามลรัฐเล็กหรือใหญ่ กับสภาผู้แทนราษฎรที่มีจำนวนเป็นสัดส่วนกับประชากร สำหรับสองสถาบันนี้ไม่มีใครสูงกว่าใคร ประธานาธิบดีและรัฐสภาก็มาจากการลงมติของประชาชน

แต่ศาลสูงซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการตัดสินว่าการกระทำใดชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ จนตำรารัฐศาสตร์รุ่นเก่า ๆ ยกย่องให้ความเป็นสูงสุดในการปกครองระบอบประธานาธิบดี คือศาลสูง หรือ "The 

suprermacy of the US supreme court" ตรงกันข้ามกับระบบรัฐสภาคือความเป็นสูงสุดอยู่ที่รัฐสภาหรือ "The Supremacy of Parliament" เพราะศาลสูงเคยตัดสินให้การกระทำของประธานาธิบดี หรือกฎหมายที่ออกโดยรัฐสภาหรือศาลมลรัฐ ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ หรือ unconstitutional

วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ต้องยอมรับคำวินิจฉัยที่ไม่เป็นธรรมด้วยหรือ

จาตุรนต์ ฉายแสง
10 กรกฎาคม 2555
   แต่ถ้าปล่อยให้มีการแสดงความเห็นในทางยอมรับหรือเห็นด้วยกับคำวินิจฉัยแต่เพียงทางเดียว จะเกิดความยุติธรรมจริงหรือ  
   บางทีเราก็ลืมกันไปว่าคำว่ายุติธรรมนั้นคือ ยุติด้วยการตัดสินที่เป็นธรรม หากตัดสินด้วยความไม่เป็นธรรมแล้วความขัดแย้งนอกจากจะไม่ยุติ ยังอาจจะยิ่งสับสนวุ่นวายยิ่งขึ้นอีกด้วย”
มีเสียงเรียกร้องจากฝ่ายที่ต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า เมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยกรณีที่มีผู้ร้องตามมาตรา 68 ในวันศุกร์ที่ 13กรกฎาคมนี้แล้วทุกฝ่ายควรจะยอมรับคำวินิจฉัยนั้น บางคนก็ไปไกลถึงขั้นที่เสนอว่า ไม่ว่าศาลจะวินิจฉัยออกมาอย่างไรทุกฝ่ายก็ต้องยอมรับ มิฉะนั้นสังคมก็จะวุ่นวาย
   ผมขอตั้งคำถามว่าจำเป็นด้วยหรือที่ทุกฝ่ายทุกคนจะต้องยอมรับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ และจริงหรือที่ว่าหากไม่ยอมรับแล้วสังคมจะวุ่นวาย
คำว่า ควรยอมรับหรือ ต้องยอมรับ ถ้ามาจากคู่ความหรือผู้มีส่วนได้เสียก็มักมาจากฝ่ายที่เชื่อว่าคำวินิจฉัยจะตรงกับความเห็นของตนหรือเป็นประโยชน์ต่อฝ่ายตน    ต้องการให้เรื่องที่ขัดแย้งกันอยู่นั้นยุติลงตามคำวินิจฉัย
   ผู้ที่กำลังเรียกร้องอย่างแข็งขันให้ทุกฝ่ายยอมรับคำวินิจฉัยครั้งนี้ ก็ดูจะได้แก่คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และคุณชวน หลีกภัย
   แต่ถ้าปล่อยให้มีการแสดงความเห็นในทางยอมรับหรือเห็นด้วยกับคำวินิจฉัยแต่เพียงทางเดียว จะเกิดความยุติธรรมจริงหรือ  

วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555

24 มิถุนา เคยเป็นและเลิกเป็นวันชาติได้อย่างไร?

โดย สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เวลาที่ได้ยินคนในแวดวงรัฐบาล(หรือที่เคยอยู่ในแวดวงรัฐบาลอย่างณรงค์ กิตติขจร) ออกมาคัดค้านการตั้งชื่อวันที่ 14 ตุลาคมว่า "วันประชาธิปไตย" โดยยกเหตุผลทำนองว่า เป็นเการขัดกับความจริงที่ว่าประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยมาตั้งแต่ 24 มิถุนายน 2475 นั้น ไม่ทราบว่าจะร้องไห้หรือหัวเราะดี
ก็ถ้าบรรดา ฯพณฯ เห็นความสำคัญของ 24 มิถุนายน ขนาดที่กลัวว่า 14 ตุลาคม จะมาแย่งความสำคัญไป ทำไมไม่ทำให้ 24 มิถุนายน เป็นวันสำคัญขึ้นมาเสียก่อนเล่า? ความจริงคือ ทุกวันนี้ วันที่ 24 มิถุนายน ไม่ได้เป็นวันอะไรทั้งสิ้นในปฏิทินของทางราชการ และบรรดา ฯพณฯ ที่ยกเอา 24 มิถุนายน ขึ้นมาคัดค้าน 14 ตุลาคม ก็ไม่มีแม้แต่คนเดียวที่มีทีท่าว่าจะเสนอให้เปลี่ยน 24 มิถุนายน เป็นวันสำคัญขึ้นมา

วันจันทร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2555

ทบทวน แผนปรองดอง ของรัฐบาลอภิสิทธิ์

แผนปรองดองของรัฐบาล
เมื่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เสนอแผนปรองดองแห่งชาติ ต่อแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)
เพื่อหวังจะนำความขัดแย้งทางการเมืองบนท้องถนนกลับไปอยู่ในสภา และแผนปรองดองก็ได้มีการนำมาขับเคลื่อน จนกลายเป็นกระแสความคิด และการเคลื่อนไหวของคนในสังคมจำนวนมาก ซึ่งความสับสนที่เกิดขึ้นก็เนื่องมาจากคำว่าปรองดองนั่นเองว่ามีความหมายอย่างไร
อย่างไรก็ตาม แม้แต่ตัวนายกรัฐมนตรีเอง บางครั้งก็ใช้คำว่าปรองดองในความหมายที่คลุมเครือ บางกรณีก็มีความหมายให้คนไทยรู้รักสามัคคี และร่วมมือกันเพื่อพาให้ชาติพ้นวิกฤติ บางกรณีก็หมายถึงการปฏิรูปการเมือง ซึ่งไม่เพียงแต่นายอภิสิทธิ์เท่านั้นที่กล่าวอย่างสับสน คนทั่วไปก็ยังมีความสับสนด้วยว่าหมายความว่าอย่างไรกันแน่ และถึงที่สุดแล้วแผนปรองดองของรัฐบาลจะหมายถึงอะไรกันแน่

วันอาทิตย์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2555

การเมืองของโลกสมัยปัจจุบัน จากธรรมมะกับการเมืองของท่านพุทธทาส

“โลกนี้ถูกครอบงำอยู่ด้วยระบบการเมืองหลายรูปแบบ, แล้วก็พัวพันกันยุ่ง มีปฏิกิริยาต่อกัน คือการทำลายล้างกัน จนไม่รู้ว่าอะไรเป็นอย่างไร ; .... แต่ที่มันแน่ และมีอยู่แล้วรูปแบบเดียวก็คือว่า การเมืองชนิดนั้น ทั้งหมดนั้น มัน เป็นเพียงปฏิกิริยา ที่มัน กระเด็นออกมา จากการพยายามของกลุ่มที่มีอำนาจ. กลุ่มที่มีอำนาจ ในโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก็เรียกว่า กลุ่มนายทุน ; โดยเฉพาะสมัยปัจจุบันนี้ กลุ่มนายทุนมีอำนาจมากที่สุดในโลก, เขาบันดาลอะไรได้ทั้งนั้น แล้วก็อยู่หลังฉากด้วย ไม่แสดงตัวให้เห็น.
“ทีนี้อำนาจที่มาจากบุคคลเหล่านี้ บันดาลให้เกิดเป็นอะไรขึ้นมา เป็นปฏิกิริยาต่อโลก ; นั่นแหละคือการเมืองของโลกในสมัยนี้ ไม่ประกอบอยู่ด้วยธรรม, แล้วก็ไม่เป็นการเมืองที่เป็นไปตามเหตุผลตามธรรมชาติ, หรือตามที่มันควรจะเป็นไป. แต่มันได้เป็นไป ภายใต้อำนาจของการบันดาลของกลุ่มที่ทรงอำนาจอย่างยิ่ง คือกลุ่มนี้.

วันอาทิตย์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2555

กฎหมายคืออะไร ? อะไร คืออำนาจสูงสุดในประเทศไทย

การที่เราจะอ่านหนังสือกฎหมาย หรือ จะเรียนกฎหมาย ถ้าหากเราไม่รู้ว่า สิ่งที่เรา จะอ่าน จะเรียน คืออะไร เสียก่อน ก็เป็นการยากที่จะทำความเข้าใจในสิ่งนั้น.
วิธีแก้ความทุกข์ เรื่องไม่รู้ว่ากฎหมายคืออะไร ?
ทำได้โดยเราต้องค้นคว้าหาความหมาย ให้ทราบเสียก่อนว่า กฎหมายคืออะไร?
คำว่า "กฎหมาย" เป็นคำศัพท์ ภาษาไทย ที่สำคัญคำหนึ่ง ซึ่งทางราชการ บัญญัติขึ้น และได้ให้คำนิยามความหมายไว้. ดังนั้น คู่มือ ที่เราจะใช้ค้นคว้าที่ดีที่สุด คือ หนังสือพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕.
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ให้คำนิยามความหมายของคำว่ากฎหมายไว้
กฎหมาย
๐ บทบัญญัติซึ่งผู้มีอำนาจสูงสุดในประเทศ ได้ตราขึ้นไว้ เพื่อใช้ในการบริหารบ้านเมือง และบังคับบุคคลในความสัมพันธ์ระหว่างกัน ผู้ใดฝ่าฝืนต้องได้รับโทษ หรือต้องถูกบังคับให้ปฏิบัติตาม (ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๑)
จากคำนิยามความหมายดังกล่าว คำว่า กฎหมาย สามารถแยกองค์ประกอบ ออกได้เป็น ๔ ข้อคือ

วันอาทิตย์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2555

ความหมายของการเมือง อุดมคติอย่างหนึ่ง เพื่อความสันติของมวลมนุษย์

ที่กล่าวมาแล้ว คือประเด็นใหญ่ประเด็นแรก อันได้แก่ ท่าทีพื้นฐานเกี่ยวกับการเมือง
ประเด็นใหญ่ถัดมาของ “ธรรมะกับการเมือง” คือ ความหมายและความเป็นมาของการเมือง
ในเรื่องความหมายของการเมือง ท่านพุทธทาสภิกขุเริ่มต้นโดยชี้ให้เห็นถึงสถานะและความหมายของการเมือง ในโครงสร้างความหมายโดยรวมของ “ธรรม”
ผู้ที่คุ้นเคยกับงานเขียนงานบรรยายของท่านพุทธทาส คงทราบดีว่า ท่านพุทธทาส มักชี้ให้เห็นถึงความหมายของธรรมะ ในสี่ลักษณะด้วยกัน
ความหมายที่ 1 คือ สภาวธรรม อันหมายถึง “สิ่งที่กำลังมีอยู่ เป็นอยู่ ตามธรรมชาติ ที่ปรากฏอยู่แก่เรานี้” ทั้งในทางรูปธรรมและนามธรรม ทั้งในสภาวะที่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง และปราศจากเหตุปัจจัยปรุงแต่ง
ทั้งหมดของสภาวธรรมนี้ ย่อมมีอยู่ ดำรงอยู่ เนื่องด้วยพื้นฐานของสภาวธรรมทั้งปวง อันได้แก่ หลักปฏิจจสมุปบาท ซึ่งสรุปใจความสั้นๆ ตามคำกล่าวของท่านพุทธทาสได้ว่าคือ “การอาศัยกันแล้วเกิดขึ้นครบถ้วน” หรือ “อาการที่มันปรุงแต่งกันระหว่างเหตุกับผล”

วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2555

โอวาทปาติโมกข์ โครงสร้างคำสอนในพุทธศาสนา ที่มาของวันมาฆะบูชา

โอวาทปาติโมกข์ คือ โอวาทที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสให้กับผู้ที่ยังไม่หมดกิเลสฟัง เพื่อจะได้ปรับปรุงตัวเองให้ดี จะได้หมดกิเลสเป็นพระอรหันต์

พระเดชพระคุณพระภาวนาวิริยคุณ ( หลวงพ่อทัตตชีโว) ได้เรียบเรียงจากพระธรรมเทศนา เรื่องโอวาทปาติโมกข์ และเทศน์ให้แก่ญาติโยม เมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 เดือนกันยายน พ.ศ. 2551 ดังนี้

วันนี้ หลวงพ่อตั้งใจที่จะมาเทศน์เรื่องโอวาทปาฏิโมกข์ให้กับพวกเรา ซึ่งโอวาทนี้ เป็นเรื่องใหญ่ ว่าด้วยหลักการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนา ให้กับกัลยาณมิตรรุ่นแรกของโลก ก่อนที่จะออกไปประกาศธรรม เมื่อวันมาฆบูชาครั้งแรกนั่นเอง

โอวาทปาฏิโมกข์นี้ เป็นโอวาทที่แปลก คือโอวาทต่างๆ นั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสให้กับผู้ที่ยังไม่หมดกิเลสฟัง เพื่อจะได้ปรับปรุงตัวเองให้ดี จะได้หมดกิเลสเป็นพระอรหันต์ แต่โอวาทปาฏิโมกข์นี้ เป็นบทเทศน์ที่พระองค์ ตรัสให้กับพระอรหันต์ผู้หมดกิเลสแล้วจำนวน 1,250 รูปฟัง ซึ่งต้องวางหลักการต่างๆ ให้เรียบร้อย เพื่อพระอรหันต์ทั้ง 1,250 รูปนั้น จะได้ไปทำหน้าที่ เป็นกัลยาณมิตร ปลุกสัตวโลกให้พลิกฟื้นตื่นจากกิเลส และประกาศพระศาสนาอย่าง เป็นระเบียบแบบแผน เป็นปึกแผ่นเหมือนๆ กัน

วันเสาร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2555

“ธรรมะกับการเมือง” ของ พุทธทาสภิกขุ

โดย วีระ สมบูรณ์

(เรียบเรียงจากปาฐกถาเรื่อง “การเมืองต้องเป็นเรื่องศีลธรรม” ในรายการ พุทธทาส ๑๐๐ ปี: ร้อยใจ ฟื้นไทย ให้คืนธรรม สวนโมกข์เสวนา ครั้งที่ ๑๐ วันเสาร์ที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๔๙ ณ ห้องประชุม ๓๐๕ อาคารหอประชุม มหาวิทยาลัยศิลปากร (วังท่าพระ) จัดโดย เครือข่ายธรรมโฆษณ์ ร่วมกับสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ตีพิมพ์ครั้งแรกใน มติชนสุดสัปดาห์ ระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๔๙ ถึง กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐)

“ทุกคนเป็นนักการเมืองโดยความรู้สึก”
“ธรรมะกับการเมือง” เป็นคำบรรยายที่ท่านพุทธทาสภิกขุ แสดงที่สวนโมกขพลาราม ณ บริเวณ ลานหินโค้ง เชิงเขาพุทธทอง โดยเป็นการบรรยายประจำทุกวันเสาร์ ในช่วงที่ท่านกำหนดให้เป็นการบรรยาย ภาคอาสาฬหบูชา ระหว่างวันที่ 3 กรกฎาคม 2519 ถึงวันที่ 25 กันยายน 2519 รวม 11 ครั้ง
ต่อมา ธรรมทานมูลนิธิ จึงตีพิมพ์คำบรรยายนี้ออกมาเป็นหนังสือเป็นครั้งแรก เมื่อปี 2522 เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือชุดธรรมโฆษณ์ของพุทธทาสภิกขุ อันดับที่ 18 จ.

วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

“อิสรภาพในการใช้สติปัญญา”

สำหรับท่านพุทธทาสภิกขุ ท่าทีพื้นฐานประการสำคัญที่สุดในการพิจารณาประเด็นธรรมะกับการเมือง คือสิ่งที่ท่านเรียกว่า “อิสรภาพในการใช้สติปัญญา”
การที่เราไม่มีอิสรภาพหรือเสรีภาพในการใช้สติปัญญานั้น เกิดขึ้นเพราะ “เราถูกกระทำให้เป็นทาสทางสติปัญญา อย่างไม่มีอิสรภาพ หรือไม่มีเสรีภาพ” และโดยพื้นฐานแล้ว อิสรภาพทางสติปัญญานี้ “มีความสำคัญทั้งทางฝ่ายโลกและฝ่ายศาสนา”
ในฝ่ายศาสนา ท่านพุทธทาสหมายถึง การที่พุทธบริษัทไม่สามารถหรือไม่กล้าพอที่จะใช้วิจารณญาณของตน เมื่อพบว่าสิ่งที่ตนเข้าใจ ปฏิบัติ หรือได้รับผลนั้น ขัดกับแนวทางที่ยอมรับกันอย่างงมงาย ส่วนในทางโลกนั้น คือการตกอยู่ในสภาพ “เป็นทาสทางสติปัญญา อย่างไม่มีอิสรภาพ” เพราะเห็นว่าเขาว่ามาอย่างนั้น หรือนิยมกันมาอย่างนั้น ท่านพุทธทาสยืนยันเรื่องนี้อย่างชัดเจนว่า
“ถ้าท่านไม่มีอิสรภาพ เสรีภาพในการคิดนึก นอกไปจากที่เคยเรียนมาอย่างปรัมปรา ท่านก็ไม่อาจเข้าใจความจริงแท้ใดๆ ได้ ถึงที่สุด”

วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

กรอบเนื้อหาของรัฐธรรมนูญฉบับนิติราษฎร์


กรอบเนื้อหาโดยสังเขปของรัฐธรรมนูญตามความคิดของคณะนิติราษฎร์ มีดังต่อไปนี้
รัฐธรรมนูญและเอกสารทางการเมืองที่ใช้เป็นพื้นฐานของการจัดทำรัฐธรรมนูญ
  • พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 และอาจนำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 254๐ ในส่วนของการประกันสิทธิและเสรีภาพ ตลอดจนโครงสร้างสถาบันการเมืองและองค์กรทางรัฐธรรมนูญเท่าที่สอดคล้องกับพัฒนาการในยุคร่วมสมัย
  • ประกาศคณะราษฎร
  • ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declarati0n 0f Human Rights) ลงวันที่ 1๐ ธันวาคม 1948 ของสหประชาชาติ

วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

หนี้สาธารณะ

โดย วีรพงษ์ รามางกูร
หมู่ นี้มีข่าวเรื่องหนี้สาธารณะ หลายคนที่เคยเกี่ยวข้องกับการสร้างหนี้สาธารณะดูจะเดือดร้อน กระโจนเข้ามาร่วมวงถกเถียงกันเป็นที่สนุกสนาน ซึ่งก็นับว่าเป็นผลดีต่อประชาชน ต่อสภาผู้แทนราษฎร ต่อวุฒิสภา และผู้คนที่สนใจจะได้ไม่ลืม

ปกติ หนี้สาธารณะถ้าพูดแบบภาษาชาวบ้าน ก็คือข้อผูกพันที่รัฐบาลมีต่อผู้อื่นที่จะต้องชำระหนี้ทั้งในปัจจุบันและ อนาคต ข้อผูกพันที่ว่ามีคำจำกัดความหลายแบบหลายอย่าง บางประเทศก็ให้หมายความรวมไปถึงข้อผูกพันที่รัฐบาลมีกับข้าราชการ พนักงานของรัฐ ที่จะต้องจ่ายค่าสวัสดิการ บำเหน็จบำนาญ ฯลฯ ด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555

องค์ประกอบของการสื่อสาร

สาระสำคัญ:
1. ความหมายของการสื่อสาร
2. องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสาร และกระบวนการสื่อสาร

ความคิดรวบยอด:
"การสื่อสาร คือกิจกรรมที่เป็นปฏิสัมพันธ์กันระหว่างฝ่ายส่งสารและฝ่ายรับ
สารซึ่งกระทำเป็นกระบวนการ เริ่มจากการกำหนดสารแล้วส่งออกไป โดย
อาศัยเป็นพาหนะพาสารนั้นไปยังฝ่ายรับสาร ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ฝ่าย
รับเข้าใจความหมายในสารและเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใดอย่างหนึ่ง อัน
เป็นเครื่องชี้วัดว่า มีการสื่อสารเกิดขึ้นแล้วตั้งแต่เริ่มต้นจนจบกระบวนการ"

รายละเอียด:
1. ความหมายของการสื่อสาร
ตัวแปรสำคัญที่ทำให้ความหมายของการสื่อสารแบบต่อหน้า (แบบแรก) และแบบไม่เห็นหน้ากัน (แบบหลัง) ระหว่างฝ่ายส่งสารและฝ่ายรับสาร แตกต่างกัน คือ (1) ระยะทาง (2) เวลา (3) โอกาส (4) ปริมาณของสาร (5) ความสลับซับซ้อนของสาร หรือ การเข้ารหัสการถอดรหัส และ (6) คุณภาพของพาหนะ