เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม เลขทะเบียน ๘๖๙ สภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า

อุดมการณ์สถานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตย

เรา...มั่นใจว่า
ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา
ประเทศไทย เป็นของเราทุกคน
เรา ต้องร่วมกันสร้างชาติไทย ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์  พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เปิดใจ “ทักษิณ”: ชี้ทหาร “พารานอย”มากเกินไป

เรื่องสาธารณรัฐและประธานาธิบดี โดย หนังสือพิมพ์สเตรทไทมส์


อดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์สเตรทไทมส์ในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาที่ประเทศดูไบว่า ความพยายามของรัฐบาลประชาธิปัตย์ในการสร้างแผนการปรองดองนั้นล้มเหลว และทำให้ประเทศแตกแยกมากขึ้น ขณะนี้จึงเป็นหน้าที่ของพรรคเพื่อไทยในการสร้างการปรองดองในชาติ และหวังว่าตนเองจะสามารถกลับประเทศไทยได้ เพื่อแก้ไขบาดแผลทางการเมืองของประเทศในช่วงห้าปีที่ผ่านมา แต่ถึงแม้ว่าจะกลับมาไม่ได้ ตนก็ยังอยากให้ประเทศไทยกลับสู่สภาวะปรกติ

“ความปรกติในความหมายของพรรคประชาธิปัตย์นั้นเป็นคนล่ะความหมาย เขาพยายามจะปรองดองมา 2 ปีครึ่งแล้ว แต่ก็ล้มเหลว ซ้ำยังทำให้ประเทศแตกแยกมากขึ้น เป็นคราวของเราแล้วที่จะต้องสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้น” อดีตนายกฯกล่าว

ในระหว่างการสัมภาษณ์ที่ยาว 1 ชั่วโมง เขายอมรับว่าการกระทำที่รุนแรงต่อชาวมาเลย์มุสลิมในภาคใต้สมัยที่เขาเป็นนายกถือเป็นความผิดพลาด และกล่าวว่าการเป็นตำรวจนั้นทำให้ตนถูกสอนมาว่าต้องใช้ทั้งกำปั้นเหล็กและถุงมือกำมะหยี่ ซึ่งที่ผ่านมาได้ใช้กำปั้นเหล็กมากไป และเสียใจในสิ่งที่เคยทำ ทั้งนี้ ในอนาคตจะต้องเปลี่ยนแปลงไป

"ทราย เจริญปุระ" เราอยู่ในประเทศเสรี

แต่คนที่พยายามจะให้ทุกคนมีเสรีกลับถูกลงทัณฑ์

ที่มา มติชนสุดสัปดาห์ คอลัมน์ รักคนอ่าน
มีอะไรหลายอย่างวนเวียนอยู่ในสมอง
ไม่ใช่เหตุการณ์จริงในชีวิต แต่เกิดขึ้นเฉพาะในสมองน้อยๆ ของฉัน
สาวสีลม ใครยิงใครก่อน อ.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ดาวเทียมไทยคม การปฏิวัติ และเด่นจันทร์

ฉันไม่รู้จะเลือกสนใจอะไรก่อนดี
ช่วงนี้เจอคนมากมายผ่านเข้ามาในชีวิต
บางคนก็เจอซ้ำๆ บางคนก็เจอแล้วผ่านเลยไป
สุดท้ายใครกันจะกลายเป็นเพื่อนของเรา

จำนวนเพื่อนเฉียดพันใน Facebook จะเป็นตัวบอกได้หรือไม่ ว่าสุดท้ายแล้วใครจริง
เราไม่ยิงเขาก่อน เราดีกว่า เราใหญ่กว่า เราเจริญกว่า
นี่หรือความคิดของผู้นำกองกำลัง

วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เจาะลึก “ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง”

โดย ใจ อึ๊งภากรณ์


วันนี้ สุชาดา จักรพิสุทธิ์ อดีตบรรณาธิการบริหารนิตยสาร สารคดี และกรรมการบริหารสำนักข่าวประชาธรรมประกาศเปิดตัวเวปไซท์ “ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง” ซึ่งอ้างตัวเป็น “อีกทางเลือกข่าวเชิงลึก” สำหรับคนไทย และเน้นการเปิดโปงคอรรับชั่น

แต่ก่อนที่ท่านจะหลงคิดว่าอันนี้เป็นเวป์ทางเลือกจริงๆ กรุณาพิจารณา “ข้อมูลเชิงลึก” ดังต่อไปนี้

1. “ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง” ได้รับเงินทุนทั้งหมดจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐบาลไทย ที่ได้ทุนจากการเก็บภาษีของรัฐไทย เอ็นจีโอไทยชอบขอเงินจากองค์กรนี้

2. เมื่อลองค้นหาข้อมูล “เชิงลึก” ในเวป์ “ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง” เรื่องกฏหมาย 112 ซึ่งเป็นปัญหายักษ์ใหญ่ในไทย หรือข้อมูลเกี่ยวกับการฆ่าประชาชนมือเปล่าที่ราชประสงค์และผ่านฟ้า หรือข้อมูลเรื่องงบลับของทหาร หรือการโกงกินในโครงการหลวง หรือการโกหกของ ศอฉ. หรือการโกงกินของนักการเมืองประชาธิปัตย์ ท่านจะไม่พบอะไรทั้งสิ้น แต่ปรากฏว่ามีการ “เปิดโปง” เรื่อง คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

ดร.นันทวัฒน์ ถามหาความกล้า"ประชาธิปัตย์"

เป็นฝ่ายค้านที่สะอาดดีกว่าอยู่ในรัฐบาล แล้วเป็นสีเทา

มติชนออนไลน์

นับถอยหลังการเลือกตั้ง 3 ก.ค. " มติชนออนไลน์" สัมภาษณ์พิเศษ นักกฎหมายมหาชน ศ.ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในประเด็นสำคัญที่อยากให้คุณได้อ่านก่อนไปหย่อนบัตรเลือกตั้ง

มองกรณีพรรคเพื่อไทย ดัน "คุณยิ่งลักษณ์" เป็นปาร์ตี้ลิสต์เบอร์ 1 มีนัยอะไร
กรณีคุณยิ่งลักษณ์ เป็นกรณีที่น่าสนใจ เพราะหลังจากที่พรรคไทยรักไทยถูกยุบ แล้วคุณสมัคร(สุนทรเวช)มาเป็นหัวหน้าพรรค เราก็พูดกันตลอดว่า นี่คือ นอมินี ทุกคนพยายามที่จะขุดคุ้ย แต่ทางพรรคก็พยายามบอกว่า ไม่เกี่ยวกับคุณทักษิณ แต่ในวันนี้ ทุกอย่างชัด เกิดการยอมรับขึ้น คุณยิ่งลักษณ์เองก็บอก ข่าวก็ลงว่า "ทักษิณคิด เพื่อไทยทำ" เพราะฉะนั้นวันนี้ ทุกอย่างชัดเจน เหมือนกับการเอาหวยใต้ดินขึ้นมาบนดิน ทุกอย่างขึ้นมาอยู่ข้างบน แล้วสู้กันให้เห็นชัดๆไปเลย ซึ่งผมคิดว่าดีที่สุด ที่เอาคุณยิ่งลักษณ์เป็นหัวหน้าพรรค เป็นปาร์ตี้ลิสต์เบอร์ 1 นี่เป็นการตัดสินใจที่ดีที่สุด กับประเทศชาติและประชาชนด้วย

ดีสำหรับประเทศชาติ ก็คือว่า เราจะได้ไม่ต้องขุดคุ้ยกันอีก จะได้ไม่ต้องหาว่ามีนอมินี เพื่อจะยุบพรรคการเมืองอีก
ดีสำหรับประชาชน ก็คือ ประชาชนจะได้รู้ไปเลยว่า นี่เป็นพรรคของคุณทักษิณ คุณทักษิณหนุนอยู่ และนี่คือน้องคุณทักษิณ เพราะฉะน้ัน ถ้าคุณชอบ คุณก็เลือกไปเลย ถ้าไม่ชอบ ก็ไม่ต้องเลือกไปเลย เพราะอย่างเมื่อก่อน อาจจะมีบางคนไม่ชอบคุณทักษิณ แต่ชอบคุณสมัคร แล้วก็คิดว่าเป็นพรรคคุณสมัคร แต่พอไปเลือก กลับได้คุณทักษิณมา หรืออย่างบางคนชอบคุณทักษิณ แต่ไม่ชอบคุณสมัคร ก็เลยไม่เลือก ทั้งๆที่คุณทักษิณอยู่ข้างหลัง เพราะฉะนั้นวันนี้ทุกอย่างชัด

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

วาทกรรมดูแคลนสติปัญญาประชาชน

ภายใต้บรรยากาศการหาเสียง

ศุภวิทย์ ถาวรบุตร
ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ภายใต้บรรยากาศการเลือกตั้งมีการแข่งขันหาเสียงดังที่ปรากฏเป็นข่าวกันอยู่ทุกวัน แต่สิ่งที่เราควรจะช่วยกันหยุดยั้งและต่อต้านคือวาทกรรมดูแคลนสติปัญญาประชาชนที่แฝงมากับการหาเสียง

ฝ่ายผู้ใช้วาทกรรมเหล่านี้ต้องการสร้างความชอบธรรมให้กับแนวทางและนโยบายหาเสียงของตนเอง จึงพยายามป้ายสีแนวคิดหรือนโยบายที่ตรงกันข้ามให้กลายเป็น “เรื่องผิด” หรือเป็น “ความเขลา” ที่ประชาชนไม่ควรไปหลงตาม ดังนั้น ในบรรยากาศเช่นนี้จำเป็นต้องช่วยกันหยุดคิดและลดทอนพลังของวาทกรรมดูแคลนสติปัญญาเหล่านี้

วาทกรรมเข้าข่ายดังกล่าวเท่าที่พอจะรวบรวมได้ในขณะนี้มีอยู่ 4 ข้อ คือ

1. ใช้ระบบบัญชีรายชื่อผิดเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
นักวิชาการและนักวิเคราะห์บางท่านออกมาโจมตีบัญชีรายชื่อของบรรดาพรรคการเมืองทันที โดยชี้ว่าบัญชีรายชื่อที่จัดขึ้นมาเป็นเรื่องของการตอบแทนบุญคุณบ้าง หาที่ให้นายทุนบ้าง เป็นที่ที่พวก ส.ส. เขตถูกยัดเยียดให้อยู่บ้าง สรุปคือล้วนแต่เป็นเรื่องการจัดการผลประโยชน์ภายในพรรค มากกว่าจะใช้เป็นพื้นที่เพื่อ “คัดสรรบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ” มาทำงานจริงๆ

สัมภาษณ์ 4 นักเขียนรุ่นใหม่ กับ ม.112

ถึงเวลาแล้วที่ (เรา) จะต้องออกมาพูดเรื่องนี้

สัมภาษณ์: ปาลิดา ประการโพธิ์
นับตั้งแต่ที่เหล่านักเขียนพร้อมใจกันลงชื่อใน “จดหมายเปิดผนึกถึงเพื่อนนักเขียนไทย เรื่อง ขอเชิญร่วมลงชื่อเรียกร้องแก้ไข ม.112” ก็มีกระแสตีกลับจากหลายฝ่ายทั้งในทางที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ประชาไทจึงเข้าไปพูดคุยกับ 4 นักคิด-นักเขียน ประกอบไปด้วย วาด รวี ธิติ มีแต้ม ณรรธราวุธ เมืองสุข และหนึ่งนักเขียนที่ไม่ประสงค์จะเอ่ยนาม ดังนี้

0 0 0
วาด รวี
“จริงๆเรื่องนี้เป็นเรื่องของนักเขียนโดยตรง เพราะว่าถ้าไม่มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น คนที่เดือดร้อนก่อนก็ต้องเป็นนักเขียน เพราะนักเขียนคืออาชีพที่แสดงความเห็นอยู่แล้ว
ไม่ว่าจะงานวรรณกรรม บทความ การแสดงออกทางศิลปะ หรือทางวิชาการก็ตาม”
วาด รวี

วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ปัญหาขององค์กรอิสระตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ

โดย วนเจตย์ ภาคีรัตน์
เมื่อไม่นานมานี้ ดร. วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ผู้ร่วมก่อตั้งนิติราษฎร์ ได้นำเสนอบทความเรื่อง" ปัญหาขององค์กรอิสระตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ" ผ่านเว็บนิติราษฎร์ ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้

ก่อนการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ การแบ่งแยกอำนาจในรัฐธรรมนูญเป็นการแบ่งแยกการใช้อำนาจของรัฐให้องค์กร นิติบัญญัติ คือ รัฐสภา องค์กรบริหาร คือ คณะรัฐมนตรี และองค์กรตุลาการ คือ ศาลยุติธรรม (และศาลทหาร) เป็นผู้แสดงออกซึ่งอำนาจของรัฐ รัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ได้มีการจัดตั้งองค์กรต่างๆขึ้นใหม่ซึ่งไม่เคยมีมาแต่เดิมหลายองค์กร ได้แก่ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

วันนั้น วันนี้ ปีนี้ ปีกลาย

ไม้หนึ่ง ก.กุนที

1.
ผ่านคืนวันหวั่นหวาดราชดำริ
ผ่านสันติวิธีทาสราชประสงค์
ผ่านศาลาแดงที่ยังเด่นดำรง
ผ่านสวนลุม สีลมเลิกหลงคนดี
2.
ผ่านเพลินจิต มิตรต้านยันวิทยุ
ผ่านประตูน้ำเกือบเป็นประตูผี
ผ่านรางน้ำกลางวงอ้อมเขาล้อมตี
ผ่านบดขยี้ไปถึงทางด่วนดินแดง

"ปฏิญญาสากลว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชน"

รับรองสิทธิแห่งความเป็นมนุษย์

ประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 45 ประเทศร่วมก่อตั้งสหประชาชาติในปี 2488 และร่วมเซ็นปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติในปี 2491 ปฏิญญาสิทธิมนุษยชนที่ตระหนักในศักดิ์ศรีแห่งมนุษยชาติทุกชีวิตบนพื้นพิภพว่าเท่าเทียมกันและได้รับการคุ้มครองเสมอเหมือนกัน

สำนักงานสหประชาชาติประจำประเทศไทยเขียนเรื่องบทบาทของระบบสหประชาชาติในไทย ไว้ว่า . .
ไทยเป็นประเทศผู้สนับสนุนที่แข็งแกร่งของสหประชาชาติ ประเทศไทยได้ส่งบุคลากรไปร่วมกับกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ และรับรองมติด้านสิทธิมนุษยชน อนุสัญญาและสนธิสัญญาเกี่ยวกับแรงงานและสิ่งแวดล้อม องค์กรสหประชาชาติระดับภูมิภาคเป็นจำนวนมากจัดตั้งสำนักงานในกรุงเทพฯ รวมทั้งคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิกแห่ง สหประชาชาติ (UN Economic and Social Commission for Asia and the Pacific - UNESCAP) และสำนักงานระดับภูมิภาคที่เพิ่งเปิดใหม่ของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme - UNDP-RCB)

ทำไมเราต้องยกเลิกกองทัพไทยในรูปแบบปัจจุบัน

โดย“กลุ่มเสื้อแดงเพื่อสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยและรัฐสวัสดิการ”

ถึงแม้ว่าคนส่วนใหญ่ในสังคมไทยเชื่อว่าจุดศูนย์กลางอำนาจอำมาตย์อยู่ที่กษัตริย์และราชวงศ์ ในความเป็นจริงอำนาจแท้ที่อยู่เบื้องหลังกษัตริย์คือกองทัพ กองทัพไทยแทรกแซงการเมืองและสังคมมาตั้งแต่การปฏิวัติ ๒๔๗๕ เพราะคณะราษฎร์พึ่งพาอาศัยอำนาจทหารในการทำการปฏิวัติครั้งนั้นมากเกินไป แทนที่จะเน้นการสร้างพรรคมวลชนเพื่อล้มระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

อย่าลืมว่ากองทัพมีบทบาทสำคัญในองค์มนตรี สื่อมวลชน และรัฐวิสาหกิจอีกด้วย

อย่างไรก็ตามเราควรเข้าใจว่าอำนาจทหารเป็นอำนาจจำกัด เพราะในหลายยุคหลายสมัยอำนาจกองทัพถูกจำกัดและคานด้วยการลุกฮือและการเคลื่อนไหวของประชาชน ในขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม และกรณี ๑๔ ตุลา ๒๕๑๖ และพฤษภา ๒๕๓๕ เป็นตัวอย่างที่ดี ดังนั้นเราควรเข้าใจว่ากองทัพเป็นกลุ่มอำนาจหนึ่งในชนชั้นปกครอง กลุ่มอื่นๆ ประกอบไปด้วย นายทุนใหญ่ นักการเมือง และข้าราชการชั้นสูง แต่สิ่งที่พิเศษเกี่ยวกับกองทัพ ถ้าเทียบกับกลุ่มอื่นๆ ในชนชั้นปกครองหรืออำมาตย์คือ กองทัพจะผูกขาดการใช้ความรุนแรงด้วยอาวุธสงคราม ซึ่งความรุนแรงนี้ใช้ในรัฐประหารเพื่อล้มรัฐบาลที่เป็นคู่แข่งของกลุ่มทหาร และใช้เพื่อฆ่าประชาชนมือเปล่า .... ล่าสุดก็ที่ผ่านฟ้าและราชประสงค์ในปี ๒๕๕๓ นี้เอง

วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

วาทกรรมว่าด้วย “นักการเมืองเลว”

โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุรพร เสี้ยนสลาย

สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
สมาชิกกลุ่มมสธ.เพื่อประชาธิปไตย

คำว่า “วาท กรรม( discourse)” หมายถึงคำพูดหรือเขียนเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมา โดยผู้พูดหรือเขียนได้ซ่อนเจตนารมณ์บางอย่างไว้ในคำพูดคำเขียนนั้น คำพูดเชิงวาทกรรมจึงมีทั้งส่วนที่เป็นความจริงและส่วนที่ถูกปั้นเสริมเติม แต่งขึ้น มีทั้งส่วนที่เป็นความจริงอยู่เบื้องหน้าและความจริงที่แอบซ่อนอยู่เบื้อง หลังถ้อยคำเหล่านั้น

หากมองบนพื้นฐานของคำนิยามเช่นนี้ จะเห็นว่าสังคมไทยปัจจุบันกำลังกลายเป็นสังคมที่อุดมด้วย “วาท กรรม” เป็นสังคมที่เต็มไปด้วยคำพูดคำเขียนที่มีเจตนาซ่อนเร้นแบบลับ-ลวง-พราง จนแทบแยกแยะไม่ได้ว่าอะไรเป็นความจริง อะไรเป็นเพียงวาทกรรม เหมือนเมื่อพูดถึงการเมืองไทย เรามักได้ยินคำพูดหรือข้อเขียนที่พยายามชี้ให้เห็นว่าปัญหาทั้งหลายที่เกิด ขึ้นในประเทศเวลานี้ เกิดมาจากสาเหตุสำคัญเพียงประการเดียวเท่านั้น นั่นคือเพราะเรามีนักการเมืองที่ไม่มีคุณภาพ เป็นนักการเมืองไม่ดี จ้องแต่จะโกงบ้านโกงเมือง ชอบทุจริตแสวงหาผลประโยชน์ให้ตนเองพรรคพวกหรือญาติพี่น้อง นักการเมืองพวกนี้เป็นพวกเสือสิงห์กระทิงแรด ไม่รักชาติไม่รักสถาบัน คำพูดเช่น นี้กำลังจะกลายเป็นทฤษฎีที่มีคนบางกลุ่มบางคณะพยายามนำมาใช้เพื่ออธิบายให้ เห็นความล้มเหลวของการเมืองในระบบเลือกตั้งของไทย

วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การเลือกตั้ง คือการปฏิรูปการเมือง

โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์

การเลือกตั้งในประเทศไทยที่กำลังจะมาถึงนี้ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่ออนาคตของประเทศไทย แต่การเลือกตั้งจะไม่นำมาซึ่งความสมานฉันท์ระหว่างกลุ่มต่างๆ ฉะนั้นจึงไม่เป็นหลักประกันว่าจะนำมาซึ่งความสงบเรียบร้อย และไม่มีการเลือกตั้งที่ไหนในโลกที่จะนำมาซึ่งความสุจริตของผู้บริหาร หรือนำมาซึ่งการปฏิรูปการเมือง (เพราะการปฏิรูปเป็นกระบวนการทางสังคม ไม่ใช่เรื่องที่นักปราชญ์จะมานั่งประชุมกันแล้วกำหนดให้คนอื่นปฏิรูปการ เมือง)

แต่การเลือกตั้งมีความสำคัญต่อประเทศไทย โดยเฉพาะในช่วงนี้อย่างยิ่ง

เพราะการเลือกตั้งจะนำมาซึ่ง "สิทธิธรรม" และ "อาญาสิทธิ์" ขอประทานโทษที่ต้องขยายความเป็นภาษาอังกฤษว่า legitimacy และ authority อันเป็นสองอย่างที่ถูกทำให้คลอนคลายไปในเมืองไทย นับตั้งแต่ช่วงก่อนรัฐประหาร 2549 และมลายหายสูญไปโดยสิ้นเชิงโดยรัฐประหารครั้งนั้น

วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เลือกคนใหนดี

ในตัวเรามีคนอยู่ "สามคน "

ณ วัดบ้านไร่แห่งหนึ่ง หลวงตาเพิ่งกลับจากการบิณฑบาตเห็นลูกศิษย์วัดนั่งร้องไห้สะอึกสะอื้น จึงเข้าไป ถามไถ่ว่าเป็นอะไร ลูกศิษย์ตอบกลับมาว่า "ผมถูกใส่ร้าย ผมไม่ได้ขโมยเงินในหอพระ แต่ผมเข้าไปปัดกวาดเช็ดถูบ่อย ๆ ทุกคนก็หาว่าผมเป็นขโมย ไม่มีใครเชื่อผมเลย ฮือ ฮือ"

หลวงตานั่งลงข้าง ๆ พยักหน้าเข้าใจแล้วสอนลูกศิษย์ว่า
"เจ้ารู้ไหม ในตัวเรามีคนอยู่สามคน คนแรกคือ คนที่เราอยากจะเป็น คนที่สองคือ คนที่คนอื่นคิดว่าเราเป็น คนที่สามคือ ตัวเราที่เป็นเราจริง ๆ "

ลูกศิษย์หยุดร้องไห้ นิ่งฟังหลวงตา

คนเราล้วนมีความฝัน ความทะยานอยาก ตามประสาปุถุชนทั่วไป ไม่ใช่สิ่งเลวร้าย บางครั้งความฝันก็เป็นสิ่งสวยงาม เป็นพลังที่ทำให้เราก้าวเดิน เช่น บางคนอยากเป็นนักร้อง เป็นนักมวย เป็นดารา ถ้าถึงจุดหมายเราก็จะรู้สึกว่าโลกนี้ช่างสว่าง ไสวสวยงาม ดังนั้นเราควรมีความฝันไว้ประดับตน เพื่อเป็นเครื่องหล่อเลี้ยง หัวใจ"

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

"ไพร่-อำมาตย์"

โดย. คำ ผกา

เมื่อตอนเป็นเด็กฉันอยู่บ้านไม้ เคยเห็นลวดลายฉลุไม้สวยวิจิตรในวัดแล้วอยากรู้ว่าทำไมเราไม่เอาของสวยๆ อย่างนั้นมาประดับบ้านหรือทำเป็นลวดลายตกแต่งบ้านให้สวยขึ้น

ตาของฉันซึ่งเป็นเจ้าของบ้านตอบว่า "บ้านชาวบ้านถ้ามีงานไม้แกะสลักอยู่ในบ้านแล้วจะขึด" คำว่า "ขึด" แปลว่า เป็นกาลกิณีอะไรทำนองนั้น

ถ้าคำถามใดมีคำตอบว่า "ถ้าทำลงไปแล้วจะขึด" ก็เป็นอันว่าไม่ต้องถามต่อ ไม่ต้องสงสัย ขึดก็คือขึด

สถานที่ที่จะตกแต่งด้วยไม้ฉลุหรือไม้แกะสลักได้ถ้าไม่ใช่วัดก็ต้องเป็นบ้าน "เจ้านาย" บ้านไพร่สามัญชนมีไม่ได้ ข้อห้ามทำนองนี้มีอีกมาก เช่น ผ้าถุงที่ทอสอดดิ้นเงินดิ้นทองนั้น หญิงไพร่สามัญชนใส่ไม่ได้ จะ "ขึด" เพราะมีไว้สำหรับ "เจ้าหญิง" เท่านั้น

เสื้อผ้า เครื่องประดับ และอีกหลายอย่าง ว่ากันว่าหากผู้ครอบครอง "บุญไม่ถึง" แล้วดันทุรังเก็บรักษาเอาไว้กับตัว ก็จะมีอันเป็นไปต่างๆ นานา

ข้อคิดเห็นบางประการต่อการเลือกตั้ง

โดย จาตุรนต์ ฉายแสง

เห็นประเด็นหารือ ระหว่างนายกฯกับกกต.จากหน้าหนังสือพิมพ์แล้วทำให้รู้สึกวังเวงทีเดียว แสดงให้เห็นปัญหาความไม่เข้าใจอะไรหลายอย่างของกกต.

ขณะเดียวกันนายกฯ ก็อาศัยโอกาสหาเสียงด้วยการแสดงความตั้งใจร่วมมือแต่ปัญหาต่อไปก็คือฝ่าย อื่นๆจะต้องถูกควบคุมอย่างเข้มงวดกว่านายกฯและครม.แน่นายกฯและรมต.ยังต้อง ปฏิบัติห้าที่ต่อไปโดยมีข้อห้ามตามรัฐธรรมนูญไว้อยู่แล้วว่าระหว่างปฏิบัติ หน้าที่ทำอะไรไม่ได้บ้าง ดังนั้นกกต.จึงไม่ควรไปออกระเบียบหรือกำหนดหลักเกณฑ์อะไรไปห้ามนายกฯและ รัฐมนตรีเกินกว่าที่รัฐธรรมนูญกำหนด แม้ว่าเขาจะเป็นผู้สมัครก็ตาม

การตีความของกก ต.บางคนกลายเป็นจำกัดบทบาทและการทำหน้าที่ของนายกฯและรมต.ให้เหลือเท่าทีจำ เป็นหรือกรณีฉุกเฉินเท่านั้นซึ่งไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ

ความเห็นกกต.เรื่องรปภ.และการใช้รถกันกระสุนของนรม.เป็นทัศนะที่แย่มาก ไม่เข้าใจความสำคัญของผู้ปฏิบัติหน้าที่ของนายกฯเอาเสียเลย

พุทธทำนาย 16 ประการ

ทรงทำนายพระสุบินของพระเจ้าเสนทิโกศล จำนวน 16 ข้อ

พุทธทำนายในที่นี้ จะกล่าวถึงเรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงทำนายพระสุบิน (ความฝัน) ของพระเจ้าเสนทิโกศล จำนวน 16 ข้อ ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงทำนายว่า เหตุการณ์เหล่านั้นจะเกิดขึ้น ในยุคสมัยที่ศาสนาได้เสื่อมลง ซึ่งหลายอย่างได้เกิดขึ้นแล้วในปัจจุบัน เนื้อความดังกล่าวปรากฏใน อรรถกถาพระไตรปิฎก มหาสุบินชาดก เอกนิบาตชาดก ขุททกนิกาย มีเนื้อความดังต่อไปนี้

วันหนึ่งพระเจ้าโกศลมหาราช เสด็จเข้าสู่นิทรารมย์ในราตรีกาล ในปัจฉิมยามทอดพระเนตรเห็น พระสุบินนิมิตรอันใหญ่หลวง 16 ประการ ทรงตระหนกพระทัยตื่นพระบรรทม ทรงพระดำริว่า เพราะเราเห็นสุบินนิมิตรเหล่านี้ จักมีอะไรแก่เราบ้างหนอ เป็นผู้อันความสะดุ้งต่อมรณภัย คุกคามแล้ว ทรงประทับเหนือพระแท่นที่ไสยาสน์นั้นแล จนล่วงราตรีกาล ครั้นรุ่งเช้า พวกพราหมณ์ปุโรหิตเข้าเฝ้ากราบทูลถามว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระองค์บรรทมเป็นสุขหรือพระเจ้าข้า?

วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ยอมรับผลการเลือกตั้ง : ทางออกง่ายๆอย่าทำให้ยุ่งยาก

คอลลัมน์ : เส้นแบ่งความคิด หนังสือพิมพ์สยามรัฐ
โดย อาจารย์สุชา จุลเพชร
ที่ปรึกษาสภานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตย

การเมืองไทยวันนี้มีสถานการณ์เลือกตั้งเป็นศูนย์กลาง การเคลื่อนไหวใดๆล้วนเกิดขึ้นจากอิทธิพลของสถานการณ์เลือกตั้ง ไม่ว่าการเคลื่อนไหวของพรรคการเมืองและกลุ่มอำนาจต่างๆเป็นไปเพื่อช่วงชิงและรักษาไว้ซึ่งอำนาจการเมืองของตนเองผ่านระบบเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้นทั้งสิ้น

สถานการณ์เลือกตั้งครั้งนี้ก็เหมือนกับการเลือกตั้งปี 2550 เพราะยังเป็นการเลือกตั้งภายใต้ความเชื่อเรื่องขั้วอำนาจ เชื่อในเรื่องอำนาจเหนือรัฐธรรมนูญและเหนือผลการเลือกตั้ง เชื่อว่าผลการเลือกตั้งต้องออกมาเป็นที่พึงพอใจของขั้วอำนาจซึ่งครองเมืองในปัจจุบันนี้เท่านั้นจึงเป็นที่ยอมรับ หากผลการเลือกตั้งเป็นไปในทิศทางตรงกันข้ามจะเกิดปัญหาใหญ่ติดตามมาอย่างแน่นอน

ความวิตกกังวลนี้มองไปถึงสถานการณ์หลังเลือกตั้งไม่มีหลักประกันความสงบสุข หลายฝ่ายจึงหาทางออกหลายทิศทาง พรรคการเมืองใหญ่สองพรรคคือพรรคเพื่อไทยกับพรรคประชาธิปัตย์แสดงท่าทีประหนึ่งว่ายึดประเพณีของระบบเลือกตั้ง พรรคใดได้ ส.ส.มากกว่าเป็นฝ่ายจัดตั้งรัฐบาล ท่าทีนี้ดูเหมือนเป็นที่ยอมรับโดยไม่ต้องทำสัตยาบัน

“ยุบสภาผู้แทนราษฎร”

โดย ศ.ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์
การยุบสภาผู้แทนราษฎรไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ หากไปดูประวัติของการยุบสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทยก็จะพบว่าเกิดขึ้นมาแล้ว 12 ครั้งแล้ว ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2481 โดยมีพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นนายกรัฐมนตรี ส่วนครั้งสุดท้าย นายกรัฐมนตรีผู้ใช้อำนาจยุบสภาผู้แทนราษฎรในปี พ.ศ. 2549 คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

การยุบสภาผู้แทนราษฎรเป็นกลไกสำคัญกลไกหนึ่งของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยภายใต้ระบบรัฐสภา มีขึ้นเพื่อให้ฝ่ายบริหารสามารถ “ควบคุม” การทำงานของสภาผู้แทนราษฎรได้ โดยเหตุผลดั้งเดิมของการยุบสภาผู้แทนราษฎรก็เพื่อแก้ไขข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นในการทำงานระหว่างรัฐบาลกับรัฐสภาหรือระหว่างสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้วยกันเอง

แต่อย่างไรก็ตาม เท่าที่ทราบไม่เคยมีรัฐธรรมนูญของประเทศไทยฉบับใดเลยที่กำหนดถึง “เหตุ” ที่นายกรัฐมนตรีจะนำมาใช้เพื่อเป็น “ฐาน” ในการยุบสภา คงบัญญัติไว้คล้าย ๆ กันคือพระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่เท่านั้นเอง ซึ่งในต่างประเทศก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน เพราะฉะนั้น การยุบสภาผู้แทนราษฎรจึงเป็นดุลพินิจของฝ่ายบริหาร เป็นเครื่องมือที่ฝ่ายบริหารใช้ในการควบคุมการทำงานของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รวมทั้งยังเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้พรรคร่วมรัฐบาลสามัคคีกันอีกด้วย

วันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

มรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในปัจจุบัน

โดย ธงชัย วนิจจกูล

“ การประนีประนอมหาทางออกในวันนี้จะส่งผลดีต่อ (สถาบัน) พระมหากษัตริย์ในระยะยาว อันดับแรกสุดคือ ‘เปิดประตู’ เปิดช่องทางให้กับการประนีประนอม

หยุด ใช้มาตรา 112 ณ บัดนี้ ปลดปล่อยคนที่เดือดร้อนโดยเร็วที่สุด ปล่อยคุณสมยศ (พฤกษาเกษมสุข) ปล่อยคุณดา (ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล) และคนอื่นๆ

ขจัด บรรยากาศความกลัวที่ปกคลุมประเทศไทยในขณะนี้ ยอมให้มีการอภิปรายถึงบทบาทสถานะทางการเมืองของ (สถาบัน) พระมหากษัตริย์อย่างเปิดเผย ปล่อยให้กระบวนการประชาธิปไตยดำเนินไปตามทางของมันไม่ว่าจะลุ่มๆดอนๆขนาดไหน ก็ตาม

หากน้อยกว่านี้ สายกว่านี้ หรือรังแกกันต่อไป ก็จะยิ่งเร่งให้ “สุก” โดยไม่จำเป็นเลย

พระ มหากษัตริย์ต้องอยู่พ้นจากการเมืองอย่างแท้จริง จึงจะไม่เกิดความขัดแย้งในเรื่องสถาบันหรือตัวบุคคลอีกต่อไป ฝ่ายเจ้าจึงจะไม่ต้องวิตก วิ่งเต้น สะสมกำลัง ชิงความได้เปรียบกันอีกต่อไป ไม่ต้องกลัวว่านักการเมืองรายใดจะมาเป็นคู่แข่ง เพราะไม่มีอำนาจการเมืองเป็นเดิมพันอีกต่อไป

สั่งให้รักพ่อ

โดย เกษียร เตชะพีระ

ด้วยภาษาอังกฤษที่ถูกบ้างผิดบ้างแต่พออ่านเข้าใจ หนูกลอยรีบเขียนอี-เมล เล่าข่าวคราวสู่พ่อแม่ทันทีที่ไปถึงโรงเรียนวิทยาศาสตร์ในเมืองปูซาน เกาหลีใต้ ตามโครงการแลกเปลี่ยนนักเรียนกับโรงเรียนในเมืองไทยระหว่างปิดเทอมใหญ่

นับ เป็นหนแรกที่หนูกลอยไปต่างประเทศโดยไม่มีพ่อแม่ไปด้วย ถึงจะร่วมคณะกับครู และเพื่อนนักเรียนร่วมสิบคน แต่หัวอกพ่อแม่ก็อดเป็นห่วงไม่ได้ เมื่อได้ อี-เมล มาไวทันใจ ก็ช่วยให้โล่งอก

ตอนไปญี่ปุ่นด้วยกันครั้งแรกเมื่อ สิบกว่าปีก่อน หนูกลอยเพิ่งอายุ 5 ขวบ จำได้ว่าเธอเที่ยวจ้อภาษาไทยกับผู้โดยสารบนรถไฟฟ้าในเกียวโตหน้าตาเฉย เพราะคิดตามประสาเด็กเล็กว่า ที่ไหนในโลกก็น่าจะเหมือนบ้านเรา คนที่ไหนก็ควรจะพูด/ฟังภาษาไทยรู้เรื่องกันทั้งนั้น

เมื่อพบว่าไม่ เป็นดังคาดและใครต่อใครล้วนพูดภาษาต่างด้าวอะไรไม่รู้เร็วๆ สั้นๆ กระชั้น กระชับที่เธอฟังไม่เข้าใจ หนูกลอยก็อึดอัดใจพอควร ถึงขนาดที่ช่วงแรกของการเข้าเรียนอนุบาลคริสเตียนที่นั่น เวลาพ่อแม่พาไปส่งโรงเรียน หนูกลอยจะตาแดงๆ ยุดพ่อแม่ไว้ไม่ยอมให้กลับทุกเช้า

หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ชี้อนาคตของ 'ทักษิณ'

คอลลัมน์ "เส้นแบ่งความคิด" หนังสือพิมพ์สยามรัฐ (24 มค.54)
โดย อาจารย์สุชา จุลเพชร
ที่ปรึกษาสภานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตย

การปรับเปลี่ยนภายในพรรคเพื่อไทยเพื่อวางตัวว่าที่หัวหน้าพรรคซึ่งจะต้องเปิดตัวไว้อย่างไม่เป็นทางการในท้ายญัตติเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลในเร็วๆ นี้ ซึ่งฝ่ายค้านจะต้องระบุชื่อคนที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีไว้ด้วย และเป็นที่แน่ชัดแล้วบุคคลที่มีรายชื่อเป็นหัวหน้าอภิปรายและเป็นนายกรัฐมนตรีคือนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์

ทันทีที่ชื่อนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ปรากฏขึ้นก็มีปฏิกิริยาเกิดขึ้นทั้งภายในพรรคและภายนอกพรรค ผู้แสดงท่าทีคัดค้านภายในพรรคอย่างออกหน้าออกตาที่สุดคือ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ถึงขั้นประกาศไม่ร่วมวงอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลครั้งนี้ หลังจากนั้นก็ประกาศจะแยกตัวไปก่อตั้งพรรคใหม่ อีกด้านหนึ่งปฏิกิริยาภายนอกพรรคก็มีการวิพากษ์วิจารณ์คาดหมายจากสื่อมวลชนไปในทิศทางต่างๆนานา ส่วนใหญ่เห็นนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์จะกลายเป็นเหยื่อทางการเมืองอีกรายหนึ่งในแผนการเมืองของ พ.ต.ท.ทักษิณเท่านั้น
การเลือกชื่อนายมิ่งขวัญเป็นว่าที่หัวหน้าพรรคเพื่อไทยคนใหม่นั้น ไม่ใช่เกิดขึ้นลอยๆโดยไม่ผ่านความเห็นชอบของ พ.ต.ท.ทักษิณชินวัตร เจ้าของพรรคตัวจริง เพราะก่อนจะเลือกชื่อนายมิ่งขวัญเป็นที่สุดนั้น ย่อมมีชื่อพ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธและญาติๆ ของ พ.ต.ท.ทักษิณจำนวน หนึ่งเป็นแคนดิเดตหัวหน้าพรรค

วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เจ้าของรัฐธรรมนูญยังไม่เชื่อ แล้วใครจะเชื่อ?

คอลัมน์: เส้นแบ่งความคิด หนังสือพิมพ์สยามรัฐ
โดย อาจารย์สุชา จุลเพชร
ที่ปรึกษาสภานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตย

คนที่ไม่เชื่อว่าการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นจริงก็คือคนที่เชื่อว่าทหารยังคิดทำรัฐประหารอยู่อีก และเป็นคนที่เห็นบทบาทของทหารเป็นรูปธรรมจากการรัฐประหารปี 2549 และยังได้รับรู้ความล้มเหลวอันสืบเนื่องจากการรัฐประหารครั้งนั้นมาจนถึงปัจจุบัน

ความล้มเหลวจาการทำรัฐประหาร 2549 เป็นความล้มเหลวทั้งกระบวนการเป็นความล้มเหลวที่ส่งแรงสะเทือนอย่างลึกซึ้งไปถึงรากฐานของระบอบการเมืองไทยทำให้สังคมไทยแตกแยกไปทั่วปริมณฑลอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน เกิดภาวะสั่นคลอนทางความเชื่อเก่าแก่เชิงสัญลักษณ์อย่างรุนแรง สร้างความตึงเครียดสุดขีดขึ้นภายในสังคมไทยตลอด 5 ปีนับตั้งแต่รัฐประหารเป็นต้นมา

รัฐประหาร 2549 เกิดขึ้นเพื่อกำจัดการปกครองของพรรคการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง เป็นพรรครัฐบาลพรรคเดียวขนาดใหญ่ มีอำนาจการเมืองสูง นั่นคือพรรคไทยรักไทยที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้คณะรัฐประหารเชื่อว่ารัฐธรรมนูญ ฉบับ 2540 เป็นต้นเหตุให้เกิดรัฐบาลที่มีลักษณะน่าหวาดกลัวอย่างรัฐบาลทักษิณ

นโยบายที่พรรคการเมืองไม่พูดถึง

คอลัมน์ : เส้นแบ่งความคิด หนังสือพิมพ์สยามรัฐ
โดย อาจารย์สุชา จุลเพชร
ที่ปรึกษา สภานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตย

ต่อหน้าสถานการณ์เลือกตั้งกระชั้นเข้ามา พรรคการเมืองเก่าใหม่ทุกขนาดต่างก็เสนอนโยบายใหม่ๆ ตามความเข้าใจกันเอาเองว่ายุคสมัยนี้การเลือกตั้งต้องสู้กันด้วยนโยบาย มิใช่ใช้เงินกับความนิยมตัวผู้สมัครและชื่อเสียงของพรรคเหมือนในอดีตเสียแล้ว พรรคการเมืองใดมีนโยบายดี มีท่าทีปฏิบัติได้จริง พรรคนั้นจะได้เปรียบ

ความสำคัญของนโยบายพรรคต่อการเลือกตั้งเพิ่งจะเป็นปรากฏการณ์ครั้งแรกในปี 2544 ต่อจากนั้นก้าวถึงจุดสูงสุดในปี 2548 พรรคไทยรักไทยเจ้าของนโยบายประชานิยมได้รับชัยชนะอย่างงดงามทั้งสองครั้ง ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งไม่เคยเห็นคุณค่าของนโยบายต้องพ่ายแพ้อย่างหมดท่าทั้งสองครั้ง นับจากนั้นเป็นต้นมาทุกพรรคการเมืองเชื่อว่าการมีชีวิตรอดในสนามเลือกตั้งย่อมชี้ขาดด้วยนโยบายพรรค.

แต่ถึงกระนั้นพรรคการเมืองทั้งหลายก็ยังเข้าใจเพียงฉาบฉวย เป็นเพียงความห่วงใยต่ออนาคตของพรรคเท่านั้น มิใช่ตระหนักต่ออนาคตของประชาชน เพราะฉะนั้นพรรคการเมืองจึงนำนโยบายที่หลากสีฉูดฉาดและบางเบามาหาเสียง ทุกพรรคหลีกเลี่ยงการนำนโยบายแก้ปัญหาถึงรากเหง้าซึ่งกระทบโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมเป็นสัญญาประชาคมในการหาเสียงเลือกตั้ง เพราะทุกพรรคไม่กล้าหาญพอที่จะต่อสู้กับกำแพงชนชั้นที่ขวางกั้นประชาชนไม่ ให้เข้าถึงอำนาจการเมือง ขุมทรัพย์ทางเศรษฐกิจและเกียรติยศในสังคม

แถลงการณ์ฉบับที่ ๒ กรณี สมยศ พฤกษาเกษมสุข

ถูกดำเนินคดีข้อหาหมิ่นเสถาบันกษัตริย์ ฉบับที่ 2

ในระยะ 4-5 ปี มานี้ มีผู้ถูกดำเนินคดีด้วยข้อหาหมิ่นสถาบันกษัตริย์ตามกฎหมายอาญามาตรา 112 มากกว่า 500 คดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งสองเดือนหลังสุด แกนนำ นปช. ประชาชนทั่วไป ตลอดจนนักวิชาการ ต่างถูกดำเนินคดีและถูกข่มขู่คุกคามมากมาย เหยื่อรายล่าสุดที่ถูกกรมสอบสวนคดีพิเศษดำเนินคดี คือ คุณสมยศ พฤกษาเกษมสุข อดีตแกนนำ นปก.รุ่นที่ 2, แกนนำกลุ่ม 24 มิถุนา ประชาธิปไตย, บรรณาธิการหนังสือเรดพาวเวอร์ และอดีตบรรณาธิการหนังสือวอยส์ออฟทักษิน

กลุ่ม 24 มิถุนา ประชาธิปไตย ซึ่งเป็นองค์กรต้นสังกัดของคุณสมยศ พฤกษาเกษมสุข ไม่เพียงแต่เป็นห่วงความไม่ยุติธรรมที่เกิดขึ้นกับคุณสมยศและบุคคลที่ต้องตกเป็นเหยื่ออีกมากมายเท่านั้น หากแต่ยังมีความเป็นห่วงผลกระทบที่เกิดขึ้นในวงกว้างต่อสังคมการเมืองไทยในระยะยาว จึงแถลงความห่วงใยและจุดยืนของกลุ่มมายังพี่น้องประชาชนดังต่อไปนี้

1.เป็นที่น่าสังเกตว่าการดำเนินคดีด้วยกฎหมายมาตรา 112 ในช่วงนี้รวมทั้งกรณีคุณสมยศนั้นเป็นผลมาจากการกดดันของผู้นำเหล่าทัพ(ผบ.ทบ.ออกมาพูดหลายครั้งในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาว่าจะจัดการกับคนที่หมิ่นสถาบัน)และหน่วยทหารหลายหน่วยที่ออกมาแสดงพลังด้วยการ“ตบเท้า” เพื่อเล่นงานผู้ที่มีความเห็นไม่ลงรอยกับรัฐบาลและกองทัพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเล่นงานฝ่ายประชาชนเสื้อแดงซึ่งถูกตราหน้าว่าเป็น “ขบวนการล้มเจ้า” และคุณสมยศก็เป็นหนึ่งในผู้ที่มีรายชื่อใน“แผนผังเครือข่ายล้มเจ้า”ที่ ศอฉ.ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลและกองทัพเผยแพร่เมื่อปีที่แล้ว

Rights Group Urges Prosecutions in Thai Violence

Protesters in Bangkok last year, demanding that the government step down. At least 90 people were killed in resulting clashes.
By SETH MYDANS
Published: May 3, 2011

BANGKOK — A year after the bloody suppression of antigovernment protests in Bangkok, no government official has yet been charged with a crime related to the deaths of about 90 people, including medical workers and others who were apparently the deliberate targets of sniper fire, Human Rights Watch said in a report released Tuesday.

At a news conference here, the New York-based group’s Asia director, Brad Adams, displayed video clips that he said showed at least one sniper in military uniform, as well as figures on an elevated train track, whose presence he said contradicted the government assertions that no soldiers had been deployed there.

จดหมายจากเรือนจำของ สมยศ พฤกษาเกษมสุข

ผมนั่งอยู่ในห้องกรงขังเหล็กแน่นหนา ที่เรียกกันว่าคุก ผมสูญเสียอิสรภาพ ถูกกักขังโดดเดี่ยว ตัดขาดจากโลกภายนอก เป็นความทุกข์ทรมาน ทั้งร่างกายและจิตใจอย่างไม่เคยมีมาก่อนในชีวิต

ถ้าหากผมเป็นอาชญากรหรือฆาตกรกระทำความผิดให้ผู้อื่นตายหรือ ปล้นทรัพย์ หรือกระทำผิดศีลธรรมร้ายแรง ผมสมควรรับโทษทัณฑ์ สมควรทุกข์ทรมาน ในฐานะกระทำความผิดหรือทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน

แต่ผมได้ทำหน้าที่สื่อสารมวลชน แสดงความคิดเห็นอิสระ นำเสนอความจริง วิพากษ์วิจารณ์สังคม-การเมือง อันเป็นเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ผมได้ใช้วิชาชีพสื่อมวลชน อย่างเป็นอิสระ เพื่อให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาก้าวหน้า หรือมีความเสมอภาคเท่าเทียม ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี

ผมได้ทำหนังสือพิมพ์ เป็นสื่อกลางให้ผู้คนได้แสดงความคิดเห็น เป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมืองโดยปราศจากความกลัวหรือต้องถูกจำกัดความคิด

วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ กับความมั่นคงของสถาบัน ?

มหากาพย์การเมือง ชุด “เปิดห้องมืด ลับ ลวง พราง” ตอน 6
โดย สะอาด จันทร์ดี

ผมขอกราบเรียนว่าผมเขียนเรื่องนี้ ตามต้นเรื่องมหากาพย์การเมือง ชุด “เปิดห้องมืด ลับ ลวง พราง” เพื่อให้เกิดความมั่นคง ไมใช่เขียนทำลาย จึงขอให้ “ทุกสถาบัน” ที่กำลังจับจ้องคนเสื้อแดงว่าเป็นคนล้มเจ้านั้น ขอให้อ่านด้วยสติปัญญาอันบริสุทธิ์ แล้วจะเข้าใจขึ้นมาบ้างว่าปัญหา “ล้มเจ้า” เป็นอย่างไรกันแน่.. ?

ข้อเขียนในวันนี้ ชื่อเรื่องว่า “พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ กับ ความมั่นคงของสถาบัน ..?” โดยขอเขียนถึงพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี ซึ่งก็ไม่มีความลับแต่อย่างใด แท้ที่จริง นี้คือบันทึกเปิดผนึก ที่มุ่งหมายจะให้ “ประธานองค์มนตรี” ได้อ่าน และได้พิจารณาอย่างพินิจพิเคราะห์ เพื่อจะได้เข้าให้ถึงข้อเท็จจริงว่ามันเกิดอะไรขึ้น บ้านเมืองจึงเต็มไปด้วยความขุ่นมัวขนาดนี้
จึงหวังเอาไว้ก่อนว่าพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ จะสนใจต่อบันทึกฉบับนี้

ก่อนอื่น ผมขอกราบเรียนว่า ผมเคยเขียนบทความถึงพลเอกเปรมมาแล้วถึง ๒ ครั้ง ครั้งนี้เป็นครั้งที่ ๓ เขียนครั้งที่ ๑ ในคอลัมน์ “มองโลกในแง่ดี” หนังสือพิมพ์บ้านเมืองรายวัน เขียนครั้งที่ ๒ ในคอลัมน์ “แดงที่ราบสูง” นสพ. ไทยเร็ดนิวส์และครั้งนี้นำมาเขียนในเว็บของ “พีเพิ่ลแชนเนิ่ล ออน ไลน์”

แถลงการณ์: คัดค้านการคุกคามสิทธิเสรีภาพประชาชน

ด้วย “กฎหมายหมิ่นฯ” (กรณีล่าสุด สมยศ พฤกษาเกษมสุข )

นับแต่รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา มีผู้ได้รับผลกระทบจากประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือ "กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ" ทั้งทางตรงและทางอ้อมเป็นจำนวนมาก เฉพาะในช่วงตั้งแต่ปี 2548 - 2552 สถิติของคดีเหล่านี้มีมากถึง 547 คดี โดยศาลมีคำตัดสินว่าเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพแล้วจำนวน 247 คดี และล่าสุดในเดือนเมษายน 2554 เพียงเดือนเดียว ได้มีการใช้กฎหมายนี้กับประชาชนในหลายกรณี โดยเท่าที่ปรากฏเป็นรายงานข่าวคือ

การคุกคามสิทธิเสรีภาพในการแสดงความ คิดเห็นของ ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล จากกรณีการอภิปรายสาธารณะเกี่ยวกับบทบาทของสถาบันกษัตริย์ในสังคมไทย ซึ่งได้มีการแถลงข่าวเปิดเผยเรื่องนี้เมื่อวันที่ 24 เมษายน ที่ผ่านมา

27 เมษายน ตำรวจกองปราบฯ ได้เรียกธนาพล อิ๋วสกุล บรรณาธิการนิตยสารฟ้าเดียวกัน เข้าให้ปากคำในฐานะพยาน กรณีมีผู้ฟ้องว่าข้อความในเว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน (ปัจจุบันปิดไปแล้ว) อาจเข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดยระบุนามแฝงของผู้โพสต์ เจ้าของกระทู้ และผู้แสดงความเห็นในกระทู้ที่มีข้อความเข้าข่ายดังกล่าว จำนวน 54 รายชื่อ จาก 46 ยูอาร์แอล (URL)

วันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

วิกฤตการณ์แห่งอำนาจอธิปไตย

1. วิกฤตการณ์แห่งอำนาจอธิปไตย
1.1. สาเหตุแห่งวิกฤติ
1.1.1. โลกาภิวัฒน์มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงกรอบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การได้เปรียบ-เสียเปรียบของข้อตกลงทางการค้า การเคลื่อนย้ายทุน คน สินค้า ข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยี เป็นไปอย่างเสรี รวดเร็วและสลับซับซ้อน กดดันให้คนทั่วทั้งโลกต้องปรับตัวอย่างขนานใหญ่ ทั้งกรอบในการรับรู้ การวิเคราะห์ การทำความเข้าใจโลก และการประเมิณคุณค่าใหม่ๆ สถานการณ์โดยรวมก่อให้เกิดเส้นแบ่งใหม่ระหว่างฝ่ายที่ปรับตัวได้กับฝ่ายที่ไม่สามารถปรับตัวได้ (กลุ่มอนุรักษ์ใหม่ ) ประเด็นหลักของการปรับตัวคือ ยอมรับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจหรือไม่ อยู่ในฝ่ายที่ได้เปรียบ-เสียเปรียบต่อการแปรรูปหรือไม่อย่างไร ยอมรับการตกลงการค้าเสรีโดยหลักการหรือไม่ อยู่ในฝ่ายที่ได้เปรียบ-เสียเปรียบต่อข้อตกลงทางการค้ารายสินค้าหรือไม่อย่างไร กลุ่มคนที่ปรับตัวไม่ได้และเสียประโยชน์จากผลกระทบของโลกาภิวัฒน์ มีแนวโน้มที่จะเข้าร่วมกระทั่งเป็นตัวตั้งตัวตีต่อการต่อต้านรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เพราะท่านเน้นยุทธศาสตร์ อยู่ร่วมกับโลกาภิวัฒน์และใช้ประโยชน์จากโลกาภิวัฒน์เป็นสำคัญ

1.1.2. กลุ่มทุนที่ไร้ความสามารถปรับตัวหลังวิกฤติ ทั้งกลุ่มที่เป็น NPL (เช่นผู้จัดการ TPI) กลุ่มที่ไม่มีความสามารถทำกำไรและ/หรือ ขยายกิจการอย่างมีข้อจำกัด ล้วนมีความคาดหวังพึ่งพารัฐและต้องการใช้สิทธิพิเศษฟื้นฟูกิจการของตน เมื่อพึ่งพาและใช้สิทธ์พิเศษไม่ได้ก็หันไปอยู่ตรงข้ามกับรัฐบาล

รัฐไทยกับภาพหลอนประวัติศาสตร์ขบวนการกรรมกร

โดย ณัฐพล พึ่งธรรม
30 เม.ย. 2554
บทความนี้เขียนขึ้นเนื่องในโอกาสวันกรรมกรสากล 1 พฤษภาคม 2554 เรียบเรียงจากการสัมภาษณ์ นักวิชาการอิสระด้านแรงงาน ศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา ได้กล่าวทบทวนย้อนประวัติศาสตร์แรงงานไทยในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ นับตั้งแต่สมัยเริ่มเปิดประตูเศรษฐกิจสู่ตลาดโลก ผ่านยุคปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง ฉายภาพประวัติศาสตร์การเคลื่อนไหวต่อสู้ของขบวนการกรรมกรที่เป็นภาพติดหลอนรัฐไทยมาโ​ดยตลอด รัฐและนายทุนยังคงวนเวียนอยู่กับความหวาดกลัวเรื่อง “การรวมตัว และการเจรจาต่อรอง” ของชนชั้นแรงงาน

“ถ้าเวลาเราพูดเรื่องความเหลื่อมล้ำแล้วไม่พูดเรื่องสิทธิในการรวมตัวเจรจาต่อรองมัน​จึงเป็นเรื่องที่เพ้อฝัน เป็นไปไม่ได้เลย”

ยุคเปิดประตูสู่เศรษฐกิจโลก
ภายหลังไทยทำสนธิสัญญาเบาว์ริง(Bowring Treaty) เมื่อ ปี2398 ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมขยายตัว มีความต้องการแรงงานรับจ้าง แต่ไทยยังอยู่ในระบบแรงงานเกณฑ์ ระบบไพร่ คนยังไม่มีอิสระที่จะเดินทาง ต้องถูกเกณฑ์ไปใช้แรงงาน เราอยู่ในสภาพขาดแคลนแรงงาน ทำให้ต้องนำเข้าแรงงานจากประเทศจีน รัฐไทยถูกนำเข้าสู่กระบวนการแบ่งงานกันทำระหว่างประเทศ ถูกจูงเข้าไปสู่การเป็นประเทศผู้ผลิตข้าวเพื่อการส่งออก รัฐบาลส่งเสริมการเพาะปลูกข้าว ส่วนคนไทยเองก็เลือกที่จะอยู่กับเรือกสวนไร่นาเพราะคุ้นเคยมากกว่า และการทำการเกษตร เพาะปลูกข้าวนั้น ก็ได้ผลตอบแทนสูงกว่าการเข้าไปเป็นแรงงานรับจ้างในเมือง