เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม เลขทะเบียน ๘๖๙ สภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า

อุดมการณ์สถานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตย

เรา...มั่นใจว่า
ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา
ประเทศไทย เป็นของเราทุกคน
เรา ต้องร่วมกันสร้างชาติไทย ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์  พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2554

รายงานความจริงหลังลูกกรง ตอนที่ 3

หลังยกเลิกการประกาศใช้พรก.ฉุกเฉิน ยังมีนักโทษพรก.ฉุกเฉินจองจำในคุกอยู่

แม้ว่า รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะประกาศยกเลิกการใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯในกรุงเทพฯและปริมณฑล เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ ให้กับประชาชน ในปี 2554 ตามที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯผู้ซึ่งไม่มีวาจาสัตย์ ได้ลั่นวาจาไว้ แต่การยกเลิกการประกาศใช้พรก.ฉุกเฉินเป็นเรื่องเดียว ตลอดระยะเวลาเกือบ 2ปี ที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ที่นายอภิสิทธิ์ ได้กระทำตามที่ตนเองพูดแล้วก็ตาม แต่เมื่อสำรวจสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นหลังการประกาศยกเลิกการใช้พรก.ฉุกเฉิน กลุ่มสมัชชาสังคมก้าวหน้าและ ศูนย์ข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบเหตุสลายการชุมนุมเม.ย.- พ.ค.2553 (ศปช.) พบว่า ในความเป็นจริง ยังคงมีชาวเสื้อแดงที่ติดคุกเพราะการประกาศใช้พรก.ฉุกเฉินของรัฐบาลอยู่อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งขณะนี้ใช้ชีวิตอยู่ในเรือนจำคลองเปรม แดน 8 ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่า รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่ได้มีความจริงใจในการยกเลิกการใช้พรก.ฉุกเฉิน อย่างแท้จริง นักโทษเสื้อแดงที่ติดคุกอยู่ข้างใน เขามีความเห็นว่า หากรัฐบาลจริงใจต่อประชาชนแล้ว หลังยกเลิก การประกาศใช้พรก.ฉุกเฉิน รัฐบาลจะต้องปล่อยนักโทษในข้อหาฝ่าฝืนพรก.ฉุกเฉินทันที หรือรัฐบาลจะต้องไม่ดำเนินคดีต่อประชาชน ในข้อหา กระทำการฝ่าฝืนพรก.ฉุกเฉิน

อภิวัฒน์ เกิดนอก เป็นหนึ่ง ในตัวอย่างของ ข้อเท็จจริงข้างต้นนี้ เขาอายุ 29 ปี รูปร่างสันทัด ผิว ดำแดง เป็นชาวอำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น เกิดและเติบโตอยู่ที่จังหวัดขอนแก่น มีอาชีพ ทำนา และหากมีเวลาว่าง เขาก็จะไปตระเวณแข่ง ชกมวย ตามงานวัดต่างๆเพื่อหาเงิน

เขาเล่าให้คณะของเราฟังว่า เขาติดตามข่าวสารของเสื้อแดงมานาน และ ก่อนหน้าวันที่ 17 พฤษภาคม 2553 เขาไม่เคยมาร่วมชุมนุมกับเสื้อแดงที่กรุงเทพฯเลย
เขาเล่าถึงสาเหตุที่เขามาร่วมชุมนุมว่า ก่อนหน้าวันที่ 17 พฤษภาคม 2553เขาอยู่ที่จังหวัดขอนแก่น ได้ยินข่าวทางโทรทัศน์และวิทยุ ประกาศว่า คนเสื้อแดง เป็นผู้ก่อการร้าย และครอบครองอาวุธ กับพยายามทำลายความสงบของบ้านเมือง ข่าวสารที่ได้รับฟัง จากทีวีและวิทยุ แตกต่างจากชาวเสื้อแดงแถวบ้านที่ไปร่วมชุมนุมแล้วกลับมา เล่าให้เขาฟังที่หมู่บ้านและเขาก็มีความรู้สึกว่าฝ่ายรัฐบาลใส่ร้ายป้ายสีเสื้อแดงมาก ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องทำให้เขาไม่สามารถอยู่บ้านเฉยๆได้
ในเช้าวันที่ 17 พฤษภาคม 2553 เขาจึงเดินทางออกจากหมู่บ้าน มุ่งหน้าไปยัง ศาลากลางจังหวัดขอนแก่นโดยยืมเงินค่ารถคนในหมู่บ้าน จำนวน 100 บาท เขาเดินทางมาถึง ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น ในช่วงสายๆๆ และเมื่อเดินทางมา เขาเห็นกลุ่มคนเสื้อแดงขนาดย่อมจำนวนประมาณ 200 กว่า มายืนชุมุนมกันที่ หน้าศาลากลางจังหวัด และทุกคนต่างร้อนรนกังวลถึงสถานการณ์ที่ได้ยินข่าวจากทางกรุงเทพฯ บริเวณนั้น มีการพูดโทรโข่งเป็นครั้งคราว ส่วนมากก็จับกลุ่มกัน พูดกันถึงสถานการณ์ทางกรุงเทพฯ

เขาไปนั่งฟังการชุมนุมย่อย และฟังข่าวลือต่างๆนานา อาทิเช่น ทางทหารตั้งด่านสกัดไม่ให้ชาวเสื้อแดงเข้ากรุงเทพ และหากฝ่าฝืนทหารจะจับ

อภิวัฒน์ เองต้องการไปช่วยเสื้อแดงที่ราชประสงค์ เขาหวังเพียงอย่างเดียวว่า ถ้าคนไปเยอะๆ อาจจะช่วยอะไรได้บ้าง เขาจึงตัดสินใจที่จะ เดินทางไปกรุงเทพเพื่อไปช่วยเสื้อแดงที่ราชประสงค์ ซึ่งเมื่อมีคนรู้ว่าเขาจะไป ก็มีคนบริจาคค่ารถให้เขา 500 บาท

ตอนเวลาประมาณ 2 ทุ่มกว่าของคืนวันที่17 พฤษภาคม 2553 อภิวัฒน์ พร้อมกับชาวเสื้อแดงคนอื่นๆที่เขาไม่เคยรู้จักกันเลย รวม 4 คน จึงนั่งรถโดยสารปรับอากาศเดินทางออกจากขอนแก่น โดยมีจุดมุ่งหมายคือ ต้องเข้าไปช่วยคนที่ราชประสงค์ให้ได้

เขาเล่าติดตลกว่า สุดท้ายที่เขาอยากไปกลับไม่ได้มีโอกาสเข้าไป แต่ที่เขาไม่ต้องการ กลับได้ไป ระหว่างการเดินทาง เขาและเสื้อแดงที่มาด้วยกัน ได้คุยกันไม่มาก ไถ่ถามกันแต่เพียงว่า มาจากอำเภออะไร และเมื่อไปถึงจะพากันไปช่วยกันทำอะไร

คณะของเขาเดินทางมาถึงหมอชิตใหม่ตอนราวๆตี 3- 4 ของวันที่ 18 พฤษภาคม 2553 และเรียกแท๊กซี่ไปส่งที่แยกราชประสงค์ คนขับรถแท็กซี่ ขับมาถึงตรงแยกสามเหลี่ยมดินแดง แจ้งต่อคณะของเขาว่าไปได้สุดทางแค่ สามเหลี่ยมดินแดง เนื่องจากทหารซุ่มยิงเต็มไปหมด

ทั้งหมดจึงพากันอยู่แถว สามเหลี่ยมดินแดง ซึ่งขณะนั้นมีกลุ่มคนเสื้อแดงจำนวนประมาณ 100 กว่าคน รวมตัวกันเขาจำได้เลาๆว่า ที่นั่นมีเวที ปราศรัย ขนาดย่อยด้วย และคนแถวนั้นไม่ใส่เสื้อสีแดงเลย

เขาและคณะที่มาด้วยกันต่างแยกย้ายกันหาที่นอนที่นั่งแถวๆนั้นตอนเช้า เวลาประมาณ 6 โมงกว่า เขาจึงว่าจ้างวินมอเตอร์ไซค์ให้ไปส่งที่ราชประสงค์ ส่วนเสื้อแดงที่มาด้วยกันนั้นมีคนหนึ่งได้เรียกมอเตอร์ไซค์เข้าไปก่อนหน้าเขา โดยคันของเขา ขี่ตามกันไปติดๆ เขาจำได้ว่า คันข้างหน้านั้น คนที่เข้าไปก่อน เข้าไปได้ ส่วนตัวของเขานั้น เมื่อเข้าไปในซอยรางน้ำ ก็เจอด่านทหารตั้งอยู่ ทหารก็เรียกให้เขาหยุด เขาก็ลงจากรถมอเตอร์ไซค์ ๆก็ขี่ออกไป มีทหารนายหนึ่ง เรียกเขามาถาม และก็ค้นตัวเขา ทหารค้นเจอแต่บัตรประชาชน กับบัตรนปช. แดงทั้งแผ่นดิน
อภิวัฒน์ เล่าต่อไปว่า ทหารที่ค้นตัวเขา ไม่ได้ซ้อมและทำร้ายร่างกายแต่อย่างใด ทหารถามเขาว่าจะเขาไปไหน เขาบอกว่า จะเข้าไปหาเสื้อแดงที่ราชประสงค์ ทหารก็ถามเขาว่าจะเข้าไปทำไม เขาก็บอกว่า เขาจะเข้าไปชุมนุมที่แยกราชประสงค์ ทหารก็ให้เขานั่งรออยู่แถวนั้น และมีการประสารกันระหว่างทหารว่า จะทำอย่างไรกับกรณีของเขา สักครู่ก็มีทหารมาแจ้งเขาว่าให้รอไปก่อน และบอกกับเขาอีกว่า จะส่งเขากลับบ้านที่ต่างจังหวัด
อภิวัฒน์ บอกว่า หลังจากที่ทหารบอกว่าจะส่งเขากลับบ้านเขาก็รอคอยต่อไป เขาจำได้ว่ารอนานพอสมควร เขาไม่ทราบว่าระหว่างประสานงานกันเกิดปัญหาอะไรขึ้นไม่อาจรู้ได้ อีกสักพักใหญ่ ทหารจึงควบคุมตัวเขาไปที่สน.พญาไท เขาถูกขังที่ สน.พญาไท 1 คืน ตำรวจแจ้งข้อหาเขาและเขาก็รับสารภาพ และต่อมาเช้าวันที่19 พฤษภาคม 2553 ตำรวจก็ส่งเขาไปที่ศาล แขวงดุสิต
เมื่อมาถึงศาลแขวงดุสิต ผู้พิพากษาก็อ่านคำฟ้องให้เขาฟัง บอกว่าพนักงานอัยการ กล่าวหาเขาว่า ” ฝ่าฝืนคำสั่งพนักงานเจ้าหน้าที่ ที่มีอำนาจ ซึ่งห้ามบุคคล ซึ่งมีพฤติการณ์หรือน่าเชื่อว่าเข้ามามีส่วนร่วมในการชุมนุม เพื่อกระทำการกระทบต่อความมั่นคงของรัฐหรือความปลอดภัยของประชาชน เข้ามาในพื้นที่ที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง” ซึ่งคำฟ้องของพนักงานอัยการมีข้อความว่า
“ เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2553 จำเลยนี้ได้ร่วมกันบังอาจจะเข้าไปร่วมชุมนุมที่แยกราชประสงค์ อันเป็นเขตพื้นที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง โดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารได้ตั้งด่านตรวจ ห้ามบุคคลเข้าร่วมชุมนุม จำเลยได้เดินอยู่ในซอยรางน้ำมุ่งไปเข้าถนนราชปรารภ จึงเรียกให้หยุดแล้วตรวจค้นพบบัตรประจำตัว นปช.แดงทั้งแผ่นดิน จำนวน 1ใบ และยอมรับว่าจะไปร่วมชุมนุมที่แยกสามเหลี่ยมดินแดงและแยกราชประสงค์จริง จึงจับกุมตัวจำเลยนี้ไว้ได้ การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งพนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจ ซึ่งห้ามบุคคลใดซึ่งมีพฤติการณ์หรือน่าเชื่อว่าเข้ามามีส่วนร่วมในการชุมนุมเพื่อกระทำการกระทบต่อความมั่นคงของรัฐหรือความปลอดภัยของประชาชนเข้ามาในพื้นที่ที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย “
นอกจากนี้ ศาลยังได้อธิบายให้เขาฟังด้วยว่า เจ้าพนักงานจับจำเลยนี้ได้พร้อมด้วย 1.หนังสติ๊ก 1 อัน 2.ลูกแก้ว 8 ลูก ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด เป็นของกลาง


เมื่อผู้พิพากษาอ่านให้เขาฟังและถามเขาว่าจะรับสารภาพหรือปฎิเสธ เขาก็บอกว่ารับสารภาพครับ เขาเล่าให้ คณะของเราในภายหลังทราบว่า ที่เขารับสารภาพ ก็เพราะว่า ก็เขาตั้งใจจะเข้าไปแยกราชประสงค์จริงๆ จึงไม่ประสงค์ต่อสู้คดี อย่างมากก็แค่รอลงอาญาเพราะเขาไม่เคยทำผิดมาก่อนอีกทั้งคดีของเขานั้นแค่ฝ่าฝืนพรก.ฉุกเฉิน เท่านั้น แต่การกลับไม่เป็นอย่างที่เขาคิดไว้ โดยคดีนี้ ศาลพิพากษาว่า เขามีความผิดตามฟ้อง การกระทำความผิดของเขาในขณะที่บ้านเมืองมีความวุ่นวายเกิดเหตุจลาจล อันเป็นการส่อแสดงว่าจำเลยไม่เคารพยำเกรงต่อกฎหมายบ้านเมือง ทั้งเป็นเยี่ยงอย่างที่ไม่ดีต่อประชาชนทั่วไป เป็นการทำลายความสงบสุขของประเทศ จึงเห็นควรลงโทษสถานหนัก จำคุก 2 ปี จำเลยให้การรับสารภาพลดโทษให้กี่งหนึ่งคงจำคุก 1 ปี
อภิวัฒน์ ยืนยันว่า เขามีบัตรนปช.แดงทั้งแผ่นดินจริง แต่เขาไม่มีหนังสติ๊กและลูกแก้ว ตามที่อัยการกล่าวหาเขา
เขาเล่าว่าตอนที่เขาถูกตัดสินจำคุก 1 ปี เหตุการณ์มันเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมาก เขาไม่มีเวลาคิดอะไรเลย ไม่มีทนายความไม่มีโอกาสคุยกับญาติพี่น้อง แต่ในความโชคร้ายนั้น ก็มีความโชคดีอยู่บ้างที่ เขาบอกว่า เขายังมีชีวิตอยู่ และเขายืนยันว่า หากมีโอกาสเขาจะเข้าร่วมชุมนุมแน่นอน

หลังจากนั้น เขาก็ถูกส่งมาที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ และต่อมาเขาก็ถูกย้ายมาที่เรือนจำคลองเปรม ตอนที่อยู่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ ฯเขาบอกว่ามีชาวเสื้อแดงติดคุกอยู่หลายคน และพอย้ายมาที่เรือนจำคลองเปรม เขาก็เจอชาวเสื้อแดงที่ติดคุกอยู่ด้วยจำนวนมาก

อภิวัฒน์ เล่าอีกว่า เมื่อตอนที่เขามาอยู่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯใหม่ๆนั้น มีคนเอาเอกสารใบแต่งทนายความ มาให้เขาลงชื่อแต่งตั้ง เขาก็ได้เซ็นต์ใบแต่งทนายความให้ แต่เขาไม่เคยพบเห็นทนายความเลย คดีของเขาไม่มีการยื่นอุทธรณ์คำพิพากษา ดังนั้นคดีของเขาจึงถึงที่สุดแล้ว แต่เขาไม่ทราบว่าเหตุใดจึงไม่มีการยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาทั้งๆที่เขาได้ซ็นต์ใบแต่งตั้งทนายความให้แล้ว
นี่คือเรื่องราวชีวิตของนักโทษการเมืองคนหนึ่ง ที่ชื่อ นายอภิวัฒน์ เกิดนอก ชาวเสื้อแดงจากจังหวัดขอนแก่น ที่มาติดคุกอยู่ในกรุงเทพมหานคร ห่างไกลจากญาติพี่น้องของเขา ขณะนี้ ถูกขังอยู่ที่ เรือนจำคลองเปรม แดน 8 มาเป็นระยะเกือบ 8 เดือนเต็ม เขาถูกขังกับเพื่อนๆ ชาวเสื้อแดงอีก 8 คน ทางสมัชชาสังคมก้าวหน้าขอเชิญชวนพี่น้องชาวเสื้อแดง เขียนจดหมายให้กำลังใจการต่อสู้ของเพื่อนๆที่ยังถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำและหากชาวเสื้อแดงคนใดจะสิ่งของใดๆไปให้ทางไปรษณีย์ ไม่ต้องส่งไปเนื่องจากทางเรือนจำให้ส่งได้ เฉพาะธนาณัติธรรมดาเท่านั้น โดยส่งไปที่
1. นายกฤษณะ ธัญชยพงศ์ (แดน 8) จำคุก 1ปี ขอประกันตัวระหว่างอุทธรณ์ แต่ศาลไม่อนุญาต
2. นายแสวง กงกันยา (แดน 8) จำคุก 1 ปี 12 เดือน คดีถึงที่สุดแล้ว
3. นายสุระชัย พริ้งพงษ์ (แดน 8) จำคุก 1 ปี ขอประกันตัวระหว่างอุทธรณ์ แต่ศาลไม่อนุญาต
4. นายสุรชัย เพ็ชรพลอย ( แดน 8) จำคุก 1 ปี คดีถึงที่สุดแล้ว
5. นายอภิวัฒน์ เกิดนอก (แดน 8) จำคุกคุก 1 ปี คดีถึงที่สุดแล้ว
6. นายอำนวย ชัยเสนสุข (แดน 8) จำคุก 1 ปี คดีถึงที่สุดแล้ว
7. นายเอกสิทธิ์ แม่นงาม (แดน 8) จำคุก 1 ปี คดีถึงที่สุดแล้ว
8. นายจีระวัช แซ่วี (แดน 4) ติดคุก 1 ปี คดีถึงที่สุดแล้ว
ส่งไปที่ เรือนจำกลางคลองเปรม 33/2 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา