เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม เลขทะเบียน ๘๖๙ สภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า

อุดมการณ์สถานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตย

เรา...มั่นใจว่า
ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา
ประเทศไทย เป็นของเราทุกคน
เรา ต้องร่วมกันสร้างชาติไทย ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์  พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

เครื่องบินที่สร้างโดยคนไทย...บินได้จริง

นักธุรกิจบ้านจัดสรรใจรักการบิน สร้างเครื่องบินเล็ก 2 ที่นั่งสำเร็จ ต้นทุนแค่ลำละ 1 แสนบาท ชี้เป็นลำแรกของโลกที่ใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ แต่ถูกห้ามบิน วอนรัฐสนับสนุนกรมการขนส่งทางอากาศ ชี้ต้องตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยก่อนนำมาใช้


เป็นเรื่องน่ายินดี เมื่อนักธุรกิจเจ้าของบ้านจัดสรรใน จ.ชลบุรี ร่วมกับคณะกรรมการสมาคมกีฬาสิ่งประดิษฐ์จำลองบังคับวิทยุ ผู้คลั่งไคล้ในกีฬาการบิน ซึ่งเป็นคนไทยแท้ๆ สามารถสร้างเครื่องบิน "อุลตร้าไลท์" หรือเครื่องบินเล็ก 2 ที่นั่ง น้ำหนักไม่เกิน 550 กิโลกรัม ได้เป็นผลสำเร็จ

เมื่อวันที่ 21 มกราคม นายศักดา บัวแก้ว นักธุรกิจบ้านจัดสรร เปิดเผยถึงความสำเร็จข้างต้นว่า หลังจากหัดเล่นเครื่องบินบังคับวิทยุแล้ว จึงไปเรียนขับเครื่องบินขนาดเล็ก จนสามารถสะสมชั่วโมงบินได้กว่า 200 ชั่วโมงแล้ว ระหว่างนี้ได้หาตำราเกี่ยวกับการสร้างเครื่องบินจากต่างประเทศมาศึกษา กระทั่งนึกสนุกอยากสร้างเครื่องบินขึ้นมาโดยฝีมือคนไทยแท้ๆ เองสักเครื่อง จึงพยายามศึกษาทำความเข้าใจวิธีสร้างเครื่องบินเล็กจากต่างประเทศ โชคดีที่มีเพื่อนคนหนึ่งส่งโปรแกรมซอฟต์แวร์เกี่ยวกับการสร้างเครื่องบิน สำเร็จรูปจา​กสหรัฐมาให้

นายศักดา กล่าวว่า ซอฟต์แวร์ดังกล่าวจะสอนตั้งแต่วิธีทำเครื่องบินขนาดเล็กไปจนถึงขั้นตอนสุดท้าย แต่ถึงแม้จะได้ซอฟต์แวร์มาแล้วก็ยังไม่สามารถสร้างได้อย่างใจคิด เนื่องจากเป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นในสหรัฐ ดังนั้น เทคนิคในการสร้างเครื่องบินบางอย่าง เช่น เรื่องอุปกรณ์ หรือวัสดุที่ใช้หาได้ยากในเมืองไทย หรือไม่ก็มีค่าใช้จ่ายสูงหากต้องสั่งนำเข้ามาจากต่างประเทศ จึงหารือกับ นายพิศิษฐ์ มิตรเกื้อกูล นายกสมาคมกีฬาสิ่งประดิษฐ์จำลองบังคับวิทยุ เพื่อหาทางออกสำหรับการสร้างเครื่องบินขึ้นมาเองโดยเฉพาะ

ขั้นตอนแรกที่กลุ่มคนคลั่งไคล้การบินทำคือ การสรรหาวัสดุในตลาดเมืองไทยที่มีลักษณะใกล้เคียง มาตรวจสอบคุณสมบัติว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ โดยนำมาเปรียบเทียบกับเอกสารที่ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศทำขึ้นมา หากวัสดุชิ้นนั้นมีคุณสมบัติใกล้เคียง หรือตรงกัน ก็จะนำมาดัดแปลงแทนชิ้นส่วนตามที่ปรากฏในซอฟต์แวร์ทีละชิ้นๆ กระทั่งเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา จึงสามารถรวบรวมวัสดุได้ครบ แล้วนำมาประกอบกันเป็นเครื่องบินเล็ก 2 ที่นั่ง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เครื่องบินที่กล่าวถึงข้างต้นสร้างขึ้นด้วยท่ออะลูมิเนียม เกรดดี และลวดสลิงที่มีขายในเมืองไทย โดยสมาคมกีฬาสิ่งประดิษฐ์จำลองบังคับวิทยุได้ทดสอบแล้ว พบว่า วัสดุทั้งสองชนิดมีความแข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักและแรงต้านของลมได้ จากนั้นใช้ผ้าใบมุงหลังคาที่เห็นอยู่ทั่วไปมาคลุมโครงอะลูมิเนียมอีกชั้น สำหรับเครื่องใช้เครื่องรถยนต์ยี่ห้อหนึ่ง ขนาด 80 แรงม้า 1,600 ซีซี ใบพัดทำมาจากไฟเบอร์กลาส จอยสติกคอนโทรลดัดแปลงจากแฮนด์รถจักรยานยนต์

ส่วนเบรกดัดแปลงมาจากดิสก์เบรกรถจักรยานยนต์ บริเวณหน้าปัดในห้องผู้โดยสารจะมีเข็มวัดระดับความร้อน ความสูง น้ำมัน และเครื่องจับเวลา เหมือนเครื่องบินเล็กทั่วไป นายศักดา บอกว่า การสร้างเครื่องบินเล็กลำนี้ ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 1 แสนบาทเศษ ขณะที่ราคาเครื่องบินเล็ก 2 ที่นั่งจากต่างประเทศ มีราคาสูงถึง 1.5 ล้านบาท ที่สำคัญพลังงานที่ใช้กับเครื่องลำนี้ สามารถใช้ได้กับแก๊สโซฮอล์ ซึ่งถือเป็นเครื่องบินลำแรกของโลกที่ใช้พลังงานตัวนี้

นายศักดา กล่าวด้วยว่า เครื่องบินที่เขาสร้างขึ้นยังไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณชน ต้องแอบทดสอบแบบหลบๆ ซ่อนๆ เนื่องจากข้อจำกัดด้านกฎหมายในเมืองไทยยังไม่เปิดกว้างต่อนักประดิษฐ์ แต่จะมุ่งเน้นเรื่องธุรกิจมากเกินไป ไม่ยอมรับคนนอกวงการ ดังจะเห็นได้จากมีสถาบันการศึกษาบางแห่งเปิดสอนภาควิชาวิศวกรรมการบิน แต่กลับไม่สามารถผลิตเครื่องบินได้เลยแม้แต่ลำเดียว

"เครื่องบินที่ผมสร้างขึ้น หากนำขึ้นบินถูกจับทันที เนื่องจากกฎหมายของกรมการขนส่งทางอากาศยังไม่รับรอง ทุกวันนี้จึงไม่สามารถนำขึ้นบินอย่างเปิดเผยได้ ผู้เชี่ยวชาญบางคนพยามปิดกั้นเครื่องบินของผม เพราะถ้าสิ่งประดิษฐ์ของผมเปิดเผยออกไป ผมเชื่อว่าจะมีคนบางกลุ่มเสียผลประโยชน์ จึงมีคนหลายคนอ้างว่าเครื่องบินผมไม่ได้มาตรฐาน เลยอยากเรียกร้องให้รัฐหันมาให้การสนับสนุนนักประดิษฐ์คนไทย อย่าเน้นแต่ธุรกิจ แต่ให้คำนึงถึงด้านการศึกษาและพัฒนาสมองของคนในชาติให้มากกว่านี้" นายศักดา กล่าว

ด้านนายพิศิษฐ์ มิตรเกื้อกูล นายกสมาคมกีฬาสิ่งประดิษฐ์จำลองบังคับวิทยุ กล่าวว่า ปัจจุบันกีฬาประเภทนี้ในเมืองไทยยังถูกปิดกั้น แตกต่างกับต่างประเทศเขาจะสนับสนุนชัดเจน อย่างประเทศในแถบยุโรป เขาจะใช้เครื่องบินประเภทนี้ฉีดยาฆ่าแมลง หรือต้อนฝูงวัวในทุ่ง ตนอยากเห็นรัฐผลักดันเรื่องการบินให้เหมือนกับต่างประเทศ ยกตัวอย่างง่ายๆ ในต่างประเทศเขาสามารถผลิตเครื่องบินแบบนี้ได้ 2 ลักษณะด้วยกันคือ เครื่องบินแบบที่ประชาชนสามารถสร้างได้เอง เรื่องความปลอดภัยรัฐจะไม่รับผิดชอบ เรียกว่า "โฮมบิวส์" ส่วนอีกแบบคือ สร้างออกมาแล้วมีบุคคลที่มีวิทยฐานะรับรอง แต่สำหรับเครื่องบินเล็กที่สมาคม ได้ร่วมกันสร้างนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการขอใบอนุญาตจากกรมการขนส่งฯ เพื่อขอขึ้นบินอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

ขณะที่นายประสงค์ เธียรธนู รองอธิบดีกรมการขนส่งทางอากาศ ฝ่ายความปลอดภัย เปิดเผยว่า หากมีพลเรือนสามารถสร้าง หรือประดิษฐ์เครื่องบินได้ จะต้องส่งแบบให้กรมการขนส่งทางอากาศตรวจสอบและรับการรับรองความปลอดภัยเสีย ก่อน จึงจะสามารถนำเครื่องบินไปใช้งานได้ หากฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตาม จะมีความผิดตาม พ.ร.บ.การ เดินอากาศ พ.ศ.2497

“การจะนำเครื่องบิน ขึ้นไปใช้งานจริง จะต้องได้รับการรับรองมาตรฐานเสียก่อน เพราะเครื่องบินที่ไม่ได้รับรองมาตรฐานนั้นมันอันตรายทั้งตัวผู้ขับเอง และจะส่งผลกระทบต่อคนทั่วไปที่ไม่รู้เรื่องได้ ทั้งนี้ หากมีการลักลอบนำเครื่องบินขึ้นจากสนามบิน ไม่ว่าที่ไหนก็ตาม ทั้งเจ้าของสนามบินและผู้ขับขี่ก็จะมีความผิดด้วยเช่นกัน" นายประสงค์ กล่าว

4 ความคิดเห็น:

  1. http://www.trakulsiam.com/?p=545 ผมอยากได้เพื่อนที่อยากสรา้งเหมือนผมครับ

    ตอบลบ
  2. http://www.trakulsiam.com/?p=545 ผมอยากได้เพื่อนที่อยากสรา้งเหมือนผมครับ

    ตอบลบ
  3. ผมก็อยากทำ. แต่ไม่มีงบอะคับ T_T

    ตอบลบ
  4. เล่นแต่เครื่องบินบังคับไปก่อนแล้วกันประเทศพัฒนาช้าก็เพราะผลประโยชน์(ความเห็นส่วนตัว)

    ตอบลบ

ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา