เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม เลขทะเบียน ๘๖๙ สภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า

อุดมการณ์สถานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตย

เรา...มั่นใจว่า
ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา
ประเทศไทย เป็นของเราทุกคน
เรา ต้องร่วมกันสร้างชาติไทย ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์  พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วันอาทิตย์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

"คำ ผกา" แรง ผ่าพวกชาตินิยม

แบ่งประเภท"สลิ่ม"การเมือง ถามใครกันแน่คือทุนนิยมสามานย์ !?

เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ เวลา 13.00 น. ที่หอประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้มีการจัดเสวนา "เบื้องหลัง 6 ตุลา เบื้องหน้าประชาธิปไตยไทย" โดยมีวิทยากรเข้าร่วมงานได้แก่ คำ ผกา, วัฒน์ วรรลยางกูร, สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, จอม เพชรประดับ และ วิภา ดาวมณี

คำ ผกา กล่าวว่า จริงๆแล้วเหตุการณ์ 14 ตุลา ที่เชื่อว่าเป็นชัยชนะของประชาชน เป็นความเข้าใจผิด เหตุการณ์นี้ไม่ใช่ชัยชนะของนักศึกษา หรือประชาชน แต่ว่าเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญที่สุดในแง่ที่สถาบันจารีตได้รับความนิยมชมชอบ อย่างหมดจด

เหตุการณ์หกตุลาเป็นด้านกลับของชัยชนะครั้ง นี้ เป็นต้นกำเนิดของสลิ่มสองจำพวกในสังคมไทย สลิ่มไม่ได้เกิดจากการสลายชุมนุมคนเสื้อแดงแต่เกิดจากทศวรรษ 70 ในที่นี้ กล่าวว่า สลิ่มแบ่งได้เป็นสองแบบ

แผนใต้ดิน-ข้อต่อรอง ปล่อยแดง 7+88 พ้นคุก

เดิมพัน4พันล้าน"เพื่อไทย"ชนะเลือกตั้ง !!

เมื่อเหตุผลและสมมติฐาน-การ ต่อรองของฝ่ายอำนาจรัฐและฝ่ายต่อต้านสมประโยชน์
จึงนำไปสู่การปล่อยตัวแดงทั้ง 7 แม้ว่าในยกแรก ต่างฝ่ายต่างต่อรองยืดยื้อจนสุกงอมนานแรมเดือน

ฝ่าย รัฐบาลส่งสัญญาณต้องการแลกตัวประกันผู้ต้องหาแดง 2 คน น.พ.เหวง โตจิราการ กับ ก่อแก้ว พิกุลทอง กับการ "งดการชุมนุม" ในเมืองช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์

แต่ ฝ่ายแกนนำแดง-และนายใหญ่ ไม่ยอม และยื่นข้อเสนอแบบเต็มเพดาน คือ ต้องปล่อยตัวแกนนำทั้ง 7 และทยอยปล่อยผู้ต้องหาออกจากคุกทั่วพื้นที่อีสาน-เหนือรวม 121 คน

และเมื่อข้อต่อรองนั้นต่างฝ่าย ต่างไม่สมประโยชน์ จึงเกิด "ม็อบ 3 หมื่น" เต็มพื้นที่กรุงเทพฯในวันที่ 19 กุมภาพันธ์

หลังจากนั้น 1 สัปดาห์จึงเกิดดุลพินิจจากกระบวนการ "บนดิน" ด้วยการปล่อยตัวแกนนำแดงในคุกอีสาน-เหนือถึง 88 คน

วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ปฏิวัติอียิปต์ = มวลชนลุกฮือ + รัฐประหารละมุน

โดย เกษียร เตชะพีระ
"วันโลกดับ" ขำขันต่อต้านมูบารัค & จอมพลมูฮัมหมัด ฮุสเซ็น ทันทาวี
ฮอสนี มูบารัค, บารัค โอบามา และวลาดิมีร์ ปูติน กำลังประชุมกันอยู่ แล้วจู่ๆ พระผู้เป็นเจ้าก็ทรงปรากฏพระองค์ขึ้นและตรัสว่า "ข้ามาบอกพวกเจ้าว่าโลกจะถึงกาลอวสานในสองวันข้างหน้านี้ จงไปบอกประชาชนของพวกเจ้าเสีย" ผู้นำแต่ละคนจึงกลับไปเมืองหลวงของตนและเตรียมปราศรัยทางทีวี

ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. โอบามากล่าวว่า "เพื่อน ชาวอเมริกันทั้งหลาย ผมมีข่าวดีและข่าวร้ายจะแจ้งให้ทราบ ข่าวดีคือผมยืนยันได้ว่าพระเจ้ามีจริง ส่วนข่าวร้ายก็คือพระองค์ทรงบอกผมว่าโลกจะดับภายในสองวัน"

ณ กรุงมอสโก ปูตินกล่าวว่า "ประชาชน ชาวรัสเซีย ผมเสียใจที่ต้องแจ้งข่าวร้ายสองเรื่องให้ทราบ ข่าวแรก คือพระเจ้ามีจริง ซึ่งหมายความว่าทุกอย่างที่ประเทศเราเชื่อถือตลอดช่วงเวลาส่วนใหญ่ของศตวรรษ ที่แล้วล้วนเป็นเท็จ ข่าวที่สองคือโลกจะดับภายในสองวัน"

ณ กรุงไคโร มูบารัคกล่าวว่า "โอ...ชาว อียิปต์ทั้งหลาย ข้าพเจ้ามาพบท่านวันนี้พร้อมข่าวดียิ่งสองประการ ข่าวแรก พระผู้เป็นเจ้าและตัวข้าพเจ้าเพิ่งจะประชุมสุดยอดครั้งสำคัญร่วมกันมา

และข่าวที่สอง พระองค์ทรงบอกว่าข้าพเจ้าจะเป็นประธานาธิบดีของพวกท่านไปชั่วกัลปาวสาน"

วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

จากสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ถึงหมอเหวง และอ.ธิดา

คำสัมภาษณ์พี่เหวง นี้ ได้สะท้อนให้เห็นอย่างรวบยอด ถึงปัญหาของ นปช. ทีผมพยายามจะเสนอมาตลอด (และที่คนเสือแดงมากขึ้นๆ มีปัญหากับ นปช.) นั่นแหละครับ

พี่เหวงตอบคำถาม โพสต์ทูเดย์ ตอนหนึ่ง ดังนี้
อ้างอิง:กรณี อาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นักวิชาการจากธรรมศาสตร์ ที่เสนอให้แดงนปช.เคลื่อนไหวเรื่องสถาบัน

"ผมไม่ทราบ แต่ความจริงเราชัดเจนอยู่แล้วนะ เราต้องการ Constitutional Monarchy ภาษาไทยก็คือ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรง เป็นประมุข มันชัดเจนอยู่ในตัวแล้ว ไม่ต้องอธิบายอะไรเพิ่มเติมอีก ตัวอย่างเช่น รูปแบบในอังกฤษ ญี่ปุ่น สวีเดน เดนมาร์ก เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์"

พี่เหวง - อ.ธิดา ย่อมทราบดี (เช่นเดียวกับทีคนไทยทุกคนย่อมทราบดี) ว่า "ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข" ของไทยในขณะนี้นั้น ไมใช่เลย เป็นคนละเรื่องเลย กับ Constitutional Monarchy "รูปแบบในอังกฤษ ญี่ปุ่น สวีเดน เดนมาร์ก เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์"

คนละเรื่องเลย (คงไม่ต้องยกตัวอย่าง? แค่ประเด็น การโฆษณาประชาสัมพันธ์ 24 ชม. เรื่องสถาบันกษัตริย์นี่ นอกจากไทย แล้ว ประเทศพวกนั้นมีหรือ?
แค่ประเด็น กฎหมายหมิ่นฯ ประเทศพวกนั้น มีแบบของไทยหรือ? ที่เนเธอร์แลนด์ เขาด่าควีนเป็น whore แค่โดนปรับไม่กี่พันยูโร นะครับ)

วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ยกเลิกการบริหารราชการส่วนภูมิภาค

ชำนาญ จันทร์เรือง

ผู้อ่านที่เป็นชาวเมืองหลวงเห็นหัวข้อบทความนี้อาจจะมองข้ามผ่านเลยไปเพราะไม่รู้สึกถึงผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของตนเอง และคุ้นเคยต่อการบริหาราชการแผ่นดินที่มีเพียงการบริหารราชการส่วนกลางและราชการส่วนท้องถิ่นโดยไม่มีราชการส่วนภูมิภาคมาตลอดระยะเวลาหลายสิบปีมาแล้ว

แต่ในทางกลับกันกระแสของการรณรงค์เพื่อยกเลิกการบริหารราชการส่วนภูมิภาคในต่างจังหวัดกลับคึกคักเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่จังหวัดเชียงใหม่ถึงกับมีการยกร่างระเบียบบริหารราชการเชียงใหม่มหานครขึ้นมาโดยเครือข่ายบ้านชุ่มเมืองเย็น ซึ่งเป็นการยกร่างกฎหมายที่ให้มีการบริหาราชการส่วนท้องถิ่นเต็มพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่โดยยกเลิกการบริหารราชการส่วนภูมิภาคไปเลย โดยมีแผนการเสนอร่างกฎหมายดังกล่าวในปี ๒๕๕๕ ซึ่งหลายๆพรรคการเมืองเริ่มให้ความสนใจนำไปเป็นนโยบายในการหาเสียงบ้างแล้ว

การณรงค์ให้ยกเลิกการบริหารราชการส่วนภูมิภาคในต่างจังหวัดนั้นเป็นไปด้วยความคึกคักเป็นอย่างยิ่งในบางจังหวัด เช่น ที่อำนาจเจริญถึงกับมีการขึ้นคัตเอาท์เพื่อขอจัดการตนเองเลยก็มีเหตุผลของการรณรงค์ในเรื่องนี้นั้นด้วยเหตุเนื่องเพราะแต่ละพื้นที่ได้เห็น ถึงสภาพปัญหาของการรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลางและแบ่งอำนาจเพียงเล็กน้อยไป สู่ส่วนภูมิภาค ทำให้ปัญหาต่างๆไม่ได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงทีในพื้นที่ปัญหาเล็กๆน้อยๆถูกโยนเข้าไปสู่ส่วนกลาง โดยตัวแทนของส่วนภูมิภาคในพื้นที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้เลย มิหนำซ้ำกลับเป็นการเพิ่มขั้นตอนของการอนุมัติอนุญาตต่างๆของภาคธุรกิจอุตสาหกรรมให้มากขึ้นไปอีกแทนที่จะสามารถติดต่อได้โดยตรงกับการบริหารราชการ ส่วนกลางที่มีอำนาจโดยตรง

สมศักดิ์ เจียมธีระสกุล วิพากษ์ ธงชัย วนิจจะกุล

ปัญหาบางประการอันเนื่องมาจากการอภิปรายของธงชัยเรื่อง "ฝ่ายเจ้า" และ Elephant in the Room
หลังจากดู-ฟังคลิปจริงแล้วหลายเที่ยว ผมคิดว่ามีปัญหาบางอย่างที่ควรโต้แย้ง ดังนี้

ธงชัยพูดถึงปัญหา Elephant in the Room (การที่ปัญหาใหญ่บางอย่างที่ควรเห็นกันทุกคน กลับได้รับการเพิกเฉย ไม่พูดถึง) โดยเริ่มด้วยการอธิบายประเด็นความเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจสังคม และการที่ ระบบการเมือง ไม่ยอมเปลี่ยนตามไปด้วยอย่างสอดรับกัน แล้วเขาก็กล่าวว่า (นาทีที่ 11.15)


เหตุที่การเมืองไทยไม่ยอมเปลี่ยนตามอย่างดื้อดึง....สาเหตุใหญ่ที่สุด - "ช้างที่อยู่ในห้อง" - ก็คือ เกี่ยวเนื่องกับความหวาดกลัวว่านักการเมืองจะมาเป็น King Maker ผมยอมรับว่า ฟังหลายเที่ยว ด้วยความงงๆ

วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

โรงงานผลิตภาษา (แห่งชาติ) ของราษฎรอาวุโส.!!!

ได้อ่านบทความล่าสุด – โครงการ “ทำแผนที่คน” (Human Mapping)[1] จาก “โรงงานผลิตภาษา (แห่งชาติ)” ของราษฎรอาวุโส แกเขียนอธิบายความว่า “...การ ทำแผนที่คนไทยทั้งประเทศก็จะไม่ยาก สามารถทำได้เสร็จภายใน 6 เดือน เรามีหมู่บ้าน ประมาณ 80,000 หมู่บ้าน เรามีมหาวิทยาลัยกว่า 100 แห่ง มีนักศึกษารวมกันหลายแสนคน สามารถส่งนักศึกษาไปทำแผนที่คนไทยได้ในทุกหมู่บ้าน”

“...ชาวบ้านนั้นจมปลักอยู่กับความต่ำต้อย ความไม่มีเกียรติ ความไม่มีคุณค่า เป็นคนไม่มีความรู้สมัยใหม่ ถูกดูถูกเสียจนดูถูกตัวเอง – ครั้นมีคนสมัยใหม่เช่นนักศึกษา หรือคนที่จบปริญญามานั่งฟัง มานั่งขุดความรู้ความชำนาญที่ฝังลึกอยู่ในตัวเรา – ตามปรกติชาวบ้านไม่ค่อยได้พูด ได้แต่ฟังคนอื่นที่มีอำนาจมากกว่า มีความรู้มากกว่า มีเงินมากกว่า”

“บัด นี้มีคนที่เคยสมมติว่าเหนือกว่า มานั่งฟังด้วยความเคารพ และเห็นคุณค่าในสิ่งที่เขารักเขาชอบเขาถนัด ที่มีอยู่ในตัวเขาจริงๆ เขาจึงมีความสุขขึ้นมาท่วมท้น ที่รู้สึกมีเกียรติ (เป็นครั้งแรกในชีวิต) รู้สึกภูมิใจในตัวเอง...”

“...ความ เห็นใจ และการอยากทำเพื่อเพื่อนมนุษย์ เป็นธรรมชาติที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ ทุกคน ที่ว่าทุกคนล้วนแต่มีเมล็ดพันธุ์แห่งความดีอยู่ในหัวใจ”

วันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ข้อเสนอการจัดการที่ดินเพื่อการเกษตร

ประเทศไทยมีที่ดิน 320.7 ล้านไร่ เป็นที่ดินเพื่อการเกษตร 130.7 ล้านไร่ แต่สภาพการถือครองที่ดินมีลักษณะกระจุกตัวสูง ที่ดินส่วนใหญ่อยู่ในมือคนส่วนน้อย ยังไม่ต้องเอ่ยถึงว่าเงื่อนไขเสียเปรียบนานาประการยังคงทำให้ชาวไร่ชาวนาสูญ เสียที่ดินทำกินอย่างต่อเนื่อง

ข้อมูลของศูนย์อำนวยการ ต่อสู้เอาชนะความยากจนแห่งชาติ (ศตจ.) ในปี 2547 รายงานว่ามีผู้ไม่มีที่ดินทำกิน จำนวน 889,022 ราย มีที่ดินทำกินแต่ไม่เพียงพอ จำนวน 517,263 ราย มีที่ดินแต่ไม่มีเอกสารสิทธิ 811,279 ราย ขณะเดียวกันที่ดินจำนวนมากภายใต้การถือครองของคนที่ไม่ใช่เกษตรกรกลับถูก ปล่อยทิ้งร้างไม่ได้ใช้ประโยชน์ ก่อให้เกิดผลเสียต่อเศรษฐกิจโดยรวม

ปัญหาการขาดแคลนที่ดินทำกินได้สร้างความเดือดร้อนอย่างใหญ่หลวงให้แก่ พี่น้องชาวไร่ชาวนา อีกทั้งนำไปสู่กรณีพิพาทจำนวนมากระหว่างเกษตรกรกับรัฐ หรือเกษตรกรที่ยากไร้กับเจ้าของที่ดินเอกชน ชาวไร่ชาวนาจำนวนไม่น้อยถูกดำเนินคดีและถูกจับกุมคุมขังอย่างน่าเวทนา พวกเขามักถูกกล่าวหาว่าอยู่อาศัยและทำกินในพื้นที่ของรัฐโดยไม่ชอบด้วย กฎหมายและถูกจับกุมดำเนินคดีในข้อหาบุกรุกที่ดินของรัฐและของเอกชนอย่างไม่ เป็นธรรม

ปัจจุบันมีเกษตรกรถูกดำเนินคดีและถูกคุมขังอยู่ในคุกแล้ว 836 ราย (ข้อมูลถึงเดือนธันวาคม 2553) นอกจากนี้ยังมีประชาชนที่เกี่ยวข้องกับคดีที่ดินคนจนที่อยู่ในระหว่างการ พิจารณาคดีและที่ยังไม่ได้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมอีกหลายแสนครอบครัว

วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

"ความเชื่อถือในองค์กรยุติธรรมถึงจุดศูนย์"

"ดร.คณิต"วิพากษ์"ความเชื่อถือในองค์กรยุติธรรมถึงจุดศูนย์" ไม่ใช่ ‘Double Standard’แต่ไม่มีมาตรฐาน

หลังจากที่ประเทศไทยของเราได้เผชิญเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือน พฤษภาคม 2553 ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหา ความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติหรือ คอป. ขึ้นภายใต้การนำของท่านศาสตราจารย์ ดร. คณิต ณ นคร

คณะ กรรมการชุดนี้มีภารกิจในการตรวจสอบและค้นหาความจริงโดยเฉพาะ อย่างยิ่งความรุนแรงทางการเมือง การละเมิดสิทธิมนุษยชน การสูญเสียชีวิต บาดเจ็บทาง ร่างกายและจิตใจ ความเสียหายทางทรัพย์สิน และความเสียหายอ่านๆ ตลอดถึงประเด็นที่เป็นรากเหง้าของปัญหาความขัดแย้งและเหตุการณ์ความรุนแรงใน ประเทศเพื่อให้ปรากฏเป็นที่ประจักษ์และสร้างความเข้าใจร่วมกัน

เมื่อไม่นานมานี้ "กองบรรณาธิการวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" สัมภาษณ์พิเศษ ศาสตราจารย์ ดร.คณิต ณ นคร ประธาน คอป. เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวการทำงานในคณะกรรมการชุดนี้ รวมทั้ง มุมมองของต่อกระบวนการยุติธรรมของ ประเทศไทย

วิธีปฏิวัติให้สำเร็จ : 5 บทเรียนสำหรับอียิปต์

14 ก.พ. 2554 - อัลจาซีราลงบทความเรื่อง "อะไรที่ทำให้การปฏิวัติสำเร็จ" เขียนโดย Roxane Farmanfarmaian ซึ่งเปรียบเทียบระหว่างการปฏิวัติอิหร่านในปี 1979 กับการประท้วงใหญ่ในอียิปต์ครั้งล่าสุด ว่าแม้จะมีความแตกต่างกัน แต่ก็มีอยู่ 5 บทเรียนที่อียิปต์เรียนรู้จากการปฏิวัติอิหร่านในปี 1979

Roxane Farmanfarmaian เป็นอาจารย์ภาควิชารัฐศาสตร์และต่างประเทศของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ นักวิชาการของศูนย์ตะวันออกกลางมหาวิทยาลัยยูทาห์ เขามีชีวิตอยู่ในอิหร่านในช่วงที่เกิดการปฏิวัติและเกิดวิกฤติตัวประกัน (ช่วงปี 1979- 1981 ที่มีชาวสหรัฐฯ หลายสิบคนถูกจับเป็นตัวประกัน 444 วัน จากความขัดแย้งทางการทูตระหว่างสหรัฐฯ กับอิหร่าน)
เนื้อหาของบทความมีดังนี้ --->

ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ เมื่อ 32 ปีที่แล้วชาวอิหร่านได้ประกาศความสำเร็จในการปฏิวัติ พระราชาอิหร่าน (ชาห์) ลงจากอำนาจถูกทำลายย่อยยับ ยุคสมัยใหม่คืบคลานเข้ามา แม้ว่าสิ่งที่ตามมาจะแตกต่างจากสิ่งที่ชาวอียิปต์คาดหวังไว้มาก แต่อิหร่านก็ถือเป็นการปฏิวัติที่ประสบความสำเร็จอย่างมากสำหรับยุคศตวรรษที่ 20 และชาวอียิปต์ก็คงได้รับแรงบันดาลใจจากเรื่องนี้ในการโค่นล้มอำนาจรัฐบาลและเรียกร้องสิทธิ

รายงานเสวนา “ฝ่าวิกฤตชายแดนไทยเขมร”

17 ก.พ. 2554 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเสวนาวิชาการ "รัฐศาสตร์ภาคประชาชน ครั้งที่ 1" หัวข้อ "ฝ่าวิกฤตชายแดนไทยเขมร" ณ ห้องประชุมมาลัยหุวนันท์ ตึก 3 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รศ.สุรชาติ บำรุงสุข และศ.ธงชัย วินิจจะกูล ดำเนินการเสวนาโดย รศ.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์

สุรชาติ บำรุงสุข
คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กรอบที่ผมจะพูด อยากพูดจากภาพกว้างๆ เริ่มต้นด้วยคำถามง่ายๆ คนในห้องนี้ไม่มากเท่าไหร่ เข้าใจว่าทุกคนเรียนประวัติศาสตร์ผ่านหนังสือ สปช. (สร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต) ไม่ได้เรียนผ่านประวัติศาสตร์โดยตรง

ตอนเรียน สปช. ความทรงจำเรื่องรัชกาลที่ 4 รัชกาลที่ 5 ว่าจำอะไรได้บ้าง เข้าใจว่ามีความทรงจำเหลืออยู่น้อยมาก สปช.พูดถึงการเสียดินแดนแบบผิวเผินมาก คนที่เรียน สปช.แล้ว เข้าใจการเผชิญกับลัทธิอาณานิคมหรือไม่ การกล่อมเกลาโดยการเรียน สปช.นั้น ทำให้เราไม่ค่อยรู้เรื่อง

คนไทยรุ่นหลังลืมไปแล้วว่า ปราสาทพระวิหารถูกตัดสินไปแล้วในปี 2505 ผมไม่ได้เดินขบวนครั้งแรกช่วง 14 ตุลา ชีวิตครั้งแรกของการอยู่ในม็อบของผมคือภายใต้คำสั่งของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เหลียวหลัง แลหน้า ชุมชนไทย “สถานการณ์เด่น ประเด็นแรง”

รอบปีที่ผ่านมาสังคมไทยผ่านทุกข์หนัก ทั้งร้าวฉานแบ่งสี-ฝ่าย ภัยธรรมชาติซ้ำเติมปัญหารากหญ้าร้อนทั้งคดีคนจน ที่ดิน หนี้สิน แต่ก็มีเรื่องน่ายินดีที่วิกฤติเป็นโอกาสเกิด คปร.-คสป.มุ่งแก้ความเหลื่อมล้ำทางสังคม และมิติการรวมพลังชาวบ้าน โต๊ะข่าวเพื่อชุมชนร่วมเหลียวหลังปี 2553 แลหน้าปี 2554…

เหลียวหลังชุมชนไทยปี 2553…

ปี 53 เลวร้ายสุดของเกษตรกร : คดีที่ดิน หนี้สิน น้ำท่วม

ดร.เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์ คณะกรรมการปฏิรูป(คปร.) และนักวิชาการที่คลุกคลีตีวงในกับเกษตรกรทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติจนได้ฉายา “ดร.เกษตรกร” เปิดเผยกับโต๊ะข่าวเพื่อชุมชนว่ารอบปีที่ผ่านมาความเดือดร้อนของชาวบ้านเกิดจาก 3 เรื่องใหญ่ เรื่องแรกคือคดีที่ดิน ชาวบ้านถูกจับข้อหาบุกรุกที่ดินรัฐทั้งที่อยู่อาศัยทำกินมาก่อนประกาศเขตป่า สงวนป่าอนุรักษ์ ถูกตัดสินจำคุก 500 ราย ล่าสุด 5 ธ.ค.ได้รับการปล่อยตัว 18 ราย แต่อยู่ระหว่างคดีอีกเป็นหมื่น เรื่องนี้สะท้อนว่ากระบวนการยุติกรรมไม่เป็นธรรมกับชาวบ้าน

“คุณภาพชีวิตเกษตรกรปีนี้ตกต่ำมาก กระทบถึงความมั่นคงเศรษฐกิจชุมชน ความมั่นคงทางอาหาร นี่ยังไม่รวมเรื่องชุมชนที่ถูกไร่ลื้อจากนโยบายเมกกะโปรเจคทั้งหลาย” ดร.เพิ่มศักดิ์ กล่าว

เบี้ยเดินหมาก โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์

ที่มา : มติชน
ผมไม่ทราบหรอกว่า เหตุใดจึงเกิดการปะทะกันกับกัมพูชาขึ้นที่ชายแดน ใครจะได้อะไรกับเหตุการณ์ครั้งนี้ ผมก็เดาไม่ออก ใครในที่นี้รวมถึงฝ่ายกัมพูชาซึ่งดูเหมือนมีเอกภาพในหมู่ชนชั้นนำกว่าไทย และฝ่ายไทยซึ่งแบ่งออกเป็นกลุ่มอำนาจหลากหลาย เช่นพรรคร่วมรัฐบาล ซึ่งก็มีหลายพรรค ไปจนถึงกองทัพ ซึ่งก็มีกลุ่มอำนาจต่างๆ ภายในกองทัพเองหลายกลุ่ม และไปจนถึงอำนาจนอกระบบ ซึ่งก็ไม่ได้มีกลุ่มเดียวอีกนั่นแหละ

ผมเพียงแต่ค่อนข้างแน่ใจว่า ไม่ว่าเหตุปะทะที่ชายแดนจะเกิดจากฝ่ายใดก็ตาม จุดมุ่งหมายไม่ใช่เพื่อแก้ปัญหาข้อพิพาทเรื่องเขตแดนระหว่างไทยและกัมพูชา เพราะทั้งฝ่ายกัมพูชาและฝ่ายกลุ่มอำนาจอันหลากหลายของไทย ต่างรู้ดีว่าการจุดชนวนปะทะกัน ไม่มีทางที่จะทำให้ข้อขัดแย้งเรื่องพรมแดนคลี่คลายไปทางหนึ่งทางใดได้ ทุกฝ่ายน่าจะรู้อยู่แล้วว่า เงื่อนไขต่างๆ ที่เป็นจริงในปัจจุบันทำให้ไม่มีทางที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด จะสามารถตกลงข้อพิพาทเรื่องเขตแดนให้เป็นไปตามใจชอบของตนแต่ฝ่ายเดียวได้

แม้ แต่การปลุกระดมให้ทำสงครามอย่างที่แกนนำพันธมิตร บางคนใช้ ก็รู้กันอยู่แล้ว แม้แต่แก่ตัวผู้ปลุกระดมเองว่า ไม่มีทางที่กัมพูชาหรือไทยจะชนะขาดได้อย่างแน่นอน ฉะนั้นการปลุกระดมไปสู่สงคราม จึงไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสงคราม แต่เพื่อการเมืองภายในของพันธมิตร เองมากกว่า

กล่าวโดยสรุป ก็คือ เหตุปะทะกันที่ชายแดน ไม่ว่าใครจะเป็นฝ่ายเริ่มต้น ล้วนมีจุดมุ่งหมายเพื่ออะไรสักอย่างในการเมืองภายใน ไม่ของกัมพูชา ก็ของไทยเอง หรือของทั้งสองฝ่ายร่วมกัน

วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

รวม "คำคม" จากนิตยสารออกใหม่ในรอบสัปดาห์

...เมื่อฝ่ายปฏิรูปแพ้เกม การเมือง ฮ่องเต้ถูกรอนอำนาจจนไม่เหลืออะไรเลยแล้ว เหวินซิ่วจึงหมดอาลัยตายอยากในชีวิต เพราะรู้แล้วว่าไม่มีทางที่จะปกป้องประชาราษฎรได้ต่อไป

ปราชญ์ขงจื๊อผู้นี้ยึดมั่นหลักการ เช่นนี้มาจนถึงท้ายเรื่อง ในท่ามกลางความโดดเดี่ยว เขาปรึกษาปัญหาการเมืองกับน้องสาวต่างบิดามารดาซึ่งเป็นลูกกำพร้าที่มารดา ของเขาชุบเลี้ยงมาแต่เล็ก ไม่มีการศึกษาแบบเขา จึงเหมือนชาวบ้านทั่วไป เพียงแต่รักนับถือเขาและครอบครัวของเขาอย่างสูงเท่านั้น

น้องสาวของเขาตอบว่า เธอไม่รู้อะไรหรอก ก่อนที่เธอจะตามเหวินซิ่วมาใช้ชีวิตในเมืองหลวง เธอไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีราชวงศ์ชิง มีฮ่องเต้ มีไทเฮา โลกของเธอมีความสุขอยู่กับครอบครัวของแม่และพี่ชายสองคนนี้เท่านั้น

และเท่านั้นเองเหวินซิ่วก็ "ตาสว่าง" เขาตะโกนบอกตัวเองเหมือนบ้าคลั่งว่า ใช่แล้วๆ เขาเพิ่งเข้าใจเดี๋ยวนี้เองว่า "ไม่มีต้าชิง ไม่มีฮ่องเต้ ราษฎรก็ไม่เป็นไร"

จีนจะอยู่รอดได้ก็เพราะคนจีนเอง ไม่เกี่ยวกับกวางสู่หรือซูสี เพราะ "ไม่มีจักรพรรดิผู้ปรีชา ไม่มีประมุขโปรดสัตว์"
ผมได้แต่น้ำตาไหลพรากโดยไม่รู้สึกตัว
(นิธิ เอียวศรีวงศ์, ซูสีไทเฮา, มติชนสุดสัปดาห์)

วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

"กุหลาบ" สัญลักษณ์แทนคำว่า “รัก”

“กุหลาบ” ดอกไม้ที่คนกว่าครึ่งโลก ยกย่องให้เป็นสัญลักษณ์แทนคำว่า “รัก” คนหนุ่มสาวนิยมมอบให้กันในวันวาเลนไทน์ ซึ่งตรงกับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ของทุกปี

เป็นที่ยอมรับว่า ในวันวาเลนไทน์ของทุกปี “กุหลาบ” ยังคงเป็นหนึ่งในสินค้ายอดฮิตที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ส่งผลให้ราคาดอกกุหลาบในช่วงดังกล่าวปรับเพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติประมาณ 3 เท่า คาดว่าจะสร้างเม็ดเงินสะพัดให้แก่ร้านขายดอกกุหลาบเฉพาะในกรุงเทพฯ ได้ประมาณ 240 ล้านบาท ขณะที่โพลหอการค้าไทย ได้คาดการณ์ว่า เทศกาลวาเลนไทน์ปีนี้ จะมีเม็ดเงินสะพัดสูงถึง 2,655 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.38% จากปีก่อน

แม้ราคาดอกกุหลาบในปีนี้จะเพิ่มสูงขึ้นมาเพียงใด แต่ความต้องการซื้อดอกกุหลาบในช่วงวันวาเลนไทน์ของผู้บริโภค ยังคงเป็นที่นิยมก็เพราะ “กุหลาบ”ถือเป็นสัญลักษณ์ของวันวาเลนไทน์ และแสดงถึง “ความรัก”...นั่นเอง


ความหมายของ "สี" และจำนวน

สื่อความหมายแทนใจ ผ่านสีสันแห่งดอกกุหลาบ กุหลาบ นับว่าเป็นดอกไม้ที่มีความงามยากที่ดอกอื่นใดจะเทียบเท่า ทั้งยังมีสีสันที่หลากหลายงดงาม ซึ่งแต่ละสีก็ยังแฝงความหมายดีๆ ไว้แตกต่างกัน แต่จะมีสักกี่คนที่รู้จักความหมายของสีสันของดอกกุหลาบที่มอบให้กันและกัน

วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

“สภาองค์กรชุมชน” การพัฒนาที่ต้องไม่ลืมมิติการเมือง

ประธาน กป.อพช. เสนอจังหวัดปฏิบัติการ “การเมืองภาคประชาชน” ระบุสภาองค์กรชุมชน ไม่เพียงแค่มิติงานพัฒนา ต้องให้น้ำหนักกับมิติทางการเมือง ชี้สถานการณ์ทางการเมือง ณ ปัจจุบัน เป็นประชาธิปไตยแบบคู่ขนานระหว่างประชาธิปไตยแบบตัวแทน กับประชาธิปไตยชุมชน ที่เป็นการเมืองของภาคประชาชน

เมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ที่ผ่านมา นายไพโรจน์ พลเพชร ประธาน กป.อพช. ได้กล่าวอภิปรายในหัวข้อสภาองค์กรชุมชนจะนำไปสู่การสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างมีพลังได้อย่างไร ในเวทีประชุมกำหนดทิศทางการสนับสนุนการดำเนินงานสภาองค์กรชุมชน ณ เคยูโฮม ม.เกษตรศาสตร์ จัดโดยสำนักงานสนับสนุนขบวนองค์กรชุมชนและภาคี สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ร่วมกับสำนักงานที่ประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบล เพื่อร่วมกำหนดทิศทาง ยุทธศาสตร์การสนับสนุนการดำเนินงานสภาองค์กรชุมชน ให้สามารถประสานการขับเคลื่อนงานพัฒนาร่วมกับขบวนองค์กรชุมชนที่เกี่ยวข้องอย่างมีพลัง ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ ๔๐ คน ที่มาจากสำนักงานภาค ผู้ประสานงานสภาองค์กรชุมชน ๕ ภาค และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการชุมชน ๕ ภาค

เส้นทางการเมืองภาคประชาชน
นายไพโรจน์ กล่าวเปิดประเด็นโดยชี้ให้เห็นว่า ประชาธิปไตยระบบตัวแทนแบบเสรีนิยมในบ้านเรา มีจุดเริ่มต้นมาจากการเปลี่ยนแปลงในปี ๒๔๗๕ ที่ชนชั้นนำกลุ่มหนึ่งพยายามสร้างสังคมประชาธิปไตยให้เกิดขึ้น โดยอาศัยระบบพรรคการเมืองเป็นสถาบันหลักในการบริหารบ้านเมือง แต่เมื่อเวลาล่วงมากว่า ๘๐ ปี ได้พิสูจน์แล้วว่าประชาธิปไตยแบบตัวแทนไม่สามารถตอบสนองปัญหา แก้ปัญหาให้กับประชาชนได้แท้จริง หนำซ้ำกลับไปซ้ำเติมสร้างปัญหาให้กับประชาชนหนักขึ้นไปอีก อย่างการพัฒนาเมกะโปรแจคโครงการพัฒนาต่างๆ ของรัฐที่ไปสร้างผลกระทบ ริดรอนสิทธิของชุมชนท้องถิ่น อีกทั้งการเมืองในระบบตัวแทนยังเป็น การเมืองที่ตอบสนองผลประโยชน์ให้กับคนเฉพาะกลุ่มเท่านั้น แก้ปัญหาไม่ได้ซ้ำยังให้ผลประโยชน์แก่ตัวเองและพวกพ้อง พ่อค้าเขียนโครงการ ข้าราชการชงเรื่อง พรรคการเมืองกินงาบผลาญประโยชน์ ประชาชนก็บาดเจ็บสาหัส รวมถึงระบบดังกล่าวยังไปลดทอนอำนาจอธิปไตยของประชาชนให้หายไปด้วยเมื่อประชาชนตัดสินใจเลือกผู้แทน

การปฏิวัติตูนีเซียและการเคลื่อนไหวในอียิปต์

รวบรวม แปล และเรียบเรียงโดย เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร

1.สัมภาษณ์ซามีร์ อามิน ว่าด้วยการปฏิวัติตูนีเซีย
เผยแพร่เป็นภาษาอารบิคในนิตยสาร Aydinlik Magazine ที่มาของภาษาอังกฤษ: http://democracyandclasstruggle.blogspot.com/(เผยแพร่วันที่ 1 ก.พ. 54)

ศาสตราจารย์ซามีร์ อามิน นักคิดฝ่ายซ้าย นักเศรษฐศาสตร์และนักเขียนที่มีชื่อเสียง ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์กับ Aydinlik Magazine เกี่ยวกับเหตุการณ์ในตูนีเซีย รวมทั้งแสดงความเห็นเกี่ยวกับการเยือนอเมริกาของนายหูจิ่นเทาและนโยบายในปัจจุบันของจีน มีใจความสำคัญดังต่อไปนี้

ขบวนการเคลื่อนไหวของประชาชน
AYDINLIK: คุณตีความการเคลื่อนไหวในตูนีเซียอย่างไร?
SAMIR AMIN: เราต้องทำความเข้าใจเหตุการณ์ของตูนีเซียในฐานะการลุกฮือของขบวนการประชาชนที่มีพลังมาก เป็นการลุกฮือครั้งใหญ่ ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ของประชาชนของประเทศนี้ในหลายพื้นที่รวมทั้งเมืองหลวงออกมาตาม ท้องถนนเป็นเวลา 45 วันและยังคงทำอย่างนั้นต่อไป พวกเขาประท้วงและถึงแม้จะมีการปราบปรามก็ไม่ยอมหยุด การเคลื่อนไหวครั้งนี้มีทั้งมิติการเมือง สังคมและเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ระบอบของปธน.เบน อาลีคือหนึ่งในรัฐตำรวจที่โหดเหี้ยมที่สุดในโลก ชาวตูนีเซียหลายพันคนถูกสังหาร จับกุมและทรมาน แต่เพื่อนรักมหาอำนาจตะวันตกกลับไม่ยอมปล่อยให้ข้อเท็จจริงเหล่านี้เป็นที่ รู้จัก ประชาชนตูนีเซียจึงเรียกร้องประชาธิปไตยและการเคารพสิทธิของพวกเขา

วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

“เสียดินแดน” เป็นประวัติศาสตร์หลอกไพร่ไปตายแทน

โดย : ธงชัย วินิจจะกูล
ความรู้ประวัติศาสตร์เรื่อง “การเสียดินแดน” วางอยู่บนความเข้าใจประวัติศาสตร์อย่างผิดๆ 4 ประการ
1. เข้าใจผิดว่า รัฐสมัยเก่า (ก่อนศตวรรษที่ 20) ถือการครอบครองดินแดนเป็นเรื่องใหญ่

ความจริง – รัฐสมัยเก่าไม่ถือการครอบครองดินแดนเป็นเรื่องสำคัญ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐสมัยเก่าเป็นเรื่องของเจ้าที่มีอำนาจมากถืออำนาจบาตรใหญ่เหนือเจ้าที่มีอำนาจน้อยกว่า ลดหลั่นเป็นลำดับชั้นกันลงไป คือ เป็นความสัมพันธ์แบบเจ้าพ่อนั่นเอง เจ้าพ่อรายใหญ่ย่อมเรียก “ค่าคุ้มครอง” จากเจ้าพ่อรายเล็กกว่าในรูปของส่วยสาอากรผลประโยชน์ต่างๆและไพร่พล จากนั้นเจ้าพ่อทั้งรายใหญ่รายเล็กก็ไปขูดรีดเอากับไพร่ฟ้าข้าไทในเขตอิทธิพลของตนอีกทอดหนึ่ง

อำนาจของเจ้าพ่อรายเล็กจึงอยู่ที่อำนาจเหนือไพร่ฟ้าข้า ไทในเขตอิทธิพลของตน อำนาจของเจ้าพ่อรายใหญ่จึงอยู่ที่อำนาจเหนือเจ้าพ่อรายเล็กและไพร่ฟ้าข้าไทในเขตอิทธิพลของตน อธิปไตยเหนือดินแดนแบบสมัยนี้ยังไม่มี อำนาจขององค์อธิปัตย์หมายถึงอำนาจเหนือคน คือ เหนือเจ้าพ่อรายเล็กและไพร่ฟ้าข้าไท ไม่จำเป็นต้องมีขอบเขตชัดเจน บางทีก็มีบางทีก็ไม่มี ไพร่ฟ้าจะเดินทางไกลไปไหนต่อไหนก็ยังถือว่ายังอยู่ ใต้อำนาจของเจ้าองค์เดิม หรือที่เรียกว่า “ใต่ร่มพระบรมโพธิสมภาร” ของเจ้าองค์เดิม

“ดินแดน” ที่รัฐสมัยเก่าหวงแหนสุดขีดคือเมืองและวัง เพราะหมายถึงอำนาจของเจ้าพ่อ รัฐสมัยเก่าไม่หวงแหนชายแดน ยกให้เป็นของขวัญแก่ฝรั่งอังกฤษมาแล้วก็มี

วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สำนักงานทรัพย์สินฯขุมทรัพย์ที่ดินทำเลทองแสนล้าน

เอ่ยถึงแลนด์ลอร์ดรายใหญ่ หลายคนคงนึกถึง ตระกูล "โสภณพนิช" "ล่ำซำ" ตระกูลเจ้าสัวอย่างเสี่ย "เจริญ สิริวัฒนภักดี" เสี่ย "ธนินท์ เจียรวนนท์" แต่ถ้าโฟกัสเฉพาะที่ดินในทำเลทองใจกลางเมืองกรุงเทพแล้ว แลนด์ลอร์ดตัวจริงไม่น่าจะมีใครเกินสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

ข้อมูลจากสำนักงาน ทรัพย์สินฯระบุว่า ปัจจุบันมีอสังหาริมทรัพย์อยู่ในความดูแลประมาณ 37,000 สัญญา ในจำนวนนี้มีการจัดประโยชน์หลายรูปแบบ ทั้งเพื่ออยู่อาศัยหาประโยชน์พอยังชีพ ใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ และใช้เป็นที่ตั้งของหน่วยงานทั้งภาครัฐและสมาคม องค์กรที่ไม่ได้แสวงหาประโยชน์ในเชิงธุรกิจ แยกเป็นที่ดินใน กทม.และปริมณฑล 25,000 สัญญา และในภูมิภาค อาทิ พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นครสวรรค์ พิษณุโลก พิจิตร ลำปาง ราชบุรี เพชรบุรี สงขลา นครปฐม ฉะเชิงเทรา และชลบุรี รวมประมาณ 12,000 สัญญา

@ พอร์ตที่ดินในมือ 3.2 หมื่นไร่
ก่อนหน้านี้บริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร คือ บริษัท ซีบีริชาร์ด เอลลิส เคยประมาณการจำนวนที่ดินที่อยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานทรัพย์สินฯว่า รวมแล้วน่าจะสูงถึง 32,500 ไร่ คิดเป็นมูลค่ารวมนับแสนล้านบาท โดยเฉพาะที่ดินแปลงใหญ่ในทำเลทองย่านใจกลางเมืองกรุงเทพฯซึ่งมีศักยภาพในการ พัฒนาค่อนข้างสูง นับวันก็ยิ่งจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ ทั้งยังเป็นที่หมายตาของนักธุรกิจนักลงทุนทั้งวงการอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจค้าปลีก ฯลฯ

รายงานเสวนา "กองทัพ การเมือง ประชาธิปไตย"

โดย คณะนิติราษฎร์
ที่มา : ประชาไท

รายการเสวนาวิพากษ์บทบาทกองทัพต่อการเมืองในระบอบ ประชาธิปไตย ผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย พ.อ.ภิวันท์ วิริยะชัย รองประธานสภาผู้แทนราษฎร พล.ท.พีระพงษ์ มานะกิจ เลขาธิการคณะอนุกรรมาธิการทหาร ในสภาผู้แทนราษฎร สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี บรรณาธิการอาวุโส หนังสือพิมพ์ เดอะเนชั่น และปิยบุตร แสงกนกกุล คณะนิติราษฎร์ ดำเนินรายการโดยประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช

ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช
ทหารเข้ามามีบทบาททางการเมืองไทยตั้งแต่ปี 2475 เป็นต้นมา ทหารมามีบทบาททางการเมืองล่าสุดคือช่วงรัฐประหาร 19 ก.ย.

ผมนำหนังสือ The Soldier and the State เป็นหนังสือที่เขียนเมื่อปี 1957 ซึ่งเสนอว่าต้องทำทหารให้เป็นอาชีพ และเสนอหลักความเป็นสูงสุดของพลเรือน เพื่อทำให้มีความเป็นประชาธิปไตยและทหารจะไม่ถูกแทรกแซงทางการเมือง ซึ่งก็ไม่แน่ว่าหลักอันนี้จะหยั่งรากลึกในสังคมไทยเพียงใด เพราะหลัง 19 ก.ย. เป็นต้นมา ทหารก็เข้ามามีบทบาทสำคัญ

พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย
มีคนกล่าวไว้ว่าหากจะปฏิรูปการเมือง ถ้าไม่ปฏิรูปกองทัพจะไม่มีวันได้รับความสำเร็จเลย นั่นหมายความว่าทุกประเทศที่ต้องการพัฒนาไปสู่ประชาธิปไตยอย่างแท้จริงต้อง ปฏิรูปกองทัพเสียก่อน

วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เปิดใจ "พล.อ.เตียบัน" รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชา


จากเหตุการณ์การปะทะกัน ระหว่างกองกำลังทหารกัมพูชา-กองกำลังทหารไทย บริเวณทิศตะวันตกของภูมะเขือ ต.เสาธง อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ใกล้พื้นที่พิพาทปราสาทพระวิหาร ซึ่งห่างจากวัดแก้วสิกขาคีรีสวาระเพียง 3 กิโลเมตร จนเป็นเหตุให้ชาวบ้านและกำลังทหารทั้งสองฝ่ายมีทั้งเสียชีวิตและได้รับบาด เจ็บ

พล.อ.เตีย บัน รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกัมพูชา เปิดใจกับ “คม ชัด ลึก” ว่าจะไปตีราคาหรืออธิบายไม่ได้ว่าสถานการณ์ตอนนี้จะเป็นอย่างไร

แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดอยู่ที่ฝั่งประเทศไทย ซึ่งดูเหมือนว่าประเทศไทยเตรียมที่จะประกาศสงครามกับประเทศกัมพูชาแล้ว โดยไทยพยายามบอกว่ากัมพูชารุกล้ำดินแดนของไทย

เงื่อนไขการรับคำฟ้องของศาลอาญาระหว่างประเทศ

โดย ปิยบุตร แสงกนกกุล
คณะนิติราษฎร์

แผนผังช่วยทำความเข้าใจ
เงื่อนไขการรับคำฟ้อง
• เขตอำนาจศาล
เขตอำนาจทางเวลา
- การกระทำที่เกิดขึ้นตั้งแต่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๔๕
- กรณีให้สัตยาบันภายหลัง การกระทำที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันให้สัตยาบัน เว้นแต่ประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลย้อนหลังกลับไปได้แต่ต้องไม่ย้อนหลังไปก่อน วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๔๕

เขตอำนาจทางเนื้อหา
- ความผิดฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
- ความผิดอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ
- ความผิดอาชญากรรมสงคราม
- ความผิดฐานรุกราน (ปัจจุบันยังไม่มีผลบังคับใช้)

เขตอำนาจทางพื้นที่และบุคคล
- การกระทำเกิดบนดินแดนของรัฐภาคีหรือรัฐที่ใช่รัฐภาคีแต่ประกาศยอมรับเขตอำนาจศาล หรือ
- ผู้ถูกกล่าวหาเป็นผู้มีสัญชาติของรัฐภาคีรัฐที่ใช่รัฐภาคีแต่ประกาศยอมรับเขตอำนาจศาล

วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจการเมือง เพื่อฝ่าวิกฤตสิ่งแวดล้อม

โดย เกษียร เตชะพีระ
จะ "ซ้าย" ต้อง "เขียว" ด้วย

วูลฟ์แกง ซัคส์ นักคิดทฤษฎีด้านนิเวศวิทยาและการพัฒนาชาวเยอรมันได้สรุปทางแพร่งที่กำลัง เผชิญหน้าชาวโลกเราผู้อยู่ภายใต้อารยธรรมอุตสาหกรรมและแบบวิถีชีวิตยู โร-แอตแลนติก บนพื้นฐานพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลในท่ามกลางวิกฤตสิ่งแวดล้อมว่า เราจะต้องเลือกเอาระหว่าง:

1)เสพความมั่งมีศรีสุขทางอุตสาหกรรมต่อ ไป + แต่ต้องแบ่งแยกชาวโลกออกเป็นพวกอยู่ดีมีสุขกับพวกลำบากยากแค้น (industrial affluence + global apartheid) หรือ

2)สร้างความเป็นธรรมระดับโลก + หันไปสู่ความพอเพียง (global equity + sufficiency)

ทางเลือกอย่างหลังเป็นความจำเป็นที่ถูกกำหนดโดยเงื่อนไขสภาพการณ์แห่งคริสต์ศตวรรษที่ 21 ที่ซึ่งถ้ารักจะ "ซ้าย" ละก็ต้อง "เขียว" ด้วย (no equity without ecology)

ซัคส์ แจกแจงรายละเอียดของทางเลือกเชิงยุทธศาสตร์แบบที่ 2 ว่าซีกโลกเหนือของบรรดาประเทศอุตสาหกรรมที่เจริญแล้วจักต้องหดลด (contraction) หรือประหยัดตัดทอนการใช้ทรัพยากรฟอสซิลลง 90% ให้เหลือเพียง 1 ใน 10 ของที่เคยใช้อยู่ตอนนี้ภายในเวลา 40 ปีข้างหน้า

โลกอาหรับกับ "โดมิโน เรฟโวลูชั่น"

ไม่กี่วันก่อนหน้าการหลบหนีออกนอกประเทศ อดีตประธานาธิบดี ไซเน่ เอล อะบีดีน เบน อาลี ของตูนิเซีย ได้กล่าวสุนทรพจน์ผ่านทางสถานีโทรทัศน์แห่งชาติ สัญญาว่าจะสร้างงานใหม่ 300,000 ตำแหน่ง ภายในเวลา 2 ปี

ประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัค ของอียิปต์ ได้ทำเช่นเดียวกัน ในช่วงที่สถานการณ์การชุมนุมประท้วงเข้มข้นและรุนแรงมากขึ้น โดยเสนอโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับประชาชน ในประเทศที่ผู้คนครึ่งหนึ่งต้องดำรงชีวิตอยู่ด้วยเงินน้อยกว่า 2 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน

คำสัญญาท่ามกลางสถานการณ์บีบคั้นนี้มีอีกบางสิ่ง บางอย่างที่เหมือนกัน นั่นคือ การยอมรับว่าความโกรธแค้นอย่างไม่คาดหมายมาก่อนที่แสดงออกตามท้องถนนทั่วโลก อาหรับ มีหัวใจสำคัญอยู่ที่ความเดือดดาลที่สั่งสมมานานนับทศวรรษ ต่อความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจที่สร้างความมั่งคั่งให้อภิสิทธิ์ชนทาง การเมือง แต่ขณะเดียวกันกลับถ่างความแตกต่างทางสังคมให้กว้างมากขึ้น

อัตรา การลุกลามของสถานการณ์อย่างรวดเร็ว จากตูนิเซียมายังอียิปต์ และประเทศอื่นๆ ตอกย้ำให้เห็นถึงสถานะที่ง่อนแง่นของระบอบที่ผู้ปกครองอาหรับบางชาติใช้ใน การยึดกุมอำนาจมาอย่างยาวนาน นั่นคือส่วนผสมที่น่าเกรงขามของระบอบญาติกาธิปไตยทางเศรษฐกิจและการใช้อำนาจ แข็งกร้าวแบบเผด็จการ ซึ่งทางการอ้างว่ามีความจำเป็นสำหรับการปราบปรามกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรง หรือสายลับของอิสราเอล

วันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

"บนย่างก้าวสู่ประชาคมอาเซียน 2015"

มื่อวันที่ 25 มกราคม 2554  สยามอินเทลลิเจนซ์ยูนิต ร่วมกับ สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกันจัดงาน “บนย่างก้าวสู่ประชาคมอาเซียน 2015: ปัญหา อุปสรรคและโอกาส” โดยมีศาสตราภิชาน ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย กล่าวปาฐกถาพิเศษเปิดงาน ทางสยามอินเทลลิเจนซ์ยูนิตได้บันทึกวิดีโอการเสวนาในงาน และแผยแพร่เพื่อเป็นความรู้สาธารณะต่อไป


วิดีโอช่วงปาฐกถาพิเศษโดย ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ศาสตราภิชาน คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วิเคราะห์เพื่อไทย ไขรหัสแก้รัฐธรรมนูญ

บทสัมภาษณ์ “พงศ์เทพ เทพกาญจนา”
ประชาชาติธุรกิจ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
"ผมว่าคนใน 111 จำนวนหนึ่งเท่าที่ผมคุย เขาก็ยังคิดที่จะกลับเข้ามาทำงานด้านการเมืองอยู่"

อีก 16 เดือน คนการเมือง 111 คน จะคืนเวที
ภายใต้สิ่งแวดล้อมทางการเมืองที่ถูกจัดระบบ-วางระเบียบใหม่
หลายคนปรากฏตัวต่อสาธารณะ ร่วมกับพรรคการเมือง สม่ำเสมอ
บางคนให้ความเห็นทางการเมืองในฐานะ “ที่ปรึกษา”
บางคนคลุกวงใน ล้วงลึกถึงห้องประชุมคณะรัฐมนตรี
“พงษ์เทพ เทพกาญจนา” เคยปรากฏตัวบนเวทีเสื้อแดง และเคียงคู่ “ทักษิณ” ในฐานะ “โฆษกส่วนตัว”
เขาปรากฏความเห็น กับ “ประชาชาติธุรกิจ” ในฐานะ “นักกฏหมาย”

@ มองการแก้ไขรัฐธรรมนูญปัจจุบันอย่างไร

ปัญหา หลักของ รัฐธรรมนูญ 2550 ไม่ใช่เรื่องที่กำลังแก้ไขอยู่ตอนนี้ ทั้งระบบเลือกตั้ง ส.ส.หรือการทำสนธิสัญญา ซึ่งเป็นเรื่องปลีกย่อย ปัญหาหลักของรัฐธรรมนูญ 2550 อยู่ที่พื้นฐานการสร้างรัฐธรรมนูญฉบับนี้รัฐธรรมนูญถูกยกร่างขึ้นมาหลังการ ยึดอำนาจ คณะปฏิรูปฯเป็นคนเลือกผู้ที่จะมาเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ และยกร่างบนพื้นฐานความไม่เชื่อถือประชาชน คิดว่าประชาชน ขายสิทธิขายเสียง ไม่มีความรู้ ไม่มีความรับผิดชอบเพียงพอที่จะตัดสินใจปัญหาของประเทศชาติ รัฐธรรมนูญจึงไม่ได้ให้อำนาจอธิปไตยอยู่กับประชาชนแต่ให้ไปอยู่กับคนกลุ่ม เล็กๆ เช่น องค์กรอิสระและศาล ซึ่งมีจุดยึดโยงกับประชาชนน้อยมาก

วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

5 เรื่องที่คุณควรรู้เกี่ยวกับกองทัพอิยิปต์

ที่มา : ประชาไท

นักวิชาการด้านตะวันออกกลางวิเคราะห์บทบาทของกองทัพอียิปต์ต่อการประท้วง ใหญ่ครั้งล่าสุด ทั้งในแง่โครงสร้าง ความเป็นมา และการเชื่อมโยงอำนาจกับรัฐบาล ผ่าน 5 อันดับเรื่องที่คุณควรรู้เกี่ยวกับกองทัพอิยิปต์

เมื่อวันที่ 31 ม.ค. ที่ผ่านมา สตีเฟน เอ. คุก นักวิชาการที่ศึกษาเรื่องตะวันออกกลาง เผยแพร่บทความเชิงวิเคราะห์เกี่ยวกับบทบาทของกองทัพในการประท้วงใหญ่ครั้งล่าสุดของอิยิปต์ ในชื่อ "ห้าสิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับกองทัพอิยิปต์" เนื้อหาของบทความมีดังนี้

ในช่วงที่ผ่านมามีผู้คนพูดคุยกันถึงเรื่องกองทัพอิยิปต์ ซึ่งโดยส่วนตัวผมเองคิดว่ามันเป็นความคิดที่ดี หากผมจะนำเสนอความเห็นผ่านการจัดอันดับ 5 สิ่งที่ผู้คนควรรู้เกี่ยวกับกองทัพอิยิปต์

อันดับที่ 1
เจ้าหน้าที่ทหารระดับอาวุโสเป็นผู้ที่สืบทอดตำแหน่งโดยตรงมาจาก กามาล อับเดล นาซเซอและกลุ่มฟรีออฟฟิศเซอร์ [1] ผู้ช่วยก่อร่างระบอบการปกครองของและรัฐบาลของอิยิปต์ ทางกองทัพจะได้รับประโยชน์โดยตรงจากความสงบเรียบร้อยทางการเมือง และจนถึงบัดนี้ก็ไม่มีความจำเป็นต้องเข้าไปแทรกแซงการเมืองมากนัก เนื่องจากระบบได้ทำงานของมันอย่างดี กองกำลังติดอาวุธโดยเฉพาะระดับผู้บัญชาการเองก็มีส่วนพัวพันอย่างลึกซึ้งใน ระบบเศรษฐกิจของอิยิปต์

ประชาธิปไตยอย่างมีวินัย ในสายตาของคนชายแดน

โดย แบพอ ข่าวจิตอาสา

ก่อนการเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์ของประเทศพม่า สื่อมวลชนต่างนำเสนอมุมมองของทั้งนัก วิชาการด้านพม่า ผู้ลี้ภัย ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคง บรรณาธิการสำนักข่าวต่าง ๆ และตัวแทนของภาครัฐบาลไทย พวกเขาต่างแสดงความคิดเห็นอันประมวลจากประสบการณ์การทำงานของตัวเอง บ้างมองการเลือกตั้งครั้งนี้ว่าเป็นเครื่องมือในการสร้างความชอบธรรมในการปกครองของรัฐบาลทหารพม่า บ้างก็มองว่า ...นี่แหละ.. คือโอกาสของรัฐบาลไทยในการจัดการปัญหาผู้ลี้ภัยที่คั่งค้าง (อย่างชั่วคราว) มานานใกล้ 30 ปี บ้างก็มองว่า นี่จะคือก้าวแรกของการปกครองแบบประชาธิปไตยในพม่าอย่างแท้จริง

ประเด็นฮือฮามากที่สุดประเด็นหนึ่งของคนชายแดน ก็คือการที่รัฐมนตรีต่างประเทศของไทย ออกมาประกาศว่า เมื่อมีการเลือกตั้งและพม่าเป็นประชาธิปไตยแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะส่งกลับผู้ลี้ภัยในประเทศไทยได้ หากหลังจากเสียงสะท้อนไม่เห็นด้วยย้อนกลับมามากมาย ในที่สุดเขาก็เข้าไปในค่ายผู้ลี้ภัยตามแบบฉบับนักการเมือง โดยไปประกาศว่า การส่งกลับผู้ลี้ภัยจะเป็นไปโดยสมัครใจเท่านั้น เมื่อได้ยินดังนี้ กลุ่มคนชายแดนที่ได้รับผลกระทบโดยตรงก็วิพากษ์วิจารณ์กันแพร่หลาย พวกเขาได้รับบทเรียนจากการที่รัฐบาลไทยประกาศว่า การส่งกลับผู้ลี้ภัยจากหนองบัวจะเป็นไปโดยสมัครใจไม่มีการบังคับกดดัน แต่ในความเป็นจริง เรื่องราวจากเพื่อน ๆ ที่หนองบัวก็ทำให้พวกเราเข้าใจว่า “การไม่บังคับ”​เป็นเพียงศัพท์เทคนิคบางอย่าง

วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

มองอนาคตการเมืองไทยผ่านสายตาคนนอก

“เบเนดิก แอนเดอร์สัน” อภิปรายที่ ม.เชียงใหม่ มองการเมืองไทยผ่านลักษณะของ “คณาธิปไตย” พร้อมตัวชี้วัดคณาธิปไตยจาก “ถ้อยคำ” และ “คนรับใช้” ข้อสังเกตเรื่องคนเสื้อแดงจากภูมิภาคของเจ้าพ่อและฝ่ายซ้าย บทบาทชนชั้นกลาง ทิ้งท้ายด้วยความเปลี่ยนแปลงของสถาบันกษัตริย์ยุโรป


เมื่อวันที่ 26 ม.ค. 54 ที่ ห้องประชุม ศ.ดร.มล. ตุ้ย ชุมสาย อาคาร HB7 ชั้น 8 อาคาร HB7 มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน และสาขาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดการเสวนาหัวข้อ “มองอนาคตการเมืองไทยผ่านสายตาคนนอก” มีผู้อภิปรายคือ ศาสตราจารย์ เบเนดิก แอนเดอร์สัน (Benedict Anderson) โดย “ประชาไท” แปลและเรียบเรียงบางส่วนซึ่งเป็นการอภิปรายของเบเนดิก มีรายละเอียดดังนี้

มาม่ากับเสื้อแดง

โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
ที่มา : มติชน

ผมพลอยตื่นเต้นกับปฏิบัติการบอยคอตมาม่าของเสื้อแดง มีการตั้งเป้าของผู้เข้าร่วมที่สูงถึง 20 ล้านคน ใช้ระยะเวลาเพียงหนึ่งเดือน

ที่ตื่นเต้นก็เพราะอยากจะรู้ผลว่าสามารถทำได้จริงตามเป้าหรือไม่ เพียงใด แต่แม้ติดตามฟังข่าวอย่างใกล้ชิด ก็ยังไม่รู้ผลอยู่ดีจนถึงบัดนี้ แน่นอนว่าบริษัทย่อมไม่แถลง เพราะมีแต่เสียทั้งขึ้นทั้งล่อง เช่นหากแถลงว่าไม่เกิดผลกระเทือนแก่บริษัท ก็เท่ากับท้าทายคนเสื้อแดงให้ยิ่งรณรงค์หนักมือขึ้น แถลงว่าเป็นผลกระเทือนอย่างรุนแรง ก็ยิ่งช่วยทำให้ผลิตภัณฑ์ของตนเสื่อมความนิยมในตลาดลงไปอีก

และก็อย่างเคย คือไม่มีสื่อใดตามเจาะเรื่องนี้อย่างจริงจัง แม้แต่สื่อของเสื้อแดงเองก็ตามข่าวในเชิงรณรงค์มากกว่าพยายามประเมินว่าได้ผลมากน้อยเพียงไร ทั้งๆ ที่เรื่องนี้มีนัยยะสำคัญมากกว่าการต่อสู้ทางการเมืองเฉพาะหน้า

ในประเทศไทย (เหมือนกับอีกหลายประเทศทั่วโลก) ทุนได้เติบใหญ่จนกลายเป็นพลังมหึมาที่สามารถเข้าไปกำหนดวิถีชีวิตของคนอย่างเบ็ดเสร็จโดยอาศัยสิ่งที่เรียกกันว่า "กลไกตลาด" นับวันพลังอื่นๆ ก็ไม่สามารถถ่วงดุลทุนด้วยการกำกับตลาดให้มีระเบียบกฎเกณฑ์ที่เอื้อต่อความเป็นธรรมและความสงบสุขของผู้คนได้