เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม เลขทะเบียน ๘๖๙ สภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า

อุดมการณ์สถานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตย

เรา...มั่นใจว่า
ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา
ประเทศไทย เป็นของเราทุกคน
เรา ต้องร่วมกันสร้างชาติไทย ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์  พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจการเมือง เพื่อฝ่าวิกฤตสิ่งแวดล้อม

โดย เกษียร เตชะพีระ
จะ "ซ้าย" ต้อง "เขียว" ด้วย

วูลฟ์แกง ซัคส์ นักคิดทฤษฎีด้านนิเวศวิทยาและการพัฒนาชาวเยอรมันได้สรุปทางแพร่งที่กำลัง เผชิญหน้าชาวโลกเราผู้อยู่ภายใต้อารยธรรมอุตสาหกรรมและแบบวิถีชีวิตยู โร-แอตแลนติก บนพื้นฐานพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลในท่ามกลางวิกฤตสิ่งแวดล้อมว่า เราจะต้องเลือกเอาระหว่าง:

1)เสพความมั่งมีศรีสุขทางอุตสาหกรรมต่อ ไป + แต่ต้องแบ่งแยกชาวโลกออกเป็นพวกอยู่ดีมีสุขกับพวกลำบากยากแค้น (industrial affluence + global apartheid) หรือ

2)สร้างความเป็นธรรมระดับโลก + หันไปสู่ความพอเพียง (global equity + sufficiency)

ทางเลือกอย่างหลังเป็นความจำเป็นที่ถูกกำหนดโดยเงื่อนไขสภาพการณ์แห่งคริสต์ศตวรรษที่ 21 ที่ซึ่งถ้ารักจะ "ซ้าย" ละก็ต้อง "เขียว" ด้วย (no equity without ecology)

ซัคส์ แจกแจงรายละเอียดของทางเลือกเชิงยุทธศาสตร์แบบที่ 2 ว่าซีกโลกเหนือของบรรดาประเทศอุตสาหกรรมที่เจริญแล้วจักต้องหดลด (contraction) หรือประหยัดตัดทอนการใช้ทรัพยากรฟอสซิลลง 90% ให้เหลือเพียง 1 ใน 10 ของที่เคยใช้อยู่ตอนนี้ภายในเวลา 40 ปีข้างหน้า

ส่วนซีกโลก ใต้ของบรรดาประเทศกำลังพัฒนาและประเทศตลาดเกิดใหม่ซึ่งเคยยากจนข้นแค้นลำบาก ขาดแคลนในช่วง 200 ปีที่ผ่านมานั้น จำต้องเปิดโอกาสให้พวกเขาเพิ่มการใช้ทรัพยากรฟอสซิลขึ้น เพื่อหดช่องว่างกับซีกโลกเหนือให้แคบลงจนสามารถบรรจบกับ (convergence) มาตรฐานการครองชีพและแบบวิถีชีวิตของซีกโลกเหนือที่ค่อยๆ หดลดตัดทอนลงมาได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ด้วยเหตุผลเรื่องศักดิ์ศรี, ความเป็นธรรม และการยอมปรับให้สอดรับกับความเป็นจริง

มิฉะนั้นประเทศอย่างจีน, อินเดีย, บราซิล ฯลฯ ก็ย่อมไม่ยินยอมพร้อมใจและตั้งคำถามว่า: คนเราเท่ากัน ทำไมอั๊วต้องอยู่กินต้อยต่ำกว่าพวกซีกโลกเหนืออย่างยู? ยูบริโภคสบายมาตั้ง 200 ปีแล้ว อั๊วควรต้องได้บริโภคบ้างถึงจะถูก ม่ายงั้นหัวเด็ดตีนขาดพวกอั๊วในฐานะชาติเอกราชอธิปไตยก็จะไม่ยอมเสียสละการ เติบโตทางเศรษฐกิจเพื่อตัดลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ช่วยบรรเทาโลกร้อน แน่นอน!

พูดอีกอย่างก็คือโดยเริ่มต้นจากสภาพความเป็นจริงอันเหลื่อม ล้ำทางเศรษฐกิจ แต่เสมอหน้าทางการเมืองโดยหลักการของรัฐชาติในโลกปัจจุบัน หากจะรักษาระบบนิเวศวิทยาของโลกไว้ เราจำต้องยึดหลักความเป็นธรรมของการกระจายความเจริญให้เท่าเทียมกันด้วย อย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้ (ecological realism --> fairness)

นั่นหมายถึงว่าถ้ารักจะ "เขียว" ก็จำต้อง "ซ้าย" ด้วยนั่นเอง (no ecology without more equity)

นอก จากความสัมพันธ์ทางอำนาจและดุลทางเศรษฐกิจต้องปรับเปลี่ยน ตัวการผลิตเองก็ต้องพลิกเปลี่ยนด้วยเช่นกัน ซัคส์ระบุว่าเพื่อก่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทางอารยธรรมจากแบบยูโร-แอตแลนติก เดิม จำต้องคิดประดิษฐ์รูปแบบความมั่งคั่งไพบูลย์ขึ้นเสียใหม่ให้ยั่งยืน กล่าวคือ: -

1)ทำให้เศรษฐกิจหันไปใช้วัตถุน้อยหรือ "เบา" ลง (dematerialized or light economy) หมายความว่าจะต้องหาทางพัฒนาศิลปวิทยาการในอันที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มและโภค ทรัพย์โดยใช้พลังงาน, วัสดุ, หน้าดิน, น้ำ ฯลฯ ในระดับที่ต่ำลงมาก

2)ทำให้เศรษฐกิจเป็นแบบงอกใหม่หรือเจริญขึ้นมาทดแทนได้ (regenerative economy) โดยพยายามเชื่อมสมานรอมชอมกระแสอุตสาหกรรมเข้ากับกระแสธรรมชาติ เหมือนล่องเรือใบไปตามกระแสลมและน้ำ แทนที่จะขืนฝืนทวนมัน เข้าไปอิงใช้พลังธรรมชาติมาเสริมเติมพลังการผลิตโดยไม่ทำลายหรือบั่นทอน ธรรมชาติลง

3)เดินสายกลางหรือพอประมาณทางเศรษฐกิจ (moderation) พยายามดำเนินวิถีชีวิตและแบบแผนการบริโภค รวมทั้งสร้างเศรษฐกิจที่มีสมรรถนะในระดับกลางๆ ไม่ใหญ่โตสิ้นเปลืองฟุ่มเฟือยเกินไป ยอมลดทอนอัตราความเร็ว, ความสะดวกสบาย, กระทั่งการติดต่อเชื่อมโยงกันลง ตามหลักที่ว่าหากจะให้รอยเท้านิเวศวิทยาของเราเล็กลง รอยเท้าเศรษฐกิจของเราก็จำต้องเล็กลงไปด้วย

(อนึ่ง รอยเท้านิเวศวิทยา หรือ ecological footprint หมายถึงมาตรวัดอุปสงค์ของมนุษย์ต่อระบบนิเวศวิทยาของโลก โดยเปรียบเทียบอุปสงค์ของมนุษย์กับสมรรถนะทางนิเวศวิทยาของดาวพระเคราะห์โลก ที่จะงอกใหม่หรือเจริญขึ้นมาทดแทนได้ ในทำนองว่าเพื่อบำรุงเลี้ยงประชากรมนุษย์ ณ ระดับมาตรฐานการครองชีพหนึ่งๆ จะต้องใช้ผืนดินและท้องทะเลไปกว้างขวางใหญ่โตเท่าใด จึงจะผลิตทรัพยากรมาพอให้มนุษย์บริโภคและดูดซับ/บำบัดขยะที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้)

วูลฟ์แกง ซัคส์ปิดท้ายคำบรรยายโดยอ้างอิงวาทะของมหาตมะ คานธี (ค.ศ. 1869-1948) ซึ่งแสดงไว้เมื่อปี ค.ศ.1926 อย่างลุ่มลึกและเล็งการณ์ไกลราวเทพพยากรณ์ว่า:

"ขอพระผู้เป็นเจ้า โปรดอย่าได้ให้อินเดียหันไปสร้างอุตสาหกรรมตามอย่างตะวันตกเลย ดังที่เห็นกันอยู่ว่าจักรวรรดินิยมทางเศรษฐกิจของอังกฤษซึ่งเป็นราชอาณาจักร กระจิริดเพียงแห่งเดียวก็ถึงแก่จองจำพันธนาการโลกทั้งใบไว้แล้วในทุกวันนี้ หากแม้นประชาชาติทั้ง 300 ล้านคนของอินเดียพากันหันไปขูดรีดเอารัดเอาเปรียบทางเศรษฐกิจในลักษณะคล้าย กันแล้ว โลกทั้งใบก็จะถูกล้างผลาญราบเรียบเหี้ยนเตียนเหมือนฝูงตั๊กแตนลง"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา