แบ่งประเภท"สลิ่ม"การเมือง ถามใครกันแน่คือทุนนิยมสามานย์ !?
เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ เวลา 13.00 น. ที่หอประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้มีการจัดเสวนา "เบื้องหลัง 6 ตุลา เบื้องหน้าประชาธิปไตยไทย" โดยมีวิทยากรเข้าร่วมงานได้แก่ คำ ผกา, วัฒน์ วรรลยางกูร, สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, จอม เพชรประดับ และ วิภา ดาวมณีคำ ผกา กล่าวว่า จริงๆแล้วเหตุการณ์ 14 ตุลา ที่เชื่อว่าเป็นชัยชนะของประชาชน เป็นความเข้าใจผิด เหตุการณ์นี้ไม่ใช่ชัยชนะของนักศึกษา หรือประชาชน แต่ว่าเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญที่สุดในแง่ที่สถาบันจารีตได้รับความนิยมชมชอบ อย่างหมดจด
เหตุการณ์หกตุลาเป็นด้านกลับของชัยชนะครั้ง นี้ เป็นต้นกำเนิดของสลิ่มสองจำพวกในสังคมไทย สลิ่มไม่ได้เกิดจากการสลายชุมนุมคนเสื้อแดงแต่เกิดจากทศวรรษ 70 ในที่นี้ กล่าวว่า สลิ่มแบ่งได้เป็นสองแบบ
สลิ่มพวกแรก เรียกว่าพวกไร้อุดมการณ์ (เสื้อเหลือง) ที่มาของพวกนี้คือ ชนชั้นกลางที่ถูกดึงให้เป็นพันธมิตรกับอุดมการณ์ขวาจัด ถูกสอนให้เบื่อหน่ายการประท้วงของนักศึกษา กลัวความเปลี่ยนแปลงอย่างถอนรากถอนโคน กลัวคอมมิวนิสต์ จากนั้นขบวนการขวาจัดก็ได้ปลุกอุดมการณ์ชาตินิยมนั่นคือ สร้างโครงเรื่องประวัติศาสตร์ของไทยว่าดินแดนไทยเป็นสิ่งที่ถูกปกป้องมายาว นาน
คีย์เวิร์ดที่กลุ่มนี้ใช้ คือสิ่งชั่วร้าย, คอมมิวนิสต์, อนาธิปัตย์, ทรยศต่อชาติ และเครื่องมือทางอุดมการณ์ คือ "ทุกอย่าง" ตั้งแต่ระบบการศึกษา แบบเรียน เพลงปลุกใจ และสารคดี สื่อ โทรทัศน์ เสริมจุดนี้ว่า สื่อมวลชนของไทยเคยมีเสรีภาพมากสุดคือช่วง 2475 เนื่องจากไทยยังอยู่ในสิทธิเสรีภาพนอกอาณาเขต เนื่องจากยังมีคนบางกลุ่มที่อยู่ในบังคับของฝรั่งเศส หรืออังกฤษไม่ต้องขึ้นศาลไทย จากข้อได้เปรียบดังกล่าวของสื่อไทย หากใครอยากด่าผู้มีอำนาจก็จะไปจ้างแขก หรือใครก็ได้ที่อยู่ในอังกฤษ ฝรั่งเศสมาวิจารณ์อย่างเผ็ดร้อน
การสร้างสลิ่มขึ้นมาในสังคมไทย เห็นได้จากว่าชุดคำพูดเหล่านี้ เป็นชุดคำที่พันธมิตรเอามาใช้อย่างสม่ำเสมอและกระบวนการนี้ยังมากับวาทกรรม รังเกียจนักการเมือง
ส่วนกลุ่มที่สองเรียกว่า เป็นกลุ่มที่มีอุดมการณ์ แต่ดูมีความน่ากลัวกว่ากลุ่มแรก เพราะมีกลวิธีการเป็นพันธมิตรกับฝ่ายอนุรักษ์นิยมกับฝ่ายขวาจัดที่แนบเนียน กว่า กำเนิดของสลิ่มกลุ่มที่สองเป็นสลิ่มที่อยู่ตรงกลาง คือสิ่งมีชีวิตที่กลายพันธ์จากกลุ่มนี้เคยถูกมองว่าเป็นซ้าย คือกลุ่มที่เคยอยู่ตรงข้ามกับฝ่ายขวา ซึ่งสลิ่มกลุ่มนี้หมายถึง กลุ่มผู้นำนักศึกษา อย่างคนเคยเข้าป่า นักหนังสือพิมพ์ที่เป็นน้ำดี ศิลปินเพื่อชีวิต กล่าวได้ว่า เสกสรรค์ ประเสิรฐกุล และจิรนันท์ พิตรปรีชา ก็เป็นคนที่กลายพันธุ์เหล่านี้ จุดเชื่อมต่อของคนเหล่านี้ ที่เคยได้ชื่อว่าเป็นซ้ายและฝ่ายขวา คือคนที่เคยถูกเข้าใจว่าเป็นซ้าย ในขณะที่ฝ่ายหนึ่งชูอุดมการณ์อนุรักษ์นิยม อีกฝ่ายหนึ่งที่เคยถูกเข้าใจว่าเป็นซ้ายก็ชูอุดมการณ์ชนบทนิยม ชุมชนนิยม แต่ทั้งหมดนี้แชร์การต่อต้านเสรีนิยมใหม่ เพราะว่า อุดมการณ์ของทั้งสองฝ่ายนี้แท้จริงแล้วเป็นอุดมการณ์จารีตนิยม
สลิ่มเหล่านี้มักอวตารอยู่ในร่างเอ็นจีโอ ที่ทำงานในเครือข่ายทรัพยากร นักต่อสู้เพื่อสิ่งแวดล้อม คนที่ทำงานเพื่อคนยากจน นักวิชาการที่โหยหาวิถีชนบท สิ่งที่คนเหล่านี้แสวงหาคือ "ประชาธิปไตยแบบไทย" ซึ่งไม่เหมือนกับที่โลกเขาเป็นกัน
โดยสรุป มองว่าการต่อสู้ทางการเมืองไทยตอนนี้ คือการต่อสู้ระหว่างชาตินิยมสองแบบ คือ "ชาตินิยมที่เน้นราชาธิปไตย" กับ "ชาตินิยมที่เน้นประชาชน" ซึ่ง คือกระบวนการของคนเสื้อแดง อุปสรรคของชาตินิยมประชาชนที่เพิ่งเกิดขึ้นมาคือ ฝ่ายอำมาตย์, ขวาจัดหัวรุนแรง แต่ศัตรูที่น่ากลัวกว่าคือ พันธุ์อวตารของขวาจัดที่ทำงานในร่างซ้ายเก่าที่ทำงานในกลุ่มประชาสังคม เอ็นจีโอ ที่ต่อต้านนักการเมืองชั่ว ทุนสามานย์
เพราะฉะนั้น สื่อที่น่ากลัวไม่ใช่สื่อที่เซ็นเซอร์ตัวเอง แต่เป็นสื่อในนามความหวังของประชาชน สื่อของชนชั้นล่าง เพราะสื่อเหล่านี้ได้กระทำ และผลิตไปบนความปราถนาดีต่อชาวบ้าน ผู้ด้อยโอกาส คนชายขอบ คนเหล่านี้อยากรื้อฟิ้นจิตวิญญาณของสังคมไทยที่ถูกลืมเลือนไป ในสายตาของสื่อเหล่านี้ชาวบ้านคือลูกแกะหลงทาง ที่ต้องต้อนกลับมา กลุ่มทุนเหล่านี้มักมองไม่เห็นหรือทำเป็นมองไม่เห็นว่าทุนนิยมจารีตนั้นแทบ เป็นเนื้อเดียวกับทุนโลกาภิวัฒน์ที่สูบกินทรัพยากรของชาติมากกว่าทุนนักการ เมืองหรือทุนต่างชาติไร้เส้นสายรวมกัน
ฝ่ายขวาจัดที่อวตารมาในร่างผู้คนปกป้องชาวบ้านและคนจน มีข่ายแหความเกื้อกูล พิทักษ์โลกสีเขียว สำหรับตนแล้ว กลุ่มนี้น่ากลัวกว่าฝ่ายขวาจัดมากมาย
ทางออกที่น่าทำได้คือ ดูสิ่งที่ขาดหายไปในประวัติศาสตร์ เราขาดการศึกษาประวัติศาสตร์สังคมและ สำคัญที่สุดคือ การ ศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทยเราไม่มีการศึกษาประวัติศาสตร์กลุ่มทุน เพื่อที่จะรื้อถอนมายาคติเกี่ยวกับ นักการเมือง นายทุน นักการเมือง เจ้าพ่อ ผู้มีอิทธิพล เพื่อที่จะใช้ข้อมูลเหล่านี้มายืนยันว่าใครกันแน่คือทุนสามานย์ตัวจริง
"อุดมการณ์ที่ต้องรู้ทันเช่น ศาสนา เราจะเป็นประชาธิปไตยไม่ได้เลย ถ้าเราไม่ได้เอาสิ่งที่เรียกว่าเป็นศาสนาประจำชาติออก เราต้องทำให้คนมั่นใจตัวเองในฐานะศักยภาพที่เป็นมนุษย์"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา