เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม เลขทะเบียน ๘๖๙ สภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า

อุดมการณ์สถานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตย

เรา...มั่นใจว่า
ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา
ประเทศไทย เป็นของเราทุกคน
เรา ต้องร่วมกันสร้างชาติไทย ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์  พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2554

เมื่อพันธมิตรกลายเป็นศัตรู

ปิดตำนานซ่า 58 ปี "เป๊ปซี่ - เสริมสุข"

ในตลาดน้ำดำ ห้ำหั่นกันด้วยกลยุทธ์การตลาด ผ่านสองแนวทางหลักคือ สปอร์ตมาร์เก็ตติ้ง กับ มิวสิคมาร์เก็ตติ้ง ระหว่างสองค่ายหลักคือ "โคคา โคล่า" คนไทยเรียกกันติดปากคุ้นหูว่า "โค้ก" กับค่าย "เป๊ปซี่" สองแบรนด์ยักษ์ใหญ่จากประเทศสหรัฐอเมริกา สยายปีกเข้าไปทำตลาดเกือบทั่วโลกนั้นจะพบว่า ส่วนใหญ่โคคา โคล่า มีส่วนแบ่งทางการตลาดเหนือเป๊ปซี่ ในเกือบทุกที่เสียเป็นส่วนใหญ่

จะมียกเว้นก็ไม่กี่ประเทศที่เป๊ปซี่ มีส่วนแบ่งทางการตลาดเหนือโคคา โคล่า ได้ นอกเหนือจากประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีรูปแบบการทำธุรกิจในลักษณะพิเศษ เข้าร่วมทุนกับรัฐบาลแล้ว ในไทยก็ถือเป็นหนึ่งในนั้น เป๊ปซี่มีส่วนแบ่งในตลาดน้ำดำเหนือโคคา โคล่า ได้

เรื่องนี้ต้องยกเครดิตให้กับ บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) ในฐานะบริษัทผู้ผลิต บรรจุขวด และทำตลาดให้กับเป๊ปซี่ ในเมืองไทย มาเป็นระยะเวลาถึง 58 ปีเต็ม มาตั้งแต่ยุคก่อตั้งบริษัทแห่งนี้ในยุคของ "นายทรง บุลสุข"ก่อนธุรกจิจะถูกผ่องถ่ายมาสู่รุ่นลูก คือ "นายสมชาย บุลสุข" ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารบริษัทแห่งนี้ในยุคปัจจุบัน

จนมาถึง วันที่ เป๊ปซี่ โค พันธมิตรทางธุรกิจของบริษัทแห่งนี้ ได้จัดตั้งบริษัท บริษัท สตราทีจิค เบฟเวอร์เรจเจส (ประเทศไทย) จำกัด ขึ้นมาทำคำเสนอซื้อหุ้นทั้งหมด หรือเทนเดอร์ ออฟเฟอร์ ของบริษัท เสริมสุข เพื่อใช้บริษัทแห่งนี้ในฐานะบริษัทผู้ผลิต และบรรจุขวด น้ำอัดลมเป๊ปซี่ มิรินด้า เซเว่นอัพ ในเมืองไทย หรือ Bottler (บ็อตต์เลอร์) ตามนโยบายไล่ซื้อ Bottler ทั่วโลก หลังประสบความสำเร็จมาแล้วหลายประเทศทั่วโลก เช่น Bottler ในประเทศสหรัฐอเมริกา ในช่วงเดือนกรกฏาคมที่ผ่านมา

จากนั้นสถานะ ระหว่างสองบริษัทก็เปลี่ยนไปจากพันธมิตรทางธุรกิจ กลายเป็นศัตรูคอยห้ำหั่นกันด้วยกลเกมทางการเงินจนถึงจุดแตกหัก จะมีการบอกเลิกสัญญาการจำหน่ายวัตถุดิบหรือส่วนผสมที่ใช้ในการผลิตน้ำอัดลม หรือหัวน้ำเชื้อ และสัญญาความร่วมมือด้านโฆษณาและการตลาด ระหว่างกันภายใน 15 วัน หรือภายในวันที่ 2 มีนาคมนี้ เป็นวันตัดสินชี้ขาดว่าเป๊ปซี่ โค จะรับแผนธุรกิจใหม่ของเสริมสุขหรือไม่

หากย้อนกลับไปดูตำนาน คลาสสิกของเป๊ปซี่ในเมืองไทยพบว่า เริ่มต้นขึ้นเมื่อ 58 ปีก่อนหน้า หลังเป๊ปซี่ขวดแรกผลิตโดยโรงงานแห่งแรกของบริษัทเสริมสุขบนเนื้อที่ประมาณ 4 ไร่ ณ ถนนสีลม ขนาด 10 ออนซ์ ออกสู่ตลาดเมืองไทย เมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ.2496 เวลา 07.00 น. ภายใต้คำขวัญโฆษณา "ดีมาก มากดี" (Quality Quantity)

จริงๆ แล้วเป๊ปซี่ เข้ามาทำตลาดในเมืองไทยหลังโคคา โคล่า มีบริษัทไทยน้ำทิพย์ จำกัด (มหาชน) ของตระกูลสารสิน เป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าให้ราว 12 ปี

แต่ด้วยโมเดลธุรกิจของ ทั้งคู่ถูกสร้างให้ทำงานร่วมกันอย่างพันธมิตรที่ดี ทางเสริมสุขรับผิดชอบการผลิต โรงงาน มีโลจิสติกส์หรือกระจายสินค้ามีความแข็งแกร่ง อันดับต้นๆ ของเมืองไทย ส่งออกจากโรงงานของเสริมสุข 5 แห่ง สู่คลังสินค้าใน 40 จังหวัด เพื่อกระจายไปยังร้านค้าทุกระดับทั่วประเทศกว่า 300,000 แห่งทั่วประเทศไทย

ส่วน เป๊ปซี่ โค อยู่ในฐานะเจ้าของแบรนด์ เจ้าของลิขสิทธิ์ หัวเชื้อ พร้อมโนว์ฮาวของสินค้ามากมาย ประสบความสำเร็จและสร้างชื่อเสียงมาแล้วทั่วโลก จึงช่วยผลักดันให้ยอดขายของเป๊ปซีในเมืองไทยเติบโตเติบโตมาอย่างต่อเนื่อง เหนือโคคา โคล่า ในตลาดน้ำดำได้ และผลักดันให้เสริมสุข มีผลงานโดดเด่นในฐานะบริษัทบรรจุขวด หรือ Bottler ยอดเยี่ยม ของเป๊ปซี่ โค จนถูกนำไปเชิดชูไว้ใน หอเชิดชูเกียรติ หรือ ฮอลล์ ออฟ เฟรม (HALL OF FRAME) ของเป๊ปซี่ โค ถึงสองครั้งสองครา

ว่ากันว่า สาเหตุหลักที่ทำให้พันธมิตรทางธุรกิจต้อง "ปะฉะดะ" กันด้วยกลเกมทางการเงิน จนถึงขั้นมาบอกเลิกสัญญา มีจุดเริ่มต้นมาจากการที่เป๊ปซี่ โค เข้าซื้อกิจการ หรือ การเทคโอเวอร์ แบบไม่เป็นมิตร "Hostile takeover" ในราคาหุ้นละ 29 บาท หวังขึ้นเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ มีอำนาจควบคุมการบริหารในบริษัทแห่งนี้อย่างเสร็จสรรพ

จากเดิมเป๊ป ซี่ โค ถือหุ้นในบริษัทแห่งนี้รวมกันราว 41.54% ในจำนวนนี้ถือผ่านบิรษัทเป๊ปซี่-โคลา (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด จำนวน 24.94% หรือ 66,321,960 หุ้น และถือผ่านบริษัทเซเว่น-อัพ เนเธอร์แลนด์, บี.วี. อีก 16.60% หรือ 44,140,000 หุ้นเมื่อราวเดือนกรกฏาคมที่ผ่านา

เรื่องนี้ได้สร้างความไม่พอใจให้กับนายสมชายเป็นอย่างมาก จนเป็นจุดเริ่มต้นของการสู้กันในเกมทางการเงินโดยเฉพาะเรื่องการแก้ไขสัญญา หลังตระกูลโอสถานุเคราะห์ ตระกูลเจ้าของบริษัทโอสถสภา จำกัด ผู้ผลิตเครื่องดื่มชูกำลัง เอ็ม 150 ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ ในบริษัทแห่งนี้ได้ขายหุ้นทั้งหมดให้กับตระกูลบุลสุขเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรอง เรื่องเสียงในการลงมติของกลุ่มบุลสุข ให้ใกล้เคียงกับกลุ่มเป๊ปซี่ โค

ดังนั้น เมื่อเสียงและอำนาจต่อรองมากขึ้น การแก้ไขสัญญาจึงไม่ใช่เรื่องยาก การจัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/53 เรื่อง แก้ไขสัญญา การจำหน่ายวัตถุดิบหรือส่วนผสมที่ใช้ในการผลิตน้ำอัดลมหรือหัวน้ำเชื้อ และสัญญาความร่วมมือด้านโฆษณาและการตลาด และตัดสิทธิไม่ให้เป๊ปซี่ โค ลงมติออกเสียงในวาระนี้จนเป็นเหตุให้ เป๊ปซี่ โค ฟ้องแพ่งเสริมสุข เป็นคดีหมายเลขดำที่ 4128/2553 ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/53

และพัฒนามาเรื่อยจนถึงขั้นบอกเลิกสัญญาต่อกันในที่สุด



จริงๆ ในส่วนของเสริมสุขได้เตรียมความพร้อมรองรับการบอกเลิกสัญญาไว้แล้วเห็นได้ จากการเตรียม เพิ่มกำลังการผลิตน้ำดื่มคริสตัล อีก 200 ล้านบาทสำหรับโรงงานโคราชและปทุมธานี และยังใช้เงินอีก 200 ล้านบาท เตรียมสร้างโรงงานแห่งใหม่ ขยายไลน์ ทั้งเครื่องดื่มที่ใช่น้ำอัดลมและไม่ใช่น้ำอัดลม หลังจากเสริมสุขได้ขยายไลน์ไปยังเครื่องดื่มที่ไม่ใช่น้ำอัดลม มีน้ำดื่มภายใต้แบรนด์คริสตัลเป็นเรือธงหลัก มาก่อนหน้านี้แล้ว

ในเวลานี้กลุ่มบุลสุขอยู่ในฐานะได้เปรียบเพราะมีหุ้นที่ใกล้เคียงกับเป๊ปซี่ โค จึงไม่ใช่เรื่องยากจะบีบให้พันธมิตรต่างชาติรับแผนธุรกิจใหม่ มีสาระสำคัญอยู่ตรงการปรับลดค่าสัญญาลงอีก 9% จากเดิมต้องจ่ายค่าสัญญาปีละ 3,000 ล้านบาท เสริมสุขมองว่าสูงเกินไปกับการให้บริษัทไปทำธุรกิจเครื่องดื่มประเภทอื่นรวม ทั้งน้ำอัดลมได้

แม้การไม่มีเป๊ปซี่ จะทำให้รายได้ของบริษัทแห่งนี้อาจหายไปถึง 70% ทว่าการมีหรือไม่มีเป๊ปซี่ ก็ไม่ได้มีความหมายกับเสริมสุขอีกต่อไป เพราะเสริมสุขมีความพร้อมขยายไลน์ไปยังเครื่องดื่มอื่นๆ ได้ทั้งในไลน์ที่ไม่ใช่น้ำอัดลม และไลน์ที่เป็นน้ำอัดลมโดยอาศัยโนว์ฮาวจากการเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่าย สินค้าหลักให้กับเป๊ปซี่ โค ประกอบด้วย เป๊ปซี่ เซเว่นอัพ มิรินด้า ลิปตัน ทวิสเตอร์ และเกเตอเรด นั่นเอง

หากสถานการณ์พัฒนาไปถึงขั้นบอกเลิก สัญญาธุรกิจระหว่างกันจริง นั่นหมายความว่า เป๊ปซี่ โค จะต้องมาเสียท่าให้กับกลุ่มทุนไทยเหมือนครั้งหนึ่งที่ "พิชซ่าฮัท" แบรนด์พิซซ่าชั้นนำ บริหารงานโดยยัมเรสเทอรองต์ จากประเทศสหรัฐอเมริกาเหมือนกัน เคยเสียท่าให้กับ "พิซซ่า คอมปะนี" บริษัทไทยแต่บริหารงานโดย "นายวิลเลียม อี. ไฮเนคกี้" นักธุรกิจจากประเทศสหรัฐอเมริกาแต่พูดไทยได้คล่องปร๋อมาแล้ว

และนั่น หมายถึงจะเป็นการปิดตำนานอันหวานซาบซ่าระหว่าง เป๊ปซี่ โค กับเสริมสุข หลังจากร่วมมือกันทำธุรกิจน้ำดำในประเทศไทยมาเกือบ 60 ปี

ที่มา : มติชน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา