เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม เลขทะเบียน ๘๖๙ สภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า

อุดมการณ์สถานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตย

เรา...มั่นใจว่า
ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา
ประเทศไทย เป็นของเราทุกคน
เรา ต้องร่วมกันสร้างชาติไทย ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์  พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2554

ปฏิรูปประเทศไทย

”ความเพ้อเจ้อ” ของนายประเวศ วะสี

โดย ไกรก้อง กูนอรลัคขณ์
ที่มา : ประชาไท
นายประเวศ วะสี ประธาน คสป. แถลงว่า วันที่ 24-26 มีนาคมนี้ จะมีการจัดสมัชชาปฏิรูปเป็นการประชุมสุดยอดทางสังคมที่ไม่เคยมีมาก่อนเพื่อ ร่วมจัดทำฉันทามติแก้ทุกข์ของชาติซึ่งไม่มีรัฐบาลใดอดีต ปัจจุบัน และอนาคตจะแก้ไขได้ เพราะเกิดจากโครงสร้างที่ทำให้คนส่วนน้อยเอาเปรียบชนส่วนใหญ่ซึ่งเป็นปัญหาหลักของประเทศไทย โดยกล่าวว่า จะมีการขอฉันทามติ เรื่องการกระจายอำนาจสู่ชุมชนท้องถิ่น กระจายการที่ดิน พลังศิลปเยียวยาการชิงชังและทอนกำลังกัน

แน่นอนว่า ณ ปัจจุบันนี้ นายประเวศ ก็ยังไม่มีการพูดถึง การล้อมปราบการสังหารประชาชน 91 ศพ ในเหตุการณ์พฤษภาอำมหิต ทั้งที่ปากเขาชอบพร่ำบ่นถึงความยุติธรรม นายประเวศ มักกล่าวถึงปัญหาเชิงโครงสร้าง ที่เป็นแนวคิดที่ว่าด้วยการสมานฉันท์ การปรองดอง การที่แต่ละส่วนมีหน้าที่ในการผลักดันให้องคาพยพเคลื่อนตัวไป

เหมือนดั่งกับว่า สังคมในโลกนี้ไม่มีความขัดแย้ง เป็นทฤษฎีเดียวกับฮิตเลอร์ เผด็จการนิยมใช้กล่าวอ้างในการควบคุมประชากรไม่ให้กระด้างกระเดื่องต่ออำนาจผู้ปกครอง

แท้จริงแล้ว ปัญหาการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ปัญหากระจายการถือครองที่ดิน และ การปฏิรูประเทศไทยนั้น ย่อมเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ทางอำนาจในสังคมไทย ที่โยงใยกับปัญหาการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยหรือไม่? อย่างไร? ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในการจัดตั้งองค์กรในการเคลื่อนไหวแค่ไหน? ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างเสรีหรือไม่?

ปัญหาการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ซึ่งนายประเวศเสนอ ก็ไม่ได้ฟันธงว่า คือการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดหรือไม่? ยังพูดลอยเพ้อๆอยู่ และการเลือกตั้งผู้ว่าที่มีการเสนอมีนาน ก็มักถูกขัดขวางจากระบบราชการส่วนสำคัญของระบอบอำมาตยาธิปไตย

นายประเวศ อาจจะพูดถึง การกระจายอำนาจให้ชุมชนท้องถิ่นจัดการทรัพยากรธรรมชาติ แต่นายประเวศไม่ได้ทบทวนบทเรียนว่า อุปสรรคสำคัญในการกระจายอำนาจให้ชุมชนท้องถิ่นก็มักเป็นหน่วยงานระบอบราชการที่มีวิธีคิดแบบรวมศูนย์อำนาจนั่นเอง

นายประเวศ พูดถึงการกระจายการถือครองที่ดิน แม้แต่การเปิดเผยข้อมูล ว่าใครถือครองที่ดิน เท่าไร ที่ไหน ก็ยังมิอาจกระทำได้จริง

ดูเหมือนนายประเวศ จะเพ้อๆว่า ปัญหาโครงสร้าง ถ้าทุกคนรู้ก็จะประเทืองปัญญา ตรัสรู้ได้ก็สามารถแก้ปัญหาได้ในทันทีทันใด ซึ่งนายประเวศทำประจำมาทุกรัฐบาล

นายประเวศ แถลงว่าจะมีประชาชนและหลายองค์กรมาร่วมประชุมในครั้งนี้จำนวนมาก แต่นายประเวศก็ไม่ได้บอกว่า ใครจ่ายงบประมาณ มีเบี้ยเลี้ยงไหม ใช้งบประมาณอย่างพอเพียงไหม?

หรือว่า “กูมาเอง ไม่มีใครจ้างกูมา” หรือว่า “กูต้องมาเพราะไม่มาสสส. สกว. พอช. จะตัดทุนโครงการกู” นายประเวศก็ควรชี้แจงให้โปร่งใสด้วย มิฉะนั้น “ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง”

ผู้เขียนเอง มีความคิดว่ามีแต่สังคมประชาธิปไตยเท่านั้นที่จะนำเปิดทางให้ประชาชนสามารถรวมกลุ่มสร้าง อำนาจอย่างเสรีต่อรอง กดดัน สร้างพลัง เพื่อให้ชนชั้นที่เอาเปรียบ ยอมกระจายการกระจุกตัวของที่ดินที่ตนเองครอบครองอยู่ ยอมที่จะจ่ายภาษีก้าวหน้าเพื่อกระจายความมั่งคั่งที่ตนเองเสพสุขอยู่บนความทุกข์ของคนจำนวนมาก ฯลฯ

ปัญหารากเหง้าในเงื่อนไขสภาพทางการเมืองที่สำคัญใน ช่วงประวัติศาสตร์ ปัจจุบัน คือ ระบอบอำมาตยาธิปไตย มีปรัชญาความเชื่อว่า คนยังโง่อยู่ ไม่มีความรู้ จึงต้องเป็นพลเมืองชั้นสอง จึงต้องมีคนที่เหนือกว่าปกครองดูแล จึงเป็นเพียงไพร่ ที่มูลนายต้องบังคับควบคุมดูแล เหมือนเฉกเช่นสมัยในอดีตสังคมศักดินาไทย

ข้อเสนอของนายประเวศ เป็นการบิดเบือนหลอกลวง การแก้ไขปัญหาที่แท้จริง เนื่องเพราะว่า การปฏิรูปประเทศไทย ที่สำคัญคือการปฏิรูปกองทัพและองคมนตรี ซึ่งล้วนเป็นจักรกลของระบอบอำมาตย์ทั้งสิ้นที่คอยขัดขวางการพัฒนา ประชาธิปไตยให้ก้าวหน้า เช่น การรัฐประหาร การแทรกแซงทางการเมือง เป็นต้น

การปฏิรูปประเทศไทย ปฏิเสธไม่ได้ต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 50 ด้วยไม่เพียงต้องสร้างนโยบายและกฎหมาย เนื่องจากเป็นรัฐธรรมนูญที่ล้าหลังขัดขวางการพัฒนาประชาธิปไตยในหลายมาตรา การแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยต้องลดอำนาจนอกระบบ เช่น การให้อำนาจกับกระบวนการตุลาการมากเกินไปโดยไม่ได้เชื่อมโยงกับประชาชนแต่ อย่างใด สมาชิกวุฒิสภามาจากการแต่งตั้งถึง 74 คน ฯลฯ และอื่นๆที่ต้องช่วยคิดช่วยผลักดัน

การปฏิรูปประเทศไทยนั้น ต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วม (เหมือนสูตรที่นายประเวศท่องจำตลอดเวลา แต่กลับไม่นำมาใช้มาปฏิบัติ) ซึ่งต้องมีกระบวนการจากล่างสู่บนเหมือนเช่นกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ 40 ต้องมีการระดมความคิดเห็นจากภาคส่วนสาขาอาชีพต่างๆ มิใช่เพียงภาคประชาชน ภาคประชาสังคม เพียงน้อยนิดของนายประเวศและเหล่าอำมาตย์เอ็นจีโอทั้งหลายเท่านั้น

การปฏิรูปประเทศไทยนั้น ต้องปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมและการบังคับใช้กฎหมาย ให้มีความยุติธรรมเท่าเทียมกันไม่ใช่ระบบสองมาตราฐานอย่างที่เห็นและเป็นอยู่

การปฏิรูปประเทศไทยนั้น ต้องปฏิรูปความคิดจิตสำนึกให้คนในสังคมไทยรักประชาธิปไตย เคารพหนึ่งสิทธิ์หนึ่งเสียง เคารพกติกาประชาธิปไตย ฯลฯ และอื่นๆอีกมากมายที่ต้องช่วยคิดช่วยผลักดัน
ดังนั้น การปฏิรูปประเทศไทย จึงมิเป็นเพียงของนายประเวศและคณะเท่านั้น

1 ความคิดเห็น:

  1. ประวศ ก็แค่นักเขียนหนังสือ สร้างวาทะกรรม เป็นโรงงานผลิตภาษาแห่งชาติ ที่ถนัดแต่คิดประดิษฐ์คำ การปฏิบัติจริงมีให้เห็นน้อยมาก เห็นคุยนักหนาว่าทำงานภาคประชาสังคมมานานหลายสิบปี ถ้ามันเวิร์ค ประเวศ คงตกงานไปแล้ว นี่อะไร ถ่างขานั่งเป็นประธานผลาญงบประมาณไม่รู้กี่องค์กร จนตนเองก็จำไม่ได้ว่านี่เราพูดวันนี้ในฐานะอะไร? ทำประชาสังคมให้เห็นเป็นรู)ธรรมในทางปฏิบัติ ดีกว่า เพราะ ประชาธิปไตย มันไม่ใช่วาทะกรรม วรรณกรรม แต่มันเป็นพฤติกรรม

    ตอบลบ

ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา