เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม เลขทะเบียน ๘๖๙ สภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า

อุดมการณ์สถานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตย

เรา...มั่นใจว่า
ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา
ประเทศไทย เป็นของเราทุกคน
เรา ต้องร่วมกันสร้างชาติไทย ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์  พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2554

นิวเคลียร์ในฝัน

สมชาย ปรีชาศิลปกุล


ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพลังงานปรมาณูของไทยคนหนึ่งได้แสดงความเห็น ว่า ในทางทฤษฎีแล้วยังไม่อาจเรียกกรณีโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ในญี่ปุ่นซึ่งถูก คลื่นยักษ์สึนามิถล่มว่าเป็นการระเบิดได้ และรวมทั้งการรั่วไหลของกัมมันตภาพรังสีก็ยังไม่น่าอยู่ในระดับที่เป็น อันตรายต่อชีวิตของผู้คนได้

ความเห็นที่น่าอัศจรรย์ใจนี้เป็นปัญหาอย่างแน่นอนอย่างน้อยก็กับสื่อมวล ชนแทบทั้งหมด ที่รายงานข่าวโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ต่างก็ใช้ถ้อยคำที่มีความหมายถึงการ ระเบิดแทบทั้งสิ้น ทั้งกับสื่อมวลชนในไทยและที่รายงานข่าวเป็นภาษาอังกฤษ (ส่วนสื่อญี่ปุ่นจะใช้คำที่มีความหมายอย่างไรก็ทราบได้เนื่องจากไม่มีความ รู้ภาษาญี่ปุ่น) อันมีความหมายว่าสื่อมวลชนกำลังรายงานข่าวที่ไม่ใช่ความจริงในทางทฤษฎี

รวมทั้งกับรัฐบาลญี่ปุ่นซึ่ง “กระต่ายตื่นตูม” ทำการอพยพผู้คนจำนวนนับแสนออกจากพื้นที่โดยรอบของโรงงานที่ได้เกิดการบึ้ม ขึ้น (คงต้องขอใช้คำนี้ไปก่อนเพื่อให้สอดคล้องกับความเห็นในทางทฤษฎีของผู้เชี่ยว ชาญไทยซึ่งบอกว่าไม่ใช่การระเบิด) ทั้งที่ระดับของกัมมันตภาพรังสียังไม่อยู่ระดับที่เป็นอันตรายแต่อย่างใด

โดยไม่ต้องมีคำถามต่อแต่ก็เป็นที่มั่นใจได้ว่า ผู้เชี่ยวชาญคนนี้ยังต้องสนับสนุนโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ใน ประเทศไทยอย่างแน่นอน

ความเห็นนี้เป็นตัวอย่างของการให้เหตุผลเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าพลังงาน นิวเคลียร์ ซึ่งมักถูกอธิบายกันอย่างกว้างขวางในสังคมแห่งนี้ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพลังงานนิวเคลียร์ต่างยืนยันกันเป็นเสียงเดียวอย่างหนัก แน่นว่า เทคโนโลยีของโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์มีความก้าวหน้าไปอย่างมากแตกต่างไปจาก โรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ในอดีตที่มีข้อบกพร่อง และได้ผ่านแก้ไขปรับปรุงจนกระทั่งสามารถป้องกันอุบัติเหตุการรั่วไหลของ กัมมันตภาพรังสีได้เกือบๆ หรือไม่ก็ร้อยเปอร์เซ็นต์

แม้จะยืนยันว่าเทคโนโลยีพลังงานนิวเคลียร์ในปัจจุบันถูกออกแบบให้รับมือ กับอุบัติภัยอย่างรอบด้าน จนอาจกล่าวได้ว่าในทางทฤษฎีแล้วมีความเป็นไปได้น้อยมากในการที่จะเกิดการ รั่วไหลของกัมมันตภาพรังสีเกิดขึ้น

แต่ก็ไม่ควรลืมว่าเมื่อโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์เกิดขึ้นนั้นไม่ได้อยู่ เป็นเพียงแค่ทฤษฎี แต่มันได้ถูกสร้างขึ้นในสังคมที่มีผู้คนและอยู่ภายใต้เงื่อนไขทางด้านสภาพ แวดล้อมต่างๆ และนับเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดอุบัติภัยขึ้นหลายครั้งในประวัติศาสตร์ การรั่วไหลของกัมมันตภาพรังสี ปัจจัยที่ถูกระบุว่าจะเป็นต้นเหตุของการรั่วไหลในความเป็นจริงสามารถเกิด ขึ้นได้อย่างน้อยก็มาจากความผิดพลาดของมนุษย์และภัยพิบัติของธรรมชาติ

เมื่อกล่าวถึงความผิดพลาดของมนุษย์ไม่ใช่เพียงแค่การโยนบาปไปให้กับบุคคล ที่เป็นต้นเหตุด้วยเหตุผลว่าเมาค้างหรือทะเลาะกับเมียมาเท่านั้น ทั้งนี้ระบบซึ่งมีประสิทธิภาพที่จะลดความผิดพลาดของมนุษย์ไม่ได้ขึ้นอยู่ เพียงระบบประกันคุณภาพที่ชอบกระทำกันในธุรกิจเอกชนเท่านั้น ดูโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมที่สร้างมลพิษแก่สาธารณะก็ล้วนแต่ได้รับรางวัล ISO มาแทบทั้งสิ้น ความสามารถของสังคมทั้งในด้านของการตรวจสอบและการสร้างความรับผิดให้กับ ธุรกิจอุตสาหกรรมนับเป็นเงื่อนไขอันหนึ่งที่ไม่ค่อยได้รับความสำคัญ

โรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ก็เช่นกัน ปัญหาจึงไม่ใช่เพียงเรื่องของความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี แต่หากสัมพันธ์กับเงื่อนไขทางสังคมว่าจะควบคุมได้มากเพียงใด ระบบการจัดการของฝรั่งหรือญี่ปุ่นที่มีประสิทธิภาพไม่ได้เป็นเพราะว่าดีเอ็น เอของเขาดีกว่าคนไทย หากเพราะระบบความรับผิดต่อสาธารณะที่อยู่ระดับสูงทำให้ต้องมีระบบตรวจสอบและ ป้องกันความผิดพลาดของมนุษย์ที่มากขึ้น

มองในแง่นี้สำหรับสังคมไทย ความสามารถของสังคมในการควบคุมกิจการในลักษณะเช่นนี้นับว่ามีอยู่ต่ำมาก และจะให้เชื่อได้อย่างไรว่าหากมีโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์แล้วอำนาจของสังคม ไทยจะเพิ่มมากขึ้นโดยทันที

หรือในแง่ของภัยพิบัติตามธรรมชาติก็เป็นที่ยอมรับกันว่าสภาวะธรรมชาติใน ห้วงเวลาปัจจุบันมีความแปรปรวนและสามารถเกิดภัยพิบัติขึ้นได้ในอัตราที่ เพิ่มมากขึ้นกว่าในอดีตอย่างมาก แม้จะอธิบายว่าประเทศไทยไม่ได้ตั้งในรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกเหมือน ญี่ปุ่น ทำให้โอกาสเผชิญหน้ากับแผ่นดินไหวรวมไปถึงสึนามิเป็นไปได้น้อย แต่ต้องไม่ลืมว่าเมื่อพูดถึงอันตรายจากภัยธรรมชาติที่รุนแรงไม่ได้มีความ หมายแค่คลื่นยักษ์อย่างเดียว น้ำท่วมภาคอีสานและภาคใต้แบบไม่คาดคิดในปีที่ผ่านมาก็แสดงให้เห็นได้เป็น อย่างดี

ความเสี่ยงต่อภัยพิบัติธรรมชาติที่เพิ่มมากขึ้นอาจไม่ได้อยู่ในทฤษฎีการ สร้างโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ ผู้เชี่ยวชาญพลังงานนิวเคลียร์อาจตอบได้ถึงความปลอดภัยของโรงงานในสภาวะที่ คาดเดาเอาไว้ได้ แต่จะสามารถคาดหมายถึงความรุนแรงของภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เพิ่มมากขึ้นทุก ขณะได้หรือ อันนับเป็นส่วนสำคัญต่อการสร้างระบบเพื่อความปลอดภัยของโรงไฟฟ้าพลัง นิวเคลียร์

โรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ในญี่ปุ่นซึ่งเผชิญกับสึนามิก็มีระบบป้องกันภัย อย่างแน่นหนา เมื่อเกิดปัญหาขึ้นแต่ละระบบก็จะทำการแก้ไขหรือป้องกันทันทีและหากไม่เป็นผล ก็จะมีระบบอื่นมารองรับอย่างน้อยก็ 3 ชั้น จนโอกาสที่จะเกิดการบึ้มขึ้นแทบเป็นไปไม่ได้แต่ในที่สุดก็เกิดขึ้นไม่ใช่ หรือ

ทั้งหมดนี้จึงเป็นความเสี่ยงซึ่งควรถูกนำมาคำนวณเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุน ในการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ด้วยและเป็นความเสี่ยงที่มีความ เป็นไปได้อย่างมาก แม้ว่าทางด้านฝ่ายผู้รับผิดชอบจะทำเป็นมองไม่เห็นหรือไม่สนใจแต่ก็ไม่อาจปิด ตาของสังคมได้ เพราะเมื่อเผชิญหน้ากับปัญหาคนที่ต้องแบกรับต้นทุนเหล่านี้ก็คือประชาชนทั่ว ไป ทั้งในด้านของความหวาดกลัวต่ออันตรายจากกัมมันตภาพรังสีหรือโรคร้ายที่เกิด ขึ้นจริงหากมีการรั่วไหลออกมา ซึ่งสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ไม่ต่างไปจากผู้รับผิดชอบ

การให้เหตุผลว่าในทางทฤษฎีสามารถควบคุมหรือกำกับโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ จึงเป็นความจริงที่อยู่ในกระดาษ แต่เมื่อต้องมาสู่ขั้นตอนของการดำเนินการจริงจะพบว่าอุบัติภัยจากกัมมันตภาพ รังสีหรือโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์จำนวนมากก็เป็นผลมาจากเรื่องที่ไม่ใช่จาก ความรู้ในด้านทฤษฎีพลังงานนิวเคลียร์เท่านั้น หากสัมพันธ์กับเงื่อนไขหรือปัจจัยอื่นๆ อีกมากที่ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนิวเคลียร์ไม่รู้จักหรือไม่สนใจจะรับรู้

คำถามคือสังคมไทยจะปล่อยให้โรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์อยู่ภายใต้การ อธิบายและตัดสินใจจากทฤษฎีซึ่งไม่มีความเป็นจริงทางด้านสังคมอยู่เลยกระนั้น หรือ

หมายเหตุ: บทความนี้เขียนเสร็จในเช้าวันอังคารก่อน หน้าการ "ระเบิด" ของโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์อีกหนึ่งโรง บทสัมภาษณ์ของผู้เชี่ยวชาญ เป็นสิ่งที่ได้ฟังมาในเย็นวันจันทร์ที่ 14 มีนาคม 2544 ซึ่งสถานการณ์ ของโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ในญี่ปุ่นยังดูเหมือนไม่เลวร้ายมาก

ที่มา:กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา