เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม เลขทะเบียน ๘๖๙ สภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า

อุดมการณ์สถานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตย

เรา...มั่นใจว่า
ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา
ประเทศไทย เป็นของเราทุกคน
เรา ต้องร่วมกันสร้างชาติไทย ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์  พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2554

กัมมันตภาพรังสี'ถึงไทยแน่

เหตุลมเปลี่ยนทิศทาง

"สมิทธ" ยัน "กัมมันตภาพรังสี" จากญี่ปุ่นมาไทยแน่ปลายปี เหตุลมเปลี่ยนทิศ จะอันตรายหรือไม่ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของรังสีที่ปล่อยออกมา ปชช.ยังค้านสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ลั่นให้สร้างในกรุงเทพฯ

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 24 มี.ค. ที่รัฐสภา มีการประชุมคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาการมีส่วนร่วมของประชาชนกับกระบวนการทางนโยบายในการผลิตไฟฟ้า จากพลังงานนิวเคลียร์ โดยศึกษาจากบทเรียนการกรณภัยพิบัติในประเทศญี่ปุ่นในการป้องกันและรับมือกับสาธารณภัย โดยมีนางนิภา พริ้งศุลกะ ส.ส.นครศรีธรรมราช รองประธานฯ เป็นประธานการประชุม โดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และตัวแทนเครือข่ายประชาชนไม่เอานิวเคลียร์ ร่วมแสดงความเห็น

นายลภชัย ศิริภิรมย์ รักษาการผู้อำนวยการสำนักกำกับดูแลความปลอดภัยทางนิวเคลียร์ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ กล่าวว่า นับจากที่โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่ประเทศญี่ปุ่นเกิดระเบิด และสารกัมมันตภาพรังสีฟุ้งกระจายไปสู่ท้องฟ้า ทางสำนักงานฯ ได้ตรวจวัดค่ารังสีในประเทศไทย ล่าสุดมีค่าเท่ากับศูนย์ นอกจากนั้นได้เตรียมการป้องกันโดยจัดหน่วยงานตรวจรังสีบุคคลที่เดินทางกลับจากประเทศญี่ปุ่น หรือบุคคลที่สงสัยว่าจะสัมผัสกับกัมมันตภาพรังสี

นายวิฑูรย์ เพิ่มพงศาเจริญ มูลนิธิฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยสามารถผลิตไฟฟ้าได้ 30,000 เมกกะวัตต์ เกินกว่าความต้องการใช้ภายในประเทศ และอนาคตหากมีโครงการอื่น คาดว่าจะสามารถผลิตไฟฟ้าได้มากถึง 50,000 เมกกะวัตต์ ซึ่งเพียงพอต่อความต้องการ เพราะสถิติความต้องการใช้ไฟฟ้ารอบ 15 ปี ไม่พบความต้องการที่เพิ่มขึ้น ส่วนการใช้พลังงานไฟฟ้านิวเคลียร์ยอมรับว่ามีความเสี่ยง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในการประชุมตัวแทนเครือข่ายประชาชนได้แสดงความเห็น ทิศทางเดียวกัน คือ คัดค้านโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เนื่องจากกังวลเรื่องอันตรายของกัมมันตภาพรังสี แต่หากหน่วยงานรัฐบาลต้องการสร้างขอให้ย้ายโรงงานผลิตมาในพื้นที่ กทม.เพราะถือว่าเป็นจังหวัดที่มีสถิติการใช้ไฟฟ้าสูงที่สุด และจากสถิติการใช้ไฟฟ้าจาก 3 ห้างสรรพสินค้าใหญ่ในเมืองหลวง พบว่าใน 1 วัน เท่ากับปริมาณการใช้ไฟฟ้าใน 16 จังหวัด

ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวภายหลังว่า การสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ถือว่ามีความจำเป็น เนื่องจาก 30-40 ปีข้างหน้า น้ำมันและก๊าซธรรมชาติจะหมดไปจากโลกนี้ ส่วนตัวมองว่าพลังงานนิวเคลียร์เป็นพลังงานสะอาดที่สามารถใช้ทดแทนได้ ส่วนกลุ่มประชาชนที่ต่อต้านมองว่าเป็นเพราะขาดความรู้ความเข้าใจโดยละเอียด หากหน่วยงานรัฐเข้าไปให้ความรู้ด้านประโยชน์และข้อเสียอย่างละเอียด ประชาชนจะเข้าใจไม่มีปัญหา

เมื่อถามว่ากรณีการระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ญี่ปุ่น รังสีที่เป็นอันตรายจะมาถึงประเทศไทยหรือไม่ นายสมิทธกล่าวว่า ตอนนี้ไม่มี แต่มีความเป็นไปได้ในช่วงปลายปี ที่ลมเปลี่ยนทิศทางมาเป็นทางตะวันตกเฉียงใต้ สารกัมมันตภาพรังสีอาจมาถึงไทยได้ ส่วนความเข้มข้นหรือถึงขั้นทำอันตรายกับประชาชนได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของรังสีที่ปล่อยออกมา เมื่อถึงเวลานั้นคงต้องตรวจวัดอีกครั้ง.

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์
วันที่ 24 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2554

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา