เพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน
มื่อวันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม 2554 หลักสูตรการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชได้จัดสัมมนาปัญหาการ พัฒนาชุมชนเรื่อง “การปฏิรูปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน” โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิประกอบด้วย นายธีระพงศ์ สมเขาใหญ่ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช นายชาญชัย อรุณ ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลปากพูน จังหวัดนครศรีธรรมราช และอาจารย์อุดมศักดิ์ เดโชชัย อาจารย์ประจำหลักสูตรการพัฒนาชุมชน โดยมีอาจารย์ดำรงศ์พันธ์ ใจห้าว ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา เป็นผู้ดำเนินรายการ นอกจากนั้นได้เรียนเชิญ ดร.สมปอง รักษาธรรม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เป็นประธานเปิดการสัมมนา โดยผู้เข้าร่วมเป็นนักศึกษาหลักสูตรการพัฒนาชุมชน และหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ (การปกครองท้องถิ่น) จำนวน 150 คน
ผลของการประชุมสัมมนา โดยสรุปวิทยากรทั้ง 3 ท่านได้ให้ข้อเสนอและความคิดเห็นในแนวทางการปฏิรูปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในด้านต่างๆ เช่น นายธีระพงศ์ สมเขาใหญ่ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราชได้มองภาพรวมการบริหารงานของ องค์การบริหารส่วนจังหวัดซึ่งถือว่าเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ ที่มีภารกิจทำงานภาพรวมของจังหวัด ยังได้สะท้อนถึงประเด็นปัญหาทั้งทางด้านการกระจายอำนาจทางการคลังแก่ท้อง ถิ่น ทั้งในด้านการจัดสรรงบประมาณของรัฐบาลที่ไม่ถึง 35 เปอร์เซ็นต์ ตลอดจนแนวทางการบริหารจัดการที่ดีขององค์การบริหารส่วนจังหวัดและความจริงใจ ของรัฐบาลต่อการกระจายอำนาจให้กับท้องถิ่นอย่างแท้จริง
ส่วนทางด้านนายชาญชัย อรุณ ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลปากพูนได้นำเสนอว่า การปฏิรูปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ อบต.ปากพูนได้ดำเนินการมาก่อนแล้ว ส่วนนวัตกรรมที่โดดเด่นของ อบต.ปากพูน เช่น กระบวนการภาคประชาชนในการมีส่วนร่วมกับ อบต. และได้นำเสนอการทำงานของท้องถิ่น อบต.ปากพูนที่เป็นต้นแบบหลายๆ ด้าน ทั้งด้านการศึกษา สาธารณสุข (การจัดการด้านสุขภาพ) ฐานข้อมูลท้องถิ่น (ที่ไม่ใช่ฐานข้อมูลที่เป็นของภาครัฐ หรือ จปฐ.) กระบวนการทำงานในรูปแบบอาสาสมัคร ตลอดจนการจัดสวัสดิการแก่ประชาชนในท้องถิ่น เป็นต้น ทางด้านอาจารย์อุดมศักดิ์ เดโชชัย อาจารย์ประจำหลักสูตรการพัฒนาชุมชน ได้เสนอกลไกการทำงานร่วมระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับองค์กรชุมชน เพื่อเป็นพลังในการขับเคลื่อนไปในแนวทางเดียวกัน และเสนอพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องเช่น พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน พ.ร.บ.สภาพัฒนาการเมือง เป็นต้นที่เอื้อต่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน
นอกจากนั้นผู้เข้าร่วมประชุมได้ให้ข้อเสนอแนะในการปฏิรูปองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน โดยได้นำร่างข้อเสนอเพื่อการปฏิรูปโครงสร้างและระบบการปกครองท้องถิ่น เพื่อสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ที่เสนอโดย สมัชชาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการปฏิรูป เป็นตัวแบบในการอภิปรายให้ข้อคิดเห็นในแต่ละประเด็น เช่น ข้อเสนอด้านกฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับ ว่า สนับสนุนการมีประมวลกฎหมายเพื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและให้มีพระราช บัญญัติรายได้ท้องถิ่นขึ้นมาเพื่อบังคับใช้กับท้องถิ่น ตลอดจนสนับสนุนการมีสภาการปกครองท้องถิ่นแห่งชาติ และกระบวนการเตรียมความพร้อมของกลไกต่างๆ เพื่อรองรับการพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาด ใหญ่
ข้อเสนอด้านการถ่ายโอนภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งถือว่าเป็น เจ้าของพื้นที่ โดยเสนอให้เร่งตรากฎหมายว่าด้วยการถ่ายโอนภารกิจแก่องค์กรปกครองส่วนท้อง ถิ่นและให้ถ่ายโอนภารกิจให้แล้ว และมาตรการในการบังคับและเร่งรัด การถ่ายโอนภารกิจของส่วนราชการที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ พ.ศ. 2542 โดยมีการถ่ายโอนทั้งทางด้านงบประมาณ บุคลากรและงานอย่างเป็นธรรม มิใช่มาแต่งานและบุคลากร แต่งบประมาณไม่ตามมาด้วย
ข้อเสนอด้านการเงินการคลังท้องถิ่น เช่น การเพิ่มงบประมาณและจัดสรรงบประมาณให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในสัดส่วนร้อยละ 35 ของรายได้รัฐบาล และสนับสนุนแนวทางการให้สำนักงบประมาณจัดส่งงบประมาณที่จัดสรรให้องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นไปยังแต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยตรง และสนับสนุนการให้สมาคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตลอดจนองค์กรที่เกี่ยว ข้องกำหนดแนวทางการตรวจสอบการใช้งบประมาณแผ่นดินขององค์กรปกครองส่วนท้อง ถิ่นให้มีมาตรฐานและบรรทัดฐานเดียวกัน
ข้อเสนอด้านการจัดความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับท้องถิ่น ได้แก่ โดยเสนอให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับองค์กรชุมชน และองค์กรอื่นๆ ได้ร่วมมือในการกำหนดนโยบาย และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่อย่างบูรณาการ ตลอดจนสนับสนุนกลไกภาคประชาชนเป็นผู้ดำเนินการ และสนับสนุนการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้พัฒนาระบบการเรียนรู้และระบบ การศึกษาในท้องถิ่นอย่างจริงจัง และการจัดทำหลักสูตรของท้องถิ่นเพื่อพัฒนาศักยภาพและสร้างศูนย์การเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นรวมถึงการมีสื่อสร้างสรรค์ของชุมชนท้องถิ่น เช่น อบต.ปากพูนได้มีการจัดการเรียนการสอนตามอัธยาศัย
จากการสัมมนาดังกล่าวผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนต่างมุ่งหวังทิศทางการปฏิรูป การเมืองในระดับท้องถิ่นในด้านต่างทั้งสนับสนุนแนวทางการปฏิรูปองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นที่เป็นร่างที่ได้เสนอโดยสมัชชาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อ การปฏิรูปและให้ข้อเสนอแนะความคิดเห็นเพิ่มเติมในประเด็นอื่นๆ ที่เป็นบริบทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้เขียนมีมุมมองว่า การที่จะพัฒนาและปฏิรูปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นอกจากการปฏิรูปในแง่ของโครงสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว ที่สำคัญคือการพัฒนาคนหรือบุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนประชาชนในท้องถิ่นให้มีจิตสำนึกสาธารณะ รู้สึกถึงความเป็นเจ้าของท้องถิ่นของตนเอง และการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันและ ระหว่างหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่นให้มีแนวทางหรือทิศทางการพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน จึงจะสามารถพัฒนาชุมชนได้อย่างยั่งยืนต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา