เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม เลขทะเบียน ๘๖๙ สภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า

อุดมการณ์สถานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตย

เรา...มั่นใจว่า
ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา
ประเทศไทย เป็นของเราทุกคน
เรา ต้องร่วมกันสร้างชาติไทย ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์  พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2554

สถานการณ์การผลักดันโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

และการเคลื่อนไหวคัดค้านของประชาชนในพื้นที่ จังหวัดกาฬสินธุ์

มิถุนายน ๒๕๕๐ รัฐบาล คมช. เห็นชอบแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า ๒๐๐๗ (แผนพีดีพี ๒๐๐๗)
โดยมีพลังงานนิวเคลียร์อยู่ในแผน ๒,๐๐๐ เมกะวัตต์

ตุลาคม ๒๕๕๐ จัดตั้ง "สำนักพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์"
ตั้งงบประมาณ ๑,๘๐๐ ล้านบาท สำหรับเตรียมการระยะที่ ๑ (๒๕๕๑-๒๕๕๓)

ตุลาคม ๒๕๕๐ กฟผ.ว่าจ้าง บริษัท เบิร์น แอนด์ โร ศึกษาความเหมาะสม และสถานที่ตั้งโครงการ

มีนาคม ๒๕๕๓ รัฐบาลอภิสิทธิ์ อนุมัติแผน พีดีพี ๒๐๑๐ เพิ่มขนาดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็น ๕,๐๐๐ เมกะวัตต์

กรกฎาคม ๒๕๕๓ กฟผ.สรุปผลการคัดเลือกพื้นที่จะตั้งโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์
๑. อุบลราชธานี ๒.นครสวรรค์ ๓.ตราด ๔.สุราษฎร์ธานี ๕.ชุมพร

ธันวาคม ๒๕๕๓ กฟผ.เสนอพื้นที่ให้ คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ

กฟผ.ตั้งงบประมาณกว่า ๒๐๐ ล้านบาท เพื่อจัดรณรงค์ประชาสัมพันธ์ในพื้นที่หลายจังหวัดให้ประชาชนยอมรับโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

มกราคม ๒๕๕๔ กฟผ.เริ่มถูกต่อต้านจากชาวจังหวัดอุบลราชธานี จึงมีความพยายามจะมาใช้พื้นที่ อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แทน เนื่องจากมีแหล่งน้ำดิบในเขื่อนลำปาว

ต้นเดือนมีนาคม ๒๕๕๔ กฟผ.เริ่มจัดสัมมนาประชาชนในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์

๗ มีนาคม ๒๕๕๔ ประชาชนในพื้นที่อำเภอห้วยเม็ก เริ่มรวมตัวกันตรวจสอบข้อมูลเพื่อเตรียมการเคลื่อนไหวคัดค้านโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

๘ มีนาคม ๒๕๕๒ เครือข่ายพลเมืองประชาธิปไตยแห่งประเทศไทย จังหวัดกาฬสินธุ์ (คปท.กาฬสินธุ์) และแนวร่วม เครือข่ายพลเมืองฯ อีก ๔ จังหวัด ได้แก่ คปท.ร้อยเอ็ด มหาสารคาม หนองคาย และชัยภูมิ เตรียมการรณรงค์คัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียรี์

๑๑ มีนาคม คปท.กาฬสินธุ์ขึ้นป้ายคัดค้านโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และแจกแถลงการณ์ ฉบับที่ ๑ ในพื้นที่อำเภอห้วยเม็ก

๑๒ มีนาคม ประชาชนในอำเภอห้วยเม็กและอีกหลายอำเภอในจังหวัดกาฬสินธุ์ตื่นตระหนกและหวาดกลัวอย่างมากหลังทราบรายงานข่าวอุบัติภัยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศญี่ปุ่นจากเหตุสึนามิ

๑๓-๑๔ มีนาคม คปท.กาฬสินธุ์ รวบรวมทุนทรัพย์ เครื่องมือและอุปกรณ์ โดยการสนับสนุนจากประชาชนในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์และ คปท.อีก ๔ จังหวัดในภาคอีสานเคลื่อนไหวเตรียมการจัดขบวนรถรณรงค์คัดค้าน

๑๔ มีนาคม ๒๕๕๔ กฟผ.ยังคงเดินหน้าจัดสัมมนาประชาชนเพื่อเตรียมการตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
ขณะที่วันเดียวกันนี้ โฆษกรัฐบาล ปณิธาน ออกมาแถลงข่าว นายกอภิสิทธิ์ สั่งทบทวนโครงการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และว่า โดยส่วนตัวนายกอภิสิทธิ์ก็ไม่เห็นด้วย ซึ่งขัดกับข้อเท็จจริงดังกล่าวมาแล้วข้างต้น

๑๕ มีนาคม ๒๕๕๔ คปท.๕ จังหวัดภาคอีสาน เคลื่อนขบวนรณรงค์คัดค้านทั่วจังหวัดกาฬสินธุ์
และอ่านแถลงการณ์ฉบับที่ ๑ อีกครั้งหนึ่ง ที่หน้าศาลากลางจังหวัดกาฬสินธุ์

นายวิโรจน์ จิวะรังสรรค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวว่า เพิ่งรู้ข้อมูลเป็นทางการครั้งแรก พร้อมให้ความช่วยเหลือชาวบ้านเต็มที่ ย้ำชัดเจนน้ำในเขื่อนลำปาวจะต้องถูกใช้เพื่อการเกษตร การอุปโภค บริโภค ของพี่น้องกาฬสินธุ์เท่านั้น

หลังจากนั้นผู้ว่าฯกาฬสินธุ์ได้รับหนังสือคัดค้านและฟังคำแถลงการณ์แล้ว พร้อมชี้แจงแนวทางแก้ไขปัญหา สร้างความพอใจให้กับผู้ชุมนุมและแยกย้ายกันกลับบ้านโดยสงบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา