โดย ปิยบุตร แสงกนกกุล
คณะนิติราษฎร์
คณะนิติราษฎร์
แผนผังช่วยทำความเข้าใจ
เงื่อนไขการรับคำฟ้อง
• เขตอำนาจศาลเขตอำนาจทางเวลา
- การกระทำที่เกิดขึ้นตั้งแต่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๔๕
- กรณีให้สัตยาบันภายหลัง การกระทำที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันให้สัตยาบัน เว้นแต่ประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลย้อนหลังกลับไปได้แต่ต้องไม่ย้อนหลังไปก่อน วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๔๕
เขตอำนาจทางเนื้อหา
- ความผิดฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
- ความผิดอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ
- ความผิดอาชญากรรมสงคราม
- ความผิดฐานรุกราน (ปัจจุบันยังไม่มีผลบังคับใช้)
เขตอำนาจทางพื้นที่และบุคคล
- การกระทำเกิดบนดินแดนของรัฐภาคีหรือรัฐที่ใช่รัฐภาคีแต่ประกาศยอมรับเขตอำนาจศาล หรือ
- ผู้ถูกกล่าวหาเป็นผู้มีสัญชาติของรัฐภาคีรัฐที่ใช่รัฐภาคีแต่ประกาศยอมรับเขตอำนาจศาล
• ผู้มีสิทธิฟ้อง (referral ; renvoi)
รัฐภาคี
คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
- ในกรณีที่การกระทำนั้นไม่ได้เกิดบนดินแดนของรัฐภาคี และผู้ถูกกล่าวหาไม่มีสัญชาติของรัฐภาคี
- กรณีศึกษา : ซูดาน
อัยการอาจเริ่มต้นไต่สวนเองก็ได้
- อัยการเห็นสมควรเอง จึงไปขออนุญาตจากศาลแผนกก่อนพิจารณาคดี (Pre-Trial Chamber) เพื่อเปิดการไต่สวน
- บุคคลใดยื่นคำร้อง (complaint, communication) มายังอัยการ และอัยการพิจารณาแล้วเห็นสมควร จึงไปขออนุญาตจากศาลแผนกก่อนพิจารณาคดี (Pre-Trial Chamber) เพื่อเปิดการไต่สวน
• เป็นกรณีร้ายแรงเพียงพอ และเป็นกรณีที่รัฐภาคีไม่ต้องการดำเนินคดีหรือไม่มีความสามารถในการดำเนินคดี
• ผู้ถูกกล่าวหาไม่เคยถูกศาลอื่นพิพากษาให้รับโทษในความผิดเดียวกันนั้น
กระบวนการริเริ่มคดี
แบบที่ ๑
รัฐภาคี
กรณีศึกษา
ยูกานดา : รัฐบาลยูกานดา ยื่นคำฟ้อง ธันวาคม ๒๐๐๓ เริ่มเปิดการไต่สวน กรกฎาคม ๒๐๐๔
คองโก : รัฐบาลคองโกยื่นคำฟ้อง มีนาคม ๒๐๐๔ เริ่มเปิดการไต่สวน มิถุนายน ๒๐๐๔
แอฟริกากลาง : รัฐบาลแอฟริกากลางยื่นคำฟ้อง ธันวาคม ๒๐๐๔ เริ่มเปิดการไต่สวน พฤษภาคม ๒๐๐๗
แบบที่ ๒
คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติยื่นฟ้อง ต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ โดยยื่นคำฟ้องต่ออัยการแห่งศาลอาญาระหว่างประเทศ ในกรณีที่การกระทำนั้นไม่ได้เกิดบนดินแดนของรัฐภาคี และผู้ถูกกล่าวหาไม่มีสัญชาติของรัฐภาคี
กรณีศึกษา
ซูดาน : คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติยื่นฟ้องมีนาคม ๒๐๐๕ เริ่มเปิดการไต่สวน มิถุนายน ๒๐๐๕
คำร้องของโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม เรียกร้องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีมติยื่นคำฟ้องต่อศาลอาญา ระหว่างประเทศ ดังเช่นกรณีซูดาน
แบบที่ ๓
อัยการริเริ่มเปิดการไต่สวนเอง
มี ๒ กรณี
กรณีแรก ปัจเจกชน องค์กรเอกชน บุคคลใด ยื่นคำร้องมายังอัยการ
ลำดับแรก
- ปัจเจกชน องค์กรเอกชน บุคคลใด ยืนคำร้อง (complaint, communication) ------------->อัยการ
ลำดับที่สอง
- อัยการพิจารณาคำร้องใน ๓ ขั้นตอน
๑. ตรวจสอบเบื้องต้น (Initial Review) --------------> ๒. ทำรายงานเบื้องต้น (Basic Reporting) ------------->๓. วิเคราะห์แบบลึกซึ้ง (Intensive Analysis)
(ในขั้นตอน ตรวจสอบเบื้องต้น (Initial Review) อัยการจำหน่ายคำร้องออกไปจำนวนมาก จากสถิติที่ผ่านมา เกือบ ๓๐๐๐ คำร้อง ร้อยละ ๕ จำหน่ายเพราะเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นก่อน ๑ กรกฎาคม ๒๐๐๒ ร้อยละ ๒๔ จำหน่ายเพราะปรากฏอย่างชัดแจ้งว่าการกระทำนั้นไม่เข้าความผิด ๔ ฐาน ร้อยละ ๑๓ จำหน่ายเพราะปรากฏอย่างชัดแจ้งว่าการกระทำนั้นไม่เข้าเขตอำนาจทางพื้นที่และ บุคคล ร้อยละ ๓๘ จำหน่ายเพราะปรากฏอย่างชัดแจ้งว่ากรณีอยู่ในอำนาจขององค์กรอื่นๆหรือคำร้อง ไม่ชัดเจน ไม่มีรายละเอียดครบถ้วนเพียงพอ มีเพียงร้อยละ ๒๐ เท่านั้นที่ผ่านไปถึงขั้นตอนทำรายงานเบื้องต้นและวิเคราะห์แบบลึกซึ้ง เช่น กรณีอัฟกานิสถาน, ชาด, โคลัมเบีย, ไอวอรี่โคสต์, เคนยา)
ลำดับที่สาม - อัยการขออนุญาตต่อศาลแผนกก่อนพิจารณาคดี (Pre-Trial Chamber) เพื่อเปิดการไต่สวน
คำร้องของโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ในส่วนที่กล่าวอ้างว่าศาลอาญาระหว่างประเทศมีเขตอำนาจในกรณีการสลายการ ชุมนุม เม.ย.-พ.ค. ๒๕๕๓ เพราะผู้ถูกกล่าวหา (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) มีสัญชาติของรัฐภาคี (บริติช) เป็นกรณียื่นคำร้องในช่องทางนี้
กรณีสอง อัยการต้องการเปิดการไต่สวนเอง
อัยการ ------------->ขออนุญาตต่อศาลแผนกก่อนพิจารณาคดี (Pre-Trial Chamber) เพื่อเปิดการไต่สวน
กรณีศึกษา
เคนยา : อัยการขออนุญาตต่อศาลแผนกก่อนพิจารณาคดี (Pre-Trial Chamber) และศาลอนุญาต มีนาคม ๒๐๑๐.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา