เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม เลขทะเบียน ๘๖๙ สภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า

อุดมการณ์สถานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตย

เรา...มั่นใจว่า
ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา
ประเทศไทย เป็นของเราทุกคน
เรา ต้องร่วมกันสร้างชาติไทย ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์  พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2554

ความมั่นคงของชาติในสถานการณ์ปัจจุบัน

คำถามต่อสถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัน

สถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบันนั้น มีคำถามต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมายว่าเกิดอะไรขึ้นในสังคมไทย ความมั่นคงของชาติ ที่เราเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ดังนี้ ปัญหาเหล่านี้มีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ เช่น ภัยคุกคามจากนอกประเทศ ซึ่งเกิดจากปัญหาการสู้รบของชนกลุ่มน้อยต่างๆ ตามแนวชายแดนทำให้มีกระสุนตกเข้ามาในฝั่งไทย สร้างความเสียหายให้กับประชาชน และทรัพย์สินของเรารวมทั้งการอพยพหนีภัยสงครามเข้ามา การเข้ามาของแรงงานต่างด้าว ล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดปัญหากับเรา ปัญหายาเสพติดที่เข้ามาตามแนวชายแดน และการตัดไม้ทำลายป่า ปัญหาเหล่านี้เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงทั้งสิ้น

สำหรับ ภัยคุกคามภายในประเทศ นั้นเกิดจากปัญหาความทุจริต ความขัดแย้งแย่งชิงอำนาจการแตกแยกทางความคิดอย่างรุนแรงของฝ่ายต่างๆ และสถานการณ์ความไม่สงบของชายแดนทางภาคใต้ล้วนแล้วแต่เป็นปัญหาที่ประเทศของเรากำลังเผชิญอยู่

ในเวลานี้ประชาชนไทยเกิดอาการอยากเป็นประชาธิปไตยใจแทบขาดและบางกลุ่มก็ออกมาเรียกร้องสิทธิเสรีภาพในการแสดงความเห็นทางการเมืองอย่างจริงจัง และเข้มข้นดังจะเห็นจากสื่อเป็นรายวัน โอกาสที่ดีแล้วที่เปิดโอกาสให้มีการกำหนดกติกาทางการเมืองใหม่เช่นนี้ เราน่าจะกลับมาใคร่ครวญเกี่ยวกับองค์ประกอบของสังคมที่จะทำให้คนในสังคมไทยเรามีการเคารพสิทธิ และรู้จักหน้าที่ที่ดีของพลเมืองไทยการใช้ และการเสนอความคิดได้อย่างเสรีโดยที่ไม่ละเมิดสิทธิของคนอื่น แต่เงื่อนไขสำคัญยิ่งของสังคมที่จะให้เกิดการเคารพสิทธิของกันและกัน และเปิดให้คนใช้สิทธิเสรีภาพอย่างอดทนอดกลั้นต่อความแตกต่างหลากหลายในความคิด ความเชื่อ หลักการ ความถูกต้อง และวิถีชีวิต เราอาจจะไม่ชอบ ไม่เห็นด้วยอย่างสุด ๆ ดังนั้น ความแตกต่างเหล่านี้ต้องไม่กลายเป็นข้อจำกัด และข้ออ้างของประชาชนที่จะ ปฎิเสธสิทธิ และหน้าที่ทางกฎหมาย ของประชาชนตามแนวทางประชาธิปไตย
เมื่อพูดถึงการเมืองพวกเรารู้สึกเบื่อ เซ็ง ไม่ชอบ ไม่อยากสนใจ เพราะเราคิดว่าการเมืองเป็นเรื่องของการทุจริต เป็นเรื่องของการขัดแย้งแย่งชิงอำนาจ

ถ้าการเมืองไม่ดีอย่างนี้ไม่ต้องมีการเมืองยกเลิกการเมืองเลยดีไหม?
การเมืองคืออะไร ?
สำคัญอย่างไร?
ไม่มีการเมืองได้ไหม?
ทำไมต้องมีการเมือง?
คำถามเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มาจากความเบื่อหน่ายของคนในสังคม แต่จะมีใครรู้ว่า คำถามเหล่านี้เกิดขึ้นมาจากรากฐานการดำเนินชีวิตของเราเองทั้งนั้น
ใครคิดว่าเราอยู่คนเดียวในโลกได้?

ถ้าเราอยู่คนเดียวเราต้องปลูกข้าวกินเอง ทอผ้าใช้เอง รักษาโรคเอง และต้องทำอะไรด้วยตัวเองอีกมากมายเพื่อการดำรงชีวิตอยู่
ฉะนั้นถ้าเราอยู่คนเดียวจะมีความลำบากในการดำรงชีวิตเป็นอย่างมากแน่ ๆ ดังนั้นคงไม่มีใครปฏิเสธว่ามนุษย์ที่อยู่ในโลกนี้ต้องดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันมีการพึ่งพาอาศัยกัน ซึ่งก่อให้เกิดเป็นสังคม ดังนั้นการที่คนมาอยู่ร่วมกันเป็นสังคม ก็ย่อมจะต้องมีผลประโยชน์ร่วมกันในสังคม ฉะนั้นจึงต้องมีระบบการจัดสรรผลประโยชน์ของสมาชิกในสังคม
สรุปว่าการจัดสรรผลประโยชน์ของสมาชิกในสังคม คือ การเมือง และการเมืองก็จำเป็นต้องมีอยู่ตราบเท่าที่เราอยู่รวมกันเป็นสังคม

เมื่อการเมืองยกเลิกไม่ได้ เราคิดว่าการเมืองของไทยในปัจจุบันนี้ดีหรือยัง ?
ถ้าการเมืองของไทยในปัจจุบันยังไม่ดี และยกเลิกการเมืองไม่ได้ เราควรหันมาสนใจร่วมกันทำให้การเมืองของไทยเราดีขึ้นหรือไม่?
ประเทศไทยเราส่งข้าวเป็นสินค้าออกเป็นอันดับหนึ่งของโลกมาแล้วหลายปี นอกจากนี้เรายังส่งยางพารา เนื้อไก่ กุ้ง สับปะรด มันสำปะหลัง เป็นอันดับต้น ๆ อีกด้วย นี่แสดงว่าประเทศไทยของเราอุดมสมบูรณ์มาก
แปลกไหมเราอยู่ในประเทศที่อุดมสมบูรณ์มาก แต่ทำไม่คนไทยส่วนใหญ่จึงยากจน?????
สาเหตุที่คนไทยส่วนใหญ่ยังยากจนก็เพราะระบบการจัดสรรผลประโยชน์ของประเทศ (การเมือง)ไม่ดี
พวกเราชอบพูดว่าอย่าไปสนใจการเมืองเลย สนใจเรื่องทำมาหากินดีกว่า
จริงหรือเปล่าที่ว่าการเมืองเป็นเรื่องของคนไทยทุกคน?
เมื่อพูดถึงภาษี พวกเรามักจะนึกถึงแต่ภาษีเงินได้ซึ่งเป็นภาษีทางตรงที่เราต้องนำไปชำระเองที่จริงแล้วรัฐบาลยังเก็บภาษีจากเราอีกมากมายโดยเราไม่รู้ตัว (ภาษีทางอ้อม) เช่นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ร้อยละ ๗
เป็นภาษีที่เก็บจากผู้บริโภคและกำไรของผู้ผลิตสินค้าและบริการเกือบทุกชนิด เช่น เสื้อผ้า เครื่องเขียน หนังสือ ของกิน ของใช้ ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าโทรศัพท์ ค่าบริการต่างๆ ฯลฯ ภาษีเหล่านี้ แหละที่รัฐบาลนำไปเป็นงบประมาณบริหารประเทศ
ทราบไหมว่า... รัฐบาลเก็บภาษีจากเราแล้วนำไปเป็นงบประมาณเป็นเงินปีละเท่าไร ?
เงินงบประมาณในแต่ละปีกว่าหนึ่งล้านล้านบาทนั้น
ทราบหรือไม่ว่าเงินหนึ่งล้านล้านบาทมากแค่ไหน? เงินหนึ่งล้านล้านบาท เท่ากับธนบัตรหนึ่งพันบาท สิบล้านปึกหากนำธนบัตรหนึ่งพันบาทสิบล้านปึกไปไว้ในห้องขนาด กว้าง ๖ ม. ยาว ๗ ม. สูง ๓.๕ ม. ต้องใช้กี่ห้อง ??? คำตอบคือ ๘ ห้อง
นี่ยังไม่รวมเงินนอกงบประมาณและภาษีที่จัดเก็บโดยองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอีกนะ!
เราเสียเงินภาษีเหล่านี้ไปทำไม ??? เราเสียภาษีไปเป็นเงินงบประมาณ เราเลือกตั้ง ส.ส. และ ส.ส. เลือกนายกรัฐมนตรี นายกแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีขึ้นมาบริหารเงินงบประมาณ
คณะรัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่ควบคุมการใช้จ่ายงบประมาณปีละประมาณหนึ่งล้านล้านบาทถ้ารัฐบาลอยู่ได้ ๔ ปีก็จะดูแลการใช้จ่ายเงิน สี่ล้านล้านบาทหรือเท่ากับ ธนบัตรฉบับละหนึ่งพันบาท ๓๒ ห้อง
ดังนั้นการเลือกตั้งหมายถึงการมอบอำนาจให้คณะบุคคลเข้าไปดูแลจัดสรรการใช้ธนบัตร ๑ พันบาท เต็มทุกห้องในตึก ๔ ชั้น ซึ่งมาจากภาษีอากร และรายได้อื่น ๆ ของแผ่นดิน
พวกเราคิดว่าเงินสี่ล้านล้านบาทถูกนำกลับคืนมาพัฒนาประเทศชาติครบหรือไม่ ???
ถ้ากลับมาครบ คนไทยอยู่ในประเทศที่อุดมสมบูรณ์มาก แล้วทำไมคนไทยถึงยังยากจนอยู่ ระบบการให้บริการ และสวัสดิการของประชาชนจึงยังไม่สมบูรณ์
มันคุ้มกันไหมที่มีเลือกตั้งทีไรรับเงินคนละร้อยสองร้อยบาทแลกกับหนึ่งเสียงของเราเพื่อเลือกผู้ซื้อเสียงเหล่านั้นเข้าไปเป็นผู้แทนแล้วเข้าไปทำลายชาติบ้านเมืองอันเป็นที่รักของเรา เห็นหรือยังว่าหนึ่งเสียงของเรามีค่ามากขนาดไหน
รู้แล้วใช่ไหมว่าการเมืองเป็นเรื่องของคนไทยทุกคน เพราะพวกเราทุกคนเป็นเจ้าของเงินภาษีอากร และเป็นเจ้าของประเทศ
ดังนั้นจึงขอความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนทุกท่านจงรักกัน และสามัคคีกันช่วยกันเพื่อจะได้มีการเลือกตั้งผู้แทนของพี่น้องประชาชนตามรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตย เราควรเลือกสนับสนุนนักการเมืองที่เป็นคนดี ซื่อสัตย์ ให้พวกเขาได้มาเป็นผู้นำทางการเมืองของเราในการเลือกตั้งครั้งสำคัญที่จะมาถึงเร็วๆ นี้ อย่ากระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอันจะก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อสังคม และประเทศชาติ อย่าเห็นกับอามิสสินจ้าง หรือคำชักชวนของผู้ไม่หวังดีให้เรากระทำสิ่งที่ไม่ดีกระทบต่อความสงบสุขของชาติบ้านเมือง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา