เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม เลขทะเบียน ๘๖๙ สภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า

อุดมการณ์สถานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตย

เรา...มั่นใจว่า
ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา
ประเทศไทย เป็นของเราทุกคน
เรา ต้องร่วมกันสร้างชาติไทย ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์  พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2554

ชำนิ ศักดิเศรษฐ์ เปิดแผน"ปชป.-มาร์ค" รีเทิร์น !!

และทำไม ยิ่งลักษณ์-ยังไม่ใช่-มิ่งขวัญ-ยังไม่ชัวร์?

เมื่อกระดานการเมือง ฝ่ายเพื่อไทยสั่นไหว หาหัวไม่พบ
วอร์รูม-ฝ่ายประชาธิปัตย์ ตั้งวงวิเคราะห์แบบ "SWAT analysis"
"ประชาชาติธุรกิจ" สนทนากับ "ชำนิ ศักดิเศรษฐ์" ประธานวอร์รูม ในดงประชาธิปัตย์ ที่อาคารรัฐสภา

ประวัติ ศาสตร์ที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่สามารถจะกลับมาเป็นรัฐบาล สมัยที่สอง แบบต่อเนื่อง ถูก "ชำนิ" ชำแหละ อธิบาย ปลดปมเงื่อนไข ทีละเปลาะ

เขา บอกว่า สมัยแรก สมัย ชวน หลีกภัย เราไม่ชนะ แพ้พรรคความหวังใหม่ ของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ห่างกัน 2 เสียง เราได้ 123 เขาได้ 125 สมัยนั้นความหวังใหม่ไปควบรวมพรรคย่อย ทำให้มี ส.ส.มากที่หนึ่งตั้งแต่ก่อนการเลือกตั้ง นี่คือการควบรวมพรรคครั้งแรก เดิมเมื่อคุณชวนเป็นนายกฯ เรามี ส.ส. 80 กว่าคน แต่เมื่อเลือกตั้ง เราได้เพิ่มเป็น 123 คน แต่เราไม่ได้เพิ่มจากการควบรวม เราชนะตัวเราเอง แต่ไม่ชนะคู่แข่ง

สมัยที่สอง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไทยรักไทย เขาก็ควบรวมพรรค ประกอบกับรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ที่ใช้เลือกตั้งในปี 2544 แบบเขตเล็ก ทำให้เขาได้จำนวนผู้แทนฯมาก

เกิดปรากฏการณ์แข่งขันกันระหว่างประชา ธิปัตย์ กับพรรคที่ไม่ใช่ประชาธิปัตย์ไปควบรวมกัน จนได้ผู้แทนฯปริมาณมาก เป็นปัจจัยให้เขาชนะ เลือกตั้ง

ก่อนการเลือกตั้ง ไทยรักไทยมี ส.ส. 248 คน แต่ไปควบรวมพรรคเสรีธรรมของ พินิจ จารุสมบัติ 14 คน กลายเป็น 262 คน ทำให้ทักษิณชนะ แต่ไม่ใช่พรรคเสียงข้างมากตั้งแต่ต้น ทว่าในนาทีนั้น ทักษิณเหมือนติดปีก สามารถจัดตั้งรัฐบาล ร่วมกับ พล.อ.ชวลิต-บรรหาร และ สุวัจน์ ลิปตพัลลภ ที่ยุบพรรคมารวมกัน

ทั้งหมดมันเป็นเงื่อนไขเฉพาะ เวลา ไม่ใช่เงื่อนไขทั่วไป ที่สมมติฐานกันว่า เมื่อประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลแล้ว หลังเลือกตั้งจะไม่ได้กลับมาเป็นรัฐบาลอีก

ครั้งนี้ดีกรีต่างจากทุกครั้ง ทั้งขนาดของพรรคและมีตัวกลาง มีพรรคที่ 3 ระดับภูมิใจไทย ชาติไทยพัฒนา และรวมชาติพัฒนา ที่พร้อมเป็นรัฐบาล ด้วยการปรับตัวไปอยู่กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

แต่ครั้งนี้การควบรวมพรรคคู่แข่งของประชาธิปัตย์โดยตรงไม่เกิดขึ้นแน่

ประชาธิปัตย์เคยแพ้ ก็ต่อเมื่อพรรค คู่แข่งโดยตรงมีการควบรวมพรรค

สมัย ปี 2518 จัดตั้งรัฐบาลไม่ได้ ไปเลือกตั้งใหม่ ประชาธิปัตย์ก็ได้ที่หนึ่ง เพราะฉะนั้นเลือกตั้งครั้งนี้ เป็นการแข่งกัน 2 พรรค และจะเป็นรัฐบาลโดยพรรคอันดับที่ 3 ที่ตัดสินใจ

ในระดับพื้นที่ พรรคอันดับ 3 มีโอกาสกินพื้นที่ ส.ส.เพื่อไทย มากกว่าที่จะกินพื้นที่ของประชาธิปัตย์ ขณะเดียวกันประชาธิปัตย์ก็มีโอกาสที่จะกินพื้นที่ ส.ส.ของเพื่อไทยได้เพิ่ม

ใน แง่จำนวน ส.ส. คาดว่าทั้ง พรรคประชาธิปัตย์และเพื่อไทย จะได้ ส.ส.รวมกันประมาณ 400 คน ส่วนพรรคอันดับที่ 3 รวมกันอยู่ในระดับ 100 คน

โอกาสที่พรรคอันดับ 3 รวมกันแล้วพลิกเป็นแกนนำจัดรัฐบาล "ชำนิ" วิเคราะห์ว่าไม่มี

เขาเชื่อว่าพรรคร่วมรัฐบาลที่มีอยู่ในขณะนี้ ไม่น้อยกว่า 4 พรรค มีความกลมกลืนกับฝ่ายพรรคร่วมด้วยกัน มากกว่าการเผชิญหน้ากัน

ส่วน กลุ่ม "3 พี-ไพโรจน์-พินิจ-ปรีชา" ในสายตา "ชำนิ" ฝ่ายนี้ยังปรับตัวไม่เสร็จ ตอนนี้พวกนั้นเขาก็อยู่วงนอกรัฐบาล ในโครงสร้างพรรคเพื่อแผ่นดิน จะไปรวมกับพรรครวมชาติพัฒนา ของท่านสุวัจน์ ลิปตพัลลภ เป็นพรรคเดียว หรือต่างคนต่างไป

หาก "3 พี" รวมกับพรรครวมชาติพัฒนา ก็จะได้เป็นพรรคขนาดกลาง ทำให้ "สุวัจน์" แข็งแรงขึ้น แต่หาก "พรรคสุวัจน์" เป็นพรรคขนาดเล็ก แล้วไปบวกกับพรรคชาติไทยพัฒนา ของบรรหาร ศิลปอาชา บวกพรรคภูมิใจไทย เขาก็มีพื้นที่ในรัฐบาลแน่นอน ส่วนพวกพรรคต่ำกว่า 10 เสียง ไม่ใช่เป็นตัวแปรทางการเมือง

เขาประเมินว่า พรรคที่จะได้ ส.ส.ระบบสัดส่วนแน่นอน 1.ต้องเป็นพรรคที่มีความเป็นสถาบันการเมือง 2.พรรคขนาดกลางที่มีการทำงานการเมืองทั่วประเทศ 3.พรรคขนาดเล็กที่เป็นพรรคเชิงนโยบาย เช่น แรงงาน-อนุรักษ์หรือพรรคมุสลิม พรรคใดก็ตามที่มีแต่ ส.ส.เขต โดยไม่มี ส.ส.สัดส่วน ผมไม่คิดว่าจะเดินต่อไปได้

พรรคมาตุภูมิ ของ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ก็ไม่ใช่พรรคเชิงนโยบายมุสลิม

พรรค ประชาสันติ + กลุ่ม ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ก็เป็น กลุ่มการเมือง เป็นพรรคเชิงบุคคล พรรคหาแนวทางใหม่ มี ส.ส.ร.+สนช.ที่ไม่ได้เป็น ส.ว. นโยบายเขาก็ยังไม่ชัด เป็นพรรคที่จะเข้ามาเล่นในพื้นที่สังคมเมือง อาจจะเบียดพื้นที่ประชาธิปัตย์บ้าง ถ้าปุระชัยมาจริง ก็คงคิดมากกว่าจะมาชิง ส.ส.สัดส่วนอย่างเดียว

คำถามที่ถูกตั้งว่า ประชาธิปัตย์จะได้ ส.ส.ถึง 250 คนหรือไม่ เสียงจะมาจากทางไหน "ชำนิ" ไขคำตอบ

"ขณะ นี้เรามั่นใจว่าจะได้มากกว่า 250 คน ตอนนี้ตั้งตัวเลขไว้ที่ 2 พรรคใหญ่ได้ฝ่ายละ 200 แต่หากพรรคไหนทำได้ 251 ก็เท่ากับว่าอีกฝ่ายได้ไม่ถึง 200 ถ้าเพื่อไทยได้ 230 ประชาธิปัตย์ได้ไม่ถึง 200 พรรคขนาดกลางจะไปรวมกับเพื่อไทย"

เมื่อฝ่ายแดงกับเพื่อไทย เริ่มพูดเรื่องความชอบธรรมของพรรคอันดับ 1 เขามีคำอธิบายทางการเมือง-กลม-กลิ้ง กลืนเนียน

ขณะ นี้ยอมรับว่าอิทธิพล การกดดันของกลุ่มพลังต่าง ๆ ทั้งเสื้อแดง-พันธมิตร-ทีมูฟ เป็นการกดดันของคนกลุ่มน้อย แต่การประกาศยุบสภาของนายกฯอภิสิทธิ์ เป็นการพยายามหา คำตอบให้กับคนกลุ่มใหญ่ของประเทศ

วันนี้ไม่มีนายกฯนอกสภาผู้แทนฯ การตั้งรัฐบาลต้องตั้งในสภา ดังนั้นการโหวตเลือกนายกฯ จึงไม่มีพรรคที่ 1 พรรคที่ 2 แต่เป็นพรรคที่ได้เสียงโหวตข้างมากในสภาผู้แทนฯ

"ที่ผ่าน มาไม่ว่าเราจะได้เสียงเท่าไร แต่เราก็เสนอตัวชิงนายกฯทุกครั้ง เขา (เพื่อไทย) ยังไปเอา พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก จากพรรคเพื่อแผ่นดิน มาแข่งกับประชาธิปัตย์ ...เขาเอาเสียงข้างมากในพรรคไปเทให้คุณประชา ทางการเมืองโง่....หรือเปล่า"

"เขามีสิทธิได้ตั้งรัฐบาลก่อน แต่คนฝ่ายเขาเสนอตัวนายกฯแล้วแพ้โหวต ในสภาผู้แทนฯ ประชาธิปัตย์เสนอชื่ออภิสิทธิ์แข่งมา 3 ครั้ง แข่งกับสมัคร สุนทรเวช เราแพ้ แข่งกับสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เราแพ้ แต่แข่งกับ พล.ต.อ.ประชา เราชนะ"

ดัง นั้นคำอธิบายทางการเมืองครั้งหน้า ในสภามีการแข่งขันโหวตนายกฯแน่นอน เราได้ที่ 1 ก็แข่ง ไม่ได้ก็เสนอแข่ง ขึ้นอยู่กับว่าสภาจะเลือกใครเป็นนายกฯ แต่ถ้าพรรคอื่นได้ ส.ส.เกิน 251 เสียง เราเสนอแข่งอย่างไรก็แพ้

"ชำนิ" ชำเลืองมองเพื่อไทย แล้วอ่านทาง "ทักษิณ"

"พรรค เขายังไม่มีคำตอบเรื่องหัวหน้า ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หรือ มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ ก็ไม่ใช่ตัวจริง ทักษิณ ยังเป็นเจ้าของพรรคชัดเจน ยังไม่เห็นภาวะผู้นำที่เขาจะนำเสนอผู้ที่จะ เป็นคู่แข่งนายกรัฐมนตรี จะเชิญใครมาเป็นหัวหน้า หัวขบวนยังเป็นสิ่งสมมติ เจ้าของพรรคตัวจริงยืนอยู่ ข้างนอก"

เลือกตั้งคราวนี้เขาจึงมั่นใจว่า พื้นที่ที่ประชาธิปัตย์จะได้คะแนนเพิ่ม คือพื้นที่ที่เป็นคะแนนเฉพาะตัวของ "อภิสิทธิ์"

คำอธิบายของประธาน "วอร์รูม" เพื่อชู "อภิสิทธิ์" เป็นนายกฯสมัยที่สอง คือความโดดเด่น 3 เรื่อง ที่พรรคคู่แข่งไม่มี

1.ทำนโยบายตอบสนองทุกความต้องการ อุดหนุนตั้งแต่ชีวิตคนอยู่ในท้อง เกิด แก่ เจ็บ ตาย เรียนจบปริญญาตรี

2.ปฏิรูป ประเทศเพื่อลดความขัดแย้ง แก้วิกฤตการเมือง นายกฯคนใหม่ต้องไม่ใช่นายกฯของฝ่ายไหน ชื่ออภิสิทธิ์ไม่ใช่ต้นตอของความขัดแย้ง คนที่มาเผชิญหน้าไม่ใช่เพราะอภิสิทธิ์เป็นนายกฯ คู่ขัดแย้งของสังคมไทยไม่ใช่อภิสิทธิ์ แต่ทักษิณเป็นคู่ขัดแย้งกับปัญหา กับระบบสังคมไทย ขัดแย้งในการแย่งชิงคืนสู่ตำแหน่ง

3.ประเทศต้องมี อนาคตในเวทีการเมืองระดับสากล อภิสิทธิ์ขึ้นเวทีสากลได้ เป็นจุดเด่น โดยคนไทยเชื่อมั่น สบายใจ ว่าอภิสิทธิ์ทำได้ เราต้องเป็นหนึ่งในประชาคมอาเซียน

ดังนั้นถ้าคู่แข่งของ "อภิสิทธิ์" เป็น คู่แข่งสมมติ เรามั่นใจว่าเราสอบผ่าน

ขอย้ำ "อภิสิทธิ์" ขัดแย้งกับคนในสังคมน้อย

"ทักษิณ" ไม่ใช่คู่ขัดแย้งโดยตรงกับ "อภิสิทธิ์" แต่เป็นคู่ขัดแย้งกับเงื่อนไข ระบบ ระบอบ ของประเทศไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา