เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม เลขทะเบียน ๘๖๙ สภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า

อุดมการณ์สถานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตย

เรา...มั่นใจว่า
ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา
ประเทศไทย เป็นของเราทุกคน
เรา ต้องร่วมกันสร้างชาติไทย ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์  พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2554

การศึกษาในระบบล้มเหลว แนวทางใหม่การศึกษาทางเลือก

ครอบครัวกว่า 100 จัดการศึกษาแบบ"โฮมสคูล"ให้ลูกตัวเองที่บ้าน


วันที่ 26 เมษายน 54 ที่โรงแรม แกรนด์ทาวเวอร์ อินน์ กทม. สมาคมบ้านเรียนไทย ร่วมกับ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดประชุมสัมมนาเรื่อง “ก้าวแรกและก้าวใหม่ ก้าวอย่างไร สู่บ้านเรียน”

นายชาตรี เนาวธีรนนท์ นายกสมาคมบ้านเรียนไทย กล่าวว่า แม้ประเทศไทยจะมีการปฏิรูปการศึกษามากว่า 10 ปี แต่ก็ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง คุณภาพทั้งด้านวิชาการ ด้านศักยภาพ ไอคิว อีคิว ของเด็กไทยยังอยู่ในระดับต่ำ ทำให้มีการศึกษาทางเลือกเกิดขึ้นมากกมาย เช่น การจัดการศึกษาโดยครอบครัว หรือที่เรียกว่า โฮมสคูล ซึ่งปัจจุบันมีครอบครัวที่ขอจดทะเบียนจัดการศึกษาแบบโฮมสคูล ต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตามกฏกระทรวงการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดย ครอบครัว พ.ศ.2547 จำนวน 101 ครอบครัว มีนักเรียนจำนวน 203 คน และยังมีอีกหลายครอบครัวที่ยังไม่ได้ยื่นขอจดทะเบียน ขณะที่ในอนาคตจะมีครอบครัวใหม่ๆ ที่สนใจจะจัดการศึกษาเองอีกเป็นจำนวนมาก

นายชาตรี กล่าวว่า อย่างไรก็ตามการจัดการศึกษาแบบโฮมสคูล ยังมีปัญหาและอุปสรรคเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะปัญหาที่ต้องจัดหลักสูตรการศึกษา การประเมินผล ตามมาตรฐานที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด ถือเป็นอุปสรรคอย่างมาก เพราะการจัดศึกษาของทั้ง สอง ระบบมีความแตกต่างกัน จึงควรให้มีความยืดหยุ่นมากกว่านี้ นอกจากนี้ครอบครัวที่จัดการศึกษาทางเลือกยังไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ จากกระทรวงศึกษาธิการ อาทิ เงินอุดหนุนที่ยังน้อยเกินไปซึ่งการจัดการศึกษาแบบโฮมสคูล มีค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งรัฐควรสนับสนุนเพราะถือเป็นการช่วยลดภาระของรัฐบาล รวมไปถึงการสนับสนุนแหล่งเรียนรู้ในระบบ เช่น ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ ฯลฯ ที่หากจะขอให้เด็กเข้าไปใช้บริการ ต้องมีการทำหนังสือขออนุญาต ทำให้หลายครอบครัวต้องไปแสวงหาแหล่งเรียนรู้ที่อื่นเอาเอง จึงอยากให้รัฐบาลเข้ามาดูแลในส่วนนี้ด้วย

ด้านนางสุทธศรี วงษ์สมาน รองเลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวว่า ยอมรับว่าการดำเนินการขอจดทะเบียนจัดการศึกษาโดยครอบครัว มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก ผู้ขอจำเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อม ในการจัดทำแผนการศึกษา มีการวัดผล ประเมินผลตามมาตรฐานของกระทรวงฯ ซึ่งสภาการศึกษาจะนำปัญหาต่างๆได้พัฒนาปรับปรุงนโยบายเพื่อลดความยุ่งยาก ผู้ปกครองสามารถจัดการศึกษาได้ด้วยตนเอง ทั้งนี้ปัจจุบันมีหลายครอบครัว ที่ประสบความสำเร็จ เด็กสามารถเข้าเรียนต่อในระดับสูงเป็นจำนวนมาก

“เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องสนับสนุนให้มีการจัดการศึกษาทางเลือก ไม่จำเป็นต้องมีแค่การศึกษาในระบบ ซึ่งการศึกษาโดยครอบครัว มีจุดเด่นที่ผู้สอน หรือผู้ปกครอง จะมีความใกลชิดกับเด็กมากที่สุด สามารถฝึกให้เด็ก เรียนรู้ ฝึกคิด วิเคราะห์ด้วยตัวเอง ได้ง่ายกว่าการเรียนในห้องสี่เหลี่ยม และยังช่วยให้สามารถดึงศักยภาพของเด็กออกมาได้อย่างเต็มที่ เพราะผู้ปกครองจะรู้ว่าเด็ก มีความสามารถ จุดเด่น ตรง ไหน อย่างไร เพื่อส่งเสริมพัฒนาศักยภาพตรงนั้นได้อย่างเต็มที่”นางสุทธศรี กล่าว

นางปทุมรัตน์ เหรียญไพศาล รองผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า มีการร้องเรียนจากครอบครัวที่ต้องการจัดการศึกษา และที่ต้องการให้กระทรวงศึกษาธิการปรับปรุงแก้ไข ได้แก่ ปัญหาเรื่องหลักสูตรการเรียนการสอนที่กำหนดไว้ ไม่สอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน ปัญหาการจัดประเมินผลผู้เรียนที่ยังขาดความยืดหยุ่น ปัญหาการเทียบโอนผลการเรียน และปัญหาการให้บริการจัดการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ยังขาด ความเข้าใจ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการจะได้นำปัญหาไปทำแผนพัฒนานโยบายปรับปรุงต่อไป นอกจากนี้ยังต้องพัฒนาระบบการรองรับเด็กนักเรียนที่มาจากระบบการศึกษาทาง เลือกและมีความประสงค์จะเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา ระดับอาชีวะ เพื่อส่งให้เด็ก ไปถึงจุดสูงสุดที่เขาจะไปได้

อย่างไรก็ตามผู้ปกครองที่มีความประสงค์จะจัดการศึกษาด้วยตัวเองให้กับ เด็ก แต่กลัวว่าจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์จากกระทรวงศึกษาธิการ อาทิ เงินอุดหนุนรายหัว เครื่องแบบนักเรียน อุปกรณ์นักเรียน หนังสือเรียน หรือกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เหมือนกับเด็กนักเรียนในระบบทั่วไปนั้น ยืนยันว่าเด็กทุกคนจะได้รับสิทธิประโยชน์เช่นดียวกัน โดยผู้ปกครองสามารถติดต่อขอรับสิทธิ์ดังกล่าวได้ที่สำนักงานเขตการศึกษาใน พื้นที่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา