เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม เลขทะเบียน ๘๖๙ สภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า

อุดมการณ์สถานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตย

เรา...มั่นใจว่า
ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา
ประเทศไทย เป็นของเราทุกคน
เรา ต้องร่วมกันสร้างชาติไทย ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์  พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วันศุกร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2554

รัฐนาวาจะต้องไปรอด

โดย พิทยา พุกกะมาน

การบริหารบ้านเมืองเพื่อนำไปสู่ความเจริญทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมนั้น ก็เปรียบเสมือนการเดินทางในทะเลจีนใต้ของรัฐนาวา ทะเลจีนใต้เป็นมหาสมุทรที่เต็มไปด้วยมรสุม เช่นใต้ฝุ่น ฉะนั้น การเดินทางของรัฐนาวามิใช่เรื่องง่าย จำเป็นต้องอาศัยเรือที่ดีและทันสมัยและกัปตันเรือที่มีประสบการณ์และความเฉลียวฉลาดที่สามารถตัดสินใจได้ทันท่วงที

การบริหารประเทศไทยก็เปรียบเสมือนรัฐนาวาที่ท่องในมหาสมุทรไปสู่จุดหมายปลายทาง คือความเจริญของประเทศและความอยู่ดีกินดีของประชาชน ซึ่งจำเป็นต้องมีเรือที่ทันสมัย มีเครื่องยนต์ที่มีประสิทธิภาพ มีกัปกันและลูกเรือที่มีคุณภาพ มีผู้โดยสารที่คอยเอาใจใส่และคอยให้กำลังใจแก่กัปตันและลูกเรือ ในเชิงเปรียบเทียบ เรือหรือรัฐนาวาก็คือประเทศไทย เครื่องยนต์ก็คือระบบการปกครอง (จะเรียกว่าระบอบหรือระบบก็ช่างเถิด อย่ามาเถียงกันเลย) กัปตันก็คือนายกรัฐมนตรี ลูกเรือก็คือคณะผู้บริหารซึ่งรวมถึงพรรคการเมืองด้วย ผู้โดยสารก็คือประชาชน

ขณะนี้ คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าเรือรัฐนาวาของเรากำลังจะล่ม และดูจะไม่สามารถเดินทางไปถึงจุดหมายปลายทาง (คือความเจริญของประเทศและความอยู่ดีกินดีของประชาชน) ได้ เพราะว่ากัปกันไม่ดี ลูกเรือไม่ดี และเครื่องยนต์ไม่ดีเพราะเก่าเป็นสนิม สิ่งที่จะต้องแก้ไขโดยด่วนก็คือเปลี่ยนกัปกันและลูกเรือ รวมทั้งซ่อมเครื่องยนต์ขนานใหญ่แบบยกเครื่องหรือ overhaul ไปเสียเลย แต่ปัญหาก็คือ กัปตันไม่ยอมซ่อมเครื่องยนต์ให้ทันสมัยขึ้นเพราะเขากลัวจะขับไม่เป็น การซ่อมเครื่องยนต์ก็เปรียบเสมือนกับการปฏิรูปโครงสร้างทางการเมือง ทั้งด้านบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ รวมถึงการแก้ไขรัฐะรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย เมื่อมีปัญหา ทางออกก็คือเปลี่ยนกัปกันและลูกเรือใหม่

การเปลียนผู้นำหรือกัปตันจำเป็นต้องขอความเห็นชอบจากผู้โดยสารหรือประชาชนก่อน โดยผู้โดยสารจะต้องลงคะแนนเสียงเลือกกัปตันที่เขาไว้ใจ แต่ก็มีปัญหาตามมาอีก เพราะผู้โดยสารเพียงไม่กี่คนติดยาและเมาเหล้า พูดไม่รู้เรื่อง บางคนก็ขู่จะใช้ “โนโว๊ต” (no vote) บางคนก็ไม่อยากไปลงคะแนนเสียง อีกทั้งยังพยายามมอมเหล้ามอมยาผู้โดยสารคนอื่นด้วย เพราะเห็นว่าถึงเลือกกัปตันคนใหม่แล้ว รัฐนาวาก็ยังแล่นไม่ได้อยู่ดีเพราะเครื่องยนต์ของเรือมันเก่าล้าสมัย พวกนี้ต้องการที่จะระเบิดทำลายเครื่องยนต์ทิ้งอย่างเดียว แต่มิได้คิดจะซ่อมแซมให้ใช้งานได้ หรือเอาเครื่องยนต์ใหม่มาแทน ซึ่งหากเอาใจคนกลุ่มนี้แล้วรัฐนาวาก็คงจะอยู่กับที่และอาจต้องจมสู่ก้นทะเลในที่สุด

แต่เป็นเดชะบุญของรัฐนาวา ผู้โดยสารที่มีสติปัญญาส่วนใหญ่เขาต้องการเปลียนกัปตันและซ่อมแซมเครื่องยนต์โดยให้ช่างผู้ชำนาญดำเนินการซ่อม จะเปลียนเครื่องใหม่นั้นดูจะลำบากเพราะอยู่ในมหาสมุทร แต่สิ่งที่ถูกต้องที่สุดในสภาวะคับขันก็คือ เคารพความต้องการของผู้โดยสารส่วนใหญ่ และเคารพเสียงข้างมากหรือการตัดสินใจของผู้โดยสารในการเปลี่ยนกัปตันเรือและลูกเรือ และรีบซ่อมเครื่องยนต์โดยเร็วแบบยกเครื่อง เมื่อปฏิบัติได้ทั้งสองอย่างนี้แล้ว รัฐนาวาก็จะสามารถแล่นฝ่ามรสุมต่อไปยังจุดหมายปลายทางได้อย่างปลอดภัยโดยไม่ต้องมีคนใดต้องสังเวยชีวิต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา