เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม เลขทะเบียน ๘๖๙ สภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า

อุดมการณ์สถานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตย

เรา...มั่นใจว่า
ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา
ประเทศไทย เป็นของเราทุกคน
เรา ต้องร่วมกันสร้างชาติไทย ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์  พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2554

จะปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทยให้สำเร็จได้อย่างไร

สภากรรมกรแห่งชาติ เปิดเวที นำเสนอแนวคิด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า 1 พฤษภาคม อันเป็นวันแรงงานแห่งชาติและวันกรรมกรสากล ดร.พงษ์อัมพร บรรดาศักดิ์ สภากรรมกรแห่งชาติ จะเปิดเวที นำเสนอแนวคิด เรื่อง จะปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย ให้สำเร็จได้อย่างไร ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
ปัจจุบัน ศ.ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ดำรงตำแหน่ง อธิการบดี นิด้า

แนวคิด เรื่อง จะปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย มีสาระสำคัญบางตอน ดังนี้

เนื่องด้วย บ้านเมืองอันเป็นที่รักของเรา ซึ่งมีความร่มเย็นเป็นสุขมานานเกือบ 800 ปี แต่บัดนี้ได้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองอย่างรุนแรง นอกจากจะหาทางออกไม่ได้แล้ว การเคลื่อนไหวทางการเมืองในปัจจุบัน ยังส่งผลให้เพื่อนกรรมกรทั้งหลาย และพี่น้องประชาชนอันเป็นที่รัก เกิดความสับสนในปัญหา 2 ประการ คือ

วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2554

อย่าผลักไสใส่ความให้ผมเป็นคนเลวเลยครับ

ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ศาสตราภิชาน มหาวิทยาลัยรังสิต


ได้รับทราบว่าคุณบรรจบ เจริญชลวานิช พันธมิตรจากสหรัฐอเมริกา เขียนจดหมายเปิดผนึกถึงผม แล้วมีผู้นำไปอ่านขยายความบนเวทีสะพานมัฆวาน ถ่ายทอดสดออกทาง ASTV และลงในเว็บไซต์ผู้จัดการ

ตอนแรกก็ไม่คิดจะชี้แจงอะไร เพราะคิดว่าผมเองก็เป็นคนธรรมดา ไม่ได้กินเงินเดือนจากภาษีประชาชน หากคนเข้าใจผิดบ้างคงไม่มีอะไรเสียหายต่อส่วนรวม

แต่เมื่อ ดร.ปราโมทย์ นาครทรรพ กรุณาส่งบทความมาให้ผมทางอีเมล์อีกต่อ แถมเขียนข้อความสั้นๆ มาด้วยว่า "เดี๋ยวนี้มีคนเขาเปลี่ยนชื่อให้เป็น GermSag แล้ว ผมว่า cute ดีจัง แต่เจิมศักดิ์คงไม่ชอบแน่ๆ ยกเว้นจะเอามาพิจารณาเห็นว่ามันน่าจะมีประโยชน์"

วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2554

สัมภาษณ์พิเศษ "ดร.จารุพรรณ กุลดิลก"

"หากเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาล... จะไม่ทำลายกระบวนการยุติธรรม เพื่อเอาผิดคนๆ เดียว และระบบพรรคทั้งหมด"

ถึงไม่ใช่แกนนำคนเสื้อแดง แต่วันนี้ชื่อ จารุพรรณ กุลดิลก เป็นที่รู้จักดีในกลุ่มคนเสื้อแดง

เพราะ ร่วมชุมนุมโค่นล้มรัฐบาลต่อเนื่อง ทั้งยังบุกเดี่ยวยื่นหนังสือต่อองค์การสหประชาชาติ ให้เข้ามาร่วมสังเกตการณ์การเผชิญหน้าระหว่างคนเสื้อแดง และรัฐบาล ทั้งที่ก่อนหน้านี้ ร่วมเป็นกรรมการศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี (ศพส.) มหาวิทยาลัยมหิดล และทำงานร่วมกับ น.พ.ประเวศ วะสี มาก่อน...มีเหตุผลอะไรถึงได้กระโดดเข้าไปร่วมกับกลุ่มเสื้อแดง ในวันนี้

การคุยกับนายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม มีความคืบหน้าเรื่องคดี 91 ศพ อย่างไร

การศึกษาในระบบล้มเหลว แนวทางใหม่การศึกษาทางเลือก

ครอบครัวกว่า 100 จัดการศึกษาแบบ"โฮมสคูล"ให้ลูกตัวเองที่บ้าน


วันที่ 26 เมษายน 54 ที่โรงแรม แกรนด์ทาวเวอร์ อินน์ กทม. สมาคมบ้านเรียนไทย ร่วมกับ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดประชุมสัมมนาเรื่อง “ก้าวแรกและก้าวใหม่ ก้าวอย่างไร สู่บ้านเรียน”

นายชาตรี เนาวธีรนนท์ นายกสมาคมบ้านเรียนไทย กล่าวว่า แม้ประเทศไทยจะมีการปฏิรูปการศึกษามากว่า 10 ปี แต่ก็ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง คุณภาพทั้งด้านวิชาการ ด้านศักยภาพ ไอคิว อีคิว ของเด็กไทยยังอยู่ในระดับต่ำ ทำให้มีการศึกษาทางเลือกเกิดขึ้นมากกมาย เช่น การจัดการศึกษาโดยครอบครัว หรือที่เรียกว่า โฮมสคูล ซึ่งปัจจุบันมีครอบครัวที่ขอจดทะเบียนจัดการศึกษาแบบโฮมสคูล ต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตามกฏกระทรวงการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดย ครอบครัว พ.ศ.2547 จำนวน 101 ครอบครัว มีนักเรียนจำนวน 203 คน และยังมีอีกหลายครอบครัวที่ยังไม่ได้ยื่นขอจดทะเบียน ขณะที่ในอนาคตจะมีครอบครัวใหม่ๆ ที่สนใจจะจัดการศึกษาเองอีกเป็นจำนวนมาก

เครือข่ายประชาชนคัดค้านพลังงานนิวเคลียร์

ยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี


วันที่ 27 เมษายน เครือข่ายพลเมืองไทยปฏิรูปพลังงาน เครือข่ายคนไทยไม่เอาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จังหวัดอุบลราชธานี มูลนิธิฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เครือข่ายผู้บริโภค ยื่นจดหมายเปิดผนึกเครือข่ายประชาชนคัดค้านพลังงานนิวเคลียร์ ถึงนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ

จดหมายเปิดผนึกเครือข่าย ระบุว่า สืบเนื่องจากแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า พ.ศ. 2553-2573(แผนพีดีพี 2010) ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบไปเมื่อเดือนมีนาคม 2553 โดยมีพลังงานนิวเคลียร์อยู่ในแผน 5,000 เมกะวัตต์ รวมทั้งโรงไฟฟ้าถ่านหินและก๊าซธรรมชาติอีกกว่า 30 โรงในระยะ 20 ปีจากนี้ไปนั้น ทราบว่าขณะนี้คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) กำลังพิจารณาที่จะทบทวนปรับปรุงแผนฯ ใหม่ โดยการปรับเลื่อนโครงการพลังงานนิวเคลียร์ออกไปจากแผนเดิม 3 ปี พวกเราซึ่งลงชื่อมาในจดหมายฉบับนี้ มีความเห็นและข้อเสนอต่อการทบทวนแผนพีดีพีในครั้งนี้ ดังนี้

ยุบสภา – หลีกเลี่ยงสงคราม หยุดวงจรรัฐประหาร

โดย จาตุรนต์ ฉายแสง

๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
อ่านแถลงการณ์ของรัฐบาลต่อกรณีปัญหาความขัดแย้งกับประเทศกัมพูชาแล้วแสดงว่า ข้าราชการที่เป็นคนเขียนยังมีสติอยู่ ไม่ก้าวร้าวเหมือนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่กำลังสร้างปัญหาให้ หนักเข้าทุกที

การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแสดงความ ก้าวร้าว ข่มขู่กัมพูชาแถมยังด่ากราดอีกหลายประเทศ แสดงถึงความไร้วุฒิภาวะ ไม่เหมาะสมที่จะเป็นรัฐมนตรีอีกต่อไป

รัฐบาลนี้ยืนยันตลอดว่าปัญหา แก้ ได้โดยการเจรจาของ 2 ประเทศ ไม่จำเป็นต้องอาศัยประเทศที่ 3 แต่สิ่งที่รัฐบาลกำลังทำอยู่คือ การสร้า้งเงื่อนไขให้ต้องมีคนอื่นเข้ามา รัฐบาลนี้กำลังพาประเทศไปในทางที่มีแต่เสียกับเสีย และความเสียหายนับวันมีแต่จะมากขึ้นๆ

ความเคลื่อนไหวทางการเมืองไทยของภาคประชาชน

ต่อกรณี อ.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล



ในวันนี้(25 เม.ย.) ทางเครือข่ายประชาธิปไตย ได้ออกมาสนับสนุนและเรียกร้องให้ยุติการคุกคามเสรีภาพของประชาชน โดยเฉพาะกรณีการคุกคามความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของอาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยของไทย

สถานการณ์ทางการเมืองไทย ช่วงก่อนการประกาศยุบสภา เพื่อกรุยทางเข้าสู่สนามเลือกตั้งในช่วงกลางปีนี้ มีการเคลื่อนไหวจากแวดวง วิชาการและการเมืองภาคประชาชนอย่างต่อเนื่อง

แถลงการณ์ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

เมื่อถูกคุกคาม!!!

ตลอดระยะเวลากว่า 10 ปีที่ผ่านมา ผมได้เขียนบทความทางวิชาการและข้อเขียนอื่นๆ และได้พูดอภิปรายเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ โดยที่ในการกระทำต่างๆเหล่านี้


ไม่เคยเลยแม้แต่ครั้งเดียวที่ผมจะเสนอให้ “ล้มเจ้า” หรือ “ล้มเลิกสถาบันกษัตริย์” สิ่งที่พูดและเขียนทั้งหมดล้วนอยู่ในกรอบของการมีสถาบันกษัตริย์ทั้งสิ้น ขณะเดียวกัน ผมก็ไม่ปิดบังทัศนะที่ว่า สถาบันกษัตริย์ควรต้องมีการเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการปกครองในแบบประชาธิปไตย, หลักนิติธรรมและพัฒนาการของโลกสมัยใหม่ ซึ่งทัศนะหรือการเสนอให้เปลี่ยนแปลง ปรับปรุงสถาบันกษัตริย์เช่นนี้ เป็นสิ่งที่ทำได้ ไม่ผิดกฎหมาย ทั้งรัฐธรรมนูญและกฎหมายอาญา ผมจึงได้พูดและเขียนโดยใช้ชื่อจริงอย่างเปิดเผยมาโดยตลอด เมื่อต้นปีกลาย (2553) ผมได้รวบรวมความเห็นเรื่องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ออกมาเป็นข้อเสนอ 8 ข้อ เสนอต่อสาธารณชนโดยเปิดเผย และเป็นที่รู้จักกันดีพอสมควร ส.ว.คำนูณ สิทธิสมาน ยังได้เคยนำข้อเสนอ 8 ข้อนี้ ไปตีความเผยแพร่และอภิปรายในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ฉบับวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2553 มาแล้ว

วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2554

ไทยจะอยู่กันอย่างไร

คำถามทางการเมืองในปัจจุบันทยอยมีคำตอบออกมา


คำถามที่ว่าจะยุบสภาเมื่อไหร่ มีคำยืนยันว่า ไม่เกินสัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคม โดยสุ้มเสียงจากพรรคประชาธิปัตย์บอกว่า 6 พฤษภาคม เท่ากับว่าพฤษภาคม นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ยุบสภาแน่ ต่อมามีคำถามว่า จะมีการเลือกตั้งจริงหรือ

คำตอบมีว่า การเลือกตั้งมีแน่ เพราะผู้คนในสังคมต้องการให้มีการเลือกตั้ง แม้จะรู้ทั้งรู้ว่าเลือกตั้งไปก็อาจจะมีเรื่อง แต่ก็ยืนยันว่าอยากจะมีเลือกตั้ง แม้สัปดาห์ที่ผ่านมา ทหารจะแสดงปฏิกิริยาแสดงความจงรักภักดี ประกาศปกป้องสถาบัน จนเกิดความหวาดเสียวเรื่องปฏิวัติ แต่คนไทยก็ยังยืนยันว่า ปกป้องสถาบันกับการเลือกตั้ง เป็นคนละเรื่องกัน ปกป้องสถาบันก็ปกป้อง เลือกตั้งก็เลือก

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.ออกมาย้ำว่า มีการเลือกตั้งแน่ นี่แสดงว่า การเลือกตั้งมีแน่ ต้องมีการเลือกตั้ง เพราะสังคมไทยต้องการ และแล้วก็มีคำถามตามมาอีก หลังเลือกตั้งผ่านพ้นไปแล้วจะสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้หรือไม่

วันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2554

ไปสู่ “รัฐไทยใหม่ รัฐประชาธิปไตย”

โดย รศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์


22 เมษายน 2554

ขบวนประชาธิปไตยที่ก่อตัวมาตั้งแต่กลางปี 2549 ก่อนรัฐประหาร 19 กันยายน ได้ขยายตัวเติบใหญ่ จนปัจจุบัน กลายเป็นขบวนประชาธิปไตยเสื้อแดงที่มีจำนวนนับล้านคนทั่วประเทศ ได้ผ่านบทเรียนการต่อสู้อันยากลำบาก กระทั่งต้องสูญเสียอย่างสาหัสในการเคลื่อนไหวเมษายน-พฤษภาคม 2553 ประสบการณ์อันนองเลือดและเจ็บปวดทำให้ขบวนประชาธิปไตยยกระดับขึ้นสู่ขั้นตอน ใหม่ เกิดการถกเถียงอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง ค่อย ๆ ตกผลึกทางความคิด ชัดเจนถึงเป้าหมายและยุทธศาสตร์ของขบวนว่า จะเดินต่อไปอย่างไรเพื่อไปบรรลุประชาธิปไตยที่แท้จริง

1. เป้าหมายคือ “รัฐประชาธิปไตย”
บท เรียนที่ผ่านมา ทำให้รู้ชัดว่า ประเทศไทยยังคงล้าหลังในทางเศรษฐกิจและการเมือง ประชาชนส่วนข้างมากของสังคมยังยากจน มิใช่เพราะโง่หรือ “ขี้เกียจ” แต่เป็นเพราะขาดโอกาสในการศึกษา บริการทางการแพทย์ อาชีพ และแหล่งเงินทุน อันเนื่องมาจากระบอบการเมืองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย หากแต่มีเนื้อในที่เป็นระบอบเผด็จการจารีตนิยมที่รวมศูนย์อำนาจและโภคทรัพย์ ไปยังผู้ปกครองจำนวนหนึ่ง มีเปลือกนอกที่สลับกันเป็นช่วง ๆ ระหว่างเผด็จการทหารที่เปิดเผย กับระบอบรัฐสภาและรัฐบาลเลือกตั้งที่อ่อนแอ ระบอบนี้มีรัฐประหารและตุลาการเป็นเครื่องมือสำคัญ เคลือบคลุมด้วยการครอบงำทางความคิดของลัทธิเทวสิทธิ์

พลังประชาธิปไตยกับการเลือกตั้ง

สิ่งที่ควรเสนอต่อฝ่ายต่างๆในสังคมไทย โดย จาตุรนต์ ฉายแสง


21 เมษายน 2554

เมื่อไม่นานมานี้ ผมได้เขียนบทความเรื่อง”การเลือกตั้งยังมีความหมายอะไร”เผย แพร่ในเว็บไซท์ต่างๆ ซึ่งขณะนี้ก็ยังหาอ่านได้ในบล็อกของผม ในบทความนั้นได้ให้ความเห็นไว้ว่าแม้การเลือกตั้งที่กำลังจะมีขึ้นอาจไม่มี ความหมายอย่างการเลือกตั้งในอารยประเทศทั่วไปเพราะเป็นการเลือกตั้งภายใต้ กติกาที่ไม่เป็นประชาธิปไตยและไม่เป็นธรรม แต่ผู้ที่ต้องการให้บ้านเมืองพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นก็ไม่สามารถละเลยหรือมอง ข้ามการเลือกตั้งครั้งนี้ไปได้ หากแต่ควรหาทางช่วยกันทำให้การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมือง ให้มากที่สุด ซึ่งผมก็ได้เสนอไปบ้างแล้วว่าควรจะทำอะไรกันบ้าง

มาวันนี้ผมขอเสนอให้ชัดเจนมากขึ้นว่าสิ่งที่ควรทำนั้นน่าจะมีอะไรบ้าง ข้อเสนอนี้เป็นข้อเสนอต่อทั้งผู้สนใจปัญหาบ้านเมืองเป็นการทั่วไปและโดย เฉพาะองค์กรหรือกลุ่มพลังประชาธิปไตยทั้งหลายที่ต้องการสร้างประชาธิปไตยให้ เกิดขึ้นในบ้านเมืองนี้ ข้อเสนอเหล่านี้เกิดจากการมองพัฒนาการของสถานการณ์ทางการเมืองในระยะหลังๆมา จนถึงปัจจุบัน

ข้อเสนอการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจฉบับสมบูรณ์

โดย คณะกรรมการปฏิรูป

วันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2554

ความเหลื่อมล้ำในความสัมพันธ์ทางอำนาจนับเป็นปัญหาใหญ่ที่สุดอย่างหนึ่งของประเทศไทย และเป็นต้นตอบ่อเกิดของปัญหาสำคัญอื่นๆอีกหลายเรื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือปัญหาความไม่เป็นธรรมในสังคม

ความสัมพันธ์ทางอำนาจมีหลายแบบ และถูกค้ำจุนไว้ด้วยโครงสร้างทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ แต่เมื่อกล่าวอย่างถึงที่สุดแล้ว โครงสร้างอำนาจที่มีพลังสูงสุดและส่งผลกำหนดต่อโครงสร้างอำนาจอื่นทั้งปวงคือโครงสร้างอำนาจรัฐ

ด้วยเหตุดังนี้ การปรับสมดุลหรือการลดความเหลื่อมล้ำในความสัมพันธ์ทางอำนาจ จึงจำเป็นต้องอาศัยการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจของรัฐ ซึ่งประกอบด้วยกลไกการปกครองต่างๆ เราจำเป็นต้องจัดระเบียบกลไกเหล่านี้เสียใหม่ เพื่อให้ประชาชนทุกหมู่เหล่าสามารถเข้าถึงอำนาจได้อย่างเท่าเทียมกัน

ตลอดระยะเวลาประมาณ 120 ปีที่ผ่านมา ระเบียบอำนาจของรัฐไทยถูกจัดโครงสร้างไว้ในลักษณะ รวมศูนย์ที่ส่วนกลาง ทั้งนี้ โดยมีรัฐบาลเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของระบบบริหารราชการแผ่นดินอันประกอบ ด้วยกระทรวงทบวงกรมซึ่งมีกิ่งก้านสาขาครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ และมีอำนาจบริหารจัดการสังคมในทุกขอบเขตทุกปริมณฑล

"ดาบอาญาสิทธิ์" เล่มใหม่ ของ ป.ป.ช.

การเพิ่มอำนาจให้ฝ่ายตรวจสอบ


ในหนังจักรๆวงศ์ๆ วิธีการต่อสู้กับยักษ์-มาร ดีที่สุด ก็คือการเพิ่มพลังให้กับเทวดา-พระเอก จะได้สู้กันอย่างสมเนื้อสมเนื้อ แต่ในการเมืองไทย ยุคที่ "นักการเมือง" ถูกตราหน้าแบบเหมารวมว่า "เลว"

วิธีดีที่สุด ในการรับมือกับ "คนไม่ดี" ก็น่าจะได้แก่การเพิ่มอำนาจให้ฝ่ายตรวจสอบ ซึ่งน่าจะดีกว่า ข้อเสนอของคนบางกลุ่มที่ให้ปิดเทอมการเมือง 3-5 ปี ที่ไม่น่าจะแก้ปัญหาอะไรได้ จะดีจะชั่ว เราต้องยอมรับว่ารัฐธรรมนูญปี 2540 ก็ให้กำหนดนวัตกรรมใหม่ทางการเมืองที่เรียกว่า "องค์กรอิสระ"

โดยเฉพาะองค์กรอย่างคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ป.ป.ช.) ที่เข้ามาตรวจสอบการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ แทนคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ (ป.ป.ป.) ในอดีต ที่เป็นเพียง "เสือกระดาษ" เพราะไม่ว่าส่งลงโทษอะไรไป ก็มักจะไม่มีใครปฏิบัติตาม

อำนาจของป.ป.ช.มาจาก "พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ" มีบทลงโทษเข้ม ขลัง ทั้งทางวินัยและอาญา แต่เมื่อการทุจริต-คอร์รัปชั่น-ประพฤติมิชอบมีวิวัฒนาการของมัน การป้องกัน-ปราบปรามพฤติกรรมก็ต้องวิ่งไล่ตามให้ทัน หลังปี 2550 ป.ป.ช.ถึงขนาดต้องให้ "นิยาม" ศัพท์ที่เกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชั่นใหม่ เพื่อขยายกรอบและวิธีการทำงาน

ยุติปมเหลื่อมล้ำสุขภาพ ด้วย"กระบวนการยุติธรรม"

ปมพิพาทกรณี “ความเหลื่อมล้ำ” ในระบบประกันสุขภาพ


ระหว่างผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือบัตรทอง ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กับผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม ที่มีสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เป็นผู้กำกับการบริการ ก้าวเข้าสู่เดือนที่ 3 ของความพยายามถางทางออก

ย้อนกลับไปช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มี “สัญญาณ” อ่อนๆ ถึงความพร้อมในการแก้ปัญหาส่งออกมาจากซีกการเมือง เมื่อนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.แรงงาน ในฐานะต้นสังกัดสปส.ระบุว่า พร้อมจะแก้กฎหมาย (พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533) เพื่อ เปิดช่องให้ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมสามารถเลือกได้ว่าจะเปลี่ยนไปใช้ สิทธิบัตรทองได้ หากผู้ประกันตนมองว่าบัตรทองให้สิทธิประโยชน์ดีกว่าระบบประกันสังคมจริง

“แต่การแก้กฎหมายต้องแก้พร้อมกันทั้งของสปส.และสปสช. มิเช่นนั้นเมื่อแก้ฉบับหนึ่งก็จะไปติดล็อคอีกฉบับหนึ่ง สุดท้ายแล้วการเปิดช่องก็คงไม่อาจทำได้”คือท่าทีของรัฐมนตรีแรงงาน พรรคประชาธิปัตย์ในขณะนั้น

วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2554

ข้อคิดเห็นเรื่องกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

โดย โกศล อนุสิม


เผยแพร่ครั้งแรกเมื่่อ 21 กุมภาพันธ์ 2552
บทนำ
กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ คือกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่บัญญัติว่า “ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี” ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากผู้ไม่เห็นด้วย จนถึงขนาดมีการเรียกร้องให้ยกเลิก โดยให้เหตุผลว่าขัดต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ

ตามความเป็นจริงนั้น สถาบันกษัตริย์เป็นหนึ่งเดียวกับความเป็นรัฐและเป็นชาติ ไม่ว่าจะชื่อ “สยาม” ในอดีตหรือชื่อ “ไทย” ในปัจจุบัน และไม่สามารถที่จะเปรียบเทียบในลักษณะเดียวกันกับสถาบันกษัตริย์ในประเทศ ต่างๆที่ยังคงอยู่ในปัจจุบันได้ เพราะสถาบันกษัตริย์ไทยนั้นมีลักษณะพิเศษที่ไม่มีในสถาบันกษัตริย์ของประเทศ อื่น ในช่วงที่ผ่านมามีการวิพากษ์วิจารณ์กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพโดยกลุ่มคน ที่ไม่เห็นด้วย ผู้เขียนจึงเขียนบทความนี้ขึ้น เพื่อทำความเข้าใจถึงความจำเป็นของการมีกฎหมายดังกล่าว

ความมั่นคงของชาติในสถานการณ์ปัจจุบัน

คำถามต่อสถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัน

สถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบันนั้น มีคำถามต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมายว่าเกิดอะไรขึ้นในสังคมไทย ความมั่นคงของชาติ ที่เราเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ดังนี้ ปัญหาเหล่านี้มีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ เช่น ภัยคุกคามจากนอกประเทศ ซึ่งเกิดจากปัญหาการสู้รบของชนกลุ่มน้อยต่างๆ ตามแนวชายแดนทำให้มีกระสุนตกเข้ามาในฝั่งไทย สร้างความเสียหายให้กับประชาชน และทรัพย์สินของเรารวมทั้งการอพยพหนีภัยสงครามเข้ามา การเข้ามาของแรงงานต่างด้าว ล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดปัญหากับเรา ปัญหายาเสพติดที่เข้ามาตามแนวชายแดน และการตัดไม้ทำลายป่า ปัญหาเหล่านี้เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงทั้งสิ้น

สำหรับ ภัยคุกคามภายในประเทศ นั้นเกิดจากปัญหาความทุจริต ความขัดแย้งแย่งชิงอำนาจการแตกแยกทางความคิดอย่างรุนแรงของฝ่ายต่างๆ และสถานการณ์ความไม่สงบของชายแดนทางภาคใต้ล้วนแล้วแต่เป็นปัญหาที่ประเทศของเรากำลังเผชิญอยู่

วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2554

เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา

เมืองแพศยาอาธรรม์

ไปเจอเพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยาน่าจะเข้ากับเหตุการณ์ปัจจุบันนี้ได้ดี

จะกล่าวถึงกรุงศรีอยุธยา

เป็นกรุงรัตนราชพระศาสนา
มหาดิเรกอันเลิศล้น

เป็นที่ปรากฎรจนา
สรรเสิญอยุธยาทุกแห่งหน

ทุกบุรีสีมามณฑล
จบสกลลูกค้าวานิช

วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2554

กรณีศึกษา การเมืองภาคประชาชน

จากการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2517*

รัฐธรรมนูญของประชาชนกับความเป็นประชาธิปไตยในการร่างรัฐธรรมนูญและ
รัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย

ตามแนวคิดรัฐธรรมนูญนิยม (constitutionalism) เชื่อว่าการมีรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์ อักษร จะเป็นหลักการสำคัญและเป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ปกครองประเทศ แนวคิดรัฐธรรมนูญนิยม ได้พัฒนามาเป็นลำดับและมีการสร้างสถาบันการเมืองที่เป็นอิสระ หรือกึ่งอิสระตามกฎหมาย ประกอบรัฐธรรมนูญในอันที่จะเป็นกลไกกำกับ, ตรวจสอบการทำงานตลอดจนแบบแผนการ ใช้อำนาจของนักการเมืองและผู้บริหารระดับสูง แต่ถึงแม้ว่าจะมีรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษรก็ ไม่ใช่หลักประกันต่อสิ่งที่เรียกว่าความเป็นประชาธิปไตย หากยังจำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ประกอบตัวบทของรัฐธรรมนูญเพื่อสร้างสิ่งที่เรียกว่าความเป็นประชาธิปไตย (อมร จันทรสมบูรณ์, มปป. และโกสินทร์ วงศ์สุรวัฒน์, 2516)

วันศุกร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2554

รัฐนาวาจะต้องไปรอด

โดย พิทยา พุกกะมาน

การบริหารบ้านเมืองเพื่อนำไปสู่ความเจริญทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมนั้น ก็เปรียบเสมือนการเดินทางในทะเลจีนใต้ของรัฐนาวา ทะเลจีนใต้เป็นมหาสมุทรที่เต็มไปด้วยมรสุม เช่นใต้ฝุ่น ฉะนั้น การเดินทางของรัฐนาวามิใช่เรื่องง่าย จำเป็นต้องอาศัยเรือที่ดีและทันสมัยและกัปตันเรือที่มีประสบการณ์และความเฉลียวฉลาดที่สามารถตัดสินใจได้ทันท่วงที

การบริหารประเทศไทยก็เปรียบเสมือนรัฐนาวาที่ท่องในมหาสมุทรไปสู่จุดหมายปลายทาง คือความเจริญของประเทศและความอยู่ดีกินดีของประชาชน ซึ่งจำเป็นต้องมีเรือที่ทันสมัย มีเครื่องยนต์ที่มีประสิทธิภาพ มีกัปกันและลูกเรือที่มีคุณภาพ มีผู้โดยสารที่คอยเอาใจใส่และคอยให้กำลังใจแก่กัปตันและลูกเรือ ในเชิงเปรียบเทียบ เรือหรือรัฐนาวาก็คือประเทศไทย เครื่องยนต์ก็คือระบบการปกครอง (จะเรียกว่าระบอบหรือระบบก็ช่างเถิด อย่ามาเถียงกันเลย) กัปตันก็คือนายกรัฐมนตรี ลูกเรือก็คือคณะผู้บริหารซึ่งรวมถึงพรรคการเมืองด้วย ผู้โดยสารก็คือประชาชน

กฎหมายกับการพัฒนาการเมือง

การใช้อำนาจของสถาบันหลักทางการเมือง


ระบบการเมือง หมายถึง ระบบซึ่งประกอบไปด้วย ข้าราชการการเมือง พรรคการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา กลุ่มผลประโยชน์ สื่อมวลชนและประชาชน การที่กลุ่มต่างๆเหล่านี้มาอยู่ร่วมกันในรูปแบบของรัฐจะมีการสร้างระบอบการปกครองมาใช้ในรูปแบบต่างๆ เช่นสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ประชาธิปไตย
ระบอบการเมือง คือระบบการบริหารสังคมที่เรียกว่า “รัฐ” นั่นเอง

ในระบบการบริหารจัดการรัฐ จึงเป็นระบบของการตัดสินใจแทนรัฐโดยผู้ใช้อำนาจรัฐ เป็นการกระทำในนามของรัฐและมีผลผูกพันต่อคนในสังคมของรัฐนั้นๆต้องให้การยอมรับหรือต้องปฏิบัติตาม

ระบอบการเมือง จึงเป็นระบบการปกครองและการบริหารจัดการรัฐโดยสถาบันต่างๆและผู้ใช้อำนาจรัฐ และมีความสำคัญอย่างมากต่ออนาคตของทุกคนในสังคมรัฐนั้นๆอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

วันพุธที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2554

“วิทยุชุมชน” บนแพ กทช.

คำตอบที่รอคอย กสทช.

ขณะที่วงการคลื่นความถี่กำลังมุ่งเป้าไปที่การคัดสรร กสทช. สื่อเพื่อชุมชนในนาม “วิทยุชุมชน” กำลังรอคอยใบอนุญาตตามกฎหมายที่จะทำให้พ้นสถานภาพวิทยุเถื่อนจาก กทช.ซึ่งความหวังริบหรี่เสมือนถูก “ลอยแพ”

จากตัวเลขโดยกองเลขาธิการสหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติ (สวชช.) ระบุว่าขณะนี้มีกว่า 800 สถานี ยื่นความประสงค์ขอออกใบอนุญาตวิทยุชุมชนชั่วคราว (1 ปี) โดยมี 51 สถานีอยู่ในขั้นตอนทดลองออกอากาศ 30 วัน จำนวนนี้มี 16 สถานีที่ผ่านขั้นตอนของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) และรอคอยการออกอากาศเป็นวิทยุชุมชนที่ถูกต้องตามกฎหมายตั้งแต่ปลายเดือน พ.ย. 53 ที่ผ่านมา

วิทยุชุมชนยังไร้เงา “ใบอนุญาต” ที่ควรได้
วิชาญ อุ่นอก เลขาธิการ สวชช. อธิบายถึง 3 ขั้นตอนใหญ่ๆในการออกใบอนุญาตว่าเริ่มต้นตั้งแต่ขั้นตอนการตรวจสอบเอกสาร เพื่อส่งดูคุณสมบัติ ก่อนส่งให้คณะทำงานพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง หากไม่มีข้อท้วงติงใด กทช.จะให้สถานีทดลองออกอากาศ 30 วัน เพื่อทดสอบปัญหาคลื่นรบกวนต่างๆ ซึ่งทั้ง 16 สถานีเดินมาตามขั้นตอนแล้วทั้งหมด

วันอังคารที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2554

จดหมายเปิดผนึกถึง ดร.ทักษิณ ชินวัตร

เจ็บแล้วจำคือคน เจ็บแล้วทนคือควาย


“ไม่เคยคิดว่า วันหนึ่งต้องมาเขียนจดหมายเปิดผนึกถึง ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีที่ทำคุณประโยชน์ให้คนไทยมากที่สุดเท่าที่ประเทศนี้เคยมีนายกฯ มา”

แต่วันนี้ยอมรับว่าทนไม่ไหวจริงๆ เมื่อเห็นร่างรายชื่อ (โผ) นักการเมืองที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งทั่วไปของพรรคเพื่อไทยในระบบบัญชีราย ชื่อ ที่มีชื่อ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวศ อดีต ผบ.ตร. รวมอยู่ด้วย

ถ้านายกทักษิณไม่ขี้ลืมเกินไป คงจะพอจำได้ว่า พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ คือผู้ที่สั่งปราบคนเสื้อแดงอย่างเฉียบขาดจนถึงกับเลือดตกยางออก พิการ และล้มตาย (ฟรี) ในช่วงที่จะขึ้นมาเป็บ ผบ.ตร. เมื่อครั้งกลุ่มเสื้อแดงเคลื่อนขบวนกลางดึกไปบ้านสี่เสาเทเวศน์ ท่านยังจำได้อยู่หรือไม่

อยากถามหัวใจนายกทักษิณด้วยว่า ชีวิตคนเสื้อแดงที่ยอมตาย ยอมต่อสู้เพื่อท่านมากว่า 5 ปีเข้าไปแล้วนี่ มันไร้ค่า มันไม่มีความหมายต่อท่านเลยหรือไง หรือพวกเรามันก็เป็นเพียงแค่ 1 เสียงเล็กๆ ที่ท่านบวก ลบ คูณ หาร ดูแล้ว คงไม่มีปัญญาช่วยท่านแย่งเก้าอี้ ส.ส.บุรีรัมย์จากเนวิน ชิดชอบ ในการเลือกตั้งที่จะถึงมาให้พรรคของท่านได้ ความต้องการจะเอาชนะทางการเมืองโดยเอาใครก็ได้ (ที่เคยทำร้ายคนเสื้อแดงทั้งทางตรงหรือทางอ้อม) มาเป็น สส.โดยไม่สนใจว่าจะเหยียบย่ำหัวใจคนเสื้อแดงอย่างไร น่าจะเป็นสิ่งที่ท่านควรทบทวนและใตร่ตรองอย่างรอบครอบอีกครั้ง

วันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2554

ปฏิญญา 10 เมษาฯ

8 ข้อ ของ นปช.แดงทั้งแผ่นดิน

1.เคลื่อนไหวทำกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือคนเสื้อแดงให้ได้รับอิสรภาพ และเยียวยาครอบครัวคนตายและบาดเจ็บ

2.ดำเนินการนำตัวผู้กระทำความผิดในการสั่งฆ่าประชาชน มารับโทษตามกฎหมาย

3.เรียกร้องให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาค

4.รณรงค์สนับสนุนพรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตยที่ต่อต้านระบอบอำมาตย์และ เคลื่อนไหวตรวจสอบการเลือกตั้ง ให้เป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม

5.สนับสนุนพรคการเมืองที่ได้รับคะแนนอันดับ1 อย่างถูกต้อง ให้จัดตั้งรัฐบาลและต่อต้านอำนาจนอกระบบ ที่แทรกแซงผลการเลือกตั้งทุกกรณี

6.สู้ให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของประชาชนที่เป็นประชาธิปไตย

7.ต่อต้านรัฐประหารและเผด็จการทุกรูปแบบ

8.ขยายมวลชนคนเสื้อแดง และแนวร่วมทั้งปริมาณและคุณภาพ

วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2554

ขอคารวะจิตใจกล้าสู้กล้าเสียสละของวีรชน 10 เมษายน 2553

ยืนหยัดอุดมการประชาธิปไตย “เสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ”


วันที่ 10 เมษายน 2553 รัฐ อำมาตย์อภิสิทธิ์ชน ได้ใช้กองกำลังทหารพร้อมอาวุธได้ทำการริดรอนสิทธิเสรีภาพการชุมนุมทางการ เมืองของผู้รักประชาธิปไตย เป็นผลให้ผู้ชุมนุมคนเสื้อแดง เสียชีวิต

วันนี้ 10 เมษายน ปีที่แล้ว ผู้ปกครองประเทศไทย ได้ใช้กำลังทหารล้อมปราบปรามสังหารประชาชนผู้เรียกร้องประชาธิปไตย ด้วยสองมืออันว่างเปล่า จนทำให้มีผู้เสียชีวิต และต่อมาได้ทำให้มีผู้เสียชีวิต 93 ศพ และคนบาดเจ็บอีกนับสองพันคนในที่สุด

นับเป็นโศกนาฎกรรมทางการเมืองอีกครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ ที่ ชนชั้นปกครองเข่นฆ่าประชาชนผู้ถูกปกครองของตนเอง

ขณะ ที่วีรชน คนเสื้อแดง ได้ยืนหยัดต่อสู้เพื่ออุดมการประชาธิปไตย ที่เชื่อว่าคนเราเท่ากัน ไม่ว่าไพร่หรืออำมาตย์ ไม่ว่ามาจากฟ้าหรือเติบโตจากผืนดิน ได้เสียสละชีวิตเพื่ออนาคตที่ดีกว่าของสังคมไทย เพื่ออนาคตของประชาธิปไตย

10 เมษา ประวัติศาสตร์ของความเชื่อ ?

โดย นักปรัชญาชายขอบ

ไม่น่าเชื่อว่าประวัติศาสตร์ระยะใกล้ของเหตุการณ์สังหารประชาชนเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 ซึ่ง เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในยุคที่เทคโนโลยีการสื่อสารที่ก้าวหน้า ท่ามกลางสายตาผู้สื่อข่าวทั้งไทยและเทศ ทั้งเครื่องมือเก็บบันทึกภาพของหน่วยงานราชการและส่วนตัวของผู้ร่วมชุมนุม อีกจำนวนมาก แต่จนบัดนี้ยังไม่สามารถพิสูจน์หลักฐานอย่างเป็นสาธารณะว่า “ข้อเท็จจริง” คืออะไร

ความตายร่วม 25 ศพ และบาดเจ็บอีกกว่า 800 คน เป็นฝีมือใครกันแน่ เป็นฝีมือของทหารหรือชายชุดดำ และชายชุดดำเป็นใครมาจากไหน ทำไมการชุมนุมจึงเกิดการยกระดับกดดันแทนการเจรจาให้ได้ข้อยุติทั้งที่การยก ระดับการชุมนุมเช่นนั้น ทั้งแกนนำเสื้อแดงและฝ่ายรัฐบาลต่างคาดการณ์ได้อยู่แล้วว่า อาจต้องมีการสูญเสียชีวิตเลือดเนื้อของประชาชน

ยิ่งนับถอยหลังไปยิ่งน่าสงสัยว่าเหตุใดฝ่ายรัฐบาลจึงเตรียมสรรพกำลังมากมายถึง 50,000 คน พร้อมยุทโธปกรณ์และงบประมาณจำนวนมหาศาลเพื่อจัดการกับการชุมนุมของคนเสื้อแดง

วันเสาร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2554

ร่างพ.ร.บ.คอมฯเวอร์ชั่นใหม่ เพิ่ม "ผู้ดูแลระบบ"

รับโทษหนักกว่าคนทั่วไป ก๊อปปี้ไฟล์โหลดบิทเจอคุก 3 ปี

เมื่อวันจันทร์ที่ 28 มีนาคม 2554 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) จัดประชุมรับฟังและให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ โดยเชิญตัวแทนผู้ประกอบการด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม โดยในการประชุมดังกล่าว มีการแจกเอกสารร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ที่กระทรวงไอซีทีจัดทำขึ้นด้วย

ร่างกฎหมายนี้ เขียนขึ้นเพื่อให้ยกเลิกพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และให้ใช้ร่างฉบับใหม่นี้แทน อย่างไรก็ดี โครงสร้างของเนื้อหากฎหมายมีลักษณะคล้ายคลึงฉบับเดิม แต่มีสาระสำคัญที่ต่างไป ดังนี้

ประเด็นที่ 1 เพิ่มนิยาม "ผู้ดูแลระบบ"

มาตรา 4 เพิ่มนิยามคำว่า "ผู้ดูแลระบบ" หมายความว่า "ผู้มีสิทธิเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการแก่ผู้อื่นในการเข้าสู่อิน เทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการดูแลเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น"

วันศุกร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2554

โจเซฟ สติกลิตซ์ วิกฤตฟูกูชิมะ กับการจัดการความเสี่ยง

พิภพ อุดมอิทธิพงศ์

ผมชอบอ่านงานของโจเซฟ สติกลิตซ์ (Joseph Stiglitz) ไม่ใช่เพราะเขาเป็นนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล หรือเคยทำงานที่ธนาคารโลก แต่เพราะเขาเป็น “นักเศรษฐศาสตร์” ที่มีความลุ่มลึกและสามารถโยงความคิดทางทฤษฎีที่ซับซ้อนเพื่อช่วยให้คนทั่ว ไปทำความเข้าใจกับวิกฤตที่เกิดขึ้นในโลกได้อย่างง่ายดาย เขามีวิธีคิดและแจงเหตุผลอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ที่พิสูจน์ได้ ไม่บ่อยนักที่จะเห็นคนออกมาโต้แย้งเขาในแง่ของความถูกต้องของข้อมูล เพราะสิ่งที่เขานำเสนอมักได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากข้อมูลที่ผ่านการ วิจัยของเขาและคณะ

งานของเขาที่ผมเริ่มต้นอ่านอย่างจริงจังคือ The Three Trillion Dollar War (“สงครามสามล้านล้านเหรียญ”) ที่กล่าวถึงผลกระทบของสงครามในอิรักครั้งใหม่ (ครั้งที่สอง สมัยประธานาธิบดีบุช) ชื่อของหนังสือก็บอกอยู่แล้วว่า เขาพยายามพิสูจน์ว่าสงครามครั้งนั้นมีต้นทุนสูงมาก และไม่ใช่เฉพาะต้นทุนการเงินเท่านั้น หากยังรวมถึงต้นทุนด้านสังคมอื่นๆ อีกมากมาย สรุปว่า “ไม่คุ้ม”

วันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2554

ยกเลิกโทษประหารชีวิต

ชำนาญ จันทร์เรือง


เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2554 ที่ผ่านมา แพท ควิน ผู้ว่าการรัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา ได้ลงนามในกฎหมาย SB3539 เพื่อยกเลิกโทษประหารชีวิตในรัฐอิลลินอยส์ ซึ่งรัฐคอนเนกติกัต รัฐแมรีแลนด์และรัฐมอนทาน่า ก็กำลังพิจารณายกเลิกโทษประหารเป็นรัฐต่อๆไปเช่นกัน ซึ่งอิลลินอยส์เป็นรัฐที่ 16 ที่ไม่ใช้โทษประหาร และเป็นรัฐลำดับที่ 3 ที่มีการยกเลิกการประหารชีวิตผ่านการใช้กฏหมายในรอบสี่ปีที่ผ่านมา ร่วมกับรัฐนิวเจอร์ซีและรัฐนิวแม็กซิโก ซึ่งการยกเลิกโทษประหารชีวิตของรัฐอิลลินอยส์ในครั้งนี้ มีผลทำให้นักโทษ 20 คนรอดพ้นจากการประหารชีวิตในทันที

การเคลื่อนไหวขององค์กรด้านสิทธิมนุษยชนที่ต่อต้านโทษประหารชีวิตที่ผ่าน มา มีความก้าวหน้าอย่างมากจนทำให้ สองในสามของประเทศทั่วโลกยกเลิกโทษประหารชีวิตไปแล้ว และโทษที่ถึงแก่ชีวิตในสหรัฐอเมริกาลดลงอย่างรวดเร็วเป็นประวัติการณ์เมื่อ ทศวรรษที่แล้ว ส่วนใหญ่เนื่องมาจากการที่สาธารณชนมีความตระหนักมากขึ้นถึงความผิดพลาดที่ไม่อาจแก้ไขได้ต่อการประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์

จากข้อมูลในรายงานฉบับใหม่ว่าด้วย “คำพิพากษาประหารชีวิตและการประหารชีวิตในปี 2553” (Death Sentences and Executions in 2010) ขององค์การนิรโทษกรรมสากล (Amnesty International) ที่เผยแพร่เมื่อ 28 มีนาคม 2554 ที่ผ่านมาพบว่า ประเทศที่ยังคงโทษประหารชีวิตกำลังโดดเดี่ยวตัวเองมากขึ้นหลังจากการรณรงค์ ไปสู่การยกเลิกโทษประหารชีวิตทั่วโลกในทศวรรษที่ผ่านมา

ทักษิณ "โฟนอินย้ำยังไม่เลือกแคนดิเดตนายกฯ"

สั่งกองเชียร์หุบปาก ตั้งเป้ากวาด ส.ส. 270 ที่นั่ง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่นายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราชและพรรคเพื่อไทยประกาศจับมือทางการเมือง วันที่ 5 เมษายน นายเสนาะได้เดินทางมาร่วมรับประทานอาหารกลางวันพร้อมพูดคุยกับแกนนำพรรค เพื่อไทย นำโดย พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ประธานพรรคเพื่อไทย นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี ก่อนที่จะเดินทางกลับไปโดยไม่ได้เข้าร่วมประชุม ส.ส.กับพรรคเพื่อไทย

ต่อมาเวลา 14.30 น. มีการประชุม ส.ส.พรรคเพื่อไทย มีนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ หัวหน้าพรรคเป็นประธาน โดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้โฟนอินมายังที่ประชุม โดยได้เน้นย้ำให้ ส.ส.ลงพื้นที่เนื่องจากเข้าสู่โหมดเลือกตั้งแล้ว เนื่องจากตนส่งสายตรวจไปแล้วทราบว่า ที่ผ่านมายังลงพื้นที่กันน้อย ส่วนตอนนี้มีคนปล่อยข่าวออกมาเยอะว่าจะไม่มีเลือกตั้ง สาเหตุเพราะนายกรัฐมนตรีประเทศไทยไม่ต้องเข้าตามตรอกออกตามประตูก็ได้ ซึ่งไม่มีประเทศประชาธิปไตยที่ไหนทำกัน อย่างนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี อาศัยอำนาจทหารก็ทำมาแล้ว หากประเทศยังปล่อยอย่างนี้ไม่มีทางเจริญงอกงาม แต่พรรคเราต้องยืนหยัด แม้จะมีการปล่อยข่าวปฏิวัติ แล้วมีนายกฯมาตรา 7 เราก็ต้องเตรียมการเลือกตั้งให้พร้อม เพราะเราเป็นพรรคของประชาชน แต่ตนไม่สบายใจที่ตอนนี้เกิดมีพรรคพวกในพรรค ซึ่งความจริงอยากบอกว่าทุกคนในพรรคคือพวกตนหมด แต่ที่ตนใช้งานไม่เหมือนกันเพราะแต่ละคนถนัดไม่เหมือนกัน แต่ตนรักทุกคนเพราะเป็นองค์กรเดียวกัน แต่ตนไม่อยากให้ผู้ใหญ่ที่เป็นแกนหลักไปเล่นด้วย ควรดูแลให้ความเป็นธรรมน้องๆ ทุกคน และอย่าห่วงตัวเองมากนัก ผู้ใหญ่ต้องสร้างภาวะผู้นำให้พรรค

วันอังคารที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2554

เลือกตั้งไทยจะ "เป็นธรรม" ได้อย่างไร?

เมื่อผู้เล่นอีกฝ่ายถูกกันออกจากสนาม

แอนดรูว์ วอล์คเกอร์ นักวิชาการด้านมานุษยวิทยา แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย ผู้ให้ความสนใจกับประเด็นการเมืองไทยร่วมสมัย ได้เขียนบทความขนาดสั้นเผยแพร่ในเว็บล็อก "นิว มันดาลา" (นวมณฑล) โดยตั้งคำถามว่า ถ้าประเทศไทยมีการเลือกตั้งทั่วไปเกิดขึ้นภายในเดือนกรกฎาคมนี้ การเลือกตั้งดังกล่าวจะดำเนินไปอย่างยุติธรรมหรือไม่?

วอล์คเกอร์วิเคราะห์ว่า ด้านหนึ่ง การเลือกตั้งที่เกิดขึ้นอาจมี "ความบริสุทธิ์ยุติธรรม" ในแง่ของกระบวนการเลือกตั้งขั้นพื้นฐาน โดยเขาไม่ค่อยเห็นพ้องต้องกันกับความคิดของพรรคฝ่ายค้านอย่าง พรรคเพื่อไทย หรือ กลุ่มคนเสื้อแดง ที่ระบุว่ารัฐบาลอภิสิทธิ์จะโกงการเลือกตั้งและกระทำการใดๆ ซึ่งจะช่วยส่งผลให้ตนเองได้กลับมาเป็นรัฐบาลอีกสมัย เพราะนี่คือข้อกล่าวหาที่เคยใช้เล่นงาน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และพันธมิตรมาก่อน และเป็นที่คาดการณ์ได้ว่า ข้อกล่าวหาเช่นนั้นก็จะถูกนำกลับมาใช้เล่นงานนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เช่นกัน

นักวิชาการชาวออสเตรเลียผู้นี้เห็นว่า การกล่าวอ้างถึงการโกงการเลือกตั้งนั้นถือเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันทางการเมืองในสังคมไทย ทว่าถึงที่สุดแล้ว ประเพณีทางการเมืองอันอันตรายเช่นนี้ ก็จะกร่อนเซาะทำลายความเชื่อมั่นศรัทธาที่มีต่อกระบวนการเลือกตั้งไปในตัวด้วย

คำประกาศ 10 สิทธิและหลักการอินเทอร์เน็ต

เพื่อใช้เป็นหลักการพื้นฐานในการพัฒนาและจัดการดูแลอินเทอร์เน็ต

เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2554 ณ กรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน กลุ่มความร่วมมือด้านสิทธิและหลักการอินเทอร์เน็ต (Internet Rights and Principles Dynamic Coalition: IRP) ซึ่งเป็นกลุ่มพหุภาคีของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต ทั้งจากภาครัฐ ธุรกิจ และประชาสังคม ได้ร่วมกันประกาศ 10 สิทธิและหลักการอินเทอร์เน็ต เพื่อใช้เป็นหลักการพื้นฐานในการพัฒนาและจัดการดูแลอินเทอร์เน็ต หลักการดังกล่าวมีรากฐานมาจากหลักสิทธิมนุษยชนสากลซึ่งได้รับการยอมรับ ระหว่างประเทศ โดยในการประกาศดังกล่าว มีนายแฟรงค์ ลา รู ผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติว่าด้วยการส่งเสริมและการคุ้มครองเสรีภาพการ แสดงความคิดเห็น ร่วมกล่าวแสดงความยินดีด้วย อ่านหลักการดังกล่าวในภาษาต่าง ๆ ได้ที่ www.irpcharter.org

10 สิทธิและหลักการอินเทอร์เน็ต
เอกสาร นี้นิยามสิทธิและหลักการสำคัญสิบประการ ที่จะต้องประกอบเป็นพื้นฐานของอินเทอร์เน็ตภิบาล สิทธิและหลักการเหล่านี้ถูกรวบรวมโดย กลุ่มความร่วมมือด้านสิทธิและหลักการอินเทอร์เน็ต (Internet Rights and Principles Dynamic Coalition: IRP) ซึ่งเป็นเครือข่ายที่เปิดกว้างของบุคคลและองค์กรที่ทำงานสนับสนุนสิทธิมนุษย ชนในสิ่งแวดล้อมอินเทอร์เน็ต หลักการดังกล่าวมีรากฐานจากมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ และสืบทอดมาจาก กฎบัตรสิทธิมนุษยชนและอินเทอร์เน็ต ที่ทางกลุ่มได้ร่วมมือกันพัฒนา

Another campaign against Article 112

and to free 220 Thai prisoners under lèse majestè charges

Democracy Networks
About 35 democratic groups in Thailand and abroad have aggregated to set up Democracy Networks (DNs) to launch campaigns and activities to call for the cancellation of Article 112 and the freeing of 220 Thai prisoners who have been charged under the lèse majestè law. A seminar and operational plan meeting was organized on April 3, 2011 to exchange knowledge and information about Article 112 and brainstorm to formulate an action plan.


The meeting received considerable interest from representatives of red shirts in many provinces across Thailand

วันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2554

เปิดตัวเครือข่ายประชาธิปไตย (Democracy Networks)

เดินเครื่องกิจกรรมยกเลิก ม.112 และคืนเสรีภาพผู้ต้องโทษกฎหมายหมิ่นฯ

กว่า 35 กลุ่มประชาธิปไตยทั้ง ในและต่างประเทศ ได้รวมตัวกันเป็น “เครือข่ายประชาธิปไตย (คปต.)” เพื่อทำกิจกรรมรณรงค์ยกเลิกมาตรา 112 และปล่อยผู้ต้องหาจำนวน 220 คน ที่ต้องโทษกฎหมายหมิ่นฯ ให้ได้รับเสรีภาพหรือการประกันตัว

เมื่อ วันที่ 3 เมษายน 2554 ได้มีการจัดประชุมวิชาการเกี่ยวกับมาตรา 112 และรับฟังความคิดเห็นเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย โดยมีผู้แทนจากหลายกลุ่มทั้งในและต่างประเทศเข้าร่วมประชุมฯ ประกอบด้วย กลุ่มเสื้อแดงจากจังหวัดสตูล พัทลุง ราชบุรี สิงห์บุรี นครปฐม ปทุมธานี กรุงเทพฯ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ ชลบุรี ตราด ลพบุรี นครราชสีมา อุบลราชธานี อุดรธานี นครสวรรค์ พะเยา ลำปาง เชียงราย กลุ่ม 24 มิถุนา แดงสยาม แดงตะวันออก สมัชชาสังคมก้าวหน้า พลังแดงชะอำ พลังหญิง สหายสีแดง ตัวแทนจากสหภาพแรงงาน สหภาพครู ทนายความ กลุ่มศิลปิน พระสงฆ์ สมาพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย แนวร่วม LA และแดงเสรีชนเยอรมัน เป็นต้น

ตะลุยเปิดโปงแผนลับ..ปฏิวัติเงียบ !

"สดศรี" สวมบท "ตัวประกอบ"

" ...(ข่าวปฏิวัติ) มาจากแหล่งที่มาจากทหารด้วยกันพูดในลักษณะนั้น อย่าลืมว่าสภาพการเมืองที่แตกแยก โอกาสที่จะเกิดเหล่านี้ง่ายมาก โอกาสมีต่างชาติมาแทรกซึมก็ง่ายเพราะบ้านเมืองไม่แข็งแกร่ง รัฐบาลไม่สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ และมีการสะสมกระสุนดินดำเพื่อเลือกตั้งทำให้ประชาชนเดือดร้อน สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยหมด"

"เลือกตั้งครั้งหน้ารุนแรงแน่ ดิฉันคิดว่าถ้าปฏิวัติได้ปฏิวัติเลยไม่อยากให้มีเลือกตั้งเหนื่อยมาก 4 ปีที่ผ่านมา"

คือวาทะเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554 ที่ "สดศรี สัตยธรรม" หนึ่งใน 5 เสือ "คณะกรรมการการเลือกตั้ง" (กกต.) เริ่มเปิดไฟเขียว "อำนาจพิเศษ" ให้ออกมาจัดระเบียบกระดานการเมืองไทย 21 มีนาคม 2554 "สดศรี" บอกได้กลิ่น "อำนาจนอกระบบ" จะหวนคืนอีกครั้ง พูดระหว่างวงสัมมนา "สถาบันพระปกเกล้า" ว่า มีความพยายามบีบบังคับให้ กกต.ลาออกเพื่อนำไปสู่การปฏิวัติ

24 มีนาคม 2554 "สดศรี" ย้ำอีกครั้งถึงความอึดอัดและเบื่อหน่ายในการทำหน้าที่ กกต. เพราะการเมืองที่รุมเร้าอย่างหนักหน่วง เป็นเหตุให้ตัดสินใจสมัครเป็น "คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย" หากได้รับการคัดสรรก็จะทิ้งเก้าอี้ กกต.ทันที

คนกรุงเกือบครึ่งไม่รู้ว่า ส.ส. มีหน้าที่ทำอะไร

ไม่คิดว่าการเลือกตั้งจะแก้ไขความขัดแย้งได้ : บ้านสมเด็จโพลล์

2 เม.ย. 54 - นายสิงห์ สิงห์ขจร อาจารย์ประจำโปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กล่าวว่า ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ ได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรของประชาชนในกรุงเทพมหานคร โดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนในกรุงเทพมหานครจำนวนทั้งสิ้น 1,276 คน เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 30 – 31 มีนาคม 2554

นายสิงห์ สิงห์ขจร ผู้รับผิดชอบศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ กล่าวต่อว่า น่าตกใจที่ประชาชน ไม่ทราบและไม่แน่ใจว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรมีหน้าที่อะไรบ้างรวมกันสูงถึง ร้อยละ 48.7 ซึ่งเกือบจะครึ่งหนึ่ง ทำให้เห็นได้ว่าขนาดคนกรุงเทพมหานคร ยังไม่ทราบและไม่แน่ใจในหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรทำการประชาสัมพันธ์ถึงหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร ให้มากขึ้นไม่งั้นประชาชนก็จะไม่เข้าใจว่าการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร เลือกไปทำหน้าที่อะไร

วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2554

ชำนิ ศักดิเศรษฐ์ เปิดแผน"ปชป.-มาร์ค" รีเทิร์น !!

และทำไม ยิ่งลักษณ์-ยังไม่ใช่-มิ่งขวัญ-ยังไม่ชัวร์?

เมื่อกระดานการเมือง ฝ่ายเพื่อไทยสั่นไหว หาหัวไม่พบ
วอร์รูม-ฝ่ายประชาธิปัตย์ ตั้งวงวิเคราะห์แบบ "SWAT analysis"
"ประชาชาติธุรกิจ" สนทนากับ "ชำนิ ศักดิเศรษฐ์" ประธานวอร์รูม ในดงประชาธิปัตย์ ที่อาคารรัฐสภา

ประวัติ ศาสตร์ที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่สามารถจะกลับมาเป็นรัฐบาล สมัยที่สอง แบบต่อเนื่อง ถูก "ชำนิ" ชำแหละ อธิบาย ปลดปมเงื่อนไข ทีละเปลาะ

เขา บอกว่า สมัยแรก สมัย ชวน หลีกภัย เราไม่ชนะ แพ้พรรคความหวังใหม่ ของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ห่างกัน 2 เสียง เราได้ 123 เขาได้ 125 สมัยนั้นความหวังใหม่ไปควบรวมพรรคย่อย ทำให้มี ส.ส.มากที่หนึ่งตั้งแต่ก่อนการเลือกตั้ง นี่คือการควบรวมพรรคครั้งแรก เดิมเมื่อคุณชวนเป็นนายกฯ เรามี ส.ส. 80 กว่าคน แต่เมื่อเลือกตั้ง เราได้เพิ่มเป็น 123 คน แต่เราไม่ได้เพิ่มจากการควบรวม เราชนะตัวเราเอง แต่ไม่ชนะคู่แข่ง

เมื่อ "หมวกเหล็ก " หนุน "ถอนทหาร"

กับคำถามเมื่อไหร่รัฐจะจัดการแก๊งอิทธิพลเถื่อน

"หมวก เหล็ก" เจ้าของนามปากกาของทหารหาญที่เคยปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาค ใต้ สะบัดปากกาเขียนบทความชิ้นใหม่ว่าด้วยข้อเสนอให้ "ถอนทหาร" และการจัดการกับกลุ่มอิทธิพลอำนาจมืดที่ฝ่ายความมั่นคงเพิ่งจะยอมรับว่าอยู่ เบื้องหลังสถานการณ์รุนแรงบางส่วนในดินแดนปลายสุดด้ามขวาน

"หากจะกล่าวถึงปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น ต้องบอกว่ามันมีมานานแล้วจริงๆ แต่ระยะหลังมีการใช้กำลังทหารจำนวนมากลงไปกดสถานการณ์เอาไว้ แล้วก็ถูกวิจารณ์ว่า ′สร้างเงื่อนไข′ กระทั่งมีหลายคนเสนอให้ถอนกำลังทหารออกมา แล้วให้ใช้กำลังกองร้อยอาสาสมัคร (อาสารักษาดินแดน: อส.) ของกระทรวงมหาดไทย กับกองกำลังประจำถิ่นพวก ชรบ. อรบ. อรม. พรม. (ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน, อาสาสมัครรักษาหมู่บ้าน, อาสาสมัครรักษาเมือง และเพื่อนราชการอาสาสมัครรักษาเมือง) ปฏิบัติหน้าที่แทน

ประเด็นนี้ผมขอสนับสนุนอย่างเต็มที่และอย่างจริงใจ ในฐานะที่ผมเป็นทหารและเคยปฏิบัติงานในพื้นที่จริง อยากบอกความจริงว่าสถานการณ์ที่ชายแดนใต้นั้นไม่ว่าจะต้องสังเวยชีวิตทหาร ตำรวจอีกกี่ศพ มันก็แก้ปัญหาไม่ได้หรอก เพราะยัง "เกาไม่ถูกที่คัน"

วันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2554

"เทปโก้" จระเข้นิวเคลียร์

โดย เกษียร เตชะพีระ

การหลั่งน้ำตาร่ำไห้สะอึกสะอื้นต่อหน้าธารกำนัลอย่างไม่อายใคร ดูจะเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของบรรดาบิ๊กบอสบริษัทเอกชนญี่ปุ่น เพื่อแสดงสำนึกรับผิดชอบต่อความบกพร่องผิดพลาดในหน้าที่จนก่อปัญหาใหญ่ร้ายแรงแก่สาธารณชนในทำนองที่ ฝรั่งเรียกว่า "mea culpa" หรือถ้าพูดด้วย สำนวนพงศาวดารจีนก็คือ "ผู้น้อยผิดเอง ผู้น้อยสมควรตาย"

ทว่าการหลั่งน้ำตาของผู้บริหารเทปโก้ (TEPCO-Tokyo Electric Power Company บริษัท สาธารณูปโภคด้านพลังงานใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น) ในกรณีวิกฤตสถานีไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ฟุคุชิมา ไดอิจิ เมื่อ 19 มีนาคม ศกนี้ จะน่าชื่นชมและเห็นใจกว่านี้มาก ถ้ามันจะไม่บ่อยเกินไป และนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขป้องกันปัญหามิให้เกิดซ้ำซากจริงๆ ในทางปฏิบัติ แทนที่จะเอาแต่ร้องไห้และสารภาพผิดเสร็จ ก็เลิกแล้วต่อกัน ลืมหมดลืมสิ้น หันกลับไปทำงาน โหลยโท่ยเลอะเทอะ จงใจละเลยประมาทเลินเล่อ ปิดงำอำพราง โป้ปดมดเท็จ ฯลฯ เหมือนเก่า จน เกิดฉิบหายวายป่วงครั้งแล้วครั้งเล่า ซ้ำแล้วซ้ำอีก กระทั่งชาวบ้านเขารู้เช่นเห็นชาติ คาดเดาพฤติการณ์ "วัวหายร้องไห้" ได้

พอเห็นเทปโก้ออกมาร้องไห้สารภาพผิดอีกแล้วทีไร คนญี่ปุ่นจึงพากันเสียวววววทุกที

วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2554

ขบวนการเสื้อแดงกับปัญหาการเลือกตั้ง

โดย ใจ อึ๊งภากรณ์

คนเสื้อแดงรู้ดีว่าอำมาตย์กำลังจะโกงการเลือกตั้งด้วยวิธีหลากหลาย ... ตั้งแต่การทำรัฐประหาร ๑๙ กันยา การยุบพรรค การตัดสิทธิ์นักการเมือง การร่างรัฐธรรมนูญทหาร การใช้ กกต. เป็นเครื่องมือ การติดสินบนและการข่มขู่ให้นักการเมืองเปลี่ยนข้าง และการคุมสื่อด้วยกฏหมายเผด็จการ นอกจากนี้เราเริ่มมองออกว่าพรรคเพื่อไทยไม่มีความกระตือรือร้นที่จะเข้าใจสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทย หวังแต่จะพึ่งบุญเก่าและไม่คิดค้นนโยบายใหม่ๆ ที่จะครองใจประชาชน ซึ่งอาจยิ่งทำให้ฝ่ายตรงข้ามโกงการเลือกตั้งได้ง่ายขึ้น

แต่คนที่เสนอว่า “การเลือกตั้งไม่สำคัญ” โดยอ้างว่าต้องการโค่นอำมาตย์อย่างเดียวแทน เป็นคนที่ไม่เข้าใจพลวัตของการต่อสู้และความเชื่อมโยงระหว่างการต่อสู้ประจำวันกับการปฏิวัติ และที่แย่กว่านั้น บ่อยครั้งคนที่เสนอว่าเราต้องหันหลังกับการเลือกตั้ง เป็นคนที่ไม่มีข้อเสนออะไรเลยที่เป็นรูปธรรมนอกจากการด่าเบื้องบนหรือคนที่มองต่างมุมกับตนเอง