เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม เลขทะเบียน ๘๖๙ สภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า

อุดมการณ์สถานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตย

เรา...มั่นใจว่า
ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา
ประเทศไทย เป็นของเราทุกคน
เรา ต้องร่วมกันสร้างชาติไทย ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์  พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2553

รัฐประหาร = อัตวินิบาตกรรม

นิธิ เอียวศรีวงศ์
มติชน วันที่ 27 กันยายน 2553

การชุมนุม "ฟ้องฟ้า" ของคุณสมบัติ บุญงามอนงค์ ที่สี่แยกราชประสงค์ เป็นเรื่องที่น่าสำเหนียกแก่กลุ่มชนชั้นนำที่ร่วมกันชักใยการเมืองไทยอยู่ใน เวลานี้

จำนวนของผู้เข้าร่วมกิจกรรมมากเกินคาดของทุกฝ่าย แม้แต่ของผู้จัดการชุมนุมเอง การจราจรถูกปิดไป "โดยปริยาย" โดยไม่มีใครเจตนา แต่เกิดขึ้นจากจำนวนคนที่เข้าร่วมมากเกินคาด
คุณฌอน บุญประคอง ซึ่งทำหน้าที่เหมือนเป็นโฆษกยืนยันว่า คนจำนวนมากเข้าร่วมการชุมนุมโดยสมัครใจและเกิดขึ้นอย่างไม่ได้วางแผนมาก่อน ทั้งไม่ได้รับการสนับสนุนใดๆ ทั้งทางลับหรือเปิดเผยจากคุณทักษิณ ชินวัตร โดยสิ้นเชิง คุณฌอนประเมินว่าเกือบทั้งหมดของผู้ชุมนุมคือคนชั้นกลางในกรุงเทพฯภาพข่าวใน ทีวีและหน้าหนังสือพิมพ์ดูจะส่อไปในทางเดียวกับการประเมินของคุณฌอน คำให้การของผู้เข้าร่วมชุมนุมคนอื่นก็ตรงกัน

ทั้งหมดนี้เกิด ขึ้นท่ามกลางการใช้ พ.ร.บ.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน แต่รัฐบาลได้ตัดสินใจมาแต่ต้นแล้วว่า จะปล่อยให้มีการทำกิจกรรมทางการเมืองที่ "ไม่นำไปสู่การจลาจล หรือการละเมิดกฎหมาย" แปลว่า จะใช้อำนาจตามตัวอักษรในพ.ร.บ.หรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่ากิจกรรมทางการเมืองนั้นอยู่ในวิสัยที่ผู้มีอำนาจ "คุม" อยู่หรือไม่ หรือพูดให้ชัดกว่านั้นคือสะเทือนอำนาจของตนเองมากน้อยเพียงไร

'รักเฉวงโมเดล' ต้นแบบภาคประชาชนเข้มแข็ง

โมเดลต้นแบบของภาคประชาชนเข้มแข็งแห่งแรกบนเกาะสมุย


ร่วมแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วยตัวเองไม่ง้อภาครัฐ
Produced by VoiceTV

วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2553

จากทุ่งนา แนวป่า สู่นาคร

ไพร่แดง

ประวัติศาสตร์ ไม่อาจจดจารวีรกรรมของวีรชนได้หมดทุกด้าน ทุกแง่มุม แต่โลกทั้งใบได้ถูกขับเคลื่อนไปสู่ความเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย การสืบทอดเจตนาของผู้กล้าผ่านกาลเวลายิ่งนาน ก็ยิ่งเข้มข้น ไม่จางหาย

เดินทางไปหลายอำเภอ หลายจังหวัดได้เห็นผู้คนตื่นตัว สนใจการเมืองทุกช่วงวัย มีทั้งหนุ่มสาวจนถึงผู้สูงอายุ เป็นปรากฏการณ์ ที่ไม่เคยมีมาก่อน เป็นสัญญาณบอกว่าประชาชนหมดความอดทน อดกลั้นแล้ว กับสิ่งที่เขาได้รับ ที่เป็นการตอกย้ำความเข้าใจในสิ่งที่เขาเคยสงสัยต่อผู้ปกครอง ในการเอารัดเอาเปรียบ ความตายของพี่น้องของเขาที่ราชดำเนินและราชประสงค์ เป็นคำอธิบายบ่งบอกถึงความอำมหิต ดิบ ถ่อย ของปีศาจ และเป็นลางร้ายของเหล่าอำมาตย์เผด็จการใกล้สูญพันธุ์

ถึงวันนี้ แม้ผู้ปกครองสามารถครอบงำสื่อได้ทั้งหมด ก็ไม่สามารถปิดปากประชาชนได้ ความตายที่เกิดจากความอำมหิต ดิบ ถ่อย ได้ถูกพูดกันไป ปากต่อปาก ทั่วทั้งแผ่นดินแล้ว

ความเปลี่ยนแปลงถูกขับเคลื่อนไปอย่างไม่เคยหยุด ประวัติศาสตร์จะไม่ถูกเขียนโดยผู้ชนะเพียงฝ่ายเดียวอีกต่อไป จาก 2475 ถึง 2553 ประชาชนไม่ได้โง่ อย่างที่เหล่าอำมาตย์คิด และคนในเมืองไม่ได้ฉลาดกว่าคนบ้านนอก การตื่นตัวทางการเมืองของคนต่างจังหวัดมีมากกว่าคนกรุงเทพฯ จะเห็นได้จากการใช้สิทธิเลือกตั้ง. ผู้ที่รับราชการ ผู้ที่ประสบความสำเร็จทางการค้า กระทั่งเศรษฐีใหม่ล้วนเป็นคนมาจากต่างจังหวัดและชนบททั้งสิ้น

สาเหตุใดกัน ที่ไม่ควรเลือกตั้ง"ผวจ."

โดย ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล
ประธานหอสมุดสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
(ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๓)

เป็นที่พูดคุยกันภายในแวดวงสภาพัฒน์ เมื่อเร็วๆ นี้เกี่ยวกับการจัดทำ "แผน 10" และมีแนวคิดเรื่อง "การเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด" ที่อยากจะเลียนแบบกรุงเทพฯ ซึ่งเรียกชื่อตำแหน่งในระยะหลังนี้ว่า "ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร" อันเป็นความเข้าใจผิดกันอย่างมาก สับสนกันมาก โดยเฉพาะข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่ถือเป็นศักดิ์ศรีทางรัฐศาสตร์การปกครองของประเทศชาติมาช้านาน

วันนี้ จึงนำเสนอเป็นกรณีศึกษา เรื่อง "ชื่อตำแหน่ง ผวจ.นั้นมีความแตกต่างกับผู้บริหารท้องถิ่น กทม. หรือผู้ว่าฯ กทม.อย่างไร"

เราทุกคนควรทำความเข้าใจข้อเท็จจริงประการนี้ไว้ ก่อนที่การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอะไรที่ไม่ถูกต้องจะเกิดขึ้นและนำไปสู่ความวุ่นวายอลหม่านทางรัฐศาสตร์การปกครองของประเทศชาติยิ่งขึ้นไปอีก

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ องค์ปฐมเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ทรงตรัสว่า "ผู้ว่าราชการจังหวัดตลอดจนข้าราชการทุกคน ต่างล้วนเป็นข้าพระบาทต่างพระเนตรพระกรรณของในหลวง" โดยความหมายก็คือ ข้าราชการทุกท่านเหล่านี้มาจากสายข้าราชการประจำต่างดำรงตำแหน่งหน้าที่และรักษาคุณงามความดีของตนมาตั้งแต่ยังเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อยหรือที่ทรงเรียกว่า "Junior Officer"

วันจันทร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2553

ปฏิบัติการปฏิวัติชุมชน

ปรีชา ทองเสงี่ยม
เกษตรกร อ.เขาฉกรรจ์ จ.สระแก้ว

ปรัชญาในการปฏิวัติ
"พอกิน พอใช้ ยั่งยืน ทันโลก"

วัตถุประสงค์ในการปฏิวัติ
1. หยุดความล่มสลายของครอบครัวและชุมชนเกษตรกรรม
2. ขจัดความไม่เป็นธรรมและการถูกเอารัดเอาเปรียบ
3. นำวิถีชีวิตเกษตรกรรมเข้าสู่ความยั่งยืนและมั่นคง
4. สามารถพึ่งตนเองได้และใช้ทรัพยากรที่ไม่มีวันหมด

ขอบข่ายการทำงาน
1. เพิ่มขีดความสามารถในชุมชนให้สูงขึ้น จากเคยปลูกพืชอาหารสัตว์ มาทำการผลิต เนื้อ นม ไข่ไก่
2. ฟื้นฟูสภาพพื้นที่เพาะปลูกให้กลับคืนมา ด้วยมูลสัตว์และเศษพืชที่เหลือจากการผลิต
3. ฟื้นสภาพครอบครัวและพี่น้อง ในชุมชนที่ต้องออกไปทำงานในเมืองให้กลับคืนมาสู่ท้องถิ่น
4. ผลิตเนื้อ นม ไข่ไก่ คุณภาพดี จากระบบเกษตรกรรมธรรมชาติ มีต้นทุนต่ำ สามารถแข่งขันในตลาดได้

วันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2553

“3 ปีแก้ 3 ปัญหาชาวบ้านได้ แม้ตายไม่เสียดายชีวิต”

ดร.เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์
โดย โต๊ะข่าวเพื่อชุมชน ศูนย์ข่าวอิศรา

น้ำเสียงมุ่งมั่นแต่อารมณ์ดีของ “เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์” ผู้ผันชีวิตจากข้าราชการกรมป่าไม้ จนได้ฉายาว่า “ดร.เกษตรกร” และปัจจุบันเป็นหนึ่งในคณะกรรมการปฏิรูป(คปร.) สะท้อนว่าชนบทถูกรุกล้ำด้วยกระบวนการ-นโยบายพัฒนาที่ขาดสมดุล และภายใต้วาระงาน 3 ปีหากแก้ปัญหาหนี้สินฟื้นฟูชีวิตเกษตรกรได้แม้ตายก็ไม่เสียดายชีวิต

ทราบว่าอาจารย์เคยเป็นข้าราชการกรมป่าไม้
ผมเดินเข้ากรมป่าไม้ด้วยความคิดว่าชีวิตต้องการเรียนรู้และใช้วิชาวนศาสตร์ ที่เรียนเพื่อพัฒนาตัวเองและสังคม แรกเริ่มผมทำงานในส่วนการจัดการที่ดินป่าสงวนที่ จ.ตาก ทำทุกอย่างตั้งแต่ภารโรงถึงวิทยากร ได้เรียนรู้จากชาวต่างชาติที่มาทำโครงการในไทย มีโอกาสสำรวจป่าทั่วประเทศและร่วมงานกับเอ็นจีโอหลายกลุ่ม ซึ่งผมมีความสุขดี

แต่พอโตมาระดับหนึ่งก็เริ่มมีปัญหาเพราะต้องทำงานวางแผนระดับกรมชี้แจง ต่อสภาผู้แทนราษฎรทุกปีร่วมกับผู้บริหารระดับสูง ต้องติดต่อกับนักการเมืองมากขึ้น รู้สึกตัวเองอยู่กับมายาคติเหมือน เราวางแผนแต่บนกระดาษ บอกว่าต้องอนุรักษ์ป่าอย่างไร ของบประมาณเท่าไร แต่ไปไม่ถึงข้างล่าง ชุมชนมีปัญหาแต่ไม่มีกระบวนการแก้ไขฟื้นฟูเลย

วันเสาร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2553

ภายใต้ตุลาการภิวัฒน์...ผู้ใช้กฎหมายเป็นใหญ่ ?

ตุลาการภิวัฒน์ในทัศนะ อ.ปิยบุตร แสงกนกกุล “เราต้องเชื่อมั่นในศาล ผ่านเหตุผลของการตัดสินของศาล”


อ.ปิยบุตร แสงกนกกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แสดงทัศนะถึงอำนาจของฝ่ายตุลาการในการบังคับใช้กฏหมาย การใช้อำนาจโดยตรงของศาลคือการตัดสินคดี ก็เป็นเรื่องที่ศาลกระทำด้วยความยากลำบาก เพราะศาลในฐานะสถาบันที่รักษาความสืบเนื่องจากหลักการในอดีต และคำนึงผลประโยชน์ยาวไกลที่สุดของประเทศ การตรวจการทำหน้าที่ของฝ่ายตุลาการต้องสามารถทำได้ และเราต้องเชื่อมั่นในศาล ผ่านเหตุผลของการตัดสินของศาล

Content By Voice TV

ปัญหาองค์การนำในขบวนการประชาธิปไตย (ตอนที่ ๑)

รศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์
24 กันยายน 2553
ที่มา : ประชาไท
บทเรียนสำคัญประการหนึ่งจากการเคลื่อนไหวประชาธิปไตยในช่วงมีนาคม-พฤษภาคม 2553 คือปัญหาการจัดการองค์การนำของขบวน ได้แก่ ประเด็นว่าด้วยสถานะของทักษิณ ชินวัตร แกนนำ นปช. “แดงทั้งแผ่นดิน” และลักษณะการจัดตั้งของขบวนประชาธิปไตย

1. เกี่ยวกับทักษิณ ชินวัตร
ปัญหาที่โต้แย้งกันมายาวนานประการหนึ่งคือ สถานะของทักษิณ ชินวัตรในขบวนการประชาธิปไตย ข้อถกเถียงส่วนหนึ่งเห็นว่า ทักษิณเป็นเพียงนักการเมืองที่ถูกกระทำจากรัฐประหาร 19 กันยายน จึงจำเป็นต้องใช้ประโยชน์จากการเคลื่อนไหวมวลชนเพื่อประโยชน์ตน และมีแต่ขบวนประชาธิปไตยต้องถอยห่างจากทักษิณเท่านั้น จึงจะพัฒนาเติบใหญ่เป็น “พลังประชาธิปไตยบริสุทธิ์” ได้ ความเห็นนี้มักจะมาจากปีกปัญญาชนฝ่ายประชาธิปไตย

ในทางตรงข้าม ก็มีความเห็นว่า ทักษิณ ชินวัตรคือผู้นำหนึ่งเดียวของฝ่ายประชาธิปไตย เป็นผู้ปฏิวัติสังคมที่จะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงเชิง “ระบอบ” มีสถานะเยี่ยงผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 เช่น นายปรีดี พนมยงค์

เราจะเข้าใจสถานะ บทบาท และขีดจำกัดของทักษิณได้ก็โดยดูจากประวัติศาสตร์ ดังเช่นที่นักปรัชญาเมธีผู้ยิ่งใหญ่ได้กล่าวไว้ว่า “ผู้คนแต่ละรุ่นนั้นถูกสาปด้วยมรดกจากคนรุ่นก่อนและจากอดีตของตนเอง”

วันศุกร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2553

ชาติของใคร...???

 อนุสรณ์ อุณโณ

“ชาติ” เป็นประดิษฐกรรมทางสังคมและวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นควบคู่กับประดิษฐกรรมทางการ เมืองเช่น “รัฐ” สมัยใหม่ เพราะการใช้อำนาจเหนือชีวิตของผู้คนในเขตแดนไม่อาจอาศัยเฉพาะอาวุธ ยุทโธปกรณ์ กฎหมาย และระบบราชการ จำเป็นต้องอาศัยความยินยอมพร้อมใจของผู้คนที่จะอยู่ภายใต้การบริหารอำนาจดัง กล่าวด้วย ชาติจึงถูกสร้างขึ้นในฐานะที่เป็นพื้นที่ในจินตนาการ ทาบซ้อนลงไปบนรัฐที่มีเขตแดนในเชิงกายภาพ ทำหน้าที่เป็นแหล่งให้ผู้คนเชื่อมโยงถึงกันผ่านลักษณะร่วมบางอย่าง เช่น เผ่าพันธุ์ ภาษา วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ พร้อมกับสร้างความจงรักภักดีในหมู่ผู้คนในสังกัด จนกระทั่งพวกเขาไม่รู้สึกถึงปฏิบัติการอำนาจของรัฐ แต่สำคัญว่าเป็นพันธกรณีที่ตนเองต้องมีต่อชาติ ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่ในรูปของการอบรมสั่งสอน (เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ) การปฏิบัติตามกฎหมาย (วินัยจราจรสะท้อนวินัยของคนในชาติ) หรือว่าการป้องกันประเทศ (พลีชีพเพื่อชาติ)

รัฐไทยอาศัยจินตนาการเรื่องชาติในการปกครองผู้คนมาแต่แรกตั้ง สยามใหม่สถาปนามรดกร่วมของคนในชาติขึ้นเหนือสายใยเฉพาะถิ่นเพื่อว่าจะได้ สามารถผนวกรวมผู้คนต่างเผ่าต่างภาษาและวัฒนธรรมเข้าเป็นส่วนหนึ่ง ผู้คนไม่ว่าจะมีจำเพาะหรือแตกต่างอย่างไร หากอยู่ในราชอาณาจักรสยามและมีความจงรักภักดีต่อสถาบันหลักก็นับเป็นส่วน หนึ่งของรัฐไทยที่เพิ่งสร้างขึ้นใหม่นี้ ขณะที่รัฐไทยในยุคต่อมานิยามความหมายของชาติแคบลง เพราะนำไปผูกกับกลุ่มชาติพันธุ์ไทเพียงกลุ่มเดียว โดยนอกจากจะดำเนินนโยบายกลืนกลายทางวัฒนธรรมและกีดกันกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ แล้ว รัฐไทยสมัยนี้ยังพยายามที่จะสถาปนามหาอาณาจักรไทยที่กินขอบเขตกว้างกว่า ประเทศไทยอีกด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553

การมีส่วนร่วมของประชาชน ตามรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐

รัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๕๐
ส่วนที่ ๑๐
แนวนโยบายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน
มาตรา ๘๗ รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ดังต่อไปนี้
(๑) ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น
(๒) ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจทางการเมืองการวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ และสังคม รวมทั้งการจัดทำบริการสาธารณะ
(๓) ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับ ในรูปแบบองค์กรทางวิชาชีพหรือตามสาขาอาชีพที่หลากหลาย หรือรูปแบบอื่น
(๔) ส่งเสริมให้ประชาชนมีความเข้มแข็งในทางการเมือง และจัดให้มีกฎหมายจัดตั้งกองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองเพื่อช่วยเหลือการดำเนินกิจกรรมสาธารณะของชุมชน รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินการของกลุ่มประชาชนที่รวมตัวกันในลักษณะเครือข่ายทุกรูปแบบให้สามารถแสดงความคิดเห็นและเสนอความต้องการของชุมชนในพื้นที่
(๕) ส่งเสริมและให้การศึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับการพัฒนาการเมืองและการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนได้ใช้สิทธิเลือกตั้งโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
การมีส่วนร่วมของประชาชนตามมาตรานี้ต้องคำนึงถึงสัดส่วนของหญิงและชายที่ใกล้เคียงกัน

ทบทวนขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในประเทศไทย

เมื่อวันที่ 17 ก.ย.2553 ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลุ่มจับตาขบวนการประชาสังคมไทย ร่วมกับศูนย์ติดตามประชาธิปไตยไทย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ สำนักข่าวประชาธรรมและประชาไท จัดการเสวนาเรื่อง "ทบทวนขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในประเทศไทย" ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการอภิปราย: “ขบวนการประชาชนท่ามกลางสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองปัจจุบัน”

กก.ปฏิรูปเชื่อ 'ปฏิรูป' นำสู่การปรองดองได้
บัณฑร อ่อนดำ คณะกรรมการปฏิรูปประเทศ (คปร.) กล่าวว่า มีคนโจมตีคณะปฏิรูปเยอะ แต่อยากจะเรียนว่าเอ็นจีโอมีการคิดเรื่องการปฏิรูปก่อนที่จะมีการตั้งคณะกรรมการปฏิรูปที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน และ นพ.ประเวศ วะสี เป็นประธาน ส่วนในการต่อสู้ที่มีความขัดแย้งเป็นสี เราคิดกันว่าคงจะลำบากมากหากเอ็นจีโอจะหาญไปปรองดอง โดยมองว่าการปรองดองรัฐบาลคงจะต้องทำเอง แต่สิ่งที่เสนอกับนายกฯ คือน่าจะมีการปฏิรูปสังคมกับปฏิรูปประเทศไทยพร้อมกันไป ไม่มีคำว่าปรองดองเด็ดขาดมีแต่ปฏิรูป ซึ่งสรุปง่ายๆ คือการสร้างความยุติธรรมและลดความเหลื่อมล้ำ

“คุณอานันท์เคยปาฐกถาเองว่านายกฯ เข้าใจผิด ของเราไม่เกี่ยวกับการปรองดอง คณะกรรมการของเรานั้นเป็นอิสระและเชื่อว่าการปฏิรูปจะนำไปสู่การปรองดอง แม้ว่าต้องกินเวลานานก็ตาม เรามองทั้งฝ่ายรัฐและไม่ใช่รัฐ มองในแง่การปฏิรูปสังคม สร้างความเป็นธรรม และลดความเหลื่อมล้ำเท่านั้น” บัณฑรกล่าว

วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553

รู้ทันนิรโทษกรรม

ชำนาญ จันทร์เรือง

หากเรายังจำกันได้เมื่อครั้งจบเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 แล้ว ผู้นำนักศึกษาและประชาชนบางคนถูกตั้งข้อหาในคดีที่เรียกกันว่า “คดี 6 ตุลา” โดยนายสุธรรม แสงประทุม กับพวกรวมทั้งหมด 18 คน ถูกตั้งข้อหาว่าก่อกบฏ ก่อจลาจล ต่อสู้และพยายามฆ่าเจ้าหน้าที่รัฐ และร่วมกันกระทำการอันเป็นคอมมิวนิสต์ ฯลฯ คดีนี้เริ่มต้นที่ศาลทหารโดยมีการฟ้องคดีในวันที่ 25 สิงหาคม 2520

ในตอนแรกลักษณะของการพิจารณาคดีไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานความยุติธรรมแต่อย่างใด เพราะผู้ต้องหาไม่มีสิทธิใช้ทนายความพลเรือนในการปกป้องตนเอง แต่หลังจากมีการรณรงค์เรียกร้องทั้งภายในและภายนอกประเทศในเรื่องนี้ และหลังจากที่รัฐบาลของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ถูกล้มไปโดยการรัฐประหารที่เกิดขึ้นภายหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาในอีกหนึ่งปีถัดมา ลักษณะของคดีในศาลก็เปลี่ยนไปและมีการยินยอมให้แต่งตั้งทนายความพลเรือนสำหรับฝ่ายจำเลยได้

วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553

เสียงเพรียก...วิญญาณวีระชน

เสียงเพรียก...วิญญาณวีระชน
ปัง ปัง เสียงปืนก้อง ชีวิตต้องถึงม้วยมรณ์
ตูม ตูม บึ้มสะท้อน ร่างกระดอนล้มทรุดลง
เสียงร้องโอดโอยหวน คร่ำครางครวญชีพปลิดปลง
เราผิดใดจึงส่ง มือปืนมาไล่ล่าล้าง

เราเพียงมาเรียกร้อง ตามทำนองที่ถูกทาง
รัฐธรรมนูญวาง ว่าเป็นสิทธิ์ของปวงชน
ประชาธิปไตย เราอยากได้กันทุกคน
แต่รัฐสิฉ้อฉล ทำทุกอย่างเผด็จการ

เรายึดอหิงสา ร่วมกันมาดำเนินงาน
สิทธิขั้นพื้นฐาน รัฐใส่ความก่อการร้าย
ปราบปรามสุดเหี้ยมโหด ยานเกราะโลดชนทลาย
ซุ่มยิงชีพวางวาย ทหารบ้าล่าล้างเรา

4 ปี รัฐประหาร ก้าวสู่เผด็จการเต็มรูปแบบ

จาตุรนต์ ฉายแสง
19 กันยายน 2553

หลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 มักมีการประเมินกันทุกปีว่าบ้านเมืองอยู่ในสภาพอย่างไร ความจริงในปีแรกๆ มีการประเมินกันแทบทุกเดือนด้วยซ้ำ ผมเองพูดถึงรัฐประหารครั้งนี้เป็นประจำทุกปี และปีนี้ก็คิดว่ามีประเด็นที่ควรจะพูดถึงอีก ซึ่งดูจะพิเศษและเข้มข้นกว่าปีที่ผ่านมาเสียอีกด้วย

การประเมินผลของการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ที่มักชอบทำกันมักจะทำกันคือ การประเมินจากข้ออ้างของการรัฐประหาร ในปีนี้เราก็ควรจะใช้เวลาสักหน่อยในการประเมินผลของการรัฐประหารจากข้ออ้างของการรัฐประหารนั้นเอง

ข้ออ้างประการแรกในการรัฐประหารคือ การป้องกันความรุนแรงและความแตกแยกในสังคม คงจำกันได้ว่าขณะนั้นมีการชุมนุมของพวกพันธมิตรอยู่ และมีการนัดหมายว่าในวันที่ 20 กันยายน 2549 จะมีการชุมนุมของอีกฝ่ายหนึ่ง การรัฐประหารจึงเกิดขึ้นในวันที่ 19 กันยายน 2549 โดยข้ออ้างง่ายๆว่า เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรงที่อาจจะมีขึ้นในวันที่ 20 กันยายน 2549

วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553

ความรับผิดชอบทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย

ความผิดพลาดของอภิสิทธิ์และความรับผิดชอบกรณีสลายการชุมนุม
โดย ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์
12 เมษายน 14.36 น.

ขณะที่รอยเลือดของผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตทุกฝ่ายยังไม่ จางไป นายกรัฐมนตรีรีบอธิบายว่าผู้ชุมนุมผิดกฎหมาย ส่วนท่านก็เพียงทำตามหน้าที่ในการต่อสู้เพื่อผิวจราจร นักวิชาการบางกลุ่มเสนอว่าประชาชนมีอาวุธ นายกจึงสั่งสลายการชุมนุมได้ สื่อมวลชนบางประเภทไปไกลขนาดว่าประชาชนคือฝ่ายที่ต้องรับผิดชอบที่เกิดการ เสียชีวิตขึ้นมา

กล่าวอย่างรวบรัดแล้ว คำอธิบายของนายกและผู้ สนับสนุนวางอยู่บนตรรกะสองข้อ ข้อแรกคือการชุมนุมเป็นเรื่องผิดรัฐธรรมนูญ และข้อสอง นายกมีสิทธิสลายการชุมนุมด้วยวิธีรุนแรง นั่นคือใช้กระสุนจริง ใช้ระเบิดควัน ใช้แก๊สน้ำตา ใช้รถถัง ใช้รถหุ้มเกราะ ฯลฯ

พูดให้สั้นก็คือสมควรแล้วที่ประชาชนมือเปล่าและเจ้า หน้าที่จะบาดเจ็บล้มตาย ประชาชนควรเจ็บควรตายเพราะผิดกฎหมาย ส่วนทหารควรเจ็บควรตายเพื่อสนองนโยบายนายกรัฐมนตรี

วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553

จะปรองดอง กันอย่างไร ใจอาฆาต

จะปรองดอง กันอย่างไร ใจอาฆาต
หลงอำนาจ พระราชกำหนด การฉุกเฉิน
ประกาศใช้ อย่างฉกฉวย ด้วยเพลิดเพลิน
ยังคงเดิน หาทางออก หลอกปวงชน

ที่ร้องหา ประชาธิปไตย ไม่เห็นทำ
กลับสร้างกรรม เผด็จการ จนเกิดผล
จุดไฟใต้ ใจกลางกรุง ในบัดดล
ด้วยเลห์กล ทางการเมือง อย่างไขสือ

มือถือสาก ปากถือศิล กลิ่นคาวคุ้ง
ไม่ผดุง ยุติธรรม ทำได้หรือ
นิรโทษ กรรมอันใด ให้เรื่องลือ
ใครกันคือ ผู้ก่อกรรม ทำลายชาติ

ความเหลื่อมล้ำที่แท้จริงในสังคมไทย

ข้อมูลสถิติที่แสดงให้เห็นความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ระหว่างกลุ่มคนจนและกลุ่มคนรวยสุดนั้น

พอจะเป็นที่รับทราบกันในขณะนี้ว่ามีความต่างกันถึงประมาณ 13 เท่า ความต่างด้านรายได้บ่งบอกว่าคนรวยและคนจนมีมาตรฐานการครองชีพต่างกันอย่างไร แต่ถ้าจะดูความเหลื่อมล้ำที่แท้จริงแล้ว จะต้องดูที่ความมั่งคั่ง (wealth) หรือการเป็นเจ้าของทรัพย์สินต่างๆ ได้แก่ ที่ดิน เงินออม หุ้น ทอง เพชรนิลจินดา ของเก่ามีค่า เช่น พระเครื่อง เครื่องลายคราม และภาพเขียนราคาแพง ฯลฯ

ในประเทศพัฒนาแล้วนั้น จะมีการเก็บข้อมูลสถิติด้านความมั่งคั่งของคนในประเทศอย่างละเอียด เพื่อประโยชน์สำหรับการมีนโยบายสาธารณะด้านภาษีที่เหมาะสม ทั้งนี้ การเก็บภาษีมีหลักการอยู่ที่การจ่ายตามความมั่งคั่งด้วย และเพื่อสามารถที่จะใช้นโยบายภาษีทรัพย์สินเป็นเครื่องมือช่วยลดความเหลื่อมล้ำ ป้องกันไม่ให้ความเหลื่อมล้ำสูงขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นภัยกับสังคม และป้องกันไม่ให้มีการสะสมทรัพย์สินเอาไว้เก็งกำไรแบบเสือนอนกิน เพราะว่าถ้าสามารถทำได้เช่นนั้นทรัพย์สินมีค่า เช่น ที่ดิน ซึ่งมีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง และเป็นที่ต้องการของนักอุตสาหกรรมเพื่อสร้างโรงงาน และเป็นที่ต้องการของคนทั่วไปเพื่อสร้างบ้านที่อยู่อาศัย ก็จะมีราคาแพงจนเกินเหตุ เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และทำให้คนธรรมดาทั่วๆ ไปที่หาเช้ากินค่ำโชคไม่ดีที่ไม่มีมรดก ไม่อาจหาซื้อบ้านที่อยู่อาศัยในราคาที่จะซื้อหาได้จากการทำงานจากหยาดเหงื่อของตนเองได้ และค่าเช่าบ้านดีๆ ก็จะแพงจนเกินเหตุอีกเช่นกัน

วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

“ประชาธิปไตย” เบื้องต้นสำหรับสามัญชน

โดย ปรีดี พนมยงค์

-๑-
ความหมายของคำว่า “ประชาธิปไตย”
คำว่า “ประชาธิปไตย” ประกอบด้วยคำว่า “ประชา” หมายถึงหมู่คนคือปวงชน กับคำว่า ”อธิปไตย” หมายถึงความเป็นใหญ่
คำว่า “ประชาธิปไตย” จึงหมายถึง “ความเป็นใหญ่ของปวงชน”

ราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายของคำว่า “ประชาธิปไตย” ไว้ในหนังสือพจนานุกรมของทางราชการว่า “แบบการปกครองที่ถือมติปวงชนเป็นใหญ่”

ทั้งนี้พึงเข้าใจว่าการที่ปวงชนจะมีความเป็นใหญ่ในการแสดงมิติได้ก็จำเป็นที่ชนทุกคนรวมกันเป็นปวงชนนั้นต้องมี “สิทธิและหน้าที่ของมนุษยชน” อันเป็นสิทธิและหน้าที่ตามธรรมชาติของทุกคนที่เกิดมาเป็นมนุษย์ คือ สิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคซึ่งมนุษย์จะต้องใช้พร้อมกันกับหน้าที่ มิให้เกิดความเสียหายแก่เพื่อมนุษย์อื่นและหมู่คนอื่นหรือปวงชนเป็นส่วนรวม ถ้าชนส่วนมากซึ่งเป็น “สามัญชน” ถูกตัดสิทธิมนุษยชนโดยให้มีหน้าที่แต่อย่างเดียว สามัญชนก็มีลักษณะเป็นทาส หรือข้าไพร่ของชนส่วนน้อยซึ่งมีสิทธิใหญ่ยิ่งหรือ “อภิสิทธิ์ชน” แบบการปกครองจึงไม่ใช่ประชาธิปไตย ถ้าสามัญชนมีสิทธิมนุษยชนอย่างเดียว โดยไม่มีหน้าที่มนุษยชน แบบการปกครองก็เกินขอบเขตของประชาธิปไตย

วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ กับสถานการณ์เมืองไทย...ในปัจจุบัน

ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช กับสถานการณ์การเมืองไทย...ในปัจจุบัน

หากจะกล่าวถึงปราชญ์แห่งสยามประเทศ หลายคนคงจะปฏิเสธไม่ได้ว่า ฯพณฯ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นหนึ่งในปราชญ์หลายๆท่านที่มีผลงานให้เราศึกษาอยู่ไม่น้อย ปราชญ์การเมืองผู้รังสรรค์ผลงานผ่านบทกวี ได้สร้างสรรค์อัญมณีทางความคิดไว้มากมาย เรื่องหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือเรื่อง "สีแผ่นดิน" บทประพันธ์เรื่องนี้เหมาะนัก ที่จะใช้ศึกษาถึงหัวใจอันแท้จริงของระบอบประชาธิปไตย เพราะนวนิยายอิงประวัติศาสตร์เล่มนนี้ บอกให้เราทราบถึงเมื่อครั้งที่เรายังไม่เปลี่ยนแปลงการปกครอง อาจเรียกได้ว่าตั้งแต่สมัยที่เรายังไม่มีคำแปลของคำว่า Democracy บอกให้เราทราบว่าเราเปลี่ยนแปลงการปกครองทำไม เพื่ออะไร และเพื่อใคร ยิ่งกาลเวลาผ่านไปนวนิยายเล่มนี้ยิ่งทรงคุณค่าสำหรับยุคสมัยที่ใครๆ อาจหลงลืมไปแล้วว่าประชาธิปไตยคืออะไร...?

นวนิยายเล่มนี้ยังมีการนำไปสร้างภาพยนตร์อีกด้วย ลองไปหาอ่านหาชมกันดู
แต่คำกล่าวของปราชญ์การเมืองท่านนี้ ที่จะนำมากล่าวถึงในบทความนี้นั้น ผู้เขียนได้มีโอกาสอ่านเจอในหนังสือเรียนเรื่อง "มนุษย์กับสังคม : Human and Society" ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่องมนุษย์กับการเมือง ซึ่งเป็นย่อหน้าเล็กๆ แต่อ่านแล้วได้ความหมายลึกซึ้ง...ยิ่งใหญ่

สู้ต่อ...เพื่อคุณประชาชน

พ.ศ. สอง สี่เจ็ดห้า เหล่าอามาตย์
ยึดอำนาจ องค์กษัตริย์ ตั้งรัฐใหม่
อ้างราษฎร อ้างอารยะ สกลไกล
อ้างพัฒนา ประเทศไทย ไร้เทียมทาน

ประชาชน ส่วนใหญ่ ไม่รู้เห็น
ทุกสิ่งเป็น นักเรียนนอก บอกข่าวสาร
สร้างระบอบ ปกครอง ตามต้องการ
แผนแยบยล รัฐทหาร ผลาญบุรี

เหล่านายทุน มีเงิน เดินทางลัด
ซื้อช่วงจัด สรรประโยชน์ อวดศักดิ์ศรี
หาลาภยศ ถอนทุนตน ปล้นธานี
ตามราวี คนเคยยืน พื้นเดียวกัน

แม้รากหญ้า หลายเหล่า ก็เร่าร้อน
จากดงดอน ถูกยอยก ใจผกผัน
รับสั่งฆ่า มวลชนกลุ่ม ชุมนุมนั้น
หวังแบ่งปัน ความเป็นใหญ่ ทำได้ลง

วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2553

ประชาชนผิดอะไร ? ในการเรียกร้องประชาธิปไตย

"ประชาชนผิดอะไร เพียงใด หรือไม่"

เมื่อวันที่ 11 กันยายน 53 เวลา 13.00 น. ที่ห้างอิมพีเรียล ลาดพร้าว ชั้น 5 คณะนักวิชาการเพื่อประชาธิปไตยและสันติวิธี (คปส.) และคณะผู้นำการพัฒนาประชาธิปไตย (คพป.) จัดสัมมนาหัวข้อ "ประชาชนผิดอะไร เพียงใด หรือไม่" โดยมีกลุ่มคนเสื้อแดงสนใจเข้าร่วมรับฟังประมาณ 200 คน

นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล เลขานุการมูลนิธิบ้านเลขที่ 111 และอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย กล่าวว่า รัฐบาลมีพฤติกรรมส่อเผด็จการ ประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินทั้งที่สถานการณ์บ้านเมืองกลับสู่ภาวะปกติแล้ว ถือว่าไม่เป็นวิถีทางประชาธิปไตย ตอนนี้รัฐบาลยังมีพฤติกรรมใช้อำนาจเผด็จการมากขึ้น มีคำสั่งปิดหนังสือพิมพ์เรดเพาเวอร์ แต่ไม่มีคำสั่งปิดหนังสือพิมพ์คนเสื้อเหลือง ซึ่งในรัฐธรรมนูญ มาตรา 45 วรรคสาม ระบุชัดเจนว่าการสั่งปิดกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นเพื่อลิดรอนสิทธิเสรีภาพจะกระทำไม่ได้ นอกจากนี้ตนยังทราบว่ารัฐบาลพยายามจะปิดหนังสือพิมพ์หัวเขียวอยู่ เราต้องดูว่ารัฐบาลจะกล้าหรือไม่

นายวิชิต กล่าวว่า รัฐบาลยังมีพฤติกรรมพยายามไล่ล่าฆ่าการ์ดเสื้อแดงไม่ว่าที่เชียง ใหม่และลพบุรี ตอนนี้การสืบสวนสอบสวนของตำรวจไม่คืบหน้า รัฐบาลคงหลอกประชาชนได้อีกไม่นาน ขณะที่เหตุระเบิดที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ เราต้องตั้งคำถามว่าทำเพื่ออะไรแล้วใครได้ประโยชน์ ตนเชื่อว่าเหตุระเบิดดังกล่าวน่าจะทำเพื่อคง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พฤติกรรมเช่นนี้อาจทำให้รัฐบาลอยู่ไม่ได้นาน และอาจต้องติดคุกเร็วขึ้น

วันเสาร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2553

แถลงการณ์ นักศึกษารู้ทันนายกทุศีล

แถลงการณ์ 10 กันยา รู้ทันนายกรัฐมนตรี

ตามที่สโมสรนิสิตคณะรัฐศาสตร์ และคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดให้มีงาน “นิสิตนักศึกษาพบนายก รัฐมนตรี” ขึ้นในวันที่ 10 กันยายนนี้ โดยมีการเปลี่ยนแปลงสถานที่จัดงาน จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาลนั้น สามารถพิจารณาได้ว่างานดังกล่าว เป็นผลพวงมาจากเหตุการณ์ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของนักศึกษากลุ่มประชาคมจุฬาฯเพื่อประชาชน ที่ได้พยายามชูป้ายประท้วงและยื่นจดหมายต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ซึ่งเดินทางมากล่าวปาฐกถาในงานวันครบรอบ 60 ปี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่กลับถูกขัดขวางโดยคณะผู้ดูแลงาน จนทำให้กลุ่มนักศึกษาดังกล่าวไม่สามารถใช้สิทธิ และเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นได้อย่างที่ควรจะเป็น ในสังคมที่กล่าวอ้างว่ายึดมั่นในหลักการประชาธิปไตย

ด้วยเหตุผลดังกล่าว ซึ่งเป็นที่มาของการจัดงานในครั้งนี้ พวกเรามีความเห็นว่า การพบนิสิตและนักศึกษา ของนายกรัฐมนตรี เป็นเพียงละครปาหี่ตบตาประชาชนอย่างที่เคยเป็นมาตลอดอีกเรื่องหนึ่งเท่านั้น พวกเราทราบดีว่างานที่ถูกจัดขึ้นนี้ เป็นเพียงเครื่องมือ ที่นายกรัฐมนตรีจะใช้ในการสร้างภาพ ว่าตนเป็นบุคคลที่เปิดกว้าง รับฟังคำติชม และยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง นั่นหมายความว่า นิสิตนักศึกษา ที่มาในวันนี้ จะกลายเป็นเพียงเครื่องมือที่ถูกหยิบใช้ เพื่อบริหารความนิยมชมชอบ และสร้างภาพลักษณ์ที่ดูดีให้กับรัฐบาลมือเปื้อนเลือดเท่านั้น เหนือสิ่งอื่นใด ตามคำกล่าวของนายกรัฐมนตรีเอง ที่ว่า “การกระทำสำคัญที่สุด ถ้ากระทำไปในทิศทางเดียวกับคำพูด” ยิ่งแสดงให้พวกเราได้เห็นว่า ทุกสิ่งที่อย่างที่รัฐบาลทำ ความพยายามจะสร้างภาพความปรองดองสมานฉันท์นั้น เป็นเพียงการปิดบังความจริงด้วยวิธีการอันฉาบฉวย

วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553

ผู้นำของพรรคการเมือง

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พรรคการเมืองไทย ดึงตัวผู้นำที่เป็นบุคคลระดับที่มีชื่อเสียงมาเป็นผู้นำของพรรคการเมืองหรือเป็นผู้บริหารพรรค เนื่องจากการที่พรรคการเมืองได้ผู้นำทางการเมืองของพรรคเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของประชาชนโดยทั่วไปแล้วจะทำให้พรรคได้รับความนิยมจากประชาชน

จากการศึกษาจะเห็นได้ว่าพรรคการเมืองจะยึดหลักตัวบุคคลที่เป็นผู้นำและกลุ่มอำนาจที่ครอบงำพรรค โดยที่มิได้คำนึงถึงว่าบุคคลนั้นเป็นผู้ที่ยึดหลักอุดมการณ์ทางการเมือง หรือเป็นผู้ที่ยึดมั่นในจริยธรรมและคุณธรรม มากน้อยเพียงใด การที่พรรคอาศัยตัวบุคคล ยึดมั่นในตัวบุคคล เมื่อตัวบุคคลสิ้นสภาพลงในทางการเมือง หรือยกเลิกบทบาททางการเมืองของตนเอง ก็จะส่งผลกระทบต่อพรรคการเมืองอาจทำให้พรรคหมดความนิยมหรือต้องล้มเลิกพรรคไป

การปกครองในระบอบประชาธิปไตย ผู้นำทางการเมืองจะต้องเป็นผู้ที่มีคุณธรรม ผู้ปกครองที่มีคุณธรรมคือผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ แยกแยะสิ่งที่ดีออกจากสิ่งที่ไม่ดี แยกแยะประเด็นด้านจริยธรรมได้อย่างชัดเจน
ดังนั้น ผู้นำพรรคการเมือง จะต้องมีคุณธรรมในเรื่องดังต่อไปนี้
1. มีความซื่อสัตย์สุจริต
2. เห็นแก่ประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง
3. ถือประโยชน์ของชาติเหนืออื่นใด
4. สร้างความรู้รักสามัคคีของคนในชาติ

ข้อคิดเตือนใจ จาก " หญิงไทย ๑๑๑ " บท ๔

รวบรวมจาก Cbox ด้วยความเคารพ

• อุดมการณ์ที่ดีควรตั้งอยู่บนสัจจะความจริง ไม่ใช่ตั้งอยู่บนการตอบสนองความต้องการ อยากได้อะไรก็มองสิ่งนั้นเป็นของดี มีผลประโยชน์ตรงไหนก็มองการนั้นเป็นการประเสริฐ อุดมการณ์ใดยังลำเอียงเข้าข้างตนและพวกพ้อง อุดมการณ์นั้นไม่เป็นสัจจะความจริง สัจจะความจริงต้องเพื่อสรรพสัตว์ทั้งปวง ไม่แบ่งเขา ไม่แบ่งเรา ไม่แบ่งพวกเขา ไม่แบ่งพวกเรา อุดมการณ์ที่ดีควรตั้งอยู่บนสัจจะความจริง เพื่อประโยชน์แก่สรรพสัตว์ทั้งปวง โดยไม่ลำเอียงเข้าข้างใครเพราะความชอบความชัง ไม่ลำเอียงเพราะพวกเราพวกเขา

• ความเย่อหยิ่งจองหองนั้นทำให้ไม่รู้จักตัวเอง นำไปสู่การประเมินตัวเองผิดพลาด ความเย่อหยิ่งจองหองนั้นทำให้ไม่รู้จักผู้อื่น นำไปสู่การประเมินผู้อื่นผิดพลาด ความเย่อหยิ่งจองหองย่อมนำความผิดพลาดใหญ่หลวงมาให้ บัณฑิตทั้งหลายจึงฝึกฝนการอ่อนน้อมถ่อมตน ถ้าไม่รู้จะสู้ด้วยวิธีใด ให้แสดงออกซึ่งความอ่อนน้อมถ่อมตนออกไปก่อน ที่หนักจะกลายเป็นเบา ที่ทุเลาจะเป็นหาย

• ผู้ที่ฉลาดมากจะแสร้งทำเป็นโง่ ถ้าไม่ถึงเวลาอันควรจะไม่แสดงความสามารถออกมา แม้จะถูกสบประมาทก็ไม่ถือเป็นอารมณ์ คนฉลาดถือเป็นโอกาสฝึกตนเมื่อเจอคำดูถูกเหยียดหยาม คำดูถูกเหยียดหยามคือยากำลัง คำยกยอสรรเสริญต่างหากที่ต้องระวังจงหนัก เหมือนถูกยกขึ้นให้ลอยเสี่ยงต่อการตกเจ็บ ความดีชั่วนั้นอยู่ที่ใจเรา หาได้อยู่ที่คำสรรเสริญนินทาไม่

วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553

อย่าปล่อยให้คำว่า ‘สมานฉันท์’ ปั่นหัวคุณ

สัมภาษณ์ "โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม"
โดย ประชาไท

โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ชื่อนี้เป็นที่รู้จักในเมืองไทยเพียงไม่นานเมื่อเขาตัดสินใจรับเป็นผู้ดูแลคดีฟ้องร้องรัฐบาลไทยที่กระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงต่อประชาชนของตนจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมในช่วงวันที่ 10 เม.ย. และ ช่วงเดือนพฤษภาคม 2553

ชื่อของเขานั้น พ่วงท้ายด้วยความขัดแย้งในตัวเองไม่ต่างกับคนที่เขารับว่าความให้ นอกเหนือจากทักษิณ ชินวัตร ผู้ว่าจ้างคนล่าสุดแล้ว เขาเคยว่าความให้กับอดีตนักการเมืองในกัวเตมาลา เวเนซุเอลา และรัสเซีย ซึ่งแน่นอนว่าเขายืนยันว่าการว่าความให้บุคคลเหล่านั้นเป็นการดำเนินไปเพื่อปกป้องหลักนิติธรรม ขณะที่ลูกความของเขาล้วนต้องเผชิญกับข้อวิพากษ์และกล่าวหาในทางลบ เช่น การละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือการคอร์รัปชั่นอย่างรุนแรงเช่น กรณีของ มิกาเอล คอร์โดคอฟสกี (Mikhail Khodorkovsky) อดีตนักการเมืองดาวรุ่งผู้อาจขึ้นมาเทียบรอยเท้าผู้นำอย่าง วลาดิมีร์ ปูติน โดยการให้เงินสนับสนุนพรรคการเมืองหลายพรรค ด้วยฐานะระดับเศรษฐีอันดับหนึ่งของรัสเซีย และอันดับที่ 16 ของโลก แต่ต้องเผชิญกับข้อกล่าวหาว่ายักยอกและฟอกเงิน กระทั่งถูกศาลสั่งจำคุก จบเส้นทางการเมืองไป

แนวทางของอัมสเตอร์ดัมเองก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์เช่นกันว่า ถนัดเล่นนอกศาล ด้วยวิธีเล่นกับสื่อ มากกว่าการต่อสู้ตามกระบวนการยุติธรรม เช่นเดียวกับที่เขาถูกโจมตีจากสื่อไทยหลายสำนักเมื่อเขาออกสมุดปกขาวซึ่งรวบรวมรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุการณ์การสลายการชุมนุมคนเสื้อแดงช่วงเดือน เมษายน-พฤษภาคม 2553 ที่ผ่านมา ว่ามีเป้าหมายเพื่อโจมตีรัฐบาลไทย

ประชาไทสัมภาษณ์เขาทางโทรศัพท์ ถึงความขัดแย้งเหล่านี้ ทั้งที่เกิดกับตัวเขาเองและลูกความของเขา ซึ่งล้วนเป็นผลอย่างสำคัญที่ทำให้การพูดคำว่า “นิติธรรม” ของเขาฟังคล้ายคำโฆษณา ซึ่งเขาตอบกลับอย่างน่าสนใจเช่นกันว่า สำหรับคนไทย สิ่งที่ต้องพึงระวังอาจจะมิใช่คำโฆษณาว่าด้วยการสู้เพื่อความเป็นธรรม และนิติธรรม แต่พึงระวังคารมหวานหูเกี่ยวกับคำว่า "สมานฉันท์" โดยปราศจากความจริง

การเสวนาเรื่อง พลังนักศึกษา(ไม่ได้)หายไปไหน

เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2553 ที่มูลนิธิ 111 ไทยรักไทย ได้มีการเสวนาเรื่อง “พลังนักศึกษา ( ไม่ได้) หายไปไหน ทำไม อย่างไร หรือไม่?” โดยนายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย นายสมบัติ บุญงามอนงค์ บก.ลายจุด นายวรพล พรหมิกบุตร อาจารย์คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

โดยนายจาตุรนต์ กล่าวว่า มักจะมีคำถามเป็นประจำว่า บทบาททางการเมืองของนักศึกษาในอดีตกับปัจจุบันทำไมแตกต่างกัน ทำไมเมื่อมีปัญหาการเมือง นักศึกษาถึงไม่เคลื่อนไหว คำตอบคือ เพราะสภาพเศรษฐกิจสังคมที่แตกต่างกันไป

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้นักศึกษาก็มีบทบาททางการเมืองบ้าง ไม่ได้มีจำนวนมาก แต่มีความเข้มข้น เช่น การตั้งประเด็นเรื่องผู้เสียชีวิต 91 ศพ หรือทวงถามนายกฯ เรื่องการยกเลิก พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ขณะนี้สังคมไทยกลายเป็นเผด็จการครบเครื่องในรอบ 20-30 ปี ไม่ใช่เผด็จการที่มาจากการยึดอำนาจ แต่เป็นเผด็จการแยบยลที่ประสานหลายฝ่ายเป็นเครือข่ายใหญ่โต การเมืองอยู่บนหลักการที่สองฝ่ายสู้กัน แต่ไม่ใช่ว่าใครผิดติดคุก กลายเป็นว่าใครแพ้ติดคุก ถ้าเสื้อแดงไม่ถูกเรื่องก่อการร้าย คนในรัฐบาลหลายคนต้องติดคุกตลอดชีวิตฐานสั่งฆ่าประชาชน รัฐบาลจึงต้องสรุปให้ได้ว่า การชุมนุมนำโดยพวกก่อการร้าย แล้วยังฆ่ากันเองโดยรัฐบาลไม่มีความผิดอะไร

ทรัพยากรน้ำปัจจัยการผลิตที่สำคัญ

น้ำ คือต้นกำเนิดของสิ่งมีชีวิตทั้งมวล และเป็นพลังขับเคลื่อนของการพัฒนาที่ไม่เคยหยุด เป็นความสมบูรณ์ของภูมินิเวศน์ เป็นปัจจัยขจัดความยากจนและความหิว เป็นสิ่งจำเป็นของสุขภาพ เป็นสวัสดิการของมนุษย์และสัตว์ การให้ความสำคัญกับน้ำ ถือเป็นความเร่งด่วนของทุกภูมินิเวศน์ ทุกท้องถิ่น ทุกจังหวัด และทุกประเทศในโลกใบนี้
รัฐบาลควรให้การสนับสนุน ในการสร้างความเข้าใจกับหน่วยงานท้องถิ่นและชุมชน โดยพิจารณาถึงความยากจนและความอ่อนแอของภูมินิเวศน์

แถลงการณ์สมัชชาใหญ่ สหพันธ์นิสิตนักศึกษา 2553

แถลงการณ์สมัชชาใหญ่ (September 2, 2010)
สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) 2553

เป็นเวลากว่าสามเดือนแล้วที่รัฐบาลได้ใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมเรียกร้องข้อเสนอที่เป็นประชาธิปไตยของประชาชนคนเสื้อแดง เป็นเวลากว่าสามเดือนแล้วที่ประชาชนผู้บริสุทธิ์ถูกประหัตประหารด้วยกำลังจากน้ำมือของทหาร และอาวุธยุทโธปกรณ์ที่มาจากภาษีของพวกเขาเอง ผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนั้น ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติยังคงไม่ได้รับความเป็นธรรม ยังคงไม่มีใครออกมาแสดงความรับผิดชอบ แม้แต่รัฐบาล ในฐานะที่ควรจะต้องรับผิดชอบมากที่สุด

เมื่อมีประชาชนได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมากใจกลางกรุงเทพมหานครก็ตาม รัฐบาลไม่เพียงนิ่งเฉย หากแต่กลับป้ายความผิดให้กับผู้เสียชีวิตอย่างหน้าด้านๆ ให้พวกเขากลายเป็นผู้ก่อการร้าย เป็นผู้สร้างความเดือดร้อนและ เป็นผู้ทำร้ายประเทศไทย ทั้งๆที่เศรษฐกิจที่ล้มเหลว การเมืองที่เป็นเผด็จการ การทุจริตฉ้อฉลในทุกวงการ ที่เป็นตัวการทำร้ายประเทศไทยอย่างแท้จริงและหนักหน่วงที่สุด ล้วนแต่เป็นฝีมือของรัฐบาลทั้งสิ้น อีกทั้งในเหตุการณ์เมษา-พฤษภาเลือดที่ผ่านมา หลักฐานมากมายระบุชัดว่า กองกำลังฝ่ายรัฐบาลคือผู้ยิงฆ่าประชาชนผู้บริสุทธิ์มากกว่า 90 ชีวิต

พลังนักศึกษายังคงหลับหรือถูกกระชับพื้นที่

พลังคนหนุ่มสาว นักเรียน นักศึกษา ปัญญาชน
ยังคงหลับหรือถูกกระชับพื้นที่

จากประวัติศาสตร์การต่อสู้ของขบวนการภาคประชาชนที่ผ่านมา เราจะเห็นว่าขบวนการคนหนุ่มสาว เป็นขบวนการที่อยู่คู่กับขบวนการภาคประชาชนมาตลอด ขบวนการคนหนุ่มสาว จะเป็นคนกลุ่มแรกๆในสังคมที่ตื่นตัว และออกมาต่อสู้กับความไม่ชอบธรรมในสังคม อย่างกรณี 14 ตุลา 2516 ผู้ที่มีบทนำในการโค่นล้มรัฐบาลทหารเผด็จการในยุคนั้น ก็คือขบวนการนักศึกษาที่ไม่พอใจกับโครงสร้างและความคับแคบของสังคมแบบเก่า เกิดคำถามที่น่าคิดว่า เพราะอะไรเล่า คนหนุ่มสาวจึงเป็นพลังกลุ่มแรกๆ ที่ตื่นตัวก่อนใครในสังคม และสามารถรวมกันเป็นกลุ่มก้อนที่มีพลังเข็มแข็งได้? การศึกษาถึงพฤติกรรม และสถานะของพวกเขาจะช่วยตอบคำถามในข้อนี้.

วัยหนุ่มสาว เป็นวัยที่มีการแสดงออกทางพฤติกรรมได้หลายประการ เช่น ดื้อ ไม่เชื่อฟัง รักความอิสระ มีความเป็นตัวของตัวเองสูง ชอบละเมิดกฎเกณฑ์กติกาต่างๆ และเนื่องด้วยสถานะของคนหนุ่มสาวที่อยู่ในวัยเรียน พวกเขาจึงไม่มีภาระให้ต้องรับผิดชอบมาก คือ ไม่ต้องกังวลกับการทำงานหาเลี้ยงชีพ ซึ่งเป็นภาระหน้าที่ของพ่อและแม่ ที่สำคัญคือคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ไม่มีบาทแผลจากอดีต ที่ทำให้เขาถ้อแท้ หดหู่ นั้นจึงทำให้คนหนุ่มสาวเป็นวัยที่มีไฟแรงสูง มีความมุ่งมั่นที่จะทำให้ความมุ่งหวังของเขาปรากฏเป็นจริง สิ่งเหล่านี้เองที่บอกเราได้ว่า ทำไมคนหนุ่มสาวจึงมีพลัง และมักจะเป็นคนกลุ่มแรกๆในสังคมที่ตื่นตัวก่อนใคร(โดยเฉพาะช่วงที่กระแสขึ้นสูง)

อำนาจ 108 กับเสรีภาพทางวิชาการ-เส้นแบ่งอยู่ที่ไหน

อภิปรายทางวิชาการ วันที่ 8 กันยายน 2553
สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ร่วมกับ ภาควิชาสังคมวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มศว.ประสานมิตร

ผู้ร่วมอภิปราย มี รศ.ดร.ฉลอง สุนทราวาณิชย์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ดร.นฤมล ทับจุมพล อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, นางสุนีย์ ไชยรส อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, นายมงคล ศริวัฒน์ จากคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร ดำเนินรายการโดย รศ.ดร. อรศรี งามวิทยาพงศ์ จากสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์

รศ.ดร.ฉลอง กล่าวถึงบทบาทของมหาวิทยาลัยไทยใน 20 ปีที่ผ่านมา เปลี่ยนแปลงไป ไม่ได้เกิดจากการตั้งประชาคม แต่เกิดจากการตอบสนองความต้องการของรัฐและผู้มีอำนาจรัฐ จากเดิมที่มหาวิทยาลัยผลิตข้าราชการเพื่อช่วยสร้างความเข้มแข็งของรัฐ แต่ปัจจุบันมุ่งแสวงหาความรู้ใหม่ เน้นการทำวิจัย บีบบังคับให้ตกอยู่ภายใต้วิธีคิดที่คับแคบจากกลุ่มนายทุน ไม่สามารถให้นักวิชาการทำงานในสิ่งที่ตนเองอยากรู้ เป็นอำนาจ 108 ที่ไม่รู้สึก กลายเป็นความชั่วร้ายเป็นเหตุเป็นผล ที่มุ่งความคุ้มค่ากับการลงทุน ตัวเงิน การใช้ประโยชน์ ที่เป็นตัวคุกคามทางวิชาการ ทำให้นักวิชาการใหม่ๆ ไม่สามารถแสดงความคิดอย่างเต็มที่อีกต่อไป

"การวิจารณ์ศาล" - ชำนาญ จันทร์เรือง

"คดีที่มีความคือไก่หมูเจ้าสุภา เอาไก่เอาเอาหมูมาเจ้าสุภาก็ว่าดี
ที่แพ้แก้ชนะไม่ถือพระประเวณี ขี้ฉ้อก็ได้ดีไล่ด่าตีมีอาญา"

มูลบทบรรพกิจ

อนุสนธิคนเก็บขยะนำแผ่นซีดีเก่าออกมาวางขายแล้วถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุม แล้วถูกพนักงานอัยการนำคดีขึ้นสู่ศาลจนมีคำพิพากษาปรับเป็นเงินหลักแสน โดยโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้จ่ายเงินค่าปรับแทนซึ่งก็ไม่รู้ว่าใช้เงินของสำนักงานตำรวจแห่งชาติหรือเงินส่วนตัว (ถ้าใช้จาก สนง.ตำรวจฯก็ไม่รู้ว่าเบิกจากงบประมาณหมวดไหน และหากใช้จากเงินส่วนตัวก็เข้าใจว่าคงรวยมาก)

อย่างไรก็ตามคงมิใช่ประเด็นว่าใช้เงินจากที่ไหน ประเด็นก็คือความพิกลพิการของการบังคับใช้กฎหมายกับเจตนารมณ์ของ พรบ.ภาพยนตร์และวิดีทัศน์ พ.ศ. 2551 ที่มุ่งจัดการกับผู้ประกอบกิจการเป็นหลัก ซึ่งงานนี้ผู้ที่ถูกด่ามากที่สุดคือเจ้าหน้าที่ตำรวจ ส่วนพนักงานอัยการก็โดนหางเลขบ้างประปรายพอเป็นกระสาย แต่ไม่มีกล้าใครวิพากษ์วิจารณ์คำพิพากษาของศาลในทางสาธารณะเลย

การไม่มีคำวิจารณ์ศาลออกทางสาธารณะเลยนั้นมิได้หมายความว่าไม่มีใครวิพากษ์วิจารณ์เลย แต่ในวงการสนทนาตามสภากาแฟและโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการนักกฎหมายด้วยกันแล้วมีกันพูดจากันอย่างมากมายและกว้างขวาง แต่ไม่ปรากฏต่อสาธารณะเพราะเหตุด้วยความเกรงกลัวว่าจะเข้าข่ายหมิ่นศาลหรือละเมิดอำนาจศาลนั่นเอง

“ศ.ทามาดะ โยชิฟูมิ” อภิปรายการเมืองไทยร่วมสมัย

เชิงอรรถและคำอธิบายเป็นการเพิ่มเติมโดย “ประชาไท
24 สิงหาคม 2010

“ทามาดะ โยชิฟูมิ” อภิปรายเรื่องประชาธิปไตย “แบบไทยๆ” ที่ไม่มีวันเหมือนเดิมหลังจากมีการเลือกตั้ง ผ่่านพฤษภา 35 กระทั่งมีรัฐธรรมนูญ 2540 ชี้การปกครองแบบประชาธิปไตยถ้าปฏิเสธอำนาจอธิปไตยของประชาชนและการเลือกตั้งก็ไม่ใช่ประชาธิปไตย และฝ่ายที่สู้กับประชาชนไม่มีวันชนะ


เมื่อวันที่ 24 ส.ค. ที่ผ่านมา ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เชิญ ศาสตราจารย์ทามาดะ โยชิฟูมิ (TAMADA Yoshifumi) อาจารย์มหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น มาบรรยายพิเศษเกี่ยวกับการเมืองร่วมสมัยของไทย ที่ห้องประชุมชั้น 8 อาคาร HB7 คณะมนุษยศาสตร์ โดยการอภิปรายของอาจารย์ทามาดะ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
เสรีภาพพลเมืองยังอยู่ในระดับที่ 4

ข้อคิดเตือนใจ จาก " หญิงไทย ๑๑๑ " บท ๓

รวบรวมจาก Cbox ด้วยความเคารพ

• จงยอมรับความจริงของชีวิต อย่าหวั่นไหวต่อความขึ้นลงของชีวิต อย่าอารมณ์แปรปรวนไปตามความสมหวังผิดหวัง จงตั้งจิตให้หนักแน่นอย่าแปรปรวนง่าย ขวนขวายสร้างงานด้วยความอดทนอดกลั้น อย่าใจร้อนรีบเร่งต้องการผลประโยชน์ จงพรวนดินรดน้ำบำรุงรักษาต้นไม้อย่างใจเย็น ผลจะออกมาเองเมื่อถึงเวลาอันสมควร ความใจร้อนจะทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างพังไปก่อนได้รับผล

• ความผิดคาดผิดหวังคือรสเผ็ดของชีวิต จะต้องมีอยู่บ้างเพื่อให้ชีวิตมีรสชาติ ถ้าได้ดังใจทุกอย่างชีวิตจะจืดชืด จงยอมรับความเป็นจริงอย่าหนีความจริง หนีความจริงจะทำให้จิตใจอ่อนแอ อย่าใจร้อนมุทะลุ อย่าใจเร็วด่วนได้ ต้องรู้จักรอคอยต้องรู้จักอดกลั้น อย่าคิดแต่จะให้ได้ดังใจของตัว ถ้าได้ดังใจทุกอย่างระวังนิสัยจะเสีย

• แม้กำลังแข็งขันกับการก้าวขึ้นที่สู่ที่สูง ก็ควรเตรียมบันไดลงที่มั่นคงไว้ด้วย แม้กำลังเริ่มต้นได้อย่างประสบผลสำเร็จ ก็ควรเตรียมการจบอย่างสวยงามไว้ด้วย แม้กำลังห้อมล้อมไว้ด้วยผู้รู้ใจ ก็ควรเตรียมจิตสำหรับอยู่อย่างโดดเดี่ยวไว้ด้วย ผู้มีปัญญาไม่ว่าทำอะไรไม่ควรปิดทางถอยของตนเอง มีความสามารถจัดการในช่วงความเจริญ ก็จงฝึกฝนความสามารถในการกุมบังเหียนเวลาเสื่อมถอย

วันพุธที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2553

ข้อเรียกร้อง! 'เครือข่ายประชาชน 3 จ.ชายแดนภาคใต้'

เครือข่ายประชาชน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
เสนอรูปแบบและแนวทางการพัฒนาการเมืองที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมในพื้นที่


เครือข่ายประชาชน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
ร่วมระดมความคิดเห็น ตามแนวทางการปฏิรูปประเทศ เพื่อเสนอรูปแบบและแนวทาง การพัฒนาการเมือง
ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมใน 3 จังหวัดชายแดนใต้

วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

ปฏิวัติแนวคิด "ลดความเหลื่อมล้ำ"

ประสบการณ์จากชุมชนต้นแบบ
จากโต๊ะข่าวชุมชน สถาบันอิศรา

ข่าวประกอบเสียง


เกษตรกรไทยปัจจุบันอายุเฉลี่ยสูงกว่า 50 ปี
ดังนั้นต้องสร้างทุนรองรับทั้งสุขภาพ-สังคม-สิ่งแวดล้อม-ความรู้-ตัวเงิน

ข้อคิดเตือนใจ จาก " หญิงไทย ๑๑๑ " บท ๒

รวบรวมจาก Cbox ด้วยความเคารพ

• ชีวิตย่อมมีขึ้นมีลง ชั่วเจ็ดทีดีเจ็ดหน สมบูรณ์พูนสุขอาจไม่อยู่ตลอด ความตกต่ำอาจมาเยือน เวลาได้ดีมีสุขอย่าหลงระเริงลืมตน อย่าคิดแต่จะตอบสนองความต้องการของตนฝ่ายเดียว เมื่อเราได้ดีแล้วจงเปิดทางรอดให้คนอื่นบ้าง จะทำให้เราไม่เจอทางตัน

• เมื่อเราเป็นสุขแล้วจงช่วยให้คนอื่นพ้นทุกข์บ้าง จะทำให้เราไม่เจอทางตกต่ำ เมื่อเราอิ่มแล้วจงช่วยให้คนอื่นพ้นจากความหิวโหยบ้าง จะทำให้เราไม่เจอความตกอับ

• คนเราถ้าทำอะไรออกไป ก็จะได้กลับคืนมาอย่างนั้น ถ้าเราใจดำกับผู้อื่น เขาก็จะใจดำกับเรา ถ้าเราใจดีกับผู้อื่น เขาก็จะใจดีกับเราจงเมตตาต่อผู้อื่นบ้าง อย่าสนใจแต่ความต้องการของตนอง จงรู้จักอกเขาอกเรา เอาใจเขามาใส่ใจเรา ผู้เห็นแก่ตัวจะไม่สามารถเจริญยั่งยืน

นักการเมืองกับคุณธรรมในมุมมองของเยาวชน

โดย... นิรนาม
อ้างอิงจากผลการสำรวจ (มกราคม 2551)
ความเห็นของเยาวชนอายุ 12–19 ปี ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล
สำรวจโดย ดร.นพดล กรรณิการ์ มหาวิทยัลัยอัสสัมชัญ กรุงเทพฯ

ตัดตอนจาก “ โจ๋ไทยส่วนใหญ่ กว่า 60% เซ็งการเมือง “ ผู้จัดการออนไลน์ 11 ก.พ. 51
ดร.นพดล กล่าวถึงมุมมองความรู้สึกของเด็กและเยาวชนกลุ่มนี้ต่อการเมืองของ ประเทศไทย พบว่า

เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่หรือ
- ร้อยละ 60.9 รู้สึกเบื่อ น่ารำคาญ วุ่นวาย และเซ็งต่อการเมืองของประเทศในขณะที่รองลงมาคือ 
- ร้อยละ 29.1 ไม่สบายใจและเป็นห่วง
- ร้อยละ 10.9 รู้สึกว่าคนไทยไม่รักไม่สามัคคีกัน
- ร้อยละ 9.6 ระบุการเมืองไทยไม่สงบ เปลี่ยนแปลงบ่อยเกินไป
- ร้อยละ 6.1 รู้สึกภูมิใจ รู้สึกเป็นประชาธิปไตย และ
- ร้อยละ 4.4 ระบุว่าการเมืองไทยมีแต่เรื่องโกงกิน

วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

วัฒนธรรมทางการเมืองแบบพลเมือง

แนวทางการสร้างสังคมประชาธิปไตย
โดย นายฌานิทธิ์ สันตะพันธุ์
นิติศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บทความชิ้นนี้อาจจะเรียกได้ว่าเป็น “ภาคต่อ” ของบทความชิ้นที่แล้วของผู้เขียน คือเรื่อง “วัฒนธรรมทางการเมืองของไทย : รัฐธรรมนูญที่แท้จริงซึ่งไม่เคยถูกยกเลิก” เนื่องจากในข้อสรุปตอนท้ายของบทความชิ้นดังกล่าวได้ทิ้ง “ปม” ไว้ว่า “...การสร้างประชาธิปไตยให้หยั่งรากลึกมั่นคงในประเทศใดนั้น มิได้จำกัดวงแคบอยู่เพียงโดยการสร้างรัฐธรรมนูญที่ดีเพียงอย่างเดียว หากแต่ต้องขยายออกไปถึง “การสร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตย” ให้เกิดขึ้นในมโนสำนึกของประชาชนอย่างทั่วถึงด้วย เพราะประสบการณ์ในอดีตได้สอนให้รู้แล้วว่าการเปลี่ยนแปลงแต่โครงสร้างการปกครอง โดยใช้รัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือเพียงอย่างเดียว มิได้สร้าง “ความเป็นประชาธิปไตย” ที่แท้จริง มั่นคงและยั่งยืนให้เกิดขึ้นในประเทศของเรา…”

วัฒนธรรมทางการเมืองของไทย

รัฐธรรมนูญที่แท้จริงซึ่งไม่เคยถูกยกเลิก
โดย นายฌานิทธิ์ สันตะพันธุ์
นิติศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เหตุที่ผู้เขียนตั้งชื่อบทความเช่นนี้ก็เพราะในช่วงนี้มีการพูดถึง “วงจร” การเมืองการปกครองของไทยตลอดระยะเวลากว่า 74 ปีที่ผ่านมา นับแต่ “เหตุการณ์” เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 เป็นต้นมาซึ่งประกอบด้วย การรัฐประหาร--->รัฐบาลที่มาจากคณะรัฐประหาร--->รัฐธรรมนูญชั่วคราว--->รัฐธรรมนูญถาวร--->เลือกตั้ง--->รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง--->การรัฐประหาร เป็นเช่นนี้ตลอดมา (และตลอดไป?) ในช่วงระยะดังกล่าวมีการรัฐประหารสำเร็จ 17 ครั้ง มีรัฐธรรมนูญชั่วคราว 8 ฉบับ รัฐธรรมนูญถาวร 9 ฉบับ การเลือกตั้งทั่วไป 24 ครั้ง (ซึ่งผู้เขียนเองก็ยังไม่แน่ใจว่าเราจะเรียกว่าระบอบการปกครองของประเทศไทยว่าระบอบอะไรกันแน่)

ปัจฉิมนิเทศ "โครงการผู้นำ-นำการเปลี่ยนแปลง"

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองประธานกรรมการที่ปรึกษามูลนิธิสัมมาชีพ อดีตรมว.คลัง กล่าวปิดโครงการปัจฉิมนิเทศ หลักสูตรโครงการผู้นำ-นำการเปลี่ยนแปลง (Leadership for Change) ซึ่งมีนายกเทศมนตรี นักธุรกิจ เอ็นจีโอ และชาวบ้านที่เป็นผู้นำชุมชน กว่า 150 คน เข้าร่วมว่า ตนคิดโครงการนี้ขึ้นมาเพราะเคยมีความฝันอยากเห็นประเทศดีขึ้น ก่อนหน้านี้เป็นนักวิชาการ เป็นที่ปรึกษาภาคเอกชน ครั้งหนึ่งเคยนั่งกินกาแฟร่วมกันโดยข้างซ้ายคือนายสนธิ ลิ้มทองกุล ข้างขวาคือพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักกันมาก นั่นคือ เมื่อ 20 ปีที่แล้ว ไม่เคยคิดว่าทุกวันนี้บุคคลทั้งสองจะเป็นเจ้าของกีฬาสี นี่คือดวงชะตาคนเรา

วันอาทิตย์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2553

ข้อคิดเตือนใจ จาก " หญิงไทย ๑๑๑ " บท ๑

รวบรวมจาก Cbox ด้วยความเคารพ

• ในยามผิดพลาดยิ่งต้องการแก้ไข ถ้าผิดพลาดแล้วหมดกำลังใจจะยิ่งซ้ำเติมกันไปใหญ่ เวลาท้อแท้ก็ต้องเพิ่มกำลังใจ ถ้าท้อแท้แล้วล้มเลิกจะยิ่งหมดแรงไปกันใหญ่ เจอปัญหาไม่ท้อแท้ มีอุปสรรคไม่ท้อถอย จะสามารถผ่านพ้นเภทกัยทั้งปวงไปได้อย่างราบรื่น

• ไม่ว่ามั่นใจแค่ไหนก็ต้องเตรียมอุปกรณ์ไว้ใช้เผื่อพลาดท่า นี่เรียกว่าไม่ปิดทางถอยตน อย่ารุกไล่ผู้อื่นให้เขาจนตรอก อย่าบีบผู้อื่นจนเขาไม่มีอากาศหายใจ อย่บังคับผู้อื่นจนผู้นั้นไม่มีทางบรรเทา ถ้าเขาจนแต้มจริงจริงจะหันกลับมาเล่นงานเราอย่างรุนแรง เปิดทางรอดให้คนอื่นบ้าง เว้นโอกาสไว้เพื่อให้มีช่องทางแก้ไขเยียวยา อย่าบีบคนจนกระทั่งไม่มีช่องทางไป อย่าปิดทางถอยของใคร

• อย่าปิดทางถอยตนเอง อย่าปิดทางถอยผู้อื่น ทำอะไรต้องวางแผนกันพลาดไว้บ้าง ต้องเตรียมพร้อมถ้าองค์ประกอบที่หวังไว้ไม่เป็นดังใจ มีแผนหนึ่งแล้วต้องมีแผนสองด้วยเผื่อเรื่องไม่คาดหมาย อย่าเชื่อว่าอะไรแน่นอนเตรียมใจผิดหวังไว้บ้าง

จากครรภ์มารดา ถึงเชิงตะกอน

ตอน ๑


ตอน ๒

วันเสาร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2553

ความมั่นคงของใคร?

   ความมั่นคง สามารถแบ่งออกมาได้เป็น ความมั่นคงของรัฐบาล ความมั่นคงของประเทศ รวมถึง ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงทางวัฒนธรรม และที่จะลืมไม่ได้คือ ความมั่นคงของชีวิตประชาชนในชาติ

   เท่าที่ผ่านมา แม้รัฐบาลจะใช้คำพูดที่สวยหรูสักปานใด แต่การกระทำกลับเห็นได้ชัดว่า รัฐบาลเน้นเฉพาะความมั่นคงของรัฐบาลเอง ทั้งนี้เพราะรัฐบาลลืมไปว่า ความมั่นคงของชนในชาติหมายถึงความมั่นคงของทุกสิ่งทุกอย่าง  หากว่าประชาชนมีความมั่นคงในชีวิต ทรัพย์สิน และทุกเรื่องในการดำเนินชีวิต ความมั่นคงด้านอื่นๆ ทั้งหมดจะตามมา

   ความมั่นคงของประชาชนในที่นี้ หมายถึงว่า ประชาชนทุกคน จะต้องได้รับสิทธิ อันพึงมีพึงได้ตามที่ระบุไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญโดยเท่าเทียมกัน

   ทั้งนี้ รัฐมีหน้าที่โดยตรง ที่ให้ประชาชนได้รับสิทธิอันชอบธรรมตามกฎหมายนั้น ส่วนประชาชนต้องรับผิดชอบกับการใช้สิทธิเสรีภาพของตนเอง โดยไม่ไปก้าวก่ายสิทธิของผู้อื่น เมื่อประชาชนรู้สึกว่า สามารถดำรงชีวิตด้วยความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งทุกเรื่องในการดำเนินชีวิต สถานภาพของรัฐบาลก็จะมั่นคง รวมทั้งความมั่นคงของประเทศย่อมเสถียรตามไปด้วย